เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  2. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  3. pe16009

    pe16009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    866
    ค่าพลัง:
    +1,071
    แจ้งได้รับพระแล้วครับ
    เหรียญสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ฟื้น)วัดสามพระยา
    เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล ปี๒๕๒๒
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    mce104_phoppra_001-jpg.jpg

    หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ จ.อยุธยา


    ข้อมูลประวัติ หลวงปู่สด ธมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้ นามเดิม นายสด

    เกิด : พ.ศ. ๒๔๔๑
    โยมบิดาชื่อ เปลี่ยน ธรรมประเสริฐ
    โยมมารดาชื่อ เล็ก ธรรมประเสริฐ


    สมัยที่หลวงปู่สด อายุประมาณ ๗ ขวบ เป็นเด็กเรียบร้อย ชอบตามโยมบิดาโยมมารดาไปทำบุญตามวัดต่างๆ พออายุประมาณ ๑๐ ขวบ ดช. สด ท่านขออนุญาตโยมบิดาและโยมมารดาบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนหนังสือเหมือนเด็กทั่วไปด้วย ต่อมาหลวงปู่สด ต้องลาสิกขาบทตามคำขอร้องของโยมบิดาและโยมมารดา มาช่วยทำนาทำสวน

    ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ญาติผู้ใหญ่ของหลวงปู่สด ถึงแก่กรรมลงตอนนั้น หลวงปู่สด อายุ ๑๘ ปี ได้บวชหน้าไฟเพื่อทดแทนพระคุณแก่ผู้ตาย และศึกษาธรรมตลอดมาจน พ.ศ. ๒๔๖๒ หลวงปู่สด ท่านมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดโพธิ์แตงใต้ จ.อยุธยา โดยมีพระอริยทัชชะมุนี วัดลำแล จ.ปทุมธานี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา (ธมมวโร ) สังกัดรามัญนิกาย
    หลวงปู่สด ท่านได้ศึกษาธรรม และวิชาไสยเวทย์จากพระเกจิที่เป็นชาวมอญหลายองค์ ทางด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมโดยเฉพาะด้านกันและแก้คุณไสยที่ชาวมอญเก่งมาก เป็นเวลายาวนานถึง ๒๗ ปี

    ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๙ วัดโพธิ์แตงใต้ ได้โอนย้ายการปกครองสงฆ์มาอยู่ในนิกายธรรมยุติ หลวงปู่สด ท่านได้เดินทางไปวัดบวรนิเวศฯ เพื่อทำการอุปสมบทใหม่โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาเดิม (ธมมวโร) จากนั้นหลวงปู่สด ก็ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดบวรนิเวศฯ เรียนภาษาบาลีและศึกษาธรรมจนแตกฉาน หลวงปู่สด ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ (วิสามัญ) นามพระครูเอนกสารคุณ


    mce104_phoppra_003-jpg.jpg
    พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านเจ้าอาวาส วัดโพธิ์แตงใต้ ได้มรณภาพลงชาวบ้านจึงได้พร้อมกันนิมนต์ หลวงปู่สด มาเป็นเจ้าอาวาส วัดโพธิ์แตงใต้ ต่อจากเจ้าอาวาสองค์เดิม โดยหลวงปู่สด ท่านเริ่มพัฒนา วัดโพธิ์แตงใต้ ทันทีจนเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา

    ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่สด ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น (พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี)

    พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่สด ท่านมีอายุครบ ๗๒ ปี ๖ รอบ ชาวบ้านจึงได้จัดงานฉลองสมณศักด์ ให้ท่าน โดยหลวงปู่สด ได้จัดสร้างเหรียญรูปไข่ครึ่งองค์รุ่นแรกแจกแต่มีจำนวนน้อยมาก

    สมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศ กทม. (สมเด็จญานฯ) ท่านทรงเคารพ หลวงปู่สด ซึ่งเป็นศิษย์ผู้พี่มาก ท่านได้เดินทางมา วัดโพธิ์แตงใต้ เป็นประจำเพื่อสนทนาธรรม เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศฯ ( สมเด็จญานฯ) ท่านยังทรงเป็นประธานยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญ วัดโพธิ์แตงใต้ โดยทรงอนุญาตให้ใช้พระนามย่อ (ญสส) ของท่านที่ช่อฟ้าศาลาการเปรียญด้วย และท่านยังอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นฉลองยกช่อฟ้า แจกญาติโยมที่มาร่วมงาน โดยสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรฯ (สมเด็จญานฯ) และหลวงปู่สด ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก พิธือันยิ่งใหญ่

    ต่อมาในปีเดียวกัน หลวงปู่สด ท่านได้จัดสร้างเหรียญนั่งพานรุ่นสุดท้าย โดยปลุกเสกเดี่ยว ซึ่งขณะนั้นเองหลวงปู่สด ท่านชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังต้อนรับญาติโยมมาโดยตลอดอย่างเป็นกันเอง


    mce104_phoppra_005-jpg.jpg
    มรณภาพ

    ต่อมาหลวงปู่สด ท่านได้ป่วยด้วยโรคชรา และมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ รวมอายุ ๙๖ ปี วัตถุมงคลที่หลวงปู่สด ได้จัดสร้างไว้มีไม่มากนัก ซึ่งท่านปลุกเสกทั้งหมดทุกรุ่นและมีประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะเหรียญรุ่นศาลาล้ม ลูกศิษย์ท่านพกติดตัวถูกคู่อริลอบทำร้ายดักยิง ฟัน แทงแต่ไม่เข้าเลยต้องล่าถอยหนีไปเอง ส่วนลูกศิษย์ของหลวงปู่สดอีกหลายคนก็เจอประสบการณ์เช่นกัน ถึงแม้ไม่ใช่รุ่นศาลาล้มก็คุ้มครองได้

    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่หลวงปู่สด ท่านได้มรณภาพลงจนถึงปัจจุบัน สรีระสังขารของหลวงปู่สด ก็ยังไม่เน่าไม่เปื่อย นอนอยู่ในโลงแก้วอย่างสงบ จวบจนถึงปัจจุบัน
    ขอบขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่สด ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)
    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%AA%E0%B8%94-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2019
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-21_12-1-29.jpeg
    ข้อมูลส่วนใหญ่คัดมาจากหนังสือโลกทิพย์และผมเพิ่มเติมในบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ในเนื้อหา ดังนี้ครับ
    ชาติภูมิ หลวงปู่เย็น ทานรโต เป็นชาวเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกำเนิดท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕ เป้นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง ๖ คน ของ นายถิ่น นางแซ่ม ศรีศาสตร์ บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา ตัวท่านเองนั้นนอกจากจะช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ยังมีฝีมือในเชิงช่างหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างปูน แม้กระทั้งการออกแบบบ้านเรือน หรือวัดวาอารามตลอดจนสลักลวดลายท่านก็ทำได้และฝีมือดีมากเสียด้วย จนกระทั่งอายุครบบวชหลวงปู่เย็นได้ทำการอุปสมบทตามประเพณีอันดีงามของชายไทยทั่วไป ณ วัดเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน หลังจากได้เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แล้ว ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัด ธนบุรี (ในสมัยนั้น) กับพระที่เป็นญาติของท่านรูปหนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ภาษาบาลี และภาษาขอม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ ๔ ประโยค ระหว่างนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในฐานะนักเทศน์ฝีปากเอก ที่ใดมีงานมงคลต่างๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ หากประชาชนรู้ว่าได้นิมนต์มหาเย็นมาเทศน์ด้วยไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกลก็หลั่งไหลมาฟังเทศน์กันอย่างล้นหลาม ธุดงค์ลึกลับ สมัยที่หลวงปู่เย็นยังจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ นั้น วันหนึ่งท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมา เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในบุคลิกของท่าน จึงเข้าไปกราบนิมนต์ขอให้พระธุดงค์เข้ามาพักที่กุฎิก่อน และให้การต้อนรับสู้อย่างแข็งขัน ระหว่างการสนทนาตอนหนึ่ง หลวงปู่เย็นได้ขอให้พระธุดงค์เล่าถึงการเดินธุดงค์ของท่าน พระธุดงค์ก็มีเมตตาเล่าถึงการออกธุดงค์ไปยังเมืองลาว ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งที่มีชื่อว่า “บ้านแก้ว” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษยาสั่ง คนแปลกหน้าผ่านเข้าผ่านไปในหมู่บ้านเป็นต้องถูกลองยาเสมอ น้อยคนนักจะออกมาได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่เย็นได้ฟังดังนั้นเกิดความสงสัยจึงถามท่านว่า “ท่านไม่กลัวเขาทำให้ตายหรือ” “เขาทำให้ตาย กินข้าวได้เราไม่กลัว” พระธุดงค์ตอบเป็นปริศนา หลวงปู่เย็นแม้ว่าจะไม่เข้าใจคำตอบกระจ่างนัก แต่ก็มิได้ซักถามต่อเมื่อได้สนทนาต่อไปเรื่อยๆ จึงรู้ว่าพระธุดงค์รูปนั้นไม่ใช่พระธรรมดา แต่เป็นพระอภิญญาที่เรืองวิทยาคมยิ่งรูปหนึ่ง จึงไม่เกรงกลัวต่ออะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์ร้าย ไข้ป่า หรือแม้กระทั่งคน ท่านได้ธุดงค์มาแล้วแทบจะทั่วแผ่นดินไทยยังไปถึงเมือง ญวน เขมร ลาว และพม่า ก่อนจะจากกัน พระธุดงค์ได้มอบของวิเศษอย่างหนึ่งไว้ให้หลวงปู่เย็นบอกว่าเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถบันดาลให้เป็นไปตามปรารถนาได้ทุกประการ
    แก้วสารพัดนึก พระธุดงค์รูปนั้นเอื้อมมือหยิบก้านธูปที่หน้าหิ้งพระมาก้านหนึ่งแล้วดัดให้เป็นรูปตัว “พ” ต่อจากนั้นก็หยิบสายสิญจน์มาพันผูกก้านธูปตัว “พ”นั้นหลายๆ รอบพร้อมกับร่ายมนตร์กำกับตัว “พ” ต่อจากนั้นก็ยื่นให้หลวงปู่เย็น และได้กำชับว่าตัว “พ” นี้คือแก้วสารพัดนึกหมายถึงการนึกอยากได้หรือต้องการอยากได้อะไรก็จะได้ดังใจปรารถนา ผู้ใดได้ไว้ครอบครองตั้งมั่นในศีลธรรม ในความดี ก็จะได้สมใจนึก ตัวพอ “พ” นี้ เป็นของวิเศษ อันเกิดจากพระวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ที่โคนต้นโพธิ์ “พอ พอ แล้วใครไม่ต้องเป็นครูสอนเราแล้ว” พอเรารู้ในธรรมวินัยนี้ว่าเป็นของที่เลิศประเสริฐยิ่งนัก พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี เป็นของดีที่วิเศษ ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ดังคำบาลีว่า “ยังกิญจิ ระตะนังโลเก วิชชะติวิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธธะสะมัง นัตถิตัสสะมา โสตถี ภะวันตุเม” แปลว่า แก้วแหวนเงินทอง ทรัพย์สินใดๆ ในโลกนี้ มนุษย์หรือปุถุชนจะไขว่คว้าหามาได้โดยไม่ยากแต่ของวิเศษ ดีเลิศ ประเสริฐ ยิ่งกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีอีกแล้วที่ดีกว่านี้ พระธุดงค์รูปนั้นท่านได้อธิบายถึงสรรพคุณและถ่ายทอดวิชาสร้างตัวอักษร “พ” ให้กับพระเย็น (หลวงปู่เย็น) จนหมดสิ้น หลวงปู่เย็นท่านจึงได้ก้มกราบพระธุดงค์รูปนั้น แต่พอครั้นเงยหน้าขึ้นมาปรากฎว่า พระธุดงค์รูปนั้นได้หายไปอย่างไรร่องรอย นับว่าน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง “ท่านบอกว่าชื่ออะไรก้ไม่รู้แต่จำหน้าท่านได้แม่นยำ มารู้ที่หลังว่าเป็นใครเมื่อได้เห็นรูปท่านนั่นแหละ” หลวงปู่เย็นบอก หลวงปู่เย็นชี้ให้ดูรูป “พระครูโลกอุดร” ที่ท่านใส่กรอบตั้งไว้บูชาข้างหัวนอนและว่า “อาจารย์รูปนี้แหละ ที่ทำให้สร้างวัดสร้างวาได้สำเร็จ”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ ออกวัดใหม่เจริญธรรม ปี ๒๕๓๘

    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-budda/lp-budda-hist-01.htm
    upload_2019-5-20_21-23-31-jpeg.jpg

    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    ไม่ข้ามหมา

    หลวงปู่ท่านได้ไปจำพรรษาที่จังหวัดระยอง วันหนึ่งท่านมีธุระที่จะต้องเดินไปกุฏิอีกหลังหนึ่งทาง ที่จะไปนั้น ต้องข้ามสะพานไม้ที่ทอดไป แต่บนสะพานนั้นมีสุนัขตัวหนึ่งนอนขวางทางอยู่ ท่านก็ไม่ข้ามกลับเดินลงไปลุยโคลนแทนที่จะข้ามสุนัขตัวนั้น ท่านว่า ไม่อยากให้ผู้อื่นได้รับความ ขุ่นเคือง และเป็นการเบียดเบียน โดยเห็นแก่ความสะดวกของตนเองแม้เป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ท่านก็ยังไม่ข้าม แสดงถึงคุณธรรมอันสูงส่งในจิตใจของท่าน

    เจ้าคุณ ๘ ประโยค

    หลวงปู่ถูกนิมนต์ให้ไปเทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณองค์หนึ่ง ท่านก็คงเห็นหลวงปู่เป็นพระบ้านนอกรุ่มร่ามทำนองนั้น และไม่มีประโยคประธานใดๆ เพียงพระบุดดาธรรมดาๆ เท่านั้น

    ท่านเจ้าคุณได้ถามหลวงปู่ว่า “ท่านจะเทศน์เรื่องอะไร”

    หลวงปู่ก็ตอบว่า “เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา”

    ท่านเจ้าคุณก็ถามว่า “ตัวโกรธเป็นอย่างไร”

    หลวงปู่ก็พูดว่า “ส้นตีน ไงละ”

    เจ้าคุณโกรธจนหัวฟัดหัวเหวี่ยง และไม่ยอมเทศน์ร่วมกับหลวงปู่ หลวงปู่ท่านต้องเทศน์องค์เดียว เมื่อเทศน์จบแล้วท่านไปขอขมาเจ้าคุณ(และอธิบายให้ท่าน) เข้าใจว่าตัวโกรธเป็นอย่างนี้

    lp-budda-59-jpg.jpg

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

    หลวงปู่กับสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์

    หลวงปู่ท่านเรียกสรรพนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้ว่า “สมเด็จไส้ออก”

