รวมเรื่อง "ขบวนเรือพระราชพิธี"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 1 มิถุนายน 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"ขบวนเรือพระราชพิธี" มรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>22 พฤษภาคม 2549 18:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนเรือพระราชพิธี มรดกทางวัฒนธรรมที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลกในเมืองไทย (ภาพ : กองทัพเรือ) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลายๆคนคงทราบดีว่า ในงานฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ในเย็นวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ตั้งแต่บริเวณท่าวาสุกรีจนไปสิ้นสุดบริเวณวัดอรุณราชวราราม ถือเป็นหนึ่งในการแสดงไฮไลท์ที่จะปรากฏต่อสายตาชาวไทยและชาวโลก ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลกที่เมืองไทย

    สำหรับขบวนเรือพระราชพิธีครั้งนี้ เป็นการแสดงการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ หรือ “พยุหยาตราชลมารค” (การเสด็จพระราชดำเนินทางบก เรียกว่า “พยุหยาตราสถลมารค”) ที่เป็นประเพณีสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สืบต่อกันมานับแต่โบราณ ซึ่งจากบันทึกของหม่อมราชวงศ์ แสงสูรย์ ลดาวัลย์ ได้อธิบายถึงมูลเหตุของเรือที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราฯ ไว้ว่ามาจากเรือรบที่ใช้ในศึกสงคราม รวมถึงเรือส่งกำลังพล เรือส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ เรือส่งเสบียงดังที่บันทึกเอาไว้ว่า

    ...เรือพระราชพิธีที่ใช้ในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ แท้จริงก็คือ เรือรบที่โบราณท่านใช้รบในลำแม่น้ำ...

    และเมื่อสงครามทางน้ำห่างหายไป เรือเหล่านี้จึงถูกนำมาใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์เลือกที่จะใช้เรือรบหลวงต่างๆเหล่านี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพภายใต้พระบารมี จึงเกิดเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้นมา

    โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หมายถึง ริ้วกระบวนที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ดังเช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยว่ากันว่า เริ่มจากการที่ พระร่วงได้นำเรือออกไปลอยกระทงหรือกระทำพิธี “จองเปรียง” ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามเพ็ญเดือนสิบสอง

    ต่อมาอีกราว 100 ปี ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล

    ครั้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯในสมัยต่อๆ มา

    ทั้งนี้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ปรากฏกระบวนพยุหยาตราฯ ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดบางหว้าใหญ่ และวัดหงส์ เมื่อวันพุธ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ เบญจศก พ.ศ. 2325

    ส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน มีกระบวนพยุหยาตราฯเกิดขึ้นมาแล้ว 14 ครั้ง โดยครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2500 ซึ่งทางราชการได้จัดขึ้นเนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ส่วนกระบวนพยุหยาตราฯ ครั้งล่าสุด(ครั้งที่ 14) มีขึ้นในการจัดประชุมการค้าเสรีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค 2003 เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ.2546

    สำหรับการแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ในค่ำวันที่ 12 มิ.ย.นี้ ทาง พล.ร.ต.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะประธานฝ่ายควบคุมและอำนวยการขบวนเรือ เปิดเผยว่า ทางสำนักพระราชวังให้เรียกว่า การแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ไม่ใช่กระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องจากพระบาทสมเด็จไม่ได้เสด็จประทับในเรือพระที่นั่ง แต่พระองค์ท่านจะเสด็จทอดพระเนตรร่วมกับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศที่อาคารราชนาวิกสภา

    อนึ่งการแสดงขบวนเรือพระราชพิธีครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงอย่างยิ่งใหญ่อลังการอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย โดยจะใช้เรือ 52 ลำ ฝีพาย 2,200 นาย ประกอบด้วย เรือพระราชพิธี 4 ลำ ได้แก่ เรือสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ที่กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาส พระพิธีกาญจนาภิเษก และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

    ส่วนเรือประเภทต่างๆได้แก่ เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือเสือทยานชล เรือเสือคำรณสินธุ์ เรืออีเหลือง เรือแตงโม เรือทอง-ขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 7 ลำ เรือตำรวจ 3 ลำ

    สำหรับผู้ที่เฝ้ารอชมการแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ทางกองทัพเรือจะมีการซ้อมย่อยอีกครั้งในวันที่ 30 พ.ค.49 (16.00 น.) และการซ้อมใหญ่ ด้วยชุดการแต่งกายเหมือนจริง เวลาจริง ในวันที่ 2,6 มิ.ย.49 (17.00 น.) รวมถึงการซ้อมปรับสภาพ ในวันที่ 9 มิ.ย.49 (17.00 น.)ก่อนจะแสดงจริงในค่ำวันที่ 12 มิ.ย. (17.00 น.) ที่หลังจากการแสดงจะมีการลอยกระทงสายและการจุดพลุเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งผู้สนใจสามารถรับชมได้บริเวณสถานที่สาธารณะหรือร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ ท่าวาสุกรี – วัดอรุณราชวราราม

    ส่วนใครที่อยากชมอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องเบียดเสียด ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ที่ได้รับมอบหมายจากทางรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดสถานที่นั่งชมความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธี ได้จัดจุดชมขบวนเรือพระราชพิธีทั้งในวันซ้อมใหญ่และวันแสดงจริง ไว้ใน 2 จุดด้วยกัน คือ ที่นั่งชมบริเวณสนามหญ้าริมน้ำภายในธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่จัดบริการ 4 วัน คือ วันที่ 2, 6, 9 และ 12 มิ.ย. 49 (สามารถรองรับได้ 1,000 ที่นั่ง บัตรราคา 1,000 บาท รวมอาหารว่าง)

    ส่วนจุดที่ 2 ที่นั่งชมบนอัฒจรรย์บนเรือริเวอร์ไซด์ ซึ่งเรือจะลอยลำอยู่หน้าหอประชุมกองทัพเรือด้านข้างราชนาวิกสภาจัดเฉพาะในวันซ้อมใหญ่คือวันที่ 2,6 และ 9 มิ.ย. 3 วันเท่านั้น (สามารถรองรับได้ 770 ที่นั่ง บัตรราคา 3,000 บาท พร้อมอาหาร) ซึ่งผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งและซื้อบัตรได้ที่ ททท. โทร. 0-2652-8315 (สายตรง) หรือ 0-2250-5500 ต่อ 2115-7 หรือที่เคาน์เตอร์ไทยทิกเก็ตส์มาสเตอร์ 6 สาขา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้จักเรือ 52 ลำในริ้วขบวนเรือพระราชพิธี</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 พฤษภาคม 2549 17:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ริ้วขบวนเรือพระราชพิธีประกอบไปด้วยเรือมากหลายประเภท</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีคำจารึกในพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถึงเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารคจากกรุงศรีอยุธยาไปตีเมืองเมาะตะมะ

    และมีหลักฐานปรากฏในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในเรื่องการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ โดยการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่เรียกว่า "ขบวนเพชรพวง"

    และมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2549 ก็ได้มีการจัดแสดงขบวนเรือพระราชพิธีขึ้นอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เป็นการจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รูปแบบของกระบวนเรือก็ได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย โดยในครั้งนี้ได้จัดกระบวนเรือที่ประกอบไปด้วยริ้วกระบวน 5 ริ้วด้วยกัน ใช้เรือรวมทั้งสิ้น 52 ลำ ระยะต่อระหว่างลำ 40 เมตร เว้นเรือพระที่นั่ง 80 เมตร ระยะเคียงระหว่างริ้ว 20 เมตร ความยาวของกระบวน 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร

    ในส่วนของเรือประเภทต่างๆ ที่ใช้ในขบวนเรือพระราชพิธีนั้น มีดังนี้ เรือประตูหน้า คือเรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือคู่แรกของขบวน ตามด้วยเรือพิฆาต เป็นเรือรบที่อยู่ในริ้วที่ 2 และริ้วที่ 4 ถัดจากเรือประตูหน้าเข้ามาในกระบวน หัวเรือเป็นรูปเสือ มีปืนจ่ารงตั้งที่หัวเรือ ได้แก่เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์

    เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาน้ำมัน บางลำทาสีทอง (เรือดั้ง 21 และเรือดั้ง 22) ไม่มีลวดลาย ใช้สำหรับเป็นเรือรอบนอกของกระบวนโดยอยู่ในริ้วขวาสุดและริ้วซ้ายสุด ริ้วนอกด้านหน้าของกระบวนมี 11 คู่ หรือ 22 ลำ ได้แก่เรือดั้ง 1-22 โดยเลขคี่อยู่ด้านขวา และเลขคู่อยู่ด้านซ้าย

    เรือกลองใน-เรือกลองนอก เป็นเรือกราบ อยู่ในริ้วกลางหรือริ้วที่ 3 มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลง มี 2 ลำ ได้แก่เรือกลองใน (เรือแตงโม) อยู่บริเวณกลางกระบวนข้างหน้าเรือพระที่นั่ง เป็นเรือสำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือ และเรือกลองนอก (เรืออีเหลือง) อยู่หน้าสุดของริ้วกลาง เป็นเรือสำหรับรองผู้บัญชาการกระบวนเรือ

    เรือตำรวจใน-เรือตำรวจนอก เป็นเรือกราบ มีพระตรวจหลวงชั้นปลัดกรมนั่งคฤห มี 2 ลำ ได้แก่เรือตำรวจใน อยู่ในริ้วกลางหน้าเอพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือตำรวจนอก อยู่ถัดจากตำรวจใน

    เรือรูปสัตว์ เป็นเรือแกะสลัก หัวเรือเป็นรูปขุนกระบี่ รูปอสูร รูปพญาวานร และรูปครุฑ ปัจจุบันมีอยู่ 8 ลำ หรือ 4 คู่ จัดให้อยู่มนริ้วกระบวนที่ 2 และริ้วกระบวนที่ 4 อยู่ถัดระดับเรือตำรวจนอกเข้ามา โดยมีตำแหน่งเรือคือริ้วที่ 2 เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือสุครีพครองเมือง และเรือครุฑเตร็จไตรจักร ริ้วที่ 4 เรืออสุรวายุภักษ์ เรือกระบี่ราญรอนราพย์ เรือพาลีรั้งทวีป และเรือครุฑเหินเห็จ

    เรือพระที่นั่ง จัดว่าเป็นเรือที่สำคัญที่สุดและสง่างามที่สุดในกระบวน ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

    เรือคู่ชัก เป็นเรือที่ทำหน้าที่นำเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ทางเบื้องขวาเฉียงไปทางซ้าย คือเรือเอกชัยเหินหาว และอยู่ทางเบื้องซ้ายเฉียงไปทางข้างท้าย คือเรือเอกไชยหลาวทอง

    เรือตำรวจตาม ใช้เรือกราบกัญญา เป็นพาหนะของพระตำรวจรักษาพระองค์ที่ตามเสด็จในกระบวน มีตำแหน่งเรืออยู่ในริ้วกลางต่อจากเรือพระที่นั่งรอง (เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์)

    เรือแซง ใช้เรือกราบกัญญา เป็นเรือทหาร เรือแซงเสด็จทั้งสองข้างของเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ในริ้วกระบวนนอกสุดของกระบวน มี 6 ลำ หรือ 3 คู่ โดยแซงด้านขวา 3 ลำ ได้แก่เรือแซง 1 เรือแซง 3 เรือแซง 5 และแซงด้านซ้าย 3 ลำ ได้แก่ เรือแซง 2 เรือแซง 4 เรือแซง 6 นอกจากนั้นยังจัดเรือแซงปิดท้ายริ้วกลางของกระบวน ต่อจากเรือตำรวจตามอีก 1 ลำ คือเรืองแซง 7 และปิดท้ายขบวนด้วย เรือประตูหลัง ใช้เรือกราบกัญญา คือเรือแซง 5 และเรือแซง 6

    **************

    สำหรับผู้ที่เฝ้ารอชมการแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ทางกองทัพเรือจะมีการซ้อมย่อยช่วงเย็นอีกครั้งในวันที่ 30 พ.ค.49 และการซ้อมใหญ่ ด้วยชุดการแต่งกายเหมือนจริง เวลาจริง ในวันที่ 2,6 มิ.ย.49 (16.00 น.) รวมถึงการซ้อมปรับสภาพ ในวันที่ 9 มิ.ย.49 (16.00 น.) ก่อนจะแสดงจริงในค่ำวันที่ 12 มิ.ย. (16.00 น.) ซึ่งผู้สนใจสามารถรับชมได้บริเวณสถานที่สาธารณะหรือร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ ท่าวาสุกรี – วัดอรุณราชวราราม
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
    ผังการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ขุนพล "ขบวนเรือพระราชพิธี" เบื้องหลังความอลังการแห่งสายน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 พฤษภาคม 2549 16:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนเรือพระราชพิธีความอลังการแห่งสายน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในค่ำวันที่ 12 มิ.ย. ขบวนเรือพระราชพิธี มรดกแห่งวัฒนธรรมทางน้ำอันล้ำค่าหนึ่งเดียวในโลก จะออกโลดแล่นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าวาสุกรีไปจนถึงบริเวณวัดอรุณ

    นี่คือความวิจิตรงดงามแห่งสายน้ำ ที่กว่าจะเกิดเป็นริ้วขบวนเรืออันยิ่งใหญ่อลังการในค่ำวันที่ 12 มิถุนายน บรรดาฝีพายทั้งหมด 2,200 คน กับเรือ 52 ลำ ต้องฝึกฝนเคี่ยวกรำกันอย่างหนักยาวนานหลายเดือน เพื่อให้ขบวนเรือโลดแล่นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาอย่างสง่างาม ซึ่งพวกเขาเหล่านี้คือบุคคลสำคัญเบื้องหลังความอลังการแห่งขบวนเรือ ที่จะขาดใครคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้

    "นายเรือ" มือวางอันดับหนึ่งในเรือพระราชพิธี

    สำหรับผู้ที่มีตำแหน่งใหญ่ที่สุดในเรือนั้น ต้องยกให้กับ "นายเรือ" ซึ่งถือเป็นผู้ควบคุมดูแลความเรียบร้อยของทั้งลำเรือ โดยบนเรือพระที่นั่งจะมีนายเรือสองคนด้วยกัน คือนายเรือคนที่ 1 และนายเรือคนที่ 2 นายเรือคนแรกจะยืนอยู่ด้านหน้าของบัลลังก์กัญญา (ที่ประทับ) ส่วนนายเรืออีกคนหนึ่งจะยืนอยู่ด้านหลังบัลลังก์

