รักษาศีลให้บริสุทธิ์ที่สุดต้องรักษาให้ถึงใจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tsukino2012, 30 พฤษภาคม 2013.

  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]

    รักษาศีลให้บริสุทธิ์ที่สุดต้องรักษาให้ถึงใจ


    ศีล แปลว่า รักษา คือระวังไม่ให้ตนเองไปสร้างกรรมชั่ว อันเป็นปัจจัยนำเราลงสู่อบายภูมิ
    เรียกว่า “อกุศลกรรมบท ๑๐” อกุศลกรรมนั้นแปลว่า กรรมฝ่ายที่ไม่เป็นกุศล คือกรรมชั่วนั่นเอง
    มีกันอยู่ ๑๐ แบบ เป็นเรื่องของ การกระทำ คือกายทุจริตมี ๓ แบบ การพูด คือวจีทุจริตมี ๔ แบบ
    และทางความคิด คือมโนทุจริตอีก ๓ แบบ


    อกุศลกรรมบท ๑๐

    กายทุจริต ๓ ( การประพฤติผิดทางกาย )
    ๑.ปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    ๒.อทินนาทาน คือ การลักทรัพย์
    ๓.กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม

    วจีทุจริต ๔ ( การประพฤติผิดทางวาจา )
    ๔.มุสาวาท คือ การพูดปด
    ๕.ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียด
    ๖.ผรุสวาจา คือ การพูดคำหยาบคาย
    ๗.สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ

    มโนทุจริต ๓ ( การประพฤติผิดทางความคิด )
    ๘.อภิชฌา คือ การละโมบ จ้องอยากได้ของเขา
    ๙.พยาบาท คือ การคิดทำร้ายเขา
    ๑๐.มิจฉาทิฏฐิ คือ การเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม


    อกุศลกรรมทั้ง ๑๐ แบบมีองค์ประกอบในการที่ทำให้เกิดบาป และระดับโทษที่จะได้รับ หนัก-เบา
    แยกเป็นสองส่วน คือ ส่วนบาป และ ส่วนโทษ ต่างกันยังไง บาปเมื่อสะสมมากๆเข้า เป็นตั๋วพาเราไปสู่อบายภูมิ
    บุญ ก็เป็นตั๋วพาเราไปสู่สวรรค์ สุดท้ายเราซื้อตั๋วไปไหนมากกว่ากัน เราจะได้ไปสู่ที่นั่นเพื่อไปเสวยสุขหรือเสวยทุกข์ที่ได้ทำไว้
    ส่วนโทษ คือ ผลกรรมจากการกระทำทุกอย่าง ตอนที่เรายังมีชีวิต โทษจะหนัก จะเบา จะเจตนา หรือไม่เจตนา
    บทลงโทษเท่ากัน ถ้าสร้างกรรมดี ก็มีรางวัลไปรอที่สวรรค์ เมื่อสร้างกรรมชั่ว ก็มีบทลงโทษรอที่อบายภูมิ
    องค์ประกอบเหล่านั้นก็ได้แก่


    กายทุจริต ๓ ( การประพฤติผิดทางกาย )

    ปาณาติบาต หมายถึงการฆ่าสัตว์ จะเป็นผู้อื่นก็ดี ตัวเองก็ดี
    หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี ถือว่าผิดข้อนี้ทั้งนั้น
    องค์ประกอบของบาปปาณาติบาตมี ๕ อย่าง
    - สัตว์นั้นมีชีวิต
    - รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
    - มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย
    - ลงมือฆ่าด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    - สัตว์นั้นตาย
    *เดินเหยียบมดตาย เพราะไม่รู้ว่ามีมดอยู่ ไม่บาป ( แต่มีโทษรออยู่ที่อบายภูมิ )


    โทษหนัก-เบาของปาณาติบาต

    ๑.วัตถุ หมายถึง สัตว์หรือบุคคลที่ถูกฆ่า
    ขนาดของสัตว์ ฆ่าสัตว์ใหญ่ ( หมายว่า อายุยืน ) โทษมากกว่าฆ่าสัตว์เล็ก ฆ่ายุงโทษน้อยกว่าฆ่าไก่
    คุณของสัตว์ ยิ่งมีต่อเรามากยิ่งโทษมหันต์ เช่น ฆ่าบิดา มารดา โทษมหันต์ยิ่งกว่าฆ่าโจรปล้นบ้าน
    ( ฆ่าเต่า ฆ่างู โทษหนักเท่าสัตว์ใหญ่ ) ความดีของสัตว์ ฆ่าสัตว์ที่มีความดีมากโทษยิ่งมาก
    เช่น ฆ่าพระอรหันต์ซึ่งศีลบริสุทธิ์ ย่อมมีโทษมากกว่าฆ่าคนทั่วไป

    ๒.เจตนา หมายถึงความตั้งใจของผู้ฆ่า ยิ่งอาฆาตมากยิ่งบาปมาก
    ฆ่าคนด้วยความอาฆาตที่จ้องจะฆ่าเขามาเป็นเวลาสิบปี ย่อมบาปมากกว่าฆ่าคนเพื่อป้องกันตัว
    เพราะจิตไปยึดความแค้นที่เป็นอกุศล สร้างบาปให้ตัวเองมาตลอดสิบปี สะสมตั๋วไปทัวร์นรกมาเป็นเวลาสิบๆปี
    คนที่ฆ่าเพื่อป้องกันตัว สะสมบาปแค่เพียงครั้งนั้น ย่อมมีโอกาสลงนรกได้น้อยกว่า

