รตนตฺตยคมนปณามคาถา (อานาปาน)พระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 21 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    กัณฑ์ที่ ๒
    รตนตฺตยคมนปณามคาถา
    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒




    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ




    อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต อญฺญมญฺญาวิโยคา ว เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อาตมาขอโอกาสแก่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตน ๆ จึงได้อุตสาห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุก ๆ ศาสนา ทุก ๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีทั้งสิ้นด้วยกันทุกชาติทุกภาษา

    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระและสวดสังเวคกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป

    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อม พระรัตนตรัย ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่งโดยย่อ




    ความนอบน้อมมาจาก นโม นโมแปลว่านอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐานคือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาคเมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ ๕ เข่าและศอกทั้ง ๒ ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง ๒ วางลงให้เสมอกันก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพิ้น ในระหว่างมือทั้ง ๒ นั้น
    หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีกระภาคเจ้าอยู่นั้นคอยฟังพระโอวาทานุสาสนีพระองค์ไม่ส่งใจในที่อื่นไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจาให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย




    อนึ่งเมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยต้องการออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิก ในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นักกลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบี้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควร นอกจากที่ ๆ แสดงมาแล้วในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์

    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่มควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึง และไม่เคารพแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่นก้นบุหรี่หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้น เห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาดทำให้สะอาด เห็นผุพังควรแก้ใขซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกายโดยบุคลาธิษฐาน

    อนึ่งนำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนือง ๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่านอบน้อมด้วยวาจา

    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนือง ๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับให้จดอยู่กับพระรัตนตรัยเนือง ๆ ดังนี้ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ

    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมี แด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ต้องว่าดังนี้ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทั้งหลาย ในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่นพระเถรานุเถระ กระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะมาสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง ๓ หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัย ทั้ง ๓ กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง ๓ กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม ๓ หน หนที่ ๑ นอบน้อมพระรัตนนตรัยในอดีตหนที่ ๒ นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ ๓ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า ๓ หนจึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล




    รัตนตรัย แบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนะ ๑ ตรัย ๑ แปลว่าแก้ว ตรัยแปลว่า ๓ รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว ๓ พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเปรียบเทียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมากผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมีแม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่าเห็นแก้ว เห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั้นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใดรัตนตรัยแก้ว ๓ ดวงคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทั้ง ๓ นี้ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น


    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริง ๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้วเป็นอันเปรียบด้วยแก้วถ้าเป็นทางปฏิบัติ เข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริง ๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐเลิศกว่าวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น

    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ ปฏิปตฺติ” แปลว่า ถึงเฉพาะผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่าง ๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมากรในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมุติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษารู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสีธาตุราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ ใต้ควงไม้ศรีมกาโพธิ์ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้ได้บรรลุมรรคผลทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย

    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธาเล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำท่านคิดว่า “พุทธ”ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้าจึงแปลว่า ตรัสรู้ ภาษาสามัญก็แปลว่ารู้เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่านสงฺเฆน ธาริโต พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไปเป็นสงฆ์



    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่กะเทาะเปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่

    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากายวาจาใจของเราที่ละเอียดจรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริง ๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่าแก้ว ๓ แก้วคือพระพุทธ ๑ แก้วคือพระธรรม๑ แก้วคือพระสงฆ์ ๑ ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจ ที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร
    กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่
    วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด
    จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ
    กายสังขารหยุด
    วจีสังขารก็หยุด
    จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารนับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้เด็กในท้องมารดาก็สงบจึงอยู่ในที่แคบได้
    เทวดาใน ๖ ชั้นทำได้ รูปพรหม และอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้รูปพรหม และอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา ๔ บาท ในบาทเบื้องปลายว่า”เตสํ วูปสโม”สงบสังขารทั้งหลายเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง


    กายสังขารสงบ คือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบ คือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่าสันติ ลมหยุดลงไปในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง
    เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้นเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ถูกส่วนพร้อมกันเข้าเกิดเป็นดวงใสขึ้น เท่าฟองไข่แดงหรือเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่า พระธรรมดวงแก้ว
    โบราณ ท่านใช้แปลในมูลกัจจายว่า “ปฐมมรรค” ในกลางธรรมดวงนี้แหละคือ ดวงศีลเพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี
    ตาของกายทิพย์เห็นต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางดวงศีลนั้น
    ทำใจให้หยุดนิ่งแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็น ดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่งลงไปที่กลางดวงสมาธิแต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญา ที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติที่อยู่ในกลางดวงปัญญานั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ทำให้ใจหยุดนิ่งแต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะทำใจให้หยุดนิ่งแต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเหมือนตาของกายมนุษย์เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้นที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง


    ทำต่อไปทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ อยู่ในกลางดวงศีลให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญา อยู่ในกลางดวงสมาธิ
    ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญาแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา
    ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียด ยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไปเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ
    ให้ใจหยุดอยู่ที่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสะดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกาย ทิพย์ เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง




    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
    แต่พอถูกส่วนเข้าห็เห็นดวงศีล
    ให้ใจหยุดอยู่นิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิ อยู่ในกลางดวงศีลให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไปเห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ
    ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญาแต่พอถูกส่วนเข้า
    ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญาดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา
    ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไปเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ
    ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น
    ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะชั้นหนึ่ง

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป
    เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิแต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ
    ดวงสมาธิก็ว่างออกไปเห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญาดวงปัญญาก็ว่างออกไป
    เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป
    เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไปตาของกายธรรมก็เห็นตนของตนเอง อยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของกายอรูปพรหมเองฉะนั้น
    ที่ได้แสดงมานี้ เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8path.gif
      8path.gif
      ขนาดไฟล์:
      103.1 KB
      เปิดดู:
      65
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตน ชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง ๕ บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง ๔ กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมุติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้ว ก็แตกสลายไป รู้ได้จริง ๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้ เห็นด้วยตาของตนทุก ๆ คนด้วยกันทั้งนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ส่วนกายทิพย์ หรือรูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรมและรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น


    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตัว ส่วนกายทั้ง ๔ เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อนจึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้


    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้วก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียที่เดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมกายนั้น เป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้วธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็น โลกุตระ


    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง ๔ นั้นเป็น โลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายในโลกุตระ ธรรมจึงเป็นธรรมกายในโลกุตระ เพราะธรรมกายของพระโสดา เป็นโลกุตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่าง ๆ นี้ เองเป็นธรรมรัตนะแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จัก สังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นมีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคนตรงศูนย์กลางดวงธรรมมีวางอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น

    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด นอกจากทางไป ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่วให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีตอนาคต ปัจจุบันไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา
    ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูกก็ไม่ตกศูนย์เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้
    ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพและนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็น ชั้น ๆ ไปจึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้น ๆ มาแล้วทุกประการ

    รัตนะทั้ง ๓ นี้เป็นแก้วจริง ๆจัง ๆ แก้ว ที่ มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายากไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่าง ๆ ถ้าสีนั้นเขียวใส่ลงไปในน้ำ ๆ ก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลืองน้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดงน้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้น ๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไปก็ต้องเป็นของพระเจ้าจักรพรรดิ

    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุขปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใด ๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิสอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบท ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคติเลย

    แก้วทั้งหลายในโลก พิเศษถึงเพียงนี้แล้วยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั้นถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบ ๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึง แก้วทั้ง ๓ นี้ต้องดำเนินไปตามต้น กายวาจาใจ คือกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรมไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนาก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึง สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซี่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก ๆ รวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมก็เหมือนกันดังแสดงมาแล้ว

    ที่ได้แสดงมาแล้วนาเป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่าง ๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ ๆ



    สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวดสามของรัตนะนี้คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ”แม้ต่างกันโดยวัสดุแต่เนื้อความเป็นอันเดียวกันเป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ พระธรรม พระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าเนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐานดังแสดงทุกประการพอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนี้
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



    ๕. สรภังเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
    [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
    โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
    สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
    ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว
    พระ
    สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
    เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป

    ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
    ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
    ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
    เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
    สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
    เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
    ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
    เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
    ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    -----------------------------------------------------
    พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
    ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
    ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
    ๕. พระสรภังคเถระ.
    จบ สัตตกนิบาต.
    -----------------------------------------------------
    Quote Tipitaka:
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER><CENTER>๔. จูฬเวทัลลสูตร</CENTER></PRE>
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เรื่องสมาธิและสังขาร
    </CENTER> วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
    ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔
    เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ ความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
    ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.
    [๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร
    จิตตสังขาร.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น
    อย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร
    เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร
    วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย
    เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึก
    ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
    เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.

