มโนทัศน์ “บันไดนาค” จินตนาการร่วมสมัยในวัดภาคเหนือ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8a8e0b899e0b98c-e0b89ae0b8b1e0b899e0b984e0b894e0b899e0b8b2e0b884-e0b888e0b8b4e0b899e0b895e0b899.jpg

    หากมีโอกาสเข้าวัด จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตามแต่ สิ่งที่สะดุดตา ปรากฎตามวัดในปัจจุบันนี้ ทั้งวัดโบราณเก่าแก่ วัดที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ มักจะเห็นสัตว์ที่เป็นงานพุทธศิลป์ตามบันไดนาคแตกต่างกันไป แนวความคิดเกี่ยวกับ สัตว์ในตำนาน ที่สะท้อนผ่าน สิ่งปลูกสร้าง ศาสนสถานประเภท โบสถ์ วิหาร อุโบสถ ระเบียงคต ศาลาราย รูปแบบหลักๆในอดีตจะมี นาค,มังกร,งู แต่ปัจจุบัน มีความโค้งมน ลวดลาย ลักษณะแฝงให้ตีความตามจินตนาการว่าคือ ตัวอะไร

    a8e0b899e0b98c-e0b89ae0b8b1e0b899e0b984e0b894e0b899e0b8b2e0b884-e0b888e0b8b4e0b899e0b895e0b899-1.jpg

    สังคมมนุษย์มีความเชื่อที่ผูกติดกับสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะนาคในสังคมไทย มีเรื่องราวส่วนหนึ่งที่ฉายชัดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เรื่องพญามุจลินทร์นาคราช ในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ อันเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ประติมากรรม เกี่ยวกับบันไดนาค ยึดโยงกับแนวคิด ปรากฎในคัมภีร์ทางศาสนาทั้งพราหมณ์ ฮินดูและพุทธ แต่มโนทัศน์ นาคศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในกลุ่มชาติพันธุ์ไท และแถบอุษาคเนย์ค่อนข้างเด่นชัดกว่าถิ่นฐานอื่นที่ร้อยรัด ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมด้านงู และมังกรมากกว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับบันไดนาค หรือบันไดมกรคายนาค สัตว์ในจินตนาการเฝ้าพุทธสถาน ที่ปัจจุบัน มีความร่วมสมัย เห็นกันตามวัดต่างๆจนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า เป็นสัตว์อะไร เช่น บันไดนาค มีเขากวาง ที่วัดร่ำเปิง(ตโปทาราม เชียงใหม่ )

    a8e0b899e0b98c-e0b89ae0b8b1e0b899e0b984e0b894e0b899e0b8b2e0b884-e0b888e0b8b4e0b899e0b895e0b899-2.jpg

    ตามตำนาน เล่าว่า “มกร “บ้างก็อ่านว่า มะ-กอน บางทีอ่าน มะ-กะ-ระ-เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ผสมกันระหว่างจระเข้กับพญานาค ตามวัดในพม่า,สปป.ลาว,และกัมพูชา เห็นกันทั่วไป แต่เรียกว่า “ตัวสำรอก” แฝงคติธรรม เมื่อคนเราก้าวขึ้นบันไดนาค ผ่านสิ่งนี้ ทุกสิ่งที่ไม่ดี เป็นอัปมงคลจากร่างกาย จิตใจจะสำรอกออกไป

    ถ้าเรื่องเล่าพื้นบ้าน “มกร” ในทางพุทธศาสนา สื่อถึง “อุปทาน การยึดติด ความลุ่มหลง”เป็นกุศโลบายที่คนโบราณสอนไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นผ่านทางศิลปะในแง่ประวัติศาสตร์ศิลปะ แบบมกรคายนาคในแถบภาคเหนือ ยังอาจอนุมานให้เข้าใจถึงการหลุดพ้นจากอิทธิพลงานศิลปะพุกามหรือพม่า ที่ครอบงำล้านนาอยู่ถึง 200 ปี
    ดังนั้น งานพุทธศิลป์ณร่วมสมัยตามวัดดังๆที่มีนักท่องเที่ยว ผู้คนแห่แหนเข้าไปทัศนาความยิ่งใหญ่ แปลกใหม่ของศาสนสถาน ตีความผลงานที่เราชอบตั้งคำถามกันว่า เป็นตัวประหลาด ก็น่าจะ เป็นวิถีทางแห่งงานพุทธศิลป์ ที่สล่าพื้นบ้านสร้างสรรค์ผลงาน ให้เฉิดฉันท์ ปรากฎฝากไว้ในแผ่นดินล้านนา ร่วมสมัยสืบไปเช่นกัน

    a8e0b899e0b98c-e0b89ae0b8b1e0b899e0b984e0b894e0b899e0b8b2e0b884-e0b888e0b8b4e0b899e0b895e0b899-3.jpg

    ” มกร” ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของราศีมกรหรือ มังกรด้วย ศิลปะมกรคายนาคแพร่หลายในบ้านเรา บรรดานักวิชาการ มองอีกด้านว่า อาจจะเป็นการ”ข่ม” กันด้วยเชิงศิลปะ ในหมู่ชาติพันธุ์เอเชีย การเปรียบเทียบ บันไดนาคที่สวยงาม เห็นกันทั่วโลก เชื่อว่า นอกจาก ปราสาทหินดังๆในภาคอีสานแล้ว เชิงบันไดนาค วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เชียงใหม่ ก็เป็นงานพุทธศิลป์ที่เลื่องลือไกลในต่างแดน มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกนิยมบันทึกภาพ และสัตว์ที่เฝ้าตามหน้าวิหาร หรือศาสนถาน ในภาคเหนือ ลักษณะแปลกตาเรียกว่า”มอม สัตว์ในจินตนาการซึ่งผสมจากสัตว์ต่างๆ มี สี่ขา เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะจากจีน

    a8e0b899e0b98c-e0b89ae0b8b1e0b899e0b984e0b894e0b899e0b8b2e0b884-e0b888e0b8b4e0b899e0b895e0b899-4.jpg

    พจนานุกรมล้านนาบางฉบับให้ความหมายไว้ว่า มอมเป็นสัตว์ผสมระหว่าง สิงโตกับลิง มีแขนยาวคล้ายค่าง บางทีเรียกเสือดำ ในตำนานทางเหนือบางเล่ม อธิบายว่าเป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะ เทวบุตร เจ้าแห่งเมฆและฝน ภาคอีสานจะเรียกว่า สิงห์มอม มีความเชื่อว่า เป็นสัตว์ที่ทรงฤทธานุภาพ แข็งแรง ทรงกำลัง ปัจจุบัน บันไดนาค บันไดมกร หรือมอม ผสมปนเป สะท้อนผ่านงานพุทธศิลป์ร่วมสมัย ในวัดให้พบเห็นหลากรูปแบบ ส่วนจะเข้าถึงคติธรรม ที่แฝงนัยยะ ให้เกิดมโนทัศน์ สติ ปัญญา หลุดพ้นอวิชชา สิ่งยึดตัวมอมเมา เพื่อทางหลุดพ้นหรือไม่นั้นยากจะคาดเดา

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/945927
     

แชร์หน้านี้

Loading...