รวมคำสอน “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 15 มิถุนายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักของใจ

    [​IMG]


    คนที่ทำแต่ “บุญ” แต่ไม่ได้ทำ “หลักของใจ” ไว้
    ก็เปรียบเหมือนกับคนที่มี “ที่ดิน” แต่ไม่มี “โฉนด”

    จะซื้อขายเป็นเงินเป็นทองก็ได้ดอก
    แต่มันอาจจะถูกเขาฉ้อโกงได้
    เพราะไม่มีเสาหลักปักเขตไว้

    คนที่ “ศีล” มี “ทาน”
    แต่ไม่มี “ภาวนา” (คือหลักของใจ)
    ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว

    เหมือนคนที่อาบน้ำบั้นเอว
    ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะ
    ก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัว
    เพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ


    แสดงกระทู้ - ห ลั ก ข อ ง ใ จ : พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร • ลานธรรมจักร
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ปฏิบัติธรรม

    [​IMG]


    ผู้ปฏิบัติธรรม
    จะต้องมีการเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว

    บุคคลใดมีธรรมอันพอ
    จะช่วยให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่ไม่ช่วย

    พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงสรรเสริญบุคคลชนิดนั้น
    และตัวเราเองก็ติเตียน

    ถ้าหากเราจะทำอย่างนั้นบ้าง
    เราก็สบายไปนานแล้ว
    ไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้
    ทุกสิ่งที่อย่างที่ทำไปนี่
    ก็เพราะเห็นแก่ศาสนาส่วนใหญ่


    http://www.dhammajak.net
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของโลกยิ่งเรียนยิ่งกว้าง เรื่องของธรรมยิ่งรู้ยิ่งแคบ

    [​IMG]


    ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก
    และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
    เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่

    เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
    ก็จะไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
    สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆนี้ไม่ได้

    เรื่องของโลกยิ่งเรียนยิ่งกว้าง
    เรื่องของธรรมยิ่งรู้ยิ่งแคบ
    และรู้แคบเท่าไรก็ยิ่งดี

    ถ้ารู้กว้างออกไปมักฟุ้งซ่าน
    เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ

    ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการเดินไปในหนทางที่แคบๆ
    ย่อมจะไม่มีใครกล้าเดินสวนทางเข้ามาชนกับเราได้
    คนที่จะเดินบังหน้าเราก็ไม่มี
    เราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าออกไปได้ไกลที่สุดฉันใด

    ผู้ที่ทำจิตให้แคบเข้าละเอียดเข้าก็จะเกิดความวิเวกสงบ
    เกิดแสงและวิปัสสนาญาณ
    มองเห็น อดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกอย่าง


    (คัดลอกบางตอนมาจาก : ลมกับจิต พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
    ๗ สิงหาคม ๒๕๐๑ ณ วัดอโศการาม ใน “เรื่องของลม” : ธมฺมธโรอนุสรณ์ ๒๕๔๔)
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คติธรรม ๑๐๘ : ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

    เรื่องพุทธศาสนา

    ๑.วัดเป็นเครื่องวัดคุณธรรมของเราว่ามีมากน้อยเพียงไร

    ๒.พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความจริง
    ถ้าใครไม่จริงต่อพระพุทธศาสนา
    พระพุทธศาสนาก็ย่อมไม่เจริญกับผู้นั้น

    ๓.พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของการอ้อนวอน ร้องขอ หรือให้กันได้
    ทุกคนจะต้องทำด้วยตนของตนเอง จึงจะได้รับผล

    ๔.สิ่งใดที่มิได้ประกอบไปด้วยเหตุและผลแล้ว
    สิ่งนั้นก็มิใช่พุทธศาสนา

    ๕.พระพุทธประสงค์ก็มุ่งให้ปฏิบัติทางจิตเป็นข้อใหญ่
    ใครไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่า ไม่รักไม่เคารพในพ่อของเราเลย

    ๖.การดำเนินทางศาสนา เท่ากับเดิน ๒ ขา
    คือปริยัติ ขาหนึ่ง ปฏิบัติขาหนึ่ง
    ถ้าเราเดินแต่ขาเดียวก็ต้องล้มแน่

    ๗.พระพุทธรูป เป็นพุทธนิมิตภายนอก สำหรับเป็นที่กราบไหว้สักการะ
    ธรรมะภายนอกสำหรับให้คนได้สดับฟังศึกษาเล่าเรียน สังฆะภายนอก
    สำหรับเป็นพี่เลี้ยงคอยตักเตือนว่ากล่าวสั่งสอน

    ส่วนรัตนภายในนั้นคือ การทำพุทธะ ธรรมะ สังฆะ ให้มีขึ้นในจิตใจ

    ๘.คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มีภาวนา ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว

    ๙.ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ต้องไปซื้อล็อตเตอรี่
    ถ้าเชื่อความดีแล้วไม่ต้องกลัวจน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ค ติ ธ ร ร ม ๑ ๐ ๘

    เรื่องพระธรรม

    ๑๐. สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา”

    ๑๑. ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทวบุตร เทวดา หรือใครที่ไหน
    มันขึ้นอยู่ที่การกระทำอันเกิดจากการกรรมดี กรรมชั่วของตัวเรานี่เอง

    ๑๒. สมบัติที่เป็นของกาย เรียกว่า โลกียทรัพย์
    สมบัติที่เป็นของใจเรียกว่า อริยทรัพย์
    สมบัติของกายอาศัยใช้ได้เฉพาะแต่ในโลกนี้
    แต่สมบัติของใจใช้ได้สำหรับโลกหน้า

    ๑๓.โลกียทรัพย์ เป็นของที่เราจะนำติดตัวไปโลกหน้าไม่ได้
    จึงต้องแปรโลกียทรัพย์ให้เป็น อริยทรัพย์ เสียก่อน จึงจะนำติดตัวไปโลกหน้าได้

    ๑๔. สมบัติของผู้ดีคือ อริยสัจ หรือ อริยทรัพย์

    ๑๕.โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นฝ่ายดี
    กับเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว
    ทั้งหมดนี้บุคคลใดติดอยู่ก็เท่ากับผู้นั้นถูกเขาจองจำไว้

    ๑๖.คนในโลกมี ๔ จำพวก คือ

    ๑. คนพาล ชอบทำชั่ว โทษของตัวมองไม่เห็น

    ๒. กัลยาณชน คนดีทำตนให้มีค่า ทำเวลาไม่ให้สูญ

    ๓. บัณฑิต ผู้ฉลาด เลือกการงานสิ่งคู่ควร คบคนรู้จักเลือก ทำความดีให้เกิดได้

    ๔. มหาบัณฑิต ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่เบียดเบียนใคร ประโยชน์ใหญ่จักเกิดมี

    ๑๗. โลกมนุษย์มีทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    โลกของเทวดานั้นมีแต่เกิดกับตาย ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ

    โลกนิพพานไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย

    ๑๘.บุคคลทั้งหลายไม่ควรประมาทในกาลของชีวิต คือ

    ๑. ในเมื่อยังมีทรัพย์สินบริบูรณ์
    ๒. ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง
    ๓. ยังไม่เจ็บไข้ แก่ ตาย ก็ควรจะรีบเร่งทำบุญให้ทาน รักษาศีล
    และเจริญเมตตาภาวนา หาความดีให้แก่ตนตามสติกำลังที่จะทำได้

    ๑๙. ความตายมี ๓ ประเภท

    ประเภทที่ ๑ คือ ตายไปกับความชั่ว

    ประเภทที่ ๒ ตายไปกับความดี

    ประเภทที่ ๓ ไม่ตาย

    ๒๐. ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบุญกุศล เราก็จะมีสุคติเป็นที่ไป
    ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบาป อกุศล วิญญาณของเราก็จะต้องไปสู่ทุคติ

    ๒๑. บุญภายนอกทำจากร่างกายของเรา บุญภายในหาจากดวงจิต
    บุญย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    ๒๒. เขาว่าทำบุญทำทานนั้น ทำไปทำไม
    คนทำบุญก็ต้องตาย ไม่ทำก็ตาย
    ตายด้วยกันจริงอยู่ดอก แต่ว่าตายผิดกัน

    คนทำบาปนั้นตายไปกับผีกับเปรต ตายตามป่าตามดงตามถนนหนทาง
    แต่คนทำบุญนั้น ตายไปในกองบุญกองกุศล ตายสบาย
    แล้วไปเกิดก็สบายอีก ไม่ต้องไปเกิดในที่ทุกข์ที่ยากเหมือนคนทำบาป

    ๒๓. วัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่เราจะนำต็ิดตัวไปด้วยได้
    ถ้าเราไม่ทิ้งมันไป มันก็ทิ้งเราไปวันหนึ่ง
    ฉะนั้นจึงควรรีบสะสมแต่บุญภายในให้มาก เพราะเราจะได้นำติดตัวไปด้วย

    ๒๔. ปริยัติ เรียนรู้คัมภีร์ ปฏิบัติดี รู้ทันกิเลส ปฏิเวธ รู้แล้วและวาง

    ๒๕. ความตายและความเกิด เป็นกำเนิดแห่งความทุกข์
    ความสุขอันประเสริฐไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ๒๖. กุศลและอกุศล ย่อมให้ผลแก่ผู้ทำทั้ง ๓ กาล
    อกุศล คิดจะทำก็เป็นทุกข์ กำลังทำก็เป็นทุกข์ ทำแล้วก็เป็นทุกข์
    กุศล คิดจะทำก็เป็นสุข กำลังทำก็เป็นสุข ทำแล้วก็เป็นสุข

    ๒๗.เมื่อเราต้องการความบริสุทธิ์
    เราต้องทำความบริสุทธิ์ให้พร้อมในกาย วาจา ใจ ทาน ศีล ภาวนา ก็ทำให้บริสุทธิ์

    ๒๘.ทาน สละโลภะ ศีล สละโทสะ ภาวนา สละโมหะ

    ๒๙.สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่น
    เมื่อเราคิดว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำให้มันจริงลงไป จึงจะเกิดผล

    ๓๐. ปัญญา เกิดแต่การสังเกตหาเหตุหาผล
    รู้แต่ผลไม่รู้เหตุก็ใช้ไม่ได้ รู้แต่เหตุไม่รู้ผลก็ใช้ไม่ได้
    ต้องรู้พร้อมทั้งเหตุทั้งผล

    ๓๑. สุตมยปัญญา เปรียบเหมือนคนที่ตื่นจากหลับแล้ว แต่ยังไม่ได้ลืมตา
    จินตมยปัญญา เปรียบเหมือนคนที่ตื่นนอนแล้ว แต่ยังไม่ออกจากมุ้ง
    ภาวนามยปัญญา เปรียบด้วยคนที่ตื่นออกจากมุ้งล้างหน้าล้างตาสว่างแจ่มใสแล้ว
    สามารถมองเห็นอะไร ๆ ได้ถนัดชัดเจน

    ๓๒. ความดีของโลกจะวิเศษวิโสอย่างไร
    ก็ไม่นานดอก แล้วมันก็ต้องแยกกันกับเรา
    ไม่เหมือนสุขในทางธรรม คือ จิตสุข มันย่อมจะติดกับตัวเราไปเสมอ

    ๓๓.โลก เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน
    แต่ธรรมเอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง

    ๓๔.มติทางโลกเขาว่า จะดีหรือไม่ดีก็ช่าง ให้มีเงินมาก ๆ แล้วเป็นดี
    ส่วนมติทางธรรมว่า จะมีหรือจนก็ช่างเถิด ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน

    ๓๕.สุขในอัตภาพร่างกายเป็นความสุขทางโลก
    สุขชั่วขณะหนึ่งแล้วก็จะปรวนแปรไปเหมือนข้าวสุก พอข้ามวันก็เหม็นบูด
    ส่วนสุขทางธรรมนั้น สุขเหมือนดาวบนท้องฟ้า เป็นสุขที่สว่างไสวตลอดกาลนาน

    ๓๖.บุญมีอยู่เสมอ แต่ไม่หาให้ตัว เหมือนนามีแล้วไม่ทำ ข้าวมีแล้วไม่กิน

    ๓๗. การบำเพ็ญทาน เท่ากับหาทรัพย์ไว้ให้ตัวของเรา
    การบำเพ็ญศีลเท่ากับสร้างร่างกายของเราไม่ให้พิการง่อยเปลี้ยบอดใบ้
    การบำเพ็ญภาวนา เท่ากับสร้างจิตใจของเราให้เป็นคนสมบูรณ์

    ๓๘. คนที่ทำ “ทาน” มากก็จะให้ผล ให้เขาเป็นคนมีทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์
    คนมี “ศีล” จะทำให้ได้รับอัตภาพที่ดี มีรูปร่างผิวพรรณงดงาม
    ถ้ามี “ภาวนา” ด้วย ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ค ติ ธ ร ร ม ๑ ๐ ๘

    เรื่องของพระสงฆ์

    ๓๙. พระสงฆ์ผู้ทรงคุณ เป็นนาบุญของญาติโยม นาดีได้บุญหลาย นาขี้ร้ายไม่มีผล

    ๔๐. การบวชเป็นพระนั้น จะต้องดำเนินตามข้อปฏิบัติ
    ให้เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้จริง ๆ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของพระตถาคต

    ๔๑. ศีล สิกขาบท เปรียบเหมือนศีรษะ แขน ขา มือ เท้าของเรา
    ถ้าล่วงผิดในศีล หรือสิกขาบทข้อใดข้อหนึ่ง ก็เท่ากับตัดมือ ตัดศีรษะของตัวเราเอง

    ๔๒. ถ้าอยู่บ้านสบาย พระพุทธเจ้าจะต้องไปบวชทำไม
    ยิ่งอยู่ป่ายิ่งสบายกว่าอยู่วัดหลายเท่า พระอยู่ป่าก็เท่ากับโยมอยู่วัด
    พระอยู่วัดก็เท่ากับโยมอยู่บ้านนั่นแหละ

    ๔๓.ไปอยู่ที่ไหนก็ต้องขยายกลิ่นหอมให้เขา อย่าไปขยายกลิ่นเหม็นไว้
    ไปไหนก็ต้องให้เขารัก อยู่ไหนก็ต้องให้เขาชอบ

    ๔๔. กินข้าวมาก ฟืนมันสด แสงไม่เกิด กินข้าวน้อย ฟืนมันแห้ง แสงมันเกิด

    ๔๕. กินคนเดียวหาความสุขมิได้ นอนก็อย่านอนให้มันมากนัก
    ให้พากันสละการนอนโดยนั่งเจริญเมตตา ภาวนาสะสมกำลังใจเสียบ้าง

    ๔๖. มีตาแล้วต้องรู้จักใช้ตา ลืมไม่หลับ หลับไม่ลืมก็แย่ ให้รู้จักการปิดเปิด

    ๔๗. การอันใดควรทำโง่ ควรทำฉลาด ให้รู้จักปรับปรุงให้เหมาะ อย่าให้ผิดกาละเทศะ

    ๔๘. ให้พวกเราทำตัวให้เหมาะสมกับชื่อของเราไว้
    ให้รักษาชื่อดีใส่กำมือไว้ อย่าให้รั่วไหล ได้ทั้งชื่อ ได้ทั้งความจริงเป็นดีแน่
    อย่าดีแต่ชื่อแต่ตัวมันเซ่อ

