เว็บพลังจิต รบกวนช่วยแนะนำวัดดัง ๆ ในประเทศไทยให้ทีครับ ขอบคุณมากครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ahantharik, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,596
    ค่าพลัง:
    +6,346
    ผมสนใจอยากจะไปนัสการกราบไหว้ และไปถ่ายรูปตามวัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมเก่าที่คนรุ่นก่อนได้สร้างเอาไว้ให้คนรุ่นปัจจุบันได้กราบไหว้บูชา

    ขอรบกวนพี่ ๆ น้อง ๆ คุณลุง คุณป้า จากประสบการณ์ของพวกท่าน ขอชื่อวัดที่มีชื่อเสียงในทางด้านดี ๆ ทางด้านวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมา มีพิธีกรรมอย่างไรบ้าง ชาวบ้านที่ไปขอพรเป็นประเภทพรแบบไหนบ้าง

    อาจจะรวมถึงสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย

    กราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับthaxx
     
  2. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    วัดป่าเขาล้อม บ้านห้วยนา ต.คลองตะเครา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
    โทร. 081-9067845 หลวงพ่อเจ้าอาวาส
    เพราะมีพระพุทธรูปที่ทำไม้ตะเคียนเป็นร้อยๆปีโทรสอบได้ค่ีะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF8384.jpg
      DSCF8384.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      1,230
    • DSCF8370.jpg
      DSCF8370.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      669
    • DSCF8378.jpg
      DSCF8378.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      575
    • DSCF8450.jpg
      DSCF8450.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      436
  3. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,596
    ค่าพลัง:
    +6,346
    ขอบพระคุณมากครับคุณ Siranya
     
  4. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    ตอนเย็นๆ วี จะไปสวดมนต์ทุกวัน..อยากให้ โทรไปสอบถามหลวงพ่อค่ะ
    สวดมนต์แบบใหม่ค่ะ เห็นว่า สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติจะให้เป้นต้นแบบสวดมนต์
    ทั่วประเทศ
     
  5. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    วัดนครสวรรค์

    ที่ศึกษาทางธรรม ผมเองครับ แนะนำ....วัดนครสวรรค์ ครับ

    วัดนครสวรรค์ (วัดหัวเมือง)ตั้งอยู่ที่ถนนสวรรค์วิถี เป็นที่ประดิษฐานพระผู้ให้อภัยยิ่งหรือพระหันหลังให้กัน อยู่หลังโบสถ์วัดนครสวรรค์ ด้านถนนเทพสิทธิชัย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ มีประวัติว่า พม่าเคยยกทัพมาถึงเมืองนครสวรรค์ และได้สร้างพระพุทธรูปไว้เป็นอนุสรณ์ การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึงการให้อภัยไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป และภายในโบสถ์วัดนครสวรรค์นั้น มีพระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อศรีสวรรค์ ประดิษฐานอยู่เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครสวรรค์ครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    หลวงพ่อศรีสวรค์ วัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
    หลวงพ่อศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุโลหะลงรักปิดทอง ขนาหน้าตัก ๒.๕๐ เมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
    นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครสวรรค์ มีความศักดิศิทธิ์ในการแผ่ พระบารมีคุ้มครองผู้มาสักการะ มีกิตติศัพท์เลื่อง
    ลือมายาวนานปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดนครสวรรค์

    วัดนครสวรรค์ เดิมชื่อวัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ปลายสมัยสุโขทัย มีประวัติว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช
    ๑๙๗๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา

    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทาง
    ชลมารค เพื่อเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่เมืองพิษณุโลก เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงแวะ
    เยี่ยมวัดหัวเมือง โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดนครสวรรค์" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพ่อครุฑ เจ้าคณะเมืองนคร
    สวรรค์ ณ วัดจอมคีรีนาถพรต มาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อพัฒนาสภาพวัดนครสวรรค์ที่กำลังทรุดโทรมอย่างหนักเกิดพายุพัดพระอุโบสถพัง ลงทับพระประธานเสียหาย ต่อมาเจ้านาย พระบรมวงศ์และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงทำนุบำรุง ต่อเนื่อง
    สืบกันมา

    คือได้หล่อหลอม "หลวงพ่อศรีสวรรค์" พระพุทรูปประธานในพระอุโบสถใหม่ระห่างพุทธศักราช ๒๔๖๕ - ๒๔๗๐ มีขนาดใหญ่
    กว่าองค์เดิม นำทองเนื้อวัสดุมาหลอมรวมกับองค์ใหม่อย่างสมบูรณ์ ขณะประกอบพิธีหล่อได้มีปรากฏการณ์บังเกิดสิ่งอัศจรรย์แสดง
    ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารปรากฏหลายประการได้แก่ มีฉัพพรรณรังสีออกจากองค์หลวงพ่อศรีสวรรค์ตลอดทั้งเสียงพิณพาทย์ขับ
    กล่อมบรรเลง



    ข้อมูลวัดนครสวรรค์(วัดหัวเมือง)

    วัดนครสวรรค์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ในตลาดปากน้ำโพ ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อศรีสวรรค์ ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมือง หลวงพ่อศรีสวรรค์เป็นพระพุทธรูปที่มีความสง่างามเป็นอย่างมาก ผู้ที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มักจะแวะมานมัสการ หลวงพ่อศรีสวรรค์เพื่อความเป็นศิริมงคลของตน

    วัดนครสวรรค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อจากวัดหัวเมืองมาเป็นวัดนครสวรรค์นั้น มีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือวัดโพธิลังการาม เหตุที่ชื่อ โพธิลังการามนั้นได้มีผู้นำต้นโพธิ์มาจากประเทศศรีลังกามาปลูกที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา๔ต้นและมีเจดีย์ใหญ่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์นั้นปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่มีให้เห็นแล้ว

    ประวัติความเป็นมา

    วัดนครสวรรค์เดิมมีนามว่า "วัดหัวเมือง" เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ จากหลักฐานโบราณวัตถุ น่าเชื่อว่าสร้างขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงสุโขทัย วัดหัวเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1972 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พระเจ้าสามพระยา) อันเป็นรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา

    ก่อนจะเปลี่ยนชื่อจากวัดหัวเมืองมาเป็นวัดนครสวรรค์ วัดหัวเมืองมีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ วัดโพธิลังการาม เนื่องจากได้มีผู้นำต้นโพธิ์จากประเทศศรีลังกามาปลูกที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา 4 ต้น และมีเจดีย์ใหญ่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์นั้น ปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่มีให้เห็นแล้ว รวมทั้งสายน้ำได้เปลี่ยนทิศทางห่างออกไปจากวัดประมาณ 100 เมตร

    วัดหัวเมือง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดนครสวรรค์อย่างเป็นทางการในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของมณฑลนครสวรรค์และจังหวัดนครสวรรค์ที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435

    ทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดนี้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (มีศิลาจารึกเป็นหลักฐาน) เป็นที่พำนักอยู่จำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัดเป็นสถานที่สอบธรรมและบาลีสนามหลวงตลอดมา

    พ.ศ. 2203 ชาวบ้านได้พบช้างเผือก 1 เชือกที่เมืองนครสวรรค์ได้ประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดนี้ แล้วนำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองลพบุรี ซึ่งได้พระราชทานนามว่า "เจ้าพระยาบรมดเชนทรฉัททันต์"

    ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จชลมารคมาทรงเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ที่พิษณุโลก ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมและเห็นความสำคัญของวัดนี้ จึงทรงโปรดให้ย้ายพระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารณ์ สังขปราโมกข์ (หลวงพ่อครุฑ) เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์จากวัดเขา (วัดจอมคีรีนาคพรต) มาพำนักอยู่ประจำวัดนี้ในการย้ายของหลวงพ่อครุฑนั้น ทางราชการและประชาชนได้ร่วมจัดงานใหญ่มาก มีขบวนแห่แบบเวสสันดร จำนวน 13 ขบวน พระราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรพ ผู้บัญชาการทหารค่ายจิรประวัติสมัยนั้นจัดขบวนส่ง

    พ.ศ. 2454 สมเด็จพระราชินีพระพันปีหลวงและสมเด็จพระมาตุจฉาเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ได้เสด็จมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันพระราชสมภพและวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พร้อมด้วยเจ้านายอีกหลายพระองค์ ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ด้วย

    พ.ศ. 2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรศ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ได้ทรงแวะเยี่ยมหลวงพ่อครุฑที่วัดนี้ด้วย ในฐานะทรงคุ้นเคยเป็นการส่วนพระองค์มาก่อน และในปีต่อมาได้เสด็ตมาในงานศพหลวงพ่อครุฑอีกครั้งหนึ่ง

    ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับเป็นทุนสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบัน ซึ่งครอบหลังเดิมไว้พร้อมกับได้พระราชทาน พระบรมฉายาลักษณ์เป็นโลหะทองแดงขนาดใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ ในพระอุโบสถด้วย

    วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 สมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานผ้าพระกฐินมาทอดถวายวัดนี้

    สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามได้เสด็จมาพักแรมที่วัดนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 และวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523

    ครั้นถึงปี พ.ศ. 2527 ได้มีนายเสน่ห์ วัฑฒนาธร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอเรื่องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อสถาปนาวัดนครสวรรค์ เป็นพระอารามหลวง ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0204/7846 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2528 วัดนครสวรรค์ จึงได้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา

