รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    เนื่องจาก มีหลายท่านถามกันเข้ามามาก

    กว่าที่ผมจะตอบครบทุกท่านจะใช้เวลานานมาก

    ดังนั้นระหว่างที่ท่านรอ ผมจะอธิบายกรรมฐานกลางที่จะสามารถทำได้กันทุกๆคนไปก่อน

    เรามาถามตัวเองก่อนว่า กรรมฐานคืออะไร สมาธิคืออะไร ฝึกไปเพื่ออะไร

    ถ้าตอบไม่ได้ ฝึกไปยังไงก็ไม่ก้าวหน้า เพราะจับต้นชนปลายจับหลักไม่ถูก

    กรรมฐาน คือ ฐานของการกระทำของจิต ซึ่งเป็นไปเพื่อสร้างสติสัมปชัญญะ ให้ถึงพร้อมและเต็มรอบ

    สติสัมปชัญญะคืออะไร ความหมายนั้นตีกันได้หลากหลาย และจะตีความแยกสติ กับสัมปชัญญะก็ได้

    แต่ผมขอให้นิยามว่า การระลึกรู้ การระลึกได้ มีใจจดจ่อ ควบคุม และพิจารณาในสิ่งที่กระทำไปแล้ว กระทำอยู่ และกำลังจะกระทำ

    กรรมฐานเป็นเครื่องมือในการปลูกสติ

    สัมมาสมาธิ คือ สมาธิ ที่มีสติกำกับ

    มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิ ที่ไม่มีสติกำกับ

    สัมมาสมาธิ จิตของเราจะมีอาการตื่น โพลง สว่าง รู้ตื่น มีสติอยู่ตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธิ

    มิจฉาสมาธิ จิตของเราจะมีอาการขาดสติ ง่วง หงาวหาวนอน เคลิบเคลิ้ม มีอาการหลง มึน และเศร้าหมองตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธิ

    เราถามและตอบตัวเองว่า ณ ตอนนี้ สมาธิของเราเป็นแบบไหน มีสติ หรือขาดสติ

    มีสติกี่นาที ขาดสติกี่นาที ตลอดเวลาที่ตั้งใจจะทำสมาธิ

    การตกภวังค์ การเคลิ้มหลับ ง่วง คล้ายจะหลับ ขณะที่ทำสมาธิ คือ การขาดสติ

    เห็นความแตกต่างระหว่างสัมมาสมาธิ กับมิจฉาสมาธิไหม

    หากเป็นสัมมา มีสติกำกับ จิตจะไม่ง่วงเลย จะตื่น สว่าง โล่งโพลง ตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธิ

    แค่เราภาวนา แล้วทำให้สติมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมก็ถือว่าก้าวหน้าแล้ว

    ว่าพุทโธ ไปร้อยครั้ง จับลมหายใจเข้าออกไปร้อยที แต่ขาดสติกำกับ

    ก็มีอานิสงค์ สู้ พุทโธหนึ่งครั้ง จับลมหายใจหนึ่งครั้ง แต่สติคมชัด จับเต็มรอบ ตื่น สว่างโพลง ระลึกรู้เต็มที่ ไม่ได้เลย

    อุปมาเหมือน เราอ่านหนังสือ เพื่อเตรียมตัวไปสอบ

    แต่อ่านไปจนจบเล่ม เราจำอะไรไม่ได้เลย เพราะมัวแต่คิดเรื่องอื่น จาดสติกำกับ

    ก็สู้อ่านแค่สิบหน้า แต่จำได้อย่างแม่นยำ และพิจารณาทุกตัวอักษร ด้วยอำนาจของสติ ไม่ได้เลย

    หรือเราขับรถ แบบ autopilot คือ เราขับรถไปแล้วก็คิดเรื่องอื่น รู้ตัวอีกทีก็ถึงที่หมายแล้ว

    เอ้าถึงบ้านแล้วหรอ แบบนี้เป็นต้น ก็คือ การขัยรถโดยขาดสติ

    แต่ถ้ามีสติกำกับในการขับรถ เราจะหมุนพวงมาลัย เราจะเหยียบเบรค เปลี่ยนเกียร์ เราจะรู้ตัว ควบคุมด้วยสติอยู่ตลอด

    ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

    หรือเราสวดมนต์ไป รู้ตัวอีกที เอ้าจบแล้ว

    กับเราสวดโดยมีสติกำกับ ระลึกรู้ และพิจารณา ว่าแต่ละคำที่สวดนั้นมีความหมายว่าอะไร

    ต่างกันไหมครับ ก็ต่างกัน

    คนที่ทำอะไรด้วยสติ จะเป็นผู้เลิศ ในสิ่งที่กระทำนั้น

    ถ้าเป็นช่างแกะสลัก ก็เป็นช่างแกะสลักชั้นเลิศ เพราะผลงานจะมีความละเอียดประณีตอย่างถึงที่สุด

    ถ้าเป็นจิตกร ก็จะเป็นจิตกรชั้นเลิศ

    ถ้าเป็นครู ก็จะเป็นครูชั้นเลิศ เพราะรู้ใจ ดักใจของนักเรียนได้ด้วยสติ

    ดังนั้น เวลาทำกรรมฐาน เวลาทำสมาธิ เราต้องคิดว่าเรากำลังสร้างสติสัมปชัญญะให้ถึงพร้อม