    ๓.ความพยายามในการฆ่า ฆ่าเขาด้วยวิธีที่ทรมานมากมีโทษมาก
    ยิงหัวทีเดียวตายย่อมมีโทษน้อยกว่า เอาไปเผาทั้งเป็นให้ตาย ไปทำอะไรกับใครไว้ ทรมานมากน้อยเพียงใด
    เราจะโดนแบบเดียวกันนั้น แต่ปริมาณความทรมานสูงกว่ากันเป็นร้อยเท่า

    ๔.ความต่อเนื่องของการกระทำ คือยิ่งฆ่าบ่อย โทษก็สะสม แม้ว่าโทษนั้นๆจะไม่หนักมาก
    เช่น ฆ่ามด ฆ่าปลวก แต่ทำทุกวัน ฆ่าเขาทีละมากๆ จิตเราจะยึดติดความโหดเหี้ยมไร้เมตตา
    เป็นตั๋วนำสู่อบายภูมิได้ และเมื่อลงสู่นรกแล้วโทษน้อยหรือโทษมากก็หนีไม่พ้น
    สร้างกรรมชั่วไว้น้อย ก็รับโทษไม่นาน ก็พ้นนรก สร้างกรรมชั่วไว้บ่อยสะสมไว้มาก
    ก็อยู่นรกรับกรรมนานเป็นเงาตามตัว


    [​IMG]

    ไม่รู้ ไม่เจตนา ไม่ครบองค์ประกอบไม่บาป แต่มันเป็นกรรม มีโทษรอในนรก
    ปัจจุบันเราก็สร้างกรรมข้อนี้โดยไม่รู้ตัวกันแล้วด้วยมิจฉาทิฏฐิ คือความหลงผิด คิดว่าเราไม่รู้
    คิดว่าเราไม่เจตนา ไม่น่าจะผิด เวลาที่เราไปซื้อปลาที่ตลาด ถ้าใครชี้เอาตัวเป็นๆแล้วเขาฆ่า
    องค์ประกอบบาปมันชัด แต่ถ้าเราเอาตัวที่ตายอยู่ก่อนแล้ว อาจจะไม่เห็นบาปกัน
    เพราะเราคิดว่าเราไม่ได้ฆ่าไม่เห็นเขาฆ่าและไม่ได้สั่งฆ่า ก็ไม่น่าจะบาป
    ในความจริงของชีวิตคือเราเบียดเบียนเขา เพราะเราซื้อ เพราะมีคนจำนวนมากที่จะซื้อ
    มาวางขายก็ได้กำไร เขาก็เลยไปฆ่ามาเพื่อขาย หรือจับมารอฆ่าเพื่อขาย
    และถ้าเขาตายอยู่ก่อนก็เพราะบอบช้ำ ก็คิดไว้เลยว่าพวกเราทุกคนที่ซื้อนั่นแหละ
    คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบชีวิตพวกเขาเหล่านั้น เราอ้างไม่ได้ว่า
    “ไม่ได้สั่งให้เขาไปจับไปฆ่า เขาตั้งขายของเขาเอง เราไปเห็นพอดีก็เลยซื้อมา”
    การสั่งฆ่า ไม่จำเป็นต้องออกเสียงเพื่อใช้ให้เขาไปฆ่าเท่านั้น
    การที่เรามาซื้อ คือการสั่งฆ่าแน่นอน ๑๐๐% ถ้ายังไม่ชัดอธิบายให้ลึก
    เพราะเขาขายหมด เมื่อได้กำไรเขาก็เอามาขายอีก เราซื้อ = สั่งฆ่า
    เมื่อเราไม่ซื้อ ของขายไม่ออกขาดทุน เขาก็ไม่เอามาขายอีก
    ไม่ซื้อ = ไม่สั่งฆ่า ฉะนั้นกรณีนี้ถึงจะไม่เป็นบาป แต่เป็นการสร้างกรรม
    และมี “โทษ” รอเราในอบายภูมิ ฉะนั้นการซื้อปลาในตลาดสด
    เอาตัวที่ยังเป็นๆไปปล่อยให้รอด คือบุญกุศลที่มหาศาล
    และการที่เราละเว้นจากการ กินเนื้อสัตว์ = เราเลิกสั่งฆ่า เกิดกุศลจิต
    จึงได้บุญตรงนี้ซึ่งจะเป็นตั๋วนำเราสู่สวรรค์ และผลกรรมจากการปล่อยชีวิตสัตว์
    ก็จะเป็นรางวัลของเราทั้งภพนี้และภพหน้า


    ฉะนั้นการซื้อปลาในตลาดสด เอาตัวที่ยังเป็นๆไปปล่อยให้รอด คือบุญกุศลที่มหาศาล
    และการที่เราละเว้นจากการ กินเนื้อสัตว์ = เราเลิกสั่งฆ่าเขา คือเกิดกุศลจิต จึงได้บุญตรงนี้
    ซึ่งจะเป็นตั๋วนำเราสู่สวรรค์ และผลกรรมจากการปล่อยชีวิตสัตว์ จะเป็นรางวัลที่รอเราอยู่ที่สวรรค์