    นาวาโทประจวบ อยู่สบาย นายเรือประจำเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เล่าให้ฟังถึงหน้าที่ของนายเรือบนขบวนเรือพระราชพิธีว่า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนเรือฯใช้เวลาฝึกฝนนานหลายเดือนกว่าจะออกมาเป็นรูปขบวนเรือที่สวยงาม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "สำหรับนายเรือนั้นก็มีหน้าที่นำเรือให้ปลอดภัย ดูแลกำลังพลในเรือ ดูแลความปลอดภัยของเรือทั้งหมด แต่เรื่องสำคัญๆ ที่นายเรือต้องควบคุมดูแลก็คือเรื่องเกี่ยวกับฝีพาย คือต้องให้เขาพายพร้อมกัน แล้วก็ควบคุมให้เรืออยู่ในทิศทางที่กำหนด ให้อยู่ในตำแหน่ง อยู่ในสถานีที่กำหนด และต้องควบคุมเรื่องเวลาที่ทางคณะกรรมการเขากำหนดไว้ว่าจะต้องถึงจุดนั้นจุดนี้ เวลาเท่านั้นเท่านี้ เราก็ต้องดำเนินการให้ได้ตามที่เขากำหนดมา"

    เมื่อเห็นว่า เรือของตนเองล้าหลัง ไม่ทันขบวน หรือฝีพายอาจพายเร็วเกินไปจนเรือล้ำหน้าขบวน นายเรือจะเป็นผู้สังเกตและสั่งฝีพายให้พายเร็วขึ้นหรือช้าลง โดยวิธีการสั่งจะต้องส่งคำสั่งด้วยสัญญาณมือผ่านไปยังพลสัญญาณที่อยู่หัวเรือ และให้พลสัญญาณโบกธงให้สัญญาณฝีพายอีกครั้งหนึ่ง

    นอกจากจะต้องคอยควบคุมลูกเรือแล้ว ตัวเรือก็เป็นส่วนสำคัญที่นายเรือต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษเช่นกัน "เอาเฉพาะเรือพระที่นั่งอย่างเรือนารายณ์ทรงสุบรรณฯ เป็นเรือที่มีน้ำหนักมากที่สุดในขบวนเรือในครั้งนี้ หนักประมาณ 20 ตัน ขนาดก็ทั้งกว้าง ยาว และใหญ่มาก ลวดลายก็มีตลอดทั้งลำเรือ รวมทั้งโขนเรือก็มีลวดลายแกะสลักมากมาย เพราะฉะนั้นก็ต้องระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นการนำเรือเข้าจอด การนำออกไปซ้อมขบวนก็ดี หรือนำเข้าหลักระหว่างพักก็ดี อันนี้สำคัญที่สุดคือต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของตัวเรือ"

    เมื่อถามถึงอุปสรรคในเรื่องของดินฟ้าอากาศที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่ขบวนเรือพระราชพิธีกำลังแล่น นาวาโทประจวบกล่าวว่า "ถ้าหากว่าฝนตกแบบไม่หนักมากจนเป็นหมอกมองไม่เห็นอย่างนั้นก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในขบวนเรือพระที่นั่งสิ่งกลัวที่สุดคือ กลัวลม เพราะด้วยตัวเรือลำเรือที่ใหญ่ บัลลังก์กัญญาก็ใหญ่ ถ้าลมพัดมาแรงๆ ก็จะเหมือนเรือใบ คือกินลมไปเลย ถ้าลมแรงจะบังคับไม่ได้ ตรงนี้ต้องอาศัยฝีมือของฝีพายที่แข็งแรงมาก"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ถึงเหนื่อยหนัก แต่ทุกคนก็ไม่ย่นย่อท้อถอย </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ครั้งนี้เป็นครั้งที่สี่แล้วที่นาวาโทประจวบได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในขบวนเรือพระราชพิธี โดยในครั้งก่อนๆ นั้นได้เคยอยู่ในตำแหน่งนายเรือของเรือรูปสัตว์ ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้มาเป็นนายเรือบนเรือพระที่นั่ง แม้จะผ่านประสบการณ์ในการร่วมขบวนเรือฯ มาหลายครั้งแล้ว แต่ความรู้สึกตื่นเต้นก็ยังคงอยู่ "ทุกครั้งที่นำเรือก็มีความรู้สึกตื่นเต้น ถึงจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนเรือพระที่นั่ง ซึ่งเรือพระที่นั่ง 4 ลำ นี้ก็มักจะเป็นที่จับตามองของคนทั่วไป" นาวาโทประจวบกล่าว และปิดท้ายว่า...

    "มีความรู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนเรือพระราชพิธี ถึงแม้ว่าครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะไม่ได้เสด็จประทับบนเรือ แต่ก็รู้ว่าพระองค์ท่านทอดพระเนตรอยู่บนฝั่ง เราในฐานะที่เป็นนายเรือพระที่นั่ง ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้เสด็จแต่ก็จะทำหน้าที่เหมือนว่าท่านเสด็จอยู่ด้วย เรามีความภาคภูมิใจในเรื่องนี้"

    "พลสัญญาณ" ผู้ส่งสารภายในเรือ

    คำสั่งที่นายเรือต้องการส่งไปหาฝีพายนั้นคงไม่สามารถสื่อสารกันได้ หากว่าไม่มีคนกลางอย่าง "พลสัญญาณ"

    นายเรือเอกทองดี รักกลั่น พลสัญญาณหัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เล่าถึงหน้าที่ของพลสัญญาณว่า "พลสัญญาณจะนั่งอยู่ที่หัวเรือหันหน้าเข้ามาด้านในเรือ รอดูคำสั่งจากสัญญาณมือของนายเรือที่จะส่งมาว่าจะให้ฝีพายทำอย่างไร คำสั่งส่วนมากก็เช่นให้ฝีพายพายท่านกบิน พายผสม หรือให้กราบขวาวาด กราบซ้ายวาด สมมติเรือจะเข้าเทียบ นายเรือก็จะสั่งซ้ายวาด ขวาคัด หรือถ้าเรือไม่ทันขบวน ต้องการให้ฝีพายเร่งเรือให้เร็ว เขาก็จะส่งสัญญาณมือมาตามแบบที่เราตกลงกันไว้ เช่นถ้าชูมือขึ้นลงๆ สามครั้งก็คือให้เร่งเร็ว หรือพายหนัก เพื่อให้เรือทันขบวน เราก็จะสั่งไปตามนั้น"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เหล่าฝีพายนำเรือพระราชพิธีลงฝึกพายกลางเจ้าพระยา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อุปกรณ์คู่มือของพลสัญญาณบนเรือพระที่นั่งก็คือพู่หางนกยูง ส่วนเรือประเภทอื่นๆ เช่นเรือรูปสัตว์ เรือดั้ง หรือเรือแซง พลสัญญาณจะใช้ธงธรรมดา แต่ในช่วงวันซ้อมนี้เรือทุกลำก็จะใช้ธงธรรมดาในการให้สัญญาณ ส่วนพู่หางนกยูงนี้จะใช้ในวันซ้อมใหญ่และวันแสดงจริงเท่านั้น นอกจากอุปกรณ์จะต่างกันแล้ว ลักษณะการนั่งในเรือของพลสัญญาณในเรือแต่ละลำก็ต่างกันด้วย โดยพลสัญญาณเรือพระที่นั่งทั้งสี่ลำจะนั่งหันหน้าเขาสู่ลำเรือ ขณะที่พลสัญญาณของเรือลำอื่นๆ จะยืนหันหน้าออกไปทางหัวเรือ

    นาเรือเอกทองดี เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมกับกระบวนเรือพระราชพิธีมาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งที่ประทับใจที่สุดเห็นจะเป็นการมีส่วนร่วมครั้งแรกใน พ.ศ.2525 โดยรับหน้าที่เป็นฝีพายของเรือพระที่นั่งทรงสุพรรณหงส์ (คำว่า "ทรง" แสดงถึงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับในเรือลำนั้น)

    "ครั้งแรกนั้นผมภูมิใจมาก เมื่อรู้ว่าจะมีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคก็รีบสมัครเลย เพราะเราเป็นคนสุพรรณ พายเรืออยู่กลางแม่น้ำสุพรรณบุรีมาตั้งแต่เล็กๆ แล้ว" นาวาทองดี ย้อนถึงความหลัง และเล่าให้ฟังถึงความประทับใจว่า

    "ตอนนั้นผมเป็นฝีพายอยู่กราบซ้าย พอกระบวนเรือผ่านมาถึงตรงแบงก์ชาติก็มองเห็นประชาชนมาคอยชมอยู่ ตอนนั้นเขาสร้างเป็นอัฒจันทร์กี่ชั้นก็จำไม่ได้ แต่เห็นคนหลายพันคนรอชมอยู่ตรงนั้น แล้วทุกคนก็โบกธงชาติเล็กๆ ไปด้วย ผมยังจำภาพตอนนั้นได้แม่นเลย เห็นแล้วรู้สึกว่าประทับใจมากๆ จนน้ำตาแทบร่วง แล้วผมก็พยายามโยกศีรษะไปทางข้างหลัง ก็มองเห็นในหลวงท่านทรงยกกล้องถ่ายภาพถ่ายไปทางประชาชนที่อยู่ตรงนั้น"

    "คราวนี้แม้ท่านไม่ได้ประทับในเรือด้วยแต่ก็ภูมิใจที่ท่านดูอยู่ ผมก็จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด" นายเรือเอกทองดีกล่าวอย่างภาคภูมิใจ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พลสัญญาณ ผู้ส่งสารในลำเรือ อีกหนึ่งกำลังสำคัญ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "ฝีพาย" กำลังพลสำคัญ

    ตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องอาศัยกำลังพลมากที่สุดในเรือแต่ละลำก็คือ "ฝีพาย" และฝีพายก็คือผู้ที่ต้องใช้พละกำลังมากที่สุดในลำเรือเช่นกัน

    "เราฝึกซ้อมกันมาตั้งแต่ประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 เริ่มตั้งแต่การฝึกซ้อมพายบนเขียงเรือบนบก แล้วก็ลงมาซ้อมในน้ำกับเรือภายในอู่ หลังจากแต่งท่าทางการพายแล้ว ก็มาพายซ้อมกับเรือที่วัดราชา จากนั้นจึงพายออกแม่น้ำจริงโดยใช้พวกเรือดั้ง เรือแซง มาซ้อมพายก่อน หลังจากที่ชำนาญแล้ว ท่าทางต่างๆ แต่งได้ดีแล้ว จึงมาลงเรือพระที่นั่ง" พันจ่าเอกสำเริง เฉยนิล ฝีพายเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เล่าถึงการฝึกซ้อมที่ผ่านมา กับการเข้าร่วมในขบวนเรือพระราชพิธีเป็นครั้งแรก

    "ท่าพายของเรือพระที่นั่งจะเป็นท่านกบิน ไม่เหมือนเรือแซงเรือดั้งที่เป็นท่าพายธรรมดา หรือท่าพลราบ สำหรับท่านกบินจะมี 4 จังหวะ คือ พายลงไปในน้ำ 1 ดึงพายมา 2 แล้วก็ 3 แล้วก็ยกพายขึ้นเป็น 4 ในทั้งกระบวนเรือก็จะใช้ท่านี้ตลอด แต่ในเรือจะแบ่งเป็นภาคหัวเรือกับท้ายเรือ ภาคหัวเรือก็จะพายนกบินตลอด ภาคท้ายลำเรือก็อาจจะพายธรรมดาเป็นการแต่งเรือ เช่นมีการคัดวาดบ้าง หรือถ้าพายช้าไปก็ต้องมีการพายเสริมเข้าไปก็เปลี่ยนเป็นท่าธรรมดาบ้าง เพราะท่าพายนกบินจะลงพายไม่เต็มที่ ไม่เหมือนพายปกติ ก็จะทำให้เรือช้า ก็จะต้องสั่งพายแบบธรรมดาพายเสริมขึ้นไป ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันขบวน" พันจ่าเอกสำเริงเล่า

    ฝีพายทุกคนจะต้องคอยมองสัญญาณจากพลสัญญาณหัวเรือ ที่ได้รับสัญญาณคำสั่งมาจากนายเรืออีกที นอกจากนั้นก็ยังต้องฟังเสียงเห่เรือด้วย เพราะต้องมีการร้องรับเป็นจังหวะ รวมทั้งต้องพายให้เข้ากับเสียงเห่ด้วย โดยพันจ่าเอกสำเริงเล่าว่า เสียงเห่นั้นจะไม่คร่อมกับการพาย แต่จะเห่เป็นจังหวะพร้อมกับการพายเรือ เช่นการเห่จังหวะนี้เป็นการลงพาย จังหวะนี้ต้องยกพายขึ้น คือถ้าเห่ไม่เข้าจังหวะก็พายไม่ได้ หรือพายไม่เข้าจังหวะก็เห่ไม่ได้เช่นกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พร้อมเพรียง สวยงาม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ขาดไม่ได้ "นายท้ายเรือ"

    สำหรับเรือทุกลำแล้ว "นายท้ายเรือ" ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก เพราะหากขาดนายท้ายไป เรือย่อมไม่สามารถควบคุมซ้ายขวาได้อย่างใจนึก และยิ่งถ้าเป็นเรือในขบวนพระราชพิธีที่เป็นเรือขนาดใหญ่ ยาว และน้ำหนักมากเช่นนี้ จะอาศัยเฉพาะพละกำลังของฝีพายอย่างเดียวก็อาจจะลำบากมิใช่น้อย

    สำหรับตำแหน่งนายท้ายนั้น เรือตรีจิรพงศ์ กลมดวง นายท้ายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เล่าให้ฟังว่า หน้าที่นายท้ายก็คือเป็นคนควบคุมเรือ คัดท้ายเรือให้ไปทางซ้ายหรือขวา โดยดูคำสั่งจากนายเรือ หรือบังคับเรือให้เลี้ยวไปตามจุดต่างที่ได้ตกลงกันไว้ โดยในเรือพระที่นั่งนั้นจะมีนายท้ายเรือ 2 คนด้วยกันคอยคัดท้ายคนละด้าน

    เมื่อถามถึงความรู้สึกหลังจากการซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีผ่านพ้นไปหลายครั้งด้วยกัน เรือตรีจิรพงศ์ บอกว่า เรื่องความเหนื่อยนั้นก็คงไม่มากนัก เพราะเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว และต้องพยายามให้งานนั้นออกมาดีที่สุด สวยที่สุด เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทอดพระเนตรดูพวกเราทุกคนอยู่