    ๔๙.เรื่อง “ชื่อเสียง” ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษา มันก็จะกลายเป็น “ชื่อเสีย”

    ๕๐. คนเรามีส่วนดีและส่วนชั่ว คนที่ชั่วก็มีดีอยู่บ้าง มิได้ชั่วไปเสียทั้งหมด
    ต้องมองดูเขาในแง่ดีบ้าง เหมือนลูกไม้บนต้นย่อมมีผลไม่เสมอกัน

    ๕๑. จงทำตัวของเราให้ดีที่สุด แล้วอย่างอื่นก็จะต้องดีไปตามเรา

    ๕๒. ถ้าไม่สามารถในการ คิด-พูด-ทำ ก็อย่าไปแสดงเข้า
    จะทำอะไรจงมองให้ทั่ว ทำตัวให้ดีสมเกียรติ

    ๕๓. ปาก จมูก เป็นประตู หู ตา เป็นหน้าต่าง เราต้องคอยปิดเปิดให้ถูกกาลเวลา
    จึงจะได้รับประโยชน์และปลอดภัย

    ๕๔. เราไม่เก็บบุญเข้ามา บุญจะช่วยได้อย่างไร

    ๕๕. ใครไม่ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ถูก “พระหลอก ๆ” กินแหลกหมด
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ค ติ ธ ร ร ม ๑ ๐ ๘

    เรื่องภาวนา

    ๕๖. ศีล ก็เกิดแต่จิต สมาธิ ก็เกิดแต่จิต ปัญญา ก็เกิดแต่จิต
    บุญก็เกิดแต่จิต บาปก็เกิดแต่จิต จิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

    ๕๗.การที่บุคคลจะทำจิตให้บริสุทธิ์ได้
    จะต้องคลายความยึดถือในตัวตน ในรูปนามและในอารมณ์ทั้งหลาย
    ที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ๖ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ ให้เป็น ๑ อยู่เสมอ
    อย่าให้กลายเป็นเลข ๒-๓-๔-๕ ฯลฯไปได้

    ๕๘. อารมณ์ภายนอกต่าง ๆ ที่เราเก็บมายึดถือไว้
    ก็เปรียบเหมือนเราเอาหาบของหนัก ๆ มาวางไว้บนบ่า
    ถ้าเราปลดปล่อยเสียได้ ก็เท่ากับเราวางหาบนั้นลง

    ๕๙. จิตที่ได้อบรมอยู่เสมอ ย่อมจะสูงขึ้นแก่ขึ้นทุกที ๆ เป็นลำดับ
    เหมือนผลไม้ที่แก่จัด เมื่อสุกงอมแล้ว ก็ย่อมจะหล่นจากขั้วของมันในที่สุด

    ๖๐.หน้าที่ของเราในการทำสมาธิมีอยู่ ๔ อย่างคือ

    ๑. รู้ลมเข้าออก

    ๒. รู้จักปรับปรุงลมหายใจ

    ๓. รู้จักเลือกว่าลมอย่างไหนสบายไม่สบาย

    ๔. ใช้ลมที่สบายสังหารเวทนาที่เกิดขึ้น

    ๖๑. นึก “พุทธ” ลมเข้าไป เอา “โธ” ไว้ลมออกมา
    พวกท่านภาวนา “อานาปาน์” คือ ความตาย

    ๖๒. “พุทโธ” และ “ธัมโม” “สังโฆ” แหละตัวเรา
    วันหนึ่งถึงอันเดียวอย่าไปเที่ยวคิดมีสาม

    ๖๓. การยกจิตออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก
    นั่นมิใช่เป็นวิธีที่ถูกของการทำสมาธิ

    ๖๔. ถ้าจิตดีกายไม่ดีก็ใช้การไม่ได้ กายดีจิตไม่ดีก็ไม่ได้ผลอีก
    ต้องให้ดีพร้อมกันเป็นสามัคคีธาตุ

    ๖๕. สติเป็นชีวิตของใจ ลมเป็นชีวิตของกาย
    ถ้าลมหายใจของเรานี้อ่อนลง สติก็จะอ่อนตามด้วย

    ๖๖.ลมภายนอกกับลมภายในนั้นต่างกัน
    ลมภายนอกนั้นแต่งไม่ได้ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ
    ลมภายในนั้นแต่งได้ ปรับปรุงแก้ไขได้

    ๖๗.ลมเป็นพี่ชายใหญ่ เพราะลมช่วยไฟ ไฟช่วยน้ำ น้ำช่วยดิน
    มันสงเคราะห์กันเป็นสามัคคีธาตุ ดังนี้

    ๖๘.สติเป็นตัวเหตุ เป็นตัวอุปการี
    ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมให้สมาธิของเราเจริญขึ้น
    สตินี้ท่านเรียกว่า มาติกากุสลา แปลว่า แม่ของบุญกุศล

    ๖๙. สติคือ เชือก จิต เหมือนลูกโค ลมเป็นหลัก
    ต้องเอาสติผูกจิต ไว้กับลม จิตจึงจะไม่หนีไปได้

    ๗๐.ถ้าจิตใจเราตั้งตรงเป็นหลักอยู่กับที่
    มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอแล้ว
    นิวรณ์และกิเลสทั้งหลายก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้

    ๗๑. ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ

    ๗๒. กายสุข ระงับเวทนา ใจสุข ระงับนิวรณ์

    ๗๓.กายเป็นของสูญเปื่อยเน่า จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย

    ๗๔.จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไปเหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน
    ไม่มีรูปร่างลักษณะ ให้ตาเนื้อของเราแลเห็นได้
    แต่ไฟนั้นก็มิได้สูญหายไปจากโลก

    ๗๕. ดวงจิตนั้นต้องเลี้ยงมันด้วยบุญกุศล
    ต้องให้บริโภคบุญมาก ๆ มันจึงจะอ้วนพี ถ้าบุญน้อยมันก็ผอม

    ๗๖. เราควรรู้ว่า ร่างกายนั้นเขาวางเรา และหนีเราไปทุกวัน ๆ
    แต่เราสิไม่เคยหนีเขา ไม่ยอมวางเขาเลยสักที

    ๗๗. พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร ก็ด้วยสัจจบารมีของพระองค์ คือ ความจริง
    เมื่อเราตั้งใจจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี
    จิตของเราจะต้องตั้งมั่นให้จริงลงไปในสิ่งนั้นไม่ถอยหลัง

    ๗๘.เมื่อเรามากำหนดนึกอยู่ในลมหายใจ
    ด้วยความมีสติสัมปชัญญะเช่นนี้
    ก็จะเป็นพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ และสังฆานุสสติ

    นอกจากนี้ยังเป็นกายคตาสติ อานาปานสติ และมรณานุสสติอีกด้วย

    ๗๙. การที่เรามานั่งภาวนากันอยู่นี้
    เปรียบเหมือนกับเรามาขัดสีข้าวเปลือกในยุ้งของเราให้เป็นข้าวสาร

    ๘๐. ถ้าเราปรารถนาจะได้ความสุขอันเป็นยอดของมหาสมบัติทั้งปวง
    ก็ต้องกระทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้พร้อมบริบูรณ์

    ๘๑. บุคคลผู้ใดหมั่นเจริญเมตตาภาวนา อยู่เป็นนิจ ก็จะได้รับผลคือความสุข
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ค ติ ธ ร ร ม ๑ ๐ ๘

    รวมสุภาษิตต่าง ๆ

    ๘๒. ความดี ถ้าใช้ไม่เป็นก็เป็นโทษเป็นบาป
    เหมือนกับเงินที่เป็นของดี แต่จ่ายไม่เป็น ก็ขาดทุน
    หรือมีดคมถ้าใช้ไม่เป็นก็กลายเป็นโทษ

    ๘๓.คนพูดดี ก็เป็นน้ำเย็นรดหัวใจชื่นบาน เป็นยาบำรุงหัวใจซึ่งกันและกัน
    ถ้าพูดไม่ดีก็เป็นน้ำร้อนน้ำกรดมาสังหารซึ่งกันและกัน

    ๘๔.คนมีปัญญา จะพูดอะไรก็เป็นบุญเป็นกุศล
    เพราะรู้จักการพูดให้ถูกกาล สถานที่บุคคล และสังคม

    ๘๕.คนที่มีชื่อเสียง แต่ไม่มีความจริง ก็นับว่าดีไม่ได้
    คนใดที่มีความจริง ถึงจะมีชื่อเสียงหรือไม่มีก็ตาม ก็นับว่าเป็นคนดี

    ๘๖. คนอยาก เกิดจากความอด คนอด ก็เกิดจากความอยาก
    คนอยากนั้นมักจะไม่ได้กิน คนไม่อยากนั่นแหละได้กิน

    ๘๗.คนที่ฆ่าความดีของตัวเอง ก็ย่อมฆ่าคนอื่นได้

    ๘๘. ทุกคนที่เกิดมาย่อมต้องการความสุขกันทุกคน
    แต่ความปฏิบัติของเราไม่ตรงต่อเจตนาของตนเอง
    ความสุขที่เราต้องการจึงไม่สมปรารถนา

    ๘๙. ตัวเรา เปรียบเหมือนกับแผ่นเสียง ที่อัดไว้ในทั้งเสียงดีและเสียงชั่ว
    เมื่อเราทำความดีก็อัดเข้าไปไว้ในตัว
    เมื่อเราทำชั่ว ก็อัดเข้าไปไว้ในตัว
    เราทำกรรมอันใดไว้ กรรมนั้นก็ย่อมมีอยู่ในตัวเราทุกอย่าง ไม่หายไปไหน

    ๙๐. การแสวงหาความดี ต้องอาศัยการศึกษาเป็นหลัก
    มิฉะนั้นจะไม่รู้ว่าสิ่งใดควรเอาไว้ สิ่งใดควรทิ้งไว้

    ๙๑. โรคทางกาย ไม่สำคัญเท่าใด
    เพราะเมื่อเราตายแล้ว ถึงจะรักษาหรือไม่รักษามันก็ตาย
    ส่วนโรคทางใจนั้น เราตายแล้วมันก็ยังไม่หาย
    ทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดอีกหลายชาติ หลายภพ

    ๙๒. ยาพิษ ไม่ได้เป็นโทษที่ยา มันเป็นโทษที่ตัวเราเอง หรือผู้ที่กินเข้าไป

    ๙๓.จะเตะเขาต้องให้เกิดประโยชน์ เขาจะเตะเราต้องอย่าให้เสียท่า
    ถ้าไม่เกิดประโยชน์อย่าไปยุ่ง อยู่เฉย ๆ ดีกว่า

    ๙๔. กลองปีศาจ นักปราชญ์ดี คนไม่ดี เสียงดังเอง
    คือชอบพูดแต่คำที่คนอื่นเขาไม่ชอบฟัง

    ๙๕. บ้านเรือนที่สกปรก ก็ยังไม่ร้ายเท่ากับจิตใจที่สกปรก

    ๙๖. สุนัขชอบหอนเห่าไม่เอาจริง สุนัขนิ่งชอบเอาจริง ควรระวัง

    ๙๗. ดีชั่วออกจากใคร ย่อมกลับไปหาเขาเอง

    ๙๘.แก่นจันทน์ถูกฟันโค่น ยังไม่พ้นกลิ่นหอมหวล
    ทำธูปลูบผิวกายคนทั้งหลายย่อมนิยม

    ๙๙. คบคนพาลนำไปหาผิด คบบัณฑิตนำพาไปหาผล
    คบคนชั่วจะพาตัวยากจน วางใจคนจะจนใจตัว

    ๑๐๐.จริงกายจริงวาจา แสวงหาแต่ความดี
    สัจจะและขันติ สร้างความดีด้วยเมตตา

    ๑๐๑. ความดีเป็นของตัว ความชั่วเป็นของเขา
    พึ่งท่านไม่เหมือนเรา พึ่งเขาไม่เหมือนตน
    ความดีที่จะพ้น ใจของตนจงทำเอา

    ๑๐๒. ความดีมีในตัวเท่าไข่เหา ความดีของเขาเท่าช้าง ตาเขาฟางมองไม่เห็น

    ๑๐๓. อบรมปัญญาให้เกิดโดยชอบ รอบคอบด้วยเหตุผล

    ๑๐๔. มองหลังคอยทำ มองข้างหน้าให้แลเห็น

    ๑๐๕. อย่าเหยียบคนต่ำ อย่าล้ำคนสูง

    ๑๐๖. เดินดินระวังเท้า ขึ้นเขาระวังตา

    ๑๐๗. ความดีและความงาม จงนั่งถามที่ตัวเอง
    ความยากและความจนใครอยากพ้นจงทำใจ

    ๑๐๘. เวลาเขาให้เราโง่ อย่าทำโตเป็นคนฉลาด
    เวลาเขาเป็นปราชญ์ เราอย่านั่งอมปาก

    ๑๐๙. คนที่กลัวตาย ก็จะต้องพบกับความตายอยู่ร่ำไป
    ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ทั้งนั้น

    คนที่หมดความรู้สึกกลัวตาย ก็คือคนที่ไม่ตาย

    ๑๑๐. “ถ้าใครไม่จริงกับพระพุทธศาสนา
    พระพุทธศาสนาก็ไม่จริงกับผู้นั้น
    และผู้นั้นจะรู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้”

    ๑๑๑.“สรุปแล้ว ความไม่ประมาทคือ ความไม่ตายใจ ไม่นอนใจ
    ไม่ไว้ใจในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
    ส่วนใดที่เป็นความดี ควรได้ควรถึง
    ให้มีความพยายามสร้างสรรค์ขึ้นให้มีในตน
    บุคคลผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท”

    ๑๑๒.“ดวงจิต ไม่เป็นดีและไม่เป็นชั่ว
    แต่เป็นผู้รู้ดีและรู้ชั่ว
    เป็นผู้ละดีละชั่ว”

    ๑๑๓.“ศีลขาด ดีกว่าไม่มีศีลเลย
    เพราะคนนุ่งผ้าขาด ย่อมดีกว่าคนเปลือยกาย”

    ๑๑๔.“ปากเรามันกินผีแยะ เช่น หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย ฯลฯ อาจมีผีสิง
    ฉะนั้น ก่อนจะปล่อยวาทะใดด้วยเจตนาใดก็ตาม
    ต้องมองซ้ายมองขวาให้ดี
    เมื่อเห็นเหมาะเจาะดีแล้ว จึงค่อยพูด
    ระวังอย่าให้ผิดมรรยาท”

    ๑๑๕.“คนก็ไม่เสมอกัน แต่ต้องทำใจของเราให้ เสมอ ไว้”

    ๑๑๖.“มนุษย์นั้นโง่ ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลว
    ใช่แต่เท่านั้น เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก
    ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ
    ส่วนของไม่ดีอุตส่าห์ไปกระแด่ว ๆ เอาใจไปจดไปจำ
    เนื้อก็ไม่ได้กิน หนังก็ไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ”

