ยลเสน่ห์ย่านเยาวราช ย่ำแดนมังกรกลางกรุง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 15 พฤษภาคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ยลเสน่ห์ย่านเยาวราช ย่ำแดนมังกรกลางกรุง </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>15 พฤษภาคม 2550 16:57 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=420 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=420>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา หลักชัยของเยาวราช</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภาพของถนนสายไม่ใหญ่โตนัก สองข้างทางเต็มไปด้วยผู้คนและร้านอาหารหลากหลายชนิด บนพื้นถนนเต็มไปด้วยรถราวิ่งกันขวักไขว่ ส่วนด้านบนตึกรามบ้านช่องก็ดูรุงรังไปด้วยป้ายชื่อร้านรวงต่างๆ ที่เป็นภาษาจีนเบียดเสียดกันอยู่จนแทบไม่รู้ว่านี่คือเมืองไทย สิ่งเหล่านี้คือภาพที่ฉันจะนึกถึงเสมอเมื่อพูดถึงย่าน "เยาวราช"

    ภาพที่ว่านั้นก็เป็นภาพของถนนสายเยาวราช ถนนแห่งมังกร ซึ่งถ้าใครได้ไปเห็นมาก็ต้องบอกว่าเป็นอย่างที่ฉันบอกจริงๆ แต่สิ่งเหล่านั้นก็นับเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้คนให้ไปเยี่ยมเยียนเยาวราชกันอยู่บ่อยๆ

    เมื่อเร็วๆ นี้ฉันก็ได้ไปเที่ยวย่านเยาวราชมาเช่นกัน เพราะทางกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล และทางชุมชนเยาวราชเขาจัดโครงการชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน ย่านเยาวราชขึ้น แต่การมาเยาวราชคราวนี้ฉันไม่ได้มุ่งตรงมาแค่ที่ถนนเยาวราช ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายมังกรเท่านั้น แต่ฉันได้ไปเที่ยวชมย่านเยาวราชรอบนอก รวมทั้งได้รู้รายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อยในย่านเยาวราชซึ่งถือว่ามีความเก่าแก่ในด้านประวัติศาสตร์ ไม่พลุกพล่านไปด้วยผู้คน แต่มีเสน่ห์ไม่น้อย มาคราวนี้ฉันได้ไกด์นำเที่ยวเป็นกูรูเยาวราชถึงสองคน คือคุณเจริญ ตันมหาพราน กับคุณปัญญภัทร เลิศสำราญเริงรมย์ ผู้ที่เกิดและเติบโตอยู่ในย่านเยาวราชเป็นคนพาไปรู้จักกับเยาวราชรอบนอก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย สวยงามเป็นเอกลักษณ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จุดเริ่มต้นของเราอยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ใกล้กับสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ธนาคารแห่งนี้เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่คนไทยเป็นเจ้าของ หรือหากจะเรียกชื่อดั้งเดิมก็ต้องเรียกว่า แบงค์สยามกัมมาจล ที่นี่นอกจากจะมีความเป็นมาที่เก่าแก่แล้ว อาคารที่เป็นที่ทำการธนาคารก็ยังได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นอีกด้วย หากใครมีโอกาสได้นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาผ่านมาแถวนี้ก็คงจะได้เห็นตึกทรงยุโรปสถาปัตยกรรมแบบบาร็อค อิตาเลียนที่งดงามอยู่ริมแม่น้ำ เคียงคู่อยู่กับโบสถ์กาลหว่า หรือโบสถ์แม่พระลูกประคำ โบสถ์คริสต์สถาปัตยกรรมแบบกอธิค หน้าต่างประดับด้วยกระจกสีเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระคัมภีร์สวยงามมาก