    สรุปการจะรักษาศีลข้อนี้ให้ดี ต้องรักษาให้ถึงจิต คือเลิกคิดที่จะฆ่าไปจากหัวเลย
    อย่าให้จิตไปคิดด้านอกุศลได้ จะได้หลีกเลี่ยงการตกลงสู่อบายภูมิ ไปชดใช้กรรม
    และแม้แต่ลูกน้ำในโอ่งก็ต้องระวังอย่าราดเขาลงพื้นเพราะเล็งเห็นได้ว่าเขาจะต้องตายเป็นแน่
    เป็นการเบียดเบียนชีวิตแม้ไม่ได้ฆ่าเขาตรงๆ แต่ให้เขาไปตายเอาดาบหน้า เหมือนมอดในข้าวสาร
    ถ้าเราไม่เอาเขาออกแล้วหุงข้าว เท่ากับสร้างกรรมทำให้เขาร้อนตาย
    การกระทำใดๆจะไปเป็นโทษรออยู่ในอบายภูมิ กรรมชั่วใดแม้ขาดเจตนา
    แม้จิตเราจะไม่ได้คิดอกุศลแม้ว่าตัวบาปไม่เกิดแก่เรา แต่ผลกรรมจากการกระทำยังต้องชดใช้
    พลาดตกนรกเมื่อใด กรรมที่เคยทำไว้ ทั้งตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี รอชดใช้อยู่ในอบายภูมิ
    ฉะนั้นแล้วเมื่อจะทำกรรมใดควรต้องมีสติกำกับ หากเราจิตสะอาดมีเมตตา
    แม้สัตว์เล็กๆเราก็ไม่เบียดเบียน มีสติระวังกรรมที่ขาดเจตนาให้เกิดน้อยที่สุด
    ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์โดยแท้


    [​IMG]

    อทินนาทาน
    คือ ลักทรัพย์ หรือการทำอย่างไรก็ตามให้ได้ทรัพย์นั้นมาโดยที่เจ้าของไม่เต็มใจไม่ยินยอม
    เช่น การโกง ค้ากำไรเกินควร ค้าสิ่งผิดกฎหมาย ขายของหนีภาษี หรือนักการเมืองที่บริหารบ้านเมืองโดยมิชอบ
    ล้วนผิดศีลข้อนี้ทั้งสิ้น องค์ประกอบของบาปข้อนี้มี ๕ ประการ คือ
    - ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    - รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    - มีจิตคิดจะเอามาเป็นของตน
    - ลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์นั้น
    - ได้ทรัพย์นั้นมาเป็นของตน


    โทษหนัก-เบาของอทินนาทาน

    ๑.วัตถุ
    ความบริสุทธิ์ของวัตถุยิ่งมีมากโทษก็ยิ่งมาก เช่น โกงเงินแผ่นดินโทษมากกว่าโกงเงินเพื่อน
    และหากสร้างความเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์มากโทษก็ยิ่งมาก
    เช่น ขโมยเงินหลักแสนจากคนรวยโทษน้อยกว่าขโมยเงินหลักพันจากคนจน
    เพราะคนจนต้องดิ้นรนทนทุกข์มากกว่าคนรวยที่อาจจะไม่เดือนร้อนเลยด้วยซ้ำ

    ๒.เจตนา
    กิเลสในใจผู้กระทำ ยิ่งมากก็ยิ่งบาปมาก อยากได้ของเขามาก คิดหาวิธีสารพัดเพื่อให้ได้มาเป็นของตน
    ด้วยจิตที่มีความโลภ อยากได้ของเขา โน้มนำบาปเข้าตัว เกิดอกุศลจิต เป็นบาปที่จะนำตนเองไปสู่อบายภูมิ
    ยิ่งโลภมากบาปที่เกิดก็ยิ่งมาก

    ๓.ความต่อเนื่องของการกระทำ
    ยิ่งกระทำบ่อยบาปก็สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ความโลภในจิตมีมากอยากได้ของๆเขายิ่งบ่อยเท่าใด
    ก็เกิดบาปที่จิตบ่อยขึ้นเท่านั้น และหากลงมือกระทำบ่อยๆด้วยแล้ว โทษก็ยิ่งหนักมากเท่านั้น


    บางคนขโมยของโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นซื้อของหนีภาษี ของที่ผิดกฏหมาย ของเถื่อนต่างๆ
    หรืออาจจะเป็นของโจร ซึ่งเป็นวัตถุที่ไม่บริสุทธิ์ เราซื้อของพวกนี้ เราจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้
    เพราะราคามันผิดปรกติจากความเป็นจริง เราย่อมสงสัยในที่มาของมัน แต่ก็ยังซื้อเพราะมันถูก
    เท่ากับตั้งใจกระทำผิด หากมีผู้รับผลกระทบจากการกระทำของเรา ถ้าเป็นของที่ขโมยมา
    ก็เท่ากับเราจ้างวานให้เขาขโมย ถ้าเป็นของหนีภาษีด้วยแล้ว เท่ากับเราโกงเงินแผ่นดิน
    การซื้อแผ่นผีซีดีเถื่อนที่เจ้าของลิขสิทธิ์เขาไม่ยินยอม ก็เท่ากับขโมยของเขา
    ฉะนั้นกรณีดังกล่าวเท่ากับเราเจตนาขโมยทั้งสิ้น ด้วยความที่กระทำได้ง่ายโดยไม่รู้สึกผิด
    จึงทำให้สร้างกรรมนี้กันได้บ่อยๆ เกิดเป็นบาปสะสมโทษก็ยิ่งมากตามไปด้วย