    เรือตรีจิรพงศ์กล่าวปิดท้ายว่า "การได้มาร่วมในขบวนก็เป็นความภาคภูมิใจ และดีใจ เพราะทำงานมาก็อยู่กับเรือพระราชพิธีมาตลอด คราวนี้ได้ทำหน้าที่เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ก็เป็นความภาคภูมิใจมาก"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ฝีพาย กำลังพลสำคัญในลำเรือ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กว่าจะเป็นขบวนเรือพระราชพิธี

    ในภาพรวมของการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีนั้น พล.ร.ต.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ประธานฝ่ายควบคุมและอำนวยการขบวนเรือ เปิดเผยว่า สำหรับการฝึก มีการจัดกำลังพลเข้าประจำดำเนินการ เพื่อเข้าเตรียมการต่าง ๆ ตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นมา ขั้นตอนการฝึก จะฝึกครูฝึกฝีพาย ในระหว่างตุลาคม – พฤศจิกายน 48 เพื่อไปฝึกฝีพายต่าง ๆ ใช้เวลา 15 วัน วันละ 6 ชั่วโมง การฝึกฝีพายบนเขียงฝึกบนพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 48 – มกราคม 49 รวม 40 วัน จากนั้นมาฝึกฝีพายในเรือเป็นกระบวนย่อย ตามพื้นที่หน่วยรับเรือ เริ่มตั้งแค่ กุมภาพันธ์ – 19 เมษายน 49 รวม 49 วัน จนกว่ากำลังพลต่าง ๆจะดำเนินการได้เรียบร้อยขึ้น เราก็จะดำเนินการฝึกซ้อมย่อยเช่นครั้งนี้เป็นต้น โดยแบ่งเป็น 6 ครั้ง เมษายน 2 ครั้ง คือ วันที่ 25 และ 28 เดือน พฤษภาคม 4 ครั้ง เป็นการซ้อมเวลากลางคืนทั้งหมด ในวันที่ 2, 16, 23 และ 30 สำหรับวันฝึกซ้อมใหญ่มี 2 วันคือ วันที่ 2 และวันที่ 6 มิถุนายน และใช้วันที่ 9 มิถุนายน ฝึกซ้อมเก็บรายละเอียดที่บกพร่อง

    ในส่วนของการคัดเลือกฝีพายนั้น พล.ร.ต.อภิวัฒน์ กล่าวว่า

    "เวลาคัดเลือกเราไม่จำเป็นต้องคัดเลือกคนเก่งมาก่อน เพราะเราสามารถฝึกได้ แต่เราคัดฝีพายจากทหารจากหลากหลายตำแหน่งที่มีแรง มีความมุ่งมั่นและสมัครใจ เพราะเราสามารถฝึกได้ โดยมีหลักสูตรฝึกอย่างมีขั้นตอน มันไม่ใช่แค่ฝึกพายเรืออย่างเดียว แต่ใน 2,200 คน ต้องทำให้พร้อมเพรียงกัน ต้องมีจังหวะ หูฟัง โน้มตัว จ้วงพาย พอถึงตอนขานเสียงเห่ ปากก็ต้องขานรับเสียงเห่ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกซ้อม"

    "การฝึกในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการฝึกร่างกายที่เน้นด้านความแข็งแรง หรือฝึกระเบียบวินัยที่เคร่งครัด แต่เป็นการฝึกให้ถูกต้องตามประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อสืบสานความเป็นไทย โดยเราต้องให้ความรู้ และให้เขามีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ คนฝึกต้องรู้สึกว่าได้รับเกียรติ เป็นมงคลชีวิตที่ได้ทำภารกิจนี้ รวมถึงตัวผมด้วย"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พล.ร.ต.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ประธานฝ่ายควบคุมและอำนวยการขบวนเรือในครั้งนี้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับรายละเอียดการฝึกฝีพายนั้น พล.ร.ต.อภิวัฒน์ อธิบายว่า

    "การฝึกช่วงแรกจะนำนายเรือทั้ง 52 ลำมาเข้าห้องเรียน เรียนทฤษฎีอย่างเดียวให้รู้จักประเพณีวัฒนธรรมประมาณ 1 เดือนครึ่งจนแตกฉาน จากนั้นนายเรือจะกลับไปสอนลูกเรือของตนเอง จะมี"เขียงฝึก"ซึ่งเป็นศัพท์ของผู้ใหญ่รุ่นก่อน มีลักษณะคล้ายกระทง แล้วให้เราขึ้นไปนั่งจับพาย พายลมอยู่บนบก พร้อมฝึกฟังเสียงเห่ โน้มตัว จ้วงพาย รับเสียงเห่ ทำอย่างนี้อยู่หลายเดือน"

    "พอฝึกพายบนเขียงจนชำนาญ ต่อจากนั้นถึงลงฝึกพายในเรือ เพื่อจ้วงพายในน้ำและรับโหลด อีกประมาณ 3 – 4 เดือน การพายในน้ำแตกต่างจากการพายบนบกมาก เพราะการพายในน้ำ ตัวต้องใช้แรง ตากแดด ตากฝน ทนหิว จนฝีพายมีความชิน จึงเอาเรือที่แยกย้ายกันมารวมขบวนเรือ ซึ่งก็ทำให้ฝีพายได้รู้จักเพื่อนเพิ่ม โดยรู้จักไปเป็นขบวนเรือ ส่วนการพายกลางวันกับกลางคืนก็แตกต่างกัน เพราะต้องปรับสายตาในการรับแสง"

    หากพูดถึงความยากลำบากของการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในครั้งนี้ พล.ร.ต.อภิวัฒน์ สรุปเอาไว้ว่า ข้อแรก คือการนำเรือทั้ง 52 ลำมาอยู่รวมกันเป็นขบวนเรือ และเดินทางไปด้วยกันอย่างเรียบร้อยสวยงาม ตั้งแต่ท่าวาสุกรีไปจนถึงป้อมวิชัยประสิทธิ์ ส่วนความยากลำบากข้อสอง คือ การต่อสู้กับกระแสน้ำ กระแสลม ซึ่งกำลังพลฝีพายต้องมีความแข็งแรงพอที่จะเอาชนะทั้ง 2 อย่าง เพื่อให้เข้าสู่จุดมุ่งหมายได้ตรงตามเวลา กระบวนเรือไม่กลัวฝน แต่หากพายุมาแรงมาก เรือจะไม่สามารถรักษารูปกระบวนได้ เรืออาจจะต้องหยุด

    "เรือพระราชพิธีเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ และสามารถใช้งานได้จริง ก่อนจะสืบทอดต่อมาจนถึงรุ่นเรา เราต้องเคารพนับถือ เวลาลงเรือเราต้องกราบไหว้แม่ย่านางเรือ ไม่พูดคำหยาบ ไม่ทำอะไรที่ไม่ดีในเรือ ต้องมีสัมมาคารวะในลำเรือ ตอนนี้เรือพระราชพิธีอยู่ในการดูแลของเรา เราต้องรักษาประเพณีนี้ไว้ รวมทั้งต้องรักษาเรือส่งทอดให้คนรุ่นหลัง"

    ********************************************************

    เป็นเวลากว่าครึ่งปีทีเดียว ที่บรรดาฝีพาย นายท้าย นายเรือ และพนักงานทุกๆ ตำแหน่งในเรือต่างก็ทุ่มเทเวลา ฝึกฝน เคี่ยวกรำ ด้วยความยากลำบาก แต่ว่าพวกเขาก็ไม่ย่นย่อท้อใจ เพราะทุกคนต่างภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนเรือพระราชพิธีครั้งนี้ นอกจากนั้นพวกเขายังภูมิใจที่ได้ทำเพื่อประเทศไทยและได้ทำถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    และนี่ก็คือหนึ่งในเกียรติประวัติอันสูงสุดในชีวิตของเหล่าฝีพายทุกคน

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    การแสดงเรือพระราชพิธีจะมีขึ้นในค่ำวันที่ 12 มิถุนายน 2549 (16.00 น.เป็นต้นไป) ตั้งแต่ท่าวาสุกรีไปจนถึงบริเวณวัดอรุณฯ โดยในวันที่ 30 พ.ค.49 จะมีการซ้อมย่อยช่วงเย็นครั้งสุดท้าย และการซ้อมใหญ่ด้วยชุดการแต่งกายเหมือนจริง ในวันที่ 2,6 มิ.ย.49 (16.00 น.) รวมถึงการซ้อมปรับสภาพ ในวันที่ 9 มิ.ย.49 (16.00 น.) ก่อนจะแสดงจริงในค่ำวันที่ 12 มิ.ย. (16.00 น.) ซึ่งผู้สนใจสามารถรับชมได้บริเวณสถานที่สาธารณะหรือร้านอาหารในบริเวณที่ขบวนเรือผ่าน
    สำหรับขบวนเรือพระราชพิธีในครั้งนี้ประกอบไปด้วยเรือทั้งหมด 52 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ก็มี เรือรูปสัตว์ 14 ลำ เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 7 ลำ เรืออีเหลืองและเรือแตงโม 2 ลำ และเรือตำรวจอีก 3 ลำ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    คนเห่เรือ ผู้ขับขานภาษา ให้กังวานก้อง แห่งท้องน้ำเจ้าพระยา
    นาวาเอกทองย้อย ผู้เรียงร้อยอักษรเป็น“กาพย์เห่เรือฯ"
    "กาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ท่วงทำนองความงดงามแห่งภาษาไทย
    รู้จักนักเห่เรือ 2 รุ่น 2 ยุค
    "ขบวนเรือพระราชพิธี" มรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คนเห่เรือ ผู้ขับขานภาษา ให้กังวานก้อง แห่งท้องน้ำเจ้าพระยา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>24 พฤษภาคม 2549 18:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนเรือพระราชพิธีอันวิจิตรตระการตา (ภาพกองทัพเรือ) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ...สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
    นารายณ์ทรงสุบรรณบิน ลินลาศฟ้าอ่าอวดองค์
    อนันตนาคราช งามผุดผาดวาดแวววง
    อเนกชาติภุชงค์ ลงเล่นน้ำงามเลิศลอย...

    (บางท่อนจากกาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี : นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย-ผู้ประพันธ์ :ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ-ผู้เห่ )

    ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมาในช่วงของวันที่มีการซ้อมขบวนเรือพระราชพิธี แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าวาสุกรีไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม แลดูงดงามไปด้วยขบวนเรือพระราชพิธีอันวิจิตรตระการตา ไม่ว่าจะเป็นความงามของเรือพระที่นั่ง ดังบทกลอนที่กล่าวมาในข้างต้น หรือเรือรูปสัตว์รูปแบบต่างๆ อาทิ

    ...กระบี่ศรีสง่า งามท่วงท่าไม่ท้อถอย
    เรือครุฑไม่หยุดคอย ยุดนาคคล้อยลอยเมฆินทร์...

    ในขณะที่เรือประกอบขบวนอื่นๆก็งดงามไม่แพ้กันไม่ว่าจะเป็น

    ...เรือแซงแข่งเรือดั้ง พร้อมสะพรั่งกลางสายชล
    เรือชัยไฉไลล้น ยลเรือกิ่งพริ้งเพราตา...

    นอกจากความวิจิตรของลำเรือและรูปขบวนเรืออันงดงามแล้ว กาพย์เห่เรือและผู้เห่เรือ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ขบวนเรือพระราชพิธีจะขาดไม่ได้ เพราะด้วยเสียงร้องอันทรงพลังดังกังวานก้อง ของคนเห่เรือที่ขับขานบทเห่เรืออันไพเราะสละสลวยออกมา ผสานกับเสียงขานรับของฝีพายและท่วงท่าการพายที่พร้อมเพรียงนั้น ช่วยส่งให้ขบวนเรือพระราชพิธีงามสง่าสมกับที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าหนึ่งเดียวในโลก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=248 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=248>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง เจ้าของเสียงเห่เรือสุดคลาสสิค(ภาพกองทัพเรือ)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง เจ้าของเสียงเห่เรือสุดคลาสสิค

    ...เห่เอยเห่เรือสวรรค์ เพลงคนธรรพ์ลั่นลือสรวง
    ฝากหาวเดือนดาวดวง อย่าลับล่วงอยู่นิรันดร์เทอญ...


    นับตั้งแต่ปี 2525 มาจนถึงปี 2546 ไม่ว่าจะเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือขบวนเรือพระราชพิธี พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง หรือที่หลายๆคนมักเรียกว่า อาจารย์มงคล ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง เจ้าของเสียงอันไพเราะเพราะพริ้งแต่เปี่ยมไปด้วยพลัง จะทำหน้าที่ขับขานบทเห่เรือข้างต้นในฐานะของผู้เห่เรือมือหนึ่ง ที่วันนี้แม้ว่าอาจารย์มงคลจะเลิกร้างการเห่เรือไปแล้ว แต่ซุ่มเสียงและลีลาการเห่เรือของ อ.มงคล ยังคงตราตรึงอยู่ในจิตใจของใครหลายๆคน เพราะนี่คือหนึ่งในเจ้าของเสียงเห่เรือสุดคลาสสิคคนหนึ่งของเมืองไทย

    อ.มงคล เล่าว่า ได้เริ่มงานเห่เรือมาตั้งแต่ปี 2511 โดยงานใหญ่ทำงานแรกคือ งานกระบวนพยุหยาตราชลมาคเมื่อเดือน เมษายน 2525 ซึ่งเป็นงานใหญ่ครั้งแรกในชีวิต หลังจากนั้น อ.มงคลก็รับหน้าที่พนักงานเห่เรือตัวจริงมาโดยตลอด ก่อนที่จะอำลาหน้าที่การเห่เรือในงานใหญ่งานสุดท้าย นั่นก็คือ การเป็นผู้นำเห่ขบวนเรือพระราชพิธีในงาน เอเปค 2003 (พ.ศ.2546)ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน

    “เมื่อเข้ามารับราชการที่กองทัพเรือ มาเห็นเขาฝึก เห็นเขาร้องก็เกิดความสนใจ เดิมเราอยู่บ้านนอกก็ชอบเรื่องของการร้องรำทำเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล อันนี้ชอบร้องอยู่แล้ว พอมาเห็นอย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่แปลก ไม่เคยพบไม่เคยเห็น ก็เกิดความสนใจ พยายามฝึกดูเขา พร้อมจดจำ ทั้งในเรื่องของการพายและการร้องว่าเขากันพายอย่างไร และร้องอย่างไร มันค่อย ๆ ฝัง ค่อย ๆ ซึมเข้าไป เป็นลักษณะของครูพักลักจำ กระทั่งมันอดรนทนไม่ไหว ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านครูพันจ่าเอกเขียว สุขภูมิ และได้เริ่มฝึกกันจริงๆจังๆในปี 2508 จนกระทั่งถึงปี 2510”