    เวลาท่านผ่านมาทางวัดบวรนิเวศ ถ้าพระองค์เห็นเข้าก็จะจูงมือหลวงปู่ขึ้นบนกุฎิปิดประตูสนทนากัน และจัดให้หลวงปู่จำวัดในพระตำหนักด้วย

    ท่านบอกว่า

    “ท่านบุดดามีพร้อมแล้วไม่ติดที่อยู่ พอออกพรรษาก็ออกไปเหมือนนกกระจอก อ้ายเรามันติดที่อยู่ที่นี่จนออกพรรษาแล้วก็ยังอยู่กับที่”

    พระฝ่ายปฏิบัติอื่น ๆ กับหลวงปู่

    พระฝ่ายปฏิบัติอันเป็นที่เคารพสักการะมีอยู่ทุกภาคและแทบทุกท่านมักจะได้เคยพบวิสาสะกันตอนจาริกธุดงค์ เพราะต่างก็แสวงหาสถานที่วิเวก และมีสิ่งเกื้อกูลอื่นๆ เหมือนๆ กัน สถานที่เช่นนั้นจึงเหมือนเป็นจุดนัดพบของพระฝ่ายปฏิบัติ และจุดสำคัญต่างๆ นี้ ท่านออกธุดงค์จะต้องผ่าน เช่น ภาคกลาง มีพระพุทธบาท พระพุทธฉายและเขาวงพระจันทร์ ภาคเหนือก็ พระแท่นศิลาอาสน์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ พระธาตุพนม และพระปฐมเจดีย์ของภาคกลางด้วย

    lp-budda-60-jpg.jpg

    หลวงปู่เภา พุทธสโร

    วัดถ้ำตะโก ลพบุรี

    พระสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุต สายท่านเจ้าคุณอุบาลี และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สายนี้พูดได้ว่าหลวงปู่รู้จักเป็นส่วนมาก ที่พรรษาสูงกว่า หลวงปู่เรียก หลวงพ่อ เช่นเรียกหลวงพ่อมั่น หลวงพ่อเสาร์ และอาจารย์สิงห์ ฯลฯ รุ่นเรียก อาจารย์ ก็คือรุ่นราวคราวเดียวกันหรืออ่อนกว่า

    กล่าวได้ว่าสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุต กับฝ่ายปฏิบัติธรรมของมหานิกาย สายหลวงปู่เภา พุทธสโร และหลวงปู่บุดดา ท่านไม่มีความรังเกียจซึ่งกันและกันเลย จะเห็นได้จากประวัติของท่านสุภัทโท (เจ้าคุณโพธิญาณเถระ) นอกจากนั้น วัดมหานิกายที่ถือข้อวัตรปฏิบัติแบบหลวงพ่อเภากับวัดธรรมยุตของจังหวัดลพบุรีท่านก็มีการติดต่อกันอยู่เสมอ

    คราวหนึ่งหลวงปู่ได้พบหลวงพ่อสด จันทสโร จากวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยบังเอิญ ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ เมื่อได้สนทนาธรรมและร่วมทำวัตรสวดมนต์โดยมีหลวงพ่อเกรียง กิตติธรรมโม จากวัดหินหักใหญ่ ลพบุรีร่วมธุดงค์มาด้วย ได้ชวนกันจาริกไปพระธาตุดอยสุเทพโดยธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาแรมเดือนจึงถึงจุดหมายแล้วเมื่อร่วมพักปฏิบัติธรรมอยู่ ๗๕ วัน ต่างก็แยกทางกันตามอัธยาศัย ซึ่งหลวงปู่ชอบธุดงค์องค์เดียว

    lp-budda-61-jpg.jpg
    หลวงปู่บุดดากับครูบาพรหมจักร

    วัดพระพุทธบาทตากผ้า

    หลวงปู่ปานวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา หลวงปู่เรียก หลวงพ่อปาน ท่านบอกว่า “หลวงพ่อปาน ท่านปรารถนาพุทธภูมิ” ท่านออกธุดงค์แต่ละครามีพระ เณร อุบาสิกา ติดตามเป็นขบวนยาวมาก ที่ที่ท่านพบกันเสมอก็คือบริเวณเขาวงพระจันทร์ที่ซึ่งในเวลาต่อมาหลวงปู่ปานได้มาสร้างเป็นวัดสะพานนาค

    สายครูบาศรีวิชัย นอกจากครูบาเอง ท่านยังสั่งมอบหมายไว้ ก็คือ หลวงปู่พระสุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งหลวงปู่มีความเคารพเป็นอย่างยิ่ง และนับถือพระสุพรหมยานเถรเป็นพี่ชายของท่าน หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่อยู่บ่อย ๆ ด้วยความปิติและเบิกบานในอมตธรรมเป็นอย่างยิ่ง

    เจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ และแม่ชีบุญเรือนพบหลวงปู่

    lp-budda-63-jpg.jpg

    ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ

    (สงวน โฆสโก)

    ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ก่อนจะมาอยู่วัดอาวุธฯ นั้นท่านเคยอยู่วัดสัมพันธวงศ์และได้พบกับหลวงปู่ ณ ที่นั้นเอง หลวงปู่แนะนำท่านเจ้าคุณให้รักษาศีลเท่าชีวิต ท่านก็นำมาปฏิบัติจนกระทั่งปรากฏแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านจึงเลื่อมใสศรัทธาและฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านเจ้าคุณได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่านก็นิมนต์หลวงปู่มาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ หลวงปู่ก็มาพักเป็นครั้งคราวและในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงได้มาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ ๒ ปี

    lp-budda-64-jpg.jpg

    คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม

    ท่านมาครั้งนี้ท่านเจ้าคุณได้มรณภาพแล้ว โบสถ์ วิหารที่ท่านสร้างไว้ก็ยังไม่เสร็จ หลวงปู่ท่านมาอยู่ก็ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำไว้ให้และทอดกฐินร่วมสร้างโบสถ์ที่ยังค้างอยู่

    ขณะที่ท่านเจ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ได้เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ตอนหลวงปู่อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ เวลาหลวงปู่แสดงธรรมมีคนมาฟังธรรมกันแน่นมาก รวมถึงคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมและมอบตัวเป็นศิษย์ ได้นำคำสอนของหลวงปู่มาปฏิบัติและบำเพ็ญความเพียรด้วยตนเองจนได้บรรลุธรรม (ปัจจุบันกระดูกกลับกลายเป็นอรหันตธาตุอยู่ ณ วัดอาวุธฯ) ท่านเจ้าคุณเคารพในปฏิปทาของแม่ชีบุญเรือนมาก ดังนั้นเมื่อท่านเจ้าคุณมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ และเมื่อคุณแม่ชีบุญเรือนมา สิ้นชีวิตลงแล้วท่านเจ้าคุณได้อนุญาตให้สร้างศาลาคุณแม่บุญเรือนไว้ที่วัดอาวุธฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์

    ช่วงปลายชีวิต

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ขณะหลวงปู่บุดดา อายุ ๘๔ ปี ได้มาจำพรรษา ณ วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ตามที่ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสนิมนต์ไว้ และในปีนั้นท่าน เจ้าคุณก็ได้มรณภาพลงโดยขณะนั้น ทั้งโบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นยังไม่แล้วเสร็จ

    และในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้นเอง หลวงปู่บุดดาได้ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำสำหรับพระสงฆ์ สามเณรและคณะศิษย์ได้ใช้ และเป็นประธานจัดพิธีทอดผ้ากฐินสมทบสร้างพระอุโบสถที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ พร้อมได้สร้างศาลาธรรมสารขึ้นเพื่อเป็นศาลาปฏิบัติกรรมฐาน

    lp-budda-32-jpg.jpg

    หลวงปู่เย็น ทานรโต (อายุ ๙๐ ปี) ผู้นิมนต์

    หลวงปู่บุดดา ถาวโร (อายุ ๑๐๐ ปี)

    มาอยู่วัดกลางชูศรีเจริญสุข

    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงปู่บุดดาต้องเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อหายแล้ว ท่านได้กลับไปเยี่ยมและพักผ่อน ณ วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ จ.เพชรบุรี ช่วงระยะหนึ่งเมื่อจวนเข้าพรรษา หลวงปู่เย็น ทานรโต เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.พักทัน จ.สิงห์บุรี ในสมัยนั้นได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่ไปจำพรรษากับท่าน หลวงปู่จึงได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เย็นโดยมีพระมหาทอง กาญจโน ศิษย์และอุปัฏฐากผู้ใกล้ชิดติดตามมาอยู่ด้วย สำหรับวัดกลางชูศรีเจริญสุขนั้น ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเป็นวัดร้าง หลวงปู่เย็นได้เริ่มดำเนินการบูรณะและก่อสร้างโบสถ์ขึ้นก่อน ต่อเมื่อหลวงปู่บุดดามาอยู่ ด้วยบารมีของท่านและหลวงปู่เย็น และด้วยการบริหารของพระมหาทองจึงทำให้วัดกลางชูศรีเจริญสุขพัฒนาขึ้นจนเป็นวัดที่มีความสมบูรณ์สวยงามสง่านับเป็นวัดที่ทันสมัยวัดหนึ่ง

    เนื่องจากคณะศิษย์จำนวนมากในช่วงหนึ่ง ทราบว่าหลวงปู่เป็นผื่นคันตามตัว ต่างคนต่าง ก็นำแป้งหอมชนิดต่าง ๆ มาน้อมถวายคราวละมาก ๆ เมื่อจะลากลับ หลวงปู่ได้เมตตานำแป้งที่ได้รับไว้กลับเอามา แล้วให้แบมือขึ้นเทแป้งใส่ให้ พร้อมกับบอกให้ทาแป้งมงคลเสีย กันขี้กลาก ขี้เกลื้อน กันหลง กันลืม ให้หายโรคหายภัย จนกระทั่งเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่ ที่แจกแป้งมงคลให้คณะศิษย์ธรรมได้หน้าขาว สวยสง่าขึ้นทุก ๆ คน ซึ่งท่านจะแจกให้หมดทั้งพระสงฆ์ สามเณร และโยม พร้อมบอกว่า “ตั้งแต่ศีลแปดขึ้นไป ก็ทาเป็นยาได้.... เอาแป้งไปทาแล้ว มันหายโรคหายภัยได้จะว่าอย่างไรเล่า !”

    หลังจากจบกิจ พรรษาที่ ๔ แล้วท่านได้ออกจาริกทั่วทั้งประเทศไทยตลอดจนถึงพม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และได้ออกเทศนาสั่งสอนทั้งภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ด้วยการสั่งสอน โปรดสัตว์ ช่วยการก่อสร้างถาวรวัตถุระดับคุณธรรมให้สูงขึ้นทุกเพศชั้นวรรณะโดยหลวงปู่ได้ออกเยี่ยมเยียนจนถึงที่อยู่ เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า ซึ่งได้กล่าวแก่สาวกทั้งหลายว่า จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ในช่วงระหว่างปี ๒๕๒๒ จนถึง ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่คงจาริกไปโปรดศิษย์และญาติโยม โดยอาศัยรถพาหนะของรถวัดกลางชูศรีฯ และศิษย์ผู้ติดตามทั้งพระภิกษุ สามเณรและฆราวาส โดยเฉพาะพระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระมหาทอง กาญจโน) รองเจ้าคณะอำเภอบางระจัน เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข และพระสมบุญ ญาณวิเวโกได้เฝ้าดูแลใกล้ชิด ติดตามท่านออกโปรดญาติโยมที่นิมนต์ท่าน แม้ว่าท่านเองจะไปด้วยตนเองไม่ไหวต้องอาศัยศิษย์ช่วยพยุงท่านเดินถึง ๒ ท่าน มีพยาบาลจาก รพ.สิงห์บุรีคอยดูแล หลวงปู่ก็ยังรับนิมนต์จากศิษย์และญาติโยมออกโปรดด้วยการแสดงธรรม หรือพุทธาภิเษก ฉัน รับสังฆทานร่วมพิธีต่าง ๆ อาจารย์มหาทอง กาญจโน เป็นเจ้าอาวาสและติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่มาแต่ปี ๒๕๒๐ จนถึงที่สุดแห่งวาระชีวิตของหลวงปู่

    หลวงปู่ได้ปฏิบัติของพระศาสนาดังกล่าวมานี้ไม่สามารถจะหาที่เปรียบพระคุณหลวงปู่ได้ แม้กระทั่งว่า ศิษย์ได้สอบถามท่านว่าเวลาพักผ่อนของหลวงปู่เวลาจะหลับตั้งใจให้หลับ หรือว่าหลับไปเอง ท่านกล่าวให้ฟังว่า หลับไปเอง กลางวันทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. และกลางคืนทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. เว้นแต่หลวงปู่เจ็บป่วย

    จากการสอบถามและได้รับเมตตาจากหลวงปู่เล่าให้ฟังปะติดปะต่อมา หลวงปู่ได้เคยไปสนทนาธรรมพบปะ และเยี่ยมเยียนกันกับพระเถระที่มรณภาพไปแล้วหลาย ๆ ท่าน ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น หลวงพ่อเติม หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเงิน หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อปาน มีทั้ง ๓ ปาน ครูบาพรหมจักร ท่านเจ้าคุณนรฯ เจ้าคุณอุบาลี สมเด็จพุฒาจารย์ (อาสภเถระ) หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ชา ท่านพุทธทาส หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่วัย หลวงพ่อสังวาลย์ หลวงพ่อพุธ ครูบาชัยวงษา หลวงพ่อแพ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่แว่น หลวงพ่อคง จันตตามโร ครูบาธรรมชัย หลวงพ่อมหาอำพัน หลวงปู่สาม หลวงปู่โง่น ครั้งป่วยอยู่ รพ.ศิริราชฯ และพระเถระที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ สมเด็จสังฆราชญาณสังวรฯ หลวงพ่อเพ็งฯ, หลวงพ่อ บุญเพ็ง, หลวงปู่เหรียญ, อาจารย์วิชัย, อาจารย์จำเนียร, อาจารย์จรัล, หลวงพ่อเหรียญ, หลวงพ่ออุตตมะ ฯลฯ

