รวบรวม งานสงกรานต์ ทั่วไทย 2554

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 7 เมษายน 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">ชุ่มฉ่ำชื่นมื่น เริงรื่นกับ “ไฮไลท์สงกรานต์” ทั่วไทย</td> <td align="right" valign="baseline" width="102">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">6 เมษายน 2554 16:19 น.</td></tr></tbody></table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สงกรานต์ควรเล่นสาดน้ำอย่างสุภาพและพองาม</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หลังจากผ่านพ้นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่สากลมาไม่ทันไร เผลอแผล็บเดียวก็มาถึงเทศกาลสงกรานต์ประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทยกันแล้ว โดยใน ปีนี้ฤกษ์วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน นางสงกรานต์นามว่า กาฬกิณีเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาทรงขอช้าง หัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร(ช้าง)เป็นพาหนะ

    เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้ พุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า เกณฑ์นาคราชให้น้ำปีเถาะ นาคราชให้น้ำ 2 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีน้อย กลางปีงาม และปลายปีอุดมดีแล เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในนา จะได้ 10 ส่วน เสียเพียงส่วนเดียว ธัญญาหาร มังสาหารบริบูรณ์ ประชาชนทั้งหลายจะอยู่เย็นเป็นสุข

    สำหรับเทศกาลสงกรานต์ในปี 2554 นี้ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ได้ชูไฮไลท์สงกรานต์หรือสงกรานต์กระแส หลักในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งก็ไม่ต่างจากปีที่ผ่านๆมา ได้แก่

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ สงกรานต์เชียงใหม่</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาคเหนือ

    "ประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่" ในวันที่ 12-15 เม.ย. นี้ ณ จ.เชียงใหม่ กิจกรรมในงาน อาทิ ชมการจัดขบวนแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขี่รถถีบกางจ้อง รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ขนทรายเข้าวัด การแสดงพื้นเมือง การสาธิตศิลปะพื้นบ้าน การเล่นน้ำสงกรานต์ปีใหม่เมืองรอบคูเมือง สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-5324-8604, 0-5324-8607

    ส่วนอีกหนึ่งงานก็คือ "งานประเพณีมหาสงกรานต์สุโขทัย" โดยจัดขึ้นในวันที่ 7-19 เม.ย. นี้ ณ จ.สุโขทัย กิจกรรมในงาน อาทิ ชมประเพณีแห่ช้างบวชนาค ประเพณีสรงน้ำโอยทาน การแสดงพื้นบ้าน ขบวนแห่ช้างพ่อเมือง การรดน้ำ ขอพรผู้สูงอายุ การละเล่นสาดน้ำ ขบวนแห่นางสงกรานต์ และขบวนแห่ล้อเกวียนโบราณ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-5561-6228-9

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เล่นสาดน้ำกับช้างในงานสงกรานต์อยุธยา</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาคกลาง

    "ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า" ในวันที่ 13 เม.ย. นี้ ณ จ.พระนครศรีอยุธยา กิจกรรมในงาน อาทิ ร่วมทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า เล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์แบบมอญ สรงน้ำพระสงฆ์จากรางไม้ไผ่ซึ่งมีที่เดียวในพระนครศรีอยุธยาที่วัดทองบ่อ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3524-6076-7

    “อัศจรรย์วันสงกรานต์ จ.สุพรรณบุรี" มีขึ้นวันที่ 12-14 เม.ย. นี้ ณ จ.สุพรรณบุรี กิจกรรมในงาน อาทิ ร่วมขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโตทองคำ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชมขบวนแห่เทพีสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ การละเล่นและการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการแสดงดนตรีลูกทุ่งศิลปินสุพรรณคืนถิ่น สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3553-6030, 0-3553-5789

    และ"ประเพณีสงกรานต์พระประแดง" ในวันที่ 22-24 เม.ย. นี้ ณ จ.สมุทรปราการ กิจกรรมในงาน เช่น ชมขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ การเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน ประกวดหนุ่มลอยชาย การเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2250-5500

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สงกรานต์ถนนข้าวสาร </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ส่วนกรุงเทพมหานคร ปีนี้มีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์หลายแห่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “สงกรานต์ถนนข้าวสาร” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 13-18 เม.ย. นี้ เพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้อยู่คู่แผ่นดินไทย โดยยังเน้นวัฒนธรรมไม่เล่นแป้ง และจัดให้มีการสรงน้ำพระพุทธรูปหน้าร้าน Buddy พร้อมเตรียมถังน้ำให้ประชาชนได้เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน และปลอดภัย

    "งานประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์" จัดขึ้นในวัน ที่ 12-13 เม.ย. นี้ ณ ลานอเนกประสงค์ โรงแรมนูโวซิตี้ สามเสน2 เขตพระนคร กทม. ภายในงานมีการประกวดเทพีสงกรานต์ หนูน้อยสงกรานต์ ขบวนแห่ยิ่งใหญ่ ร่วมใส่ผ้าไทยมาตักบาตรลุ้นรางวัลแมวมอง สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2282-9210, 0-2883-3718

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สงกรานต์ป้อมพระสุเมรุ กรุงเทพฯ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นอกจากนี้ทางททท.และ กทม.ยังร่วมกันจัดงาน “เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ขึ้นในวันที่ 9 - 17 เม.ย. นี้ ณ สวนนาคราภิรมย์ เขตพระนคร มีการจำลองสงกรานต์ 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้) กิจกรรมสรงน้ำพระ การสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม ณ สวนนาคราภิรมย์ รวมถึงการเล่นสงกรานต์ในบริเวณชุมชนบางลำพู ถนนพระอาทิตย์ และสวนสันติชัยปราการ อีกด้วย

    ส่วนระหว่างวันที่ 10-15 เม.ย. 54 เวลา 10.00 น.- 20.00 น. จะมีกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดประจำรัชกาลและพระอารามหลวง ได้แก่ วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดกัลยาณมิตร วัดระฆังโฆสิตาราม วัดสุทัศเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสระเกศ วัดชนะสงคราม วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2250-5500

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สงกรานต์ผู้ไทยของชาวเรณูนคร </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    สำหรับไฮไลท์สงกรานต์ภาคอีสานมีงาน "สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย-ลาว" ในวันที่ 12-15 เม.ย. นี้ ณ จ.นครพนม กิจกรรมในงาน ได้แก่ ชมพิธีฮดสรง (สรงน้ำ) พระธาตุประจำวันเกิด พิธีตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) การเล่นน้ำสงกรานต์ถนนข้าวปุ้น การแสดงวัฒนธรรมชนเผ่า ขบวนแห่สงกรานต์ตามวิถีดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเรณูนคร สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-4251-3490-1

    "ประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูณ เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว" จัด ขึ้นในวันที่ 8-15 เม.ย. นี้ ณ จ.ขอนแก่น กิจกรรมในงานมากมาย อาทิ ร่วมขบวน แห่สงกรานต์ ขบวนแห่เกวียนบุปผาชาติ ชมการเล่น Human Wave คลื่นมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลก การแสดงรำวงย้อนยุค และการเล่นน้ำสงกรานต์ถนนข้าวเหนียว สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-4324-4498-9

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="330"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สรงน้ำหลวงพ่อพระใส สงกรานต์หนองคาย </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> และ "งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย" : 12-15 เม.ย. นี้ ณ จ.หนองคาย กิจกรรมในงาน ร่วมทำบุญตักบาตร พิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใส การแสดงสืบสานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง 3 ชาติ และถนนอาหาร สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-4232-5406-7

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สรงน้ำพระริมทะเลในสงกรานต์ภูเก็ต</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาคใต้

    แม้ปีนี้ภาคใต้จะประสบอุทกภัย(หนัก)ในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังก็มีการจัดงานมหาสงกรานต์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยเช่นทุกปี

    โดยในปีนี้ "งาน Songkran On The Beach & Phuket Bike Week" : 10-13 เม.ย. นี้ ณ จ.ภูเก็ต กิจกรรมในงาน ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ การออกร้านอาหารพื้นเมือง การประกวดบาร์เทนเดอร์ เล่นน้ำสงกรานต์ตลอดซอยบางลาและหาดป่าตอง สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-7621-1036, 0-7621-2213

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">แห่นางดาน สงกรานต์นครศรีธรรมราช</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร" : 11-14 เม.ย. นี้ ณ จ.นครศรีธรรมราช กิจกรรมในงาน อาทิ ประเพณีบูชาพระธาตุปีใหม่สงกรานต์ ขบวนแห่นางดาน พิธีโล้ชิงช้าตรียัมปวาย งานมหกรรมขนมจีนฟรี และไหว้พระชมเมือง สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-7534-6515-6

    "งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์" จัดขึ้นวันที่ 9-15 เม.ย. นี้ ณ จ.สงขลา กิจกรรมในงาน ชมการประกวดนางสงกรานต์ การเล่นน้ำสงกรานต์ในยามค่ำคืนและสงกรานต์ทางน้ำ ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ หลวงปู่ทวด รดน้ำผู้สูงอายุ การแสดงย้อนวิถีไทย และการประกวดหนูน้อยสงกรานต์ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-7423-1055, 0-7423-8518

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">สงกรานต์ริมทะเล ชลบุรี</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาคตะวันออก

    จัดหวัดชลบุรีได้จัดงานสงกรานต์เด่นๆขึ้นในหลายพื้นที่ ได้แก่ บางแสน พัทยา-นาเกลือ เกาะสีชัง บางพระ ศรีราชา แต่ละงานต่างก็โดดเด่นแตกต่างไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว(อ่านรายละเอียด สงกรานต์ชลบุรีได้ในหน้า 3) สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3842-7667, 0-3842-8750