    ๑๑๗.“คนโง่นั้นต่อให้นั่งเฝ้าหลุมทองอยู่ก็ไม่มีปัญญาทำให้เป็นอะไรได้
    คนฉลาด อยู่กับดินกับหญ้า เขาก็ทำให้เป็นเงินเป็นทองได้”

    ๑๑๘.“สิ่งใดที่เรารักมาก ก็เป็นศัตรูแก่เรามาก
    สิ่งใดที่เรารักน้อย ก็เป็นศัตรูแก่เราน้อย
    สิ่งใดที่เราไม่รักเลย ก็เฉย ๆ”

    ๑๑๙.“ลมหายใจที่เป็นไปโดยธรรมชาตินั้น มีประโยชน์เพียงกันตายเท่านั้น
    ไม่ได้ทำให้เกิดคุณความดีอะไรขึ้นมาได้เลย
    ส่วนลมหายใจที่เราตั้งใจให้เป็นไปตามความรู้สึกของเรานั้น
    ย่อมทำให้เกิดคุณความดีได้เป็นอเนกประการ”

    ๑๒๐.“ลม.. ปราบเวทนา สติ.. ปราบนิวรณ์”

    ๑๒๑.“คนกิเลสหนา สอนง่ายกว่าคนกิเลสบาง
    เพราะมันเป็นแผ่นหนา กระเทาะง่าย
    ถ้าเปลือกบาง มันปอกยาก
    (คือถือว่าตัวดีเสียแล้ว ก็ไม่ค่อยจะยอมละ)”

    ๑๒๒.“ถ้าเราไปยึดของไม่เที่ยงมาเป็นของตน
    เราจะต้องเดินไม่เที่ยงด้วย”

    ๑๒๓.“ตัวเรา เปรียบเหมือนต้นไม้
    ความยึดถือ คือเถาวัลย์
    ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา ยินดีในเสียง มันก็มัดหู ฯลฯ
    ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
    เมื่อเราถูกมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย
    บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี”

    ๑๒๔.“ลมหยาบ เป็นยาถ่าย
    ลมละเอียด เป็นยารักษา
    ลมกลาง ๆ เป็นยาบำรุง”



    ที่มา : http://www.kanlayanatam.com/sara/sara104.htm


    แสดงกระทู้ - คติธรรม ๑๐๘ : ท่านพ่อลี ธมฺมธโร • ลานธรรมจักร
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พลังของจิตท่านอาจารย์ลี

    [​IMG]


    พลังของจิตท่านอาจารย์ลี

    หลวงตา (หลวงตามหาบัว) ท่านเล่าต่อว่า...ท่านอาจารย์ลี หลวงปู่มั่นท่านกล่าวชมว่า

    “อย่างท่านลีนี่ กำลังใจดีมาก หมายถึงพลังของใจ”

    เราจะยกตัวอย่างให้ประกอบกับว่า “พลังแห่งใจของท่านอาจารย์ลี”

    ...ท่านเฟื่อง (ท่านพ่อเฟื่อง ธรรมสถิต ระยอง) เป็นคนเล่าให้ฟังว่า

    ...ท่านอาจารย์ลี บอกให้เด็กชื่อ “ธรรมนนูญ” นั่งทำสมาธิ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอาจารย์ลีก็ไม่ได้หลับตา ท่านก็นั่งอยู่ธรรมดาๆ ท่านก็คงเคยสอนให้มันนั่งนานต่อนานแล้ว

    “เอ้า !...นูญ เข้าที่” ท่านสั่ง เด็กมันก็นั่งปุ๊ปปั๊ปๆ ขัดสมาธิ ท่านก็ว่า “อ้าว ! เราจะให้เจ้าตัวลอยขึ้นๆ นะ” แล้วท่านก็ทำมือขึ้นพร้อมกับพูดว่า “เอ้า ! ขึ้นๆ ๆ ไป” เด็กธรรมนูญที่นั่งขัดสมาธิอยู่กับพื้นก็ค่อยๆ ลอยขึ้นๆ ตัวลอยขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าท่านจะบอกหยุด

    ทีนี้ท่านอาจารย์ลีก็หันมาบอกว่า “เอ้า ! เฟื่อง ลอยขึ้นๆ” ท่านเฟื่องก็พยายามบังคับจิตเอาไว้จะไม่ให้ขึ้น โอ๊ย ! ตัวโยกคลอนไปมา ก้นจะลอย หัวจะคะมำ มันจะลอยขึ้นให้ได้ ถ้านานอีกซักเพียง ๕ วินาที คงจะเอาไม่อยู่ ต้องลอยขึ้นจริงๆ พลังแห่งจิตมันสู้ท่านอาจารย์ลีไม่ได้

    พอเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ลีก็ว่าท่านเฟื่องว่า “โอ๊ย ! ดื้อ” ท่านไม่พูดมาก ท่านว่า “ดื้อ” แลัวท่านก็ยิ้มนิดหนึ่ง

    นี่แหละที่เรียกว่า “พลังของจิตท่านอาจารย์ลี”
    ท่านทำได้ทุกอย่าง พลังจิตที่ผาดโผนแบบนี้เป็นได้บางรายเท่านั้น

    [​IMG]
    ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก


    คัดลอกมาจาก
    หนังสือพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช้างช่วยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร)

    [​IMG]


    เล่าเรื่องโดย หลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดป่าภูผาแดง ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    จากหนังสือธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    โดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร
    วัดป่าภูผาสูง ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

    เรื่องที่เหลือเชื่อ แต่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงสำหรับท่านผู้บำเพ็ญบารมีที่มีเรื่องสุดวิเศษอัศจรรย์เช่นนี้ อย่างเช่น

    พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระวรกายเหมือนมนุษย์ แต่สามารถเสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    พระมาลัย สามารถท่องแดนนรกสวรรค์ได้ เหมือนเที่ยวไปในเมืองมนุษย์

    สามเณรสังกิจจะ มารดาท่านตายในขณะที่ท่านยังอยู่ในท้อง เขานำศพมารดาท่านไปเผา ไฟเผาไหม้เพียงเนื้อหนังของมารดา แต่ตัวท่านปลอดภัยนอนอยู่ในกองเพลิงที่ลุกไหม้เหมือนนอนอยู่บนดอกบัว

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สามารถเทศนาสั่งสอนสัตว์โลกในภพภูมิทั้งสาม

    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน สามารถนำธรรมะออกเผยแผ่ทั่วประเทศไทย กู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นวิกฤตเศรษฐกิจ และนำเงินและทองคำเข้าสู่คลังหลวงได้เป็นจำนวน ๑๑ ตันกว่า คิดเป็นเงินโดยรวมหลายหมื่นล้าน

    นี่คือเรื่องจริงๆ!! ที่ปรากฏมีมาแล้ว

    เรื่องจริงจึงเป็นสิ่งที่ชวนให้คิดถึงบาปบุญ คุณโทษ นรก สวรรค์ พรหมโลก และพระนิพพานของคนและสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารมานานเนา

    สมัยหนึ่ง ท่านพ่อลี ท่านท่องเที่ยวกรรมฐานทางภาคเหนือตอนล่าง ได้พลัดหลงป่าได้ช้างมาช่วยชีวิตไว้ แต่ก่อนอื่นขอนำเรื่องพระพุทธเจ้ากับช้างมาเล่าก่อน หลักฐานแห่งความเชื่อและความจริงจะได้ชัดเจนขึ้น ท่านผู้อ่านจะได้เรียงลำดับเรื่องถูก

    ...ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเบื่อหน่ายพระธรรมกถึกและพระวินัยธรที่ว่ายากสอนยาก ทะเลาะกันเรื่องพระวินัย ทรงสั่งสอนเท่าไรก็ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จปลีกวิเวกไปอยู่เพียงลำพังองค์เดียวที่บ้านปาริเลยยกะ ราวป่ารักขิตะวัน ใต้ต้นสาละใหญ่

    ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ตรัสภาษิตธรรมว่า

    “...การอยู่คนเดียวประเสริฐที่สุด...ในหมู่ชนพาล ย่อมไม่มีเพื่อนแท้”

    ...ในป่านั้น พระยาช้างปาริเลยยกะได้ทำหน้าที่เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า มันใช้งวงหักกิ่งไม้ กวาดบริเวณที่พระพุทธองค์ประทับ เสร็จแล้วจับหม้อด้วยงวง ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้ ต้มน้ำร้อนถวาย ด้วยการเอางวงสีไม้แห้งให้ไฟเกิด เมื่อน้ำร้อนเสร็จก็นิมนต์พระศาสดามาสรง

    เมื่อพระบรมศาสดาเข้าไปบิณฑบาต พระยาช้างนั้นเอาบาตรและจีวรวางไว้บนตะพอง เดินตามหลังไปจนถึงแดนบ้าน “ปาริเลยยกะ เธอรออยู่ที่นี่ก่อน” พระศาสดาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันนุ่มนวล

    พระยาช้างรอจนกว่าพระศาสดาเสด็จกลับมาแล้วรับบาตรและจีวรกลับเข้าป่ารักขิตวันตามเดิม เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระศาสดาแล้ว พระยาช้างได้นั่งถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้

    ภาพแห่งช้างถวายงานพัดนั้นคงจะน่ารักน่าชังมิใช่น้อย (ถ้าเป็นสมัยนี้มนุษย์คงแตกฮือตื่นกันทั้งโลก เพราะมนุษย์สมัยนี้ชอบตื่นตูม เรื่องไม่เป็นเรื่องก็ยังตื่นข่าว) ส่วนในราตรีพระยาช้างได้ถือท่อนไม้ใหญ่ด้วยงวง เดินรอบบริเวณป่าที่พระศาสดาประทับอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัยจากเนื้อร้ายหรือจากอันตรายอื่นใด จนกว่าอรุณจะขึ้นมาใหม่ จึงถวายน้ำสรงพระพักตร์ ทำอย่างนี้เป็นกิจวัตร

    ในป่านั้นมีลิงใหญ่ตัวหนึ่ง กระโดดร้องโก๊กๆ ไปมาตามกิ่งไม้ เห็นพระยาช้างทำวัตรปฏิบัติเป็นนั้นทุกๆ วัน เกิดความศรัทธาอยากทำอย่างนั้นบ้าง จึงไปหารวงผึ้งมาถวายพระศาสดาบ้าง พระศาสดารับแล้วแต่ไม่ทรงเสวย ลิงนั้นจึงเข้ามาจับรวงดูผึ้ง เห็นตัวอ่อนติดอยู่ จึงเขี่ยออกแล้วถวายใหม่ เมื่อเห็นพระศาสดาทรงเสวยแล้วจึงดีใจเลยเถิด ทั้งฟ้อน ทั้งรำ ทั้งร้อง ทั้งกระโดดโลดเต้นไปมา เหยียบกิ่งไม้แห้งหัก ร่างตกลงมาเสียบตอไม้ปลายแหลมตายคาที่ ได้ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ มีเทพอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร

    ครั้นพระอานนท์และภิกษุ ๕๐๐ รูปมาอาราธนานิมนต์ให้พระศาสดาเสด็จกลับ ช้างไม่ยอมให้กลับ

    “ปาริเลยยกะ!” พระศาสดาตรัสเรียก

    เราไปครั้งนี้จะไม่กลับมาอีก ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล ยอมไม่มีแก่เจ้าในอัตภาพนี้ เจ้าจงหยุดเถิด”

    พระยาช้างเมื่อได้ฟังเช่นนั้นก็เอางวงสอดเข้าปาก ร้องไห้เหมือนเด็กน้อยที่พ่อแม่ทิ้งไว้กลางป่า ร้องร่ำหาจนกระแสเสียงและสายน้ำตาเหือดแห้ง

    เมื่อพระศาสดาเสด็จลับตาไป มันยกขาหน้าขึ้น ตาชะเง้อมองเท่าไหร่ไม่เห็นแม้แต่เงาพระพุทธองค์ ด้วยความเสียใจอาลัยสุดประมาณ หัวใจมันจึงแตกสลาย ล้มตายลงในทันที

    ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร

    ..เรื่องพระพุทธเจ้ากับสัตว์ เราฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็ได้เป็นไปแล้ว นี่คือ..อำนาจบุญ..

    ..บุญฤทธิ์เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์และคาดคิดไม่ถึงเสมอ!

    [​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    [​IMG]
    หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง จ.อุดรธานี

    ...เรื่องที่จะเล่าต่อเป็นเรื่อง ท่านพ่อลีกับช้างใหญ่ ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปสนทนาธรรมกับ หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าภูผาแดง จังหวัดอุดรธานี ท่านได้เล่าเรื่องท่านพ่อลีกับช้างให้ฟังอย่างน่าตื่นเต้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคติดี เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์จึงนำมาเล่าให้ฟังว่า

    สมัยหนึ่ง หลวงปู่ลี กุสลธโร ไปธุดงค์ทางอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ไปพบท่านพ่อลี ธมฺมธโร ซึ่งธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือตอนล่างเช่นกัน

    เมื่อท่านเข้าไปคารวะท่านพ่อลีแล้ว ท่านจึงขอโอกาสนวดเส้นถวาย ในขณะที่นวดเส้นถวายนั้น ท่านพ่อลีได้เล่าเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ที่ผจญมาจากที่ต่างๆ ให้ฟังไปเรื่อยๆ จนคนที่นวดถวายลืมเวล่ำเวลา ฟังแล้วหูตาแจ้ง ไม่ง่วงนอน เพลินใจ ตื่นเต้นสนุกสนานในธรรมลีลาของท่านอย่างบอกไม่ถูก

    ท่านพ่อลีเล่าว่า.....

    “...ขณะที่ท่านท่องเที่ยวธุดงค์เดินไปตามป่าเรื่อยๆ ค่ำที่ไหนก็อาศัยนอนในป่านั้น ไม่หวั่นต่อมรณภัยใดๆ รักษาแต่ใจตัวที่ชอบท่องเที่ยวเพลินอยู่ในป่าใหญ่ที่มีต้นไม้สูงระฟ้า ลิงค่าง สัตว์เสือช้างป่าร้องลั่นสนั่นไพร เหมือนเพลงขับกล่อมย้อมใจให้หลงใหลในรสธรรมชาติ ท่านอุทานว่า

    “ธรรมชาตินี้ ช่างดี! งามล้น ไม่มีการเสแสร้งทำ ส่วนมนุษย์นี่สิ ทำตัวสงบเสงี่ยม แต่ใจเหมือนเปรต เหมือนผี”

    ทิวากำลังผ่าน ราตรีกำลังล่วงเข้า

    เหล่าสัตว์กลางคืนกำลังลืมตา เตรียมตนเพื่อออกหากิน

    แล้วท่านเดินชมถ้ำ ชมทิวผาแมกไม้เถาวัลย์ในเวลาย่ำค่ำไปเรื่อย ประคองกายและสติพิจารณาธรรมบางประการไปพร้อมๆ กับย่างเท้าก้าวเดิน

    ขณะที่เดินเพลินไปเรื่อยนั้น ไม่ทราบว่าได้หลงทาง หลงป่ามาไกลเพียงไร แหวกม่านป่าไปทางใด ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบมนุษย์สักคน

    ...พบแต่ทางช้าง ทางเสือ ทางสัตว์ร้าย...ทางแห่งอันตราย!

