เรื่องเด่น รวมธรรมะครูบาอาจารย์ ตอน ‘ความรักของแม่’ ในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 12 สิงหาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    รวมธรรมะครูบาอาจารย์ ตอน ‘ความรักของแม่’ ในพระพุทธศาสนา

    20745985_471676833188768_2244330180923087859_o.jpg
    แม่ ความสำคัญที่พระพุทธศาสนายกย่อง

    มีพระพุทธดำรัสในสพรหมสูตร และมาตาปิตุคุณสูตร ว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมก็ดี บุพพเทวดาก็ดี บุพพาจารย์ก็ดี อาหุไนยบุคคลก็ดี เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะท่านมีอุปการะมาก เป็นผู้เลี้ยงดูให้ความเจริญ และแสดงโลกนี้แก่บุตร”

    อนึ่ง คำว่า “แม่” นี้ ในพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่สตรีผู้เป็นแม่ด้วยการยกย่องคำว่า “แม่” นำหน้าผู้เป็นบิดาหรือพ่อเสมอ ไม่ว่าจะในพระสูตร หรือในพระวินัย เช่น ธรรมะว่าด้วยการบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา จะใช้คำว่ามารดาหรือแม่ นำหน้าบิดาพ่อเสมอ ในพระวินัยที่กล่าวถึงกุลบุตรที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาก่อน ก็ใช้คำว่ามารดานำหน้าบิดา เป็นต้น
    มีการยกย่องแม่โดยนำมาเป็นชื่อหรือคำต่อท้ายชื่อของบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น
    พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปตัสสะตามสกุลบิดา แต่เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ท่านได้ชื่อว่า พระสารีบุตร ตามชื่อของมารดาคือนางสารี
    พระโมคคัลลานะ ชื่อเดิมว่า โกลิตะ ตามสกุลบิดา แต่เมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีชื่อว่า โมคคัลลานะ ตามชื่อของนางพราหมณีโมคคัลลี เป็นต้น

    พระเจ้าอชาตศัตรู ราชาแห่งมคธรัฐ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แต่มีพระนามพระราชมารดาต่อท้ายพระนามของพระองค์ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครคือพระราชมารดาของพระองค์

    ความรักของแม่ ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา

    แม่ กับเรื่องพระองคุลิมาล

    ในช่วงที่องคุลีมาลกำลังโด่งดัง เทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทหารไปปราบ แม่ขององคุลิมาลกลัวลูกจะได้รับอันตรายจึงเข้าป่าเพื่อไปพบลูก ขอร้องให้เลิกเป็นโจร เพราะไม่ต้องการให้ลูกถูกฆ่า โดยไม่ได้กลัวว่าจะโดนลูกชายฆ่า เพราะในเวลานั้นเหลืออีกเพียง1นิ้ว ก็จะครบคนที่1พันพอดี สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็ได้เข้ามาช่วยคลี่คลายเหตุการณ์ทำให้องคุลีมาลไม่ต้องทำมาตุฆาต และได้บวชเป็นพระในเวลาต่อมาจนเกิด ธรรมะบทสั้นที่ติดหูชาวพุทธว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านย้ังไม่หยุด"คำอธิษฐานของแม่ กับเรื่องสุวรรณสาม

    ตอนที่สุวรรณสามต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ตาบอดแล้วพระเจ้ากบิลยักษ์ยิงธนูมาถูกได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ และเทศนาธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง พ่อกับแม่เมื่อรู้ว่าสุวรรรณสามดาบสถูกธนูยิงก็คิดว่าลูกตายแล้วนางปาริกาดาบสินีผู้เป็นแม่จึงตั้ง สัตยาธิษฐานว่า

    "ลูกสามะนี้เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมมาแต่กาลก่อน ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป
    ลูกสามะนี้เป็นผู้มีปกติประพฤติเพียงดังพรหมมาแต่กาลก่อน ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป
    ลูกสามะนี้เป็นผู้มีปกติ กล่าวคำสัตย์มาแต่กาลก่อน ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป
    ลูกสามะนี้เป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดา ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป"

    ด้วยอำนาจอธิษฐานและแรงภาวนาแห่งสัจจวาจา และความกตัญญูของสุวรรณสาม ในที่สุดสุวรรณสามก็ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้

    แม่ กับเรื่องของพระสารีบุตร

    พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ซึ่งการเข้าไปบวชในพระพุทธศาสนา ทำให้แม่ไม่พอใจ เพราะแม่ของท่านยังฝังยึดติดอยู่ในลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิม และเห็นว่าการที่พระสารีบุตรเปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนา เป็นความผิดอย่างมากจนแม่ของท่านรับไม่ได้
    พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา และมีความกตัญญูเป็นเลิศ ท่านได้แสดงธรรมโปรดแม่หลายครั้ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธตลอดมา จนเมื่อท่านใกล้จะนิพพาน จึงกลับบ้านเกิด แล้วบอกแก่โยมแม่ว่า ท่านจะนิพพานภายในเจ็ดวันนี้แล้ว ขอนิพพานภายในห้องที่ท่านเกิด

    โยมแม่พอได้ยินพระลูกชายพูดถึงการนิพพาน ด้วยความรักและความห่วงใยลูก มานะทิฐิที่เคยมีต่อลูกก็ค่อยๆหายไป จนกลายมาเป็นความอ่อนโยนเหมือนเมื่ออดีตที่เคยมีแก่พระลูกชาย พระสารีบุตรท่านเห็นว่าโยมแม่มีอุปนิสัยในธรรมะจึงได้แสดงธรรม โดยกล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ และท้ายที่สุดกล่าวถึงพระพุทธเจ้า พอจบคำว่า “พุทโธ ภควาติ” เท่านั้น แม่ของท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที

    นี่เป็นเพราะความรักของแม่เป็นเครื่องดลใจให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ “แม่” เอง และเป็นการเปิดโอกาสให้พระสารีบุตรได้ตอบแทนพระคุณโยมแม่ได้สำเร็จ เพราะไม่ว่าลูกจะเลี้ยงดูมารดาบิดาดีมากเพียงไร ก็ไม่นับว่าทดแทนพระคุณได้ทั้งหมด แต่ลูกที่ทำให้มารดาบิดามีศีลมีศรัทธา ตั้งมั่นอยู่ในธรรม จึงจะชื่อว่าเป็นการทดแทนพระคุณอย่างแท้จริง

    ปิดท้ายด้วยธรรมะในเรื่องสุวรรรณสาม

    "บุคคลใด เลี้ยงมารดาและบิดาโดยธรรม แม้เทวดาและมนุษย์ย่อมสรรเสริญผู้เลี้ยงมารดาและบิดานั้น
    บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้เลี้ยงมารดาและบิดานั้นในโลกนี้
    บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์"
     

แชร์หน้านี้

Loading...