    [​IMG]

    กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม จำแนกได้ ๓ ประเภท
    การไปมีสัมพันธ์กับบุคคลต้องห้าม คือผู้ที่มีครอบครัวแล้วจะถือว่าเป็นชู้
    การที่เรามีครอบครัวแล้ว และไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นหรือชายอื่นจะถือว่ามีชู้
    และประเภทสุดท้าย การมีสัมพันธ์กันระหว่างความเต็มใจทั้งสองฝ่าย
    โดยที่บิดามารดาไม่รับรู้ไม่ยินยอม นักเรียนนักศึกษาจะผิดในส่วนนี้กันมาก
    องค์ประกอบในข้อนี้มี ๔ ประการ
    - หญิงหรือชายที่ต้องห้าม
    - มีจิตคิดจะเสพกับบุคคลต้องห้ามนั้น
    - ลงมือกระทำ
    - อวัยวะเพศถึงกัน


    ปัจจุบันมีหลายคนอ้างว่า ไม่รู้ว่าเขามีครอบครัวอยู่แล้ว ทุกวันนี้เราเรียนรู้เรื่องเพศเรื่องศีลข้อกาเมมาก็มาก
    ต่อให้ไม่แน่ใจก็ต้องมีสงสัยบ้าง คนที่เราคบอยู่นั้นต่อให้ไม่มีสามีภริยาก็ย่อมมีพ่อมีแม่
    ถ้าเราแอบไปทำกันมาแล้ว พ่อแม่ไม่รับรู้ ยังไงก็ผิด ๑๐๐% ไม่มีพ่อแม่ที่ไหนยินดีที่ให้ลูก
    ไปเสพสมกับคนที่เขาไม่รู้จัก คนที่เขาไม่ยอมรับ และจะบอกว่าไม่รู้ไม่ผิดไม่ได้
    ถึงจิตจะไม่คิดเป็นอกุศลไม่เป็นบาปก็จริง แต่ผลกรรมนั้นมีอยู่ เป็นกรรมที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ
    โทษที่กระทำต่อผู้ให้กำเนิดที่เป็นผู้มีคุณต่อเราที่สุดนั้นหนักมาก ทำไมถึงต้องมีพิธีการสู่ขอ
    ก็เพื่อให้พ่อแม่ได้รับรู้ เมื่อรู้แล้วเขาวางใจ จะทำอะไรก็ไม่ผิด การสู่ขอก็ดี การจัดงานแต่งก็ดี
    ล้วนเป็นกุศโลบาย เพื่อให้หญิงชายที่รักกัน ได้ทำให้ถูกต้อง ให้พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้รับทราบ
    เป็นหนทางในการหลีกเลี่ยงการผิดศีลนั่นเอง อย่าปล่อยให้ราคะทำให้เราตกต่ำ ทุกวันนี้สังคมก็แย่พอแล้ว
    คนกลัวเอดส์แต่ไม่กลัวกรรม เอาแต่สอนวิธีป้องกันโรค ป้องกันท้อง แต่ไม่คิดที่จะปลูกฝังจิตสำนึกความอดกลั้น
    เอาแต่บอกว่าไปห้ามพวกเขาไม่ได้ เอาบาทฐานของตนเองมาชี้วัด เพราะพวกเขาหักห้ามใจตนเองไม่ได้
    เลยไม่แนะนำผู้อื่นให้หักห้ามใจเช่นกัน


    [​IMG]

    วจีทุจริต ๔ ( การประพฤติผิดทางวาจา )

    - มุสาวาท คือการพูดปด หลอกลวง ไม่พูดความจริง เห็นก็บอกไม่เห็น รู้ก็บอกไม่รู้
    โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ หรือเพื่อทำลายประโยชน์ของผู้อื่น
    - ปิสุณวาจา คือการพูด ส่อเสียด พูดยุยงให้เขาแตกคอกัน ให้เขาขาดความสามัคคี
    เพื่อทำลายประโยชน์ของเขา เพื่อให้ตนเองได้รับผลประโยชน์
    หากผู้ที่ถูกยุยงให้แตกความสามัคคีนั้นเป็นพระสงฆ์ จะถือเป็นกรรมหนักที่สุด “สังฆเภท”
    เป็นหนึ่งในอนันตริยกรรม ๕ อย่าง เป็นกรรมหนักที่จะชิงให้ผลเป็นอันดับแรกโดยไม่สนใจผลบุญใดๆ
    ลงอเวจีมหานรกสถานเดียว เพราะการทำให้ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ต้องแตกความสามัคคี ต้องทะเลาะเบาะแว้ง
    แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย ห่างไกลจากหนทางหลุดพ้น การกระทำทั้งหลายล้วนเป็นโทษหนักที่สุด
    ทานจากการให้ธรรมะเป็นสุดยอดแห่งมหาบุญฉันใด การทำให้ผู้คนแตกแยกจากธรรมะก็เป็นสุดยอดแห่งมหาบาปฉันนั้น
    - ผรุสวาจา คือการพูดคำหยาบคาย ด่า ประชด ประชัน แดกดัน ดูถูกดูหมิ่น เกิดขึ้นด้วยอำนาจโทสะ
    ความอิจฉาริษยา ความไม่พอใจ เป็นบาปมาก ยิ่งบุคคลที่เราด่ามีคุณมากยิ่งมีโทษมาก
    ด่าว่าบิดามารดาโทษมหันต์ แต่ถ้าเป็นการด่าด้วยความหวังดี อย่างบิดามารดาอยากให้ลูกได้ดี
    ไม่จัดว่าผิดข้อนี้ เพราะท่านไม่ได้คิดอกุศลกับลูก
    - สัมผัปปลาปะ คือพูดเพ้อเจ้อ พูดพล่อยๆพูดออกมาง่ายๆไม่ทันพิจารณาไตร่ตรอง มีผลให้ผู้อื่นเสียหาย
    เป็นกรรม และมีโทษตามน้ำหนักความทุกข์ที่ผู้อื่นได้รับ