    เมื่อ พ.ศ. 2534 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จถวายเครื่องอัฐบริขารและเงินบำรุงพระอาราม และทรงปลูกต้นไม้สาละ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2534 ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชทานพระพุทธรูป พระพุทธนวราชบพิตร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534

    เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตลอดมาทุกปี ทั้งแผนกธรรมและบาลีที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนแผนกสามัญในปี พ.ศ. 2513 เป็นที่ตั้งโรงเรียนมัธยมบ่ระจำจังหวัดเดิม ที่ทำการของพุทธสมาคมมูลนิธิปากน้ำโพประชานุเคราะห์และศูนย์บริการประชาชนของตำรวจ ที่ทางวัดได้ให้การอนุเคราะห์ด้วยดีตลอดมา

    แหล่งศิลปกรรม

    อุโบสถ เนื่องจากวัดนครสวรรค์เป็นวัดเก่ามาก อุโบสถหลังเดิมสร้างขึ้นตั้งแเต่ พ.ศ. 1972 จึงชำรุดทรุดโทรม และได้มีการซ่อมแซมกันเรื่อยมาตามกาลสมัย

    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อหลวงพ่อครุฑ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ได้ย้ายจากวัดจอมคีรีนาคพรตมาอยู่วัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2449 ในครั้งนั้นวัดนครสวรรค์ทรุดโทรมมาก ต่อมาอุโบสถถูกพายุพัดอย่างแรง ทำให้ผนังโบสถ์พังทับพระประธานและหลังคาโบสถ์หักพังลงมาทับถมองค์พระประธาน ชำรุดเสียหายมาก จึงได้มีการซ่อมแซมอุโบสถและพระประธานครั้งใหญ่ที่สุด เมื่อระหว่าง พ.ศ. 2465 - 2470 ต่อจากนั้นได้มีการปฎิสังขรณ์ในส่วนต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

    ศาลาการเปรียญ เมื่อหลวงพ่อเคลือบมาเป็นเจ้าอาวาส วัดนครสวรรค์ ประมาณ พ.ศ. 2442 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดให้ดีขึ้น และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่เป็นศาลาไม้เสาไม้แก่นกลมใหญ่ พื้นกระดาน หลังคามุงกระเบื้องศาลานั้นสร้างเสร็จเรียบร้อยใช้การได้ตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2526 ในสมัยที่พระราชสิทธิเวที เป็นเจ้าอาวาส จึงได้รื้อถอน แล้วสร้างใหม่เป็นอาคาร ค.ส.ล. สองชั้นแบบทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขเทคอนกรีตทั้งฝ้าและหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ พื้นขัดหิน เพื่อให้มีขนาดพอกับจำนวนประชาชนที่มาทำบุญู ฟังธรรมดังที่เห็นอยู่ปัจจุบันนี้

    หลวงพ่อศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปเก่ามาแต่โบราณเป็นพระประธานอยู่ในอุโบสถหลังเดิม เป็นพระพุทธรูปสมัยศิลปะสุโขทัย หลวงพ่อศรีสวรรค์ได้รับการบูรณะหลายครั้ง พร้อมกับการซ่อมแซมอุโบสถ โดยได้นำทองเหลืองจากองค์เดิมมาหล่อใหม่และมีประชาชนนำทองเหลืองและทองคำมารวมกันหล่อเป็นองค์พระให้ประชาชนได้เคารพกราบไหว้ เป็นที่พึ่งทางใจมาเป็นเวลานานจนเมื่อมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่สุด ระหว่าง พ.ศ. 2465 - 2470 ได้มีประชาชนบริจาคทองเหลือง ทองแดงและทองคำ หล่อหลอมให้องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าเดิม มีหน้าตักกว้าง 2.50 เมตร (ปัจจุบันยังมีทองคำอยู่ที่เกษ) เล่ากันว่าในขณะที่เททองอยู่นั้น พอตกเย็นใกล้ค่ำเกิดมีแสงพุ่งออกจากองค์พระมีลำแสงเป็นสีต่างกันถึง 6 สี เรียกว่าฉัพพรรณรังสี เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง ประชาชนชาวนครสวรรค์มีความศรัทธาในหลวงพ่อศรีสวรรค์มาก ได้มาเคารพกราบไหว้กันอยู่ตลอดเวลา ในระยะหลัง ๆ นี้ผู้ใดมีความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะนำเครื่องสักการะมาถวาย และบริจาคทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงวัดและมีการบนบานกันอยู่เสมอ จะเห็นได้จากการมีละครแก้บนกันเกือบไม่เว้นแต่ละวัน

    พระสองพี่น้องหรือพระผู้ให้อภัย เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 2 องค์หันหลังไห้กัน หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหารเก่า ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารสองหลังคู่ ต่อมาได้บูรณะติดกันเป็นวิหารยาวหลังเดียว เมื่อพิจารณาถึงรูปทรงของพระพุทธรูปและอิฐที่สร้างนั้น เป็นของเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากสร้างมาเป็นเวลานาน สิ่งปลูกสร้างชำรุดหักพังไปแล้วหลายครั้ง หลังคาทางทิศเหนือที่มุงบังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 2 องค์นั้น หักพังหลังคาเปิดคงเหลือแต่ด้านหน้าทางถนนโกสีย์ จะรื้อสร้างใหม่ก็เกิดมีฟ้าผ่าขึ้นหลายครั้งจนเป็นที่กรงกลัวกันว่าถ้าก่อสร้างใหม่จะเกิดอันตราย

    จนต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2468 ได้มีบุคคลในตระกูล “อินทร” ได้ซ่อมแซมองค์พระทั้งสอง และตั้งเสาไม้ทำหลังคามุงสังกะสีบังเฉพาะพระพุทธรูปองค์ใหญู่สององค์เท่านั้น เนื่องจากทางด้านหน้ายังมีหลังคากระเบื้องหลังเก่าเหลืออยู่ แต่ปัจจุบันหลังคาด้านหน้าได้ชำรุดหักพังไปหมดแล้ว จึงดูเหมือนพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ตากแดดตากฝนมาเป็นเวลานาน ซึ่งขณะนี้ทางวัดได้มีดำริว่าจะก่อสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปทั้งหมดแเล้ว

    สาเหตุที่สร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันนั้น ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอนได้แต่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายเรื่อง เช่นเป็นการให้ความหมายทางธรรม หมายถึงการเกิดและการตาย เรื่องที่สองเกี่ยวกับทางโลกคือ เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าพิธีแต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าวยกขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาวแล้วเกิดวิวาทกันอย่างไม่มีวันที่ยินดีกันได้ จึงตกลงสร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันเป็นอนุสรณ์ อีกเรื่องหนึ่งมีผู้เขียนประวัติไว้ว่าชนชาติพม่าเป็นผู้สร้าง เนื่องจากนครสวรรค์เป็นเมืองหน้าด่านและพม่าเคยยกทัพมาถึงเมืองนี้ คือเมืองพระบาง เมื่อสงครามยุติลงได้สร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันไว้เป็นอนุสรณ์ การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึง การให้อภัยไม่ต้องจองเวรจองกรรมกันต่อไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “พระผู้ให้อกัย”

    ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในตัวเมืองและเป็นวัดประจำจังหวัด สิ่งหนึ่งที่พบเห็นกันมานานและบ่อย คือ การรำหรือนำลิเกมาเล่นแก้บน เป็นความเชื่อของชาวบ้านและชาวต่างจังหวัด

    [​IMG]
    พระเดชพระคุณพระเทพญาณโมลี(ประสิทธิ์ มิตฺตธมฺโม ป.ธ.๖, พธ.ด.)
    อดีตรองเจ้าคณะภาค ๔และเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์

    พระเทพปริยัติเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ วัดนครสวรรค์

    [​IMG]

    พระเทพปริยัติเมธี
    (สฤษดิ์ สิริธโร ป.ธ.๙,กศ.ม.,พธ.ด.)
    เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

    วัน/เดือน/ปีเกิด วันศุกร์ที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
    สถานที่เกิด บ้านห้วยร่วม ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
    อุปสมบท วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ วัดห้วยร่วม ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
    โดยมีพระครูนิรุติธรรมธร วัดห้วยร่วม เป็นพระอุปัชฌาย์

    ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
    ๑. เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง
    ๒. เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    ๓. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
    ๔. ประธานโครงการก่อสร้างพุทธอุทยานนครสวรรค์


    วิทยฐานะ
    พ.ศ. ๒๕๑๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๓๒ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดราชบูรณะวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๕๔๓ สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา (กศ.ม.)
    จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
    พ.ศ. ๒๕๔๙ สำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (พธ.ด.)
    จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    The Degree of philossphy (Buddhist Studies)
    พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์)
    จากมหาวิทยาลัยภาคกลาง จ.นครสวรรค์
    Ah Honorary Doctoratc Dcgtcc in Public Administration

    งานปกครอง
    พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเจ้าคณะ ๓ พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์
    เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นรองเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์
    เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค ๔
    พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร-พัดยศ เปรียญธรรม ๙ ประโยค
    พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
    ในราชทินนามที่ พระศรีวิสุทธิคุณ
    พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช
    ในราชทินนามที่ พระราชปริยัติ
    พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปริยัติเมธี

    สังกัดวัด
    วัดนครสวรรค์ (พระอารามหลวง) ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
    โทร ๐ ๕๖๒๒ ๐๐๐๖

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ วัดนครสวรรค์

    [​IMG] [​IMG]


    วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ กำเนิดขึ้นได้เพราะความดำริของพระเดชพระคุณพระเทพญาณโมลี (ประสิทธิ์ มิตฺตธมฺโม ป.ธ.๖, พธ.ด.) อดีตรองเจ้าคณะภาค ๔ และเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ ได้ปรึกษากันภายในกับพระศรีวิสุทธิคุณ (สฤษดิ์ สิริธโร ป.ธ.๙) เลขานุการรองเจ้าคณะภาค ๔ และรองเจ้าอาวาส วัดนครสวรรค์ (ในขณะนั้น) พระมหาวีระ วรปญฺโญ ป.ธ.๙, พม., พธ.บ., ศษ.บ., อม. (ศาสนาเปรียบเทียบ) วัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์
    ณ กุฏิเทพวิจิตร วัดนครสวรรค์ ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อจัดตั้งสถาบัน
    การศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพระภิกษุสามเณรให้ได้รับการศึกษาชั้นสูงนอกจากการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ซึ่งพระเดชพระคุณพระเทพญาณโมลี พิจารณาเห็นว่า พระศรีวิสุทธิคุณ และพระมหาวีระ วรปญฺโญ จะเป็นกำลังสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้ เมื่อทั้งสองรูปรับปากว่าจะช่วยกันสนองงานและสานงานตามเจตนารมณ์อย่างเต็มกำลังความสามารถ
    เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเดชพระคุณเจ้าคุณพระเทพญาณโมลี จึงได้ดำเนินการประชุมคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ในระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบด้วย พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมาราโม ป.ธ.๗) เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ วัดโพธาราม, พระสุธีธรรมโสภณ (วิศิษฎ์ ปญฺญาปชฺโชโต ป.ธ.๖) รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
    วัดวรนาถบรรพต, พระครูพรหมญาณวิกรม (บุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) วัดคีรีวงศ์
    พร้อมด้วยเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบลในเขตการปกครองจังหวัดนครสวรรค์ และผู้แทนจากส่วนราชการจังหวัดนครสวรรค์ประกอบด้วย นายสัมฤทธิ์ พันธุ์ค้า ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์, นายละม่อม ชัยโย หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม, รองศาสตราจารย์บุญเรือง อินทวรันต์ เพื่อขอความเห็นชอบในการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพระภิกษุสามเณร

    จากมติสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเหตุให้กำเนิด "ศูนย์การศึกษาวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์" โดยใช้อาคารเรียนเทพประสิทธิ์วิทยากร ตามเจนตนารมณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มีนิสิตรุ่นแรก จำนวน ๔๕ รูป โดยมีพระศรีวิสุทธิคุณ (สฤษดิ์ สิริธโร ป.ธ.๙) เจ้าอาวาส วัดนครสวรรค์และรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำศูนย์การศึกษาวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พระมหาวีระ วรปญฺโญ ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.บ., อ.ม., พระมหาสมส่วน ปฏิภาโณ ป.ธ.๙, พธ.บ. และดร.พระอดิศัย ปภสฺสโร Ph.D. เป็นอาจารย์ประจำ
    จากนั้นวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ได้จัดการเรียนการสอนเริ่มต้นปีการศึกษา ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ณ วัดนครสวรรค์ เลขที่ ๗๐๒ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ เปิดการเรียนการสอนในสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้
    ระดับปริญญาตรี หลักสูตรพุทธศาตรบัณฑิต
    ๑.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เปิดสอนปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๒.สาขาวิชาสังคมศึกษา เปิดสอนปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๓.สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการเมืองการปกครอง เปิดสอนปีการศึกษา ๒๕๔๕
    ๔.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนปีการศึกษา ๒๕๕๑
    ระดับปริญญาโท หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (บรรพชิตและคฤหัสถ์)
    ๑.เปิดการเรียนการสอน สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ปีการศึกษา ๒๕๔๙
    หลักสูตรประกาศนียบัตร
    ๑.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ปีการศึกษา ๒๕๔๓ - ๒๕๔๙
    ๒.หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ - ปัจจุบัน


    ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ได้ประกอบพิธีย้ายจาก วัดนครสวรรค์ มาทำการที่พุทธอุทยานนครสวรรค์
    เลขที่ ๙๙๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ ๖๐๐๐๐ โดยมีพระเดชพระคุณพระราชปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์,
    เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ และผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ พระนิสิตวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, นายวิบูลย์ชัย เกิดเพิ่มพูน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมประกอบพิธีย้ายวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ไปที่ทำการแห่งใหม่ ณ พุทธอุทยานนครสวรรค์ ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
    โดยคำว่า "พุทธอุทยานนครสวรรค์" เป็นชื่อที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหา-
    รัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร) ได้เมตตาตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙
    ที่ตรงกับปีที่ ๖๐ แห่งการครองราชย์ของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
    ซึ่งในส่วนก่อสร้างของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
    ๑.อาคารเรียน ส.มหารัช-
    ๒.อาคารเรียนพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
    ๓.อาคารสำนักงานวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
    ๔.อาคารรับรองพระเทพญาณมุนี
    ๕.อาคารสวรรค์บรรณาคาร
    ๖.อาหารหอสมุด
    ๗.อาคารหอประชุม (กำลังดำเนินการ)

    *** หลวงพ่อ เจ้าคุณ มีเมตตามากครับ ตอนนี้ท่านได้จบ ดร. แล้วและน่าจะเปิดสอน ปริญญาโท แล้วครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  6. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร

    วัดพระเดชพระคุณอาจารย์....ผมเอง

    วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร (1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์ หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬและพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3652 0251, 0 3654 3415

    การเดินทาง รถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 3032) ประมาณ 4 กิโลเมตร รถประจำทาง มีรถสาย 648 สิงห์บุรี-บ้านดอนปรู, รถสาย 462 สุพรรณบุรี-โคกสำโรง และรถสองแถว ขึ้นที่ บขส.ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี ผ่านหน้าวัด

    วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3032 (สายสิงห์บุรี - สุพรรณบุรี) ระยะทางประมาณ 4 กม.

    สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ที่มีความงดงามมาก มีความยาวทั้งสิ้น 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ และ 7 นิ้ว ลักษณะ พระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก พระกรขวายื่นไปด้านหน้า ไม่งอพระกรขึ้นรับพระเศียร เหมือนแบบไทย นอกจากนี้ยังมีพระแก้ว พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปนั่งศิลา ลงรักปิดทอง และพระนั่งขัดสมาธิเพชร อันศักดิ์สิทธิ์ และมีพุทธลักษณะงดงาม ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ ต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติ ผลิดอกบานสะพรั่ง อยู่เสมอ

    วัดนี้เปิดให้เข้าชมและนมัสการได้ทุกวัน

    การเดินทาง มีรถประจำทาง สาย 462 (สุพรรณบุรี - โคกสำโรง) และรถสองแถวประจำทาง สายสิงห์บุรี - ดอนปรู และสิงห์บุรี - ท่าช้าง ผ่านหน้าวัด


    ประวัติหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์

    "หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ " เป็นรูปของพระพุทธเจ้าปางไสยาสน์เทศนาปาฏิหาริย์ แก่อสุรินทราหู ผู้เป็นยักษ์ เพื่อลดทิฎฐิของอสุรินทราหูที่ถือว่ามีร่างกายใหญ่โตกว่ามนุษย์ พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตร่างกายให้ใหญ่กว่ายักษ์ "หลวงพ่อพระนอน" จึงเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และยาว สร้างโดยท้าวอู่ทอง มีความยาว ๓ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๓ คืบ ๗ นิ้ว ( ๔๗.๔๐ เมตร ) พระเศียรชี้ไปทางตะวันออก หันพระพักต์ไปทางทิศเหนือ มีความงดงามอย่างมาก

    มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า สิงหพาหุมีพ่อเป็นสิงห์พอรู้ความจริงคิดละอายเพื่อนว่าพ่อเป็นสัตว์เดรัจฉานจึงฆ่าสิงห์ตาย ภายหลังรู้สึกตัวกลัวบาปและเสียใจเป็นอย่างมาก จึงสร้างพระพุทธรูป โดยเอาทองคำแท่งโต ๓ กำมือ ยาว ๑ เส้น เป็นแกนขององค์พระ เป็นการไถ่บาปและพระพุทธรูปมีอยู่ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชามาหลายชั่วอายุคน จนองค์หลวงพ่อพระนอนได้พังทลายลงเป็นเนินดิน กาลนานต่อมา ท้าวอู่ทอง ได้นำพ่อค้าเกวียนผ่านมาทางนี้ แล้วพบแกนทองคำฝังอยู่ในเนินดิน และทราบเรื่อง สิงหพาหุ เกิดความเลื่อมใสและเห็นเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จึงชักชวนพ่อค้าเกวียนก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น โดยใช้ทองแท่งทองคำที่พบนั้นเป็นแกนองค์พระ จน พ.ศ. ๒๒๙๗ และ พ.ศ. ๒๒๙๙ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จมานมัสการและซ่อมแซมองค์พระพร้อมทั้งได้สร้างพระวิหาร พระอุโบสถ และเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นใหม่ พ.ศ.๒๔๒๓ และ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จมานมัสการ และวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จมานมัสการพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์