    จากธนาคารไทยพาณิชย์และโบสถ์กาลหว่าร์ ฉันเลี้ยวซ้ายออกมายังถนนเจริญกรุง ถนนที่ตัดขึ้นด้วยวิทยาการแบบตะวันตกเป็นสายแรกๆ ในประเทศไทย และบนถนนเจริญกรุงนี้ จุดแรกที่จะผ่านก็คือวัดอุภัยราชบำรุงหรือวัดญวนตลาดน้อย วัดแบบจีนที่สร้างโดยชาวญวนอพยพในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนชื่อวัดอุภัยราชบำรุงนั้น แปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ วัดที่ได้รับการทำนุบำรุงจากกษัตริย์สองพระองค์ นั่นก็คือรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 อีกทั้งบริเวณหน้าวัดยังมีต้นโพธิ์ลังกาที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูกไว้อีกด้วย

    และบริเวณถนนหน้าวัดนั้น ถ้ามองให้ดีๆ ก็จะสังเกตเห็นแนวเส้นเหมือนกับรางรถไฟอยู่บนถนนที่แนวคอนกรีตที่กร่อนลงไป ซึ่งนั่นก็คือรางของรถรางที่วิ่งให้บริการในอดีต รถรางสายนี้เป็นรถรางสายสีเหลือง หรือที่เรียกว่าสายถนนตก เส้นทางการวิ่งก็จะตั้งต้นจากบริเวณด้านข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองผ่านมาทางพระบรมมหาราชวัง วิ่งผ่านวัดราชบพิตรเข้าสู่ถนนเจริญกรุง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก มัสยิดเก่าแก่สมัย ร.5</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เรื่องตลกของรถรางที่ฉันเพิ่งเคยรู้ก็คือ ในตอนแรกนั้นรถรางจะใช้ม้าในการขับเคลื่อนลากจูงไป ว่ากันว่ามันช้ามาก รถรางหยุดให้คนกินข้าวบ้าง ให้ม้ากินหญ้าบ้างกว่าจะถึงถนนตกก็บ่ายแก่ๆ หรือถึงช่วงเย็น และอัตราค่าโดยสารก็แพงมากในสมัยนั้นจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม ต่อมาบริษัทของชาวเดนมาร์กได้สัมปทานรถรางนี้ไป และได้ปรับปรุงให้รถรางใช้กำลังขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแทน จึงถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรถรางไฟฟ้าใช้ แต่ตอนแรกๆนั้นคนไทยก็ยังไม่กล้าขึ้นรถรางนี้ เพราะกลัวจะถูกไฟช็อต พวกฝรั่งจึงต้องทดลองนั่งให้เห็นว่าปลอดภัยเสียหลายวันกว่าจะมีคนยอมนั่ง

    เดินทางต่อไปยังพื้นที่ที่เรียกว่าเป็นเซียงกง เป็นย่านขายอะไหล่เครื่องจักรกลเก่ามีชื่อเสียงของเยาวราช ชื่อเสียงที่ว่านั้นก็โด่งดังขนาดที่คำว่าเซียงกงกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่าหมายถึงที่ที่ขายเศษเหล็กขายเครื่องจักรกลเก่า แม้จะอยู่ในพื้นที่อื่นๆ ก็ยังใช้ชื่อว่าเซียงกงตามเซียงกงแต่ดั้งเดิมของเยาวราช อีกทั้งในย่านนี้ก็ยังมีศาลเจ้าชื่อเดียวกัน ก็คือศาลเจ้าเซียงกง ซึ่งประดิษฐานเทพประทานซึ่งมีลักษณะเป็นเหมือนเทพารักษ์ของจีน คอยปกปักรักษาชาวบ้านในย่านนี้ด้วย