    และนั่นก็เป็นไฮไลท์ประเพณีสงกรานต์หรือสงกรานต์กระแสหลักทั่วไทย ซึ่งนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ในหลายพื้นที่ทุกจังหวัดยังมีการจัดเทศกาลสงกรานต์ท้องถิ่น สงกรานต์พื้นบ้าน ฉลองปีใหม่ไทย พร้อมกับเล่นสาดน้ำคลายร้อนกันอย่างสนุกสนาน ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมสืบสานงานประเพณีที่ดีงามของได้ด้วยการเดินทางไปเที่ยวเล่นสาดน้ำ สงกรานต์ในพื้นที่ต่างๆกันได้ตามแต่สะดวก
    </td></tr></tbody></table>

    Travel - Manager Online -


    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000043357

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ฉลองสงกรานต์สุดมงคล! มทร.ธัญบุรีแจก "น้ำปรุงน้ำมนต์9วัด" 10,000ขวด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">6 เมษายน 2554 17:53 น.</td></tr></tbody></table>

    <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="150"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="150">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> มทร.ธัญบุรี ร่วมฉลองเทศกาลสงกรานต์ด้วยไอเดียสุดมงคล! นำน้ำพระพุทธมนต์ 9 วัดดังผสมน้ำอบ น้ำปรุงไทยฝีมือนักศึกษาแชมป์เวทีนานาชาติบรรจุใส่ขวดกว่า 10,000 ขวด แจกฟรีเป็นที่ระลึกแก่ประชาชนผู้ที่เดินทางสัญจรกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาล สงกรานต์เพื่อเป็นสิริมงคล ช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ และช่วยเตือนสติในการขับขี่ ลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

    นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงเทศกาลสำคัญๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปกราบ ไหว้ลดน้ำดำหัว และขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และพ่อ แม่ รวมไปทั้งจะได้พบปะญาติพี่น้อง ซึ่งในช่วงดังกล่าวถือว่ามีการจราจรที่คับคั่งในทุกเส้นทาง และจากสถิติที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ก็จะ พบว่ามักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นค่อนข้างสูง ส่งผลให้มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการสิริมงคล และสร้างขวัญกำลังใจที่ดี ให้ทุกคนมีสติในการเดินทางสัญจรไปและกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศสงกรานต์ประจำปี 2554 นี้ อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีสงกรานต์ทางสภานักศึกษาและองค์การนักศึกษา มทร.ธัญบุรี จึงได้ร่วมมือกันจัดโครงการ “น้ำพระพุทธมนต์ 9 วัด ส่งความสุขวันสงกรานต์จากใจ มทร.ธัญบุรี” ขึ้น

    อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการ “น้ำพระพุทธมนต์ 9 วัด ส่งความสุขวันสงกรานต์จากใจ มทร.ธัญบุรี”นี้ นักศึกษาได้ไปรวบรวมนำน้ำพระพุทธมนต์ที่ผ่านการทำพิธีจาก 9 วัด ประกอบด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร พระมหาสุรศักดิ์อติสักโข วัดประดู่ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก หลวงพ่อหวล ภูริภัทรโธ วัดพุทไธศวรรย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน มาผสมกับน้ำอบ-น้ำปรุงไทยโบราณฝีมือของนักศึกษา และอาจารย์สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ที่คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นในงาน Seoul International Invention 2009 ที่ประเทศเกาหลี มาบรรจุภาชนะกว่า 10,000 ชิ้น เพื่อมอบเป็นของที่ระลึกและแจกจ่ายเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

    “น้ำพระพุทธมนต์ทั้ง 9 วัด ผ่านการทำพิธีอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็มีความเชื่อกันว่าจะช่วยกำจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล อันตรา ภัยพิบัติต่างๆ แก่ผู้ที่ได้รับ ขณะเดียวกันก็เป็นการเตือนสติแก่ผู้ที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ด้วย นอกจากนี้ยังยังนำไปผสมใช้เป็นน้ำอบ น้ำปรุงรดน้ำดำหัวให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือได้ด้วย” นายนำยุทธ กล่าวและว่า ผู้ที่สนใจน้ำพระพุทธมนต์ดังกล่าวสามารถขอรับได้ที่นักศึกษา มทร.ธัญบุรี และนักเรียน ร.ร.อนุบาลสาธิตราชมงคล กว่า 50 ชีวิต ที่จะเดินทางนำไปแจกฟรีที่ท่ารถขาออก หน้าห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ในวันที่ 11 เม.ย.2554 ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อขอรับได้ที่กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี โดยสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02-549-4990-4 และในโอกาสเทศกาลมหาสงกรานต์ในปีนี้ทางมหาวิทยาลัยยังส่งเสริมให้ทุกคนร่วม กันสวมเสื้อลายดอกอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทยเพื่อเป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงามด้วย.

    http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000043365


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สงกรานต์เวียนมานศ.ฮาเฮ ร่วมใจอนุรักษ์ประเพณีไทย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">6 เมษายน 2554 15:07 น.</td></tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline">กำลัง จะเวียนมาบรรจบอีกครั้งกับเทศกาลวันสงกรานต์ เทศกาลคลายร้อนของเมืองไทยที่ติดอกติดใจคนไปทั่วโลก ทั้งยังถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย เนื่องในวันสงกรานต์ที่จะมาถึง ไลฟ์ ออน แคมปัส ขอพาทัวร์ชมกิจกรรมชาวม. ว่ามีกิจกรรมเพื่อร่วมอนุรักษ์ประเพณีที่งดงามอะไรกันบ้าง

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="550"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="550"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> เริ่มกันที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงาน "สืบสานประเพณีสงกรานต์ในรั้วนนทรี" ในวันที่ 8 เมษายน 2554 โดยในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น พิธีแห่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปประจำมหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร์ จากสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรม การเกษตร ผ่านประตู 2 (ถนนงามวงศ์วาน) จนถึงอาคารสารนิเทศ 50 ปี มก. แล้วจึงอัญเชิญสู่ซุ้มหน้าเสาธงเพื่อให้บุคลากรและนิสิต ร่วมกันสรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทย

    นอกจากนี้ ยังมีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญถวายภัตตาหาร และรับพรจากพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นการทำบุญต้อนรับปีใหม่ไทยไปในตัว แถมด้วยการแสดงพื้นบ้านไทย และการบรรเลงดนตรีไทยจากเหล่านิสิตรั้วนนทรีอีกด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ต่อด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันปีใหม่ไทยเช่นกัน แต่เน้นเชิดชูวันผู้สูงอายุและวันครอบครัว ประจำปี 2554 ภายใต้คอนเส็ปท์งาน "ตำนานผู้สูงวัย ส่งผ่านวิถีไทย หลอมหัวใจครอบครัว" ในวันที่ 8 เมษายน 2554 เวลา 08.30-13.00 น. ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

    เสริมทัพด้วยกิจกรรมการประกวด แต่งกายย้อนยุค , การแข่งขันตำน้ำพริก ที่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง และยังมี การประกวด "เล่าความหลังเมื่อครั้งเจ้ายังเล็ก" , การประกวด"เล่าความหลังเมื่อครั้งเจ้ายังเด็ก" , การแสดงรำไทยจากเด็กศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย , การแสดงไวโอลินจากเด็กบ้านสาลวัน , การแสดงรำไทยประยุกต์ประกอบเสียงเพลง , การแสดง "รำพัด ตารีกีปัส" จากชมรมผู้สูงอายุดรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลายา , การสรงน้ำพระ , การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ และการแสดงขบวนกลองยาว จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ต่อด้วย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมรื่นเริงปีใหม่ไทยด้วย โดยจัดงานประเพณี "เฮฮาปีใหม่ไทย ร้อยดวงใจชาว มกท" งานนี้คณาจารย์ บุคลากรทุกท่านร่วมสืบสานประเพณีไทยด้วยการแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย มีพิธีสงฆ์ พิธีรดน้ำขอพรกรรมการสภาวิทยาลัยอาวุโสและผู้บริหารมหาวิทยาลัยอาวุโส ในวันที่ 8 เมษายน 2554 08.45 - 13.00 น. ณ บริเวณข้างอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ วิทยาเขต
    กล้วยน้ำไท

    และสนุกสนานกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การมอบของที่ระลึกแด่บุคลากรที่แต่งกายสอดคล้องกับงาน การแสดงบนเวทีของเด็กๆจากโครงการดูแลบุตรบุคลากร ซุ้มโยนห่วง ซุ้มวงล้อมมหาสนุก ซุ้มสาวน้อยตกน้ำ ปาลูกโป่ง และ สอยดาว โดยรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายคูปอง และการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์มอบให้วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2554 จัดขึ้นวันที่ 11 เมษายน 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00น.ที่อาคารจัตุรมุข อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย มีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น พิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความเป็นศิริมงคลตามแบบประเพณีไทย

    ส่วนกิจกรรมก็มีการประกวดขบวน สงกรานต์ ที่เน้นความสวยงามด้วยศิลปวัฒนธรรมประยุกต์ และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการ ประกวดนางงามสงกรานต์ สืบสานประเพณีพื้นเมืองอีสาน และการประกวดการแต่งกายในหัวข้อ "การแต่งกายอันทรงค่า สืบสาน สร้างสรรค์ภูมิปัญญา พื้นเมืองอีสาน" เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ผนวกกับวัฒนธรรมการแต่งกายที่งดงามของ อีสาน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ต่อด้วยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชาวเหลืองเทาเองก็ร่วมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ด้วยคน มีพิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2554 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 2554 ณ อาคารสโมสรบุคลากรและบริเวณอาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ ยังมีพิธีทำบุญตักบาตร-เลี้ยงพระเนื่องในงานประเพณีสงกรานต์ และการสรงน้ำพระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก เพื่อเสริมสิริมงคลด้วย

