ยอดแห่งอรหันต์ ทั้ง 18 องค์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 20 ธันวาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE><TBODY><TR><TD bgColor=#ffcc00 colSpan=2>หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ได้ออกเดินจากประเทศจีน ไปยังประเทศอินเดีย เพื่อสืบค้นพระธรรมในพระพุทธศาสนาเพิ่มเติม เมื่อ พ.ศ.1172 ในสมัยพระเจ้าถังไท้จง แห่งราชวงศ์ถัง ท่านได้จาริก ไปรอบอินเดีย ได้ใช้เวลาศึกษาพระพุทธศาสนาและคัดลอกพระไตรปิฏกตลอดเวลา และได้เดินทางกลับประเทศจีนเมื่อราว พ.ศ.1188 รวมเวลาตั้งแต่ไปจนกลับ 16 ปี หลังจากกลับจากประเทศอินเดียแล้วท่านได้เริ่มแปลพระคัมภีร์สูตรต่าง ๆ จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนอยู่หลายปี แปลเสร็จบริบูรณ์เป็นหนังสือรวม 1335 ปริเฉทพระคัมภีร์เหล่านี้ได้พิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือจีนด้วยกระดาษจีนธรรมดา และเป็นพระคัมภีร์ที่ชนชาวจีนนับถือตลอดมาจนปัจจุบันนี้ </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 1ปินโฑลภารัทวาช แปลว่า ก้อนข้าวผู้รับทาน ภารัทวาชเป็นสกุลใหญ่ 1 ใน 18 ของพราหมณ์ สถิตอยู่อมรโคยานทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์อีก 1,000 องค์ เป็นบริวาร ท่านได้แสดงปาฏิหารย์ หยิบบาตรไม้จันทน์บนยอดเขาสูง ความทราบถึงพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า แสดงปาฏิหารย์เพื่อบาตรไม้จันทน์ต่อหน้าพวกที่ยังมิได้รับศีล จึงขับออกไปเสียจากชมพูทวีปไปอยู่ทวีปอมรโคยาน ต่อมา บรรดาสาวกคิดถึงท่าน จึงขอให้กลับมา พระพุทธองค์ก็ยอมอนุโลมให้กลับมาแต่ไม่ให้เข้าปรินิพพาน ต้องดำรงขันธ์เป็นเนื้อนาบุญต่อไป เพื่อพิทักษ์พระศาสนาจนกว่าพระศรีอารยจะมาตรัส ฉะนั้นการสักการบูชาท่านจึงได้กุศลมาก ลักษณะพิเศษของท่าน คือถ้ามีผู้ใดเลี้ยงพระ ท่านก็จะปลอมแปลงเป็นพระธรรมดาแอบเข้าไปร่วมรับประทานด้วย รูปเป็นผอมเห็นซี่โครง บ้างยืน บ้างนั่ง มือถือหนังสือ อีกมือถือบาตร หรือมือทั้งสองถือหนังสือ หรือวางบนเข่า บ้างยืนในท่าหยิบบาตร บางท่านเชื่อว่าท่านนี่คือ หลวงปู่เทพโลกอุดร</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 2 กนกวัจฉ แปลว่าลูกโคทอง สถิตอยู่แคว้นกัศมีระ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก 500 องค์เป็นบริวาร ท่านเป็นสาวกที่สารถในทางรู้แจ้งบรรดาลัทธิธรรมต่าง ๆ และเป็นผู้ทรมานร่างกายได้ดี สามารถนั่งเข้าฌาณในกลางฝนได้ รูปท่านเป็นรูปห้อยเท้าขวา มือขวาวางบนเข่า มือซ้ายวางที่ฝ่าเท้าซ้าย</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 3 กนกภารัทวาช เป็นชื่อฤษี 1 ใน 7 มหาฤษี สถิตอยู่แคว้นบูรพวิเทพ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 600 องค์เป็นบริวาร รูปท่านนั่งห้อยเท้า เท้าซ้ายยกขึ้นจากรองเท้า มือขวาวางอยู่บนเข่า มือซ้ายอยู่ข้างหูเป็นรูปคนแก่ผมยาว</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 4 สุปินฑ สถิตอยู่อุตตรกุรุทวีป พร้อมด้วยอรหันต์ 700 เป็นบริวาร ท่านองค์นี้อาจจะเป็นพระสุภัทร ซึ่งเป็นพราหมณ์ชาวเมืองกุสินารา บรรลุพระอรหันต์ เมื่ออายุ 120 ปี โดยสดับพระธรรมเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประชวรหนักจวนเสด็จดับขันธ์ ท่านสุภัทรไม่ต้องการจะเห็นพระอริยสาวกองค์สุดท้าย รูปเป็นคนแก่นั่งเข้าสมาธิ มือถือหนังสือบ้างทำเป็นรูปนั่งธรรมดา มีบาตรและกระถางธูปอยู่ข้างหนึ่ง มือซ้ายถือหนังสือ มือขวาทำมุทราดีดนิ้ว บ้างยกมือขวาหงาย</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 5 นกุล แปลว่า พังพอน