    “เวลาสังสรรค์กับเพื่อนๆ เราจะนำบทเห่เรือที่ได้รับการฝึกจากคุณครูมาร้องให้เพื่อนฟัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงดึกจึงเงียบสงบ พอเราขึ้นเสียงเพลงเรือมันดังลั่นไปหมดเลย ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งท่านมีบ้านพักอยู่ในนั้น ท่านก็มาถามว่าใครเห่เรือ เราก็บอกไปว่า ผมเองครับ ท่านก็บอกว่าเสียงดีนี่ น่าจะฝึกหัดให้มันเป็นกิจจะลักษณะ จริงๆ จัง ๆ มันเลยเป็นมูลเหตุให้เราได้รับหน้าที่เป็นพนักงานเห่เรือ”

    “หลังจากนั้นกรมการขนส่งทหารเรือได้จัดการประกวดเห่เรือขึ้นในงานปีใหม่ของกรมฯ โดยเอาข้าราชการที่ฝึกกับครูจำนวน 5 คนในขณะนั้น มาร้องแข่งขันกันว่าใครควรจะเป็นพนักงานเห่เรือแทนท่านที่กำลังจะเกษียณ การตัดสินท่านไม่ได้ชี้ว่าใครได้ที่ 1, 2, 3 เพียงแต่ในซองที่เป็นของขวัญ ท่านใส่เงินในซองจำนวนลดหลั่นกันออกไป พอเราร้องเพลงเสร็จเรียบร้อย ก็เอาซองมาอวดกันว่าใครได้เท่าไหร่ ก็ปรากฏว่าเราได้มากกว่าเพื่อน ท่านก็บอกนั่นแหละ ท่านให้เป็นโดยปริยายแล้ว” อ.มงคลกล่าวอย่างภูมิใจ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การเห่เรือและคนเห่เรือถือเป็นส่วนสำคัญไม่น้อยในขบวนเรือพระราชพิธี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนการฝึกซ้อมในสมัยนั้นจะถ่ายทอดกันด้วยวิธีครูร้องนำ แล้วศิษย์ก็ร้องตาม หากว่าท่วงทำนองหรือการเอื้อนไม่ได้ ครูจะจะค่อยๆแต่ง ค่อยๆสอนไปทีละวรรค ซึ่งโดยรวมแล้วการฝึกในสมัยนั้นกับตอนนี้เหมือนกัน เพียงแต่สมัยก่อนการฝึกอาจจะเคร่งกว่า ดุหรือปากจัดกว่า ไม่ปล่อยให้ผ่านกันง่ายๆ

    “สำหรับผมตั้งแต่ปี 2508 ที่เราสนใจ เราจำจากที่ครูร้อง ไปหัดร้องที่บ้าน แม้แต่เวลากล่อมลูกก็เห่เรือกล่อมลูก ท่วงทำนองต่างๆ มันก็ฝังอยู่ในใจเรา ฝังอยู่ในสันดานของเรา จนกระทั่งท่านเปิดหลักสูตรขึ้นมาสอน 3 เดือนมันก็เป็นจังหวะดีของเรา ท่านชี้ให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องของการร้อง เรื่องของจังหวะ แม้แต่เรื่องของการพายด้วยว่าการพายนั้นมันมีกี่จังหวะ มีกี่ท่า เราต้องเข้าใจว่าเราเห่เรือเพื่ออะไร การเห่เรือก็คือการให้จังหวะฝีพาย เพราะว่าในเรือแต่ละลำ 40 - 50 คน เราจะทำอย่างไรให้เขาพายพร้อมกันได้ แล้วก็ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ การที่เสียงจะออกมาดีไม่ได้มีวิธีรักษาเสียงเป็นพิเศษ เราต้องรู้ว่าเราควรออกเสียงแต่พอสมควร ไม่ตะเบ็งเสียงมากๆ เพราะหลอดเสียงมันจะแย่ ต้องใช้เสียงให้มันถูกต้องแค่นั้น”

    ในเรื่องของความรู้สึกที่ได้เป็นพนักงานเห่เรือนั้น อ.มงคลกล่าวว่า

    “ความรู้สึกตอนแรกที่ได้ลงงานใหญ่ มันบอกไม่ถูก เพราะไม่คิดไม่ฝันว่าจะได้มาทำหน้าที่เป็นพนักงานเห่ ทำหน้าที่ที่มีเกียรติอย่างนี้ ก็ตื่นเต้น กระบวนพยุหยาตราฯกว่าที่เราจะได้แสดง กว่าที่เราจะได้ปฏิบัติงานจริงๆ ในวันจริง ใช้เวลาในการฝึกซ้อมหลายขั้นตอน อย่างน้อยที่สุดที่เห็นๆ คือ 6 เดือน เพราะฉะนั้นความตื่นเต้นไม่มี แต่ว่าความภูมิใจที่มันเกิดขึ้นที่เราปฏิบัติหน้าที่นี้ มันบอกไม่ถูก บอกเป็นคำพูดออกมาไม่ได้”

    แม้ว่าในการแสดงขบวนเรือพระราชพิธีในงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปีนี้ อ.มงคล จะไม่ได้ลงแสดงน้ำเสียงและลีลาการเห่เรือ แต่อาจารย์ก็วางใจได้ เพราะพนักงานเห่เรือคนใหม่ที่มาเพิ่งมาทำหน้าที่ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ถือว่าทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ พนักงานเห่เรือคนล่าสุด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ เจ้าของเสียงหวาน พนักงานเห่เรือคนล่าสุด

    ...เจ้าเอย เจ้าพระยา ถั่งธารามานานไกล
    เอิบอาบ กำซาบใจ หล่อเลี้ยงไทยแผ่นดินทอง...

    ในกระบวนเรือพระราชพิธี วันที่ 12 มิ.ย.49 นี้ สำหรับบทเห่เรือ ได้มีผสมผสานกันระหว่างบทเห่เรือใหม่กับบทเห่เรือเก่า เกิดเป็น “กาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี” ที่ความไพเราะงดงาม โดยผู้มาทำหน้าที่เห่เรือขับขานสรรพสำเนียงอันไพเราะของกาพย์เห่เรือในขบวนเรือพระราชพิธีครั้งนี้ก็คือ เรือเอกณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ หนุ่มไฟแรง ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำการเห่เรือมานานนับสิบปี

    ร.อ. ณัฐวัฏ เข้ามาอยู่ในกรมการขนส่งทหารเรือตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งเป็นปีที่เตรียมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เขาเริ่มต้นด้วยการฝึกเป็นฝีพายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เพื่อเป็นฝีพายในงานกระบวนพยุหยาตราที่เสด็จ ณ ปริมณฑลท้องสนามหลวง เมื่อขณะที่ฝึกฝีพายก็ได้ฝึกหัดร้องเห่เรือไปด้วย จนกระทั่งในปี 2539 เขาได้ก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งพนักงานขานยาว และพนักงานเห่สำรอง จนกระทั้งปี 2549 จึงได้ก้าวขึ้นมาเป็นพนักงานเห่เรือตัวจริงเสียงจริง

    “ผมเริ่มร้องเห่จริงๆจังๆ ก็ช่วงตอนที่มาเป็นครูฝึกฝีพายในปี 2530 เราอยากให้ลูกศิษย์เราหรือฝีพายที่เราฝึกเขาอยากฝึก หมายถึงว่าถ้าเราร้องส่งเดชไป เขาก็ไม่อยากฝึกกับเรา เราจึงต้องพยายามร้องให้มันดี” ร.อ.ณัฐวัฏ กล่าว

    ในส่วนของการฝึกซ้อมนั้น ร.อ. ณัฐวัฏ อาศัยการฟังจากครูท่านอื่นๆก่อนตั้งแต่ยังเป็นฝีพาย จนกระทั่งมาฝึกอย่างจริงจังกับ อ.สุจินต์ สุวรรณ์ และฝึกแบบครูพักลักจำจาก อ.มงคล แสงสว่าง โดยอาจารย์ของร.อ. ณัฐวัฏ แนะนำว่าต้องลากเสียงยังไง ค่อยๆแต่ง ค่อยๆติกันไป เพราะโดยส่วนตัวเป็นคนชอบร้องเพลงอยู่แล้ว รวมถึงจำเนื้อได้อย่างขึ้นใจ มันก็ทำให้การเห่ง่ายขึ้น

    “สำหรับเสียงของผมนั้น อาจารย์กับเพื่อนๆจะบอกว่าผมเสียงหวาน ซึ่งในเรื่องของน้ำเสียงมันคงแก้ไขกันลำบากคนเสียงแบบไหนก็ต้องเสียงแบบนั้น แต่ว่าการเอื้อนการปรับแต่งทำให้มันเพราะขึ้นมันปรับกันได้ ส่วนเวลาร้องก็จะมีลูกคู่รับ ซึ่งลูกคู่จริงๆแล้วก็คือฝีพาย เช่นตอนเกริ่นโคลง พนักงานเห่จะเกริ่นคนเดียว แล้วก็ชะละวะเห่ ฝีพายจะเริ่มพาย แล้วก็ร้องรับไปด้วยเป็นลูกคู่ไปด้วย ส่วนมูลเห่ฝีพายนี่เขาจะร้องรับ ชะๆ หะๆ เห่ๆ อะไรก็รับไปเรื่อยๆ แล้วก็ไปสวะเห่ ก็จะเป็นลูกคู่รับไปด้วย ฝีพายก็จะรับแบบสบายๆ” ร.อ.ณัฐวัฏ กล่าว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศการซ้อมขบวนเรือพระราชพิธี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ทั้งนี้การร้องเห่เรือแต่ละครั้งต้องใช้เวลาติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ ดังนั้นทั้งฝีพาย และพนักงานเห่ จำเป็นต้องมีร่างกายแข็งแรง ซึ่ง ร.อ. ณัฐวัฏ ได้ฝึกฝนด้วยการ ต้องออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่จะทำให้สามารถร้องกาพย์เห่เรือได้ดังใจ รวมถึงสามารถร้องได้นานๆ พอร้องบ่อยๆก็จะจำบทได้เอง และตนเองเป็นคนที่จำแม่นอยู่แล้ว กลอนก็เป็นบทที่คล้องจองสัมผัสกันทำให้จำง่ายขึ้น แต่ถึงวันจริงต้องเปิดตำราดูเพื่อกันพลาด เพราะงานนี้เป็นงานใหญ่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศดังนั้นจะพลาดไม่ได้

    สำหรับขบวนเรือพระราชพิธีครั้งนี้ ร.อ. ณัฐวัฏ คือผู้ทำหน้าที่เป็นพนักงานเห่เรือ โดยประจำอยู่ที่เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ซึ่งเขาได้กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมในงานอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้อย่างภาคภูมิใจ ว่า

    “ผมภูมิใจและดีใจมากที่ได้เห่เรือถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เป็นตัวแทนของคนไทยคนหนึ่งที่ได้มีส่วนแนะนำวัฒนธรรมประเพณีไทย อนุรักษ์ประเพณีไทย ผมพอใจและภูมิใจมากๆ ในความเป็นไทย”

    พ.จ.อ. เฉลิม รอดดี พนักงานขานยาว กับเสียงห้าวๆให้จังหวะ

    ...วัดวาทุกอาวาส พุทธศาสน์ธรรมทอแสง
    น้ำใจจึงไหลแรง ไม่เคยแล้งจากใจไทย

    นอกจากการขับขานบทเห่เรืออันไพเราะแล้ว เสียงขานให้จังหวะสอดรับกันระหว่างการเห่กับฝีพายก็ถือเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน สำหรับ ผู้รับหน้าที่นี้ก็คือ พ.จ.อ.เฉลิม รอดดี พนักงานขานยาวประจำเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่ง พ.จ.อ.เฉลิม ได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่ปี 2530 และได้คลุกคลีอยู่กับการพายเรือและการเห่เรือมาตลอด จนในปี 2545 ที่มีการเปิดหลักสูตรการเห่เรือขึ้นมา โดยเขาติดหนึ่งในสามของพนักงานเห่เรือ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พ.จ.อ. เฉลิม รอดดี พนักงานขานยาว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พ.จ.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นคนชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแล้ว แนวเพลงลูกทุ่งจะชอบมาก โดยเฉพาะชาย เมืองสิงห์ ชอบมาตั้งแต่สมัยเด็ก เพราะเสียงเขาดี ร้องง่าย เสียงไม่สูงมาก ไม่ต่ำมาก มีอยู่วันหนึ่งตอนกำลังร้องลิเกเล่นกับเพื่อน บังเอิญครูมงคล(แสงสว่าง)มาได้ยิน จึงได้ชวนให้มาเห่เรือ ระหว่างนั้นก็ฝึกตัวเองอยู่ประมาณเดือนกว่าๆ เมื่อครูมงคลเรียกไปทดสอบเสียง ท่านจึงบอกให้มาอยู่แผนกเห่เรือก็แล้วกัน

    “พนักงานเห่จะมีบทบาทในเรื่องของการเห่ เสียงของคนเห่จึงอาจจะต้องมีความหวาน ส่วนการขานยาวเป็นการให้จังหวะ ซุ่มเสียงจึงจำเป็นต้องดังและออกห้าวหาญนิดๆ”

    “การขานยาวก็เป็นการเห่อย่างหนึ่ง เพื่อให้ฝีพายได้ผ่อนคลายอิริยาบถ เมื่อฝีพายเริ่มพายไม่พร้อมเพรียงกัน เริ่มไม่สวยแล้ว ผมก็จะขานยาวทีหนึ่ง อาจจะสัก 3 นาที 5 นาทีเว้นไป แล้วก็ขานใหม่ไปเรื่อยๆ เพราะคำว่า เยิ้ว! ของฝีพายที่เขารับเนี่ย เขาจะไปหยุดนิ่งอยู่ในจังหวะที่สี่ ตรงนั้นเสร็จปุ๊บต่อไปเขาจะลงมาพร้อมกัน ทีนี้คำที่เขารับ จะเรียกว่า สร้อย เป็นการโต้ตอบระหว่างพนักงานขานยาวกับฝีพาย ลักษณะของการขานยาวเขาจะมีแบบ เยิ้ว (เสียงยาว) อะไรอย่างนี้ แล้วฝีพายเขาก็จะรับว่า เยิ้ว (เสียงสั้นๆ) มันจะมี 2 อย่าง คือ กาบขวากับกาบซ้าย อย่างกาบขวาผมจะขึ้นมาว่า เยิ้ว....(เสียงยาวๆ) ฝีพายเขาก็จะรับห้วนๆ เยิ้ว!! แล้วก็ ขวา..พายสิพ่อ พายสิพ่อ พายสิพ่อ... ถ้าเป็นทางกาบซ้ายก็จะเป็นในลักษณะเดียวกัน แต่จะเปลี่ยนเสียงเป็น ซ้าย....พายสิพ่อ...แทน แบบนี้คือการขานยาว”