    สักพัก..เสียงร้องกระหึ่มของเจ้าป่าดังก้องกัมปนาท มันร้องเพียงครั้งสองครั้งก็เพียงพอที่จะให้ป่าสงบสงัดในทันที..เสียง..อันแสดงแสนยานุภาพแห่งพลังอำนาจ ทำให้สัตว์ที่ได้ยินขนพองสยองเกล้า ทำให้สัตว์จตุบททวิบาทระมัดระวังตนแจ แอบหลักลี้หนีหาย พรางกายเข้าที่ซ่อนเร้นโดยเร็ว

    ป่าสงบนิ่ง...ราวกับว่าไร้สิ่งมีชีวิต!

    แต่ท่านพ่อลีท่านยังคงเดินดุ่มๆ เหมือนเดิม โดยไม่แสดงอาการตื่นเกรงกลัวแม้แต่น้อย

    แม้เสียงเจ้าป่าจะสะเทือนก้องในที่ไม่ไกล ใจก็ไม่หวั่นไหว

    เมื่อท่านย่างผ่านไป เจ้าป่านั้นเองเป็นผู้หมอบคอยสงบ เพราะมันยำเกรงอย่างยิ่ง สัญชาตญาณทำให้มัน “รู้” ว่า ร่างนั้นคือ...ผู้ทรงอำนาจมากด้วยเมตตาคุณ...มีรัศมีรอบกาย

    ..หนึ่งวัน สองวัน สามวันผ่านไป มีแต่เดิน เดิน เดิน บุก บุก บุก ลุย ลุย ลุย!

    ปีนผาหิน มุดซอกถ้ำ คลานลอดขอนไม้ใหญ่ที่ล้มขวางทาง

    ข้าวไม่ได้กิน อาศัยน้ำพอประทังชีวิต สามวันนั้นท่านประจักษ์ใจว่า ป่านี้ช่างกว้างไพศาลเสียจริงๆ กี่สิบกี่ร้อยกิโลเมตรก็ไม่มีวี่แววว่าจะเจอบ้านคน หรือทางคนเดินเลย..และจะออกไปยังไง

    ท่านพ่อลีท่านว่า “..ความเหนื่อยล้า..เป็นอุปสรรคสำหรับคนเดินทางไกล

    ...แต่การเดินทางไกลหรือหลงทาง ย่อมดีกว่าเดินทางผิดหรือมีจิตตั้งไว้ผิด

    ...เพราะการคบหากับคนที่ไม่ดี

    คนที่พอจะดีได้กลับกลายเป็นคนชั่วไปเสียนี่

    เปรียบเหมือนทางที่รกรุงรังเต็มไปด้วยขยะมูลฝอย

    แม้จะเป็นทางตรง จะถือว่าเป็นทางที่ดีก็ไม่ได้

    ...ส่วนผู้ที่คบหากับกัลยาณมิตรมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมดียิ่งขึ้นๆ

    เหมือนทางป่าที่รกรุงรังด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาไม่ร้อน

    แม้จะเป็นทางอ้อม ก็ถือว่าเป็นทางที่ดีได้”

    ด้วยความเหนื่อยล้าอ่อนแรง..หมดสรรพกำลัง..มีเพียงลมหายใจที่แผ่วเบา ท่ามกลางสรรพสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ตายหรืออยู่ก็มีบุญกรรมเป็นเพื่อนผอง!

    ท่านหยุดพักปูผ้ายางพลาสติกผืนน้อยกันชื้น นั่งพักใต้ร่มไม้ใหญ่ใบดกหนา ผูกเชือกรัดต้นไม้ กางกลดกำหนดสตินอนแล้วหลับไป

    แต่ทางที่ท่านกลางกลดนอนพักนั้น ท่านหาทราบไม่ว่าเป็นทางสัตว์ใหญ่ผ่านไปมา

    ท่านนอนสบายจนถึงรุ่งเช้าอีกวัน ร่างกายสดชื่นเมื่อได้พักผ่อน มองทอดเทือกเขาอันติดกันเป็นพืด สูงๆ ต่ำๆ งามวิจิตรด้วยแสงแรกแห่งตะวัน สาดส่องเป็นลำผ่านช่องแมกไม้เป็นแฉกสีรุ้ง วิหคบินออกจากรังเป็นสาย เสียงเซ็งแซ่เป็นสัญญาณบอกว่าทิวากาลเริ่มแล้ว

    เมื่อท่านตื่นนอนกำหนดสติดังราชสีห์...เห็นว่าทิศที่หันหัวลงนอนไม่ได้เป็นเช่นนี้ ก่อความสงสัยให้เกิดคำถามขึ้นอย่างมาก ท่านเคลื่อนร่างกายออกจากกลดมายืนพิจารณาดูบริเวณโดยรอบ กลดก็ถูกย้ายที่ ที่นอนก็ถูกย้ายที่ แล้วใครมาย้ายที่นอนให้เรา” ท่านยืนคิดอย่างฉงน

    “แล้วเราพักอยู่ตรงนั้น พลันมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร?” ท่านถามตัวเอง

    “ผี มนุษย์ อสุรกาย นาคา ครุฑ เทวดา หรือพระพรหมที่ไหนอาจสามารถทำเช่นนั้นได้ หรือว่าเราเป็นคนบ้าเป็นคนหลงสติไปเสียแล้วนี่ จึงนอนกลับหัวกลับทิศ จึงจำทิศทางที่ตัวเองนอนไม่ได้ อย่างนี้ต้องพิสูจน์กันหน่อย...เรานี้มีครูดีสั่งสอนมามิใช่ย่อย...จะมามัวนั่งละห้อยคิดให้เสียการณ์นานถ้าไปใย” ท่านบ่นพึมพำในใจ

    แล้วจึงตัดสินใจเขาสมาธิดูภาพย้อนหลัง ฟังๆ ดูเหมือนในหนังละครทีวีรีเพลย์เทปกลับมาดูได้ใหม่ มาถึงตอนนี้ผู้เขียนอดใจไม่ไหว จึงรีบแทรกถามหลวงปู่ลี วัดป่าภูผาแดง ขึ้นทันทีว่า “เหตุการณ์มันผ่านมาแล้วย้อนกลับไปดูได้อีกหรือปู่”

    ทานตอบเป็นภาษาอีสานพร้อมด้วยรอยยิ้ม อันแสนจะน่ารักว่า “เป็นหยังสิบ่ได๋...ทำไมจะไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านระลึกชาติย้อนหลังได้เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นแสนชาติ นี่เพิ่งผ่านมาคืนเดียวทำไมจะระลึกย้อนดูอดีตนั้นไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ท่านจะมาสอนสัตว์โลกที่โง่งมงายได้หรือ ถ้าท่านไม่แน่จริง” ท่านตอบอย่างฉะฉานอาจหาญ ทำให้เราหมอบทั้งกายใจและแววตา

    “แล้วจากนั้นท่านพ่อลี ท่านทำยังไงครับ” ผู้เขียนเรียนถามหลวงปู่ลี

    “ท่านก็เข้าสมาธิภาวนาน่ะสิ” ท่านตอบแล้วก็เมตตาเล่าต่อจนพระเณรที่ฟังกันอยู่อ้าปากค้าง! บางองค์ป่านนี้ยังไม่ได้งับปากเลย เสร็จจากเขียนหนังสือเล่มนี้จะไปนิมนต์ให้ท่านงับปากซะ เดี๋ยวลมเข้าท้องแตกตายก่อน เพราะความเพลินที่ได้ฟังสิ่งที่ดีๆ ที่ท่านเล่า

    ก็พระอริยเจ้าเป็นผู้เล่าให้เราฟัง เราควรจะภูมิใจกระหยิ่มสักเพียงไร เพียงเห็นท่านก็เป็นทัสนานุตตริยะแล้ว

    แต่นี่ได้นั่งสนทนาใกล้ๆ จะประเสริฐเพิ่มขึ้นอีกเพียงไร

    แล้วท่านหลวงปู่ลีก็เล่าเป็นภาษาอีสานด้วยความนิ่มนวล (แต่แปลเป็นภาษากลาง) ต่อไปว่า “ท่านพ่อลีประคองร่างอันผอมบาง ขัดสมาธิ เมื่อภาวนาท่านได้เกิดความรู้ในญาณขึ้น มองทะลุภาพในอดีตได้ว่า...

    “..เห็นร่างท่านเองนอนหลับสนิทในกลดน้อยใต้ร่มไม้ใหญ่

    ทันใดนั้นเองมีสัตว์ใหญ่ เงาสีเทาร่างดำทึบเยื้องย่างผ่านเข้ามาเหมือนภูเขาลูกน้อยๆ เคลื่อนที่ได้ สักพักปรากฏรูปให้เห็นซัด...นั่นคือช้างใหญ่

    ท่านได้นอนขวางทางช้างโขลงใหญ่

    ตัวจ่าฝูงเดินนำมาก่อน เมื่อมาเห็นร่างท่านที่นอนสงบนิ่งอยู่ในกลดผ้าบางๆ มันหลีกเลี่ยง เดินเหยาะย่างรอบๆ ห่างๆ มันเห็นรัศมีในกายระยับ เหมือนกายทิพย์ที่เทวดาเฝ้าคุ้มครอง มันตาตก หมอบลงเฝ้ามองอย่างพิศวง!

    มันรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า ร่างนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม มันมิบังควรรบกวน หรือให้สัตว์อื่นรบกวน แต่ทางนั้นเป็นทางช้างผ่าน มันต้องย้ายร่างท่านไปไว้ที่อื่นก่อน

    ด้วยบุญกรรมในบุพเพชาติที่มีต่อกัน ภาษา “ใจ” ที่สื่อสาร ทำให้มันเกิดความรักและเคารพต่อท่านในทันที

    มันจึงปฏิบัติต่อท่านด้วยความละมุนละไม ค่อยๆ เอางวงที่ใหญ่ยาว มีเรี่ยวแรงมหาศาล อุ้มท่านที่หลับสนิทย้ายไปอีกฟากหนึ่ง ในที่ไม่ไกลกันนัก เหมือนย้ายปุยนุ่น

    มันค่อยๆ เอางวงจับที่นอนมาปูและบริขารอื่น เอาท่านมาวาง เอาเชือกมาผูก แล้วจึงย้ายกลดมาห้อย ดึงผ้ากลดปิดลงให้เรียบร้อย มันทำอย่างแนบเนียนและมีสติ เหมือนกับมนุษย์ผู้ฉลาดทำ เสร็จแล้วยืนขวางกั้นอยู่

    เมื่อมันจัดที่นอนถวายท่านเสร็จ ฝูงช้างนับร้อยก็กรูเข้ามารอบทิศ แต่ผ่านตรงที่ท่านพ่อลีนอนไม่ได้ ช้างใหญ่นั้นได้ยืนเอาตัวขวางอยู่ ไม่ให้ช้างตัวใดมากล้ำกรายล่วงเกินได้

    เมื่อตัวไหนเข้ามาใกล้จะรบกวน มันก็ขู่และเอาตัวมันเบียดให้หนี เมื่อฝูงช้างไปหมด มันเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว ตัวมันจึงตามไปทีหลัง”

    “อัศจรรย์จริงๆ นะปู่” ผู้เขียนกราบเรียนหลวงปู่ลี กุสลธโร

    “วิมุตติพระนิพพาน อัศจรรย์ยิ่งกว่านี้อีกนะท่าน” หลวงปู่กล่าวถึงบรมธรรม

    “อัศจรรย์! จนไปเล่าให้ใครฟังไม่ได้ เพราะเขาไม่เชื่อ เดี๋ยวเขาหาว่า “บ้า” ท่านย้ำอย่างน่าคิด

    ท่านเล่าต่อท่ามกลางสายฝนพรำ ฟ้าร้องโครมครามว่า

    “..ช้างตัวนั้นมันก็มีธรรมเหมือนกันนะ...มันมาช่วยชีวิตและท่านพ่อลีก็ได้อาศัยเดินตามทางช้างนั้นออกมาจากป่าได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่ลีเล่าพร้อมยกแก้วน้ำขึ้นฉันอย่างอริยมุนีที่มีสติรอบกาย

    แล้วเล่าต่ออีกเหมือนเพิ่มรสเด็ดให้อาหารจานโปรดในทางธรรมว่า “มนุษย์หรือสัตว์ก็มีจิตอันเดียว ผู้ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันไม่มีในโลก บางทีเขาเคยเกิดเป็นมนุษย์ เคยบวช เคยเป็นเพื่อน จิตอันเดียวกันนี่แหละแต่เสวยวิบากกรรมต่างกัน ทำให้ชาตินี้เขาเกิดมาเป็นช้าง แต่ก่อนเขาคงมีอะไรเกี่ยวข้องกับท่านพ่อลี คงเป็นศิษย์อาจารย์กันมา อย่าว่าแต่ช้างเลยท่าน พวกเรานี้เกิดตายเป็นสัตว์มาสักเท่าไหร่ มีใครรู้เห็นได้บ้าง

    พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้มีศีลธรรม ให้รักษามนุษย์สมบัติเอาไว้ ไม่อย่างนั้นจะตายไปเกิดเหมือนสัตว์ทั้งหลาย

    “ให้สังเกตง่ายๆ นะ” ท่านกล่าวย้ำอย่างน่าสนใจให้นำไปคิดถึงตัวเอง

    “...จิตใจวุ่นวายจะตายไปเกิดเป็นสัตว์ทันที” ท่านพูดจบแล้วยิ้มน้อยๆ แต่พองาม

    วันนั้น ผู้เขียนได้ถามถึงประวัติท่านด้วย แม้ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อันเป็นฤดูปลายฝนต้นหนาว ท่านก็ยังเมตตาสนทนาเป็นเวลานานถึง ๓ ชั่วโมงกว่า

    นี่แหละ ท่านทั้งหลาย! โบราณท่านจึงว่า

    คนดี ผีคุ้ม!

    พระดีมีเทวดาคอยคุ้มครองรักษา!

    คนมีบุญ ไม่จนตรอกจนมุม!