    นอกจากนี้ ก็มีการประกวดขบวนแห่และการแต่งกายตามประเพณี การประกวดเทพีสงกรานต์ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและหางเครื่องเอาใจวัยใสหัวใจลูกทุ่ง การประกวด MSU Songkran's Got Talent กิจกรรมรำวงย้อนยุค และกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (สะบ้า) เพื่อเป็นการอนุรักษ์การละเล่นของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญให้สืบต่อไปอีกด้วย

    ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ เน้นจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ให้เป็น สงกรานต์ปลอดเหล้า โดยองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และชมรมสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 7 สถาบัน และหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมรณรงค์สงกรานต์ปลอดเหล้า ในวันที่ 13 เมษายน 2554 ณ บริเวณข่วงประตูท่าแพ โดยมีกิจกรรมการรณรงค์สงกรานต์ปลอดเหล้า และยังมีการประกวดจัดซุ้มรณรงค์อีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ทิ้งประเพณี รดน้ำดำหัวผู้อาวุโส โดยที่เชิญนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และศิษย์เก่าผู้อาวุโสมาร่วมให้พรวันปีใหม่ไทยแก่ลูกหลานชาวแม่โจ้อีกด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="550"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="550"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ทิ้งท้ายกับมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ จัดวันสงกรานต์ขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2554 ประเพณีไทยอย่างวันสงกรานต์เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ชาวไทยสืบทอดกันมานาน อีกทั้งยังเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอีกด้วย ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ได้ร่วมกันแสดงความกตัญญูกตเวที ให้เกียรติยกย่องผู้อาวุโสเพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป โดยจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ขึ้น ณ ลานหน้าอาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา ศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์ เวลา 15.00-18.00 น.

    ในงานยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น การประกวดนางสงกรานต์ การแสดงดนตรีรำวงย้อนยุค ซุ้มแสดงการละเล่นสะบ้ามอญ ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายมอญที่จะเล่นกันช่วงเทศกาลสงกรานต์ใน ทุกๆปี และยังมีซุ้มของเล่นต่างๆ อาทิ ปาเป้า ปาลูกดอก ปากระป๋อง สาวน้อยตกน้ำ ตักไข่ปลา ช้อนปลาจากกระดาษ เป็นต้น</td></tr></tbody></table>

    Campus - Manager Online - ʧ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์


    [​IMG]

    วันสงกรานต์


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

    การเตรียมงาน

    วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้...

    [​IMG] 1. เครื่องนุ่งห่ม เพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน

    [​IMG] 2. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของที่จะทำขนมพิเศษ 2 อย่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ

    [​IMG] 3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูฃาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้ สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง

    [​IMG] 4. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฎีที่อาศัยแล้วยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย

    [​IMG]

    ก่อกองทราย วันสงกรานต์​


    การทำบุญ

    การทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์

    [​IMG] 1. พิธีหลวง พระราชพิธีสงกรานต์

    วันที่ 15 เมษายน ในเวลาเช้า 10.30 น. พระสงฆ์ที่รับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ที่หอพระสุราลัยพิมาน แล้วเสด็จหอพระบรมอัฐิที่หอพระธาตุมณเฑียร สรงน้ำพระ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนบุฃาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน 67 รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้อง กับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล

    เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิ จากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน ถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว 2 ผืน นุ่งผืน 1 ห่มผืน 1) มีขวดน้ำหอม 1 ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ

    เวลา 16.30 น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำ พระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่างๆ

    เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที 13, 14, 15, 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะพระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช

    เมื่อก่อนการบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวัง มี 4 วัน คือวันที่ 13-16 เมษายน ปัจจุบันมีเฉพาะวันที่ 15 เมษายน วันเดียว ซึ่งในเช้าวันที่ 15 เมษายน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระ 150 รูป เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตรทีในพระบรมมหาราชวัง

    เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จฯ ไปยังหอพระธาตุมณเฑียรทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 71 รูป เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีสงกรานต์ จบแล้วทรงประเคนภัตตาหาร

    เมื่อ พระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จเจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออก ประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรและบนที่นั่งกงภายใต้ฉัตรขาวลายทอง 5 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระอัฐิ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ แล้วถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง ที่พระที่นั่งทวารเทเวศรรักษาเสด็จพระราชดำเนินกลับ

    เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลรายงานเครื่องราชสักการะที่ทรงพระราชอุทิศ พระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปถวายเป็นพุทธบูชาเจดียสถานต่างๆ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปสรงน้ำปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอารามนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่หอพระนาก ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระอัฐิ 5 รูป สดับปกรณ์แล้วทรงทอดผ้าพระสงฆ์อีก 50 รูป สดับปกรณ์พระอัฐิพระราชวงศ์ พระสงฆ์ถวายอนูโมทนา ถวายดิเรก เป็นเสด็จการ

    [​IMG] 2. พิธีราษฎร์

    การทำบุญในวันสงกรานต์อาจจะทำการตักบาตรทำบุญได้ 2 แห่ง คือ ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว วิธีตักบาตร ใช้วิธีเรียงแถวและนิมนต์พระเดินตามลำดับ โดยชายตักบาตรด้วยข้าว หญิงตักบาตรด้วยของคาวหวาน ถ้าเต็มบาตรก็ถ่ายใส่ภาชนะอื่น และนิมนต์ท่านรับจนทั่ว เสร็จแล้วอาจนิมนต์ท่านฉัน ณ สถานที่จัดงาน หรือให้ท่านนำไปฉันที่วัดก็ได้

    ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพร คือ พาหุง พอเสร็จก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี

    การก่อเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ 13-15 เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด

    การปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น

    การสรงน้ำพระ มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน

    การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า 1 สำรับ คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้มักจะรดหรืออาบท่านจริงๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม 1 สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงความคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นต้นไป

    การทำบุญอัฐิ เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริงจัดขึ้นเพื่อเชิ่อมความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย

    การสาดน้ำ เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย

    การแห่นางแมว บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน

    อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับ ประเพณีสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป ก็สมควรให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรแล้วว่า เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้นๆ โดยตรงที่จะเลือกรับหรือไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งสิ่งใหม่ๆ ที่แทรกเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง

    สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์

    [​IMG] 1. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

    [​IMG] 2. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด

    [​IMG] 3. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม

    [​IMG] 4. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ

    [​IMG] 5. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป 1 ปีแล้ว และในรอบปีที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง

    [​IMG] 6. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว

    [​IMG] 7. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน ​


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำนานนางสงกรานต์


    [​IMG]

    นางสงกรานต์​

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    เป็นที่ทราบกันดีว่า "วันสงกรานต์" ก็คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย แต่เพื่อน ๆ สงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไม วันสงกรานต์ ต้องมี "นางสงกรานต์" วันนี้กระปุกดอทคอมเลยรวบรวมเอาที่มาที่ไป พร้อมทั้งประวัตินางสงกรานต์มากฝากกันค่ะ...

    ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปีก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย

    ต่อมาเมื่อ ธรรมบาลกุมาร โตขึ้นก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับ ธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้า ธรรมบาลกุมาร ตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะ ธรรมบาลกุมาร เสีย ท้าวกบิลพรหม ถาม ธรรมบาลกุมาร ว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้น ธรรมบาลกุมาร จึงขอผัดผ่อนกับ ท้าวกบิลพรหม เป็นเวลา 7 วัน โดย ธรรมบาลกุมาร พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมาร ก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่าขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญา ท้าวกบิลพรหม

    บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่าพรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่าเราจะไปกินศพ ธรรมบาลกุมาร ซึ่ง ท้าวกบิลพรหม จะฆ่าเสียด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่าคำถามที่ ท้าวกบิลพรหม ถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมาร ก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้

    ครั้น รุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมาร จึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับ ท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหม จึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุม พร้อมกัน แล้วบอกว่าเราจะตัดเศียรบูชา ธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับแล้วก็ตัดเศียรให้ นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้น นางทุงษะ ก็อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหม เวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ

    จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของ ท้าวกบิลพรหม ทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบ เขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วน ท้าวกบิลพรหม นั้น นัยก็คือ พระอาทิตย์ เพราะกบิล หมายถึง สีแดง

    ทั้งนี้ ในแต่ละปี นางสงกรานต์ แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ และจะมีนาม อาหาร อาวุธ สัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่าง ๆ กัน ดังนี้…

    [​IMG] ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี

    [​IMG] ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา

    [​IMG] ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี

    [​IMG] ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพุธ ชื่อ นางมันทะ

    [​IMG] ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ

    [​IMG] ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันศุกร์ ชื่อ นางริญโท

    [​IMG] ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทรายพระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG] และ horoworld.com


     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความหมายของ วันสงกรานต์


    [​IMG]

    คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13, 14, 15 เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก

    ความหมายของคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

    สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือนที่เรียกว่า สงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีกจัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์

    มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึงได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว

    วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว

    วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่าการย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้น ปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศา แล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

    วัน สงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย

    [​IMG]


    ใน ปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณีก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธีซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี

    ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือเริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่างพักการงานนอกบ้านชั่วคราว

    จะ เห็นได้ว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวัน สงกรานต์มีความสำคัญ



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



    .