    วจีทุจริต มีโทษหนัก-เบา ต่างกัน

    ๑.บุคคล คือ หากบุคคลนั้นมีคุณมาก เป็นผู้บริสุทธิ์มาก โทษก็ยิ่งมาก เช่น ด่าเพื่อนมีโทษน้อยกว่าด่าพ่อแม่
    ๒.ความเสียหายที่เกิด เช่น หากด่าไปแล้ว เขาเสียใจมากก็โทษมาก เขาเสียใจน้อยก็โทษน้อย
    ๓.กิเลสของผู้พูด เช่น การพูดด้วยความอาฆาตแค้นหวังให้เขาย่อยยับ เป็นอกุศลจิต ย่อมบาปมากกว่าการพูดเล่นๆเอาสนุกสนาน
    ๔.ความถี่ในการพูด คือ หากทำบ่อยๆ โทษก็ยิ่งสะสมมากขึ้น แถมจิตที่มีแต่กิเลส ยึดติดอกุศลมากเข้า ก็เท่ากับเป็นการเร่งสะสมตั๋วลงสู่อบายภูมิ

    ทำไมพ่อแม่ดุด่าว่าเราด้วยคำหยาบคายถึงไม่บาป หมายเอาเฉพาะพ่อแม่ดังนี้ คือ พ่อแม่ทุกคนนั้นย่อมรักลูกที่สุด
    แม้ลูกจะเลวปานใด ก็ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่จะทำร้ายลูกได้ อาจจะมีอารมณ์โกรธบ้าง แต่ก็ไม่ได้อาฆาตลูก
    ลึกๆแล้วยังรอยังหวังให้ลูกได้ดิบได้ดี ฉะนั้น หากเราด่าใครด้วยความเมตตา คือจิตไม่ได้อยากจะด่าเขา
    แต่เพราะไม่มีวิธีที่จะเตือนสติลูกได้ดีกว่าการด่า ด่าด้วยจิตที่เมตตาอยากให้ลูกได้ดี ไม่ได้เป็นอกุศลจิต
    กรณีนี้จึงไม่บาป แต่ถ้าลูกโดนด่าแล้วเสียใจร้องไห้ ก็ยังถือเป็นการสร้างกรรมของพ่อแม่อยู่ แต่โทษไม่หนัก
    เท่ากับลูกทำให้พ่อแม่เสียใจ

    ยกตัวอย่าง มีคนๆหนึ่ง หนีคนกลุ่มหนึ่งเข้าไปหลบในกุฏิพระรูปหนึ่ง และกลุ่มคนที่ตามมาหมายจะเอาชีวิต
    ก็ถามพระท่านรูปนั่นว่า “มันไปทางไหน” พระท่านตอบว่า “ไปทางโน้นแหนะโยม” และแล้วคนกลุ่มนั้นก็วิ่งหายไป
    ถามท่านทั้งหลายว่า กรณีนี้ พระท่านมุสาชัดๆอยู่แล้ว แต่ไม่ถือเป็นบาปเลย เพราะท่านไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    และไม่ได้คิดร้าย ไม่ได้มีจิตที่เป็นโทสะหรือโมหะ ท่านได้ช่วยชีวิตแล้วหนึ่งชีวิต ไม่เพียงเท่านั้น
    ยังมีจิตเมตตาที่ไม่ปล่อยให้คนกลุ่มนั้น ได้ลงมือกระทำกรรมชั่วด้วย เพราะหากแต่พระท่านพูดความจริง
    จะมีคนต้องตาย แทนที่จะได้บุญกลายเป็นได้บาป เท่ากับเราบอกทางโจรให้ไปฆ่าคนดีๆนี่เอง