    ส่วนฆราวาส อุบาสก อุบาสิกา ที่นิมนต์หลวงปู่ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่เลือกชั้นวรรณะได้โปรดอย่างทั่วถึง ผู้ที่ได้เคยใกล้ชิดท่านบ้างจะทราบได้ทันทีว่า บารมีหลวงปู่เมื่อไปอยู่ใกล้ท่านจะได้รับความสงบเยือกเย็นอย่างประหลาด แต่ก็ยังมีบางท่านไม่เข้าใจในปฏิปทาในช่วงที่ท่านอายุมากแล้ว เช่นหลวงปู่แจกแป้ง หลวงปู่จับเงินทอง หลวงปู่จับหัวสตรี หลวงปู่ห่มผ้าไม่เหมือนพระองค์อื่น หลวงปู่ไม่ค่อยจะสอนวิธีปฏิบัติ หลวงปู่นอนห้องแอร์ และอื่น ๆ เนื่องจากท่านเหล่านั้นไม่ได้ติดตามหลวงปู่เป็นเวลานาน ๆ เท่าที่ควร และเพิ่งจะได้พบหลวงปู่ช่วงที่อายุมากแล้ว ขอให้ท่านได้ติดตามศึกษาชีวประวัติท่านให้ตลอดก่อน และหลักธรรมคำสอนที่ท่านได้แนะนำให้มาตลอด

    ซึ่งหลวงปู่ได้เคยเตือนว่าในสมัยพุทธกาล เศรษฐีได้ถ่มน้ำลายไล่พระอรหันต์ขี้เรือนที่บิณฑบาตผ่านหน้าบ้านเศรษฐี ตายไปต้องตกนรกถึง ๕๐๐ ชาติ และชาติที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดา ก็ยังต้องถูกโจรฆ่าตาย เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นได้พบหลวงปู่เวลาสั้น ๆ จึงขอให้ท่านขอขมากรรมและ ขออโหสิกรรมต่อท่านเสีย

    หลวงปู่เล่าว่า แม้ท่านจะจำพรรษาที่แห่งเดียวติดต่อกันบ้างบางแห่ง แต่ท่านว่า ท่านไม่เคยอยู่ที่ใดติดต่อกันตลอดทั้งปี เพราะพอออกพรรษาหลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าตามเขาจนอายุใกล้ ๗๘ ปี ร่างกายของท่านทรุดโทรมแล้วจึงหยุดเข้าป่าขึ้นเขา แต่ท่านก็ยังจาริกไปตามอัธยาศัย ท่านบิณฑบาตโดยไม่กลับย้อนหลัง บิณฑบาตที่เชียงใหม่ไปฉันที่เชียงราย คือวันหนึ่งท่านฉันมื้อหนึ่งและเว้นไปอีกวันท่านจึงฉัน จนกระทั่งท่านอายุมากแล้ว อายุ ๘๐ ปี ท่านจึงหยุดการปฏิบัติตนเองแบบเคร่งครัดเพื่อพักผ่อนกายสังขาร ตามคำนิมนต์ของบรรดาศิษย์

    อาจารย์มหาทอง กาญจโน เจ้าอาวาส วัดกลางชูศรีฯ เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาได้ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดามาแต่ปี ๒๕๒๐ เริ่มแต่วัดอาวุธวิกสิตาราม กทม. ได้กล่าวว่า “หลวงปู่เป็นพระพอดี ไม่ได้เกินดี ไม่ได้ขาดดี” เช่นถามเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ หนาวไหม หนาวพอดี ร้อนไหม ร้อนพอดี เกี่ยวกับการขบฉัน การเจ็บป่วย จะไม่เคยเรียกหาอะไรเพิ่มเติมเลย เวลาท่านฉัน ไม่เคยบอกก่อนเลยว่าท่านเจ็บป่วย ต้องสังเกตเอาเองและคอยสอบถามท่านว่าไม่สบายมีอาการเป็นอย่างไร

    ไม่น่าแปลกใจอะไรเพราะท่านเคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านเคยอธิษฐานไม่นอนเลยระหว่างเข้าพรรษาก็ทำมาแล้ว ธุดงค์โดยไม่ต้องมีกลดมีมุ้ง ทางแถบชายทะเลตะวันออก ยุงกินเลือดท่านจนบินไม่ไหว ท่านกล่าวว่าไม่เกิน ๗ วัน เดี๋ยวมันก็ตายไปเองอยู่แล้ว สงสารมัน แต่ข้าพเจ้าก็เกิดอัศจรรย์ใจราวปี ๒๕๒๙ ที่ได้ไปพบท่านจำวัด ณ วัดกลางชูศรีฯ โดยที่ท่านไม่ต้องกางมุ้ง แต่ไม่เห็นมียุงกัดกินเลือดท่านเลย

    ละสังขาร

    สำหรับพระอรหันต์ถึงแม้ว่ามีคุณวิเศษสามารถแยกจิตกับกายออกจากกันได้แล้วก็ตาม แต่ย่อมไม่สามารถที่จะบังคับให้กายสังขารทรงความมีชีวิตให้ยิ่งยืนนานตลอดไปได้ฉันใด กายสังขารของหลวงปู่บุดดา ถาวโร ก็เช่นเดียวกัน

    เมื่อวันที่ ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดาได้ไปร่วมพิธีทำบุญ ๑๐๐ วัน หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤๅษี) ณ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลังท่านกลับถึงวัดกลางชูศรีเจริญสุขแล้วเวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. หลวงปู่มีอาการป่วยกะทันหัน พระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระอาจารย์ มหาทอง) จึงได้นำส่งโรงพยาบาลสิงห์บุรี นายแพทย์วิศิษฐ์ ถนัดสร้าง ได้นำหลวงปู่เข้าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาล หมอประเจิดพบว่าสมองด้านซ้ายฝ่อเส้นโลหิตอุดตัน และปอดอักเสบ หลวงปู่หอบเพราะเสมหะตกค้างในปอดมาก แพทย์ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก

    - ๙ ก.พ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับหลวงปู่เข้าเป็นคนไข้พระราชูปถัมภ์ คณะแพทย์สิงห์บุรีจึงได้นำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาล ศิริราช ณ ห้องไอซียู โดยมี ศ.พ.ญ. นันทา มาระเนตร์ เป็นแพทย์เจ้าของไข้

    - ๑๑ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่ได้รับการรักษาที่ห้องอภิบาลการหายใจ (อาร์ซียู) ตึกอัษฏางค์ ชั้น ๒ หลวงปู่อาการดีขึ้นตามลำดับ หายใจได้เอง

    - ๑๔ ก.ค. ๒๕๓๖ หลวงปู่ได้ย้ายไปที่ห้องพิเศษ ตึก ๘๔ ปี ห้อง ๘๐๘ โดยอยู่ในความ ดูแลของแพทย์และพยาบาลประจำตึก มีพระอุปัฏฐากอยู่ประจำ ๒ รูป

    - ๒๖ พ.ย. ๒๕๓๖ หลวงปู่มีอาการทรุดลงทั้งหอบและไอ แพทย์ได้นำเสมหะไปเพาะ เชื้อปรากฏว่าหลวงปู่ติดเชื้ออย่างแรง

    - ๒ ธ.ค. ๒๕๓๖ แพทย์ได้ย้ายหลวงปู่กลับไปที่ห้องอาร์ซียูอีกครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น

    - ๑๑ ม.ค. ๒๕๓๗ ช่วงกลางคืนอาการหลวงปู่สุดวิสัยที่คณะแพทย์จะเยียวยารักษาได้

    วันดับขันธ์แห่งดวงประทีปพุทธศาสนา

    เช้าของวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ อาการของหลวงปู่ได้ทรุดหนักลง พระมหาทอง (พระครูโสภณจารุวัฒน์) เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข ซึ่งคอยเฝ้าสังเกตอาการของหลวงปู่เห็นดังนั้น จึงได้แจ้งให้คณะแพทย์ทราบโดยคณะแพทย์ได้เรียกระดมแพทย์ที่ให้การรักษามาทำการเยียวยาอย่างสุดความสามารถ

    พระมหาทองได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ท่านได้เฝ้าดูอาการหลวงปู่มาอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าไม่ช้านี้หลวงปู่คงมรณภาพเพราะอาการขณะนี้มีเปอร์เซ็นต์ให้หวังได้เพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ระบบการหายใจแย่ลงทุกที

    พระครูโสภณจารุวัฒน์ หรือมหาทองได้ กล่าวอีกว่า หลวงปู่บุดดาเคยสั่งเอาไว้ว่าหากท่านมรณภาพไม่ให้จัดพิธีงานศพใดๆ ทั้งสิ้นด้วยเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลือง

    แต่แล้วเมื่อเวลา ๑๙.๓๐ น. ทางคณะแพทย์ได้แจ้งให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายได้ที่เฝ้ารอดูอาการของหลวงปู่ที่หน้าห้องไอซียู ว่าหลวงปู่ได้ละสังขารไปอย่างสงบแล้ว

    เหมือนสายฟ้าฟาดลงมายังบรรดาสานุศิษย์ที่มารอฟังข่าวของหลวงปู่ และยังเป็นข่าวร้ายอีกด้วย

    เป็นเวลา ๓๔๐ วัน ที่หลวงปู่ต้องทนต่อสู้กับโรคปอดบวม สมองซีกซ้ายฝ่อและเส้นโลหิตอุดตัน ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาคณะแพทย์ที่ให้รับการรักษาและสานุศิษย์ทั้งหลายที่มารอเฝ้าดูอาการจนวาระสุดท้ายก่อนจะสิ้นลม สิริรวมอายุ ๑๐๑ ปี ๗ วัน ๗๓ พรรษา

    ดวงประทีปแห่งพุทธศาสนาได้ดับสูญไปอีกดวงหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่หลวงปู่บุดดาได้สอนไว้ยังคงอยู่

    "คนเราจะเป็นสุขเมื่อรู้จักพอดี ไม่มีใครได้อะไรตลอดไป หรือเสียอะไรตลอดไป ไม่มีใครหรือสิ่งไหนคงอยู่ตลอดไปโดยไม่สูญสิ้น ขอเพียงแค่รู้จักพอดีทุกคนจะเป็นสุข"

    (คราวที่หลวงปู่ได้รับการรักษาที่ โรงพยาบาลตำรวจก็ได้รับการสงเคราะห์จากศิษย์ผู้อำนวยการ รพ. ตำรวจเป็นอย่างดีและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จเยี่ยมด้วย) รายชื่อวัดที่หลวงปู่จำวัด ชื่อวัด จังหวัด ชื่อวัด จังหวัด 1. วัดเนินยาว ลพบุรี 13. ราชาธิวาส กทม. 2. ผดุงธรรม ลพบุรี 14. โบสถ์ชนะมาร เพชรบูรณ์ 3. ทุ่งสิงห์โต ลพบุรี 15. ศรีโขง เชียงใหม่ 4. ปากกระพี้ ลพบุรี 16. เขาโขดคีรี ระยอง 5. บ้านทุ่ง อ.ท่าบ่อ หนองคาย 17. ช้างชนราษฎร์บำรุง ระยอง 6. ดงหนองหลวง อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 18. เขาโบสถ์ ระยอง 7. ป่าหนองคู ลพบุรี 19. ใหม่พิกุลทอง สิงห์บุรี 8. หนองโนนเหนือ สระบุรี 20. สำนักสงฆ์สองพี่น้อง ชัยนาท 9. เนรัญชรา เพชรบุรี 21. สำนักศูนย์ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อบุดดา ถาวโร ชัยนาท 10. สนามพราหมณ์ เพชรบุรี 22. วัดอาวุธวิกสิตาราม กทม. 11. บุญทวี ถ้ำแกลบ เพชรบุรี 23. กลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี 12. เหนือวน ราชบุรี
    วัดที่หลวงปู่จำพรรษานานที่สุดคือ วัดในจังหวัดเพชรบุรี ๒๐ พรรษา, ลพบุรี ๑๔ พรรษา, กทม. ๘ พรรษา, ระยอง ๗ พรรษา, ชัยนาท ๔ พรรษา นอกนั้น วัดละ ๑ พรรษ ๒ พรรษาเท่านั้นเอง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    หรียญหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2-jpg.jpg 5%E0%B8%9B-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วันนี้จัดส่ง

    EF 3126 5533 5TH สามเสนใน

    ขอบคุณครับ
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ลงพร้อมกันเลย ลป.อ่อน และวัดโคกแก้ว ลป.บุญศรีเสก ลองพิจรณาครับ

    วัดโคกแก้ว.jpg วัดโคกแก้วกล่อง.jpg วัดโคกแก้วหลัง.jpg ลพ.อ่อน.jpg ลพ.อ่อน1.jpg ลพ.อ่อน1หลัง.jpg ลพ.อ่อนกล่อง.jpg ลพ.อ่อนกล่อง1.jpg ลพ.อ่อนหลัง.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญหลวงพ่อพุทธศิลา วัดโพธิ์งาม หลวงพ่อกวย ร่วมปลุกเสก ปี๒๕๒๑ สภาพสวยเดิมๆ

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ (ปิดรายการ)

    ลพ.กวย.jpg ลพ.กวยหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2019
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงพ่อเชิญ เกิดในตระกูล กุฎีสุข ที่หมู่บ้านดงตาล ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2450 มีโยมบิดาชื่อ นายเคลือบ โยมมารดาชื่อ นางโล่ โดยที่หลวงพ่อเชิญเป็นบุตรของพี่น้องทั้งหมด 3 คน น้องสองคนเป็นฝาแฝดหญิงทั้งคู่ ชื่อ นางเจียม และ นางจอม

    เมื่อหลวงพ่ออายุได้ 5 ขวบ โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องอยู่ในความเลียงดูของโยมบิดาแต่ผู้เดียว ยามใดที่โยมบิดาไปทำไร่ไถนา ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาวฝาแฝดแทนถึง 2 คน นับเป็นความยากลำบากมากทีเดียว เพราะขณะนั้นท่านเองเพิ่งจะมีอายุ 5-6 ขวบเท่านั้น

    เมื่อท่านอายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาพาไปฝาก หลวงพ่อขาบ วัดฤาชัย ที่ตำบลกุฎี ในอำเภอผักไห่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของโยมบิดา เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ โดยที่หลวงพ่อเชิญเล่าเรียนหนังสืออยู่กับหลวงพ่อขาบ 2 ปี จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร

    หลวงพ่อขาบขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี เห็นว่าหลวงพ่อเชิญเป็นเด็กดี ขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาดและว่านอนสอนง่าย จึงนำไปฝาก พระครูบวรสังฆกิจ หรือ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเสนา

    หลวงพ่อเพิ่มองค์นี้เป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมสูงส่ง เชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพียงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรเคร่งครัดพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ และเรืองวิทยาคมขลัง เนื่องจากเป็นศิษย์หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อีกด้วย