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำรวจเผย 5 ถนน ห้ามขับรถเล่นน้ำ วันสงกรานต์


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ตำรวจ สั่งห้ามขับรถเล่นน้ำสงกรานต์ใน 5 ถนน 13-15 เม.ย.นี้เพื่อความปลอดภัย ฝ่าฝืนปรับ 500 ขณะที่กำลังพิจารณาสั่งห้ามรถทั่วไปเข้าไปเดินรถในย่านข้าวสาร และสีลม ที่เปิดให้ขับรถไปเล่นสงกรานต์ด้วยเช่นกัน

    วันนี้ (8 เมษายน) พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น.รับผิดชอบงานจราจร กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ จะมีผู้คนขับรถเข้ามาเล่นสาดน้ำบนถนนหลายสายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก

    ดังนั้นแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อความปลอดภัยของผู้ยืนเล่นสาดน้ำบนรถในช่วงสงกรานต์ พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. จึงได้ออกข้อบังคับห้าม รถที่บรรทุกคน ภาชนะบรรจุน้ำ หรืออุปกรณ์เล่นสาดน้ำต่าง ๆ เข้ามาเล่นสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 22.00 น. โดยผู้ใดฝ่าฝืนจะมีอัตราโทษปรับ 500 บาท

    ทั้งนี้ สำหรับถนนที่ห้ามรถบรรทุกคน อุปกรณ์สาดน้ำ เข้ามาเดินรถในช่วงสงกรานต์ ประกอบไปด้วย

    [​IMG] 1.ถนนโชคชัย 4 ตั้งแต่ปากทางเข้าจนถึงสุดถนนโชคชัย 4

    [​IMG] 2.ถนนลาดพร้าว-วังหิน ตั้งแต่สี่แยกวังหินถึงสามแยกถนนโชคชัย 4 ตัดถนนลาดพร้าว-วังหิน

    [​IMG] 3.ถนนนาคนิวาส ตั้งแต่สามแยกซอยสังคมสงเคราะห์ ตัดถนนนาคนิวาส ถึงสี่แยกถนนนาคนิวาสตัดถนนสุคนธสวัสดิ์

    [​IMG] 4.ถนนสุคนธสวัสดิ์ ตั้งแต่สี่แยกถนนนาคนิวาสตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ ถึงสี่แยกถนนประเสริฐมนูกิจตัดถนนสุคนธสวัสดิ์

    [​IMG] 5.ซอยสังคมสงเคราะห์ ตั้งแต่สามแยกถนนโชคชัย 4 ตัดซอยสังคมสงเคราะห์ถึงสามแยกถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตัดซอยสังคมสงเคราะห์

    นอก จากนี้ ผบก.จร.จะได้พิจารณาออกข้อบังคับ ห้ามรถบางชนิดเข้าไปเดินรถชั่วคราวในถนนที่มีการใช้รถบรรทุกคน และอุปกรณ์มาเล่นน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน ระหว่างเวลา 10.00-22.00 น. ประกอบไปด้วย

    [​IMG] ย่านข้าวสาร ได้แก่ ถนนบางลำพู ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนตะนาวบางส่วน

    [​IMG] ย่านสีลม ได้แก่ ย่านศาลาแดง แยกนรา-ลม (แยกนราธิวาสตัดสีลม)

    ทั้ง นี้ สำหรับถนนอักษะ มักจะมีคนเข้าไปเล่นสาดน้ำสงกรานต์ในช่วงวันท้าย ๆ ของเทศกาล ทาง ผบก.จร. กำลังพิจารณาวันที่จะประกาศห้ามอีกครั้งหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้วในถนนที่มักจะมีประชาชนไปเล่นน้ำ เป็นประจำ เช่น ถนนข้าวสาร ถนนสีลม ถนนอักษะ หากมีประชาชนเดินทางไปเล่นน้ำกันมาก ก็จะมีการติดป้ายห้ามรถบรรทุกน้ำเข้าพื้นที่เพื่อความปลอดภัย


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    กองบังคับการตำรวจจราจร


    ʧ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=Tahoma,]วันสงกรานต์ 2554 กิริณีเทวี-นั่งหลังช้าง



    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#e0e0e0" valign="top">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ความ เป็นมาของประเพณีสงกรานต์ เป็นคติความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า เมื่อครบวาระที่กำหนดให้เป็นวันมหาสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ (คือวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนกลับเข้าสู่ราศีเมษอีกครั้ง หลังจากโคจรไปตามราศีต่างๆ จนครบ 12 เดือน หรือ 365 วัน)

    เมื่อนั้น นางเทพธิดาทั้ง 7 นาง จะผลัดเวรกันมารับหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมผู้เป็นบิดา ซึ่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ออกไปแห่พร้อมทวยเทพเวียนรอบเขาพระสุเมรุ ผ่านโลกมนุษย์ เพื่ออำนวยความเป็นสิริมงคลแก่คนทั้งหลาย แล้วจึงวกกลับไปยังเทวโลก อัญเชิญพระเศียรไปไว้ที่เดิม จนกว่าจะถึงวันมหาสงกรานต์ปีถัดไป

    ซึ่งเทพธิดาที่ว่านี้จะมาในวันมหาสงกรานต์ดังกล่าว ผู้คนทั่วไปจึงเรียกว่า "นางสงกรานต์" โดยแต่ละนางจะมีชื่อเรียก ภักษาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะแตกต่างกันตามแต่ละวัน

    นอกจากในตำนานที่ว่านี้แล้ว อีกแห่งที่ปรากฏชื่อนางสงกรานต์คือ ใน "ประกาศสงกรานต์" ซึ่งสมัยก่อนถือเป็นประกาศพระราชกฤษฎีกาเรื่องหนึ่ง ที่ราชการจะต้องประกาศให้ราษฎรในอาณาเขตได้ทราบเมื่อจะเปลี่ยนปีนักษัตร ศักราชใหม่

    ทั้งนี้ เพราะในสมัยโบราณไม่มีสื่อหรือกรมอุตุนิยมวิทยาเหมือนสมัยนี้ จึงต้องใช้ประกาศสงกรานต์ในการแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงสาระที่เป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิต เช่น การแจ้งเกณฑ์น้ำฝนและน้ำท่าที่จำเป็นต่อการเกษตร การแจ้งกำหนดพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การแจ้งกำหนดศาสนพิธีประจำปี เป็นต้น

    ในปัจจุบันประกาศสงกรานต์ แต่ละปีนอกจากจะพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ยังพบได้ในปฏิทินหลวงพระราชทาน เนื่องในวันปีใหม่ของทุกปีด้วย

    ประกาศสงกรานต์

    ปีพุทธศักราช 2554

    ปีเถาะ มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้ โทศก จุลศักราช 1373 ทางจันทรคติ เป็นปกติ มาสวาร ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน

    วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที

    นางสงกรานต์ ทรงนามว่า กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว งา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ

    วันที่ 16 เมษายน เวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น 1373

    ปีนี้ วันศุกร์เป็นธงชัย วันศุกร์เป็นอธิบดี วันพฤหัสบดีเป็นอุบาทว์ วันอาทิตย์เป็นโลกา วินาศ

    ปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกใน โลกมนุษย์ 60 ห่า ตกในมหา สมุทร 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า นาคให้น้ำ 5 ตัว

    เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์

    เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

    จากประกาศสงกรานต์สู่คำทำนาย

    จากประกาศสงกรานต์ปี 2554 ข้างต้น นางสงกรานต์เสด็จนั่งมาบนหลังช้าง และวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเนาตรงกับวันศุกร์ และวันเถลิงศกตรงกับวันเสาร์ รวมคำทำนายแล้วมีว่า จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย และเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ

    นอกจากนี้ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่และเจ้านาย พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แต่แม่หม้ายจะมีลาภ และบรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ส่วนคำทำนายของล้านนาบอกว่า ปีนี้ฝนจะตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค

    อ่านดูแล้ว แม้จะค่อนข้างออกแนวร้ายมากกว่าดี แต่การที่นางสงกรานต์นั่งมาบนหลังช้าง ซึ่งถือเป็นสัตว์ใหญ่ที่เป็นมงคล เป็นสัญลักษณ์ของบ้านเรา และยังทัดดอกมณฑา ซึ่งคนไทยโบราณเชื่อว่าเป็นดอกไม้ทิพย์อยู่บนสวรรค์ และมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้เกิดความงดงาม ชวนมอง

    เมื่อรวมกับภักษาหารของนางสงกรานต์ที่เป็นถั่วงา และประกาศสงกรานต์ที่ว่าเกณฑ์ธัญญาหาร ผลาหาร และมัจฉมังษาหาร จะมีบริบูรณ์ ก็น่าจะเป็นความหวังและกำลังใจแก่พวกเราได้ว่าพญาคชสารตัวนี้คงจะช่วยขับไล่ สิ่งร้ายๆ ให้ออกไป และนางกิริณีเทวีจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร

    ส่วนคำทำนายที่ว่าทหารจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ก็น่าจะแสดงถึงความสงบสุขของบ้านเมืองในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ร้าย ก็จะเป็นสิ่งเตือนให้เราได้ระมัดระวัง ไม่ประมาท และรู้จักที่จะหาหนทางป้องกันไว้ล่วงหน้า ข้อสำคัญ ไม่ว่าจะมีเหตุดีหรือเหตุร้ายเกิดขึ้น หากเราทุกคนดำรงชีวิตอย่าง มีสติอยู่เสมอ

    ย่อมจะต้องทำให้เราผ่านพ้นทุกวิกฤตไปได้อย่างแน่นอน
    [/FONT]


     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=Tahoma,]สสจ.ลพบุรีเตือนดินสอพองผสมสี