    ไม่ไกลจากเซียงกงนัก เป็นที่ตั้งของวัดปทุมคงคา หรือวัดสำเพ็ง วัดโบราณในสมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงรัชกาลที่ 1 โดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ได้บูรณะวัดนี้ขึ้นเพื่อที่จะเฉลิมพระเกียรติของพระบรมชนก ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยนามว่าพระพุทธมหาชนกประดิษฐานอยู่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร่องรอยของรางรถรางเก่าที่บนถนนเจริญกรุง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ออกจากวัดปทุมคงคามาแล้ว ฉันอยากให้มองไปฝั่งตรงข้ามวัดเสียหน่อย เพราะมีร้านเก่าแก่น่าสนใจที่ชื่อว่าร้านซุ้ยล้ง ซึ่งเป็นร้านที่ประกอบอาชีพการทำถังโบราณมาหลาย 10 ปีแล้วในอดีตถังไม้เหล่านี้จะมีความสำคัญมากกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ใช้ในการหมักน้ำปลา ดองอาหารต่างๆ รวมถึงการใช้ใส่สิ่งของอื่นๆ ก็ได้ แต่ปัจจุบันจะมีถังโลหะ ถังพลาสติกเข้ามา แต่ลูกค้าที่ยังคงซื้อถังไม้เหล่านี้อยู่ก็คือธุรกิจสปาทั้งหลาย

    และในย่านนี้ก็ยังมีถนนที่สั้นที่สุดในกรุงเทพฯ อีกด้วย ซึ่งก็คือถนนทรงเสริม ซึ่งสุดถนนจะเป็นท่าเรือข้ามฟากเล็กๆ ไปยังคลองสาน แต่ในอดีตที่รุ่งเรืองนั้นท่าเรือนี้เคยเป็นท่าเรือเดินทะเลน้ำลึกมาก่อน แน่นอนว่าก็ต้องเป็นเรือสินค้ามาจากประเทศจีน แถวนี้จึงต้องมีการขนส่งสินค้าอยู่ตลอดเวลา ตึกแถวโบราณที่ตั้งขนานกับแม่น้ำส่วนใหญ่นี้จึงมักมีโกดังอยู่ด้านหลังเพื่อเก็บสินค้า ก่อนที่จะกระจายไปขายยังที่ต่างๆ ซึ่งตึกแถวเหล่านี้สวยงามมากเลยทีเดียว

    เลยไปอีกหน่อยหนึ่งบนถนนทรงวาด เป็นที่ตั้งของมัสยิดหลวงโกชาอิศหาก มัสยิดเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นแห่งเดียวในชุมชนเยาวราช ทุกวันศุกร์ตอนเที่ยงซึ่งเป็นวันละหมาดใหญ่ก็จะมีชาวมุสลิมในย่านนี้เดินทางมาละหมาดกันอย่างพร้อมเพรียง

    จากจุดนี้เราย้อนกลับมายังถนนเยาวราชบริเวณที่เป็นจุดบรรจบกับถนนเจริญกรุงหรือตรงวงเวียนโอเดียน ซึ่งถือเป็นส่วนหัวมังกร และมีสัญลักษณ์สำคัญคือซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเหมือนหลักชัยของย่านเยาวราช ซุ้มประตูนี้เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและประชาชนในย่านเยาวราชสละทุนทรัพย์ในการสร้างซุ้มประตูนี้ขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถือเป็นการรวมความสามัคคีกันของชาวจีนในเยาวราชอีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร้านทำถังไม้ที่หาได้ยากในตอนนี้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เหตุที่เรียกบริเวณนี้ว่าวงเวียนโอเดียนนี้ก็เพราะแต่เดิมมีโรงภาพยนตร์โอเดียนตั้งอยู่ แต่ที่เรียกว่าเป็นจุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ก็คือวัดไตรมิตรวิทยาราม วัดที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยียนมากมายทุกวันเพราะมีพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร พระพุทธรูปทองคำอันล้ำค่า และในขณะนี้ก็กำลังจะสร้างพระมหามณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ ดังนั้นจึงต้องมีการรื้อตึกแถวด้านหน้าทั้งแถบออกเพื่อเป็นการเปิดภูมิทัศน์ให้เห็นพระมหามณฑปได้ชัดเจนและสมเกียรติกับพระพุทธรูปทองคำซึ่งเป็นศิลปะตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งประมาณค่าไม่ได้และถือว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย แต่ต้องไว้อาลัยให้แก่ตึกแถวในแถบนี้ด้วย