    ดังนั้นหลวงพ่อเพิ่มจึงมีชื่อเสียงด้านแก้คุณแก้การกระทำทางไสยศาสตร์และรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเพิ่มสมัยนั้นจึงโด่งดังไม่ต่างกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเพิ่ม 5 ปี

    ในสมัยนั้นหลวงพ่อปานท่านมาพำนักที่วัดโคกทองเสมอ เมื่อปี พ.ศ.2467 หลวงพ่อเพิ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อปานยังมาช่วยยกเสาเอกให้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเพิ่มไม่เคยสร้างพระเครื่องไว้เลย ชนรุ่นหลังจึงไม่มีใครรู้จักท่าน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อเพิ่มทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์เพียงอย่างเดียวคือ แผ่นอิฐลงอาคมที่ก้นบ่อน้ำมน 2 แผ่น อีกแผ่นหนึ่งเป็นของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งกล่าวกันว่าน้ำมนต์ในบ่อนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อเชิญท่านนำมารดให้กับลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอ

    บรรพชาและอุปสมบท หลวงพ่อเชิญมาอยู่วัดโคกทองคอยรับใช้หลวงพ่อเพิ่มอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและเชื่อฟังคำสั่งสอนของหลวงพ่อเพิ่มเป็นอย่างดี

    หลวงพ่อเชิญบรรพยาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2466 หลวงพ่อเพิ่มเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทต่อโดยมิได้ลาสิกขา ณ พัทธสีมาวัดโคกทอง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2470 โดยมีพระอาจารย์องค์แรกคือ หลวงพ่อขาบ วัดฤาไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดแจ่ม วัดโคกทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลีจากพระอุปัชฌาย์ว่า ปุญญสิริ

    การศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อเชิญอุปสมบทอุปสมบทแล้วอยู่ช่วยหลวงพ่อเพิ่มบูรณะวัดโคกทองเรื่อยมา พร้อมกันนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมโดยสอบได้นักธรรมตรีตั้งแต่เมื่อยังเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2469 แล้วสอบได้นักธรรมโทในปีแรกที่อุปสมบท และอีก 8 พรรษาต่อมาจึงสอบได้นักธรรมเอก

    สาเหตุที่หลวงพ่อเชิญสอบได้นักธรรมเอกช้า เนื่องจากไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ช่วยงานหลวงพ่อเพิ่มในการบูรณะพัฒนาวัดด้วยความอุตสาหะ ในปี พ.ศ.2474 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ พระสมุห์เชิญ

    ปี พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมเอก พร้อมกับได้รับการแ่ต่งตั้งเป็น พระปลัด ในปี พ.ศ.2480 ท่านจึงต้องทำหน้าที่ทุกอย่างแทนหลวงพ่อเพิ่ม ปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเสนา ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขก ดูแลพระภิกษุสามเณรภายในวัด และเป็นผู้จัดสถานที่ให้กับคนเจ็บที่มารักษาตัว

    แม้แต่ศาสนกิจนอกวัดเกี่ยวกับราชการคณะสงฆ์ เทศนาตามกิจนิมนต์ หรือการเข้าประชุมตามพระเถระกำหนด และออกตรวจตราตามบริเวณวัดและสอบนักธรรมสนามหลวง ภารกิจเหล่านี้ตกอยู่กับท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น นับเป็นภารกิจที่หนักมาก แต่หลวงพ่อเชิญก็สามารถปฏิบัติด้วยความเรียบร้อยเสมอมาจวบจนหลวงพ่อเพิ่มถึงแก่กาลมรณภาพในปี พ.ศ.2491
    https://palungjit.org/threads/ใครมีประสบการณ์-หลวงพ่อเชิญ-วัดโคกทอง-มาแชณกัน.481902/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.เชิญ.jpg ลพ.เชิญหลัง.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ สืบพุทธาคมหลวงปู่ศุข

    พระครูปทุมชัยกิจ หรือ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา เป็นพระเถระที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมทายาทสืบทอดพุทธาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

    ปัจจุบันหลวงปู่นะ สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม และอดีตยังเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2 อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ด้วย

    อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า โฉม เหล่ายัง เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2459 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 (อ้าย) ปีมะโรง ณ บ้านขุนแก้ว ต.ดงขวาง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี

    เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 9 คน ของนายแจกและนางตี่ เหล่ายัง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

    ในวาระแรกเกิด บิดา-มารดา ตั้งชื่อให้ว่า โฉม ต่อมาเมื่ออายุได้ 5-6 ขวบ หมอเป้ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ และมีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ด้วย เห็นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นะ อันเป็นมงคลนาม

    ช่วงวัยเยาว์ ครอบครัวมีความเป็นอยู่ค่อนข้างขัดสน เนื่องจากมีบุตรด้วยกันหลายคน ทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง

    ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะโสภี อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ท่านจึงได้รับการศึกษาที่วัดหนองมะกอกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนที่โรงเรียนวัดหนองแฟบ หลังจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาช่วยครอบครัวทำอาชีพกสิกรรมทำมาหาเลี้ยงชีพ

    ครั้นอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้ขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่ อุปสมบท ซึ่งท่านทั้งสองก็ยินดีร่วมอนุโมทนา

    ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2480 มี พระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ชั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สำเนียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า ฐิตปัญโญ มีความหมายว่า ผู้มีปัญญาอันตั้งไว้แล้ว

    หลังอุปสมบท ท่านได้ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) พ.ศ.2483 เดินทางไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดหนองแฟบ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี สอบได้นักธรรมชั้นโท

    พ.ศ.2485 ได้ไปจำพรรษาที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) และในปี พ.ศ.2487 ท่านได้เข้าสอบนักธรรมชั้นเอก อันเป็นชั้นสุดท้ายของภาคการศึกษานักธรรมที่วัดหนองแฟบ

    ขณะศึกษานักธรรม ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบ ควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป

    ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ วิทยฐานะนักธรรมชั้นเอก ในสมัยนั้นจะหายากยิ่ง ท่านจึงมีความคิดก่อตั้งสำนักเรียนขึ้นมาใหม่ หลังจากซบเซาขาดหายไปนาน ซึ่งท่านเป็นผู้สอนเองทุกชั้น ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท และเอก ท่านจึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้หลายจังหวัด

    ในความเป็นจริงแล้ว ภายหลังสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ท่านคิดที่จะเรียนทางด้านภาษาบาลีต่อ แต่ด้วยกิจการคณะสงฆ์ที่วัด ทำให้ไม่มีเวลา อีกทั้งสำนักเรียนบาลีก็อยู่ในตัวเมืองไกลจากวัดหนองบัว การเดินทางไม่สะดวก ทำให้ต้องงดการเรียนบาลี

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนใบพลูหลวงปู่นะ วัดหนองบัว ชัยนาท ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.นะ.jpg ลป.นะหลัง.jpg
     
  12. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
    จองครับ
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-21_22-29-47.jpeg
    พระครูสาทรพัฒนกิจ วิ. หรือที่ชาวสวนพริกไทยรู้จักท่านในนามว่า หลวงพ่อลมูล ขนฺติพโล อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อำเอเมือง จังหวัดปทุมธานี ท่านมีนามเดิมว่า ลมูล นามสกุล จับจิตต์ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ ซึ่งตรงกับวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยท่านเป็นชาวมอญโดยกำเนิด บิดาชื่อ นายติ่ง จับจิตต์ มารดาชื่อ นางแม้น จับจิตต์ ท่านเกิดที่บ้านหมู่ที่ ๔ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน ท่านเป็นคนที่ ๒ ของครอบครัว
    ในวัยเด็ก เมื่อท่านอายุได้ ๓ ขวบ บิดามารดาได้ย้ายที่อาศัยใหม่ ท่านจึงได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่ในคลองบางใหญ่ หมู่ที่ ๑ ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพราะโยมปู่เหลือ และโยมย่าแหวว จับจิตต์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่และย่าของท่านได้มอบมรดกที่ดินให้กับครอบครัวของท่านไว้ทำกินที่ตำบลสวนพริกไทยนั้น ท่านจึงต้องย้ายมาอยู่ด้วย พอท่านอายุได้ ๑๒ ปี โยมพ่อได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับ พระอาจารย์ไม้ ที่วัดเสด็จ ท่านได้อยู่เรียนราว ๑ ปี ทำให้ท่านได้ฝึกฝนนิสัยไปในทางอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักที่สูงที่ต่ำ ทั้งสิ่งที่ควรและไม่ควร ต่อมา ครูชั้น ดำกลิ่น ได้มาขอตัวท่านจากพระอาจารย์ไม้ไปเป็นศิษย์ โดยให้ไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมที่วัดพระเชตุพนฯ พระนคร คณะ ก.๒๐ ท่านจึงได้เล่าเรียนหนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี โดยสมัยนั้น สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุญฺณสิริ) ยังคงเป็นครูสอนภาษาบาลีอยู่ ณ สำนักแห่งนี้ แต่ในการเรียนต่อของท่านในขณะนั้นได้ชะงักลง เพราะเหตุที่โยมพ่อต้องการให้กลับมาช่วยดูแลทำนาช่วยเหลือครอบครัว ท่านจึงต้องกลับมาทั้งๆที่เสียดายมาก หลังจากที่ท่านกลับมาอยู่บ้าน ท่านก็ได้ช่วยโยมพ่อทำนาพร้อมกับได้เริ่มเรียนหนังสือต่ออีก เพราะอายุท่านนั้นไม่พ้นเกณฑ์ยังอยู่ในภาคบังคับ ต้องเรียนหนังสือต่อ หลวงพ่อลมูลจึงได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดเสด็จ ซึ่งได้มีการเปิดโรงเรียนประชาบาลภาคบังคับขึ้น ท่านจึงได้เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาต่ออีก ท่านเป็นนักเรียนคนที่ ๓๘ ของโรงเรียนนี้ ท่านเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น หลังจากที่ท่านไม่ได้เรียนแล้วท่านก็ได้มาช่วยเหลือบิดามารดาทำนาตามความประสงค์ จนอายุท่านได้ ๑๘ ปี บิดามารดาของท่านได้ขอให้ท่านแต่งงานกับสาวชาวบ้านในย่านนั้น แต่ท่านมีจิตศรัทธาฝักใฝ่ในการออกบวชมากกว่า และอีกประการหนึ่งท่านต้องการศึกษาหาความรู้ใส่ตนให้มากขึ้นกว่านี้ ท่านจึงออกอุบายว่าจะออกบวชก่อน แล้วพอสึกออกมาจึงค่อยแต่งงาน ในที่สุดความตั้งใจของท่านก็สัมฤทธิ์ผล คือโยมบิดามารดาของท่าน ไม่อาจขัดได้จึงได้นำท่านไปฝากเป็นนาคกับ พระอธิการเผือก สุกโก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ อยู่ในขณะนั้น และท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๕๐ นาที ที่พระอุโบสถวัดเสด็จ โดยมี พระครูบวรธรรมกิจ หรือ หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระอธิการเผือก สุกโก วัดเสด็จ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไม้ รุกขโก วัดเสด็จ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยท่านได้รับฉายาทางธรรมว่า "ขนฺติพโลภิกขุ"
    หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ตั้งใจแน่วแน่ว่าท่านจะเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามระเบียบของวัด คือการเรียนพระปริยัติธรรมและจะตั้งใจปฏิบัติกิจในพระบวรพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตลอดชั่วชีวิต ในเพศพรหมจรรย์ของท่านจะขอถวายตัวเป็นพุทธบุตรผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาไปจนชีวิตจะหาไม่ โดยในพรรษาแรกท่านจึงได้มีโอกาสเรียนพระปริยัติธรรม นักธรรมชั้นตรี พรรษาที่ ๒ ท่านก็สามารถสอบไล่นักธรรมชั้นตรีได้ ในพรรษาที่ ๓ ท่านก็สอบนักธรรมชั้นโท แต่สอบตก ท่านจึงอธิษฐานจิตจะไม่ขอเรียนนักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกอีกต่อไป ท่านจะเปลี่ยนแนวทางมุ่งไปในทางปฏิบัติ เมื่อหลวงพ่อตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้ว ท่านจึงคิดออกเดินธุดงค์มุ่งหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร แต่ก่อนเดินธุดงค์นั้นท่านได้ขอไปฝึกกรรมฐานเพิ่มเติมจาก หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี พระอาจารย์ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านก่อน ซึ่งหลวงปู่เทียน ท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทั้งพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งวิชาอาคมเวทย์ ให้อย่างเต็มที่ หลังจากได้รับการฝึกฝนในด้านสมาธิอย่างเพียงพอ หลวงปู่เทียน ท่านจึงได้มอบหมายให้หลวงปู่พร้อม เป็นหัวหน้าคณะในการนำออกเดินธุดงค์ในครั้งนั้น แต่ในส่วนลึกของหลวงพ่อลมูล เองนั้น ท่านต้องการออกธุดงค์ไปองค์เดียวแต่ติดขัดในข้อบัญญัติทางพระธรรมวินัยที่ว่า... “พระที่จะออกธุดงค์ถ้ามีพรรษาไม่ถึง ๕ พรรษา ต้องมีพระพี่เลี้ยงนำไป แต่ถ้าเกิน ๕ พรรษาไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมี” โดยสถานที่แรกที่ท่านออกธุดงค์ นั้นก็คือที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพราะสถานที่นี้เป็นที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีความสงบ ร่มรื่นเหมาะในการบำเพ็ญเจริญภาวนา ต่อจากนั้นท่านก็เดินธุดงค์มุ่งสู่ภาคเหนือ เช่น แม่สอด ตาก กำแพงเพชร เป็นต้น เพราะท่านเห็นว่ามีภูเขามากเป็นแดนที่สงบในการเดินทางไปภาคเหนือครั้งนั้นท่านพบกับอุปสรรคอย่างมากมาย จากสัตว์ป่าบ้าง ตลอดจนอาหารที่ฉันท์เพราะไม่ค่อยมีหมู่บ้าน ท่านต้องฉันท์ผลไม้ป่าแทนแทบทุกวัน ฉันท์วันละเพียงมื้อเดียว ส่วนในด้านฝึกหัดปฏิบัติธรรมและจำวัดในตอนกลางคืน หลวงพ่อท่านก็ต้องหาสถานที่ปลอดภัย หลวงพ่อลมูล ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หลังจากการเดินทางเข้าสู่พรรษาที่ ๕ พระพี่เลี้ยงต่างก็แยกย้ายกันเดินทางกลับยังวัด หลวงพ่อลมูล จึงออกเดินธุดงค์เพียงองค์เดียว เดินทางไปถึงประเทศพม่า ท่านได้ไปพบกับถ้ำประหลาดซึ่งอยู่ในภูเขาลูกเล็กๆ แต่มหัศจรรย์มากเพราะภายในถ้ำมีแต่ขี้ค้างคาว แต่ไม่มีกลิ่นเหม็นเลยสักนิดเดียว และมีค้างคาวเต็มไปหมด แต่ค้าวคาวก็ไม่เคยบินมาถูกท่านเลย การเดินทางเอาตัวรอดในป่าดงดิบก็ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังต่อเนื่องและเคร่งครัดอำนาจบารมีของพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นอำนาจสูงสุด ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดย่อมได้ผล แม้แต่ไปเจอสิงห์สาราสัตว์ที่ดุร้าย เจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา ด้วยอานุภาพบารมีดังกล่าวช่วยคุ้มภัยได้เป็นอย่างดี หลังจากที่หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ท่านได้ธุดงค์ได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อท่านก็ได้เดินทางกลับมายังวัดเสด็จ เพื่อมาช่วยเหลือกิจการของสงฆ์ในวัด ซึ่งในขณะนั้น หลวงปู่เผือกผู้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จในขณะนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับการปกครอง เนื่องจากมีพระภิกษุในวัดเดียวกันจะคิดกำจัด และปลดท่านจากการเป็นเจ้าอาวาส ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า บัญชีของวัดทำไม่ถูกต้อง และหย่อนสมรรถภาพในการปกครอง แต่ในข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นเพราะหลวงปู่เผือกเป็นพระที่มีความละเอียดรอบครอบ กระทำสิ่งใดๆไม่หวังผลประโยชน์มากเกินไป จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายตรงข้างเสียผลประโยชน์พากันกลั่นแกล้งท่าน หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านกลาง จึงได้เรียกตัวหลวงพ่อลมูลไปปรึกษาและมอบหมายให้ช่วยเหลือหลวงปู่เผือก ในด้านภารกิจต่างๆของวัด อีกทั้ง หลวงปู่เทียน ยังแต่งตั้งให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส วัดเสด็จ มาตามลำดับ ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงไม่มีโอกาสออกเดินธุดงค์อีกต่อไป เพราะหน้าที่บังคับ กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ พระอธิการเผือก สุกโก ได้ถึงกาลมรณภาพลง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑

    ในด้านผลงานของหลวงพ่อลมูล ท่านได้พัฒนาไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่ถนนหนทาง จนถึงบ้านพักและสถานีตำรวจสวนพริกไทย อนามัย และโรงเรียน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเลื่อมใส ต่างก็ได้ส่งบุตรหลานของตนเข้ามาบวชอยู่กับท่านอย่างมากมาย ทุกคนได้หันหน้าเข้าวัดด้วยการฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านมิได้ขาดเพราะชาวบ้านถือกันว่าท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง จากผลงานในด้านปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ทำให้ทางคณะสงฆ์มีความเห็น แต่งตั้งให้ท่านเป็น พระครูใบฏีกา ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณธรรมกิตติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูชั้นประทวน ที่ พระครูลมูล ขนฺติพโล
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์
    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์
    ชั้นโท ที่ พระครูสาทรพัฒนกิจ
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ
    ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในราชทินนามเดิม
    ผลงานในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงพ่อลมูล ท่านก็ได้ตั้งสำนักเรียนนักธรรมตั้งแต่ชั้นตรี-โท-เอก ขึ้น รวมทั้งสอนแผนกบาลีด้วย ทางด้านปฏิบัตินั้นท่านได้ฝึกอบรมกรรมฐานเป็นประจำ จนมีญาติโยมเข้ามาฝึกกรรมฐานกันมากขึ้นทุกวันเพราะเชื่อกันว่า การฝึกกรรมฐานกับท่านแล้วทำให้เกิดศรัทธาแรงกล้า ส่วนในระยะที่อยู่ในพรรษาแต่ละพรรษาท่านต้องเป็นผู้นำพระใหม่ และเก่าฝึกกรรมฐาน รวมทั้งเป็นผู้นำสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาดทุกวัน ตลอดจนสั่งสอนอบรมจริยวัตรในขณะที่เป็นสงฆ์และไปเป็นฆราวาส ด้านการพัฒนาวัด หลวงพ่อลมูลได้ทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จด้วยความสามารถนานาประการของหลวงพ่อลมูล ท่านจึงเป็นพระเถระที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาโดยตลอด ประกอบกับท่านนั้นเป็นพระสงฆ์ที่มีวิชาอาคมเข้มขลัง จึงมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศมาหาท่านให้ช่วยในเรื่องต่างๆทุกวันมิขาดสาย ท่านก็ได้ช่วยเหลือทุกคนด้วยความเมตตาโดยมิเลือกที่รักมักที่ชังแต่ประการใด ชื่อเสียงของหลวงพ่อลมูลจึงขจรกระจายไปทั่วประเทศ
    พระครูสาทรพัฒนกิจ หรือหลวงพ่อลมูล ขนฺติพโล วัดเสด็จ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี นั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ท่านนั้นเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี พระเถราจารย์รามัญชื่อดังแห่งเมืองปทุมธานี ท่านจึงเป็นพระที่มีวิชาอาคมขลังอีกรูปหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี ท่านจึงมักจะถูกนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีปลุกเศกวัตถุมงคลของวัดต่างๆอยู่สม่ำเสมอ อาทิเช่น ท่านได้เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเศกในพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ และท่านยังได้เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ร่วมพิธีอธิฐานจิตปลุกเศกพระสมเด็จฯ “รุ่น อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี แห่งการมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมฺรังษี) วัดระฆังโฆษิตาราม” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ และอีกหลายๆพิธี เป็นต้น หลวงพ่อลมูล ท่านเป็นยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้าอย่างมาก พลังจิตของท่านดีมาก จนชาวบ้านยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งสวนพริกไทย หลวงพ่อลมูล ขนฺพโล ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องรางและเริ่มแจกจ่ายให้กับเหล่าศิษยานุศิษย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา โดยจำนวนการสร้างของวัตถุมงคลของท่านในแต่ละครั้งนั้นไม่ทราบแน่ชัดนัก เพราะท่านสร้างไป เสกไป และแจกไป เรื่อยๆ เป็นว่า หมดก็สร้างใหม่ แต่ที่เป็นที่นิยมของนักสะสมและเหล่านักเลงพระนั้นคงจะหนีไม่พ้น พระสมเด็จฯ ฝังตะกรุด พิมพ์ต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ตามตำรา ที่ท่านได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชามาจากอาจารย์ท่าน นั่นก็คือ หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี โดยหลวงปู่เทียน นอกจากท่านจะสำเร็จวิชาการทำผงวิเศษ ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ แล้ว ท่านยังเป็นพระที่สำเร็จวิชา “ผง ๑๒ นักษัตร” ซึ่งเป็นผงที่เขียนลบมาจากยันต์ ๑๒ นักษัตร ทั้ง ๑๒ ปี ดังนั้น พระเนื้อผงของท่านจึงดีเด่นสูงค่าไปด้วยพระพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม อุดมโชคลาภ มีกินมีใช้ทุกปี ไม่ขัดสน เข้าได้กับทุกผู้คน ทุกปีเกิด สามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีพระเครื่องของท่านพกพาอาราธนาติดตัวอยู่ เวลาดวงชะตาตกต่ำ ก็จะค้ำจุนไม่ตกอับจนเกินไป เวลาดวงชะตารุ่งโรจน์ ก็จะเสริมดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น หลวงปู่เทียนท่านได้ถ่ายทอดวิชาผง ๑๒ นักษัตรนี้ให้แก่ศิษย์ คือ หลวงพ่อลมูล โดยหลวงพ่อลมูลท่านจะทำพิมพ์ให้ต่างจากหลวงปู่เทียน และท่านก็ลบผงพุทธคุณเองด้วยเช่นกัน วัตถุมงคลของท่านทุกชนิดน่าแขวน น่าใช้ติดตัว รุ่นยุคต้นๆของท่าน ปัจจุบันก็หาไม่ค่อยง่ายนัก ชาวสวนพริกไทยนิยมกันมาก จำไว้ว่าตะกรุดที่ฝังจะไม่เรียบร้อยเช่นกัน ม้วนไม่ค่อยกลมนะครับ วัตถุมงคลของท่านนั้นสามารถใช้ป้องกันภัยอันตราย จากสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่มีมากมายในสวนสมัยก่อนได้อย่างน่ามหัศจรรย์ อีกทั้งยังมีพุทธคุณครบเครื่อง ไม่เป็นรองอาจารย์ของท่าน ทั้งคงกระพัน มหาอุด มหานิยม เมตตา โชคลาภ ลูกศิษย์ทั้งหลายล้วนทราบกันดีครับ องค์นี้สมเด็จพิมพ์ ๙ชั้น ด้านหลังฉลองพัดยศ ปี๒๕๑๓ ฝังตะกรุด ๓ ดอก วัตถุมงคลของท่านทุกชนิดล้วนแล้วแต่เด่นไปด้วยประสบการณ์นานารูปแบบ เป็นของดีของขลังอีกสำนักหนึ่งของเมืองปทุมธานี โดยปัจจุบันนี้วัตถุมงคลของท่านได้ขึ้นแท่นเป็น พระเครื่องยอดนิยมของจังหวัดปทุมธานี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    พระครูสาทรพัฒนกิจ หรือ หลวงพ่อลมูล ขนฺติพโล วัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ท่านได้อาพาธและได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘ สิริรวมอายุของท่านได้ ๘๙ ปี พรรษา ๕๗

    เรียบเรียงโดย
    ขุนแผน แดนรามัญ

    ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ
    ข้อมูลประวัติจาก หนังสือ อนุสรณ์งาน พระราชทานเพลิงศพ พระครูสาทรพัฒนกิจ(ลมูล ขนฺติพโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี , เว็บไซด์ ยูทูป เปิดบันทึกตำนาน หลวงพ่อลมูล ขนฺติพโล วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระกริ่งหลวงพ่อลมุลวัดเสด็จ ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    ลพ.ลมูลกล่อบง.jpg ลพ.ลมูล.jpg ลพ.ลมูลหลัง.jpg
     
  14. Suppasit_S

    Suppasit_S เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,147
    ค่าพลัง:
    +3,869
    สนใจครับ ราคาเป็นยังไงบ้างครับ

     
  15. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +151
    ขออนุญาตจองครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    องค์ละ 300 ทุกองค์ครับ ราคาเดิมที่เคยลงไว้2-3ปีก่อนประมาณนี้ มีเกษาแต่ขาวๆถ่ายรูปไม่เห้นต้องส่ององค์จริง ส่วนวัดโคกแก้วผมไม่เคยลงไว้ เพราะไม่คิดจะขายมาก่อนครับ เก็บไว้หลายองค์เพราะคนไม่รู้จัก ขายเดี๋ยวจะว่าอุปโลกค์ผมยังหาหนังสือไม่เจอ รูปที่ลป.บุญศรีเสก องค์นี้มีกล่อง องค์อื่นๆไม่มีกล่อง จำไม่ได้ว่าตอนนั้นวัดจะซื้อที่ดินหรือสร้างอะไรซักอย่าง ถ้าเจอหนังสือจะมีข้อมูลครับ ผิดถูกขออภัย ลองพิจรณาดูครับ ขอบคุณครับ
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏ มียศบ่อยากให้ลือชา

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    lp-pang-002-jpg.jpg
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุต เกิดในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๔๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดกระเสียน ตำบลกุดกระเสียน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

    โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บับพา ครองยุต มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ บาง ซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต คนที่สองชื่อ คำแสน ส่วนตัวหลวงปู่เป็นคนสุดท้อง (บางแหล่งข้อมูลบอกว่าท่านเป็นบุตรคนที่สอง)

    คุณตาชื่อ ศรีมงคล คุณยายชื่อ เหง้า สำหรับคุณตานั้น เคยเป็นกำนันตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งคุณตาและคุณยายมีบุตรธิดาสืบสกุลด้วยกัน ๓ คน คือ

    lp-pang-001a-jpg.jpg
    ๑ คุณแม่บัพพา (โยมมารดาของหลวงปู่)

    ๒. คุณแม่ล้อม

    ๓. คุณแม่จอม

    เชื้อสายของท่านมักจะไม่ค่อยมีลูกมาก อย่างมากก็มีลูกเพียง ๒-๓ คน เท่านั้น

    ครอบครัวของท่านยึดอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ตามสภาพของท้องถิ่นในสมัยนั้นเป็นหลัก อาชีพอื่น เช่นค้าขาย เป็นต้นเป็นอาชีพรอง

    การศึกษาทางโลกของหลวงปู่มีความรู้เพียงขั้นพออ่านออกเขียนได้ เนื่องจากในสมัยที่หลวงปู่ยังเยาว์วัยอยู่นั้น พระราชบัญญัติประถมศึกษา ยังมิได้ประกาศใช้ ผู้ประสงค์จะได้รับการศึกษาเล่าเรียน จะต้องขวนขวายเอาเอง โดยการฝากตัวเข้าเป็นศิษย์วัดกับพระภิกษุที่อ่านออกเขียนได้ แล้วให้ท่านสอน

    หลวงปู่มีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ถือความสัตย์ พูดจริงทำจริง รักธรรมชาติ ชอบความสงบ เมตตาสัตว์มีแนวความคิดสร้างสรรค์ และชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

    พ.ศ. ๒๔๖๕ บวชครั้งที่ ๑

    ในปีพ.ศ. ๒๔๖๕ เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย ในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอุปัชฌาย์ดวน คุตฺตสีโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีความรู้พอสมควร ต่อมาเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศมาประกอบสัมมาอาชีพ

    พ.ศ. ๒๔๖๘ แต่งงาน

    ครั้นอายุได้ ๒๓ ปีก็ได้สมรสตามประเพณีกับนางสาวจันดี สายเสมา คนบ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ครองเรือนมาด้วยกันอย่างราบรื่น แต่ไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติพี่น้องมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง ครองยุติ (บางแหล่งข้อมูลว่าชื่อ นางหนูพาน)

    เมื่อครั้งยังอยู่ในเพศฆราวาส หลวงปู่เป็นคนขยัน เอาจริงเอาจังกับการงาน ได้ประกอบสัมมาอาชีพโดยช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่ บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำ หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว

    หลวงปู่ผางได้ใช้ชีวิตในเพศฆราวาสเป็นเวลานาน สามารถรอบรู้เหตุการณ์ที่ผ่านมา พิจารณาดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและหมู่สัตว์ทั้งหลายบรรดามีในโลกเมื่อเกิดมาแล้วต่างก็สับสนวุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเป็นที่เดือดร้อนไม่สุดสิ้น