    ลพบุรี - น.พ.ศิริชัย ลิ้มสกุล สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เตือนประชาชนอย่านำดินสอพองสี มาสาดใส่เล่นน้ำกัน เพราะอาจได้รับอันตรายได้ เนื่องจากสีที่นำมาผสมกับดินสอพองส่วนใหญ่ เป็นสีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาบ้านพวกพลาสติก ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่างๆ เช่น ไพรพีลีน, ไตรคลอโรเอทธีลีน, คาร์บอน แบล็ค, ปรอท, ตะกั่ว และ ซิงก์ออกไซด์ ซึ่งสารเหล่านี้มีพิษต่อร่างกายทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง หากเข้าหูเข้าตาหรือเข้าปาก หรือถูกผิวหนังส่วนอื่นๆ อาจจะระคายเคือง เกิดผดผื่นคันเป็นอันตรายได้

    นายแพทย์ศิริชัยกล่าวต่อว่า สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เคยตรวจพบแป้งดินสอพองที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค และมีอันตรายทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังที่บอบบาง บริเวณใบหน้า รอบดวงตา หรือผิวหนังที่มีบาดแผล รอยถลอก และบริเวณที่เป็นสิว จะมีความเสี่ยงกับการเกิดอันตรายมากกว่าส่วนอื่นๆ ขอเตือนอย่านำดินสอพองผสมสีมาเล่นสาดใส่กันในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะดีที่สุด

    นาย พร โกเกตุ เจ้าของโรงงานผลิตดินสอพอง กล่าวว่า ประกอบอาชีพทำดินสอพองขายมากว่า 70 ปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นปู่ โดยดินสอพองที่ทำออกขายไม่มีการผสมสีลงไปแต่อย่างใด โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำดินสอพองออกขายปีละประมาณ 10 ตัน โดยแหล่งจำหน่ายทั้งในจังหวัดลพบุรี และในเขตจังหวัดภาคกลางรวมถึงภาคตะวันออก อาทิ จ.นนทบุรี, จ.ปทุมธานี และ จ.ชลบุรี ที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย เพราะผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานประเพณีสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ ไทย-ลาว ประจำปี 2554


    งานประเพณีสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ ไทย-ลาว ประจำปี 2554
    กำหนดการจัดงาน
    วันที่ 12-15 เมษายน 2554
    สถานที่จัดงาน
    เทศบาลเมืองนครพนม (บริเวณเขื่อนหน้าเมืองและหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์) และเทศบาลตำบลเรณูนคร จังหวัดนครพนม
    รายละเอียดกิจกรรม
    กิจกรรมการจัดงานในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน 2554
    12 เม.ย. 54 ชมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน อาทิ สะบ้าทอย ชักเย่อ วิ่งกระสอบ ปิดตาตีหม้อ ณ บริเวณหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์
    13 เม.ย. 54 ชมขบวนแห่เทศกาลสงกรานต์ของชุมชนในเขตเทศบาล สนุกสนานกับการเล่นน้ำสงกรานต์ในถนนข้าวปุ้น พร้อมอร่อยกับข้าวปุ้นหลากรส (ขนมจีน) การประกวดตกแต่งซุ้มน้ำของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม พิธีฮดสรง (สรงน้ำ) พระธาตุประจำวันเกิด พิธีตบประทาย (ก่อเจดีย์ทราย) การประกวดนางสงกรานต์-หนูน้อยสงกรานต์ การแสดงศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต การละเล่นของ 7 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ
    14 เม.ย. 54 พิธีทอดผ้าป่ามหากุศล เชื่อมโยง 2 แผ่นดิน ระหว่างพระธาตุพนม และพระธาตุศรีโคตรบอง แขวงคำม่วน สปป.ลาว
    12-15 เม.ย. 54 การจัดแสดงประติมากรรมทราย การแข่งขันการปั้นทราย แข่งขันก่อเจดีย์ทราย กิจกรรมการแสดงบนเวที บริเวณหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์
    กิจกรรมการจัดงานในเขตเทศบาลตำบลเรณูนคร ระหว่างวันที่ 12-13 เมษายน 2554
    12 เม.ย. 54 กิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตแสดงการละเล่นและวิถีชีวิตของชนเผ่าในอำเภอเรณูนคร สืบสานวัฒนธรรมการละเล่นสงกรานต์วิถีไทยของชาวผู้ไทย
    13 เม.ย. 54 ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ การฟ้อนรำร่วมขบวนแห่เทศกาลสงกรานต์ สนุกสนานกับการเล่นสงกรานต์แบบวิถีไทย และการประกวดสาวงามเรณูนคร
    สถานที่และเบอร์โทรติดต่อสอบถาม
    เทศบาลเมืองนครพนม โทร. 042-516159
    เทศบาลตำบลเรณูนคร โทร. 042-579239
    ททท.นครพนม โทร. 042-513490-1
    Songkran Splendours


    รวมมิตรเว็บ - www.sadoodta.com/event/งานประเพณีสงกรานต์นครพนม-รื่นรมย์บุญปีใหม่-ไทย-ลาว-ประจำปี-2554

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2554 ย้อนอดีตสู่วิถีไทยรามัญ

    ททท.สำนักงานกรุงเทพมหานครร่วมกับเทศบาลเมืองพระประแดง ขอเชิญร่วมงานประเพณีสงกรานต์ พระประแดง ประจำปี 2554 เพื่อย้อนอดีตสู่วิถีไทยรามัญ ระหว่าง วันที่ 22 - 24 เมษายน 2554 ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

    นาง เยียรยง ไชยรัตน์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการจัดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี ๒๕๕๔ ครั้งนี้ว่า งานประเพณีสงกรานต์เมืองพระประแดงถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเชื้อ สายรามัญที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงเป็นหลักประกันว่างานประเพณีสงกรานต์เมืองพระประแดงในแต่ละปีนั้นต้อง ยิ่งใหญ่ตระการตาสมกับที่ได้รับการยกย่องให้เป็นงานประเพณีวัฒนธรรมระดับชาติ ซึ่งในปีนี้มีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2554

    [​IMG]

    ในปี 2554 นี้ เทศบาลเมืองพระประแดงยังคงรักษาเอกลักษณ์และความงดงามของวัฒนธรรมไทยรามัญ ดั้งเดิม เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูและสืบทอดให้งานประเพณีสงกรานต์พระประแดงนี้คงอยู่สืบไป ภายใต้แนวคิดแห่งการย้อนอดีตสู่วิถีชาวไทยรามัญ โดยเนรมิตเมืองนครเขื่อนขันธ์ด้วยแสง สี อันวิจิตรตระการตา ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของขบวนแห่สาวงามนางสงกรานต์ผสานสีสันความครื้นเครงด้วย ขบวนแห่หนุ่มลอยชาย เสริมบุญปีใหม่ไทยไปกับประเพณีปล่อยนกปล่อยปลาของขบวนแห่ปลาโดยสาวงามเมือง พระประแดง ดื่มด่ำบรรยากาศดนตรีไทยที่บรรเลงไพเราะจับใจ ท่ามกลางการแสดงนาฏลีลาลูกหลานชาวรามัญและการละเล่นสะบ้ารามัญ พร้อมร่วมประสานสายใยความผูกพัน ของชาวพระประแดงด้วยประเพณีกวนกาละแม ของดีคู่งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง
    .

    และความพิเศษสำหรับปีนี้คือ การเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมอุโมงค์ ใต้ป้อมแผลงไฟฟ้า ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ซึ่งเทศบาลเมืองพระประแดงไม่เคยเปิดให้เข้าชมมาก่อน นับเป็นโอกาสที่หาชมได้ยากยิ่ง นอกจากการร่วมงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวอำเภอพระประแดงครั้งนี้ด้วยการสักกา ระพระพิฆเนศวร์ หนึ่งเดียวในประเทศไทยทีมีอายุเก่าแก่ที่สุด ซึ่งประดิษฐานอยู่บนเสาหลักเมือง พร้อมเยี่ยมชมทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณสะพานภูมิพล ๑ และ สพานภูมิพล ๒ รวมถึงประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดสะพานภูมิพลและประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

    งานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2554 นี้ ททท.สำนักงานกรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านร่วมสัมผัสความสวยงามของวัฒนธรรมไทยรามัญดั้ง เดิม ในงานประเพณีสงกรานต์เมืองพระประแดง ระหว่าง วันที่ 22 - 24 เมษายน 2554 ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยในปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งททท.สำนักงานกรุงเทพมหานครและเทศบาลเมือง พระประแดงร่วมรณรงค์ส่งเสริมการรดน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพตามแบบประเพณีดั้ง เดิม เพื่อคงรักษาไว้ซึ่งความงดงามของวัฒนธรรมและประเพณีของชาวไทยรามัญเมือง พระประแดง

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
    ททท.สำนักงานกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 2991 - 2997 หรือเทศบาลเมืองพระประแดง โทรศัพท์ 0 2463 4841


    http://travel.mthai.com/travel-news/41429.html

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ประจำปี 2554


    เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ กรุงเทพมหานคร
    จำลองสงกรานต์ ๔ ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้)
    กิจกรรม สรงน้ำพระ การสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม ณ สวนนาคราภิรมย์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๕ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.- ๒๐.๐๐ น. (พิธีเปิดงานในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๔)
    กิจกรรมไหว้พระ ๙ วัดประจำรัชกาลและพระอารามหลวง
    ๑. วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม
    ๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ๓. วัดอรุณราชวราราม
    ๔. วัดกัลยาณมิตร
    ๕. วัดระฆังโฆสิตาราม
    ๖. วัดสุทัศเทพวราราม
    ๗. วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๘. วัดสระเกศ
    ๙. วัดชนะสงคราม
    ๑๐. วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
    ๑๑. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
    ๑๒. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ๑๓. วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