    พ.จ.อ.เฉลิม เล่าต่อว่า คนที่จะเข้ามาเป็นพนักงานเห่ หรือพนักงานขานยาวก็ตาม ต้องมีพื้นฐานของการพายเรือพระราชพิธีได้เนื่องจากจะได้รู้จังหวะ จับจังหวะให้เข้ากับทำนองได้ และต้องเป็นผู้ที่มีเสียงดี วิธีการร้องและอักขระอะไรต่างๆต้องชัดเจน ถูกต้อง เวลาฝึกก็ต้องฝึกกับฝีพาย เพราะเราเป็นครูฝึกของเขาด้วย คือฝึกเขาไปแล้วเราก็เห่ไปด้วย เหมือนได้ฝึกตัวเอง ฝึกให้ทำนองการเห่การพาย เขาก็รับด้วยเท่ากับเรามีลูกคู่ เป็นการฝึกฝนตัว และฝึกฝนเสียงไปในตัว

    สำหรับงานครั้งแรกที่ พ.จ.อ.เฉลิม ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ก็คือ งานฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 5 รอบ ในปี 2530 ซึ่งขณะนั้นรับหน้าที่เป็นฝีพายเรือสุพรรณหงส์ จากนั้นก็ได้มาเป็นครูฝึก จนมาได้ลงเรืออเนกชาติภุชงค์ ในตำแหน่งพนักงานขานยาว

    “ผมภูมิใจทุกครั้งที่มีขบวน ซึ่งเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราทำด้วยความเต็มใจ ต้องยอมทำทุกอย่างอยู่แล้วครับ ยอมทุกอย่างถึงแม้จะเหนื่อยแค่ไหนแต่ก็ไม่มีใครเอ่ยปากบ่น เหงื่อหยดเข้าตายังไงก็สู้ครับ ทุกคนสู้หมดใจ ภูมิใจมากครับ” พ.จ.อ.เฉลิม กล่าวอย่างปลาบปลื้ม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้จักนักเห่เรือ 2 รุ่น 2 ยุค </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>24 พฤษภาคม 2549 19:44 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=248 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=248>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง เจ้าของเสียงเห่เรือสุดคลาสสิค (ภาพกองทัพเรือ)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในอดีตช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หากพูดถึงผู้เห่เรือแล้ว คงจะไม่มีใครโดดเด่นเกิน พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ซึ่งนี่คือเจ้าของเสียงเห่เรือสุดคลาสสิคคนหนึ่งของเมืองไทย

    พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง เกิดเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2483 ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับ คุณเต็ม แสงสว่าง (จันทร์หลัก) เมื่อ 31 พ.ค.11 มีบุตรหญิง 2 คน และชาย 2 คน ปัจจุบันอยู่ที่ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

    พล.ร.ต.มงคล จบการศึกษาจาก โรงเรียนมัธยมอุทัยภาดาวิทยาลัย อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ชั้นมัธยมปีที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2500 และจบการศึกษาจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ยศ.ทร. หลักสูตร 2 ปี พรรคนาวิน เหล่าสามัญ ประจำปีการศึกษา 2502

    ขณะรับราชการท่านได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ในตำแหน่ง หัวหน้าแผนกเรือลำเลียงและแจวพาย กองเรือเล็ก ขส.ทร. เมื่อ 1 ต.ค.24 , รองผู้อำนวยการกองเรือเล็ก ขส.ทร. เมื่อ 1 ต.ค.34, ผู้อำนวยการ กองเรือเล็ก ขส.ทร. และเกษียณอายุราชการ เมื่อ 1 ต.ค.44

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ท่านได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าในการเป็นผู้เห่เรือในกระบวน พยุหยาตราชลมารคในพระราชพิธีสำคัญ ๆ ได้แก่ การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

    ปีพ.ศ. 2530 เป็นผู้เห่เรือในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 รอบ

    ปี พ.ศ. 2539 เป็นผู้เห่เรือในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

    ปี พ.ศ.2543 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำปี 2543 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)" (ศิลปินแห่งชาติ) เมื่อ 5 ธ.ค.44 และอีกไม่นานท่านจะได้แสดงความสามารถการเป็นผู้นำเห่เรืออีกครั้ง ในโอกาสสำคัญยิ่งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเอเปค 2003(พ.ศ.2546) ที่ ทร.ได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงกระบวนพยุหยาตราชลมารค ใน 20 ต.ค.46
    ทั้งหมดนี้ นับเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ได้ส่งผลให้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศ พล.ร.ต.เป็นกรณีพิเศษ นับเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจต่อ พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง และวงศ์ตระกูลตลอดไป

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ พนักงานเห่เรือคนล่าสุด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ปัจจุบันแม้ว่า พล.ร.ต.มงคล แสงสว่าง จะเลิกร้างจากการเห่เรือไปแล้ว แต่ผู้สืบทอดอย่าง ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ หนุ่มไฟแรง พนักงานเห่เรือคนล่าสุดที่จะแสดงซุ่มเสียงและลีลาในขบวนเรือพระราชพิธีในค่ำวันที่ 12 มิ.ย. 49 นี้ ก็นับว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ในวงการเห่เรือที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ รับหน้าที่พนักงานเห่เรือ ตำแหน่ง รักษาการหัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2505 จบการศึกษาที่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี โรงเรียนชุมพลทหารเรือ พรรคนาวิน เหล่าสามัญ นักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่นที่ 22

    เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ เป็นนายทหารเรือที่ได้คัดเลือกร่วมงาน กระบวนพระพยุหยาตราชลมารค ในปีพุทธศักราช 2525 ได้รับเป็นฝีพายประจำเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์และได้สนใจในการเห่เรือจึงได้รับการฝึกฝนจาก เรือโท สุจินต์ สุวรรณ นายทหารเรือที่เป็นครูสอนการเห่เรือ ตลอดจนใช้ครูพักลักจำจาก พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ศิลปินแห่งชาติ โดย เรือเอกณัฐวัฎ ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นพนักงานเห่เรือในงานโรดพาเหรดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมจัดที่เมือง พาซาคีนา มลรัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2540
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"กาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ท่วงทำนองความงดงามแห่งภาษาไทย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>24 พฤษภาคม 2549 19:27 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บทที่ 1
    สรรเสริญพระบารมี


    ยอกรเหนือเกศก้ม กราบยุคล
    แทบบาทองค์ภูมิพล ผ่านฟ้า
    หกสิบวัสสานุสนธิ์ เสวยราชย์
    เชิญเทพอวยชเยศหล้า โลกพร้องพรถวาย

    ยอกรขึ้นเหนือเกศ กราบบทเรศองค์ภูมิพล
    หกสิบวัสสาดล เป็นมงคลครองแผ่นดิน
    เดชะพระบารมี จำเจริญศรีจำเริญสิน
    เย็นจิตอยู่อาจิณ ทุกธานินทร์เทิดพระนาม
    คือแสงทิพย์ที่ส่องไทย คือสายใยแห่งทวยสยาม
    ยิ่งยาววันยิ่งแวววาม ยิ่งยาวยามยิ่งร่มเย็น
    หัตถ์ทิพย์แห่งท่านไท้ กำจัดไข้กำจัดเข็ญ
    ถอนทุกข์ขุกลำเค็ญ เย็นทั่วหน้ามาทุกฉนำ
    แผ่นดินที่ทรงครอง แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
    คราวเข็ญเข้าครอบงำ ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน
    เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก ทรงงานหนักอเนกอนันต์
    วักพักเพียงสักวัน ก็แสนน้อยดูนานเกิน
    วังทิพย์คือท้องทุ่ง ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน
    ร้อนหนาวในราวเนิน มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
    ย่างพระบาทที่ยาตรา ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
    พระเสโทที่ถั่งท้น ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
    ทรงธรรมโดย“ทรงทำ” พระทรงนำอเนกนัย
    ยึดรอยยุคลไคล ย่อมคว้าชัยให้โลกชม
    ยามภัยพิบัติเบียน จำจนเจียนจวนจ่อมจม
    ทรงเสกชีวิตตรม ให้กลับฟื้นขึ้นยืนตน
    ถิ่นโหยระหายหิว ที่เหือดแห้งทุกแห่งหน
    ย่อมชื้นด้วยหยาดชล ที่ทรงชุบให้ฉ่ำทรวง
    คือธารเมตตาธรรม อันลึกล้ำทะเลหลวง
    เอิบอาบกำซาบปวง ทุกลมปราณด้วยปรานี
    แผ่ผายข่ายการุณย์ เบิกบัวบุญพระบารมี
    คุ้มครองป้องธาตรี ให้บานชื่นรื่นเริงชนม์
    ทศธรรมล้ำสถิต ทศทิศไร้ทุกข์ทน
    พระเดชอดุลย์ดล ทั้งสากลจึงเกริกไกร
    ข้าเจ้าเหล่านาวิน ข้าแผ่นดินสำนึกใน
    น้อมธรรมที่นำไทย ถวายชัยธิราชา
    ศีลสัตย์คือสายสร้อย บรรจงร้อยแทนมาลา
    บุญผองบำเพ็ญมา น้อมบูชาเป็นราชพลี
    เดชะพระไตรรัตน์ พระปรมัตถบารมี
    เทวาทุกราศี อัญเชิญช่วยอวยชัยถวาย
    ขอจงทรงพระเจริญ พระชนม์เกินร้อยปีปลาย
    อาพาธพินาศหาย ภัยพาลพ่ายพระภูมิพล
    จงพระเสวยสวัสดิ์ พูนพิพัฒน์ผองศุภผล
    พระหฤทัยไกลกังวล ทุกทิพาราตรีกาล
    พระประสงค์ทุกสิ่งเสร็จ แม้สรรเพชญพระโพธิญาณ
    ดำรงรัชย์ชัชวาล ดั่งเวียงสวรรค์นิรันดร์เทอญ

    บทที่ 2
    ชมเรือกระบวน


    ลอยลำงามสง่าแม้น มณีสวรรค์
    หยาดโพยมเพียงหยัน ยั่วฟ้า
    สายชลชุ่มฉ่ำฉัน เฉกทิพย์ธารฤๅ
    ไหลหลั่งโลมแหล่งหล้า หล่อเลี้ยงแรงเกษม

    เรือเอยเรือพระที่นั่ง พิศสะพรั่งกลางสายชล
    ลอบลำงามสง่ายล หยาดจากฟ้ามาโลมดิน
    สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
    นารายณ์ทรงสุบรรณบิน ลินลาศฟ้าอ่าอวดองค์
    อนันตนาคราช งามผุดผาดวาดแวววง
    อเนกชาติภุชงค์ ลงเล่นน้ำงามเลิศลอย
    กระบี่ศรีสง่า งามท่วงท่าไม่ท้อถอย
    เรือครุฑไม่หยุดคอย ยุดนาคคล้อยลอยเมฆินทร์
    อสุรวายุภักษ์ ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน
    พายยกเพียงนกบิน ผินสู่ฟ้าร่าเริงบน
    เรือแซงแข่งเรือดั้ง พร้อมสะพรั่งกลางสาบชล
    เรือชัยไฉไลล้น ยลเรือกิ่งพริ้งเพราตา
    ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย แลลวดลายล้วนเลขา
    รูปสัตว์หยัดกายา พาโผนเผ่นเป็นทิวแถว
    เรือน้อยลอยน้ำไหล ล้อมเรือใหญ่ไหววับแวว
    พร่างพราวราวเพชรแพรว พายพลิ้วกวักพรักพร้อมพาย
    งามริ้วทิวทางแถว ธงเพริศแพร้วแผ่วปลิวปลาย
    งามเรือเหลือลวดลาย คล้ายเทพทิพย์หยิบลายผจง
    อาภรณ์ผ้าแพรพรรณ สวยสีสรรสวมทรวดทรง
    พลพายพายเรือลง ทิวธงถ้วนล้วนเฉิดฉัน
    เสนาะศัพท์ขับเพลงเห่ เสียงเสน่ห์น้ำสนั่น
    เพลงทิพย์ไป่เทียมทัน กลั่นจากทรวงปวงนาวี
    ศิลปกรรมล้ำเลิศเหลือ ลวดลายเรือล้วนโสภี
    ท่อนไม้ไร้ชีวี มีชีวิตคิดเหมือนเป็น
    นาวาสถาปัตย์ ช่างเชี่ยวชัดชาญเชิงเช่น
    ยิ่งยลยิ่งเยือกเย็น เห็นสายศิลป์วิญญาณไทย
    สมบูรณ์สมบัติชาติ ควรประกาศเกียรติเกริกไกร
    ฝีมือลือเลิศใคร ไม่เทียบเทียมเยี่ยมนิยม
    ควรสืบควรรักษา ควรคู่ค่าควรเมืองสม
    ควรเชิดควรชื่นชม ควรภูมิใจไทยทั้งมวล
    แม้นสิ้นจากถิ่นไทย ห่อนเห็นใครมาคู่ควร
    แบบบทหมดกระบวน ล้วนเลิศแล้วแพรวพริ้งพราย
    ขวัญเอยเป็นขวัญเนตร ศิลป์พิเศษยังสืบสาย
    ลูกหลานวานอย่าวาย อย่าดูดายศรีแผ่นดิน
    ฝากโลกให้รู้จัก ฝากศรีศักดิ์วิญญาณศิลป์
    ฝากชื่อลือธรณินทร์ ฝากศิลป์ซับไว้กับทรวง
    เห่เอยเห่เรือสวรรค์ เพลงคนธรรพ์ลั่นลือสรวง
    ฝากหาวเดือนดาวดวง อย่าลับล่วงอยู่นิรันดร์เทอญ

    บทที่ 3
    ชมเมือง


    สยามเอยอุโฆษครื้น คุณขจร
    สุขสถิตสถาพร ผ่านฟ้า
    ไตรรงค์ลิ่วลมสลอน อวดโลก
    ตราบเมื่อนี้เมื่อหน้า เมื่อโน้นนิรันดร์เกษม