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านทำให้เราเห็นประจักษ์ในแง่มุมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา โลกนี้โลกหน้า บุญทำกรรมแต่ง ท่านผู้วิเศษศิษย์พระตถาคตเจ้ายังมีอยู่จริง และคติสอนใจอื่นๆ อีกมาก นัยว่าเป็นบุญวาสนาแห่งจักษุและโสตประสาทที่เราได้รับรู้เรื่องของท่าน ถึงกายตายแต่ความดีท่านยังคงอยู่ ความดีนี่เองเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    [​IMG]
    พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร วัดป่าภูผาสูง จ.นครราชสีมา

    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.dharma-gateway.com
    http://www.dhammajak.net
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รู้วันตาย..ทำไมต้องตาย (พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร)

    [​IMG]
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม


    รู้วันตาย..ทำไมต้องตาย

    จากหนังสือธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    โดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร
    วัดป่าภูผาสูง ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

    คนทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในโลก ส่วนมากล้วนตายไปกับความมืดบอด ตอนยังมีชีวิตก็หลงมัวเมาสนุกสนานเพลิดเพลินในการอยู่การกิน หัวเราะร้องไห้กันไป ตามแต่จะประสบสุขทุกข์ รักและชัง ปล่อยตัวปล่อยใจให้ชีวิตเดินไปตามยถากรรม โดยไม่สนใจที่จะคิดสร้างกรรมดีขึ้นด้วยจิตใจและเรี่ยวแรงตามกำลังสติปัญญาที่มี ปล่อยให้วันคืนล่วงไปเหมือนสัตว์ตัวหนึ่ง ที่เขาเลี้ยงอย่างอ้วนพี แล้วก็นำไปสู่โรงฆ่า..ช่างน่าเวทนาเสียจริงๆ!

    แล้วก็สรุปเอาเองว่า “เป็นเพราะโชคชะตา เป็นเพราะพรหมลิขิต”

    ที่จริงเป็นเพราะการกระทำของตนนั้นเอง!

    โคที่ถูกเขานำไปสู่โรงฆ่าไม่ใช่เป็นเพราะความที่เกิดมาเป็นโค แต่เป็นเพราะจิตดวงนี้ไม่ได้สร้างคุณงามดีไว้ในชาติปางก่อน เมื่อความดีน้อย จึงมาเกิดเป็นโค เป็นหมู หรือเป็นสัตว์อื่นๆ ในภพภูมิอื่นๆ ที่ตกต่ำ ถ้าความดีมากก็เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ความดีมากสุดได้ถึงวิมุตติพระนิพพานเป็นพระอรหันต์ในชาติปัจจุบัน

    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายจึงเวียนว่ายในห้วงน้ำคือการเทียวเกิดเทียวตายไม่มีที่สิ้นสุด

    ..เหมือนดวงอาทิตย์ ใครจะอ้อนวอนขอร้องให้คงอยู่กับที่ ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ..เหมือนคนคร่ำครวญร้องไห้อ้อนวอนพระอาทิตย์ว่าอย่าอัสดงเลย..ผู้ร่ำไห้จักต้องมีน้ำตาเจิ่งนองเป็นสายเลือดและตายไปเปล่าๆ

    ..ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครหยุดยั้งการตายได้

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเท่านั้นที่สามารถหยุดการเกิดตายได้

    ความตายสำหรับท่านเป็นทางแห่งแสงสว่าง เพราะท่านตายอย่างสมประสงค์ไปสู่แดนอันเกษมคือพระนิพพาน

    นอกจากนี้ท่านยังสามารถรู้วันเกิดตาย เนื่องในอดีตชาติของท่านเองและคนอื่น

    ความตายกับท่านเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและซับซ้อนเลย

    แต่สำหรับปุถุชนคนหนาปัญญาหยาบแล้ว ชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตที่ลี้ลับ ยากที่ใครๆ จะสามารถไขปริศนาในมุมมืดนี้ได้ พอพูดถึงความตายต้องบอกให้หยุด! หยุด! อย่าได้พูดไม่อยากฟัง ฟังแล้วมันไม่สบายใจ ไม่เป็นมงคลเอาเสียเลย

    [​IMG]
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เขียนใส่สมุดบันทึกว่า “๗๘ ปี อายุจะต้องสิ้นสุด”

    [​IMG]
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก บอกวันตายล่วงหน้าได้ถึง ๒ ปี


    รูปภาพ
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม


    รู้วันตาย..ทำไมต้องตาย

    จากหนังสือธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    โดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร
    วัดป่าภูผาสูง ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

    คนทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในโลก ส่วนมากล้วนตายไปกับความมืดบอด ตอนยังมีชีวิตก็หลงมัวเมาสนุกสนานเพลิดเพลินในการอยู่การกิน หัวเราะร้องไห้กันไป ตามแต่จะประสบสุขทุกข์ รักและชัง ปล่อยตัวปล่อยใจให้ชีวิตเดินไปตามยถากรรม โดยไม่สนใจที่จะคิดสร้างกรรมดีขึ้นด้วยจิตใจและเรี่ยวแรงตามกำลังสติปัญญาที่มี ปล่อยให้วันคืนล่วงไปเหมือนสัตว์ตัวหนึ่ง ที่เขาเลี้ยงอย่างอ้วนพี แล้วก็นำไปสู่โรงฆ่า..ช่างน่าเวทนาเสียจริงๆ!

    แล้วก็สรุปเอาเองว่า “เป็นเพราะโชคชะตา เป็นเพราะพรหมลิขิต”

    ที่จริงเป็นเพราะการกระทำของตนนั้นเอง!

    โคที่ถูกเขานำไปสู่โรงฆ่าไม่ใช่เป็นเพราะความที่เกิดมาเป็นโค แต่เป็นเพราะจิตดวงนี้ไม่ได้สร้างคุณงามดีไว้ในชาติปางก่อน เมื่อความดีน้อย จึงมาเกิดเป็นโค เป็นหมู หรือเป็นสัตว์อื่นๆ ในภพภูมิอื่นๆ ที่ตกต่ำ ถ้าความดีมากก็เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ความดีมากสุดได้ถึงวิมุตติพระนิพพานเป็นพระอรหันต์ในชาติปัจจุบัน

    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายจึงเวียนว่ายในห้วงน้ำคือการเทียวเกิดเทียวตายไม่มีที่สิ้นสุด

    ..เหมือนดวงอาทิตย์ ใครจะอ้อนวอนขอร้องให้คงอยู่กับที่ ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ..เหมือนคนคร่ำครวญร้องไห้อ้อนวอนพระอาทิตย์ว่าอย่าอัสดงเลย..ผู้ร่ำไห้จักต้องมีน้ำตาเจิ่งนองเป็นสายเลือดและตายไปเปล่าๆ

    ..ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครหยุดยั้งการตายได้

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเท่านั้นที่สามารถหยุดการเกิดตายได้

    ความตายสำหรับท่านเป็นทางแห่งแสงสว่าง เพราะท่านตายอย่างสมประสงค์ไปสู่แดนอันเกษมคือพระนิพพาน

    นอกจากนี้ท่านยังสามารถรู้วันเกิดตาย เนื่องในอดีตชาติของท่านเองและคนอื่น

    ความตายกับท่านเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและซับซ้อนเลย

    แต่สำหรับปุถุชนคนหนาปัญญาหยาบแล้ว ชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตที่ลี้ลับ ยากที่ใครๆ จะสามารถไขปริศนาในมุมมืดนี้ได้ พอพูดถึงความตายต้องบอกให้หยุด! หยุด! อย่าได้พูดไม่อยากฟัง ฟังแล้วมันไม่สบายใจ ไม่เป็นมงคลเอาเสียเลย

    รูปภาพ
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เขียนใส่สมุดบันทึกว่า “๗๘ ปี อายุจะต้องสิ้นสุด”

    รูปภาพ
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก บอกวันตายล่วงหน้าได้ถึง ๒ ปี


    พระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่พระองค์ตรัสรู้มา ก็ทรงทราบแล้วว่าจะปรินิพพานในวันไหน แต่พระองค์เลือกที่จะบอกก่อนตาย ๓ เดือนแก่พระอานนท์วา “อานนท์อีก ๓ เดือนเราตถาคตจักปรินิพพาน”

    แม้พระอรหันต์รูปอื่นๆ ท่านก็สามารถรู้วันตายล่วงหน้าได้เช่นกัน

    สมัยปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ก็ได้บอกล่วงหน้าแก่ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ว่า “อายุ ๘๐ ปี จะนิพพาน”

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เขียนใส่สมุดบันทึกว่า “๗๘ ปี อายุจะต้องสิ้นสุด”

    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก บอกวันตายล่วงหน้าได้ถึง ๒ ปี

    แม้ ท่านพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ก่อนจะรับนิมนต์แล้วประสบอุปัทวเหตุเครื่องบินตกมรณภาพที่ทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี นี้ก็ได้บอกเป็นนัยแก่สานุศิษย์ว่า “การเดินทางไปคราวนี้จะมิได้กลับมา”

    [​IMG]
    พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม

    [​IMG]
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    [​IMG]
    พระอาจารย์วัน อุตฺตโม

    [​IMG]
    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    สำหรับ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร มีบทสนทนาเป็นเรื่องราวการบอกวันเวลาตายล่วงหน้าเป็นอย่างดี ผู้เขียนขอนำมาเล่าย่อๆ พอให้เข้าใจเลาๆ

    ...กลางคืนวันหนึ่ง หลังงานฉลองกึ่งพุทธกาลจบลง ณ กุฎีปุณณสถาน ที่วัดอโศการาม ท่านพ่อลียังร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า ท่านได้ปรารภกับ พระอาจารย์แดง ธมฺมรกฺขิโต ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ เรื่องอายุขัยคือการสิ้นสุดแห่งชีวิตว่า “ท่านแดง อายุ ๕๕ ปี ผมต้องตาย ชีวิตถึงคราวสิ้นสุด ให้ท่านอยู่ช่วยดูแลหมู่คณะที่วัดอโศฯ เมื่อผมตายไปแล้ว ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งพาอาศัยของหมู่เพื่อน”

    การกล่าวในครั้งนี้ ท่านกล่าวก่อนมรณภาพเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านพ่อลีได้ไปนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า ธนบุรี ท่านเรียกพระอาจารย์แดงมาหาแล้วกล่าวย้ำว่า

    “เราอายุ ๕๕ จะลาตายแล้ว”

    “ตายยังไงครับ ท่านพ่อ”

    “ก็ตายขาดลมหายใจ นะสิถามได้ ก็เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือ”

    “ผมลืมไปแล้ว แต่เมื่อท่านพ่อทักขึ้นผมก็จำได้ ทำไมท่านพ่อจะต้องตายด้วย ไม่ตายไม่ได้หรือ?”

    “เราได้รับนิมนต์เขาแล้ว เสียดายที่จะอยู่ต่อไปอีกไม่ได้นาน เกิดมาได้มีโอกาสช่วยพระศาสนาน้อยเหลือเกิน คิดแล้วก็ยังไม่อยากตายเลย เพราะเห็นแก่ประโยชน์คนอื่น ส่วนเราเองไม่สู้มีปัญหาในการเกิดการตาย”

    “รับนิมนต์ใคร”

    “รับนิมนต์เทวดา เขาอาราธนา”

    “เขาอาราธนาไปทำไม”

    “เขาอาราธนาไปสอนมนต์ให้”

    “ไปสอนมนต์อะไรครับ ช่วยสอนให้ผมด้วย”

    “มนต์ก็ไม่มีอะไรมาก พรหมวิหาร ๔ ของเรานี้แหละ แต่คนอื่นสอนมันไม่ขลัง ต้องให้เราสอนมันถึงขลัง เขาบอกอย่างนี้”

    “ผมขออาราธนาท่านพ่อไว้ อย่าเพิ่งตายเลย”

    “เราได้ตกลงรับอาราธนาเขาแล้ว อยู่ไมได้”

    “ท่านพ่อครับ ไม่มีวิธีอื่นบ้างเลยหรือ ที่จะสามารถต่ออายุไปได้อีก”


    [​IMG]
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เขียนใส่สมุดบันทึกว่า “๗๘ ปี อายุจะต้องสิ้นสุด”

    [​IMG]
    สรีระร่างท่านพ่อลี ธมฺมธโร ที่มรณภาพอย่างสงบ
    เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๔ สิริรวมอายุได้ ๕๕ ปี พรรษา ๓๓

    ท่านพ่อลีเล่าถึงรอยต่อแห่งชีวิตอันมีความเป็นความตายเป็นเครื่องเดิมพันว่า..

    “วิธีนั้นมีแต่เรื่องมันผ่านเป็นอดีตไปแล้ว เราจะหวนกลับมาเป็นอย่างเดิมไม่ได้ หลักธรรมหลักความจริงท่านใช้ปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสิน

    พวกเธอจำได้ไหม? ในสมัยประชุมคณะกรรมการจะสร้างเจดีย์ และโบสถ์ เราปรารภให้สร้างพระเจดีย์เสียก่อน แต่ไม่มีลูกศิษย์คนใดกล้ารับงานนี้

    บางคนเขาคิดเอาเองว่า ถ้าสร้างเสร็จแล้วเราจะหนีเข้าป่าบ้าง ตายบ้าง (เพราะท่านไม่ได้บอกพวกเขาถึงเหตุว่าการสร้างพระเจดีย์จะต่ออายุท่านได้)

    กรรมการที่ประชุมมีความเห็นว่า สร้างโบสถ์ก่อน ก็เป็นอันตกลง ซึ่งเขาไม่รู้จักจุดลึกในชีวิตของเรา การที่จะมาแก้ในสิ่งที่ล่วงเลยมา มันก็สายเสียแล้วแล้ว”

    ท่านพ่อลีกล่าวย้ำว่า “..ก็พวกเธอเกาไม่ตรงที่คัน ต่อให้มีโบสถ์ตั้ง ๒๐ หลัง ก็ไม่เท่ากับสร้างพระเจดีย์เพียงหนึ่งองค์..ท่านเอ๊ย!”