สถิติอยู่ชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์ 800 องค์ เป็นบริวาร ท่านชอบอยู่โดดเดี่ยว ถือการธุดงค์เป็นพรต ไม่มีศิษย์ไม่เคยเทศนา ไม่ของอยู่ปะปนกับใคร ไม่เคยอาพาธ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นศิษย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ 160 ปี ทั้งนี้เพราะเมื่อสมัยพระวิปัสสีพุทธ ท่านได้ถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้อาพาธ ท่านไม่เคยเทศนาโปรดใครนั้น เพราะท่านเห็นว่าพระสารีบุตร พระอานนท์และพระมหาสาวกองค์อื่น ๆ เทศนาได้ดีแล้ว ท่านจึงไม่จำเป็นต้องเทศน์ รูปท่านเป็นนั่งห้อยเท้า มีพังพอนอยู่ข้าง ๆ บ้างเป็นรูปกบสามขาอยู่ใต้รักแร้บ้างเป็นรูปเข้าฌาณ มีเด็กน้อยอยู่ข้างหนึ่งหรือแบมือทั้งสองข้าง</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 6 ภัทร แปลว่า ประเสริฐ สถิตอยู่ตามระทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์ 900 องค์ บ้างว่าท่านเป็นพระญาติพระพุทธเจ้าบ้างว่ามีสกุลสูง เป็นมหาสาวกองค์หนึ่งสามารถอธิบายอรรถธรรมที่ลึกซึ้งด้วยคำพูดงง่าย ๆ รูปท่านเป็นรูปนั่งห้อยเท้า ถือหนังสือมีอยู่ข้าง ๆ แสดงว่าท่านปราบเสือได้บ้างทำเป็นรูปมีขนคิ้วยาว ประณมมือ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 7 กาลิก แปลว่า เวลา ชั่วเวลา สถิตอยู่สังฆ ฏทวีปพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,000 องค์ ท่านเป็นที่นับถือ แห่งพระเจ้าพิมพิสาร รูปท่านเป็นรูปนั่งห้อยเท้าหรือเข้าฌาณบ้างถือหนังสือหรือใบไม้ บ้างทำเป็นรูปคิ้วยาวลงมาจนลากดิน ต้องใช้มือถือไว้ บ้างฉาบทั้งสองมือ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 8 วัชรบุตร สถิตอยู่บรรณทวีป พร้อมพระอรหันต์ 1,100 องค์เป็นบริวาร รูปห้อยเท้า ถือไม้เท้าขักขระ ไม้เท้านี้บนยอดมีโลหะมีชองเป็นวงกลมสำหรับร้อยแหวนโลหะ เมื่อเขย่าจะเกิดเสียงเวลาเดินทางในป่า จะทำให้จำพวกสัตว์เลื้อยคลานได้ยินเสียงจะตกใจแล้วหลีกหนีไป</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 9 สุปากะ สถิตอยู่กลางเขาคันธมาทน์พร้อมด้วยพระอรหันต์ 900 องค์ ในหนังสือเถรคาถา มีชื่อโสปากะอยู่องค์หนึ่ง เนื่องด้วยตอนจะคลอดมาดาสลบไปผู้คนเข้าใจว่าตาย จึงนำไปทิ้งที่ป่า เมื่อท่านคลอดออกมามารดาก็ถึงแก่กรรมไปจึงชื่อว่าโสปากะ แปลว่าอันเขาทิ้งแล้ว เมื่อท่านอายุได้ 7 ปี ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าสั่งสอนก็เลื่อมในแล้วออกบรรพชา ภายหลังได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นสาวกองค์หนึ่ง รูปท่านนั่งห้อยเท้า มือถือหนังสือหรือพัด ข้าง ๆ มีอรหันต์องค์เล็ก หรือทั้งสองมือถือลูกประคำ </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 10 ปันถก แปลว่าทาง บ้างเติมคำมหาเป็นมหาปันถก สถิตที่สวรรค์ตรัยตรึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1300 องค์ เป็นบริวาร ท่านเป็นบุตรของพราหมณี พราหมณีนี้ออกลูกที่ใดก็ตายทุกคราว ครั้งหลังจึงไปคลอดที่ถนนใหญ่แล้วได้บุตรคือท่านเอง ท่านมีฤทธิ์ชำแรกกายเข้าของแข็งได้นิรมิตไฟน้ำได้เดินเหินในอากาศได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสให้ไปปราบพญานาค ท่านยังเป็นองค์ที่ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา สามารถแก้ความสงสัยในอรรถธรรมให้แจ่มแจ้งได้ เป็นเอตทัคคะสาวกองค์หนึ่ง รูปท่านนั่งห้อยเท้าบนหลังสิงห์ บ้างนั่งห้อยเท้ากำลังทรมานพญานาคให้เหข้าอยู่ในบาตร บ้างนั่งใต้ต้นไม้ มือถือหนังสือ บ้างเป็นรูปนั่งเข้าฌาณ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 11 ราหุล