    <CENTER>เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
    </CENTER> [๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
    ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม คือ กายสังขาร วจี
    สังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น
    กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่าง-
    *นี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติว่าเรา
    ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อัน
    ท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสัง-
    *ขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน.
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด
    ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง)
    ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง) ย่อม
    ถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปใน
    ธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน
    วิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๔๒๐ - ๙๖๐๑. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9420&Z=9601&pagebreak=0
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรค อานาปาณกถา</CENTER>[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิ-*ปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ เป็นไฉน ฯ กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิพยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้ จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ฯ [๓๖๔] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ เนกขัมมะ ความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอย่างเดียว(แต่ละอย่าง) ฯ



    นิวรณ์นั้นเป็นไฉน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง) ฯ

    [๓๖๕] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่ากระไรชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ฯ ธรรมเครื่องนำออกเป็นไฉน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยเนกขัมมะนั้น กามฉันทะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักเนกขัมมะอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้เพราะเหตุนั้นกามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่พยาบาทนั้น ความพยาบาทเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักความไม่พยาบาทอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกความพยาบาทนั้นกั้นไว้

    เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อาโลกสัญญาเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักอาโลกสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะนั้นกั้นไว้

    เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยไม่ฟุ้งซ่านนั้น อุทธัจจะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้นอุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก การกำหนดธรรมเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยการกำหนดธรรมนั้น วิจิกิจฉาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักการกำหนดธรรมอันเป็นเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลายเพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉานั้นกั้นไว้

    เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ญาณเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความปราโมทย์นั้น อรติเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความปราโมทย์อันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้

    เพราะเหตุนั้น อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ก็แลเมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ ฯ [๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออกจิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็น อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้ หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ [๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ

    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป- *กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่ หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา- ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออกเพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรนเพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้ากายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออกกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-*โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่งกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ

    [๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ฯ จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่านพระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจรประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสียแล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตรู้เกินไปตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความพยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว ฯ

    [๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิตของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ


    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาณ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ

    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน

    ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ

    จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้นจิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
    จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑
    ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการมีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯจิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯจิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-*นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-*นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนาขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-*นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะอาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ

    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจดจิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการมีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและพร้อมด้วยปัญญา ฯ นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ


    [๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษอย่างไร ฯ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลมอัสสาส-*ปัสสาสะ เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปากไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น ฯ [๓๘๕] ประธานเป็นไฉน แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยคเป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค ผลวิเศษเป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็นผลวิเศษก็ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และธรรม๓ ประการนี้ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธานยังประโยคให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฯ

    [๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น ฯ ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะชื่ออปานะไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ฯ ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใดๆ ย่อมเป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้นๆ ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการเนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดังยาน ฯ คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใดๆ สติย่อมปรากฏดีในวัตถุนั้นๆ ก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใดๆ จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุนั้นๆเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง ฯ คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม(คุมอยู่) ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป ฯ คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชำนะอกุศลธรรมอันลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม ฯ คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้น ๑ ฯ คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอเป็นไฉน กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความตรัสรู้นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบปรารภแล้วจิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปรารภแล้วเสมอดี ฯ คำว่า อนปุพฺพํ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้างต้นๆด้วยสามารถลมหายใจออกยาว อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้นก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออกก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรมตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอบรมแล้วตามลำดับ ฯ

    คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี ๑๐ คือ ความฝึกตน ๑ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑ ฯ คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มีอาจารย์ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความเป็นผู้มีความชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ฯ คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะเพราะอรรถว่ากระไร ฯ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเพราะอรรถว่า ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระสัพพัญญู เพราะความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะความที่พระองค์มีเนยยบทไม่เป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ เพราะนับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าพระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญาเพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ฯ คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถเหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน ... ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ฯ คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วปัตติภวโลกวิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ฯ คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวแจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์เป็นอรรถทุกประการ ฯ คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลสเหมือนหมอกอริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอกพ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้ ฯ


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒. http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0





    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      41
    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.2 KB
      เปิดดู:
      53
    • 8path.gif
      8path.gif
      ขนาดไฟล์:
      103.1 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...