    ขออีกหนึ่งตัวอย่าง อาจจะไม่เกี่ยวกับศีลข้อนี้ ในสมัยสงครามโลก
    มีพระอรหันต์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือมากอยู่ท่านหนึ่ง ท่านไม่กลัวตาย พร้อมจะนิพพานได้ทุกเมื่อ
    วันหนึ่งทหารญี่ปุ่น ๒ นายเมามายมา ด้วยฤทธิ์ของน้ำเมาทำให้ทั้งสองตรงเข้าทำร้ายพระท่านอย่างขาดสติ
    เมื่อสาสมแก่ใจแล้วจึงเดินจากไป ชาวบ้านต่างพากันสาบแช่ง และได้เข้ามาหาพระท่านซึ่งกำลังจะมรณะภาพ
    แต่ชาวบ้านเห็นว่าพระท่านกำลังสวดมนต์ใช้อิทธิฤทธิ์ต่อกระดูกเพื่อรักษาตัวเอง เห็นดังนั้นก็ได้พูดขึ้นว่า
    “มาถึงขั้นนี้แล้ว ทำไมท่านถึงยังดึงดันที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปหรือว่าท่านกลัวตาย” พระท่านก็ตอบมาว่า
    “อาตมาไม่กลัวตายดอก แต่อาตมาสงสารหนุ่มสองคนนั้น ถ้าหากอาตมาตายไปจะเป็นอนันตริยกรรม
    อาตมาไม่อยากให้โอกาสบรรลุมรรคผลของพวกเขา ต้องถูกปิดลงเพราะความขาดสติ”
    จะเห็นว่าศีลนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องดูที่ผลกระทบ ถ้าจิตคิดดีมีเมตตา ผลกระทบย่อมตามมาแต่สิ่งดีๆ
    คำว่ามีเมตตา กรุณา มิได้จำเพาะเจาะจง เฉพาะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเท่านั้น
    แม้การขัดขวางผู้ใดที่คิดจะกระทำความชั่วนั้นๆ ให้เลิกความคิดที่จะทำ หรือกระทำไม่สำเร็จ
    ก็ถือว่ากระทำด้วยเมตตาและกรุณา ย่อมได้บุญได้กุศลเช่นกัน


    [​IMG]


    มโนทุจริต ๓ ( การประพฤติผิดทางความคิด )

    - อภิชฌา คือ ความโลภ ความรู้สึกอยากได้ อยากมี ถ้าไม่มีก็จะกระวนกระวาย และคิดหาวิธีการที่จะทำให้ได้มา
    เกิดเป็น “โลภะ” จิตอกุศล เกิดเป็นบาปขึ้นแล้ว และตัวนี้แหละ คือจุดเริ่มต้นของการสร้างกรรมในข้อ อทินนา
    สามารถหยุดยั้งการสร้างกรรมได้ด้วย การปลูกฝังกระบวนการคิดให้รู้จัก “พอ” นั่นเอง
    - พยาบาท คือ ความคิดที่อยากทำลาย อยากกำจัด อยากทำให้สิ้นไป ไม่อยากพบ ไม่อยากเจอ
    เมื่อยังไม่สบโอกาส ก็จะผูกจิตอาฆาตอย่างนี้เรื่อยไป เกิดจากกิเลส ที่เรียกว่า “โทสะ”
    คือยึดความโกรธเป็นพื้นฐาน อกุศลจิต ชักนำบาปสู่ตนเอง นำไปสู่อบายภูมิ
    กิเลสตัวนี้แหละที่จะโยงไปถึงการสร้างกรรมในข้อ ปาณาติบาต ถ้าเรารักษาใจข้อนี้ได้เป็นธรรมชาติ
    เมื่อไม่คิดเบียดเบียนใคร ก็ไม่ทำร้ายใคร จิตก็มีเมตตาเป็นปรกติ เป็นธรรมชาติ
    - มิจฉาทิฏฐิ คือการเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นว่าบุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ไม่กลัวบาป
    ความเห็นผิดเกิดจากกิเลสสาย “โมหะ” คือความหลงในอวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
    ตัวมิจฉาทิฏฐินี้น่ากลัวนัก เพราะเจ้าตัวไม่คิดว่าทำแล้วผิด เลยสามารถสร้างกรรมชั่วได้ไม่จำกัด
    โดยไม่เกิดความละอาดต่อบาป และโทษของคนเหล่านี้หนักที่สุด จะมีที่พิเศษให้เขาไป
    นรกอเวจีแม้จะเป็นมหานรกสำหรับผู้ที่โทษหนักที่สุด แต่เพราะเขาเหล่านี้ยังไม่คิดว่าตัวเองผิด
    จึงต้องส่งไปดัดนิสัย ที่โลกันตนรกเสียก่อน นรกที่อยู่นอกจักวาลไม่มีแสงไฟ มีตาก็เหมือนไม่มี
    บ่อน้ำกรดทีคอยกัดกินตัวเอง และอยู่ร่วมกับผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ที่คอยจ้องจะกัดกินกันเอง
    เพราะความเข้าใจผิด ด้วยความที่ตามองไม่เห็นนั่นเอง สำนึกผิดได้เมื่อใด จึงได้ย้ายไปอเวจีมหานรก