    สยามเอย สยามรัฐ งามร่มฉัตรทัดเทียมโพยม
    กิตติศัพท์ขับประโคม โครมครืนครั่งลั่นหล้าคง
    สุโขทัยไกลสุด ถึงอยุธยายง
    ธนบุรีลอยฟ้าลง ทรงศักดิ์ฟื้นคืนคุณขจร
    รัตนโกสินทร์ศิลป์ สืบระบืออันบวร
    แม่นแม้นแดนอมร ถอนจากฟ้ามาเมืองดิน
    เจ้าเอย เจ้าพระยา ถั่งธารามาเรื่อยริน
    ทวยไทยได้อาบกิน ลินลาศลุ่มขุมกำลัง
    งามเอย งามระยับ แวววาววับวัดเวียงวัง
    ย่ำค่ำย่ำระฆัง วังเวงหวานซ่านซึ้งเสียง
    เจดีย์ศรีสูงเหยียด เสียดยอดท้าฟ้ารายเรียง
    ปรางค์ยอดทอดเงาเคียง เลี้ยงตาเมืองเรื้องเรืองรมย์
    พืชพันธุ์ธัญญาผล เลี้ยงชีพชนดลอุดม
    นาสวนชวนชื่นชม ร่มรื่นรมย์ร่มพฤษ์ไพร
    เจ้าเอย เจ้าพระยา ถั่งธารามานานไกล
    เอิบอาบกำซาบใจ หล่อเลี้ยงไทยแผ่นดินทอง
    รวงทองเหลืองท้องทุ่ง แดดทอรุ้งเหนือเขื่อนคลอง
    ข้าวปลามาเนืองนอง เรือขึ้นล่องล้วนเริงแรง
    วัดวาทุกอาวาส พุทธศาสน์ธรรมทอแสง
    น้ำใจจึงไหลแรง ไม่เคยแล้งจากใจไทย
    พิสุทธิ์พุทธศาสน์ ธรรมประกาศมานานไกล
    ถึงถิ่นแผ่นดินไทย ประจักษ์ใจว่าสัจจริง
    ทรงภพอุปถัมภก ทรงยอยกเป็นยอดยิ่ง
    เผ่าไทยได้พักพิง จึงผุดผ่องผองภัยพาล
    ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เฉกร่มฉัตรรุ่งเรืองฉาน
    เป็นถิ่นแห่งศีลทาน ทุกหย่อมย่านจึงร่มเย็น
    ดินแดนแห่งกาสาว์ คือสมญาโลกย่อมเห็น
    ศีลธรรมที่บำเพ็ญ ช่วยดับเข็ญทุกคราวครัน
    บัวบุญจึงเบ่งบาน อยู่กลางธารหทัยธรรม์
    รอยยิ้มย่อมยืนยัน ถึงน้ำใจและไมตรี
    นบไหว้พระไตรรัตน์ บำรุงศาสน์บำรุงศรี
    วิหารลานเจดีย์ ล้วนรุ่งโรจน์โบสถ์ศาลา
    พระแก้วอยู่เหนือเกล้า ทุกค่ำเช้าเฝ้าบูชา
    ศีลทานสารศรัทธา เปรมปรีดาด้วยความดี
    ราชันขวัญสยาม ปิ่นเพชรงามปักธานี
    ร่มพระบารมี ศรีไผทฉัตรชัยชน
    ไตรรงค์ธงชัยโชค ลอยอวดโลกโบกลมบน
    ขวัญฟ้าขวัญตายล ล้นเลิศหลักศักดิ์ศรีสยาม
    เมื่อนี้ตราบเมื่อหน้า คงคู่หล้ากล้าเกียรติงาม
    ใครบุกรุกเขตคาม ตามหาญหักรักษ์แผ่นดิน
    ฟ้าเอย ฟ้าสยาม งามกว่าฟ้าทุกธานินทร์
    เพลงสยามทุกยามยิน วิญญาณปลื้มดื่มด่ำใจ
    ห้ารอบเสวยราชย์ ประชาชาติถวายชัย
    ร้อยรักภักดีไท้ เทิดทูนไว้จักรีวงศ์
    เทพไทถวายทิพย์ พระเลิศลิบลุประสงค์
    เกษมสุขทุกพระองค์ ขอจงทรงพระเจริญเทอญ

    นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย : ผู้ประพันธ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"ขบวนเรือพระราชพิธี"ชมฟรีได้ในหลายจุด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 พฤษภาคม 2549 15:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนเรือพระราชพิธี ความอลังการแห่งสายน้ำที่จะปรากฏโฉมให้โลกได้รับรู้อีกครั้งในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เย็นวันที่ 12 มิถุนายน 2549 นี้ ลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าวาสุกรีไปจนถึงวัดอรุณจะงดงามวิจิตรไปด้วยการแสดงขบวนเรือพระราชพิธี ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่หลงเหลือหนึ่งเดียวในโลก

    นอกจากการแสดงในวันจริงแล้ว ในวันที่ 2 และ 6 มิถุนายน จะมีการซ้อมใหญ่ที่เหมือนการแสดงจริงทุกประการ และการซ้อมปรับสภาพ ในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งทั้งการซ้อมใหญ่และการซ้อมปรับสภาพต่างก็มีความงดงามไม่ต่างจากการแสดงจริง

    ความสวยงามอลังการของขบวนเรือพระราชพิธีนั้น ส่งผลให้บัตรชมขบวนเรือฯที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดจำหน่ายขายหมดเกลี้ยงในไม่กี่วัน ในขณะที่ตามร้านอาหารริมเจ้าพระยาที่ขบวนเรือฯแล่นผ่านต่างก็ถูกจับจองกันเกือบหมดแล้ว

    สำหรับฉัน งานนี้แม้ไม่ได้เสียเงินไปซื้อบัตรหรือจับจองร้านอาหารชม แต่ก็เล็งเอาไว้ว่าจะหาจุดชมขบวนเรือฯแบบไม่เสียสตางค์ในที่สาธารณะริมเจ้าพระยาสักแห่งหนึ่ง ซึ่งหลายๆจุดที่ขบวนเรือฯแล่นผ่าน มีมุมดีๆ และสามารถชมได้อย่างใกล้ชิดเป็นบุญตาไม่แพ้จุดชมที่เสียสตางค์เลย...ว่าแล้วเรามาลองสำรวจกันดีกว่าว่าจุดชมขบวนเรือฯ ฟรีนั้นมีที่ไหนน่าสนใจบ้าง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จากสวนสันติชัยปราการสามารถมองเห็นสะพานพระราม 8 เป็นฉากหลังได้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จุดแรกฉันขอนำเสนอสวนสันติชัยปราการ สวนสาธารณะใกล้ออฟฟิศที่มีป้อมพระสุเมรุตั้งเด่นเป็นสง่า ในช่วงเย็นๆ แดดร่มลมตกสวนแห่งนี้ก็จะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั้งคนไทยและต่างชาติที่อยู่อาศัยในละแวกนั้น

    ผู้ที่จะมารอชมเรือพระราชพิธีที่สวนแห่งนี้นับว่าเหมาะมาก เพราะผู้ชมสามารถนั่งชมกันได้บริเวณลานกว้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีที่นั่งยาวขนานกับริมน้ำ หรือถ้าจับจองที่นั่งตรงนั้นไม่ทัน ก็ยังมีพื้นที่ว่างอีกเยอะแยะที่สามารถชมขบวนเรือพระราชพิธีได้เช่นกัน

    อีกข้อหนึ่งที่ฉันเห็นว่าสวนสันติชัยปราการเป็นจุดชมที่น่าสนใจก็คือ ตรงจุดนี้สามารถมองเห็นสะพานพระราม 8 ได้อย่างชัดเจนและสวยงามอีกต่างหาก ถ้าใครจะถ่ายภาพก็คงได้มุมดีไม่น้อย มีสะพานพระราม 8 เป็นฉากหลัง

    นอกจากในสวนสันติชัยปราการแล้ว บริเวณทางเดินริมน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สวนสันติฯ ไปจนถึงท่าเรือพระอาทิตย์ และยาวต่อไปถึงบริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ตรงนั้นก็เป็นจุดที่สามารถมองเห็นขบวนเรือได้อย่างชัดเจนทีเดียว มีฉากหลังเป็นสะพานพระปิ่นเกล้าและตึกแฝด แต่ผู้ชมคงต้องทนเมื่อยเอาหน่อยเพราะตรงนี้ไม่มีเก้าอี้ให้นั่งดูสบายๆ อ้อ...และขอบอกว่าบริเวณทางเดินตรงนี้ก็ชมได้เฉพาะวันซ้อมเท่านั้น คือวันที่ 2, 6, และ 9 มิถุนายน เพราะวันจริงเขาจะปิดห้ามคนผ่านไปผ่านมา แล้วก็ห้ามลงไปยืนบนโป๊ะเรือด้วยอีกต่างหาก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถชมขบวนเรือได้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอ้า...ไหนๆ ก็เดินมาถึงตั้งสะพานปิ่นเกล้าแล้ว ก็เดินเลยมาอีกหน่อยหนึ่งผ่านถนนพระอาทิตย์เข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ทั้งแถบติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา แต่จุดที่จะสามารถชมเรือพระราชพิธีได้ก็คือบริเวณโรงอาหารที่อยู่ใต้ตึกอเนกประสงค์ 2 (อาคาร 60 ปี) ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ ใกล้ประตูด้านถนนพระอาทิตย์ และอีกที่หนึ่งก็คือใต้ตึกคณะศิลปศาสตร์ ใกล้ประตูท่าพระจันทร์

    ใครที่ไปชมเรือที่ตึกอเนกประสงค์ก็อย่าลืมแวะไปไหว้ศาลสิงโตทอง หรือที่เด็กธรรมศาสตร์มักเรียกกันว่าศาลเจ้าแม่สิงโต ตั้งหันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของนักศึกษา โดยมักจะมาขอพรในเรื่องของการเรียนรวมทั้งเรื่องความรักด้วย และเท่าที่ฉันเห็น ดูเหมือนเจ้าแม่สิงโตนี้คงจะชอบลูกแก้วเป็นพิเศษ เพราะของแก้บนที่ฉันเห็นวางอยู่เต็มศาลของท่านก็คือลูกแก้วทั้งลูกเล็กลูกใหญ่เต็มไปหมด

    ไหว้ศาลสิงโตทองแล้วก็มาจับจองที่นั่งกันได้ จุดชมเรือตรงนี้นอกจากจะสามารถยืนดูกันได้ตรงทางเดินริมน้ำแล้ว ก็ยังมีศาลาริมน้ำอยู่สองหลังให้นั่งดูสบายๆ กันอีกด้วย ทิวทัศน์ฝั่งตรงข้ามก็มีสะพานพระปิ่นเกล้าให้ชมอยู่ด้านขวามือ ส่วนฝั่งตรงข้ามก็เป็นโรงพยาบาลศิริราช ก็นับว่าเป็นทำเลถ่ายภาพที่ไม่เลวนัก

    จริงๆ แล้ว ยังมีอีกจุดหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา นั่นก็คือบริเวณลานปรีดี หน้าตึกโดม แต่ทางมหาวิทยาลัยเขาขอสงวนพื้นที่ไว้สำหรับอาจารย์และแขกผู้ใหญ่นั่งชมกัน เพราะฉะนั้นเหล่าผู้น้อยก็สามารถชมอยู่ตามจุดที่ฉันบอกได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จุดชมเรือที่วัดระฆัง สามารถมองเห็นยอดปราสาทในพระบรมมหาราชวัง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากฝั่งพระนคร เราข้ามไปฝั่งธนฯ กันบ้างดีกว่า คราวนี้ต้องเปลี่ยนอาชีพเป็นเด็กวัดอาศัยพื้นที่วัดในการชมเรือพระราชพิธี เริ่มจากวัดแรกก็คือวัดอรุณราชวราราม ที่มีพื้นที่ด้านหน้าวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีที่ให้นั่งชมยืนชมได้สบายๆ ตลอดแนววัด แนะนำให้รีบไปกันตั้งแต่หัววันเพื่อกราบพระ ไหว้พระปรางค์วัดอรุณ และชมสิ่งที่น่าใจภายในวัดกันก่อนเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยว

    แต่หากที่วัดอรุณฯ นี้คนเยอะเกินไป ไม่มีที่นั่งดีๆ ก็ลองย้ายที่ไปยังวัดกัลยาณมิตร ที่อยู่ไม่ไกลกันนัก ซึ่งลักษณะพื้นที่นั่งชมก็คล้ายกับที่วัดอรุณฯ แต่ที่วัดกัลยาณมิตรนี้เป็นช่วงปลายๆ ของขบวนเรือแล้ว และเช่นเดียวกัน เมื่อมาถึงวัดแห่งนี้แล้วก็ไม่ควรพลาดที่จะไปกราบหลวงพ่อโต หรือซำปอกง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวไทยและชาวจีน

    หรือถ้าอยากได้มุมชมเรือและมุมถ่ายรูปแบบที่เห็นยอดปราสาทในพระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลัง ฉันขอแนะนำให้มาชมที่วัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งแม้สถานที่อาจจะคับแคบมากกว่าสองวัดที่แล้วไปบ้าง แต่เชื่อว่ามุมที่ออกมาสวยแน่นอน

    สำหรับลานกว้างใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนฯ) นั้นทางกทม. ก็ได้จัดที่นั่งส่วนหนึ่งไว้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถจับจองรอชมขบวนเรือได้ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบัตรชมขบวนเรือฯ ได้ที่สำนักงานเขตฯ ทุกเขต หรือสอบถามที่ กองประชาสัมพันธ์ กทม. 0-2224-8651

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ทางเดินริมน้ำจากท่าพระอาทิตย์เดินไปยังสะพานพระปิ่นเกล้าสามารถชมขบวนเรือฯในวันซ้อมได้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนผู้ที่ตั้งใจจะไปรอชมตามท่าเรือสาธารณะนั้น ก็ต้องดูดีๆ เพราะบางท่าก็มีการเปิดขายบัตรเข้าชม ถ้าไม่มีบัตรก็ไม่มีสิทธิ์ ซึ่งท่าเรือที่ต้องซื้อบัตรก็มีท่าวังหลัง (ติดกับโรงพยาบาลศิริราช) ท่าพรานนก ท่าพระจันทร์เหนือ ท่ารถไฟ (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) ท่าข้ามฟากพระปิ่นเกล้าธนบุรี และท่ามหาราช สำหรับราคาขายวันซ้อมที่นั่งละ 300 บาท ส่วนวันจริง 500 บาท แต่เดี๋ยวก่อน!! สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบัตร ขอแจ้งให้ทราบว่า บัตรขายหมดแล้วทุกที่นั่ง เพราะฉะนั้นไปดูกันต่อว่ามีท่าเรือสาธารณะที่ไหนบ้างที่สามารถไปชมได้แบบฟรีๆ ได้บ้าง