    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมดหวังในชีวิตของท่านพ่ออีกต่อไป

    พระอาจารย์แดงจึงเรียนท่านว่า “เมื่อตายไปแล้ว ก็ขอให้ท่านพ่อมาช่วยเหลือวัดอโศการาม”

    ท่านพ่อลีก็หัวเราะ ฮึๆ ตอบวา “เราก็เป็นห่วงเหมือนกันคิดว่าจะคายอะไรไว้ให้เขากินกัน แต่ชีวิตก็จวนเสียแล้ว ก็ให้พวกยังอยู่หากินกันไป ถ้าไม่มีปัญญาก็ช่างมัน”

    และได้เรียนถามท่านอีกว่า “ท่านพ่อมีคาถาอะไรดีๆ ก็สอนให้ผมด้วย”

    ท่านพ่อลีตอบว่า “คาถานั้นมีอยู่ แต่สู้ใจเราไม่ได้ ให้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรให้สำเร็จคุณธรรม เมื่อเราทำความเพียรอย่างสูงสุด เสียสละชีวิตแล้ว จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีของแต่ละคน”
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รู้วันตาย..ทำไมต้องตาย (ต่อ) (พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร)

    [​IMG]
    พระธุตังคเจดีย์ ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน

    นี้เป็นเพียงบทสนทนาสั้นๆ (ฉบับเต็มจะตีพิมพ์ในหนังสืองานฉลองพระธุตังคเจดีย์) แต่เต็มไปด้วยความหมายแห่งผู้ปฏิบัติธรรมได้เต็มขั้นเต็มภูมิ

    ชีวิตพระอริยเจ้าจึงเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบจริงๆ

    ท่านไมได้นอนรอความตาย

    ท่านทราบเรื่องความตาย

    ตายแล้วไปไหน หลังจากตายจะไปทำอะไร

    ได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

    และคำว่า “พระนิพพาน” เป็นอย่างไร สุขสบายดีไหม ท่านรู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ต้องคิดหาคำตอบมาถกเถียงให้เมื่อยกราม

    เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประสบพบเห็นเองอยู่

    ท่านมีชีวิตอยู่ก็เป็น “สอุปาทิเสสนิพพาน”

    ตายไปก็เป็น “อนุปาทิเสสนิพพาน”

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “พระนิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล แต่เป็นของรู้ได้เฉพาะตน”

    “...ผู้บรรลุพระนิพพาน...จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก...เพราะมองเห็นที่หมายข้างหน้าแล้ว

    ...ความตายเรา (ตถาคต) ก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งร่างกายนี้ อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีสติมั่น...เรารอท่าเวลาตายเหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง...(เสร็จกิจพรหมจรรย์ รอตายไปอนุปาทิเสสนิพพาน)

    ในเรื่องบางอย่างพวกเราผู้เป็นปุถุชนไม่รู้ แต่จะไปอวดเก่งกว่าท่านผู้รู้จริงไม่ได้ อย่างเรื่องท่านพ่อลี ถ้าบรรดาศิษย์เชื่อฟังท่านเสียหน่อย ท่านก็ยังจะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านี้ ไม่ต้องมาเสียใจทีหลังอย่างนี้

    ในเรื่องแบบนี้มีหลักฐานยืนยันได้ ในสมัยพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าจะทรงปลงพระชนมายุสังขาร...แล้วปรินิพพาน ถ้าเพียงพระอานนท์อาราธนานิมนต์ให้พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่โปรดเวไนยสัตว์ต่อไป พระพุทธองค์จะทรงห้ามเสียสองครั้ง ครั้งที่สามพระองค์จะทรงรับอาราธนานิมนต์..และทรงอยู่ต่อไปได้อีกถึง ๑๒๐ ปี เพราะทรงบำเพ็ญอิทธิบาทภาวนามาเป็นอย่างดี

    [​IMG]
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ผู้ดำริในการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ณ วัดอโศการาม

    ในสมัยปัจจุบัน ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ในปี ๒๕๔๐ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านป่วยหนัก ผลที่หมอตรวจที่วัดป่าบ้านตาด ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น ที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ

    เป็นที่แน่นอนว่าท่านป่วยเป็น “โรคมะเร็งลำไส้” ขั้นสุดท้าย

    หมอบอกว่า ท่านจะต้องตายก่อนเข้าพรรษาปีนั้นอย่างแน่นอน

    ท่านได้นิมิตภาวนาในเรื่องนี้ก่อนแล้ว

    แล้วต่อมาในปีเดียวกัน มีคนนิมนต์ให้ท่านอยู่ช่วยชาติบ้านเมือง

    ท่านจึงประกาศตั้งโครงการช่วยชาติ..

    โรคได้หายเป็นปลิดทิ้งเพราะอานิสงส์นั้นเท่าทุกวันนี้

    แล้วท่านได้ยาดีอะไรมารักษา?

    ก็ตอบได้ว่า เป็นยาวิเศษที่เทวดานำมาถวายโดยบันดาลผ่านทางมนุษย์เป็นผู้ประกอบ

    ยาเทวดาเป็นยาแบบไหนหนอ

    ผู้เขียนขอไขปริศนาที่หลวงตาได้เล่าเฉพาะที่โรงน้ำร้อนวัดปาบ้านตาด ต้นปี ๒๕๕o นี้เอง

    คือตามปกติท่านจะไม่เล่าเรื่องลึกลับลี้เร้นเหล่านี้ เพราะท่านว่าเป็นปัจจัตตัง รู้เห็นเฉพาะตน การนำออกมาเผยแผ่บางคนอาจไม่เข้าใจ เกิดการตำหนิลบหลู่เป็นการก่อกรรมแก่เขาได้

    ท่านเล่าว่า คราวหนึ่งท่านอยู่ในป่าลึกเพียงรูปเดียว เร่งความเพียรภาวนาอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง เรี่ยวแรงหดหาย เหลือแต่ใจอันดวงเด่น มีพลังมหาศาลข้างใน หมุนไปด้วยธรรมจักรตลอดวันคืน แต่พลังกายเหนื่อยล้าเต็มที

    ขณะที่ท่านเดินจงกรมพิจารณาธรรมบางประการในยามค่ำคืน เทพธิดาตนหนึ่งได้ปรากฏกายเข้ามานั่งกราบไหว้ข้างบริเวณทางจงกรม เฝ้ารักษาอยู่โดยตลอดด้วยความเป็นห่วงเป็นใย

    แล้วนางเทพธิดาจึงกราบเรียนท่านว่า

    “...เขาเคยเป็นแม่ของท่านในอดีตชาติ เกี่ยวข้องกันมานาน

    บัดนี้ได้มาเจอกัน ดีใจเป็นอย่างยิ่ง เห็นท่านซูบผอมซีดเซียวก็อยากมาช่วยเหลือด้วยการถวายอาหารทิพย์ อันจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าสดชื่นขึ้น ขอให้ท่านเห็นแก่ความสัมพันธ์เก่าในอดีตชาติที่เคยเป็นแม่เป็นลูก โปรดเมตตารับอาหารทิพย์เถิด”

    หลวงตาท่านตอบว่า “...เวลานี้เป็นเวลาวิกาลโภชน์ (เลยเที่ยง) รับภัตตาหารไม่ได้”

    “อาหารนี้ไม่มีสี ไม่มีรส เป็นอาหารวิเศษไม่ต้องกินด้วยปาก เพียงไล้ไปตามร่างกาย การไล้นั้นก็ไม่ต้องถูกเนื้อต้องตัว..ก็ถือว่าได้ดื่มด่ำรสของทิพย์แล้ว” นางเทพธิดากล่าวสาธยาย

    “แม้ถึงกระนั้นก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเจตนานั้นแหละเป็นตัวกรรมคือการกระทำ....

    แม้เป็นอาหารทิพย์ก็ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถึงไม่มีใครเห็นเราก็รู้อยู่แก่ใจ ใจนี่แหละเป็นตัวพาสร้างเวรสร้างกรรม มิใช่อวัยวะอื่นใด”

    เมื่อหลวงตาท่านพูดจบ ก็ก้าวเดินจงกรมต่อไป ท่ามกลางความเงียบในไพรสณฑ์ นางเทพธิดาก็นั่งเฝ้าอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมเคลื่อนร่างที่เบาเหมือนปุยนุ่นไปไหน เพ่งมองท่านด้วยความห่วงใยและภูมิใจที่มีพระลูกชายเป็นพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อความพ้นทุกข์

    แล้วนางจึงกราบเรียนท่านว่า “พรุ่งนี้เช้าจะนำอาหารทิพย์มาถวายใหม่”

    พอรุ่งเช้านางเทพธิดาได้มานั่งรออยู่หน้ากุฏิหลังน้อยมุงด้วยหญ้า กิริยาแช่มช้อยงดงาม หาสตรีใดในโลกเหมือนหรือเพียงเทียบเทียมมิมีได้

    สตรีที่เขาว่าสวยที่สุดในโลกเป็นนางงามจักรวาลเมื่อเทียบกับนางเทพธิดาแล้วก็เหมือนลิงโก๊กตัวหนึ่งเท่านั้น

    น่าขำจริงๆ โลกมนุษย์เอย..

    เมื่อพระหลวงตาเห็นดังนั้นจึงถามนางว่า...การที่เธอมานั่งอยู่หน้ากุฏิเราตั้งแต่เช้าเช่นนี้ ใครมาเห็นเข้า เดี๋ยวจะเข้าใจผิดเอาได้ ว่าพระอยู่กับผู้หญิงสองต่อสอง ข้อครหาต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้ นางตอบว่า

    “ท่านไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนั้น ไม่มีใครสามารถเห็นฉันได้..นอกจากท่านเท่านั้น นี่เป็นเทพเนรมิตเพื่อมาถวายอาหารทิพย์แก่ท่านได้ง่ายขึ้นเท่านั้น”

    “ถวาย ก็ถวายมาสิ” หลวงตาตวาดนางเทพธิดาหน่อยๆ

    นางจึงบอกให้ท่านนั่งนิ่งๆ ครู่หนึ่ง การถวายอาหารทิพย์ก็เป็นอันเริ่มขึ้นและจบลง

    ร่างกายของท่านกระปรี้กระเปร่าอย่างเห็นได้ชัด

    เหมือนปลาขาดน้ำแล้วพลันได้น้ำ

    เหมือนคนหิวกระหายมานานวัน พลันมาเจอบ่อน้ำอันใสสะอาด

    ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณที่ซีดเซียวกลับผุดผ่อง หายเมื่อย หายหิว

    ปฏิบัติภาวนาต่อไปได้อีกหลายวันโดยไม่ต้องมีอาหารตกท้อง..อยู่เย็นสบายคลายความทุกข์กังวล

    นี่คืออาหารเทวดา ยาเทวดาก็คงทำนองนี้เหมือนกัน

    เพราะนั่นเป็นของวิเศษ ที่มนุษย์ผู้ศีลน้อย ธรรมน้อยจะไม่มีวันได้พบพานเป็นอันขาด เว้นแต่ในนิทานหลอกเด็กเท่านั้น!!

    ท่านพ่อลีเองก็เคยรับอาหารบิณฑบาตจากเทวดาที่ดอยขะม้อ จังหวัดลำพูน ท่านผู้สนใจโปรดติดตามจากหนังสือเล่มใหญ่ในวาระฉลองพระธุตังคเจดีย์ ที่วัดอโศการาม ก็แล้วกัน

    นี่แหละท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเป็นที่อัศจรรย์อย่างหาที่สุดมิได้ ท่านเป็นผู้นำจิตวิญญาณและชีวิตจิตใจของเราผู้ศรัทธาทั้งหลาย

    เหมือนโคนำจ่าฝูงที่นำพวกเราผู้พยายามเพื่อธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์ ว่ายตัดกระแสน้ำคือกิเลสอันเชี่ยวกราก อันเป็นห้วงน้ำใหญ่มีอันตรายมาก ข้ามขึ้นถึงฝั่งอันราบเรียบเป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ เกษมสำราญไม่มีเวรภัย ถึงเมือง “อุดมบุรี” (อุดมธรรม) และ “นิพพานนคร” โดยปลอดภัยฯ

    [​IMG]
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-พระอาจารย์แดง ธมฺมรกฺขิโต


    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.dharma-gateway.com
    http://www.dhammajak.net
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เจดีย์เพชรน้ำหนึ่ง เจดีย์ใหญ่วัดอโศการาม “พระธุตังคเจดีย์”

    [​IMG]
    พระธุตังคเจดีย์ ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน


    เจดีย์เพชรน้ำหนึ่ง
    เจดีย์ใหญ่วัดอโศการาม “พระธุตังคเจดีย์”

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ
    เมื่อเช้าวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘

    เจดีย์ยกหัวใจโลก

    วัดอโศการามที่เป็นเจดีย์ใหญ่อยู่เวลานี้ เราก็ได้พาพี่น้องทั้งหลายร่วมกันศรัทธาบูชาพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เจดีย์ใหญ่วัดอโศการามไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ จะเข้ามาอยู่ที่นั่น นี่ละเราจึงได้บิณฑบาตบรรดาพี่น้องทั้งหลาย เอาช่วยกันหนุนเจดีย์หลังนี้ขึ้น แล้วหัวใจประชาชนก็จะเข้าสู่ที่นั่น ตักตวงเอาบุญเอากุศลออกมาๆ เป็นอุปนิสัยปัจจัย เพราะเจดีย์อันนี้เป็นเจดีย์ที่สำคัญมาตั้งแต่ท่านพ่อลีมา

    พอท่านล่วงลับไปแล้วก็เอาขึ้นมาใหม่ คราวนี้ยิ่งเพิ่มครูบาอาจารย์องค์สำคัญๆ เข้านั้นหมด เราจึงได้คอยกำกับดูแลอยู่ตลอดมา ด้วยความเทิดทูนครูบาอาจารย์ เจดีย์หลังนี้กำลัง มันเท่าไรล้านน้าเจดีย์หลังนี้ แต่ยังไงเราก็ได้พยายามเต็มกำลัง ถึงไหนถึงกันบอกงั้นเลย เอาเลยมีเท่าไรทุคตะเข็ญใจเรา แต่น้ำใจไม่เป็นทุคตะซิ ถึงเงินทองข้าวของนี้จะเป็นทุคตะหาได้มากได้น้อยตามกำลังก็ตาม แต่น้ำใจของเรามีหนุนเข้าไปนั่น เพื่อให้กุลบุตรสุดท้ายภายหลังได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจต่อไป แล้วมีหลักมีเกณฑ์

    อย่างพระธาตุพนมท่านก็ทำไว้เป็นหลักเกณฑ์ นั่นก็คือองค์ศาสดา อันนี้สาวกทั้งหลายว่างั้นเลย เจดีย์นี้เจดีย์ของสาวก นับแต่องค์ศาสดาลงมา พระบรมธาตุก็จะเข้านั้น แล้วบรรดาพระสาวกทั้งหลายซึ่งเป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ ให้เห็นสดๆ ร้อนๆ ในสมัยปัจจุบันนี้ก็จะเข้าที่นั่น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเอาใจใส่จริงๆ ด้วยความเทิดทูน เวลานี้ก็จวน ไปดูเมื่ออาทิตย์นี้หรือไงนะไปดู เข้าไปดูข้างใน ไปผิดทาง เราก็เซ่อซ่าๆ ไป ที่ไหนก็ไม่มีทางเข้าๆ พอถึงทางเข้าได้มันเข้ามันขึ้นนู่น เลยไม่ขึ้น กลับมา เอาวาระต่อไปในวันงานนั่นละ วันนั้นจะเข้าดูให้ละเอียดลออทุกอย่าง

    ทำอะไรด้วยความเอาใจใส่จริงๆ นะ เราเคารพครูบาอาจารย์มากทีเดียว ครูบาอาจารย์องค์นั้นๆ เลิศๆๆ ทั้งนั้นเข้าไปอยู่ที่นั่น (เจดีย์ทีแรก ๔๐ ล้าน และขยายเพิ่มเติมอีก ๓๐ ล้าน เป็น ๗๐ ล้านครับ) เท่าไรก็ตามเถอะ เงิน ๗๐ ล้านนี่น้ำใจใหญ่กว่าเงิน เงิน ๗๐ ล้านนี่ละจะหนุนจิตใจของประชาชนชาวพุทธทั้งหลาย ไม่มีสิ้นสุด ถ้าหากพูดแบบโลกก็เรียกว่าเก็บดอกตลอด มาตักตวงเอาผลประโยชน์ไปเรื่อยด้วยการกราบไหว้บูชา นับแต่บริจาคให้เป็นรากเป็นฐานเป็นเจดีย์ขึ้นมา จากนั้นก็กราบไหว้บูชา