    หลวงปู่คงจะได้สั่งสมบุญบารมีมามาก ทำให้ท่านมองเห็นความไม่แน่นอน และความไม่มีแก่นสารในชีวิต ทำให้จิตใจของท่านโน้มเอียงไปในทางแห่งความสงบ ท่านได้ทำทานเป็นการใหญ่ โดยได้ให้เกวียน วัว บ้าน ไร่ นา แก่ผู้อื่นสละทุกสิ่งทุกอย่างจนหมดสิ้น (บางแหล่งข้อมูลว่า ยกทรัพย์สินให้บุตรบุญธรรม คือนางบุญปราง ครองยุติ ซึ่งขณะนั้นได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว)

    พ.ศ. ๒๔๘๗ บวชครั้งที่ ๒

    หลังจากที่หลวงปู่ในเพศฆราวาสได้บริจาคทาน วัว ควาย ไร่ นา บ้านเรือนให้แก่ผู้อื่นจนหมดสิ้นแล้ว ก็หมดห่วงและได้หันหน้าเข้าหาพระธรรม ดังนั้นประมาณปีพ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุได้ราว ๔๒ ปี จึงได้ชวนนางจันดีผู้เป็นภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนหลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฏ ท่านได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า "จิตฺตคุตฺโต" อันมีความหมายว่า ผู้คุ้มครองจิตดีแล้ว นับเป็นการบวชครั้งที่สองของหลวงปู่
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-pang/lp-pang-hist-01.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อผาง ปี๒๕๑๘ ผสมเกษา ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    789-6a1f-jpg-jpg.jpg

    ประวัติ พระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย


    ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
    ครั้ง นี้เป็นบันทึกประวัติชีวิตของท่านพระอาจารย์วิชัยโดยตรง ชีวิตการธุดงคกรรมฐานของท่านที่ละเอียดมีแง่มุมอันมีเนื้อหาสาระหลากหลาย เป็นประสบการณ์ในชีวิตของพระป่า ที่มีอุดมคติอุดมการณ์ความมุ่งหมายเป็นสัจจุแน่วแน่ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรง ปรารถนาให้สาวกและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ นั่นคือ มรรค ผล นิพพาน! ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัยนี้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงในพระศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต เปี่ยมไปด้วยพลอินทรีย์บารมีอันมุ่งมั่น ควรเป็นที่นับถือ ไหว้นพ เคารพสักการบูชา
    ชีวประวัติปฏิทานี้เขียนโดยลายมือของท่านพระอาจารย์วิชัยเอง! เริ่มต้นด้วยชาติกำเนิดปฐมวัยของท่านดังต่อไปนี้

    ชื่อ เดิม “วิชัย คล่องแคล่ว” เกิดวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๘ (สองพันสี่ร้อยแปดสิบแปด) ณ ที่บ้านหินลาด ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายบัว นางกอง คล่องแคล่ว (สำหรับคุณแม่บวชเป็นแม่ชีอยู่ด้วยขณะนี้) พ่อนั้นตายเสียตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุได้ ๑ ขวบกว่า ๆ อาชีพเดิมของบิดามารดา คือการทำนาตามบรรพบุรุษหลายชั่วคน เมื่อตอนเล็ก ๆ ข้าพเจ้าชอบอยู่กับยาย คือแม่เอาข้าพเจ้าไปฝากยายไว้ซึ่งอยู่คนละบ้าน เพราะแม่ของข้าพเจ้าท่านได้ไปแต่งงานใหม่ ทำให้ข้าพเจ้ากับน้องได้ไปอยู่กับยาย

    นี่คือปฐมบทของชีวิตของเด็กน้อย ที่ได้เริ่มรู้จักกับความว้าเหว่อ้างว้างของลูกที่กำพร้าพ่อและพลัดพรากจาก แม่เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๗ ขวบ ยายก็ให้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านแก่งเจริญ ข้าพเจ้าทำงานหนักที่พอจะทำได้มาตั้งแต่เด็ก ๆ จะเรียกว่าเป็นชีวิตทั้งกำพร้าพ่อแม่ก็ว่าได้เพราะไม่ค่อยจะได้อยู่กับแม่
    ข้าพเจ้า ได้ช่วยยายและพวกน้าผู้หญิงผู้ชายทำงาน กล่าวคือเมื่อตื่นขึ้นมาก็ต้องไปตักน้ำใส่ตุ่มน้ำกินน้ำใช้ เพราะหมู่บ้านที่อยู่นั้นบ่อน้ำอยู่ห่างไกลออกไปประมาณ ๑ กม. และเมื่อตักน้ำกินมาไว้เต็มตุ่มแล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องลงไปตักน้ำในแม่น้ำมูลมาใช้และรดห้างพลูกินหมากให้ยาย นี่เป็นงานประจำตอนเด็ก
    นอกจากนั้น ยังต้องช่วยน้าผู้หญิงตำข้าวด้วย เพราะสมัยนั้นหมู่บ้านแถบนี้ยังไม่มีโรงสีข้าว

    ชีวิตข้าพเจ้าจึงตกระกำลำบาก เด็กเพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันเขาสบายกันมาก ส่วนข้าพเจ้าเวลากินก็แสนจะลำบาก แม้แต่เวลานอนก็ลำบาก ถึงฤดูทำนาต้องไปนอนที่กระท่อมนากับน้าผู้ชาย ตื่นเช้ามาต้องนึ่งข้าวเหนียวหุงข้าวให้น้า เพราะน้าตื่นขึ้นมาก็รับไปไถนา เมื่อหุงข้าวเสร็จ ก็ต้องหามฟืนกลับบ้านซึ่งห่างจากทุ่งนาประมาณ ๔ กม. พอถึงบ้านก็ต้องรีบกินข้าวไปโรงเรียน ระยะทางจากหมู่บ้านไปถึงโรงเรียน ๓ กม.

    สมัยนั้นยังไม่พัฒนา ทางการให้ ๓ - ๔ หมู่บ้านไปเรียนหนังสือรวมกันที่โรงเรียนแห่งเดียว ทำให้เด็กนักเรียนแต่ละหมู่บ้านต้องเดินไปเรียนกันทางไกลหน่อย พอเลิกเรียนในตอนบ่าย ก็เดินกลับบ้านรีบกินข้าว ซึ่งส่วนมากเป็นข้าวเหนียวในก่องข้าวหรือกระติบเย็นชืดกับปลาร้าและพริกแทบ ทุกวัน อร่อยมากเพราะหิว คนเราเมื่อหิวกินอะไรก็อร่อยทั้งนั้น จากนั้นก็เอากระบุงใส่ปุ๋ยคอกหาบไปทุ่งนาวันละหาบเฉพาะตอนเย็นการไปนาและ กลับมาบ้านนั้น บ่าของข้าพเจ้าจะไม่ว่างจากไม้คานเลย
    เพื่อนฝูงที่เขามี นาอยู่ใกล้กัน ๔ - ๕ คน เขาเดินไปตัวเปล่าเดินมาตัวเปล่าหยอกล้อกันบ้าง วิ่งไล่จับกันสนุกสนาน ส่วนข้าพเจ้าทำไม่ได้เพราะบ่าต้องหาบคอนใส่ของหนังอึ้ง หมดสนุกสนานมีแต่ความเศร้าสร้อย

    น้าผู้ชายท่านรักข้าพเจ้ามาก รักเสมือนลูกของท่านจริง ๆ ส่วนน้าผู้หญิงนั้นแกไม่รักข้าพเจ้าเลย ชอบข่มเหงรังแกตลอดเวลา บางครั้งทำอะไรไม่ทันใจแกก็จะจิกหัวหรือเฆี่ยนเอา แต่ถ้าน้าผู้ชายเห็นแล้วจะทำไม่ได้ ชีวิตของข้าพเจ้าหากไม่มีน้าผู้ชายช่วยปกป้องแล้วลำบากแสนเข็ญมาก
    แม้แต่ เวลาเข้าเรียนหนังสือเพื่อนเขาได้กระดานใหม่ ๆ คือ กระดานชนวน ได้กางเกงใหม่ เสื้อใหม่ ดินสอใหม่ ส่วนข้าพเจ้าไม่เคยได้เขียนกระดานใหม่ ไม่เคยได้ดินสอใหม่แท่งยาว ๆ เหมือนเขาเลย

    ยายเป็นคนตระหนี่ประหยัด จึงให้ใช้กระดานแตก ๆ แต่พอเขียนได้ ดินสอก็สั้น ๆ กุด ๆ แม้แต่กางเกงของข้าพเจ้าก็ขาดกะรุ่งกะริ่ง เพื่อนชอบล้อเล่นอยู่เรื่อยว่า “ลุงก็มาโรงเรียนเหรอ?”
    หนังสือเรียนก็เก็บเอาของเก่าเขามาให้อ่าน ขาดไปก็มี แต่ก็ยังเป็นบุญบารมีของข้าพเจ้าที่เรียนหนังสือได้เก่งพอสมควร ได้เป็นหัวหน้าชั้นบ่อยที่สุด
    พูดถึงของใช้แล้ว น้อยนักน้อยหนาที่จะได้ใช้ของใหม่ ๆ ดี ๆ ถ้าเป็นผ้านุ่งผ่าห่มก็รับเอาของเก่าพี่ชายบ้าง ยายเอาของคนอื่นมาให้บ้าง

    พอถึงหน้าหนาว ผ้าห่มก็แสนจะขาดปะแล้วปะอีก กางเกงและเสื้อก็ปะแล้วปะอีก ชีวิตของลูกกำพร้าที่อยู่อาศัยยายและน้านั้นแสนจะลำบากเหลือเกิน ชีวิตเอ๋ยช่างอาภัพโชคกระไรหนออย่างนี้ มองดูชีวิตเพื่อนรุ่นเดียวกันเขาช่างมีความสุขมาก ครั้นพออายุได้ ๘ ขวบ เรียนอยู่ประถม ๒ พี่ชายลูกคนละพ่อเขาไปบวชเป็นสามเณร จิตใจของข้าพเจ้าอยากจะตามไปบวชด้วยเหลือเกิน ได้เห็นพี่ชายห่มผ้าจีวรเหลืองอร่ามเหมือนทองดอกบวบงามจับใจ ทำให้ใจไม่อยากจะอยู่บ้านเลย เพราะอยู่บ้านกับยายกับน้าผู้หญิง มีแต่ความทุกข์กายทุกข์ใจเสมอจะยากลำบากกับการงานหนักเกินวัยเด็ก

    เวลา เช้าฤดูแล้ง ยายให้ไปส่งข้าวเณรพี่ชายที่วัดทุกเช้า ข้าพเจ้าบอกเณรพี่ชายให้หาหนังสือพระเณรที่เกี่ยวกับการบอกวิธีบวชเรียนและ สวดมนต์มาให้ พี่เณรก็เอาหนังสือเจ็ดตำนานมาให้อ่านและได้บอกคำขอบวชให้ด้วย

    ข้าพเจ้า เอามาอ่านมาท่องทุกวัน ท่องคล่องปากเพราะเคยได้ยินพระสงฆ์ท่านสวดมนต์อยู่เสมอ วันไหนว่างก็แอบไปวัด เพราะวัดคือสถานที่เล่นเย็นใจหรือสนุกสนานของเด็ก ๆ บ้านนอก เมื่อไปวัดก็ท่องคำขอบบวชเณรให้ขึ้นและได้ขอร้องให้พี่เณรมาช่วยพูดกับยาย ขอร้องให้ยายอนุญาตให้ข้าพเจ้าบวชเณรบ้าง
    พี่เณรก็บอกว่าเรียนหนังสือยัง ไม่ทันจบ ป.๔ บวชเณรไม่ได้หรอก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ฟัง ได้รบเร้าอยู่เรื่อย ๆ จนพี่เณรทนไม่ไหวต้องมาบอกยาย เลยโดยยายตวาดเอา
    แต่ถึงอย่างไรข้าพเจ้าก็ ไม่ลดละความพยายามจะบวชให้ได้ ปีต่อมาข้าพเจ้าพยายามหาวิธีบวชให้ได้ วันไหนว่างแอบไปฟังท่านอาจารย์ที่วัดเทศน์และสนทนากับท่านบ้าง ท่านก็ชวนบวช ทำให้ศรัทธาของข้าพเจ้ายิ่งมีมากขึ้น บางวันไถนาปลูกข้าวอยู่แต่ร่างกาย ส่วนจิตใจมาอยู่วัดตลอดเวลา

    วันหนึ่งปลูกข้าวอยู่กับแม่ เป็นวัน ๗ ค่ำ ซึ่งทางภาคอีสาน พอถึงวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ พระเณรที่วัดต้องตีกลองให้สัญญาณบอกวันโกนวันพระ เขาเรียกว่าตีกลองแลง ( แลง แปลว่า ตอนเย็น) แม้แต่ตี ๔ ตอนกลางคืนก็ตีกลองอีก ตีสลับกับฆ้องเรียกว่าตีกลองดึก เสียงวังเวง ฝูงหมาจะเห่าหอนกันเกรียวทีเดียว
    วันนั้นพอได้ยินพระท่านตีกลองแลง จิตใจของข้าพเจ้าหวิว ๆ อย่างไรบอกไม่ถูก บอกแม่ว่าเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วผมต้องบวชให้ได้ แม่ก็บอกว่า แม่จะบวชให้ลูกทุก ๆ คนนั่นแหละ ข้าพเจ้าดีใจแสนจะดีใจบอกไม่ถูก ถึงวันพะข้าพเจ้าชอบทำบุญตักบาตร แม้แต่ไปเที่ยววัดไหนยามมีงานวัด ก็ต้องทำบุญก่อนเที่ยว เรื่องทำบุญนี้ทำเองด้วยใจรัก ไม่มีใครบอก เป็นฉันทะความพอใจความเลื่อมใสจากส่วนลึกของหัวใจ

