ยันต์ราชสีห์-ยันต์สิงห์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 27 ตุลาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    สิงห์ หรือ ราชสีห์ เป็นสัตว์อีกชนิดที่คนเชื่อว่าเป็น สัตว์มหาอำนาจ ด้วยเหตุนี้เองเหล่าบรรดาเกจิทั้งยุคก่อนและ ปัจจุบันจึงนำมาเขียนลงผ้ายันต์ เช่น หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม เป็นต้น

    จากการศึกษาพบว่า พระคาถาสำคัญที่จะขาดเสียมิได้ระหว่าการ เขียน-วาดภาพสัตว์ต่างๆ ลงผ้ายันต์ หากเป็นสัตว์ที่เชื่อถือกันว่ามี อำนาจ มีตบะเดชะ จะต้องว่าคาถา หรือใช้เสกให้ครบตามกำลัง คาบ หรือกำลังของวันที่เขียน โดยต้องบริกรรมคาถาที่สำคัญอยู่ ๓ คาถา คือ พระคาถา นะโม พุท ธา ยะ พระคาถา นะมะพะทะ และพระคาถา นะ มะ อะ อ
    ขณะวาดภาพสัตว์ให้ภาวนา อาการ ๓๒ ทุกภาพ ทุกครั้ง แล้ว บรรจุธาตุลงไปตามแต่จะหมุน ธาตุให้เกิด อิทธิฤทธิ์ ต่างๆ ได้ตามกำลังของพลัง จิตของคณาจารย์ที่มุ่งมั่นให้พึงมี พึงเกิด
    ระหว่างวาดภาพราชสีห์หรือสิงห์นั้น เกจิอาจารย์ยุคก่อนได้บริกรรมพระคาถาที่สำคัญ คือ พระคาถาพระยาราชสีห์ พระคาถามหาอำนาจ และพระคาถามหาจังงัง
    [​IMG]พระคาถาพระยาราชสีห์ คือ พุทธะเสฏโฐ มหานาถัง วัณณะโก สิงหะ นาทะกังพุทธะสิระสา เตเชนะ มาระเสนา ปะราเชยยัง ชัยยะ ชัยยะ ชัยยะ ภะวันตุเม
    พระคาถานี้ของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (วัดมงคลโคธาวาส) จ.สมุทรปราการ ใช้สำหรับ เสกเสือ ที่แกะด้วยเขี้ยวเสือ ใช้ทางมหาอำนาจดีมาก
    ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า พระคาถาราชสีห์นี้ ถ้าจะเข้าหาขุนนาง ท้าวพระยาทั้งหลายทั้งปวง (ผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา) หรือเวลาไปออกทัพจับศึก ประจญประจัญบานด้วยศัตรูก็ดี ให้เสกเมี่ยงหมากอมไป เสกน้ำมันหรือแป้งทาตัว ศัตรู (คนพบเห็น) เกรงขามเรานัก บังเกิดความมีสง่า มีตบะเดชะ ถ้าจะออกศึกประจญศัตรูออกรบ ให้ ภาวนา ด้วยจิตที่เชื่อมั่นมี สมาธิจิตเป็นหนึ่ง มีชัยชนะแล รวมทั้งถ้าหากจะขึ้นโรงขึ้นศาล (เป็นความกัน) ให้ภาวนาไปเถิด คนจะครั่นคร้าม อำนาจตบะเราแล
    พระคาถา มหาอำนาจ คือ "ตะมัตถัง ปะกาเสนโต สัตถา อาหะ ไกรสร ราชสีห์ วิยะ อิมัง คาถะมาหะ"
    (ภาวนาไปเถิด ช้าง ม้า วัว ควาย สัตว์ร้ายต่างๆ ธนูหน้าไม้ อย่ากลัว เป็นที่เกรงขามแก่ฝูงชน เป็นอย่างดี มี อำนาจ ในตัว ผู้ภาวนา
    [​IMG]ส่วนพระคาถาที่มักนำมาลงผ้ายันต์คือ พระคาถามหาจังงัง คือ นะหิจังงัง นะบังตัง นะบังจิตตัง นะโมหิ จังงัง โม บังตัง โมบังจิต ตังโม พุท หิ จังงัง พุทบังตัง พุท บังจิตตังพุท ธา หิจังงัง ธาบังตัง ธาบังจิตตังธา ยะหิจังงัง ยะบังตัง ยะบังจิตตัง ยะ
    พระคาถานี้ ภาวนาไว้เป็นมหาจังงังอย่างเลิศประเสริฐคุณ ศัตรูไม่อาจจะทำร้ายเราได้เลย งงงวย อ้าปากมิออก ยกแขนมือเท้าไม่ขึ้น โบราณท่านบรรยายไว้ว่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก พระอาจารย์ผู้เฒ่าได้ให้ไว้และผู้ภาวนาบริกรรมพาลูกหลานบังตาพวกพม่าข้าศึก หนีออกมา ได้อย่างอัศจรรย์
