ย้อนอดีต "อยุธยายามศึก" เส้นทางหลบหนี "ท้าวศรีสุดาจันทร์"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 27 มีนาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    คลองสระบัวก่อนถึงวัดแร้ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>*ท้าวศรีสุดาจันทร์* สตรีหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ถูกตราหน้าว่าเธอเป็นหญิงชั่ว คบชู้ ฆ่าผัว ฆ่าลูก แต่ถ้าทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งสักหน่อย

    จะพบว่าเธอเป็น "วีรสตรี" คนหนึ่ง ท่ามกลางกระแสการชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

    ท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นสนมเอกคนหนึ่ง (ในสี่คน) ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ผู้ทรงรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สำเร็จ

    แล้วยกเลิกให้กษัตริย์หรือเจ้านายไปครองเมืองเหนือ คือเมืองพิษณุโลก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก

    คำว่า "ศรีสุดาจันทร์" นั้นเป็นชื่อตำแหน่งเฉพาะ สำหรับธิดานารีที่มีเชื้อสายเจ้านายราชวงศ์ ละโว้-อโยธยาเท่านั้น

    ในบทบรรณาธิการของ *นิตยสารศิลปวัฒนธรรม* ฉบับเดือนสิงหาคม 2542 เรื่อง "ท้าวศรีสุดาจันทร์" แม่หยัวเมือง "ใครว่าหล่อนชั่ว" สุจิตต์ วงษ์เทศ ว่า

    ท้าวศรีสุดาจันทร์น่าจะเป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช มาตั้งแต่ยังไม่ได้รับราชสมบัติ

    เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ชาติตระกูลของนางคงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีได้ จึงเป็นเพียงสนมเอก

    และสมเด็จพระไชยราชาธิราชเองก็อาจจะไม่สถาปนาเชื้อพระวงศ์ผู้ใดขึ้นเป็นพระมเหสีด้วย

    ฉะนั้น เมื่อพระนางมีโอรสถึง 2 องค์ คือ *พระยอดฟ้า* และ *พระศรีศิลป์* และ สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์ จึงทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์มีตำแหน่งเป็น "แม่อยู่หัว" หรือ "แม่หยัวเมือง" ด้วย

    เพราะเหตุที่เป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็คงตกอยู่ในความควบคุมของท้าวศรีสุดาจันทร์มากพอสมควร และคงเป็นที่รับรู้กันในราชสำนักด้วย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    วัดแร้ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในคำให้การชาวกรุงเก่าจึงเล่าว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดท้าวศรีสุดาจันทร์ มีรับสั่งให้เฝ้าอยู่ข้างพระที่มิได้ขาด ราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในต่างๆ ถ้าท้าวศรีสุดาจันทร์เพ็ดทูลคัดง้างอย่างไรแล้ว ก็ทรงเชื่อทั้งสิ้น

    หลังจากพระไชยราชาธิราชเสด็จสู่สวรรคาลัยขณะยกทัพกลับจากเชียงราย บัลลังก์แห่งอำนาจตกอยู่ในกำมือของท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมคนโปรด โดยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งยังเยาว์พระชันษา และแต่งตั้ง ขุนวรวงศาธิราช ชู้รัก เป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

    ท้าวศรีสุดาจันทร์มีเป้าหมายทางการเมืองอย่างน้อย 2 อย่าง คือสืบทอดเจตนารมณ์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราชเรื่องการปกครองแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง ที่พระนครศรีอยุธยา และฟื้นฟูราชวงศ์ละโว้-อโยธยาที่ถูกราชวงศ์สุพรรณภูมิทำลาย ให้มีอำนาจดังเดิม

    หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความขัดแย้ง และนำไปสู่การเสาะหาหนทางกำจัดขุนวรวงศาธิราช

    ภายใต้การนำของ "ขุนพิเรนทรเทพ" ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วงและสุพรรณภูมิก่อการยึดบัลลังก์คืน

    โดยได้ซุ่มกองกำลังดักอยู่ที่คลองปลาหมอ เพื่อลอบปลงพระชนม์แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาฯ ขณะเสด็จทางชลมารคเพื่อไปคล้องช้าง

    ซึ่งถือว่า *การลอบสังหารครั้งนี้เป็นการผลัดแผ่นดินครั้งยิ่งใหญ่*

    เมื่อครั้งที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดพาลูกค้าเดินทางย้อนอดีตสู่เมืองหลวงเก่าสยามประเทศ ภายใต้แนวคิด "อยุธยายามศึก" ได้พาคณะไปชมสถานที่แห่งหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวช่วงสำคัญของชีวิตท้าวศรีสุดาจันทร์ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ดร.สุเนตร อธิบายเส้นทางหลบหนีท้าวศรีสุดาจันทร์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แม้ว่าปัจจุบัน "วัดแร้ง" สถานที่เชื่อว่าเป็นที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ถูกประหาร และนำศีรษะไปเสียบประจานอยู่ที่นี่ พร้อมกับขุนวรวงศา และพระธิดา จะเป็นเพียงสถานที่รกร้างก็ตาม