    พระพุทธเจ้าก็ได้ยกตัวอย่างไว้ว่า เพราะเหตุใดผู้ที่หลงผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิจึงต้องโทษหนัก
    ทั้งๆที่พวกเขาเหล่านั้นทำไปด้วยความไม่รู้ ท่านเปรียบความชั่วดั่งก้อนหินที่ร้อนระอุไปด้วยไฟนรก
    ผู้ที่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำเป็นสิ่งที่ผิด ย่อมบรรจงหยิบหินที่ร้อนนั้นขึ้นมาโดยระวังให้ตนเองนั้นบาดเจ็บน้อยที่สุด
    แล้วปาไปยังผู้ที่ตนอาฆาตพยาบาทหมายให้เขาบาดเจ็บ แต่สำหรับผู้ที่หลงผิดไม่คิดว่าสิ่งที่ตนเองกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ผิด
    ก็เหมือนดั่งผู้ที่ไม่รู้ว่าหินก้อนนั้นร้อนระอุปานใด ไม่ทันได้ระวังตัว ก็ไปคว้าความชั่วเข้าเสียเต็มมือ
    แม้จะเอาไปปาผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้ว แต่ตนเองก็มือพังเสียสิ้นเพราะไฟนรกเหมือนกัน
    ฉะนั้น โทษจากผลกรรมที่สะท้อนกลับมาสู่ผู้หลงผิด จึงหนักมาก


    [​IMG]

    อกุศลกรรมบท ๑๐ ดังที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงกุศโลบาย เพื่อให้ยึดเป็นที่ตั้ง
    สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจความหมายของการรักษาศีลที่แท้จริง ซึ่งก็คือการทำจิตให้บริสุทธิ์ไม่หม่นหมอง
    ห่างจากอกุศลจิตทั้งปวง เพื่อจะได้ไม่ยึดเอาอกุศลจิตนั้นมาเป็นเชื้อไฟ ที่จะปะทุจนเกิดเป็นการสร้างอกุศลกรรม
    ซึ่งจะส่งผลเสียกลับมาสู่ตัวเอง แม้เพียงแค่เราคิดอกุศลขึ้น บาปย่อมเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่สร้างอกุศลกรรมสม่ำเสมอ
    เมื่อตายจิตสุดท้ายย่อมโน้มนำอบายภูมิเป็นที่หมาย ตรงข้ามกันหากเราสร้างแต่กรรมดี คิดแต่สิ่งดีๆที่เป็นกุศลจิต
    เมื่อตายพึงหวังที่หมายคือ สวรรค์ระดับต่างๆ และสำหรับผู้ปล่อยวาง มุ่งหวังหนทางหลุดพ้น ทำจิตเป็นอุเบกขา
    ไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล พึงหวังที่หมายต่อไปมิได้ เมื่อเชื้อไฟหมด ไฟก็ไม่สามารถจะลุกโชนอยู่ได้ ก็ดับไป
    เข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้นสรุปได้ว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ คือการรักษาจิตใจไม่ให้ไปยึดอกุศลจิต
    เท่ากับเป็นการปิดหนทางสู่อบายภูมิให้กับตนเอง ไม่ต้องไปชดใช้กรรมที่ตนเองก่อนขึ้น ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
    แต่มิใช่เป็นการโมฆะ แต่เป็นเพียงการหนีการชดใช้กรรมเพียงชั่วคราวเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่ชดใช้กรรม
    กรรมทั้งหมดก็จะรอเราอยู่อย่างนั้น พลาดลงนรกเมื่อใดก็ชดใช้ทีเดียวทั้งต้นทั้งดอก


    ส่วนเรื่องของการดื่มสุรา บุหรี่ ยาเมา ยาเสพติด ไม่ได้ผิดโดยตรงแต่สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้น
    เป็นสิ่งเร้าให้เราเกิดกิเลสและทำผิดได้ทุกๆอย่าง อาจจะมองว่าผู้เสพสิ่งพวกนี้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ
    คือมันไม่ได้มีประโยชน์ มีแต่โทษ แต่ยังทำเหมือนว่ามันเป็นของดี เบียดเบียนได้กระทั่งตนเอง
    เมื่อใดขาดสติไปกระทำกรรมชั่วโดยมีสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุ ในยมโลกนรกก็มีขุมสำหรับคนเหล่านี้อยู่แล้ว
    ไปดื่มน้ำทองแดงกันแบบบุฟเฟ่ สุดท้ายอยากฝากถึงผู้ปฏิบัติทุกท่าน หรือผู้ที่อยากปฏิบัติแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน
    หากท่านอ่านมาจนถึงตรงนี้ ก็ขอบอกว่า ก้าวแรกของท่าน ควรจะรักษาศีลรักษาใจให้บริสุทธิ์เสียก่อน
    เมื่อเรามีจิตใจที่สะอาดดีงาม การเจริญสมาธิภาวนา หรือแม้แต่การทำทานต่างๆก็ย่อมมีผลกุศลผลบุญ
    และอานิสงส์ที่มากยิ่งขึ้น จิตดีเมื่อทำทานจิตสะอาดทั้ง ๓ กาล เมื่อละเว้นการเบียดเบียน วัตถุทานก็ย่อมบริสุทธิ์
    บุญที่ได้รับก็เต็มกำลัง และการภาวนาทำสมาธิ เมื่อจิตคิดดีมีเมตตา สามารถแผ่เมตตาไปได้ไม่มีประมาณ
    ลดถอนผลกรรมให้เบาบางอย่างได้ผล





    [​IMG]


    รวมบทความ

    นั่งสมาธิแล้วได้อะไร(ประสบการณ์ตรงจากการบวชพระ1พรรษา)