    นอกจากนี้ยังมี พระคาถาประกอบที่น่าสนใจ คือ
    พระคาถาหัวใจพระสังคะหะ คือ จิ เจ รุ นิ ภาวนาอย่าขาดปากเลย ศัตรูทำอันตรายมิได้ เสกใส่ใบลานหรือกระดาษ ใส่ ปากผี ตาย ผีนั้น ไม่เน่าไม่เปื่อย (ใช้ทางปลุก ภูต ก็ได้)
    พระคาถาหัวใจโจร คือ กัน หะ เน หะ ใช้ได้สารพัดทางอยู่คง เสกเหล้ากินก็ได้ เสกหว่านกินก็ได้
    พระคาถาหัวใจกรณียเมตตสูตร์ คือ เอ ตัง สะ ติง ให้เอาขมิ้นผงใส่ฝ่ามือ แล้วบริกรรมเรียกเข้าไปในตัว อยู่คงนัก ถึงนอนหลับ ก็ฟันแทงมิเข้า
    การลงอักขระเท่าที่พบจากผ้ายันต์ของเกจิอาจารย์ในอดีต ที่ลงคาถาอาคมลงในรูปสิงห์ (ราชสีห์) จะเป็นสิงโต หรือยันต์ราชสีห์โผน หรือสิงห์ฉบับครู
    [​IMG]หัวใจพระนวหรคุณ คือ "อะ สัง วิ สุโล ปุ สะ พุ ภะ" เป็นคาถาที่ถอดใจความสำคัญออกมาจากพระพุทธคุณทั้ง ๕๖ พระคาถา ที่พบเห็นแต่อาจารย์ลงคล้ายกัน คาถาบทนี้ยังใช้ต่อสายสิญจน์ที่ขาด และจะขาดเสียมิได้คือ พระคาถา หัวใจพระอิติปิโส และพระคาถาพระนวหรคุณ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
    อะ คือ อะระหัง
    สัง คือ สัมมาสัมพุทโธ
    วิ คือ วิชาจะระณะ สัมปันโน
    สุ คือ สุคะโต
    โล คือ โลกะวิทู อนุตตะโร
    ปุ คือ ปุริสะ ธัมมะสารถิ
    สะ คือ สัตถาเทวะมนุสสานัง
    พุ คือ พุทโธ
    ภะ คือ ภะคะวาติ
    [​IMG]ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่า ผู้ใดที่บริกรรมพระคาถาหัวใจพระอิติปิโสบทนี้ ใช้ปลุกสิ่งของต่างๆ ทั้งใช้ภาวนา เป็นมหานิยม และแคล้วคลาดได้ คาถาบทนี้ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ใช้บริกรรมภาวนาขณะปลุกเสกวัตถุมงคล
    นอกจากนี้ยังมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า ผู้ใดภาวนาพระคาถา "พระอิติปิโสเรือนเตี้ย" ที่ว่า "อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ" สามารถกันได้สารพัด มีฤทธาศักดานุภาพมากมาย เหลือที่จะกล่าว (ภาวนาสะเดาะอะไรได้สารพัด เป็นเมตตามหานิยมแคล้วคลาด คงกระพันก็ได้ ใจมั่นๆ มี สมาธิ ใช้ได้หลายประการตามแต่ปรารถนา)
    คาถาบทนี้ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ได้ถวายให้ ร.๕ ก่อนเสด็จประพาสฝรั่งเศส และพระองค์ก็ใช้คาถาบทนี้เสกหญ้าให้ม้ากิน ทำให้ม้าที่พยศกลายเป็นม้าที่เชื่องทันที จากประสบการณ์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า ใครบริกรรมคาถาบทนี้มีเมตตาสูง
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width=550 bgColor=#ffcc00 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffcc>
    ยันต์บนเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี
    [​IMG]การจัดชุดพระเครื่องเบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง พระลีลาเม็ดขนุน (ซุ้มกอป พระรอด พระผงสุพรรณ และพระนางพญา นอกจากนี้แล้วยังมีการจัดเบญจภาคีชุดเหรียญพระเกจิอาจารย์ อีกด้วย ซึ่งได้จัดเรียงตามลำดับของความนิยมนั้น ก็มีดังนี้
    ๑.เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
    ๒.เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
    ๓.เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ๔.เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
    ๕.เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    แม้ว่าเหรียญชุดดังกล่าวจะเป็นที่รู้จักและเป็นที่แสวงหาของเหล่าบรรดาเซียน หลายคนอาจจะรู้จุดสังเกตว่า เหรียญไหนแท้หรือเหรียญไหนปลอม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอักขระเลขยันต์ ซึ่งปรากฏบนเหรียญนั้นมีอะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงขอยกตัวอย่างยันต์บนเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง มาอธิบายเพื่อความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
    เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เนื้อสัมฤทธิ์ ยันต์ห้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เท่าที่พบเหรียญชนิดนี้มีเนื้อสำริดกลับดำอย่างเดียว มีทั้งกะไหล่ทองและเปียกทอง ค่านิยมในปัจจุบัน ประมาณหลักแสนปลาย ถึงหลักล้านต้นๆ
    ด้านหน้า มีอักขระยันต์ชุดเดียว คือ พุท-โธ ซึ่งเขียนไว้ด้านบนเหนือศีรษะ ส่วนด้านล่างใต้ฐานนั้น เป็นนามของหลวงปู่เอี่ยม คือ พระภาวนาโกศลเถระ แต่เขียนด้วยอักขระขอม การเขียนชื่อด้วยอักขระขอมนี้ ยังพบบนเหรียญของหลวงปู่ผล ลูกศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยมเช่นกัน
    ด้านหลัง ยันต์ตัว บนสุด คือ อุ ยันต์ที่อยู่ ในรูปว่าว คือ นะ โม พุท ธา ยะ ยันต์ที่อยู่ รอบรูปว่าว นั้นคือ มะ อะ อุ ส่วนยันต์ที่อยู่ ด้านซ้าย คือ นะ อิ ติ ยะ ตะ และยันต์ที่อยู่ ด้านขวา คือ โท อุด ทัง อัด เมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้ากันคือ นะ อิ ติ ยะ ตะ โท อุด ทัง อัด อย่างไรก็ตาม หากจะสรุปอำนาจพุทธคุณของเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ตามอักขระเลขยันต์ที่ปรากฏนั้น เหรียญนี้จะมีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และมีเมตตามหานิยมสูง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. pechklang

    pechklang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    400
    ค่าพลัง:
    +829
    ขออนุโมทนา กับคุณ Vacharaphol ที่ได้นำเรื่องราวเกล็ดความรู้ที่ดีมีประโยชน์มาเผยแพร่ให้ได้รับทราบใน Web ซึ่งประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองเป็นอย่างดี ทำให้หูตาสว่าง มีความรอบรู้มากขึ้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...