    *ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์* อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรกิตติมศักดิ์ เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งนั้นเมื่อมาถึง "คลองสระบัว" เส้นทางหลบหนีของขุนวรวงศาธิราช ท้าวศรีสุดาจันทร์ และเจ้าหญิงพระองค์น้อย ซึ่งถูกจับและประหารในบริเวณคลองแห่งนี้ ว่า

    เมื่อมาถึงที่แห่งนี้แล้ว ให้จินตนาการข้างหน้าเป็นคลองขุดสมัยโบราณขนาดใหญ่ เรือพระราชพิธีแล่นไปได้ เดิมทีด้านหลังมีอีกคลองขนานกันและวิ่งมาชนกันเรียกว่า "คลองผ้าลาย" หรือ "คลองปลาหมอ" เมื่อเรือขุนวรวงศาธิราชถูกกระบวนเรือสกัดปิดหน้าปิดท้าย เพื่อไม่ให้วิ่งไปถึงเพนียด จึงได้เบนหัวเรือชิดตลิ่ง และรบไล่กันมาบริเวณนี้

    แต่คลองปลาหมอปัจจุบันตื้นเขินแล้ว ไม่มีป้ายเขียนบอกหรือสิ่งใดระบุไว้ นอกจากต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรืออาศัยถามชาวบ้านเก่าแก่

    "ท้ายสุดก่อนมาถึงจุดไล่ฆ่า และจุดที่เสียบหัวประจานท้าวศรีสุดาจันทร์อยู่อีกฝั่งถนน ซึ่งบริเวณนี้มีวัดเก่า สันนิษฐานว่าเป็น "วัดแร้ง" ปกติไม่มีใครพบเห็น เพราะป่าปิดหมด เป็นสถานที่กรมศิลปากรยังมิได้ตรวจสอบและขุดค้น นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จึงถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่มาพลิกประวัติศาสตร์แห่งนี้" อาจารย์สุเนตรกล่าว อีกสถานที่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ "วัดมเหยงคณ์" กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2484

    วัดนี้อดีตเป็นฐานที่ตั้งของพม่า ซึ่งยึดเป็นชัยภูมิหลัก เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งทิศทางตรงกันข้ามกับคลองคูชื่อหน้า

    หากกางแผนที่อยุธยาจะเห็นเป็นคลองขุดเชื่อมแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยนั้นคลองบริเวณนี้แคบ มีแม่น้ำ 2 สายไหลมารวมกันทำกระแสน้ำแรง และขุดโดยแรงงานมนุษย์ ไม่ว่าพม่าจะมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาครั้งไหนก็ตาม จะเข้ามาจากวัดนี้ข้ามไปที่คลองคูชื่อหน้าเพื่อไปยังพระนคร

    ในปี พ.ศ.2112 พม่าตั้งทัพใหญ่ที่นี่และบัญชาการรบ โดยพยายามสร้างค่ายริมน้ำ เพื่อเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในเมือง และสร้างเขื่อนกั้นให้น้ำไหลช้าลง โดยให้ไม้ตาลกั้นน้ำไว้ เรียกว่า "หัวรอ" และให้ทหารขนดินถมแม่น้ำ

    เมื่อทหารถูกยิงตาย ศพทหารก็ทับถมกันไป เมื่อมีคนตายมากขึ้น พระเจ้าบุเรงนองได้ขุดสนามเพลาะเชื่อมต่อกัน โดยนำไม้ตาลมาทุบทำเป็นโล่ เพื่อปลูกค่ายให้ถึงริมน้ำ

    พอถึงเวลาน้ำใกล้ท่วมพม่ายังตีอยุธยาไม่ได้ ท้ายที่สุดพม่าจึงได้ใช้อุบาย "ออกญาจักรี" ซึ่งตกเป็นเชลยพม่า เป็นไส้ศึก โดยออกอุบายทำทีว่าออกญาจักรีหนีที่คุมขัง

    รุ่งเช้าทหารยามพม่าถูกตัดหัว เพื่อให้สมเด็จพระมหินทราธิราชเชื่อว่า ออกญาจักรีหนีจากพม่าจริง ต่อมาสมเด็จพระมหินทราธิราช โปรดให้ออกญาจักรีเข้ามาบัญชาการทหาร จนการณ์ในบ้านเมืองอ่อนแอ และส่งสัญญาณเปิดประตูเมืองให้พม่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้อยุธยาเสียกรุง

    "อยุธยายามศึกนั้นมีทั้งศึกภายในและศึกภายนอก ศึกภายนอกสร้างความบอบช้ำ ทำให้เสียกรุง แต่เหตุที่แพ้ข้าศึกคือ รบกันเอง เป็นเหตุให้กำลังอ่อนแอ ถึงแม้ทั้งสองศึกเป็นคนละศึกกัน แต่ส่งผลกระทบต่อกัน" อาจารย์สุเนตรสรุป
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...