    เจดีย์หลังนี้พูดให้ชัดเจนเสียเลยว่า ใจกลางก็คือเราเป็นผู้ควบคุมอยู่ลึกๆ นะ คอยแนะคอยบอก เรื่องเจดีย์ใหญ่ที่วัดอโศการาม เพราะเราเห็นเหตุเห็นผลมาละเอียดลออ มีแต่เพชรน้ำหนึ่งๆๆ ที่จะเข้า ตั้งแต่ศาสดา คือ พระบรมธาตุลงมา จากนั้นก็สาวก แล้วสาวกปัจจุบัน ให้เห็นต่อหน้าต่อตานี้ด้วย เป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ ที่ไหลเข้ามาให้เป็นหัวใจของประชาชนได้กราบไหว้บูชา และตักตวงเอาคุณงามความดีขึ้นสู่สุคติโลกสวรรค์นิพพาน ไม่สงสัย อันนี้ละจะยกหัวใจโลก

    เงินในกระเป๋าของเราก็ยกใส่พุงของเราบ้าง ยกใส่นั้นใส่นี้ พอยกใส่นี้ปั๊บนี่เป็นเรื่องใหญ่โตมากนะ ยกใส่นี่ปั๊บยกนี่ปุ๊บเลย นี่ละเราจึงสนใจมาก เพราะเห็นหลักเกณฑ์มาโดยลำดับ มีหลักมีฐานเจดีย์หลังนี้นะ มีตั้งแต่เพชรน้ำหนึ่งๆ เข้ามา มีองค์ศาสดาคือพระบรมธาตุอยู่จุดศูนย์กลาง และสาวกปัจจุบันนี้ละมาก เวลานี้จะเข้าสาวกสมัยปัจจุบัน คือเพชรน้ำหนึ่งเหมือนสาวกในครั้งพุทธกาล ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน นี่ละจะเข้านี้ จึงต้องได้อุตส่าห์พยายามมีมากมีน้อยเอาน้ำใจสำคัญมากนะ ยกใจให้ได้ ทีนี้จะให้พร

    [​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.luangta.com
    http://www.dhammajak.net
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโนฯ

    [​IMG]


    ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมเทศนาในสังเวคกถาว่า
    "อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺตีติฯ"
    มีใจความโดยย่อดังนี้

    ธรรมะ เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้บริสุทธิ์ได้อย่างหนึ่ง
    และอีกอย่างหนึ่งจะกล่าวก็คือ ธรรมะได้แก่ตัวของเรานี้เอง
    ร่างกายของเราทุกส่วนเป็นก้อนโลก
    โลก ก็คือ ตัวธรรม เป็นเรื่องของธรรมะ แต่ไม่ใช่ตัวธรรมะจริงๆ
    ตัวของธรรมะจริงๆ อยู่ที่จิตใจ

    ตั้งแต่สมเด็จฯ (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ) ท่านได้มรณภาพไปแล้วเป็นเวลา ๑๐ กว่าวันมานี้
    พวกเราทั้งหลายบรรดาที่เป็นสานุศิษย์ของท่านทั้งฝ่ายพระภิกษุ สามเณรและฆราวาส
    ต่างก็ได้มีความเศร้าสลดใจและระลึกถึงในพระคุณของท่าน
    จึงพร้อมกันได้แสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างเต็มอกเต็มใจในการประกอบกรณียกิจ
    และการบำเพ็ญบุญกุศลทุกๆอย่างเพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นการบูชาพระคุณท่าน
    สิ่งใดที่เป็นเกียรติ เราก็ทำถวาย สิ่งใดที่เป็นความดีเราก็เสียสละ
    ทั้งด้วยกำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด
    และกำลังทรัพย์ของตนอย่างเต็มความสามารถที่จะทำได้

    กำลังกาย กำลังวาจา และกำลังความคิด
    เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นจักต้องกล่าวก็พอจะเข้าใจกันได้ดี
    จะกล่าวถึงแต่ในเรื่อง "กำลังทรัพย์" ซึ่งควรทำความเข้าใจไว้บ้าง
    เพื่อจะได้ใช้ทรัพย์ของตนให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านคงมิได้มีความปรารถนาที่จะเรียกร้องในส่วน "โลกียทรัพย์"
    คือ วัตถุ สิ่งของ จากพวกเราเลย สิ่งที่ท่านประสงค์ก็คือ "อริยทรัพย์"
    ดังนั้น เราต้องทำ "โลกียทรัพย์" ของเราให้เป็น "อริยทรัพย์" เสียก่อน
    ซึ่งเรียกว่า "บุญกุศล" แล้วเราก็จะน้อมส่วนบุญกุศลอันนี้แหล่ะอุทิศส่งไปถึงท่านได้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    "โลกียทรัพย์" นั้น ไม่ใช่ของถาวรเพราะมันถูกไฟเผาอยู่ทุกวัน
    ทุกขณะ ทุกเวลา มีแต่จะิสิ้นจะหมดไป
    คนมีทรัพย์มากก็ถูกเผามาก คนมีทรัพย์น้อยก็ถูกเผาน้อย

    อัตภาพร่างกายของเรานี้ย่อมมีไฟเผาอยู่ทุกขณะ
    คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ไฟ ๔ กองนี้มัะนเผาเราอย่างพินาศทีเดียว
    คิดดู ตั้งแต่เราเกิดมาก็เริ่มเสียทรัพย์แล้ว
    ครั้นเติบโตขึ้น พอความแก่เข้ามาึงก็ต้องเป็นทุกข์ เดือดร้อนเสียทรัพย์อีก
    พอความเจ็บไข้มาถึงก็ยิ่งเป็นทุกข์หนักขึ้นและเสียทรัพย์อีก
    และพอความตายเข้ามาก็เสียทรัพย์อีก
    เมื่อชาติ ชรา พยาธิ มรณะ มันเผาเราขณะใด
    ก็ย่อมเผาไปถึงทรัพย์สมบัติของเราด้วยทุกครั้งไป

    ฉะนั้น จึงควรที่จะรีบฝังทรัพย์ของเราให้เป็น "อริยทรัพย์" เสีย
    เพื่อความปลอดภัยเหมือนกับเราฝากเงินไว้ในธนาคาร
    ทรัพย์นั้นก็จะเป็นของเราโดยแท้จริง ไม่สูญหายไปไหน
    การฝังทรัพย์นั้นก็ได้แก่การทำบุญกุศล
    มีการบริจาคทานวัตถุ สิ่งของ บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
    นี่คือการฝากทรัพย์ไว้ในธนาคารของพระศาสนา

    การฝากทรัพย์ไว้ในธนาคารของพระศาสนาจะส่งผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับได้อย่างไร
    ตัวอย่าง สมมติว่า บิดา มารดาของเราไปตั้งบ้านเรือนอยู่ต่างประเทศ
    เราจะไปหาก็ไปไม่ได้ ท่านจะมาหาเราก็มาไม่ได้
    เมื่อเราคิดถึงท่านเราก็ฝากสิ่งของเงินทองไปหาท่านโดยไปรษณียภัณฑ์
    มีใบรับจากเจ้าพนักงานเป็นหลักฐาน
    เพราะเงินในประเทศของเรานำไปใช้ในต่างประเทศไม่ได้
    จำเป็นต้องแปรรูปให้เป็นเงินต่างประเทศเสียก่อนจึงจะใช้ได้
    โลกียทรัพย์ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมนำไปใช้ในโลกหน้าไม่ได้

    ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องแปรรูปให้เกิดเป็นกุศลเสียก่อน
    แล้วอุทิศไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปในโลกหน้า
    ถ้าเขาหาตัวผู้รับไม่พบหรือส่งไม่ถึง
    เจ้าพนักงานก็จะต้องส่งกลับคืนให้เราฉันใดก็ดี
    บุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญไปนี้ พระสงฆ์ท่านเป็นเจ้าหน้าที่ัรับไว้
    แล้วท่านก็สวดมนต์ให้ศีลให้พรแก่เราและอุทิศส่วนกุศลนั้นๆ
    ไปให้บิดามารดาหรือญาติพี่้น้องของเราที่ล่วงลับไปแล้วอีกต่อหนึ่ง
    ถ้าหากผู้รับไม่สามารถจะรับได้
    บุญกุศลนั้นๆ ก็จะย้อนกลับมาหาเรา หาได้สาบสูญไปไหนไม่
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การบำเพ็ญบุญกุศลเกิดจากทางกาย ทางวาจา และทางใจของเรา
    ทางกาย วาจา นับเป็นกุศลส่วนหยาบ
    และส่วนกลาง ได้แก่ การบำเพ็ญศีลและทาน เป็นต้น
    ส่วนที่ละเอียดนั้น คือ การบำเพ็ญกุศลทางใจ ได้แก่ การภาวนา
    เพราะฉะนั้นเรื่องของจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจด้วย

    เรื่องของจิตใจมีอยู่ ๒ อย่าง คือ จิตเกิด-จิตตาย อย่างหนึ่ง
    และ จิตไม่เกิด-จิตไม่ตาย อย่างหนึ่ง
    ถ้าจิตเข้าไป "หลงในสังขาร" ทั้งหลายก็ย่อมเกิด-ตาย เป็นธรรมดา
    จิตที่เข้าไป "รู้แจ้งเห็นจริงในสังขาร" ทั้งหลาย
    ทำความปล่อยวางเสียได้ย่อมไม่เกิดและไม่ตาย

    ถ้าเรารารถนาที่จะพ้นทุกข์ คือ ไม่เกิดและไม่ตาย
    เราก็จะต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องความเป็นจริงของสังขารทั้งหลายให้เข้าใจเสียก่อน

    คำว่า "สังขาร" นั้น ตามความเป็นจริงของโลก มี ๒ ชนิด
    คือ "สังขารโลก" กับ "สังขารธรรม"
    ทั้งสองอย่างนี้ย่อมเป็นไปตามความเป็นจริงทั้งสิ้น
    แต่ก็เป็นของเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ท่านจึงกล่าวว่า
    "อนิจฺจา วตสงฺขารา อุปปาทวยธมฺมิโน ฯลฯ"
    ซึ่งแปลความว่า "สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง" ฯลฯ


    เพราะทั้ง ๒ สังขารประเภทนี้ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น
    แปรไปในท่ามกลางและดับไปในที่สุด
    ถ้าผู้ใดเข้าไปกำหนดรู้แจ้งเห็นจริงในสภาพอันนี้
    ทำความระงับ รู้เท่าในสังขารทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


    "สังขารโลก" เป็นของที่เขาเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้น
    เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น
    ส่วน "สังขารธรรม" นั้นใครจะแต่งหรือไม่แ่ต่งก็ย่อมมีเสมอภาคกันหมด
    คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ นี้แล

    "สังขารโลกและสังขารธรรม" ถ้าจะเปรียบก็เหมือนไฟสีสลับต่างๆ
    ที่ตามหน้าโรงหนัง มันวูบ วาบ เขียว แดง ขาว เหลือง ฯลฯ สลับสับเปลี่ยนกันไปมา
    ตาของเราที่ไปมองดูก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย ต้องส่ายไปตามมัน
    เหตุนั้นจึงเกิดการเข้าใจผิด
    ดวงจิตก็ไปเกาะอย่างเหนียวแน่นกับสังขารทั้งหลายเหล่านี้
    เป็นเหตุแห่งความยินดียินร้าย
    ในเมื่อมีความเปลี่ยนแปรไปเป็นดีเป็นชั่ว
    ดวงจิตของเราก็แปรเปลี่ยนไปตามมันด้วย
    ฉะนั้นจึงตกอยู่ในอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะและอนัตตลักขณะ ทั้ง ๓ ประการนี้


    อนึ่ง "สังขาร" นี้มีอีก ๒ ประเภท คือ
    สังขารมีใจครอง อย่างหนึ่ง เช่น คนหรือสัตว์
    กับ สังขารไม่มีใจครอง อย่างหนึ่ง เช่น ต้นไม้ เป็นต้น

    แต่คำว่า สังขารไม่มีใจครองนั้น อัตโนมัติยังไม่เห็นด้วย
    ตัวอย่างเช่น บันไดศาลานี้ถ้าจะว่าไม่มีใจครอง ใครไปลองทำลายดู จะเกิดเรื่องไหม?
    ที่นาก็เหมือนกัน เราลองล้ำเข้าไปทำนาในเขตของคนอื่นเขาดูบ้าง
    หรือต้นไม้ กล้วย เงาะ ทุเรียน ฯลฯ เขาปลูกไว้ในสวน
    เรลองเอามีดไปฟันดู เจ้าของเขาจะมาเอาเราเข้าตะรางหรือไม่
    นี้จะว่ามันมีใจครองหรือไม่มีก็ลองคิดดู

    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่ความยึดถือเข้าไปถึง
    สิ่งนั้นจะต้องมีใจครองทั้งสิ้น
    เว้นแต่ดาวพระอังคารที่รัศมีของความยึดถือไปไม่ถึงก็ไม่มีอะไรครอง
    สังขารทุกอย่างมีใจครองทั้งสิ้น
    เว้นแต่พระอรหันต์อย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่มีใจครอง
    เพราะจิตของท่านมิได้มีความยึดถือในสังขารทั้งหลายในโลกเลย

    ความยึดถือในสังขารทั้งหลาย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    เพราะสังขารเป็นของไม่เที่ยงดังกล่าวมาแล้ว
    ดังนั้นทำความปล่อยวางเสียได้ ไม่ยึดถือในสังขารทั้งหลายจึงเป็นความสุข
    เรียกว่า "ความสุขในทางธรรม" ถือเป็นความสุขที่สงบเย็น มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปร
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความสุขของโลกนั้นไม่ผิดอะไรกับการนั่งเก้าอี้
    ถ้าเก้าอี้มันไม่ไหวนั่นแหล่ะจึงจะมีความสุข
    การไหวทางใจนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ไหวไปตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ไหวไปโดยวิบากกรรมอย่างหนึ่ง
    ใจของเรานี้มันไหววันละกี่ครั้ง? บางทีก็ไหวจากกรรม บางทีก็ไหวจากวิบาก
    แต่มันไหวอย่างไหนเราก็ไม่ทราบ นี่แหล่ะเป็นตัว "อวิชชา"
    ความไม่รู้นี้จึงเป็นเหตุให้เกิด"สังขาร" คือ "ความคิด" ขึ้น

    จิตที่ไหวหรือแปรไปโดยธรรมชาติก็ดี จิตที่ไหวหรือแปรไปโดยวิบากกรรมก็ดี
    ทั้ง ๒ อย่างนี้ถ้าไหวไปด้วยดีด้วยชอบก็เป็นบุญ ถ้าไหวไปในทางชั่วก็เป็นบาป
    การไหวนี้จึงมี ๒ อย่าง คือ ไหวอย่าง"ผู้ดี"กับไหวอย่าง"อนาถา"

    ไหวอย่างผู้ดี คือ ไหวไปในทางดีทางชอบ เป็นบุญเป็นกุศลก็เป็นสุข
    ไหวอย่างอนาถา คือ ไหวไปในทางชั่ว ทางบาป อกุสล ก็เป็นทุกข์
    เหล่านี้ก็เนื่องมาแต่เรื่องของ "สังขาร" ทั้งสิ้น

