รบกวนเซียนพระช่วยดู + ตีราคาให้ทีครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย thephoenix, 18 ตุลาคม 2006.

  1. thephoenix

    thephoenix สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    พอดีมีคนถามน่ะครับ แล้วผมก้อดูพระไม่เป็นซะด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พระ.jpg
      พระ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      635.4 KB
      เปิดดู:
      1,936
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ใช่"เซียนพระ"ครับ..

    พระพิมพ์นี้จัดเป็นพระ"นางพญา" เป็นพิมพ์"พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" ลักษณะพิเศษของพระพิมพ์นี้คือ พุทธลักษณะ สี และการตัดปีกข้าง

    "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย(อ่านว่า มาน-ระ-วิ-ชัย) นั่งขัดราบบนฐาน อยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลักษณะองค์พระค่อนข้างอวบใหญ่ พระพักตร์ป้อมด้วยศิลปะแบบสุโขทัย รายละเอียดต่างๆที่ปรากฏอยู่ในพิมพ์นี้มีความอลังการ อิ่ม และเพียบพร้อมด้วยอารมณ์ทีเดียว

    "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" มีพระนามอันไพเราะประทับใจดังกล่าวนี้ จะมีแต่ชนิดที่สร้างเป็นเนื้อดินผสมว่าน กับผงเกสรหอมเท่านั้น เนื้อค่อนข้างร่วนแก่ดินซึ่งมีทั้งกรวดทรายผสมอยู่มาก พระพิมพ์นี้จึงแตกหักง่าย และหากพบว่ามีคราบรักน้ำเกลี้ยง กับชาดทาทับไว้ พิจารณาคราบที่ติดผิว หากปรากฏฝ้าขาวนวลจับอยู่ตามซอกทั่วไป คือพระเครื่องที่ยังไม่ผ่านการใช้ และที่ด้านหลังขององค์พระส่วนมากจะมีลายนิ้วมือกดติดอยู่ด้วยทั่วไป คล้ายการกดขณะถอดพิมพ์ นิ้วมือก็จับกดไปด้วย

    การพิจารณาสีของ"พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" จะมีเฉพาะสีเหลือง สีแดง สีเขียว และสีอมดำ เท่านั้น

    ส่วนขนาดกว้างยาวของพิมพ์นี้จะมีเพียงขนาดเดียว แต่การที่เราดูแล้ว บ้างว่าเป็นขนาดใหญ่ บ้างว่าเป็นขนาดเล็กนั้น อยู่ที่การตัดปีกให้กว้างก็จะดูว่าองค์ใหญ่ ตัดปีกแคบก็จะดูว่าองค์เล็ก แต่หากพิจารณาองค์พระแล้ว ก็จะเห็นว่ามีขนาดเท่ากันหมด สังเกตดูความจั่วทั้ง ๒ ด้านซ้าย และขวา ต้องสมมาตรกัน

    เมื่อคราวบูรณะโบราณสถานปี พ.ศ.๒๕๐๖ ที่ "วัดตาเถรขึงหนัง" นั้น
    เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบกรุพระเข้าโดยบังเอิญ และได้สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นคือ เมื่อกรุพระถูกเปิดออก ได้มีกลิ่นหอมอย่างประหลาดโชยอบอวลหอมฟุ้งไปทั่วบริเวณนั้น นั่นคือพิธีการอบอธิษฐานซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างพระเมืองล้านนาในสมัยพระแม่จามเทวี เพื่อหวังให้มีอิทธิคุณด้านของกิตติศัพท์ กิตติคุณให้หอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วสารทิศ

    แต่พระพิมพ์ที่แสดงไว้นี้อาจไม่ใช่พระพิมพ์นางพญาวัดตาเถรขึงหนัง ลองหาข้อมูลของพระกรุนี้เทียบเคียงจะได้ความรู้อีกมาก และปัจจุบันมีหลายวัดที่สร้างพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เมื่อคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดามีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา ทางเมืองเหนือก็ได้สร้างพระนางพญาเสน่ห์จันทน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    นี่ครับ ที่มาของข้อมูลพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่จัดสร้างโดยม.นเรศวรเมื่อคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดามีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา

    องค์ต้นแบบ
    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="49%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=18>
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ องค์ต้นแบบ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หอพระเทพรัตน์ : สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร
    ผมขอเรียนว่า แนวคิดของการจัดสร้างหอพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ให้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูป ภปร. เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษา เมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๔๘ นะครับ ทีนี้ทางมหาวิทยาลัยก็คิดว่า เราน่าจะสร้างหอพระเทพรัตน์ กลางสระบัว เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย สำหรับเป็นสถานที่เคารพสักการบูชาของบุคลากรและนิสิต จะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจอีกแห่งหนึ่ง ขณะนี้กำลังก่อสร้างอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ผมยังมองในอนาคตว่าจะได้พัฒนาให้เป็นสถานศึกษาและอนุรักษ์พันธ์บัวชนิดต่างๆ โดยจะปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสระน้ำให้ดูสวยงาม ร่มรื่นให้เป็นสถานที่พักผ่อนอีกแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยด้วยครับ สำหรับในส่วนของงบประมาณดำเนินการก่อสร้างหอพระเทพรัตน์และพัฒนาสระบัว เราได้มีรายได้หลักมาจากการจำหน่ายพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ประดิษฐานอักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. (ด้านหน้า)
    ในส่วนรูปแบบการก่อสร้างหอพระเทพรัตน์ จะเป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธรูป ภปร. ประจำมหาวิทยาลัยที่แสดงให้เห็นความเป็นมหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่มีลักษณะเด่น สอดคล้องกับท้องถิ่นนะครับ คือ เป็น สถาปัตยกรรมต้องการสื่อสะท้อนถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยกับพิษณุโลกร่วมกัน หลังคาเป็นเครื่องยอดคล้ายแบบเจดีย์ทรงดอกบัว ลอยตัวอยู่กลางน้ำ จะได้เป็นการเชื่อมจุดนำสายตา โดยพื้นเชื่อมต่อกับพื้นที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ซึ่งการออกแบบทั้งหมดนี้ เราได้ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) เป็นสถาปนิกคือ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร และมีวิศวกรดำเนินงานคือ อาจารย์บัญชา ชุ่มเกษตร และวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคมนี้ มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เดินทางมาเป็นประธานอัญเชิญบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อประดิษฐานบนยอดหอพระเทพรัตน์ซึ่งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยก็จะเข้าร่วมในพิธีด้วย

    http://www.nu.ac.th/ab-message-Jan50.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-LEFT: medium none" vAlign=top width="100%" height=134><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG] ความเป็นมาของชื่อพระ

    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระที่กรมศิลปากรได้ทำการเปิดกรุพระได้จากวัดร้างนอกเมืองสุโขทัยเก่า 2 วัดด้วยกัน เมื่อคราวขุดแต่งบูรณะโบราณ สถานเมืองเก่าของจังหวัดสุโขทัย และได้ทำการเปิดกรุที่วัดต้นราวจันทน์เป็นวัดแรกเมื่อปี พ.ศ.2506 กับวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม) เป็นกรุที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2508
    สำหรับการเปิดกรุนั้น ปรากฏว่ามีกลิ่นหอมตลบอบอวลออกมาเป็นกลิ่นหอมที่รัญจวนใจยิ่งนักกลิ่นหอมประหลาดนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นกลิ่นหอมดอกว่านเสน่ห์จันทน์ ที่มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม พระเครื่องที่พบภายในกรุนั้นก็อบอวลด้วยกลิ่นว่านเหมือนกัน จึงได้ขนานนามเป็นมงคลว่า พระนางพญาเสน่ห์ ด้วยมีพุทธลักษณะขององค์พระละม้ายกับพระนางพญาของ เมืองพิษณุโลก และกำแพงเพชร
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ที่ได้เปิดกรุทั้ง 2 ครั้งนี้ปรากฏว่ามีแต่เนื้อดินเท่านั้นพระเนื้อชินไม่มีปรากฏเลย
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของวัดตาเถรขึงหนังหรือวัดศรีพิจิตกิรติกัลยาราม โดยที่วัดนี้ทางกรมศิลปากรได้พบหลักศิลปากรได้พบหลักศิลาจารึกครึ่งท่อน หลักหนึ่งได้บอกไว้ว่าเป็นวัดที่พระมเหสีของพระเจ้าลิไทเป็นผู้ทรงสร้างไว้ โดยที่วัดตาเถรขึงหนังนั้นปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ. 2499 นายมะลิ โคกสันเทียะ อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 3 สุโขทัย ได้พบหลักศิลาจารึกจมดินอยู่ที่บริเวณวัดทางด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ใหญ๋เข้าหลักหนึ่ง ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนเขียวชำรุด โดยศิลาจารึกท่อนบนที่พบสูง 72 ซม. กว้าง 68 ซม. จารึกเป็นอักษรภาษามคธ เขียนด้วยอักษรขอมมี 2 บรรทัด ส่วนภาษาไทยเขียนด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัยมี 15 บรรทัด
    จากข้อความในศิลาจารึกกล่าวได้ความว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัยมีนามว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 (พระยาไสยลือไท) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่1(พระยาลิไท) โดยโปรดให้ไปอาราธนา สมเด็จพระมหาศรีกิรติฯ ซึ่งเป็นพระสังฆราชมาจากเมืองกำแพงเพชรให้มาเป็นประธานในการจัดสร้าง ด้วยเหตุนี้ วัดจึงมีนามว่าวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น ทั้งนี้สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาผู้สร้างพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ จากพระนามแสดงว่าทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองนคร
    ศรีธรรมราช รวมทั้งพระนามของสมเด็จพระมหาศรีกิรติฯ พระสังฆราชศาสนาด้วยเช่นกัน ที่น่าจะสืบทอดมาจากเมืองนครศรีธรรมราชตามประวัติพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในสมัยสุโขทัย
    ดังนั้นพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่กรมศิลปากรขุดได้จากในพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดนี้ จึงเป็นพระสำคัญเพราะเป็นพระที่พระมเหสีพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยและพระสังฆราชสมัยสุโขทัยทรงสร้าง ด้วยเหตุดังกล่าวพระนางพญาเสน่ห์จันทน์นี้ จึงเป็นพระเครื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
    พุทธลักษณะ พระนางเสน่ห์จันทน์เป็นพระปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานชั้นเดียวอยู่ในทรงกรอบรูปสามเหลี่ยม
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระเครื่องสกุล พระนางพญาที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุความเก่าถึงประมาณ 600 ปี สร้างขึ้นในยุคสมัยสุโขทัยก่อนพระนางพญาพิษณุโลก ซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระนางพญาเสน่ห์จันทน์มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดด้วยพุทธศิลปะยุคสุโขทัยบริสุทธิ์มีความอ่อนช้อยหวานซึ้งเป็นเลิศ จัดเป็นพระที่มีตระกูลสูง ครั้งนี้นับได้ว่ามีการสร้างขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการ ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ 50 พรรษา และได้รับพระกรุณาธิคุณ พระราชทานอักษรนามาภิไธย ส.ธ. ประดิษฐานที่ด้านหลัง
    ของพระนางพญาเสน่ห์จันทน์