    นอกจากท่าพระอาทิตย์ ที่สามารถไปยืนชมได้ฟรีอย่างที่ฉันได้บอกไปในตอนแรกแล้วนั้น ก็ยังมีท่าอื่นๆ คือท่าช้าง ท่าเตียน ท่าราชินี ซึ่งก็อาศัยยืนชมกันได้โดยไม่เสียสตางค์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในวันที่มีการแสดงจริง ทางท่าเรือก็จะปิดไม่ให้ลงไปยืนบนโป๊ะเรือ

    สำหรับจุดชมแต่ละที่นั้นก็ไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอะไรมากนัก ต่างกันแต่ตรงฉากหลัง แต่คนที่ชมอยู่ทางฝั่งธนฯอาจจะดีกว่านิดหนึ่งตรงที่ไม่ต้องชมเรือแบบย้อนแสงแดดไม่ส่องหน้า และใครที่ต้องการมาชมตามจุดต่างๆ ที่ฉันว่ามานี้ ก็ขอให้รีบมาจับจองที่นั่งกันเสียแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในวันแสดงจริง เพราะเชื่อว่าคงมีหลายคนที่ใจเดียวกันคิดเหมือนกัน จะได้ไม่ต้องเสียอารมณ์แย่งที่นั่งกัน แล้วอย่าลืมเอากล้องมาเก็บรูปสวยๆ กันไปด้วยล่ะ

    ยังเหลืออีก 3 ครั้งสำหรับการซ้อมใหญ่ขบวนเรือพระราชพิธี จากนั้นก็จะเป็นการแสดงจริง รวมทั้งหมดก็ 4 ครั้งด้วยกันที่เราจะได้เห็นความงดงามของเรือพระที่นั่งและเรือประกอบขบวนอันสวยงาม รวมทั้งได้ฟังกาพย์เห่เรืออันไพเราะจับใจ งานพิธีแบบนี้ใช่ว่าจะหาชมได้ง่ายๆ หรือบ่อยๆ เสียที่ไหน เพราะฉะนั้นฉันว่าควรจะหาเวลา รวมทั้งหามุมดีๆ มานั่งชมขบวนเรือพระราชพิธีสักครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นบุญตาและเป็นภาพประทับใจของตัวเองต่อไป

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    สำหรับการเคลื่อนขบวนเรือพระราชพิธี ฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 2, 6, 9 และ 12 มิถุนายนนี้ จะมีการปรับเวลาจากเดิม 18.00 เป็นเวลา 16.00 น. โดยขบวนเรือจะเคลื่อนจากบริเวณสะพานพระราม 8 และสิ้นสุดที่วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร ซึ่งจะถึงประมาณเวลา 19.00 น. โดยการปรับเวลาครั้งนี้เพื่อจะได้เห็นภาพขบวนเรือพระราชพิธีในลำน้ำขณะที่ยังมีแสงธรรมชาติอยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติความเป็นมา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD vAlign=center align=middle width=267 height=187>[​IMG]</TD><TD width=472 height=187>

    การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทยนับแต่โบราณกาลมา นอกจากการเสด็จพระราชดำเนินทางบก ที่เรียกว่า "พยุหยาตราสถลมารค" แล้ว การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ พยุหยาตราชลมารค" ก็เป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญยิ่งเช่นกัน ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็น ราชธานีของไทยเรา ปรากฏว่าพระร่วงทรงเรือออกไปลอยกระทงหรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระกลางน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามเพ็ญเดือนสิบสอง ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีซึ่งเป็นเมืองเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเก่าจึงต้องอาศัยเรือ ในการสัญจรไปมา รวมทั้งในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฏว่ามีการสร้างเรือรบมากมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=478>
    ในเวลาบ้านเมืองปราศจากศึกสงครามได้ใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ์กันเป็นนิจ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ราษฎรว่างจากการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาลประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึง เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แหน เพื่อให้ไพรพลได้รื่นเริงในการกุศล จึงจัดเป็นประเพณีที่แห่เสด็จกฐิน
    </TD><TD width=268>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD height=90>
    นอกจากนั้นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญ พระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง การต้อนรับทูตต่างประเทศ เป็นต้น
    สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 14 ครั้ง ประกอบด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> - ครั้งที่ 1 พยุหยาตราชลมารคในการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2500
    - ครั้งที่ 2 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2502
    - ครั้งที่ 3 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ..2504
    - ครั้งที่ 4 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ.2505
    - ครั้งที่ 5 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ.2507
    - ครั้งที่ 6 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ.2508
    - ครั้งที่ 7 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ.2510
    - ครั้งที่ 8 กระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่) ชลมารค ในคราวที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงสมเด็จพระบูรพามหากษัตริย์เจ้า เมื่อ 5 เมษายน พ.ศ.2525
    - ครั้งที่ 9 กระบวนพยุหยาตรา (น้อย) แห่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ.2525
    - ครั้งที่ 10 พระราชพิธีถวายพระกฐิน (ใหญ่) ณ วัดอรุณราชาวราราม เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ.2525
    - ครั้งที่ 11 กระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่ป ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ.2530
    - ครั้งที่ 12 กระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณาราชวราราม เมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
    - ครั้งที่ 13 กระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่) ชลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณาราชวราราม เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2542
    - ครั้งที่ 14 กระบวนพยุหยาตรา (ใหญ่) ชลมารค ในการจัดประชุมการค้าเสรีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค 2003 เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ.2546



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=361>[​IMG]</TD><TD align=middle width=349>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติเรือพระที่นั่ง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=301 bgColor=#e4f7ac>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=419 bgColor=#e4f7ac>

    เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

    เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งโปรดให้สร้างแทนลำเดิมมีนามว่า ศรีสุพรรณหงส์ ซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก พื้นเรือสีดำน้ำหนัก 15.6 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 44.70 เมตร ลึก 0.90 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร ฝีพาย 50 นาย นายท้าย 2 นาย นายเรือ 2 นาย พายที่ใช้เป็นพายทอง พลพายจะพายในท่านกบิน และถือเป็นธรรมเนียมว่าถ้าจะเปลี่ยนท่าพายธรรมดาจะต้องรับพระบรมราชานุญาตเสียก่อน

    </TD></TR><TR></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#d1e8d0><TD width=407 bgColor=#e4f7ac height=159>

    เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

    เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบันเป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แทนลำเดิมซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โขนเรือปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญานาค 7 เศียร พื้นเรือ สีเขียว น้ำหนัก 15.36 ตัน กว้าง 2.95 เมตร ยาว 42.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 นาย นายท้าย 2 นาย

    </TD><TD vAlign=center width=313 bgColor=#e4f7ac height=159>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=320 bgColor=#e4f7ac height=182>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=390 bgColor=#e4f7ac height=182>


    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หัวเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก พื้นเรือสีชมพู น้ำหนัก 7.7 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 45.40 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 1.46 เมตร ฝีพาย 61 นาย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=400 bgColor=#e4f7ac height=197>


    เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

    เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งนำต้นแบบมาจากเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4
    เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นี้ กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วโรกาสพระราชพิธีในปีกาญจนาภิเษก มีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่า เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พื้นเรือสีแดงชาด น้ำหนัก 20 ตัน กว้าง 3.20 เมตร ยาว 44.30 เมตร ลึก 1.10 เมตร ฝีพายจำนวน 50 นาย นายท้าย 2 นาย (เพื่อให้สอดคล้องกับ วโรกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

    </TD><TD vAlign=top width=310 bgColor=#e4f7ac height=197>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรือพระราชพิธี


    <TABLE width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=33>เรือเอกไชยเหินหาว</TD><TD align=middle height=33>เรือเอกไชยหลาวทอง</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=29>เรือกระบี่ปราบเมืองมาร</TD><TD align=middle height=29>เรือกระบี่รานรอนราพณ</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=29>เรืออสุรวายุภักษ</TD><TD align=middle height=29>เรืออสุรปักษี</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=32>เรือพาลีรั้งทวีป</TD><TD align=middle height=32>เรือสุครีพครองเมือง</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=30>เรือครุฑเหินเห็จ</TD><TD align=middle height=30>เรือครุฑเตร็จไตรจักร</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=31>เรือเสือทยานชล</TD><TD align=middle height=31>เรือเสือคำรณสินธุ์</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=31>เรือทองขวานฟ้า</TD><TD align=middle height=31>เรือทองบ้าบิ่น</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=31>เรือแตงโม</TD><TD align=middle height=31>เรืออีเหลือง</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=31>เรือดั้งทอง</TD><TD align=middle height=31>เรือดั้ง</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=31>เรือตำรวจ</TD><TD align=middle height=31>เรือแซง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffcc99 height=341 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=720 align=center border=1><TBODY><TR><TD align=middle width=704 bgColor=#de8712 height=25>เรือพระราชพิธีที่เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตราชลมารค</TD></TR><TR><TD align=middle width=704><TABLE borderColor=#ffcc00 cellSpacing=1 cellPadding=0 width=720 border=1><TBODY><TR bgColor=#fffec6><TD align=middle width=344 height=17>เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส</TD><TD align=middle width=366 height=17>เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 </TD></TR><TR bgColor=#fffec6><TD align=middle width=344 height=15>เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช </TD><TD align=middle width=366 height=15>เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle width=704 bgColor=#ded745 height=24>เรือประเภทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตราชลมารค</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=704><TABLE borderColor=#ffcc66 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=720 border=1><TBODY><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรือเอกไชยเหินหาว </TD><TD align=middle width=366>เรือเอกไชยหลาวทอง </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344 height=17>เรือพาลีรั้งทวีป </TD><TD align=middle width=366 height=17>เรือสุครีพครองเมือง </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรืออสุรวายุภักษ </TD><TD align=middle width=366>เรืออสุรปักษี </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344 height=17>เรือกระบี่ปราบเมืองมาร </TD><TD align=middle width=366 height=17>เรือกระบี่ราญรอนราพณ </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรือครุฑเหินเห็จ </TD><TD align=middle width=366>เรือครุฑเตร็จไตรจักร </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344 height=21>เรือเสือทยานชล </TD><TD align=middle width=366 height=21>เรือเสือคำรณสินธุ์ </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรืออีเหลือง </TD><TD align=middle width=366>เรือแตงโม </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรือทองขวานฟ้า </TD><TD align=middle width=366>เรือทองบ้าบิ่น </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344>เรือดั้ง จำนวน 22 ลำ </TD><TD align=middle width=366>เรือตำรวจ จำนวน 3 ลำ </TD></TR><TR bgColor=#feefcb><TD align=middle width=344 height=17>เรือแซง จำนวน 7 ลำ </TD><TD align=middle width=366 height=17>รวมทั้งหมด 52 ลำ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การแต่งกายของผู้ประจำเรือ