    จึงนับได้ว่า " หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ " เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ซึ่งปาฏิหาริย์ล้ำค่า เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะแม้แต่การสร้างองค์หลวงพ่อพระนอนในครั้งที่ ๒ ก็ยังไม่ทราบเวลาที่แน่นอน แต่องค์พระยังสมบูรณ์ขนาดนี้ จะป่วยการกล่าวไปใยถึงประวัติในการสร้างครั้งแรกที่ทรุดโทรมลงจนมีสภาพเป็นเนินดินธรรมดา ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใด

    เพราะเหตุนั้น " หลวงพ่อพระนอนจีกรสีห์ " จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนให้การเดินทางมากราบไหว้บูชา เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ในอันจะน้อมนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เสมอมาไม่เคยขาดมานานแสนนานแล้ว และเพื่อให้สมพระเกียรติของ " หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ " และการเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร " ท่านเจ้าคุณพระเมธีปริยัติโยดม " จึงได้วางแนวทางในการพัฒนาพระอารามออกเป็น เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตฆราวาส

    นอกจากนี้ ทางวัดก็ยังมีนโยบายที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติ ปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนให้มีความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนา



    ท่านพุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์ จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดตามกำหนดการข้างล่างนี้ ก็เรียนเชิญได้ตามความประสงค์และกำลังศรัทธา

    วันที่ ๑ มกราคม ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหาร ประจำปี

    วันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ขอเชิญนมัสการปิดทองปฏิบัติธรรมและเวียนเทียนบูชา หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ วันมาฆบูชา

    วันที่ ๑๓ เมษายน ขอเชิญร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมไทย สรงน้ำและถวายผ้าห่มหลวงพ่อพระนอนฯ

    วันขึ้น ๑๒ - ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ ขอเชิญนมัสการปิดทองปฏิบัติธรรมและเวียนเทียนบูชาหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ วันวิสาขบูชา

    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ขอเชิญนมัสการปิดทอง ทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนบูชาหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

    วันที่ ๑๑ - ๑๒ สิงหาคม ขอเชิญนมัสการปิดทองและปฏิบัติธรรมบูชาหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถฯ

    วันแรม ๗ - ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ขอเชิญนมัสการปิดทองบูชาหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ ประจำปี

    วันที่ ๒ - ๖ ธันวาคม ขอเชิญนมัสการปิดทองและปฏิบัติธรรมบูชาหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  7. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต บางเขน กทม.

    วัดบ้านเกิดผมเองครับ

    [​IMG][​IMG]

    วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ 6 ถ.รามอินทราก.ม.5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุญาติให้สร้างเมื่อ วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2512 โดย พันเอกปิ่น มุทุกันต อธิบดีกรมการศาสนา ในขณะนั้น ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2512 ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นองค์ประธานเปิดป้ายและประทานนามวัดต่อมาวันที่ 30 พฤษภาคม 2512 สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดมกุฎกษัตริยารามเสด็จมาเป็นประธานเททองหล่อพระประธาน (หลวงพ่อพุทธนิมิต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  8. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    คุณแม่จันทา ฤกษ์ยาม(ฉายากวนอิมลาว) จังหวัดร้อยเอ็ด

    เชิญที่สำนักสงฆ์วัดป่าภูริทัต(หลวงปู่มั่น) ร่วมกับ คุณแม่จันทา ฤกษ์ยาม(ฉายากวนอิมลาว) จังหวัดร้อยเอ็ด ขอเชิญร่วมปฎิบัติธรรมแบบ ฉบับหลวงปู่ใหญ่(มั่น ภูริทัตโต)
    ขอเชิญท่านสาธุชนทั่งหลาย มากันนะ เดินทางสะดวกสบาย มีที่พักรับรองเพียงพอ สะดวกสบาย พร้อมกับแวะชม กายสิทธิ์ธาตุต่างๆที่เสด็จ มาที่วัด เยอะแยะมากมาย
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ หลวงพี่ อนัน สุทธิมโน(หลวงพี่อู๊ด) 080-0020895
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กรกฎาคม 2010
  9. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
    ครูบาอริยชาติ อริยจุตฺโต เป็นเจ้าอาวาส
    ประวัติความเป็นมาของวัดแสงแก้วโพธิญาณ

    1. สถานที่ตั้ง

    [​IMG] [​IMG]

    วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง

    2. เริ่มก่อสร้าง

    [​IMG]

    วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยม จึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างวัด กับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง โดยใช้เวลานานหลายวันก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ในการก่อ สร้างวัด แต่แล้วด้วยบุญญาบารมี ของท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวบ้านที่จะสร้างวัด คืนหนึ่งขณะที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จำวัดอยู่ได้นิมิตรว่ามีที่ดินเป็นเนินไม่สูงมากนัก มีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยไม้ไผ่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต พึงพอใจในสถานที่แห่ง นี้เป็นยิ่งนัก จึงได้เล่านิมิตที่ท่านพบมาให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านฟัง คณะพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านได้พาท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน จนมาถึงท้ายของหมู่บ้าน พบสวนของชาวบ้าน ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้สำรวจพื้นที่ โดยรอบสวนพบว่ามีลักษณะเป็นสวนและมีต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับสถานที่ที่ท่านได้ นิมิตรพบในคืนที่ผ่านมา ท่านครูบาเดินออกสำรวจพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว แล้วบอกกับคณะที่ติดตามท่านไป ในการสำรวจครั้งนั้นว่า ท่านพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นยิ่งนัก เหมาะสำหรับการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นศาสนสถานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและ เป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และสถานที่แห่งนี้เป็นของใคร พ่อหลวงยา ศรีทาจึงได้บอกว่าเป็นสวนของผู้ที่มีฐานะดี คงจะไม่ยอมขายให้และถ้าหากขายก็คงจะต้องราคาแพง ความเป็นไปได้ที่จะได้ที่ดินเพื่อมาสร้างวัดคงจะไม่มีท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้เดินไปจนถึงยอดเนินของสถานที่แห่งนั้น และได้จุดธูปเทียน พร้อมทั้งกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมังคละคู่ยารมีท่านในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไป แล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา” เมื่อท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตตั้งจิตอธิษฐานเสร็จแล้ว พ่อหลวงยา ศรีทา ได้เชิญเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีมาพบกับท่านครูบาเพื่อพูดคุยปรึกษา หารือในเรื่องการสร้างวัดบนของที่ดินผืนนี้ เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินประมาณ 19 ไร่เศษให้กับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตเพื่อสร้างวัดอย่างง่ายดาย สร้างความประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะผู้ติดตามท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นอย่างมากหลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ร่วมกับคณะศรัทธาปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ทราบข่าวการสร้างวัด ได้แสดงความจำนงค์ในการร่วมสมทบทุน สร้างวัดเป็นจำนวนมาก

    3. การออกแบบก่อสร้างและการวางแผนในการก่อสร้างวัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    จาก การที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และเป็นผู้ที่ศึกษามามากทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ที่ช่างสังเกตและจดจำ รวมถึงประสบการณ์ในการไปธุดงค์พบเห็นวัดต่าง ๆ ที่มีศิลปะในการสร้างที่แตกต่างกันไป ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้วางแผนผังบริเวณวัดซึ่งเป็นไปตามหลักของทางธรรมและศาสน์ของ สถาปัตยกรรมล้านนา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนลักษณะเป็นขั้นบันได 3 ขั้น โดยแต่ละขั้นมีความหมาย ดังนี้

    ชั้นที่ 1 “ชั้นพุทธาวาส”

    ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน ที่จอดรถและสถานที่สาธารณะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด

    ชั้นที่ 2 “ชั้นพุทธาวาส”

    ใช้เป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา ศาสนพิธีต่างๆ เป็นชั้นสำหรับการใช้ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส

    ชั้นที่ 3 “ชั้นปรินิพพาน”

    เป็นชั้นสูงสุดของวัดแห่งนี้โดย เป็นชั้นสังฆกรรม ชั้นพระสงฆ์ทำพิธีกรรม เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุแห่งวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ

    การปรับปรุงพื้นที่ได้มีผู้มีจิตศรัทธา และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมทุนกันทั้งทุนทรัพย์ กำลัง เครื่องมือ เครื่องจักรเป็นจำนวนมาก และได้เร่งปรับพื้นที่ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนจนแล้วเสร็จภายคืนเดียว สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับชาวบ้านและคณะผู้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นอย่าง มากที่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการก่อสร้างวัด เสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้ทำการสร้างอาคารพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น ระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบน้ำบาดาล ถังพักน้ำ โดยผู้มีจิตศรัทธา ที่หลั่งไหลมาแสดงความจำนงค์ในการเป็นเจ้าภาพ ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นจำนวนมาก

    ที่มาของชื่อ "วัดแสงแก้วโพธิญาณ”

    แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยก่อนที่จะได้ชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณนั้น ครูบาได้ร่วมกับคณะศรัทธาที่ร่วมในกันสร้างวัดในการตั้งชื่อเพื่อขออนุญาต สร้างวัด แต่เนื่องด้วยเหตุใดก็หามีผู้ใดรู้ไม่ ครูบาและคณะศรัทธาไม่สามารถสรุปชื่อของวัดได้ สร้างความหนักใจให้กับครูบาและคณะศรัทธายิ่งนัก ใกล้วันวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างพระวิหารเข้ามาทุกที จนกระทั่งก่อนวันวางศิลาฤกษ์ 2 วัน ด้วยความทุ่มเทในการจัดเตรียมงานวางศิลาฤกษ์ และมีคณะญาติโยมที่พากันมากราบนมัสการครูบาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ครูบารู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเพลีย จึงได้จำวัด พอตกยามเช้าใกล้รุ่งครูบาก็เกิดนิมิตเลยว่า วันนั้นฝนตกมืดหมดเลย มองไปทางไหนก็มืดฟ้ามัวดินหมดเลย มองอะไรก็ไม่เห็น ฝนตกหนักมาก ครูบาก็เดินหลงไปหลงมาอยู่บนเขา เดินไปได้สักพักก็เห็นแสงไฟสว่างเหมือนกับไฟรถที่ส่องกลางสายฝนแบบนั้นเลยก็ คิดว่า โอ้! ไฟอะไร ครูบาก็เลยเดินลงมา ปรากฏว่าเป็นแสงไฟฉาย เป็นคนที่ครูบารู้จักกำลังฉายไฟขึ้นมา ครูบาก็เลยถามเขาว่า “จะไปไหน”