    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR style="COLOR: orange" align=right width="100%" SIZE=1 hr>
    [​IMG] ภาพพิธีมังคลาภิเษกมวลสารมงคล

    ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบพิธีกดพิมพ์พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นปฐมฤกษ์ จำนวน 9 องค์ ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 29 มิถุนายน 2548

    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="66%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=231>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=210>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=40>
    คณะกรรมการจัดสร้างประกอบพิธีสรวงเทวดาบูชาฤกษ์
    โดยมี คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็นประธาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="38%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=231>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: 1px solid; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle width="100%" height=30><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left></TD><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-LEFT: medium none" vAlign=top width="100%" height=134> [​IMG]
    [​IMG]
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="66%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=220>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=227>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=40>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="49%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="50%" height=18>
    พระพรหมมุนี
    วัดบวรนิเวศ
    </TD><TD width="50%">
    พระเทพภาวนาวิกรม (ธงชัย)
    วัดไตรมิตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=Fixfont height=213 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="38%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=188>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=25>
    พระพิธีธรรม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
    สวดคาถามงคลจักรวาล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG] รายนามและคณาจารย์ในพิธี ประกอบด้วย

    - หลวงปู่ทิม วัดพระขาวอยุธยา
    - หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
    - หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
    - พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา
    - หลวงพ่อวุฒิโชค วัดตรีทศเทพ กรุงเทพฯ
    - หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
    - พระอาจารย์วันดี วัดอุบลวนาราม นนทบุรี
    - พระอาจารย์วิเชียร วัดไทรทอง กาญจนบุรี
    - พระอาจารย์สนม วัดท้ายน้ำ พิจิตร

    [​IMG] คณะกรรมการดำเนินงาน

    - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ประธานกรรมการ
    - รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี รองประธานกรรมการ
    - รองศาสตราจารย์กมล การกุศล กรรมการ
    - ดร.สำราญ ทองแพง กรรมการ
    - รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก กรรมการ
    - รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา จันทร์ศิลา กรรมการ
    - นายไพโรจน์ เทพวัลย์ กรรมการและเลขานุการ
    - นางดุษฎี ภาชนะพรรณ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    - นางวรลักษณ์ ศรีทองคำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    - นางกมลทิพย์ กมลวรเดช กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    <HR style="COLOR: orange" align=right width="100%" SIZE=1 hr>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เนื้อว่าน
    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=275>
    [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เนื้อว่าน
    สร้าง 40,000 องค์ (สูงประมาณ 3.2 ซม. กว้างประมาณ 2.3 ซม.)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ชุดพิเศษ
    <TABLE class=Fixfont cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=265>
    [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ชุดพิเศษ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...