    ระหว่างวันที่ ๙-๑๗ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมงานขอรับ Passport เพื่อประทับตราครบทุกวัด สามารถขอรับของที่ระลึกได้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บริเวณด้านหน้าวิหารพระนอน กิจกรรมสงกรานต์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ (ชุมชนบางลำพู ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ สวนสันติชัยปราการวิสุทธิ์กษัตริย์)

    โดย ททท. เน้นให้มีพื้นที่จัดงานประเพณีสงการนต์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ดังนี้
    - เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ กรุงเทพมหานคร
    - งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    - งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
    - งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดชลบุรี
    - งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    - งานประเพณีอัศจรรย์วันสงกรานต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    - งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูณ-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2554 จังหวัดขอนแก่น
    - งานประเพณีสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ ไทย-ลาว ประจำปี 2554 จังหวัดนครพนม
    - งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี ๒๕๕๔ จังหวัดหนองคาย
    - งานประเพณีมหาสงกรานต์ ประจำปี 2554 จังหวัดสุโขทัย
    - งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๔ จังหวัดสงขลา
    - งาน Songkran on The Beach & Phuket Bike Week 2011 จังหวัดภูเก็ต
    - งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช


    ข้อมูลเพิ่มเติม
    www.songkran.net

    หมวดหมู่: อาหารและเครื่องดื่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา, งานแฟร์ และเทศกาล
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ระดับนานาชาติ
    เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ประจำปี 2554 - งานกิจกรรมประเพณี

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    กำหนดการจัดงาน : วันที่ 13 เมษายน 2554
    สถานที่จัดงาน : รอบเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดทองบ่อ ตำบลเสากระโดง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    กิจกรรม
    ทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า เล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง และชมประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ การแต่งกายแบบมอญ ร่วมทำบุญ ตักบาตรแบบมอญ สรงน้ำพระจากรางไม้ไผ่ ที่วัดทองบ่อ
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทร. +66 3524 6078
    www.songkran.net
    หมวดหมู่: ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ท้องถิ่น


    ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า - งานกิจกรรมประเพณี

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    กำหนดการจัดงาน : วันที่ 12-15 เมษายน 2554
    สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    กิจกรรม
    การจัดขบวนแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขี่รถถีบกาลางจ้อง รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ขนทรายเข้าวัด การแสดงพื้นเมือง การสาธิตศิลปะพื้นบ้าน การเล่นน้ำสงกรานต์ปีใหม่เมืองรอบคูเมือง ถนนวัฒนธรรมคนเมืองอาหารนานาชาติ
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทร. +66 5324 8604, +66 5324 8607
    www.songkran.net
    หมวดหมู่: ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ท้องถิ่น


    งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ - งานกิจกรรมประเพณี.
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
    กำหนดการจัดงาน : วันที่ 22-24 เมษายน 2554
    สถานที่จัดงาน : ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
    กิจกรรม
    ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปชาติ การละเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน ประกวดหนุ่มลอยชาย การเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร โทร. +66 2250 5500 ต่อ 2991-5
    www.songkran.net
    หมวดหมู่: ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ท้องถิ่น




    งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ - งานกิจกรรมประเพณี.
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๔

    9 เม.ย. 2554 - 15 เม.ย. 2554

    [​IMG]



    การ ประกวดนางสงกรานต์ การเล่นน้ำสงกรานต์ในยามค่ำคืนและสงกรานต์ทางน้ำ ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ หลวงปู่ทวด รดน้ำผู้สูงอายุ การแสดงย้อนวิถีไทย การประกวดหนูน้อยสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้าน ปาร์ตี้โฟม
    หมวดหมู่: อาหารและเครื่องดื่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา, งานแฟร์ และเทศกาล
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ระดับนานาชาติ

    http://thai.tourismthailand.org/see-do/events-festivals/info-page/cat/2/event/2898/

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2011
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี ๒๕๕๔

    12 เม.ย. 2554 - 15 เม.ย. 2554

    [​IMG]

    รายละเอียดกิจกรรม : การทำบุญตักบาตร พิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใส การแสดงสืบสานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ๓ ชาติ ถนนอาหาร
    หมวดหมู่: อาหารและเครื่องดื่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา, งานแฟร์ และเทศกาล
    เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย
    ระดับงาน : ระดับนานาชาติ


    งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี ๒๕๕๔ - งานกิจกรรมประเพณี

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สนุกสนานเริงรื่นกับ "สงกรานต์ท้องถิ่น" ทั่วไทย</TD><TD vAlign=baseline align=right width=102>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 เมษายน 2554 14:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สงกรานต์เกาะเกร็ด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>งานสงกรานต์ท้องถิ่นหรือสงกรานต์กระแสรองของในหลายพื้นที่ ก็ถือว่ามีความน่าสนใจชวนเที่ยวเล่นสาดน้ำไม่น้อย โดยในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็ได้ส่งเสริมสงกรานต์กระแสรองที่เด่นๆ ดังนี้

    "งานสงกรานต์เกาะเกร็ด" ระหว่างวันที่ 13 - 15 เม.ย. นี้ ณ วัดปรมัยยิกาวาส อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี กิจกรรมในงาน อาทิ งานประเพณีท้องถิ่น การรำฟ้อนมอญ สงกรานต์ข้าวซอย แห่น้ำหวาน แห่ข้าวแช่ ตักบาตรทางน้ำ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2583-2139


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ประเพณีสงกรานต์หาดทรายเมืองอินทร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"ประเพณีสงกรานต์หาดทรายเมืองอินทร์" ขึ้นในวันที่ 11-17 เม.ย. นี้ ณ หาดทรายเมืองอินทร์ เทศบาล ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี กิจกรรมในงาน อาทิ รำวงย้อนยุค วอลเล่ย์บอลชายหาด มวยไทย การประกวดเทพีเงือกสาว การแสดงแสง สี เสียง ประวัติเมืองอินทร์ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3642-2768-9

    “ประเพณีตักบาตรสงกรานต์สะพานไม้” ในวันที่ 12 - 14 เม.ย. นี้ บริเวณสะพานมอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี สัมผัสวิถีชีวิตชาวมอญ การละเล่น ประเพณีตักบาตร พิธีสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำข้าวแช่แจกจ่ายให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3451-1200

    "ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง วัดหนองปรือ" 14 - 17 เม.ย. นี้ ณ วัดหนองปรือ จ.กาญจนบุรี กิจกรรมในงาน อาทิ ประเพณีการแห่ปราสาทผึ้งที่สืบทอดยาวนาน การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การละเล่นพื้นบ้าน ชมการแสดงมหรภพ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3451-1200


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สรง...สนาน สงกรานต์ แปดริ้ว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"สรง...สนาน สงกรานต์ แปดริ้ว” มีขึ้นในวันที่ 12 - 13 เม.ย. นี้ ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ชมขบวนแห่หลวงพ่อพระพุทธโสธร ขบวนแห่นางสงกรานต์ การแสดงประกอบแสง เสียงการแสดงคอนเสิร์ต ชมศึกมวยไทยมหาสงกรานต์ การแข่งขันตะกร้อลอดบ่วงและอิ่มอร่อยกับอาหารคาว หวาน ในลานตำรับสำรับไทย สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2250-5500

    “เทศกาลวันสงกรานต์หัวหิน” วันที่ 13 เม.ย. นี้ ณ ลานกิจกรรมด้านหน้าศูนย์การค้า Hua Hin Market Village จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีการจัดสถานที่ลานกิจกรรมด้านหน้าทั้งหมดให้เปลี่ยน เป็นลานโฟม พร้อมความเย็นของสายน้ำและนักเต้น มากมาย ที่มอบความบันเทิงให้กับทุกท่านพร้อมด้วยมินิคอนเสิร์ต สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3251-3885


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เทศกาลวันสงกรานต์หัวหิน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>“ประเพณีสงกรานต์ บ้านพระศรีฯ ของดีเมืองลับแล” จัดขึ้นในวันที่ 12 เม.ย. นี้ ณ หน้าอนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ สี่แยกตลาดลับแล จ.อุตรดิตถ์ ภายในงาน มีการบวงสรวง และสรงน้ำอนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ สรงน้ำพระเหลือ ประกวดธิดาสงกรานต์ การประกวดผ้าพื้นเมือง รดน้ำดำหัว ดนตรีคนด่านเกวียนออกร้านของดีเมืองลับแล ร้านขายของเล่น สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-5452-1118

    ด้านอัมพวา จัดงาน“งานประเพณีสงกรานต์อุทยาน ร.2” ในวันที่ 13 - 15 เม.ย. นี้ อุทยาน ร.2 จ.สมุทรสงคราม การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การสรงน้ำพระ ชมการแสดงละครชาตรีโบราณ การแห่กลองยาว เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3475-2847-8


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร่วมสรงน้ำพระในประเพณีสงกรานต์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"งานเทศกาลสงกรานต์วัดฝั่งคลอง" 13 เม.ย. นี้ ณ วัดฝั่งคลอง ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก ภายในงานมีกิจกรรม เช่น ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ก่อพระเจดีย์ทราย พิธีสูตเสื้อสูตผ้า พิธีเปรตพลี พิธีบายศรีสู่ขวัญ ตามประเพณีไทยพวน การแสดงวัฒธรรมไทยพวน เทศน์มหาชาติชาดก สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3731-2282, 0-3731-2284

    "เทศกาลสงกรานต์ พุทธมณฑล" 13 เม.ย. นี้ ณ พุทธมณฑล จ.นครปฐม ภายในงานมีกิจกรรมร่วมสรงน้ำพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ (องค์จำลอง) ตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ 15 รูป สามเณร 120 รูป สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3475-2847-8