    แม่เอาเงินให้ไป เที่ยวดูโน่นดูนี่ แต่ข้าพเจ้ากลับเอาเงินไปทำบุญหมดก็มี จิตใจมีแต่เมตตาความรักความเอ็นดูสงสารต่อคนอื่นเสมอ แม้แต่สัตว์ เป็นต้นว่าไก่ก็ไม่เคยฆ่า สุนัข แมว วัว ควาย ไม่เคยฆ่า มีเมตตาสงสารสัตว์เหล่านี้เสมอ เห็นใครเขาเชือดคอเป็ดคอไก่แล้วต้องรีบเดินหนีด้วยความสงสาร เห็นคนขับเกวียนบรรทุกฟืนเพียบแปล้ เอาดุ้นฟืนขนาดเท่าแขนตีวัวเทียมเกวียน บังคับขู่เข็ญให้วัวลากเกวียนไป แต่วัวหมดแรงลากไม่ไหวถูกตีจนล้มฟุบ ขี้แตกออกมา ข้าพเจ้าเห็นแล้วถึงกับร้องไห้ด้วยความสงสาร โอหนอ ทำไมคนเราใจคอโหดร้าย ใช้สัตว์ทำงานทารุณถึงปานนั้น ช่างไม่คิดเวทนาสงสารวัวลากเกวียนเอาเสียเลย หรือว่าชาติปางก่อน วัวตัวนั้นเคยเป็นคนทำบาปชั่วมามาก ชาตินี้เลยมาเกิดเป็นวัวให้คนเขาทุบตีใช้งานหนักเช่นนี้เป็นการใช้กรรมเวร? เพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันชอบล้อว่า พ่อใจบุญ ๆ ๆ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจเสมอ

    เริ่มบวชเป็นสามเณร อายุ ๑๗ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดเวฬุวัน บ้านหนองไผ่ ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลธานี โดยมีท่านพระครูสุนทรธรรมวิบูลย์ เป็นพระอุปัชณาย์ บวชในช่วง ๑๐.๐๐ น. ตกกลางมาก็เริ่มปฏิบัติสมาธิเป็นแล้ว เพราะเคยฝึกมาก่อนบวช การนำจิตเข้าสู่สมาธิจึงทำได้พอสมควร ปฏิบัติมาตลอดทุก ๆ วันในพรรษาแรก จิตก็เข้าสมาธิได้สม่ำเสมอแล้ว

    พรรษาที่สอง สอบนักธรรมตรีได้ และการปฏิบัติเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ในกลางพรรษาที่สอง พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาประทับอยู่ที่หิ้งพระ แย้มพระโอษฐ์อยู่นานพอสมควรจึงเสด็จไป
    พ.ศ.๒๕๐๘ ย้ายมาอยู่วัดสว่างอารมณ์ บ้านเสียม ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เรียนนักธรรมชั้นโท แต่ก็สอบไม่ผ่าน ออกพรรษา หมดเขียนกฐิน ก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ เวลา๖.๐๐ น. บวชไม่กี่วันก็ได้เดินธุดงค์ไปประเทศลาวกับหลวงปู่ไพ ไปพบหลวงพ่อมหาผ่อง เมืองโพนทอง ไปภูมะโรง พบอาจารย์บุญมาก ข้ามยนต์ไปที่จังหวัดปากเซ แล้วก็เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านยิก เลยไปถึงอัตบามือ ใกล้เมืองสาลวัน ติดต่อเขตแดนลาว เวียดนาม ย้อนกลับมาทางจังหวัดจำปาสัก
    เดินธุดงค์อยู่ ทางประเทศลาวนานพอสมควร จึงได้กลับขึ้นมาประเทศไทย ปี ๒๕๐๙ จำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวดูน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปฏิบัติไปด้วยศึกษาธรรมไปด้วย ก็สอบนักธรรมชั้นโทได้ กลับมาอยู่วัดสว่างอารมณ์บ้านเสียมอีกครั้งหนึ่ง ศึกษานักธรรมชั้นเอกต่อ

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ออกจากวัดสว่างอารมณ์ มุ่งหน้าต่อไปทางอุดธานี เดินธุดงค์อยู่ตามภูเก้า อำเภอหนองบัวลำภู ขณะนี้เป็นจังหวัดไปแล้ว และเดินอยู่หลายอำเภอ เพราะแถบนั้นมีป่าเขามาก ในปีนั้นก็ได้เดินกลับมาจำพรรษาอยู่วัดบ้านกุดจิก ตำบลห้อยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีออกพรรษาเดินทางไปเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาว นานพอสมควรก็ได้ข้ามมาประเทศไทย
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ จำพรรษาอยู่บ้านกุดจิกต่อ ออกพรรษาก็ได้เดินทางกลับไปเวียงจันทน์อีก

    ปี ๒๕๑๔ เดินทางไปอบรมพระพัฒนาการทางจิต ที่จิตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง ได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่ เสร็จจากการอบรมเป็นเวลาสามเดือนก็เดินทางกลับอุดรอีกครั้งหนึ่ง ได้ลาญาติโยมเดินธุดงค์ลงภาคใต้ ได้ไปจำพรรษาอยู่วัดท้าวโครต ขณะนี้เปลี่ยนเป็นวัดชายนา ตำบลนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติที่นี่เป็นเวลา ๒ ปี
    ในช่วงอยู่วัดชายนานี้ได้มีโอกาสทำความเพียร อย่างอุกฤษฏ์ มอบกายถวายชีวิต ค้นคว้าหาสัจธรรมโดยไม่คำนึงถึงตายตามอยู่ หมายถึงเอากายเป็นเดิมพัน ตายเป็นตาย อยู่เดือนปี ไม่มีใจดวงจิต มุ่งหน้าตั้งตาเอาชนะจิตของตัวเอง และเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

    ในช่วงฤดูแล้ง บางโอกาสก็ออกแสวงหาวิเวก โดยการเดินธุดงค์ไปตามสถานที่สงัด ๆ บางครั้งก็ไปสามเดือนสี่เดือน ก็ย้อนกลับมารับโอวาทจากหลวงพ่อใหญ่ ธมฺมธโร ออกพรรษาก็เดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไปแทบทุกจังหวัด และทุกภาคด้วย
    มี อยู่ช่วงหนึ่งร่างกายสังขารซูบผอมมาก เดินก้าวขาแทบจะไม่ออก ซึ่งได้แวะเข้าไปพักปฏิบัติอยู่สวนโมกข์นานพอสมควร จวนจะเข้าพรรษา ปี ๒๕๑๕ จึงได้กราบลาหลวงพ่อพุทธทาสไปเดินทางไปเกาะสมุย แล้วเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช จำพรรษาที่วัดชายนาอีกครั้งหนึ่ง ออกพรรษาก็ได้เดินธุดงค์กลับทางภาคอีสาน และก็ย้อนกลับลงไปภาคใต้อีก เพื่อจะไปกราบลาหลวงพ่อธมฺมธโร เดินทางไปประเทศพม่าตามความตั้งใจไว้ จึงได้ออกมาองค์เดียว

    เดินขึ้นมาเรื่อย ๆ ขึ้นมาถึงกรุงเทพแล้ว ก็แวะไปภาคตะวันออกแถวจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ขึ้นมาทางปราจีนบุรี นครนายก สระบุรี มาป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถจะเดินทางต่อได้ และเข้าไปพักอยู่วัดเขาเทพพนมยงค์ ในช่วงนั้นหลวงปู่ไวยังไม่ได้ไปอยู่ ขณะป่วยอยู่นั้น ยาข้าวก็ไม่ได้กิน

    หลวงพ่อแก่ ๆ ท่านจัดให้อยู่กุฏิหลวงเก่า ๆ โทรมแล้ว โดยไม่มีใครมาถามข่าวคราวอะไรทั้งสิ้น นั่ง นอน กำหนดจิตต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา นึกว่าเป็นไข้อย่างอื่นเข้ามาแทรกเสียแล้ว เพราะมีความร้อนผิดปกติมาก ก็ได้เอาแต่น้ำเย็นลูบตัวของตัวเอง แก้ไขทางกายเราถือว่าไม่ยาก แต่การแก้ไขทางจิตใจนั้นยุ่งยากกว่า ก็เลยไม่ได้ห่วงมากเท่าไหร่นัก แต่เรื่องจิตใจนั้น จะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ จิตใจป่วยร้ายกว่ากายป่วย กายป่วยไม่นานก็หาย แต่จิตใจป่วยนั้นหลายร้อย หลายพัน หลายหมื่นชาติ ที่คอยรักษาจิตใจอยู่ตลอดเวลานั้น ก็เพื่อจะให้เป็นผู้หายป่วยใจเสียที จะได้เป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของโรคชั่วร้ายทั้งหลาย

    พออาการป่วยทุเลาลงแล้ว ก็เดินทางต่อมุ่งสู่ภาคเหนือ มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดแรก ได้ยินกิตติศัพท์ของครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง จิตมีความตั้งใจจะไปศึกษาธรรมกับท่าน ก็ได้ไปถึงเชียงใหม่ตามความตั้งใจครั้งแรกไปพักอยู่ที่วัดอุโมงค์ ย้ายไปพักอยู่ ๔ วัดเมืองบาง จากนั้นจึงได้เดินไปวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง บำเพ็ญเพียรปฏิบัติอยู่ที่นี่นานพอสมควร และได้มาตั้งใจท่องปาฏิโมกข์จบอยู่ที่วัดนี้ ท่องอยู่ ๒๔ วันพอดี ความคิดที่จะเดินทางไปจำพรรษาที่ประเทศพม่ายังสะกิดใจอยู่ตอลด จึงได้กราบลาครูเจ้าอินทจักร์เดินทางต่อไป

    จากเชียงใหม่เข้าจังหวัดลำพูน มาพักศึกษาธรรมกับครูบาเจ้าพรหมจักร์ ก็เป็นเวลานานพอสมควร ก็เดินทางต่อขึ้นไปทางจังหวัดลำปาง เลยไปถึงเชียงราย ต่อถึงอำเภอแม่สาย ข้ามไปประเทศพม่าจะเดินทางต่อไปเชียงตุง กะว่าจะจำพรรษาที่จังหวัดเชียงตุง บังเอิญเจ้าหน้าที่พม่าไม่ยอมให้ไป จึงได้เดินวนไปมาในแถวเชียงรายหลายอำเภอที่สุดจวนจะเข้าพรรษา จึงได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำผาจม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่าเขาอยู่มาก และเงียบสงบ เหมาะสมกับผู้แสวงหาความวิเวกดี ในพรรษานั้นจึงได้ตั้งใจปฏิบัติเต็มที่

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จำพรรษาอยู่ถ้ำผาจมออกพรรษาก็เดินธุดงค์อยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จำพรรษาอยู่ถ้ำผาจลุย บ้านป่าแงะ ตำบลแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย พักปฏิบัติอยู่ที่นี่ ๑๔ เดือน
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ได้ย้อนกลับมาจำพรรษาอยู่วัดถ้ำผาจมอีกครั้งหนึ่ง จนถึงในปัจจุบันนี้ แต่ละปีนั้นจะออกแสวงหาวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี

    เมื่อได้มาอยู่ที่วัด ถ้ำผาจมแล้ว การก่อสร้างต่างๆ ก็เริ่มขึ้นในปี ๒๕๑๘ เรื่อยมาจวบจนทุกวันนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ศาลาปฏิบัติธรรมหลังเก่า (ที่รื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่) สร้างตึก ๔ ชั้น สำหรับญาติโยมที่มาพักมาทำบุญในเทศกาลต่างๆ ซึ่งสร้างต่อกันมาเรื่อย ๆ ใช้เวลาหลายปี คือได้เงินทำบุญมาก็นำมาสร้างเป็นชั้น ๆ ไปจนเสร็จสมบูรณ์
    อันดับที่ ๓ ก็คืออุโบสถหรือโบสถ์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด
    อันดับที่ ๔ คือ พระนอนที่สวยงามใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของวัดเช่นกัน
    อันดับ ที่ ๕ คือ ศาลาปฏิบัติธรรม ๔ ชั้น สูงสง่าใหญ่โตรโหฐาน โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ และได้เสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๔๓ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๔๐ กว่าล้านบาท และ
    อันดับที่ ๖ กำลังจะสร้างพระอุโบสถ หรือโบสถ์หลังใหม่ โดยจะเริ่มสร้างเมื่อต้นปี ๒๕๔๔

    ส่วนที่บ้านเกิดของหลวงพ่อวิชัย เขมิโย ในจังหวัด อุบลฯ นั้นท่านได้เมตตาสร้างให้ชาวจังหวัด อุบลฯ ดังนี้
    ๑. สถานีอนามัย บ้านหันลาด ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ ๑ หลังในปี ๒๕๓๙
    ๒. สถานีอนามัยสิรินทร อ.สิรินทร จ.อุบลราชธานี ๑ หลัง ในปี ๒๕๔๐
    ๓. โรงเรียนบ้านหินลาด ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ หลังในปี ๒๕๔๒
    ๔. ศาลาเอนกประสงค์ วัด บ้านหินลาด ในปี ๒๕๓๘
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อวิชัย ถ้ำผาจมรุ่นแรก ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    e0-b8-ad-e0-b8-a7-e0-b8-b4-e0-b8-8a-e0-b8-b1-e0-b8-a2-jpg-jpg.jpg 0-b8-ad-e0-b8-a7-e0-b8-b4-e0-b8-8a-e0-b8-b1-e0-b8-a2-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    1375089021-1069193276-o-jpg.jpg
    ๏ อัตโนประวัติ

    พระคุณเจ้า “หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม” มีนามเดิมว่า แตงอ่อน บุตรศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณนา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายพันธ์ บุตรศรี มารดาชื่อ นางมุ่ย บุตรศรี ต่อมา ครอบครัวของท่านได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านหนองนาหาร ตำบลนาซอ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ วัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติเป็นมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดเสบุญเรือง จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต

    หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ได้ญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กลฺยาณธมฺโม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีธรรมอันเจริญ, ผู้มีธรรมอันงาม

    ๏ มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น

    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงตาแตงอ่อนได้ไปอยู่ศึกษาธรรม ข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    หลวงตาท่านเล่าว่า “ในพรรษา ๔ ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น ได้นิมิตถึงท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อท่าน ท่านมาปรากฏให้เห็นขณะหลวงตากำลังนั่งสมาธิอยู่ โดยนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินมายืนตรงหน้า แล้วหันหลังกลับมานั่งสมาธิทับองค์หลวงตา จากนั้นหลวงตาก็ตื่นขึ้น และคิดว่าสงสัยเราจะได้เข้าไปบ้านหนองผือแน่ ครั้นไปถึงที่วัดบ้านหนองผือแล้ว หลวงตาจึงทราบว่าเป็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่น”

    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งแรกในเมตตาธรรมของหลวงปู่มั่น ช่วงที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือว่า “เราจะไปกราบนมัสการท่าน เห็นพระภิกษุสามเณรเอาน้ำร้อนเข้าไปให้ท่านฉัน พระเณรขึ้นไปกราบท่าน เราก็ขึ้นไปด้วย ท่านทักว่า “พระมาจากไหน” แล้วท่านเมตตาถามว่า “ท่านจะไปไหน ?”