    ส่วนฝั่งตรงข้ามกับวัดไตรมิตรฯ ก็เป็นสถานที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือมูลนิธิเทียนฟ้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของชาวจีนแต่ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อของศาลเจ้าแม่กวนอิมองค์ทอง ที่มาของมูลนิธิเทียนฟ้านี้ก็เริ่มขึ้นหลังจากที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทั้ง 5 ภาษาไม่ว่าจะเป็น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน จีนแคะ ไหหลำ และแต้จิ๋ว เข้ามาประกอบอาชีพจนมีฐานะร่ำรวยแล้วอยากจะตอบแทนสังคมด้วยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพราะชาวจีนในยุคนั้นที่ไม่ถนัดกับการไปรักษากับโรงพยาบาลของรัฐ เป็นวิทยาการแบบตะวันตกที่ชาวจีนไม่คุ้นเคย

    เดินกันเสียเพลินจนตอนนี้เข้ามาอยู่ในบริเวณท้องมังกรที่ถือเป็นศูนย์กลางของเยาวราชกันแล้ว ถนนเส้นนี้คงไม่ต้องพูดอะไรกันมาก แต่ต้องมาเดินดูเองให้ได้บรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นสารพัดร้านทอง สารพัดของกิน สารพัดชุดจีน และเครื่องตกแต่งแบบจีนๆ ทั้งหลาย แต่ฉันอยากจะชี้ชวนดูจุดเล็กๆ ที่ถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรถรางให้ดูสักเล็กน้อย นั่นก็คือป้ายหยุดรถรางที่ตอนนี้เหลืออยู่เพียงจุดเดียวในเยาวราช หน้าเวิ้งนาครเขษม เป็นป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลาง ป้ายนี้ติดอยู่ตรงชายคาของตึกแถว ผ่านสายตาของคนมากมาย แต่ก็คงมีหลายคนที่ไม่รู้ที่มาที่ไปของป้ายนี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตึกแถวหน้าวัดไตรมิตรฯ ที่จะต้องถูกรื้อลงเร็วๆ นี้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากถนนเยาวราช ฉันออกจากหางมังกรแล้วย้อนกลับมาเข้าถนนเจริญกรุงอีกฟากหนึ่ง ในถนนเจริญกรุงนี้เราจะได้เห็นเยาวราชในอีกวิถีชีวิตหนึ่ง ฝั่งเยาวราชจะเห็นร้านค้าทองขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่ ร้านขายของกินขนาดใหญ่ แต่เจริญกรุงนั้นยังคงจะพอมองเห็นภาพเสื่อผืนหมอนใบอยู่บ้าง เรายังเห็นคนจีนโพ้นทะเลเดินทางจากเมืองจีน เอาสินค้าเข้ามาขาย และพักอยู่ตามโรงแรมเล็กๆ ในย่านนี้ เมื่อขายของพอเก็บเงินได้ก็จะบินกลับไปเอาสินค้ามาขายอีก

    ในด้านถนนเจริญกรุงนี้มีวัดจีนสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือวัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ วัดจีนที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปและเทพเจ้าต่างๆ ที่เป็นที่เคารพของชาวจีน

    แม้เขตสัมพันธวงศ์หรือย่านเยาวราชนี้จะเป็นเขตที่มีขนาดเล็กที่สุดในกรุงเทพฯ แต่ฉันว่ามันก็ยังกว้างเกินกว่าจะเดินได้ทั่ว สิ่งที่น่าสนใจในย่านเยาวราชที่ฉันเสนอมาในวันนี้เป็นแค่บางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะโครงการที่จัดทำขึ้นมานี้เขายังได้จัดเส้นทางเดินเท้าเยาวราชออกเป็นอีก 6 เส้นทางด้วยกัน โดยมีเส้นทาง
     

แชร์หน้านี้

Loading...