    "งานสืบสานประเพณีไทยทรงดำ" 14 เม.ย. นี้ ณ ลานเอนกประสงค์ ชุมชนร่มไทร จ.ประจวบคีรีขันธ์ กิจกรรมในงาน อาทิ ชมการแสดงวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำที่เป็นเอกลักษณ์และยังมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน สนุกสนานกับวงแคนชาวไทยโซ่ง จัดเลี้ยงอาหารฟรีตลอดงาน สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3251-3885

    "สงกรานต์สะพานสารสิน" 11-13 เม.ย. นี้ ณ สะพานสารสิน กิจกรรมในงาน อาทิ กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา การแข่งขันเรือหางยาว กีฬาพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง การแสดงของศิลปิน การละเล่นพื้นบ้าน เล่นน้ำตลอดสะพานสารสิน สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-7621-1036, 0-7621-2213


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>งานเกาะช้างวันไหล</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"งานประเพณีสงกรานต์ ถนนข้าวคั่ว" 12-13 เม.ย. นี้ ณ อุทยานน้ำหนองระแซซัน ต.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ภายในงานจัดกิจกรรม อาทิ การแข่งขันกีฬาชุมชนสัมพันธ์มหาสงกรานต์ ซึบายละเงียด พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ การแสดงกันตรึม ทำบุญตักบาตร ขบวนแห่รถพระประธาน, สรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประกวดเทพีสงกรานต์ การแข่งขันชกมวยมือ มวยไทย สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-4451-4447

    "งานเกาะช้างวันไหล" 24-25 เม.ย. นี้ ณ เกาะช้าง จ.ตราด ภายในงานจัดกิจกรรม อาทิ การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 45 รูปฉันท์ภัตตาหารเช้า ณ วัดคลองพร้าว พิธีสรงน้ำพระพุทธ พิธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ จำนวน 45 ท่านจาก 9 หมู่บ้าน การรำวงย้อนยุค การประกวดอาหารพื้นบ้านของเกาะช้าง การแข่งขันการประกวดบาร์เทนเดอร์ และการแสดงบนเวทีในช่วงค่ำคืน สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3959-7259-60


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>งานประเพณีสงกรานต์แม่สาย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"สงกรานต์สองฝั่งเมย (ไทย-พม่า)" 12-16 เม.ย. นี้ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ อ.แม่สอด จ.ตาก กิจกรรมในงาน อาทิ การแข่งขันชกมวยคาดเชือกระหว่างนักมวยไทยกับพม่า ขบวนแห่สงกรานต์ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-5551-4341-3

    "งานประเพณีสงกรานต์แม่สาย" 13 เม.ย. นี้ ณ บริเวณลานหน้าที่ว่าการอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย กิจกรรมในงาน อาทิ การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 99 รูป พิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์จำลอง, พระบรมราชนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช, และพระแสนเมือง การประกวดขบวนแห่สงกรานต์ พิธีมอบเกียรติบัตรให้ผู้สูงอายุ การแข่งขันการทำอาหารพื้นเมือง การแสดงดนตรีลูกทุ่ง และการแสดงดนตรีพื้นเมืองล้านนา สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-5371-7433

    และนั่นก็เป็นประเพณีสงกรานต์กระแสรองเด่นๆทั่วไทย ซึ่งนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ในหลายพื้นที่ทุกจังหวัดต่างก็มีการจัดเทศกาลสงกรานต์ สืบประเพณีวันปีใหม่ไทย พร้อมกับเล่นสาดน้ำคลายร้อนกันอย่างสนุกสนาน ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมสืบสานงานประเพณ๊ที่ดีงามของไทยด้วยการเดินทางไปเที่ยวเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันได้ตามอัตภาพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000045431

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สงกรานต์ นางสงกรานต์ปี2554 นั่งช้าง-ถือปืน พยากรณ์ปีนี้ดุ!

    <!--Share<script src="http://static.ak.fbcdn.net/connect.php/js/FB.Share" type="text/javascript"></script> Tweet<script type="text/javascript" src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></script>-->


    [​IMG]
    กิริณีเทวี นางสงกรานต์ ปี 2554


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เผยนางสงกรานต์ปี 54 ชื่อ กิริณีเทวี นั่งหลังช้าง มือซ้ายถือปืน พยากรณ์ปีนี้ดุ เกิดเหตุเภทภัยทั่วประเทศ

    น.ส.ทัศชล เทพกำปนาท นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ปฏิทินหลวงวันสงกรานต์ ปี 2554 ปีใหม่ไทยปีนี้ตรงกับปีเถาะ นางสงกรานต์ มีนามว่า "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว-งา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ ซึ่งจากคำทำนายค่อนไปทางร้ายมากกว่าดี

    โดยวันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที และวันที่ 16 เมษายน เวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น 1373 วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ น้ำฝนปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า นาคให้น้ำ 5 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

    ทั้งนี้ คำทำนายตามตำราตรุษสงกรานต์ของ นายสมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553 ระบุว่า นางสงกรานต์กิริณีเทวี นั่งมาบนหลังช้างซึ่งถือเป็นสัตว์ใหญ่ เป็นมงคลช่วยขับไล่สิ่งร้าย ๆ ให้ออกไปได้ และยังทัดดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์อยู่บนสวรรค์ คนไทยโบราณเชื่อว่าจะช่วยพ้นวิกฤติจากหนักให้เป็นเบา ส่วนภักษาหารที่เป็นถั่วงา แสดงว่าพืชผลข้าวปลาอาหารยังมีความสมบูรณ์อยู่ ส่วนคำทำนายที่ว่าทหารจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ก็น่าจะแสดงถึงความสงบสุขของบ้านเมืองในปีนี้ด้วย

    ขณะที่ วันมหาสงกรานต์ 2554 ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเนาตรงกับวันศุกร์ และวันเถลิงศกตรงกับวันเสาร์ รวมคำทำนายว่า จะเกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ ความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แต่แม่หม้ายจะมีลาภ และบรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู

    ส่วนคำทำนายของล้านนา ระบุว่า ปีนี้ฝนจะตกเสมอต้นเสมอปลายตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไอ.เอ็น.เอ็น. , มติชนออนไลน์ และกระทรวงวัฒนธรรม

    [​IMG] [​IMG], กระทรวงวัฒนธรรม


     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    'สงกรานต์' ปีใหม่ไทย แตกต่างในความเหมือน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">13 เมษายน 2554 06:50 น.</td></tr></tbody></table>


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td align="right" height="1" valign="bottom" width="1">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/linedot_hori.gif" height="1" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="1" valign="bottom" width="1">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" background="/images/linedot_vert.gif" valign="middle" width="1">[​IMG]</td> <td> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]

    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>

    [​IMG]


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="left" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]

    ถึงแม้ว่า ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประเพณี 'วันสงกรานต์' ในสมัยนี้คนรุ่นใหม่จะเข้าใจว่าเป็นวันหยุด วันปีใหม่ไทย วันเล่นน้ำ วันแห่งความสุขที่ได้พบปะเพื่อนฝูง วันครอบครัว ไปเที่ยวที่ไหนๆ ก็เหมือนๆ กัน ดูไม่เห็นจะมีอะไรที่แตกต่าง ทั้งภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาน ที่ไหนๆ ก็เล่นสาดน้ำกันทั้งนั้น

    แต่ทว่าหากมองลงไปลึกถึงประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคทั้ง 4 ภาคของไทยนั้นมีอะไรที่แตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด สิ่งที่ยึดถือและปฏิบัติ

    ภาคเหนือ

    สงกรานต์ทางภาคเหนือ หรือ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ของชาวเหนือ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า 'วันสังขารล่อง' ก็จะมีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนในวันที่ 14 เมษายน เรียกว่า 'วันเนา' หรือ 'วันเน่า' ซึ่งเป็นวันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้าย เพราะเชื่อว่าจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า 'วันพญา' หรือ 'วันเถลิงศก' โดยวันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนที่จะมีการไปขอขมาญาติผู้ใหญ่ ส่วนวันที่ 16 เมษายน เรียกว่า 'วันปากปี' เป็นวันที่ชาวบ้านจะพากันไปสรงน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมาคาราวะ ส่วนวันที่ 17 เมษายน เรียกว่า 'วันปากเดือน' และเป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีวันสงกรานต์ตามแบบล้านนา


    ภาคอีสาน

    สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า 'บุญเดือนห้า' หรือ 'ตรุษสงกรานต์' บางพื้นที่จะเรียกว่า 'เนา' และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นประชาชนก็จะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธ รูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กัน


    ภาคใต้

    สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เมษายน) เป็น 'วันส่งเจ้าเมืองเก่า' โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน 'วันว่าง' (14 เมษายน) ชาวนครศรีธรรมราชจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น 'วันรับเจ้าเมืองใหม่' (15 เมษายน) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้าย สงกรานต์


    ภาคกลาง

    สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน 'มหาสงกรานต์' วันที่ 14 เป็น 'วันกลาง' หรือ 'วันเนา' วันที่ 15 เป็นวัน 'วันเถลิงศก' ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย

    อย่างไรก็ตาม ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในแต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่างและความเหมือนกันอยู่ในนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงจัดงานนิทรรศการ 'ร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด มหาสงกรานต์ 4 ภูมิภาค' เพื่อแสดงความแตกต่างและความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ ขึ้นในวันที่ 12 เมษายน - 30 เมษายน พ.ศ. 2554
    โดยจัดขึ้นที่...