    อีกส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ วิสังขาร
    อะไรเป็นตัววิสังขาร? ความไม่ไหว ความไม่แปร ความไม่ดับนี่แหล่ะเป็นตัววิสังขาร

    สังขารแปร ใจของเราไม่แปร
    สังขารทุกข์ ใจของเราไม่ทุกข์
    สังขารไม่เที่ยง ใจของเราเที่ยง
    สังขารเป็นอนัตตา ใจของเราไม่เป็นอนัตตา
    สังขารไม่มีใจครอง นั่นแหล่ะ...เป็นตัววิสังขาร


    เมื่อสังขารส่วนมีโทษหมดไป สังขารส่วนที่มีคุณก็ปรากฏ
    เพราะฉะนั้น ใจของเราอย่าไปยึดถือทั้งสังขารโลกและสังขารธรรม
    ส่วนใดที่ชั่วเราต้องยอมเสียสละ ส่วนใดที่ดีก็เป็นบารมีของโลก


    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า "ปรมัตถธรรม"
    ปรมัตถธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ ท่านกล่าวว่า
    ๑.เป็นของสูง
    ๒.เป็นของละเอียด
    ๓.เป็นของรีบด่วน

    ๑.ที่ว่าเป็นของสูงนั้น ก็คือ ถ้าใครไม่มีปัญญาก้ไม่สามารถเอื้อมถึง
    ของสูงเป็นของมีค่า เพราะธรรมดาดอกไม้สูงย่อมสะอาดกว่าต้นหญ้า

    ๒.ที่ว่าเป็นของละเอียด ก็คือ เป็นของที่มองเห็นได้ยาก
    ถ้าใครไม่มีดวงตาจริงๆก้ย่อมมองไม่เห็น

    ๓.ที่ว่าเป็นของรีบด่วน ก็เพราะว่า คนที่จวนจะตายรอมร่อนั่นแหล่ะ
    จึงมักจะกล่าวกันในเรื่องปรมัตถ์

    ทั้ง ๓ ประการนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม

    (ข้อ ๑ ที่ว่าเป็นของสูง กล่าวโดยปุคคลาธิษฐานตามคัมภีร์ก็ได้เ้แก่ อายตนะ
    มีตา หู จมู ลิ้น เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในส่วนสูงตั้งแต่คอถึงศีรษะ
    กล่าวโดยพระสุตรก็ได้แก่ ขันธ์ ๕)

    โดยมาก คนเรารับรู้กันแต่วิชาของครูทั้ง ๖ วิชาความรู้ของครูทั้ง ๖ นี้ คือ
    รู้ทางตา หู จมุก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นที่มาแห่งความผันแปรไม่แน่นอน เป็นทุกข์
    เป็นตัวอวิชชาและสังขาร ฉะนั้นจงพากันปิดอายตนะเหล่านี้เสีย
    เพราะสังขารกับสังขารย่อมมองไม่เห็นกัน ต้องอยู่ตรงกันข้ามจึงจะมองเห็นได้

    เมื่อจิตมีวิชาความรู้เกิดขึ้นในญาณจักขุ
    จึงจะมองเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ถ้าเรามีความรู้ในญาณจักขุ เราก็อาจจะไปถึงสมเด็จได้ในวันนี้ ขณะนี้
    (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯซึ่งมรณภาพในขณะนั้น
    เทศนาธรรมกัณฑ์นี้แสดงในงานบุญถวายกุศลแด่ท่าน
    พระอาจารย์จึงได้กล่าวถึงไว้ในเทศนา-เพิ่มเติมโดยผู้พิมพ์บทความ)



    ทุกคนเกิดมาย่อมต้องการความสุข
    ความสุขนี้ก็มีอยุ่ ๒ อย่าง คือ โลกิยสุข กับ โลกุตตรสุข
    โลกิยสุขเกิดจากสังขารโลก
    โลกุตตรสุขเกิดจากสังขารธรรม
    ถึงอย่างนั้นก็อยู่ในความไม่แน่นอน ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรสนใจศึกษา
    และปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย
    ก็จักได้พบความสุขอันปราศจากอามิสดังแสดงมาในสังเวคกถาด้วยประการฉะนี้


    คัดลอกจาก...
    หนังสือแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน ๒
    พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
    (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
    พิมพ์เผยแพร่โดย ชมรมกัลยาณธรรม หน้า ๑๙-๒๙
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=41917
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักปฏิบัติทางจิต

    [​IMG]


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    พุทธานุสฺสติ เมตฺตา จ อสุภํ มรณสฺสสตีติ

    ณ โอกาสนี้ จะได้แสดงธรรมอันเป็นโอวาทคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งจะเป็นเครื่องประดับสติปัญญาแก่พวกเราทั้งหลายที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญทานการกุศลในวันนี้
    เพื่อให้สำเร็จประโยชน์อันบริบูรณ์อย่างหนึ่งและอีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นคติอันควรแก่พวกเรา
    ซึ่งจะได้น้อมนำไปปฏิบัติในโอกาสต่อไปนั้นด้วย

    ทุกๆคนที่พร้อมใจกันมาร่วมบำเพ็ญการกุศลทักษิณาทานในวันนี้
    ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นการสักการบูชา
    ถวายแด่พระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ซึ่งท่านได้มรณภาพไปแล้วนั้น
    เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีในพระคุณของท่านที่มีแก่พวกเราทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต
    ดังที่ได้ประจักษ์แก่เรามาแล้วตั้งแต่ในเวลาที่ทำยังดำรงชีวิตอยู่

    การแสดงกตัญญูกตเวทีอันนี้เราก็ไดมีต่อท่านมาแล้วตั้งแต่เวลาที่ท่านได้เริ่มอาพาธตลอดมา
    ทางฝ่ายภิกษูสามเณรต่างก็มีความเอาใจใส่ดูแล ปฏิบัติรักษาในองค์ท่านเป็นอย่างดี
    ส่วนพวกเราที่เป็นฆราวาสก็มีความมุ่งหวังดีที่จะช่วยกันรับใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
    และถึงแม้ท่านได้ล่วงลับไปแล้ว เราก็ยังพากันจดจำและระลึกถึงพระคุณของท่านอยู่เสมอ

    การบำเพ็ญทานที่เราได้ตั้งใจจะน้อมอุทิศไปถึงท่านอย่างนี้
    ไม่ใช่ทานธรรมดาอย่างที่เราทำแก่คนทั่วๆไป
    การบำเพ็ญทานอย่างนี้ เราเรียกว่า "ทานบูชา"
    คือ ทานที่เราทำเพื่อความเคารพสักการะในพระคุณของท่าน

    หัวข้อธรรมะที่ได้ยกมาแสดงในวันนี้เป็นหลักปฏิบัติอันสำคัญข้อหนึ่ง
    ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ
    ที่จะให้พวกเราได้น้อมนำไปใช้ให้บังเกิดผล เป็นความดีงามและความสุขอันสมบูรณ์
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ท่านก็ได้รักษาข้อปฏิบัติอันนี้เป็นหลักประจำอยู่เสมอมา
    และทั้งเป็นสิ่งที่ท่านได้เคยปรารภและปรารถนาที่จะให้พวกเราทุกๆ คนได้น้อมนำไปใช้สำหรับตัวเอง
    เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติของเราทั้งหลายด้วย
    ดังนั้น จึงได้นำธรรมะข้อนี้มาแสดงเพื่อให้เป็นที่ถูกกับความประสงค์ของท่าน

    โอกาสต่อไปนี้ก็ขอให้พวกเราพากันต้งอกตั้งใจสดับตรับฟังให้บังเกิดเป็นบุญเป็นกุศล
    พร้อมด้วกาย วาจา ใจของเราที่จะได้น้อมบูชาสักการะในเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่าน
    ให้สมกับความที่เราได้ตั้งใจกระทำในวันนี้


    ๑. พุทฺธานุสฺสติ

    หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    กล่าวโดย "ปุคคลาธิษฐาน" ก็มีการนึกถึงพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์
    และปูชนียสถาน มีโบสถ์ วิหาร และวัดวาอาราม เป็นต้น
    โดย "ธรรมาธิษฐาน" ก็ให้นึกระลึกถึงในส่วนพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า
    มีพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ ปละพระมหากรุณาธิคุณ เป็นต้น

    พระปัญญาคุณ คือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาฉลาด ตรัสรู้แจ้งโลก
    ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม ด้วยพระองค์เอง โดยมิได้มีใครสั่งสอน
    ทรงทราบชีวิตความเป็นไปของสัตว์โลกทั้งหลายได้ดี
    ทั้งในส่วนอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่เกี่ยวเนื่องด้วยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว

    พระบริสุทธิคุณ คือ พระองค์ทรงปราบปรามกิเลสความชั่วร้าย
    ให้หมดสิ้นไปได้จากสันดานของพระองค์
    นีวรณธรรมทั้งหลายก็ไม่ได้มีในพระราชหฤทัย
    กายของพระองค์ก็สุจริต วาจาของพระองค์ก็สุจริต
    พระองค์จึงมีแต่ความบริสุทธิ์ ไกลจากกิเลสและอาสวะทั้งสิ้น

    พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระองค์ได้ทรมานพระองค์
    และต่อสู้กับความทุกข์ยากลำบากอย่างยิ่งในการแสวงหาธรรมอันเป็นทางสิ้นทุกข์
    กว่าจะสำเร็จก็เป็นเวลาหลายปี และเมื่อพระองค์ได้ทรงบรรลุในธรรมอันสูง
    จนตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเมื่อพระชนม์ได้ ๔๕ พรรษา
    พระองค์ก็ยังเสด็จจาริกไปโปรดประชาชนทั้งหลายตามบ้านน้อยเมืองใหญ่
    เพื่อประสงค์ะทรงรื้อสัตว์ ขนสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ทั้งปวง
    อีกตลอดเวลาที่มีพระชนม์อยู่ ตราบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์เลย
    นี้จัดว่าเป็นพระเมตตาและพระกรุณาคุณแกพวกเราอย่างยิ่งยวด
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักปฏิบัติทางจิต ๒

    ๒. เมตฺตญฺจ

    หมายถึง การแสดงเมตตา กรุณาต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั่วไป
    โดยความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาเป็นสุข
    ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ

    คำว่า "เมตตา" มาจาก "มิตตะ" แปลว่า ความสนิท คุ้นเคยหรือหวังดี
    เราต้องแสดงความเป็นผู้สนิท คุ้นเคย หวังดีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
    ตลอดทั้งโลกเบื้องสูง โลกท่ามกลาง และโลกเบื้องต่ำ
    ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม

    โลกเบื้องสูง ได้แก่ บิดา มารดา เจ้านาย ครู อาจารย์
    และท่านผู้ที่สูงกว่าเราโดยคุณธรรม วิชาความรู้ ชาติสกุล อายุ ทรัพย์ เป็นต้น
    บุคคลเหล่านี้เราจะต้องแสดงความเมตตาต่อท่าน
    ด้วยการส่งเสริมค้ำชูให้ท่านสูงขึ้นไป
    ด้วยการบำเพ็ญคุณประโยชน์ช่วยเหลือแก่ท่านเท่าที่จะทำได้

    โลกท่ามกลาง ได้แก่ มิตรสหาย เพื่อนฝูง
    หรือญาติพี่น้องมีความเป็นอยู่ที่ทัดเทียมเสมอกับตัวเรา
    บุคคลเหล่านี้เราก็ไม่เบียดเบียนเขา ต้องหวังดีเอื้อเฟื้อต่อเขาเสมอ
    เช่นเดียวกับทำให้แก่ตัวเราเอง

    โลกเบื้องต่ำ ก็คือ ผู้ที่เขามีวิชาความรู้ สติปัญญาและความประพฤติต่ำกว่าเรา
    มีทรัพย์น้อยกว่าเรา หรือมีอายุน้อยกว่าเรา มีความเป็นอยู่ต่ำต้อยกว่าเรา
    โลกเบื้องต่ำสำคัญที่สุด ก็คือ คนที่เป็นศัตรูของเรา ที่เขาคอยเบียดเบียนทำลายเรา
    เราต้องแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาให้มากที่สุด ต้องไม่โกรธเกลียด พยาบาทตอบเขา
    บุคคลประเภทนี้เราจะต้องช่วยฉุดให้เขาเป็นคนดี
    สูงขึ้นมาจนทัดเทียมเสมอกับเรา
    มีหนทางใดที่พอจะช่วยเหลือเกื้อกูลเขาได้ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์หรือกำลังปัญญา
    เราก็ช่วยเหลือให้เขามีความสุขและแนะนำให้เขาทำความดีด้วย

    เมตตากายกรรม
    คือ เราไม่เบียดเบียนใครด้วยกาย เป็นผู้มีศีล ๕ และกัลยาณธรรม
    กายของเรา เราก็จักรักษาไว้ให้สุจริต
    ไม่แสดงมารยาทที่ไม่ดีขึ้นในสังคมใดๆ

    เมตตาวจีกรรม
    วาจาของเราก็เป็นไปด้วยความสุจริต เยือกเย็น
    กล่าวแต่วาจาที่ไพเราะและเป็นคุณ เป็นประโยชน์
    ไม่กล่าววาจาที่เป็นคำเท็จ คำเบียดเบียน ประหัตประหารใคร

    เมตตามโนกรรม
    ใจของเราก็สุจริต ไม่มุ่งพยาบาทคิดร้ายต่อใคร
    มีความยินดีในความสุขของผู้อื่น
    ในเมตตา ๓ ประการนี้ เมตตามโนกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักปฏิบัติทางจิต ๓

    ๓. อสุภญฺจ

    หมายถึง ให้พิจารณาในความไม่สะอาดและสิ่งที่เป็นปฏิกูลในร่างกาย
    คือ ให้พิจารณาในอสุภกัมมัฏฐาน
    มีอาการ ๓๒ เป็น "อสุภ" นี้มีอยู่ ๒ อย่าง
    อย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงติเตียน

    อสุภที่พระองค์ทรงสรรเสริญว่าดีนั้น คือ ความเน่าเปื่อยพุพองในร่างกาย
    ที่ทำให้แลเห็นถึง ความเก่าแก่ แปรปรวนและทรุดโทรมในสังขาร
    และความไม่สะอาด ไม่สวย ไม่งามของร่างกาย
    เพื่อความสลดสังเวชที่จะปราบปรามจิตของเรา
    ให้เกิดความเบื่อหน่ายในกงอทุกข์นี้ได้

    ส่วน "อสุภ" ที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียน ก็คือ ความชั่วร้ายซึ่งเป็นของไม่ดี
    ที่เปื้อนเปรอะอยู่ในตัวเรา กายก็โสโครก วาจาก็โสโครก และใจก็โสโครก
    อย่างนี้พระองค์ทรงตำหนิ และลงโทษมากทีเดียว

    ดังนั้นเราจะต้องชำระตัวของเราให้สะอาดอยู่เสมอในสถานที่ต่างๆ
    กายวาจาของเราต้องสะอาด นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญว่าเป็นกัลยาณชน
    ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท
     

แชร์หน้านี้

Loading...