    หลวงตากราบเรียนท่านว่า “กระผมคิดจะกลับไปบ้านวา”

    ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่โมทนานำแล้ว ลงไปนั่นมันร้อน ไปภาวนาข้างนอกมันร้อน อยู่แถวภูเขานี้ดีกว่า” เรียกว่าท่านให้โอกาสแล้ว ท่านจะให้อยู่แล้วนี่ ให้อยู่ถิ่นของท่านมันเย็นอยู่แล้ว หมู่เพื่อนภิกษุมาจับแขนแล้วบอกว่า “ท่านให้อยู่นะนี่ ไปขอนิสัยกับท่านอยู่เด้อ” พอเสร็จธุระแล้วหลวงตาครองผ้าจีวร ไปกราบขอนิสัยกับท่าน หลวงตาเลยอยู่ด้วยกับท่าน ไม่ได้ออกไปไหนจนท่านมรณภาพลง”

    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ว่า “ท่านมีกิจวัตรประจำทุกวันแหละ ท่านเดินจงกรมทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าท่านออกจากห้องมีพระมารับบริขาร บาตร จีวร ของท่านไปสู่ที่ฉัน ส่วนท่านก็เดินจงกรมก่อน เสร็จแล้วก็กลับขึ้นไปศาลา แล้วครองจีวรไปบิณฑบาต

    เมื่อถึงเวลาท่านออกจากวัดไปบิณฑบาตนั้น ภิกษุสามเณรออกไปรอท่านที่บ้านหนองผือก่อน เมื่อท่านไปถึงก็นำบาตรมาถวายท่าน แล้วก็เดินตามท่านเป็นแถว ชาวบ้านหนองผือจะตั้งแถวรอใส่บาตร ๓ สายด้วยกัน พอท่านรับบิณฑบาตแล้วก็ไปนั่งม้านั่งที่เขาเตรียมไว้ เพื่อจะให้พร ยถา สัพพี.....ฯ แก่เขา แล้วก็เดินไปรับบิณฑบาตและให้พรจนครบทุกสายก็กลับวัด

    ญาติโยมบ้านหนองผือ ไม่ค่อยมารับพรในวัดหรอกเพราะท่านให้พรในหมู่บ้านทุกวันแล้ว อุบาสกอุบาสิกามีไม่มาก มาแต่เฉพาะผู้ชายที่มารับใช้ภิกษุสามเณร ล้างบาตร ล้างกระโถน และเก็บสิ่งเก็บของ ถ้ามีโยมผู้หญิงมาปฏิบัติ ท่านให้ไปอยู่กับแม่ชีข้างนอก (บ้านพักแม่ชีอยู่นอกวัด) โยมเอาอาหารมาวางที่หอฉัน

    ผู้ชายเขาก็เก็บมา ผู้หญิงเข้ามาใกล้ไม่ได้ ท่านไม่ให้เกี่ยวข้องกับฆราวาสผู้หญิง หลังจากท่านฉันจังหันแล้วเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรของท่านในช่วงเช้า จากนั้นท่านก็ขึ้นกุฏิพักผ่อน จะมีพระภิกษุที่เคยมานวดเส้นนวดถวายท่านเป็นประจำ พอท่านพักผ่อนแล้ว ท่านก็ลุกมานั่งสมาธิ บางทีท่านก็นั่งอยู่โคนต้นไม้ในตอนกลางวัน บางวันท่านก็เดินดูภิกษุสามเณรซักผ้าจีวร แล้วท่านก็เดินดูบริเวณรอบๆ วัด พอสมควรก็กลับกุฏิ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tangon/lp-tangon-hist-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงบตาแตงอ่อน ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    %E0%B8%A5%E0%B8%95-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-jpg.jpg 81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,211
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-5-21_23-30-36-jpeg.jpg
    ● สาธุการนาม "พระผู้ให้ในใจชน"

    เมื่อท่านรักษาอาการเส้นโลหิตในสมองแตกที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าแล้ว คณะแพทย์ได้ส่งท่านมารักษาต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่กรุงเทพฯ ท่านอยู่ทำกายภาพเป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็ตระเวนไปรักษาแบบพื้นบ้าน ทั้งใช้สมุนไพรและการจับเส้นดึงเส้นด้วยทำนวดแบบโบราณ ทำให้อาการอัมพฤกษ์ดีขึ้นมากจนเกือบปกติ

    แต่ยังต้องได้รับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นระยะๆ ทำให้ท่านต้องเริ่มเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-จันทบุรี ท่านจึงได้มีโอกาสมาโปรดญาติโยมทางกรุงเทพฯ มากขึ้น

    0-b8-b4-e0-b8-98-e0-b8-a1-e0-b8-ba-e0-b9-82-e0-b8-a1-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-8a-e0-b8-b2-058-jpg.jpg
    ด้วยเมตตาธรรมของท่านมีไม่จำกัด ผู้คนทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจึงหลั่งไหลมากราบขอเมตตาเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงเริ่มมีกิจนิมนต์ไปโปรดญาติโยมตามที่ต่างๆ จนเมื่อมีลูกศิษย์มากราบเรียนท่านเรื่องหลวงตาดำริจะจัดทำผ้าป่าช่วยชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่พระป่าจะออกจากความเงียบสงัดมาสู่มหาชน แสดงว่าชาติต้องอยู่ในช่วงวิกฤติ การที่ท่านออกมาครั้งนี้มีผลต่อพระป่าเกือบทั้งประเทศที่เคยอยู่กันอย่างวิเวกต้องขยับตัวออกมาช่วยองค์หลวงตามหาบัวผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ทรงคุณอันประเสริฐ

    พระอาจารย์ฟักก็รับวัตถุประสงค์ทันที ท่านเริ่มเดินทางมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนเกิดศรัทธาในการช่วยทำผ้าป่าช่วยชาติ ลูกศิษย์อย่างท่านไม่มีวันยอมให้พ่อแม่ครูอาจารย์ต้องเหนื่อยอยู่องค์เดียว ท่านได้รวบรวมจัดผ้าป่าช่วยชาติหลายครั้งที่วัดเขาน้อยสามผาน รวมเงินและทองคำทั้งหมดได้กว่าหนึ่งร้อยล้านบาท

    0-b8-b4-e0-b8-98-e0-b8-a1-e0-b8-ba-e0-b9-82-e0-b8-a1-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-8a-e0-b8-b2-075-jpg.jpg
    ในระหว่างการระดมทุนผ้าป่าช่วยชาตินี้เองที่ทำให้ท่านต้องเมตตาคนเป็นจำนวนมาก หลายคนทุกข์เรื่องทางโลก ไม่ว่าจะเป็นทุกข์เพราะติดหนี้ ทุกข์เพราะโรค ทุกข์เพราะบริวาร รวมถึงทุกข์จากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่านจึงได้โอกาสนำเอาคาถาท่านพ่อลีออกมาเผยแพร่ ทั้งที่ท่านทำมาก่อนหน้านี้นานแล้ว

    "อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง" โดยให้สวด ๑๐๘ จบ ๓ รอบ ๕ รอบ หรือ ๙ รอบ แล้วต้องรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

    ปรากฏว่าได้ผล ผู้คนเกิดความศรัทธา ตั้งอกตั้งใจถือศีลสวดมนต์อย่างจริงจัง แต่ท่านได้เห็นผลมากกว่านั้น เพราะท่านเห็นศีล สมาธิได้เกิดขึ้นบ้างแล้วในใจศิษย์ เสมือนประกายไฟเล็กๆ ได้ถูกจุดขึ้นในที่มืด ถ้าทำต่อเนื่องก็จะยิ่งสว่างขึ้น มองเห็นอะไรชัดขึ้น การจะเกิดปัญญาไม่๋ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ศรัทธาที่เกิดคือ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ได้กลายเป็นที่พึ่งของพวกเขาไปแล้ว เมื่อมีศรัทธา วิริยะก็ตามมา ผลที่ต้องการก็ตามมาเป็นลำดับ แต่พวกเขาไม่ได้สะกิดใจ รู้แต่ว่าสวดแล้วดี เห็นผลชัด ซึ่งก็จริง พวกเขาเข้าใจว่า ท่านพระอาจารย์ฟักทำให้เงินทองเขาเพิ่มพูน ให้สุขภาพแข็งแรง ให้ความสุขจากบริวารดี แต่จริง ๆ แล้วท่านให้สิ่งที่มีค่ามากกว่านั้น ท่านให้เส้นทางสู่อริยมรรคต่างหาก

    เมื่อเห็นผล ผู้คนก็บอกต่อและเริ่มมาขอให้ท่านเสกธูป ทำสายสิญจน์ ทำน้ำมนต์ และเป่ารักษา ไม่มีใครรู้ชัดว่าท่านเริ่มทำเมื่่อไร มารู้อีกทีก็มีแต่คนมาให้ท่านทำมากมายแล้ว อย่างเรื่องสายสิญจน์นี่ มีคนมาเล่าว่าสวนของเขาถูกพายุพัดเข้าเต็มๆ เสียหายไปมาก พระอาจารย์ฟักท่านสงสารเลยบอกให้เอาสายสิญจน์ท่านไปลองล้อมสวนส่วนที่พายุชอบพัดเข้า แล้วให้อธิษฐาน ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องบังเ็ิอิญหรือเปล่า ปรากฏว่าพายุหรือลมเเรง ๆ ที่เคยพัดเข้ามากลับเฉออก แล้วชาวบ้านคนอื่นก็เอาอย่างบ้าง และเรื่องบังเอิญก็เกิดขึ้นเหมือนๆ กันถึงกับเปรียบเทียบได้เลยว่า สวนข้าง ๆ ไม่ได้ล้อมสายสิญจน์กลับโดนลมกระหน่ำเข้าไปเต็ม ๆ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าเพราะอะไร แต่เมื่อผลออกมาดี พวกเขาต่างนำสายสิญจน์มาให้ท่านทำ จนสายสิญจน์ที่จันทบุรีช่วงนั้นถึงกับขาดตลาดไปเลย

    ในเรื่องธูปเสกนั้น พระอาจารย์ฟักเคยทำตั้งเเต่ประมาณปี ๒๕๒๓ โดยนานๆ จะทำสักครั้ง แต่เมื่อมีผู้นำไปใช้แล้วก็ร่ำลือกันว่าทำให้ค้าขายดี จึงมีคนมาขอให้ท่านเสกธูปอีกเป็นระยะๆ เพราะเชื่อกันว่าถ้าวันไหนอยากค้าขายดีก็จุดธูปที่ท่านเสกให้แล้วสวดคาถาพระอาจารย์ลี การค้าจะดีมาก ถ้าจะไปเจรจาความกับใครก็จะประสบความสำเร็จ เวลามีโยมมาขอให้ท่านเสกธูป ท่านจะเทศน์ให้ฟังสรุปว่า

    “การเสกธูปมันเป็นเรื่องงมงาย ไม่ใช่เจตนาของท่านโดยตรงหรอก"

    แต่สำหรับชาวสวนสามผานแล้วเชื่อในการใช้น้ำมนต์มากกว่ายาฆ่าแมลง ท่านรณรงค์ให้พวกเขาเลิกใช้สารเคมีในเรือกสวนไร่นา มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ ท่านว่าการทำมาหาเลี้ยงชีพต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ถ้าใช้ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง ก็ไม่รู้ว่ามีสัตว์กี่มากน้อยที่ต้องตายตกไป เมื่อขอให้โยมเลิกใช้ยาปราบศัตรูพืชซึ่งเบียดเบียนทั้งชีวิตตนเองและสัตว์อื่นๆ เพราะทำให้ทั้งผู้ใ้ช้เจ็บป่วย ผู้บริโภคได้รับอันตราย ทั้งนี้ท่านยังหาทางออกโดยให้เอาน้ำมนต์ไปรดต้นผลหมากรากไม้แทน น่าอัศจรรย์ว่ามันได้ผลจริง ๆ ส่วนเรื่องการเป่ารักษานั้น ท่านว่า เป็นเรื่องนอกเหตุเหนือผล เหนือธาตุ ๔ เป็นบารมีส่วนบุคคล ท่านเริ่มเป่ารักษาพระอุปัฏฐากในปี ๒๕๔๘ ซึ่งอาพาธเป็นเนื้องอกที่ลูกนัยน์ตาปรากฏว่าได้ผล เมื่อมีผู้ทราบเรื่องก็หลั่งไหลมาขอให้ท่านเป่ารักษาโรคต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย วันหนึ่งหลายร้อยคน จนต้องมีการแจกบัตรคิว แม้จะเหนื่อย แต่ท่านก็มีความสุขกับการช่วยคน ไม่เคยเห็นท่านบ่นว่าคนมากไป เป่าไม่ไหว หรือขอให้กลับไปก่อน

    มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเป่าจนความดันขึ้น หน้าแดง พอคนน้อยลงท่านก็ให้พระเอายามาถวาย ขณะท่านกำลังจะฉันยาก็มีโยมไม่รู้เรื่อง เห็นว่าคนน้อยก็ขยับเข้าไปขอให้ท่านเป่า ท่านชะงักมองยาในมือ แล้วก็หันไปมองเขาเหมือนจะพิจารณาว่าควรทำสิ่งไหนก่อนแล้วท่านก็หยิบไม้เป่าให้เขา ลูกศิษย์ใกล้ชิดมองแล้วน้ำตาไหล มันไม่มีคำอธิบายเป็นคำพูดได้เรื่องความเมตตาของท่าน

    สาธุชนทั้งหลายที่ได้รู้้จักท่านย่อมประจักษ์เรื่องนี้แก่ใจกันถ้วนหน้า พระอาจารย์ฟักเคยเปรยอย่างเห็นเป็นเรื่องตลกว่า

    "พระในประเทศไทยไม่มีใครเหมือนเรา มีที่ไหนเปิดโทรศัพท์มือถือ ๒๔ ชั่วโมง เราน่ะสงสารเขานะ"

    พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ได้กล่าวถึงพระอาจารย์ฟักว่าท่านมีความสมบูรณ์มาก

    “ความงามของท่านก็คือมีจิตใจน้อมเข้าสู่เมตตาอย่างเต็มที่ ความเมตตาของท่านครอบโลกธาตุของลูกศิษย์ลูกหาและคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับท่าน เพราะฉะนั้นคนที่เขามาหาหลวงปู่ฟักจะได้รับความอบอุ่นและไม่มีเบื่อเลย ไม่ว่าจะดึืกดื่นเที่ยงคืนหรือคุยอะไรก็ไม่เบื่อ”
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography_3/lp-fug-
    suntitammo/lp-fug-suntitammo-hist-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จนาคปรกหลวงพ่อฟัก ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%81-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...