    แกบอกว่า “ครูบา ข้างล่างนั้นฝนตกน้ำท่วมหนัก ตอนนี้ชาวบ้านข้างล่างน้ำท่วมหมดเลย ชาวบ้านกำลังหนีขึ้นมาอยู่บนเขาหมดแล้ว”

    ครูบาก็ถามว่า ”แล้วจะไปไหนกัน”

    แกบอกว่า ”จะขึ้นไปบนดอย แล้วครูบาไม่ไปด้วยเหรอ”

    ครูบาก็บอกเขาว่า ”ไปก่อนเถอะ เดี๋ยวจะลงไปดูข้างล่างก่อน”

    คือครูบาไม่เชื่อ อยากลงไปดู ลงไปได้สักพัก ไม่นานก็เจอแสงไฟตัวนี้ 40-50 ดวง เยอะเลย เดินไปก็เจอคนถือไฟฉายเดินตากฝนมา ครูบาก็ถามเขาอีกว่า ”จะไปไหนกัน”

    เขาก็บอกว่า ”จะไปข้างบน ข้างล่างน้ำมันท่วมครูบาไม่ต้องลงไปแล้ว”

    ก็บอกเขาว่า “ขึ้นไปก่อนเถอะ เดี๋ยวจะตามไป”

    ครูบาก็มาหยุดคิดว่าจะลงไปหรือไม่ลงดี เลยตัดสินใจไม่ลง เพราะคน 50-60 คนบอกว่าน้ำท่วม ครูบาก็เลยเดินตามหลังเขาขึ้นไป ฝนก็ยังตกอยู่ น้ำก็ไหลลงเขา เดินไปๆ ดินมันยุบตัวกว้างลึกเป็นเมตร น้ำก็ไหลวนลงหลุมนั้นเห็นเป็นแสงสว่างอยู่ในหลุมแล้วดิ้นอยู่ ครูบามองดูแล้วใช้ไม้เขี่ย ๆ เอาขึ้นมา เป็นเหมือนดอกบัวเผื่อน วางบนมือได้แล้วครูบาก็โยนมันทิ้ง เสร็จแล้วก็เดินตามเขาขึ้นไป เดินไปได้สักพัก ป่าทั้งป่ามองไม่เห็นต้นไม้ไผ่หรือต้นอะไรเลย เห็นแต่ภูเขาและมีดอกบัวสีขาวบานเต็มไปหมดเลย สว่างขนาดมองเห็นเส้นลายมือ

    รุ่งเช้าครูบาก็ได้นำนิมิตที่พบในคืนผ่านมามาเล่าให้พ่อหลวงยา ศรีทา และกลุ่มคณะศรัทธาฟัง ชาวบ้านบอกว่าคงเป็นนิมิตที่เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบอกเป็นเหตุให้ ครูบาจึงได้คิดชื่อได้จากเหตุที่เป็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้วแล้วกลายเป็น ดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ คือ หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วเปล่งคล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งชื่อ “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” เอาดอกบัวเป็นโพธิญาณเอาความสว่างเป็นแสงแก้ว ซึ่งครูบาไม่เคยพูดให้ให้ฟัง จนกระทั่งได้ที่เรียบร้อยแล้วจะศิลาฤกษ์ ตอนั้นครูบายังอยู่ข้างล่างแต่มองขึ้นมาเห็นข้างบนได้ โยมถวายปัจจัยมา 4 ล้าน ครูบาปักเป็นต้นๆ ละแสน พอดีปักไปได้ต้นหนึ่งฝนตก คนอยู่ในศาลาประมาณ 3-4 ร้อยมีหลายหมู่บ้าน บ้านดินดำ ดอนแก้ว หนองหล่ม ห้วยส้ม สันจำปา ป่าตึง กำลังกล่าวคำถวายอยู่พอฝนตกก็เลยบอกให้ย้ายเข้ามาในศาลา พอย้ายเสร็จครูบาก็มองขึ้นไปข้างบน มืดหมดเลย ข้างบนฝนตก แต่ในความมืดนั้นมีแสงสว่างเหมือนไฟส่องในหมอก เลยเรียกเณรมาถามว่าแสงอะไรทั้งที่เป็นช่วงเวลากลางวัน พากันสงสัยว่าเป็นแสงอะไร ถามหากล้องจะเอามาถ่ายรูป คน 3-4 ร้อยคนไม่มีกล้องถ่ายรูปสักคน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้าน โทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ก็ไม่มี ครูบาก็คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างงัยดี เลยบอกให้เณรเรียกคนที่อยู่ในศาลาออกมาดู ให้เป็นพยาน ถ้าครูบาเห็นคนเดียวเดี๋ยวเขาจะหาว่าครูบาโม้ คนก็ออกมาเอะอะกันใหญ่ แสงนั้นก็สว่างขึ้นๆสว่างแล้วกลายเป็นแสงครึ่งวงกลมจนเห็นทุกอย่างหมดเลย สว่างจนกลายเป็นสีทองอยู่สักประมาณ 5 นาทีโยมแม่ของครูบายังเห็นเลย เสร็จแล้วก็วูบๆดับมืดไปเลย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวางศิลาฤกษ์ หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาติดขัดอะไร เสร็จแล้วก็ได้ทำการดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา เมื่อเสนอเรื่องขึ้นไป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆรินายก ได้ทรงพระทานนามใหม่เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ”

    หลังจากสร้างเสร็จก็มีนิมิตหลายอย่าง เดินเข้าไปข้างในจะมีบ่อน้ำทิพย์เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ครูบาเข้าไปนิโรธกรรมแล้วเกิดนิมิต ครูบาได้ปั้นฤาษีไว้ข้างใน บ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ดื่มแล้วหายโรคหายภัย หายไข้หายเจ็บ หายปวดขาปวดเข่า เป็นอะไรมาดื่มแล้วรู้สึกหายแล้วก็มีเวียงเก่าเป็นเวียงฮ่อ แล้วครูบาเคยนิมิตเห็นพระโพธิสัตว์สมัยที่ขึ้นมาสร้างที่ตรงนี้ได้ไม่นาน ก็คิดว่าจะสร้างพระโพธิศัตว์ไว้ด้านหน้า นิมิตเห็นหลวงพ่อฤาษี ท่าบอกว่าท่านจะช่วยแล้วท่านก็ช่วยจริง ๆ


    สถาปัตยกรรมวัดแสงแก้วโพธิญาณ

    [​IMG]

    ซึ่งการออกแบบวัดนี้ครูบาออกแบบเป็น 3 ชั้น มี สวรรค์ พรหม นิพพาน ด้านหน้าปราสาท 16 หลัง แทนพรหม 16 ชั้น มีศาลา 16 ห้องก็แทน 16 ชั้นฟ้า เพราะฉะนั้นพรหมจะมี 16 วิหาร 16 ข้างล่าง มี 9 ข้างบนมี 7 รวมเป็น 16 ซึ่ง 9 หมายถึง มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ส่วน 7 หมายถึง อริยทรัพย์ 7 แล้วมีสะพานข้ามวัฏสงสาร ข้างบนจะมีพระธาตุ เมื่อข้ามวัฏสงสารก็จะถึงนิพพาน ด้านหน้าทางเข้าจะสิงห์คู่อยู่ สิงห์ หมายถึง พระศรีอริยเมตไตรย เป็นความเชื่อของชนล้านนา เพราะล้านนารับอิทธิพลมาจากพม่า สิงห์ที่อยู่ด้านหน้านั้นนั่งรอนะไม่ได้นั่งเฝ้า บางคนว่าสิงห์เฝ้าวัด ไม่ใช่ คำว่า รอ คือ ในตำนานพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัป

    ซึ่งมีพระพุทธเจ้าอยู่ 5 พระองค์ คือ

    1. พระกกุสันธะ ซึ่ง กกุ แปลว่า ลูกไก่ แต่เดิมไข่ 5 ฟองนี้เป็นลูกของแม่กา พอดีพายุพัดพาไข่ 5 ฟองนี้ตกลงน้ำไป ไข่ใบแรกตกน้ำไป พอดีไก่มากินน้ำแล้วมาเจอไข่ใบนี้ ก็เลยเก็บเอาไข่ใบนี้ไปเลี้ยง พระพุทธเจ้าองค์แรกเลยชื่อว่า กกุสันธะ ซึ่งแปลว่า ลูกไก่

    2. พระโกนาคมน์ ไข่ใบที่ 2 ไหลตามน้ำไป พญานาคมาเล่นน้ำแล้วเจอ ก็เลยเก็บไข่ใบนี้ไปเลี้ยงไว้ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 เลยชื่อว่า โกนาคมน์ แปลว่า ลูกนาค