สถิตอยู่ยังปริยังคุปทวีปพร้อมด้วยอรหันต์ 1,100 องค์บริวาร ท่านเป็นพุทธชิโนรส พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ท่านจะได้ไปเกิดเป็นเชษฐโอรส ของพระอานนท์ ฉะนั้น จึงมีสมญาว่า โอรสพระอานนท์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระปรินิพพาน ท่านได้เป็นคณาจารย์นิกายไวภาษิก และเป็นที่เคารพของบรรดาสามเณร ท่านเป็นเอตทัคคะมหาสารวก ศึกษาในธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติเคร่งครัด รูปท่านบ้างทำเป็นผู้มีศรีษะโต ตาโต จมูกเป็นขอ บ้างก็เป็นรูปคนธรรมดา มือทั้งสองอุ้มเจดีย์</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 12 นาคเสน สถิตอยู่เขาปาณฑพแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,200 องค์เป็นบริวาร ท่านเป็นผู้มีสง่า มีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาธรรม มีความรู้ลึกซึ้ง ดูเหมือนจะเป็นคนเดียวกันกับพระนาคเสน ในมิลินทปัญหา รูปนั่งห้อยเท้า มือซ้ายยกสูงเพียงหู มือขวาอยู่บนเข่า</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 13 อิงคท สถิตอยู่ภูเขาไวบูลยบราณศว์พร้อมด้วย พระอรหันต์ 1,300 องค์ เป็นบริวาร ท่านองค์นี้ หากเป็นองค์เดียวกันกับพระอังคช ก็เป็นมหารสาวกเช่นกัน และเป็นองค์ที่บริบูรณ์ในสิ่งทั้งปวง รูปนั่งห้อยเท้า อ้วนสมบูรณ์ ร่าเริง แต่บ้างก็เป็นรูปพระแก่ถือไม้เท้า บ้างถือหนังสือบ้างบาตร</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 14 วันวาสี แปลว่าอยู่ป่า สถิตอยู่ภูเขาวัตสะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,400 องค์ เป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ได้ ดูเหมือนจะเป็นองค์เดียวกับพระวัจนะ ซึ่งชอบอยู่ตามป่า รูปนั่งห้อยเท้าอยู่ที่ปากถ้ำ หลับตาเหมือนเข้าฌาณ บ้างทำนิ้วมุทรา (ท่านิ้วหงิกงอ) บ้างวางบนเข่า บ้างถือหนังสือ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 15 อชิต แปลว่าชนะไม่ได้ สถิตอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,500 องค์เป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ได้ ในคราวทุติยสังคายนา ยังมีภิกษุองค์หนึ่งชื่อเดียวกันกับท่าน ในเถรคาถามีพระอชิตเถระเป็นบุตรของพราหมณ์ คำว่า อชิต เป็นนามพระศรีอารย รูปนั่งห้อยเท้า แก่ ขนคิ้วยาว มือวางบนเข่า บ้างนั่งเข้าฌาณ ที่หน้าอกมีรูปหน้าคน ยังไม่ทราบว่ามีความหมายอะไร </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 16 จูฑะปันถก บ้างเติมคำว่า จูฬ แปลว่า คนทางเล็ก สถิตอยู่ที่ภูเขาเนมินธรพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,600 องค์ เป็นบริวาร เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เมื่อแรกอุปสมบทปัญญาโง่ทึบท่องจำอะไรไม่ได้แม้แต่ประโยคเดียว แต่ต่อมา ได้บรรลุอรหัตตผลเชี่ยวชาญในวิชามโนยิทธิ เรื่องราวของท่านปรากฏอยู่อสีติมหาสาวก รูปนั่งห้อยเท้า มือขวาถือถ้วย มีนกกำจิกน้ำ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 17 เค่งอิ๋ว นนทิมิตร</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=2>องค์ที่ 18 ปินโทล่อ ปินโทล พระอรหันต์ 18 องค์ เริ่มมาจากพระอรหันต์อารักษ์ธรรม 4 องค์ พ.ศ. 1000 พระภิกษุจีนวาดภาพพระอรหันต์ 16 องค์ บ้างวาด 48 องค์ และ 500 องค์ก็มี พ.ศ.2280 กษัตริย์เคียงล้งแห่งราชวงศ์เชง โปรดเพิ่มพระอรหันต์ปราบมังกรและเสืออีก 2 องค์ คือท่านนนทิมิตรกับท่านปินโทลจึงเป็น 18 องค์ ความจริงเรื่องปราบมังกรและเสือ เป็นเรื่องของพวกลัทธิเต๋า (พวกเซียน) และก็เลยเป็น 18 องค์ กระทั่งปัจจุบัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...