มี รพ.จัดระบบดูแล “พระสงฆ์” แค่ 66 แห่งทั่วประเทศ รับยังไม่เพียงพอ แนวโน้มอาพาธสูงขึ้น

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 9 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8b1e0b894e0b8a3e0b8b0e0b89ae0b89ae0b894e0b8b9e0b981e0b8a5-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886.jpg
    ผอ.รพ.สงฆ์ เผยทั่วประเทศไทยมีแค่ 66 รพ.ที่วางระบบรักษา “พระสงฆ์” รับไม่เพียงพอต่อการดูแลพระสงฆ์ทั่วประเทศ ต้องขยายจัดบริการเพิ่ม เหตุเข้าสังคมสูงวัย มีแนวโน้มอาพาธจากโรคเรื้อรังสูงขึ้น สปสช.เล็งจัดระบบใหม่ เชื่อมต่อ 66 รพ.ให้บริการสุขภาพพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

    วันนี้ (9 ต.ค.) ที่ศูนย์ราชการฯ กทม. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดประชุมบริการไร้รอยต่อ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพพระสงฆ์ รพ.สงฆ์ โดย นพ.ชำนิ จิตตรีประเสริฐ ผอ.รพ.สงฆ์ กล่าวว่า การเข้ารับบริการสุขภาพและรักษาพยาบาลของพระสงฆ์ ต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัย และพระสงฆ์ยึดหลักไม่เบียดเบียนฆราวาสและไม่เกิดอาบัติ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการในโรงพยาบาลทั่วไป จึงมีการจัดตั้ง รพ.สงฆ์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 2494 เพื่อให้การบริการเฉพาะสำหรับพระภิกษุ-สามเณร ให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โดยไม่เก็บค่ารักษา ไม่ว่าจะมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิ แต่หลังจากมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ทำให้สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาได้ส่วนหนึ่ง แต่ค่ารักษาส่วนใหญ่ยังเป็นเงินจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาค

    นพ.ชำนิ กล่าวว่า ปัจจุบันพระสงฆ์มีแนวโน้มอาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มากขึ้น ผลการคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ในปี 2559 พบภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 29.4 เบาหวาน ร้อยละ 26.65 และโรคอ้วน ร้อยละ 23.26 สอดคล้องกับการเบิกจ่ายกองทุนบัตรทองของ รพ.สงฆ์ ปี 2561 จำนวน 44.56 ล้านบาท เป็นผู้ป่วยนอก 10,843 ราย ผู้ป่วยใน 2,971 ราย ปี 2562 เพิ่มเป็น 49.81 ล้านบาท เป็นผู้ป่วยนอก 12,258 ราย ผู้ป่วยใน 3,888 ราย สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ที่น่ากังวล คือ พระสงฆ์ที่อายุเกิน 60 ปี มีอยู่ร้อยละ 32 ส่วนหนึ่งอาพาธด้วยโรคเรื้อรัง อยู่กุฏิเพียงรูปเดียว เมื่อออกจาก รพ.จึงไม่มีคนดูแล การอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่อาพาธ หากไม่จัดระบบใหม่ พระสงฆ์จะเข้าไม่ถึงการดูแล

    “การรักษาพระสงฆ์ สามเณรที่ รพ.สงฆ์ เป็นการจัดบริการตามพระธรรมวินัย แตกต่างกับการให้บริการฆราวาสทั่วไป ให้การรักษาทุกโรค หากเกินศักยภาพก็มีระบบส่งต่อ เช่น โรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง จะส่งไปฉายแสงที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ หรือ รพ.วชิระพยาบาล และกลับมารักษาต่อ ทั้งนี้ การดูแลให้พระสงฆ์เข้าถึงบริการจะต้องมีการแยกส่วนและวางระบบบริการที่สอดคล้องพระธรรมวินัย ปัจจุบันทั่วประเทศมีโรงพยาบาล 66 แห่ง ที่มีตึกสงฆ์อาพาธเฉพาะ และใน รพ.บางแห่งมีการแยกชั้นบริการเพื่อดูแลพระสงฆ์เฉพาะ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เท่าที่ทราบขณะนี้มี รพ.หลายแห่งอยู่ระหว่างจัดบริการเพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้พระสงฆ์ทั่วประเทศเข้าถึงบริการสุขภาพได้ จำเป็นต้องมีการวางระบบบริการพระสงฆ์และการส่งต่อเพื่อรองรับ” ผอ.รพ.สงฆ์ กล่าว
    8b1e0b894e0b8a3e0b8b0e0b89ae0b89ae0b894e0b8b9e0b981e0b8a5-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886-1.jpg
    ด้าน นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า พระภิกษุสงฆ์-สามเณรเป็นกลุ่มที่เข้าถึงการบริการสุขภาพที่จัดไว้ได้ยาก จึงเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เร่งผลักดันให้เกิดการดูแลอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจากฐานข้อมูลในระบบของ สปสช. ใน ก.ย. 2562 มีพระภิกษุสงฆ์จำนวน 144,883 รูป เป็นสิทธิบัตรทองจำนวน 134,982 รูป การทำให้พระภิกษุสงฆ์เข้าถึงบริการสุขภาพโดยใช้เครือข่ายระบบบริการและส่งต่อตามปกติเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปคงไม่ได้ ดังนั้น จะต้องมีจัดวางระบบใหม่ที่เป็นการเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นไปตามพระธรรมวินัยให้กับพระภิกษุสงฆ์ รวมถึงการวางระบบส่งต่อที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล 66 แห่งที่มีตึกสงฆ์อาพาธ โดยดึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือและช่วยกันออกแบบระบบ อย่าง รพ.สงฆ์ที่มาร่วมให้ข้อมูลในวันนี้ เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีและจะได้รับการสนับสนุน ซึ่งแต่เดิมเราอาจไม่ได้รับทราบข้อจำกัดการเข้ารับบริการสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ แต่เมื่อรับทราบแล้ว ก็จะมีการปรับระบบการส่งต่อ ระบบการเงินให้สอดคล้องกัน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/qol/detail/9620000097334
     
  2. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    นึกว่ามีในโรงพยาบาลทุกจังหวัดเสียอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...