    3. พระกัสสปะ ซึ่ง กัสสปะ แปลว่า เต่า ไข่ใบนี้ไหลไปตามน้ำ เต่ามาเจอเข้าเลยเก็บไข่ใบนี้ไปเลี้ยง พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 เลยชื่อว่า พระกัสสปะ แปลว่า ลูกเต่า

    4. พระสมณโคดม ไข่ใบที่ 4 ก็คือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ชื่อว่า พระสมณโคดม ไข่ใบนี้ไหลไปตามน้ำ วัวมากินน้ำแล้วเจอไข่ใบนี้ ก็เลยเก็บไปเลี้ยง ก็เลยเป็นลูกเลี้ยงของโคหรือว่าวัว ก็เลยเป็น พระสมณโคดม หรือ พระศรีศากยมุนีโคตมะ แปลว่า ลูกโคหรือวัว

    5. พระศรีอริยเมตไตรย ไข่ใบที่ 5 นี้ไหลไปตามน้ำ สิงห์โตหรือพญาราชสีห์มาเจอเข้าก็เลยเก็บไปเลี้ยงไว้ ก็เลยเชื่อว่า พระศรีเมตไตรย แปลว่า ลูกสิงห์ ผู้มีเมตตา

    แล้ว สิงห์ที่อยู่หน้าวัดนี้ ครูบาเปรียบเป็นปริศนาธรรม เหมือนพ่อกับแม่ของพระศรีอริยเมตไตรยมานั่งรอพระศรีอริยเมตไตรยตรัสรู้แล้ว มาโปรดโลกในภายหน้าเหมือนคนเราทั้งหลายนั่งรอผู้มีบุญ ผู้มีบารมี ผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ผู้ที่จะมาโปรดคนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร และบันไดนาคนั้นส่วนมากจะเป็นนาค 3 หัว และจะมีตัวกินอีก 3 หัว เราจะเห็นว่านาคทางภาคเหนือตรงที่หัวจะมีตัวที่กินพญานาคอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นปริศนาธรรมหมายถึง กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย แล้วยังหมายถึงว่า เหนือฟ้ายังฟ้า ความตายครอบงำคนเราทั้งหมด ส่วนนาค 3 หัว ก็หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ ตัวกิน 3 ตัว ก็หมายถึง ชรา พยาธิ มรณะ คือ เทวทูต 3 เพราะไม่สมณะ ถ้ามีหากมีสมณะด้วยจะเป็น เทวทูต 4 แต่นี่ไม่รวมสมณะดังนั้นที่พระพุทธเจ้าเห็นจึงมี ชรา พยาธิ และมรณะ
    ประวัติครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต โดยสังเขป

    [​IMG]

    ชาตกาล

    ครูบาถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของ โยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชายทั้งหมดคือ

    1. นายนิเวศน์ อุ่นต๊ะ
    2. นายนิรันดร์ อุ่นต๊ะ
    3. ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

    เมื่อแรกที่ครูบาจะถือกำเนิดนั้น ขณะที่โยมแม่ตั้งครรภ์อุ้มท้องได้ฝันประหลาดไปว่า ได้รับผ้าขาวผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใด ๆ จากนั้นโยมแม่ก็สะดุ้งตื่น แล้วได้นำความฝันนี้ไปเล่าให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง ซึ่งล้วนมีแต่คนบอกว่าน่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี ทั้ง ๆ ที่ในตอนนั้นฐานะทางบ้านของโยมพ่อโยมแม่ก็ไม่สู้จะดีนัก เป็นชาวสวนเกษตรกร ปลูกผัก ปลูกไม้ เลี้ยงดูลูก ๆ ไปวัน ๆ

    และเมื่อบุตรชายคนสุดท้องของท่านได้ถือกำเนิด ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่เด็กชายผู้นี้เป็นเด็กที่มีผิวพรรณผุดผ่อง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งโยมพ่อโยมแม่ได้ตั้งชื่อในวัยเด็กของครูบาว่า เด็กชายเก่ง ซึ่งครูบาก็เก่งสมชื่อ เพราะนอกจากมีความจำเป็นเลิศและเรียนเก่งแล้ว ยังมีอุปนิสัยเป็นผู้ที่ชอบความสงบไม่ชอบเบียดเบียนผู้ใด จนครั้งหนึ่งอายุได้ราว 7- 8 ปีเกือบต้องเสียชีวิตเนื่องจากจิตใจอันประกอบไปด้วยความเมตาต่อสรรพสัตว์คือ ในครั้งนั้นครูบาได้เห็นชาวบ้านไปดักปลาก็เกิดความสงสารจึงคิดจะไปปล่อยปลา เป็นเหตุให้พัดตกน้ำโชคดีที่พี่ชายมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยเหลือได้ทัน และอุปนิสัยอีกประการในช่วงวัยเด็กของครูบาก็คือ ครูบามักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปอยู่เสมอ บางครั้งก็นำไปวางไว้ตามกำแพง ร่มไม้ จนเพื่อนๆ ชอบล้อว่าอยากเป็น ตุ๊เจ้า หรือ ซึ่งครูบาก็ไม่เคยปฏิเสธหรือโกรธเพื่อน ๆ เลย

    เมื่อก่อนโยมพ่อโยมแม่ต้องหาเลี้ยงชีพอยู่ตลอดคือที่บ้านจะทำสวนทำไร่ ครูบาก็ช่วยท่านทุกอย่างชีวิตในวัยเด็กถือว่าลำบาก เลิกเรียนก็ต้องมาช่วยแม่ปลูกผัก รดน้ำ ใส่ปุ๋ย เก็บผัก ทำทุกอย่างบางครั้ง ตีหนึ่ง ตีสองต้องไปเก็บผักก็ช่วยท่านมาตลอด ที่บ้านทำสวนทำไร่ โยมแม่ก็เลยไม่ค่อยได้มีเวลาไปวัดท่านก็จะจัดสำรับให้ แล้วบอกให้ครูบาไปกับตาแทน ตาของครูบาชื่อ พ่ออุ้ยอิ่น จนครูบาสามารถสวดมนต์ไหว้พระได้ตั้งแต่เป็นเด็ก เท่าที่จำความได้สมัยเป็นเด็กอายุ 9-10 ขวบ ครูบาเป็นเด็กคนเดียวที่ไปวัด แล้วก็สามารถสวดมนต์ไหว้พระได้ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ

    การศึกษาเล่าเรียน

    ซึ่งการที่ได้ไปวัดอย่างนี้เลยทำให้ครูบามีความผูกพันกับวัดและขณะอายุได้ 12 ปีนั้น ครูบามักจะตามพี่ชายซึ่งเป็นขโยม (เด็กวัด) ไปที่ วัดชัยชนะ จ. ลำพูน เสมอ ๆ จึงทำให้มีโอกาสได้พบกับ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งครูบาจันทร์ติ๊บผู้นี้นับได้ว่าเป็นพระผู้เรืองในวิทยาคุณในยุคนั้น ท่านได้สืบทอดวิทยาคมมาจากครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดวังมุย นั่น เอง ครูบาจันทร์ติ๊บเมื่อได้มาเห็นลักษณะของครูบาก็มองว่ามีวาสนาในทางธรรม ท่านจึงได้สอนศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้ และด้วยความที่ครูบาอ่อนน้อมถ่อมตัวเป็นคนเรียบร้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วทำ ให้ครูบาจันทร์ติ๊บมีความรักใคร่ในตัวครูบามาก

    [​IMG]

    ต่อมาจึงได้เริ่มสอนอักขระพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า ตั๋วเมือง โดยท่านได้สอนพร้อมกับเด็กวัดอีกหลาย ๆ คน ซึ่งอักขระตัวเมืองคนอื่นที่เรียนเขาใช้เวลาเป็นเดือน แต่ครูบาสามารถอ่านออกได้ช่วงเวลาเพียงข้ามคืนเท่านั้น เรื่องนี้ถูกเล่าขานในกลุ่มผู้ที่ทราบเรื่องราว หนึ่งในนั้นคือ ครูบาตั๋น หรือตุ๊ลุงตั๋น ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอสารภีรูปที่ 4 และเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พุทธศาสนา วัดหวลก๋าน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ตุ๊ลุงตั๋นท่านไม่เชื่อว่าครูบาจะสามารถเรียนตั๋วเมืองจนอ่านออกเขียนได้ใน เวลาแค่ข้ามคืนท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ข่าวนี้ด้วยตนเอง ปรากฏว่าครูบาสามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาล้านนาจริงๆ ตุ๊ลุงตั๋นรู้สึกมีความชื่นชมในตัวของครูบามาก จึงได้มอบเงินเป็นรางวัลจำนวน 1,000 บาท จากนั้นครูบาจันทร์ติ๊บก็ได้พร่ำสอนสั่งสอนถ่ายทอดวิชาการทั้งปวงให้กับครู บา และครูบาก็สามารถเรียนรู้วิชาทั้งปวงได้ในเวลารวดเร็ว สามารถลงอักขระ เลขยันต์ต่างๆ แทนครูบาผู้เป็นอาจารย์ได้ จนต่อมาครูบาจันทร์ติ๊บถึงกับเอ่ยปากพูดว่า “เด็กผู้นี้มีวาสนาทางธรรมสูงยิ่งนัก ต่อแต่นี้ไปเราขอตั้งชื่อเด็กชายผู้นี้ว่า อริยชาติ อันหมายถึง ผู้ที่มีภพชาติอันเป็นอริย นั่นเอง”