    <TABLE width=700 align=center border=0><TBODY><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>พนักงานเห่เรือ</TD><TD>คนสัญญาณเรือพระที่นั่ง</TD><TD>นายเรือพระที่นั่ง</TD></TR><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>ฝีพายเรือรูปสัตว์</TD><TD>นายเรือพระที่นั่งทรง</TD><TD>นายเรือ</TD></TR><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>ฝีพายเรือพระที่นั่ง</TD><TD> </TD><TD>ฝีพายเรือดั้ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#cc3300 cellSpacing=1 cellPadding=0 width=700 align=center border=1><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#660000 height=28>การแต่งกายของผู้ทำหน้าที่ในขบวนเรือพระราชพิธี มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=28>
    เจ้าหน้าที่ฝีพายของเรือพระที่นั่ง จะใช้หมวกทรงประพาสสักหลาดสีแดงขลิบแถบลูกไม้ใบข้าว เสื้อเป็นสักหลาดสีแดงขลิบลูกไม้ใบข้าวเช่นเดียวกัน ส่นกางเกงเป็นผ้าสีดำ ใช้ผ้ารูเซีย หรือผ้าเสิร์จ แต่ฝีพายของเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช นั้น จะต่างออกไปคือ เสื้อจะเปลี่ยนจากขลิบลูกไม้ใบข้าวเป็นขลิบเหลือง ส่วนอย่างอื่นเหมือนเดิมทุกอย่าง
    นายเรือพระที่นั่งของเรือสุพรรณหงส์จะแต่งกายแตกต่างจากนายเรือลำต่าง ๆ คือ จะสวมหมวกทรงประพาสโหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้ออัตลัดสีฟ้า รัดประคด ส่วนผู้ควบคุมเรือพระที่นั่งจะแต่งกายโดยใช้หมวกทรงประพาสโหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้อโหมดเทศสีแดงสด ผ้าเกี้ยวลาย นอกจากนั้นจะเป็นกรมวังคู่หน้า คู่หลัง ใส่หมวกทรงประพาสสีน้ำเงินยอดเกี้ยว เสื้อนอกขาวแบบราชการ ผ้าม่วงเชิง
    คนธงท้ายเรือพระที่นั่งซึ่งอยู่ท้ายเรือพระที่นั่งทั้ง 4 ลำ รวม 4 นาย จะแต่งกายด้วยหมวกทรงประพาส โหมดเทศยอดจุก เสื้ออัตลัดสีแดง ผ้าเกี้ยวลาย ชุดของคนธงท้ายเรือรูปสัตว์ จะใส่หมวกหูกระต่ายสีแดง เสื้อเข้มขาบไหม ผ้าเกี้ยวลาย รัดประคดโหมดเทศ
    ฝีพายเรือรูปสัตว์จะใส่หมวกสังกะสีลายยันต์สีแดง เสื้อเสนากุฎมีลวดลายจีนเป็นหน้าขบ
    นายท้ายเรือที่มีอยู่ลำละ 2 นาย รวมแล้ว 104 นาย จะใช้ชุดเหมือนกันหมด คือ ใช้หมวกทรงประพาส โหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้ออัตลัดสีเขียว รัดประคดโหมดเทศ ผ้าเกี้ยวลาย
    สำหรับชุดที่แพงสุด คือ ชุดของผู้บัญชาการเรือ ต้องสั่งผ้าเยียรบับจากประเทศอินเดีย การตัดต้องใช้ฝีมือมาก ต้องวัดตัว ตัดรูปแบบเสื้อสูทสากล ไม่มีลวดลายอื่น
    เสื้อเสนากุฎของฝีพายเรือรูปสัตว์ต้องทำบล็อคแล้วก็พิมพ์ขึ้นมาเพราะมีหลายสี เวลาพิมพ์ต้องพิมพ์ทีละสี มีสีแดง สีดำ สีผ้าอาจจะไม่เหมือนของเดิมนัก แต่ก็พยายามให้คงเดิมมากที่สุด
    ชุดของคนให้สัญญาณเรือรูปสัตว์จะใช้ผ้าไหมจีนตัดเย็บ มีลวดลายเป็นดอกซากุระ ซึ่งหากจะให้ใช้ผ้าที่มีลวดลายเป็นดอกซากุระแบบเดิมก็หายากแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้ขนาดของดอกจะไม่เท่ากับของเก่า แต่ก็พยายามหาให้ใกล้เคียงของเดิม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติการเห่เรือ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD vAlign=top width=463 height=158> การเห่เรือ เป็นกิจกรรมที่ควบคู่มากับการเดินทางทางน้ำ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ การเห่เรือในงานพระราชพิธี ที่เรียกว่า "การเห่เรือหลวง" และการเห่เรือสำหรับเที่ยวเตร่หรือในงาน พื้นบ้านที่เรียกว่า "เห่เรือเล่น" ปัจจุบันการเห่เรือเล่นลดความสำคัญลงไป คงมีแต่การเห่เรือหลวง ที่ดำรงอยู่และถือเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไปที่มาของการเห่เรือนั้น ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเป็นประเพณีของชนชาติต่าง ๆ หลากหลายชนชาติที่มีเรือพายใช้ เช่น อินเดีย จีน ญวน เป็นต้น ลักษณะที่พลพายจะขับร้องในเวลา พายเรือเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในการเดินทาง และผ่อนคลายความเหนื่อยอ่อนลง </TD><TD vAlign=center align=middle width=303 height=158>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=261 height=204>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=459 height=204> สำหรับการเห่เรือ ของไทยนั้น นอกจากจะให้ความรื่นเริงแล้วยังเป็นการให้จังหวะเพื่อให้พลพายพายพร้อมกัน โดยทำเป็นทำนองเห่เรือที่แตกต่างกัน 3 อย่าง ขึ้นอยู่กับความต้องการให้พลพายพายช้าหรือเร็ว เช่น ในขณะเริ่มออกเรือขณะพายเรือตามน้ำ จะใช้ทำนอง ช้าลวะเห่ เมื่อเรือจวนถึงที่ประทับจะใช้ทำนอง สวะเห่ และถ้าต้องการให้พายหนักจังหวะเร็วจะใช้ทำนองมูลเห่ สำหรับคนเห่หรือที่เรียกว่าต้นบท ต้องเลือกคนที่มีเสียงดีและเสียงดังพอให้ได้ยินไปทั่วลำเรือ ส่วนบทเห่เรือนั้นนิยมประพันธ์เป็น ร้อยกรอง หรืออาจอยู่ในรูปของกลอนสด และมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน ในสมัยโบราณจะใช้บทใด ไม่ได้กล่าวไว้ แต่เป็นที่รู้จักกันดีและเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ได้แก่ กาพย์ห่อโคลงของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งนิพนธ์ไว้เมื่อตอนปลายกรุงศรีอยุธยา มี 2 เรื่อง เรื่องแรก ขึ้นต้นว่า "พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย" สันนิษฐานว่าทรงนิพนธ์สำหรับ เรือพระที่นั่งของพระองค์เอง เวลาตามขบวนเสด็จ ฯ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=155 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=479 height=141> ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องพระยาครุฑลักนางกากี ซึ่งแต่เดิมคงใช้บทเห่เรือเรื่องนี้แต่เฉพาะเวลาทรงเรือประพาสที่ลับโดยลำพัง นอกจากนี้ยังมีบทเห่เรือ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่รู้จักในนามของ "กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน" ซึ่งเข้าใจกันว่าทรงพระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อชมสมเด็จพระศรี สุริเยนทราบรมราชชนนี ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ด้วยทรงแต่งเครื่องเสวยได้ไม่มีผู้ใดเสนอในสมัยนั้น ปัจจุบันแม้ว่าจะมีบทเห่เรือสำนวนใหม่ ๆ เกิดขึ้น แต่บทเห่เรือเหล่านั้นก็อาศัย หลักเกณฑ์ และรูปแบบของบทเห่เรือเก่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่</TD><TD align=middle width=241 height=141>[​IMG]</TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2 height=21><TABLE borderColor=#bfeecb cellSpacing=1 cellPadding=0 width=550 align=center border=1><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff height=37>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=207 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=131 height=284>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=579 height=284>
    นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย เกิดวันที่ 20 มิ.ย.88 เป็นชาวอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี บรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ.2504 อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.2508 สำเร็จการศึกษาจากสำนักเรียน วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อ พ.ศ.2515 สำเร็จการศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก มสธ. เมื่อ พ.ศ.2530 ลาสิกขาเมื่อ พ.ศ.2517 สมัครเข้าทำงานเป็นนักวิชาการของมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ เพื่อการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา
    - ปี 2520 สมัครเข้ารับราชการในตำแหน่งนักภาษาโบราณในหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
    - ปี 2524 เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ เคยเป็นอนุศาสนาจารย์กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และอนุศาสนาจารย์โรงเรียนนายเรือ
    ผลงาน
    - เป็นผู้จัดทำโคลงโลกนิติฉบับถอดความ พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2522
    - แต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ลงในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ.2524 จนถึงปัจจุบัน
    - ชนะเลิศการประกวดกาพย์เห่เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชการที่ 9 และเป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคปีกาญจนาภิเษก 2539
    - เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนม์พรรษา 6 รอบ ปี 2542
    - ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือ ประจำปี พ.ศ.2542
    - เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในโอกาสประชุมเอเปก 2003
    - เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในครั้งนี้ด้วย



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=126 height=187>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=584 height=187>

    เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ รับหน้าที่พนักงานเห่เรือ
    ตำแหน่ง รักษาการหัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2505 จบการศึกษาที่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี โรงเรียนชุมพลทหารเรือ พรรคนาวิน เหล่าสามัญ นักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่นที่ 22
    เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ เป็นนายทหารเรือที่ได้คัดเลือกร่วมงาน กระบวนพระพยุหยาตราชลมารค ในปีพุทธศักราช 2525 ได้รับเป็นฝีพายประจำเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์และได้สนใจในการเห่เรือจึงได้รับการฝึกฝนจาก เรือโท สุจินต์ สุวรรณ นายทหารเรือที่เป็นครูสอนการเห่เรือ ตลอดจนใช้ครูพักลักจำจาก พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ศิลปินแห่งชาติ โดย เรือเอกณัฐวัฎ ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นพนักงานเห่เรือในงานโรดพาเหรดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมจัดที่พเมือง พาซาคีนา มลรัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2540

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR align=middle><TD height=211>[​IMG]</TD><TD height=211>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD height=166>[​IMG]</TD><TD height=166>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>

    พลเรือตรี ชัชรินทร์ ชูศรี เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ ในฐานะ ประธานอนุกรรมการฝ่ายควบคุมและฝึกซ้อมเป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ และเซ่นไหว้แม่ย่านาง เรือแตงโม เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือเสือทยานชล เรือเสือคำรณสินธุ์ เรือดั้ง ๑ - ๒๒ เรือแซง ๑ - ๗ และเรือตำรวจ ๑ - ๓ รวม ๓๘ ลำ ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็กกรมการขนส่ง (เชิงสะพานอรุณอมรินทร์) ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ เวลา ๐๙.๐๙ น.
    ตามที่รัฐบาลกำหนดให้มีการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมอบหมายให้กองทัพเรือ จัดขบวนเรือพระราชพิธี ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๙.๓๐ น. รวมทั้งจัดเตรียมหอประชุมกองทัพเรือ เพื่อจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจ ๖๐ ปี และจัดเตรียมอาคารราชนาวิกสภา (หลังใหม่) เป็นสถานที่จัดถวายพระสุธารสชาและทอดพระเนตรการแสดงกระบวนพยุหยาตรา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR vAlign=top><TD align=middle colSpan=2 height=191>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#2b0000 height=21>พิธีบวงสรวงสังเวยพระภูมิเจ้าที่ </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#33001a height=125>
    สังคมไทยมีความเชื่อถือว่า พระภูมิเจ้าที่ นั้น เป็นเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่มีหน้าที่รักษาอาณาเขตที่ดินตลอดถึงเคหสถานบ้านเรือน โรงร้านต่าง ๆ ที่เจ้าของสถานที่อัญเชิญมาสิงสถิตบนศาลที่เตรียมการไว้เทพารักษ์ดังกล่าวนี้ได้รับการขนานนามว่า พระชัยมงคล
    การทำพิธีบวงสรวงสังเวยพระภูมิเจ้าที่ ก็เพื่อหวังว่า ท่านจะช่วยป้องกันภัยพิบัตินานาประการ กำจัดภูติผีปีศาจซึ่งจะมาเบียดเบียน พร้อมทั้งป้องกันกาลกิณีทั้งปวงอีกทั้งบังเกิดแต่ความสุขสวัสดีมีชัย เจริญสุขสถาพร แก่เข้าของบ้านเรือนหรือหมู่บ้านนั้น ๆ ด้วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle height=235>[​IMG]</TD><TD align=middle height=235>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD><TD align=middle height=230>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle height=244>[​IMG]</TD><TD align=middle height=244>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>
    <TABLE cellSpacing=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#2b0000 height=22>พิธีบูชาแม่ย่านางเรือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#33001a height=112>
    ชาวเรือมีความเชื่อกันมาแต่โบราณกาลว่าเรือทุกลำมีแม่ย่านางอยู่ประจำ (แม่ย่านาง ผีผู้หญิงประจำรักษาเรือ) เมื่อจะออกเรือทุกครั้ง จึงต้องไหว้แม่ย่านางหรือทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือก่อน ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง แม้เรือรบหรือเรือพระราชพิธีของกองทัพเรือ เวลาจะออกเรือหรือนำเรือลงน้ำเพื่อออกงานก็นิยมทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอขอบพระคุณ

    www.manager.co.th

    http://www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/index_sctr.php

    [​IMG]

    ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ กองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เชิญขบวนเรือพระราชพิธี เส้นทางจากท่าวาสุกรี ถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ กำหนดใช้เรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ ใช้กำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือ จำนวน ๒,๐๘๒ นาย เป็นฝีพายเรือพระราชพิธี
    นอกจากการเชิญขบวนเรือพระราชพิธีแล้ว กองทัพเรือ ยังได้รับมอบหมายให้จัดเตรียมหอประชุมกองทัพเรือ เพื่อจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจ และจัดเตรียมอาคารราชนาวิกสภา (หลังใหม่) เป็นสถานที่จัดถวายเลี้ยงรับรองและทอดพระเนตรขบวนเรือพระราชพิธี แต่ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีจากประเทศต่าง ๆ
    การเห่เรือ เป็นกิจกรรมที่ควบคู่มากับการเดินทางทางน้ำ จำแนกได้ ๒ ประเภทคือ การเห่เรือในงานพระราชพิธี ที่เรียกว่า "การเห่เรือหลวง" และการเห่เรือ สำหรับเที่ยวเตร่ หรือ ในงานพื้นบ้านที่เรียกว่า "เห่เรือเล่น" ปัจจุบันการเห่เรือเล่นลดความสำคัญลงไป คงมีแต่การเห่เรือหลวงที่ดำรงอยู่และถือเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไปสำหรับกาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ที่กองทัพเรือจะใช้ในขบวนพระราชพิธี มีทั้งหมด ๓ บท โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย นายทหารนอกราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ เป็นผู้ประพันธ์โดยในบทแรกเป็นบทสรรเสริญพระบารมีบรรยายถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรมทรงงานหนัก เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฎรตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติโดยมิทรงคำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย ทำให้ บ้านเมืองอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ตราบเท่าทุกวันนี้ บทที่ ๒ ชมขบวนเรือบรรยายถึงความงดงามและลักษณะของเรือในขบวนในครั้งนี้ และบทที่ ๓ ชมเมือง บรรยายถึงสยามประเทศ อันงดงาม ดั่งแดนสวรรค์ ด้วยวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตไทย โดยผู้ที่ทำหน้าที่เห่เรือ หรือพนักงานเห่ คือ เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ ตำแหน่งปัจจุบันคือ รักษาการหัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ การเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธีเดิมเป็นการเสด็จพระราชดำเนินไป ในการพระราชพิธี อาทิ พระราชพิธีถวาย ผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จฯ ไปมนัสการรอยพระพุทธบาท รวมไปถึงการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองเข้ามาประดิษฐานยังพระนครและการต้อนรับราชทูตจาก ต่างประเทศ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารค จนถึงปัจจุบัน จำนวน ๑๔ ครั้ง การเชิญขบวนเรือพระราชพิธีในงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี นับเป็นครั้งที่ ๑๕

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>- ลำเดิมไม่พบหลักฐานที่สร้าง และเรือลำนี้ได้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายใน สงครามโลก ครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี 2491
    - ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ โดยกรมอู่ทหารเรือ วางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2508 เริ่มสร้างเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ.2508 ลงน้ำเมื่อ 18 กันยายน 2510 จากนั้นจึงทำการตกแต่งตัวเรือโดยช่างแกะสลักทำงานประมาณ 14 เดือนช่างรักปิดทองทำงาน 6 เดือน ช่างเขียนลายรดน้ำทำงานประมาณ 6 เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน
    - พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุซึ่งชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทอง ทาสีตัวเรือใหม่และอื่นๆ เพื่อให้ทันใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 เริ่มซ่อมทำตั้งแต่ 4 กันยายน พ.ศ.2524 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2525 โดยมี บริษัท สหายสันต์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาซ่อมทำ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=720 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>- ลำเดิมไม่พบหลักฐานที่สร้าง และเรือลำนี้ได้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายในสงครามโลก ครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 ต่อมากรมศิลปากรได้ตัด หัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี 2491
    - ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ โดยกรมอู่ทหารเรือ วางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2508 เริ่มสร้างเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ.2508 ลงน้ำเมื่อ 19 กันยายน 2510 จากนั้นจึงทำการตกแต่งตัวเรือโดยช่างแกะสลักทำงานประมาณ 14 เดือน ช่างรักปิดทองทำงาน 6 ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน
    - พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุซึ่งชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทอง ทาสีตัวเรือใหม่และอื่น ๆ เพื่อให้ทันใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 เริ่มซ่อมทำตั้งแต่ 4 กันยายน พ.ศ.2524 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2525 โดยมี บริษัท สหายสันต์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาซ่อมทำ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...