    วัดราชนัดดารามวรวิหาร วันที่ 12 เมษายน - 14 เมษายน พ.ศ. 2554
    ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ วันที่ 12 เมษายน - 17 เมษายน พ.ศ. 2554
    ห้องโถงอเนกประสงค์ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ วันที่ 12 เมษายน - 30 เมษายน พ.ศ. 2554

    'สงกรานต์' งานปีใหม่ไทยแตกต่างในความเหมือน


    วิวัฒน์ เอื้อวงศ์วรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พูดถึงประเพณีสงกรานต์ของไทยว่า หากจะมีประเด็นหลักที่เหมือนกันทุกๆ ภาคก็คือการทำบุญขึ้นปีใหม่ เพราะว่าสงกรานต์คือประเพณีปีใหม่ไทยเหมือนกัน


    ส่วนความแตกต่างเป็นเรื่องของลักษณะเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ กันนั้นก็มีอยู่มาก อย่างเช่นแต่ละภูมิภาคก็จะมีอะไรที่แตกต่างกันไป เช่น พระพุทธรูปประจำภาคที่ใช้บูชา ก็จะมีความแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามค่านิยมหรือความนับถือของพื้นที่นั้น


    “ภาคกลางก็จะเป็นพระพุทธรูปสิหิงค์ ซึ่งจะเห็นว่าทางกรุงเทพฯ เอง ก็จะมีการอัญเชิญมาประดิษฐานตรงศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ ภาคอื่นก็มีเหมือนกัน พระพุทธรูปประจำภาค จริงๆ อย่างพระพุทธสิหิงค์เองก็มีแพร่หลายไปทั่วทุกภาค


    “ส่วนภาคอีสานก็จะเป็นหลวงพ่อพระใส ที่เป็นพระพุทธรูปอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละภูมิภาคนั้น แล้วก็นำมาประดิษฐาน แต่ละภูมิภาคก็จะมีประดิษฐานบนบุษบก ในการให้สรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งตัวบุษบกเองก็จะมีความแตกต่างกันในเชิงงานศิลปะที่ประดับ อันนี้ก็จะชัดเจน อย่างลักษณะเด่นเลยส่วนใหญ่ทางอีสานเขาก็มักจะมีรางพญานาคในการรดน้ำด้วย”


    สำหรับตัวศิลปะที่ประดิษฐ์และตกแต่งบุษบกเองก็จะเป็นลักษณะของศิลปะ เฉพาะทางภาคอีสาน ภาคกลาง เหนือ ภาคใต้ ซึ่งบุษบกก็จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน


    “ทางภาคเหนือก็เป็นศิลปะทางล้านนา อย่างภาคใต้ก็จะเรียกบุษบกว่านมพระ ตรงนี้ในงานนิทรรศการเราก็จะมานำเสนอให้คนได้เห็นถึงข้อมูลเป็นเกร็ดความรู้ ถึงการสรงน้ำพระพุทธรูป”


    เครื่องหัตถกรรมบูชา


    ถึงแม้จะมีความต่างในความเหมือน อย่างเรื่องของหัตถกรรม เรื่องของเครื่องบูชาแต่ละภาค ก็มีลักษณะเฉพาะ อย่างภาคเหนือก็แน่นอนว่าคนก็ค่อนข้างรู้จักเยอะ เช่น การใช้ใบส้มป่อยผสมในน้ำ แต่หากเป็นภาคกลาง ถ้าตามประเพณีเดิมก็จะเป็นน้ำอบ แล้วก็มีการทำแป้งพวง ดอกไม้ที่มาประดิษฐ์หรือมาประดับบริเวณที่มีการสรงน้ำ หรือการถวายบูชาพระก็จะเป็นไปตามพิมพ์นิยม


    “ภาคกลางก็จะมีการประดิษฐ์ประดอยทำเป็นเครื่องแขวนได้ ภาคอื่นๆ ก็อาจจะลดทอนไปตามลักษณะของพื้นถิ่นเฉพาะ หรือตามแต่ละภูมิภาคนั้นๆ มี”


    นอกจากนี้ ในรายละเอียดของประเพณีสงกรานต์เองก็มีเรื่องของกินเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละภาคก็มีตัวขนมประจำเทศกาลสงกรานต์เองที่มีความนิยมแตกต่างกันออกไป


    “หากเป็นภาคอีสานก็จะเป็นข้าวปุ้นหรือขนมจีน หรือข้าวต้มมัด ซึ่งจะเป็นข้าวต้มแบบไม่มีไส้ อย่างนี้เขาก็จะนิยมอยู่ในช่วงประเพณีสงกรานต์ อย่างภาคเหนือเรียกขนมจ็อก รูปทรงคล้ายกระจุก คล้ายขนมเทียนเหมือนของภาคกลางแต่เขาเรียกขนมจ็อก แต่ภาคกลางจริงๆ ก็เป็นข้าวแช่ เป็นอาหารในฤดูร้อน ส่วนภาคใต้ก็เป็นขนมโค คล้ายขนมต้มขาวทางภาคกลาง แต่วิธีการปรุงหรือผลิตก็แตกต่างไป ขนมโคก็มีการเติมน้ำปูนใสลงนวดไปกับแป้งด้วย”


    อีกลักษณะเฉพาะของภาคใต้คือการแทงหยวก ที่นิยมทำช่วงสงกรานต์ งานกฐินงานบวช พวกนี้ งานฝีมือจากวัสดุที่หาง่าย ตัวหยวก ลวดลายโบราณ เป็นเรื่องของประเพณี


    “ทางนิทรรศการก็นำมาแสดง ให้ความรู้เพิ่มเติม มีการแสดงหมุนเวียน แต่ละภาค ลักษณะของดนตรีก็มีความแตกต่างกัน เราก็นำมาจัดแสดงในอาคารให้ผู้ชมได้ชมหมุนเวียนไป ทั้งการละเล่น และการแสดงสาธิตด้วย” วิวัฒน์เล่า



    สาเหตุของความต่าง


    ความแตกต่างของประเพณี ในมุมของ วิวัฒน์ มองว่าเป็นเรื่องของสถานที่ เรื่องภูมิสถานที่ซึ่งแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน ตัวธรรมชาติเองที่มีความแตกต่างกัน


    “โดยทั่วไปสมัยโบราณในอดีตคนก็จะหยิบจับวัสดุธรรมชาติที่คนนำมา ประดิษฐ์ใช้ในงานหรือเทศกาล ตามความเชื่อ ความแตกต่างคือสิ่งที่หาได้จากในพื้นที่เป็นตัวกำหนด สองก็คือความเชื่อทางบรรพบุรุษที่สืบต่อมา ทำให้รูปแบบการละเล่นหรือว่าดนตรีมีความแตกต่างกัน”


    ส่วนเรื่องอาหารการกินก็แน่นอนว่า แต่ละท้องถิ่นค่อนข้างชัดเจนแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ก็มาจากท้องถิ่น สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันคือรูปแบบกิจกรรมที่คล้ายกัน ทุกภาคจะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป มีการทำบุญก่อทรายและอะไรก็ตามที่เป็นการทำบุญเสริมสิริมงคล ขอพรจากผู้ใหญ่ นั่นคือสิ่งที่เหมือนกันแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือรายละเอียดต่างๆ เช่น ดอกไม้ที่นำมาประกอบในการขอพร


    “ภาคกลางก็อาจจะเป็นแค่มาลัย ภาคอีสานเป็นบายศรี ภาคเหนือก็เป็นเครื่องรดน้ำดำหัวเลย นี่คือความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียด” วิวัฒน์อธิบายเพิ่มเติม


    สำหรับในงานนิทรรศการจะมีการจัดแสดงให้เห็นความแตกต่างของสงกรานต์ ทั้ง 4 ภูมิภาค เช่น เครื่องแต่งกายที่ว่าเหมือนกัน ในทางศิลปะก็มีความแตกต่างกัน สถาปัตยกรรม วัด หรือสิ่งที่ปรากฏในบุษบกเองมีความแตกต่างกัน หรือพวกอาหารที่ทำ เครื่องบูชาหรือเครื่องทรง ก็จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป


    “แต่จริงๆ จุดหนึ่งที่คนไทยมีเหมือนกันคือ นิสัยที่มีความรื่นเริง ในทุกงานบุญ เราจะมีความรื่นเริงเข้ามา และการรื่นเริงก็จะมีกิจกรรม อาหารแล้วก็มีเรื่องความบันเทิงในเรื่องของดนตรี เครื่องดนตรีก็เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในงานเทศกาล


    “ภาคกลางก็เป็นกลองยาว เถิดเทิง ภาคเหนือก็เป็นระบบซอ ล้านนา อ้อยอิง สนุกสนานคึกคัก ภาคอีสานเป็นเครื่องตีดีด คึกคัก ภาคใต้ก็เป็นกลองรำมะนา อิทธิพลจากทางใต้ ทางเหนือ อีสาน ก็ผสมปนกันไปตามแต่ละพื้นถิ่นของแต่ละภาคลงไป ซึ่งตรงนี้ที่ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างและเป็นกลิ่นอายเฉพาะของแต่ละภาค”


    ……….

    แล้ววันสงกรานต์ปีนี้ คุณไปร่วมประเพณีสงกรานต์ที่ภาคไหน หรือกลับบ้านเกิดในเทศกาลสงกรานต์ เหนือ-ใต้-กลาง-อีสาน-ออก-ตก ในฐานะคนไทยหัวใจเบิกบานถ้วนหน้า ในวันหยุดยาวพร้อมหน้าพร้อมตาสุขใจอบอุ่นกันทั้งครอบครัว
    >>>>>>>>>>

    เรื่อง : ทีมข่าว CLICK


    .

    Daily News - Manager Online - 'ʧ


    http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000045928


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...