    ชีวิตในวัยเด็กครูบาเริ่มการศึกษาที่ โรงเรียนวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ. เมือง จ. ลำพูน จนจบชั้นประถมศึกษา จึงได้มาเรียนต่อโรงเรียนมัธยมที่ โรงเรียนสารภีวิทยาคม ซึ่งช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ป.6 นั้น ครูบามีความคิดอยากจะบวช ขอกับโยมแม่ว่าถ้าจบ ป.6 แล้วบวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ให้จบ ม.3 ก่อนแล้วค่อยบวช พอจบ ม.3 ก็คิดว่าจะได้บวชแล้ว แต่ก็ไม่ได้บวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ ม.6 ค่อยบวช เลยคิดว่ายังไงๆ ก็คงไม่ได้บวชแล้ว แต่พอครูบาเรียนถึงชั้น ม.4 รู้สึกมันวุ่นวาย อะไรๆ ก็วุ่นวาย ช่วงนั้นรู้สึกอยากจะบวชมากจริงๆ รู้ว่าต้องได้บวช ขอโยมแม่ๆ ก็ไม่ให้บวช เพราะครูบาเป็นความหวังของโยมแม่ เนื่องจากพี่ชายคนแรกพิการ เกิดมาได้เดือนหนึ่งก็เป็นไข้เลือดออกพาไปหาหมอ หมอก็ฉีดยาให้ร่างกายนั้นปกติดีแต่พิการ พี่ชายคนที่สองแต่งงานแล้วก็ไปอยู่ลำปาง ครูบาเป็นลูกคนสุดท้องอยู่กับโยมแม่ สมัยนั้นครูบาขอบวชโยมแม่ก็ไม่ให้บวช ท่านบอกว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่งคงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว” ซึ่งคนขาไม่ดีที่ว่าจะได้พึ่งนั้นมีอยู่คนเดียวคือโยมพี่ ทุกวันนี้เป็นจริงแล้วนะโยมแม่ก็ได้พึ่งเขาจริงๆ

    พอครูบาเรียนที่โรงเรียนสารภีจบแล้ว ก็ได้บวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2541 ณ วัดชัยมงคล ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ขณะที่มีอายุ 17 ปี โดยมี พระครูภัทรปัญญาธร วัดศรีสุพรรณ จ.ลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูไพศาลธรรมานุศิษย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์และ พระครูวัดเจดีย์ขาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งวัดชัยมงคลนี้สมัยก่อนครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ครูบาไม่ได้เจอท่านหรอก เพราะท่านมณภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519

    [​IMG]
     
  10. Soul Mate

    Soul Mate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +356
    วัดปรมัยฯ @ เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
    วัดไทรงาม @ สุพรรณบุรี (สถานปฏิบัติธรรมสติปัฏฐาน 4)
     
  11. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    กราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ ดีจัง บ้างวัดไม่เคยรู้ก็ได้รู้
     
  12. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,224
    ค่าพลัง:
    +15,636
    เข้าพรรษาผมจะไปถวายสังฆทานกับวัดที่มีพระที่ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้แก่วัดหนองหญ้าปล้อง อ.ด่านมะขามเตี้ย วัดถ้ำหินผาแดง อ.หนองปรือ และวัดท่าขนุน(รอถวายท่านที่กรุงเทพฯ) อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
     
  13. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

    นี่.....ก็บ้านเก่าผมครับ

    [​IMG] [​IMG]


    ประวัติความเป็นมาของวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

    วัดบรมนิวาสเป็นวัดโบราณท่านเจ้าของวัดเมื่อแรกเริมบูรณะปฏิสังขรณ์ได้ถวายพระบาทสมเด็จพระ
    จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงผนวชอยู่ ให้เป็นวัดข้าหลวงเดิม (ผู้รับใช้สอยใกล้ชิดมาก่อนที่จะครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์) ดังความปรากฏในพระราชพงศาวดาร ของพระยาทิพากรวงศ์ ระบุว่า

    “ วัดพระราชรินทรอาศน์สร้างไว้ค้างอยู่ ถวายเป็นวัดข้าหลวงเดิม โปรดให้ทำการเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสิ่ง และก่อพระเจดีย์องค์ใหญ่ไว้หลังพระอุโบสถพระราชทานชื่อว่า วัดบรมนิวาส ”

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์สถาปนาพระอารามนี้เพื่อเป็นที่ประทับ
    สำราญอิริยาบถ ครั้นถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดบรมนิวาส การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ จึงทรงจัดการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จ

    วัดบรมนิวาสในครั้งนั้นชื่อว่าวัดบรมสุข แต่เรียกว่าวัดนอก เช่นเดียวกับการเรียกวัดบวรนิเวศวิหาร ว่าวัดบน

    เดิมที่เรียกว่าวัดนอก คงเพราะตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพง ส่วนที่เรียนวัดบวรนิเวศวิหารว่าวัดบนนั้น
    เป็นการเรียกให้เสมือนเป็นการประกาศให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเทียบพระ
    บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ในถานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยเปรียบที่วักบวรนิเวศ
    เทียบได้กับบวรสถาน ส่วนที่เรียกว่าวัดบน ก็เสมือนวังบน ซึ่งหมายถึงพระราชวังบวรสถานมงคลเช่น
    กัน ดังปรากฏความที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงนิพนธ์

    “ วัดนี้ชื่อว่าวัดบวรนิเวศ เทียบได้กับบวรสถานน่าจะได้พระราชทานในครั้งนี้เมื่อปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๙๓ (พ.ศ. ๒๓๗๔) ในหมายรับสั่งยังเรียกว่าวัดใหม่ ครั้นปีมโรง จ.ศ ๑๒๐๖ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เรียกวัดบวรนิเวศ แล้วอีกอย่างหนึ่งโวหารสั้นเรียกว่าวัดบน เทียบกันได้กับวังบนฯ ”

    วัดบรมนิวาสนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คงจะทรงมีพระราชประสงค์ให้คู่กันกับวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวคือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีของธรรมยุติกนิกาย เป็นศูนย์กลางปริญัติธรรมของธรรมยุติ ส่วนวัดบรมนิวาสเป็นวัดคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีของธรรมยุตินิกาย และอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษากับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ถึงสถานะของทั้งสองพระองค์ หากสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียก่อนโดยราชสมบัติและแผ่นดินต้องตกอยู่กับเจ้านายบางพระองค์ เสถียรภาพแห่งความมั่นคงของพระองค์ทั้งคู่อาจจะตก
    อยู่ในภาวะเดือดร้อน ดังนั้นจึงทรงดำริร่วมกันในการจัดสร้างวักเล็ก ๆให้ห่างไกลเมืองเพื่อว่าจะได้ใช้สำหรับเป็นที่หลบภัยในคราวจำเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ จึงทรงสร้างวัดชิโนรสริมคลองมอญขึ้น ส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาวัดบรม
    นิวาสขึ้นใหม่สำหรับพระองค์เช่นกัน

    จากข้อมูลประวัติที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ได้ทรงเขียนไว้เกี่ยวกับเสนาสนะภายในวัดดังนี้

    “ น่าสลดใจคราวหายนะเมื่ออัตตโนมาอยู่กำลังวัดโทรม คณะหอเขียวมีกุฏิ ๕ หลัง พออาศัยอยู่ได้แต่ชำรุดทุกหลัง กุฏิใหญ่พื้นชั้นล่างทรุด กระดานโกงอาศัยไม่ได้ พื้นชั้นบนดีแต่อับหน้าต่างเล็กซ่อมซ่อ พระเณรอยู่ไม่ได้เป็นไข้ อัตตโนก็ออกอยู่ที่ระเบียงพอตลอกพรรษา ออกพรรษาอัตตโนไปปลูกกุฏิเล็กอยู่ต่างหาก คณะกลางที่รื้อสร้างโรงธรรมสวนะทุกวันนี้ มีกุฏิอยู่ ๖ หลัง พอพระเณรอาศัยอยู่ได้หลังเดียว ยังพออาศัยอยู่ได้มากแต่คณะกุฏิ แต่ก็ชำรุดหลายหลัง หน้าวัดมีศาลาระเบียงรอบ ๓ หลัง ชำรุดทุกหลังใช้การไม่ได้ คณะสวนมีศาลา ๒ หลัง แต่ชำรุดอาศัยไม่ได้เหมือนกัน ”

    เดิมอาคารเสนาสนะต่างเป็นไม้ หมู่กุฏิเจ้าอาวาส (กุฏิหอเขียว) ซึ่งเป็นที่อยู่อดีตเจ้าอาวาสมา ๔ ช่วงก็ทรุดโทรมลงไม่อาจใช้การได้ ต่อมาทางวัดได้ใช้เป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยให้พระสอนช่วงเจ้าอาวาสรูปที่ ๕

    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เจ้าจอมมารดาทับทิม มีศรัทธาสร้างกุฏิสมภารถวาย คือกุฏิปัทมราชในปัจจุบันครั้น ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เจ้าจอมมารดาเลื่อน มีศรัทธาสร้างศาลาธรรมสวนะขึ้นที่คณะกลางชื่อศาลาอุรุพงษ์ พระประธานชะลอมาจากวัดหลุมดินเก่าเมืองราชบุรี

    และจากข้อมูลประวัติพระอารามระบุระยะเวลาสร้างพระอาราม โดยมีอาคารสำคัญ คือ พระอุโบสถ และพระเจดีย์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ ส่วนอาคารในเขตสังฆาวาสที่สำคัญ คือ ศาลาการเปรียญ และกุฏิซึ่งสร้างหลายช่วงสมัย ดังมีรายละเอียดความว่า