    ก่อนปฎิบัติต้องทำความเข้าใจเรื่อง "ทาน ศีล ภาวนา รวมถึงการแผ่เมตตา และการอุทิศบุญ"

    วิธีฝึก วิธีคิด สำหรับผู้อยาก"บวชใจ"

    รักษาศีลให้บริสุทธิ์ที่สุดต้องรักษาให้ถึงใจ

    ความหมายแท้จริงของการทาน "เจ"

    วิธีฝึกจิต รับรู้สภาวะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2013
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]
     
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    จะปฎิบัติก้าวหน้าไปมิได้ ถ้ายังไม่ตั้งใจรักษาศีลให้ดี
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    กรรมของผู้บิดเบือนพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี่หนักมากนะครับ
     
  5. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    มากสิครับ

    แต่กรรมจากผู้ที่ศึกษาพระธรรมและไม่ได้เข้าใจแตกฉาน

    อันนั้นเป็นมิจฉา คือความหลงผิด

    ด้วยความที่คิดว่าสิ่งที่ตนเองทำ นั้นถูก

    จะสามารถทำชั่วทำเลวได้สารพัด

    อันนี้หนักกว่าครับ

    ดูอย่างองคุลิมาน ไปเชื่อว่าฆ่าคนครบพัน จะสำเร็จวิชาได้

    ก็ไม่ต่างจากการที่เราศึกษาพระธรรมแล้วไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง

    ตัวเองไม่ศึกษาไม่เข้าใจ เที่ยวไปว่าผู้ที่ปฎิบัติจนเข้าใจ

    อย่างเช่นพระอริยสงฆ์ทั้งหลายที่ ถูกติเตียนจากพวกที่ไม่ปฎิบัติ

    และจากพวกที่เข้าใจแบบผิดๆบ้าง ไม่ลึกซึ้งบ้าง

    พวกนี้กรรมหนัก ปรามาส ผู้ที่ทำสิ่งที่ถูก และเขาไม่โต้แย้งตอบโต้

    ไม่ได้คิดร้าย บาปตรงนี้จะขัดขวางทางธรรม ปิดบังหนทางบรรลุมรรคผล

    ต้องระวังอย่างมากเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    น่าจะอ่านเรื่ององคุลีมาลใหม่นะครับ จะได้แตกฉานในธรรมมากขึ้น
     
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ไม่จำเป็นหรอกครับ เรื่องแตกฉานไม่แตกฉานผมรู้ตัวเองดี

    ผู้ที่เอาแต่แย้ง แต่ไม่สามารถให้เหตุผลที่ตนแย้งได้ นั่นแหละครับ

    คนผู้นั้นไม่แตกฉาน เพราะที่ไม่ถูก คือไม่ถูกใจคนๆนั้น

    ถ้ามันผิดอะไรตรงไหน ต้องสามารถยกเหตุยกผลมาถกกันได้

    เอาแต่กระแนะกระแหน ด้วยประโยคสั้นๆ เป็นแนวพวกขาดปัญญาครับ

    คนที่แตกฉานในธรรม เมื่อเห็นไม่ตรงกัน ย่อมต้องถกด้วยธรรม

    ธรรมที่ขัดแย้ง ธรรมที่เห็นต่าง
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ที่ไม่แย้ง เพราะว่าคุณไปอ่านเรื่ององคุลีมาลใหม่แล้วคุณจะทราบเองครับ ว่าผิดพลาดตรงไหน

    ที่แย้ง ไม่ใช่ไม่ถูกใจ แต่เพราะข้อมูลเบื้องต้นพื้นฐานตามตำราคุณก็ว่ามาผิดเสียแล้ว
    เหตุผลที่องคุลีมาลฆ่าคนตั้งมากมายคือ... ?
    ลองไปหาดูแล้วกันนะครับ ไม่ยาก

    ที่ผมเตือน ก็เห็นว่าผิด จริงๆแล้วยังมีเล็กๆน้อยๆอีกมากในบทความของคุณที่ผิดพลาด
    แต่ผมก็คิดนะว่า ทิฏฐิมานะอย่างคุณจะรับฟังได้บ้างมั้ยหนอ

    เขียนบทความ ต้องไม่ผิดทั้งตำรา ไม่ผิดทั้งปฏิบัติ และถ้าจะให้ดี ก็ต้องได้ผลนั้นๆมาเรียบร้อยในกระเป๋าแล้ว
     
  10. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ทิฏฐิมานะอย่างคุณ จ้องแต่ความผิดผลาดเล็กๆน้อยๆ เหมือนกว่าจะข้ามสะพานได้ ต้องดูแล้วดูอีก เพ่งพินิจแม้แต่รอยแตกเล็กๆ ก็เลยไม่ได้ข้ามสะพานสักที อยากจะหาอะไรที่สมบูรณ์พร้อมไร้ตำหนิให้เจอก่อนก็หาไปเถิด มัวแต่จ้องจับผิด ไม่ได้ปฎิบัติ แล้วจะได้ผลนั้นๆมาในกระเป๋าเมื่อไร? หรือจะเอาแต่แย้งคนอื่นอย่างเดียว?

    ให้เน้นเรื่องของการรักษาศีล แต่ไปยึดติดที่องคุลิมาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  11. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090

แชร์หน้านี้

Loading...