    “ ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นศาลาทรงไทยยกพื้นชั้นล่างเทคอนกรีต ชั้นบนปูด้วยไม้เนื้อแข็ง เสาเป็นไม้กลม ผนังด้านในก่ออิฐถือปูนด้านนอกทำด้วยหินล้าง มีหน้ามุขพร้อมช่อฟ้าใบระกา ๒ มุข ที่หน้ามุขมีไม้แกะสลักเป็นลายไทยลงรักติดกระจก

    กุฎิมี ๕๕ หลัง สร้าง พ.ศ. ๒๓๗๗ จำนวน ๑๔ หลัง นอกนั้นสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ และ พ.ศ. ๒๕๑๘ ลักษณะโครงสร้างก่อด้วยอิฐถือปูน ๕๑ หลัง สร้างด้วยไม้ ๔ หลัง ทรงปั้นหยา

    พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๑ วา ๕ นิ้ว ซึ้งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลกมีพระนามว่าพระทศพลญาณ

    พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ เป็นพระศิลาแลงลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๑ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๑ วา ๑ ศอก ๑ นิ้ว นำมาจากวัดอรัญญิก จังหวัดราชบุรี เดิมเป็นพระพุทธรูปชำรุด

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)เมื่อครั้งยังเป็นพระญาณรักขิต ได้อัญเชิญลงมายังวัดบรมนิวาส แล้วต่อประสานเข้าเป็นองค์และฉาบด้วยปูนลงรักปิดทองเสร็จแล้วถวายพระนามว่า “พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล”

    พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง เบื้องหลังมีเรือนแก้วพุ่มมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจารึกไว้ในวงกลีบบัวยอดเรือนแก้วมีรูปมงกุฎรองฐานพระเป็นที่สำหลับรับน้ำสรง มีท่อเป็นรูปศรีษะโค

    ดังนั้นพระอารามเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ซึ่งเป็นเวลาที่พระบาทสมพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ยังทรงผนวชครองอยู่ที่วัดราชาธิวาส และยังมิได้ย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร (ย้ายไปประทับวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙) และเป็นพระอารามเดียวที่พระองค์ทรงเริ่มสร้างในระหว่างที่ยังทรงผนวช

    จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 4
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    วัดบรมนิวาสหันด้านหน้าออกคลองแสนแสบ มีคูน้ำรอบพระอารามเป็นวัดที่มีพื้นที่ขนาดย่อมบริเวณด้านหน้า จากประวัติวัดมีศาลาท่าน้ำถัดไปมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ และในแนวแกนด้านหลังต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นที่ตั้งของส่วนพุทธาวาส อยู่เยื่องทางด้านทิศตะวันออกมีกำแพงชักล้อมรอบมีซุ้มประตูครอบทับกำแพงเป็นทางเข้าพุทธาวาส มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๓๐.๐๐-๕๒.๐๐ เมตร อาคารสำคัญของพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ พระเจดีย์และพระระเบียงโอบล้อมพระเจดีย์ ๓ ด้านที่ด้านหน้ากำแพงตรงมุมมีหอกลองและหอระฆัง โดยหอระฆังอยู่ชิดมาทางด้านส่วนสังฆาวาส

    ส่วนสังฆาวาสในปัจจุบันมีกุฏิโอบล้อมส่วนพุทธาวาส แต่จากข้อมูลประวัติพบว่าส่วนสังฆาวาสเดิม สมัยแรกคงอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของส่วนพุทธาวาส

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    จิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
    เป็นภาพวาดปริศนาธรรม โดยท่าน ขรัวอินโข่ง ในสมัยรัชกาล ที่ ๔

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    อีกเยอะครับ แต่เนื่องจากภาพมันใหญ่มาก อย่างที่เห็น เลยไม่สามารถมีเวลาย่อขนาดได้ ต้องไปชมเองครับ อยู่หลังตลาดโบ๊เบ้ นั่นแหละครับ

    ทำเนียบเจ้าอาวาสครับ

    1.พระญาณรักขิต (สุข) (เจ้าอาวาสรูปที่ ๑)
    [​IMG]
    2.พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๒)
    [​IMG]
    3.พระพรหมมุนี (สุมิตฺโต เหมือน ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓)
    [​IMG]
    4.พระวินัยรักขิต (จันทร์ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔)
    [​IMG]
    5.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( สิริจนฺโท จันทร์ ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๕)
    [​IMG]
    6.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๖)
    [​IMG]
    7.พระธรรมดิลก ( จนฺทูปโม ทองดำ ป.ธ.๗ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗)
    [​IMG]
    8.พระเทพวรคุณ ( ชาคโร สิงห์ ป.ธ.๖ เจ้าอาวาสรูปที่ ๘)
    [​IMG]
    9.พระพรหมมุนี ( สุจิณฺโน บู่ ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๙) ผู้ให้กำเนิดทางธรรมแด่ผม
    [​IMG]
    10.พระเทพสุเมธี(สนอง เขมี ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐)
    [​IMG]
    11.พระเทพวรคุณ(ประศาสน์ ปญฺญาธโร)
    (ป.ธ.๔ รองเจ้าคณะภาค ๘ ธรรมยุต M.A. ศน.ด กิตติมศักดิ์ มมร.)
    เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหารรูปปัจจุบัน
    [​IMG]

    พระเทพวรคุณ
    (ประศาสน์ ปญฺญาธโร)
    (ป.ธ.๔ รองเจ้าคณะภาค ๘ ธรรมยุต M.A. ศน.ด กิตติมศักดิ์ มมร.)
    เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหารรูปปัจจุบัน

    พระเทพวรคุณ ฉายา ปญฺญาธโร อายุ ๖๒ ปี พรรษา ๔๑ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔ ,
    ศาสนศาตรบัณฑิต (ศน.บ.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    (M.A) BHU พาราณสี ประเทศอินเดีย
    ศาสนศาตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศัก (ศน.ด) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา

    สังกัดวัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
    ๑. เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส
    ๒. รองเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต)
    ๓. รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู (ธรรมยุต)


    สถานะเดิม ชื่อ ประศาสน์ นามสกุล เป็นมงคล เกิด ๕ฯ๑๐ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๐
    บิดานายพิมพ์ เป็นมงคล
    มารดานางทา เป็นมงคล
    บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ ๑ บ้านหนองวัวซอ ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัด
    อุดรธานี

    บรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ณ. วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    พระอุปัชฌาย์ พระพิศาลคณานุกิจ วัดพิศาลรัญญาวาส

    อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ ณ. วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    พระอุปัชฌาย์ พระพิศาลคณานุกิจ วัดพิศาลรัญญาวาส
    พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสิริจันทรวิวัฒน์ วัดหนองแวงยาว
    พระอนุสาวนาจารย์ พระครูโสภณคณานุรักษ์ วัดบุญญานุสรณ์

    การปกครอง
    พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต)
    พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)
    พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู (ธรรมยุต)

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ พระครูปลัดสุวัฒนญาณคุณ ฐานานุกรม ในพระญาณวโรดม
    พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม ที่ พระอมรโมล
    พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นราช ในราชทินนาม ที่ พระราชมงคลบัณฑิต
    พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นเทพ ในราชทินนาม ที่ พระเทพวรคุณ


    วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ถนนพระราม ๖ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
    โทร ๐๒-๒๑๔-๐๗๐๘

    วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  14. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  15. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    วันแม่ ปีนี้ วี ไปปฎิบัติธรรม ในโครงการ "หนึ่งใจให้ธรรมะ"
    ของฟ้าหญิงอุบลรัตน์ที่วัดป้อมวิเชียรโชติการามค่ะบุญที่ทำในวันนี้ยกให้แม่ของทุกคน และมีภาพมาให้ดูด้วย วันที่ 14 สิงหาคม 2553 หลวงพ่อ
    ก็จะกลับวัดที่ วัดป่าเขาล้อม อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ออกพรรษา ท่านก็จะออกในโครงการ
    "หนึ่งใจให้ธรรมะสัญจร"
    ต่อไป

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SL270519.JPG
      SL270519.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      116
    • SL270454.JPG
      SL270454.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      100
    • SL270478.JPG
      SL270478.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      91
    • SL270477.JPG
      SL270477.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      103
    • SL270504.JPG
      SL270504.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      61
    • SL270476.JPG
      SL270476.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      102
    • SL270513.JPG
      SL270513.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      69
    • SL270456.JPG
      SL270456.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      65
    • SL270469.JPG
      SL270469.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      71
    • SL270462.JPG
      SL270462.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      66
  16. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    กราบอนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรกัลยาณธรรมด้วยจ้ะสาธุๆๆ
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,633
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ขอบคุณคุณน้องวีและทุกท่านที่ให้แสงสว่างทางธรรมรวมทั้งธรรมทาน บุญรักษาทุกท่านค่ะ สาธุ



    :z11
     
  18. ปัญญาพร

    ปัญญาพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +797
    วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี
    วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย
    วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี
    วัดอโศการาม จ. สมุทปราการ
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ฯ
    วัดมเหยงคณ์ จ. อยุธยา
     
  19. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    มาสวดมนต์บทโพชฌังคปริตรกันค่ะ
    ขออนุโมทนากับผู้สวดมนต์บทโพชฌังคปริตรทุกๆท่านค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...