    เน้นคุณภาพ อย่าเน้นเวลา หรือต้องได้ทั้งคุณภาพและเวลา

    คุณภาพสำคัญที่สุด

    ความชัดเจน ต่อเนื่องของสติสำคัญที่สุด

    ทีนี้ สติปัฏฐาน4 กับกรรมฐาน40 นี่ เป็นเรื่องเดียวกัน อย่าไปคิดว่าคนละเรื่อง

    แต่เป็นการอธิบาย ในวิธีที่ต่างกัน

    เพราะทั้ง สติปัฏฐาน4 และกรรมฐาน40 ล้วนเป็นไปเพื่อสร้างสติให้เกิดขึ้น

    จึงไม่ควรจะคิดว่า มีสายสติปัฏฐาน4 มีสายกรรมฐาน40 มีสายนู้นสายนี้

    จริงๆมีแค่สองสาย สายมีสติ เป็นสัมมาทิษฐิ กับสายขาดสติ เป็นมิจฉาทิษฐิ

    เราจะเป็นสายไหนในสองสายนี้เท่านั้น

    ต่อมาผมจะให้เทียบสองอารมณ์ต่อไปนี้ จะให้ทำตามไปด้วยแล้วลองพิจารณาว่ามีความต่างกันอย่างไร

    อารมณ์แรก เราภาวนาไปเรื่อยๆ เหมือนอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสติกำกับ

    พุทโธๆๆๆๆๆ ว่าไปเรื่อยๆ ซัก20-30ครั้ง

    จำอารมณ์เอาไว้ พิจารณาว่าเป็นอย่างไร

    กับอารมณ์ที่สอง เราว่า พุทโธ แค่3ครั้ง แต่ให้เอาสติ กำกับ จดจ่อ ระลึกรู้ เฝ้าพิจารณาอย่างเต็มที่

    พุท โธ พุท โธ พุท โธ แต่ละคำที่ว่าไปให้เอาสติ จับให้ชัดที่สุด

    ต่างจากอารมณ์แรกไหมครับ

    ต่างเพราะอะไร ให้ตอบตัวเองครับ

    เราสัมผัสเอง พิจารณาเอง แล้วอธิบายให้ตัวเองเข้าใจ

    วิธีการที่หนึ่ง ไม่มีสติกำกับ จะภาวนาซักร้อยที ก็เกิดผลน้อย

    พอทำเรื่อยๆ จิตจะเริ่มเคลิ้ม เริ่มเบื่อ เริ่มง่วง เดี้ยวก็หลับ ตกภวังค์ไป

    วิธีการที่สอง สติ จับชัดเจน จะชัดแค่ไหนแล้วแต่คุณภาพของสติ

    แต่จิตก็จะตื่น สว่าง รู้ตัวมากกว่า อย่างเทียบกันไม่ติด ภาวนาแน่ครั้งเดียวโดยมีสติเต็มรอบย่อมมีอานิสงค์ประเสริฐกว่าเยอะ

    คราวนี้ไม่ใช่แค่พุทโธ แต่จะจับลมหายใจ ทรงภาพกสิณ พิจารณาความดีของพระรัตนตรัย พิจารณาวิปัสสนาญาณ หรือจะทำสิ่งใดก็ตามในชีวิต ให้ใช้สติกำกับอยู่ตลอด

    ส่วน สติปัฏฐาน4 มี กาย เวทนา จิต ธรรม จะมาอธิบายเพิ่มในภายหลังครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2010
  2. KOKOKING_<<0>>

    KOKOKING_<<0>> เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    813
    ค่าพลัง:
    +1,373
    เป็นกำลังใจให้ท่านอ.ชัช นะครับ ที่ช่วยเพื่อนนักปฏิบัติทั้งหลายนะครับ ได้มาอ่านที่ ท่านอ.ชัช มาโพส ได้ประโยนช์ ทุกครั้งเลยครับ

    อนุโมทนาด้วยนะครับ ท่าน อ.ชัช
     
  3. May be no one

    May be no one เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +232
    ขออนุญาติก็อปไปนะค่ะ ^^
     
  4. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์ชัช และ ทุก ๆ ท่านที่สนใจในการปฏิบัติด้วยนนะค่ะ
     
  5. May be no one

    May be no one เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +232
    มานั่งรอคำตอบ อ.ชัช ด้วยคนค่ะ ^^
     
  6. pinya

    pinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +842
    อนุโมทนาสาธุคะอ.ชัชกับธรรมทานครั้งนี้
     
  7. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    อนุโมทนากับคำแนะนำดีๆของอาจารย์ชัชนะครับ เรื่องกรรมฐานกลาง

    แต่ก่อนพอภาวนา กำลังนิ่งๆ พอเผลอหน่อยเดียว หลับทุกที

    มันก็ดีอยู่หรอก หลับสบายมาก ความเครียดจากการทำงานหายไปเยอะ

    แต่ถ้าอยากเอาดี อยากก้าวหน้า ต่อไปผมจะสังเกตุให้ดีๆเวลานอนภาวนา

    จิตเริ่มนิ่ง จะพยายามคุมสติเอาไว้ ให้ได้นานที่สุด อาการที่เคยเป็นเวลานอนภาวนาคือ

    จิตเป็นสมาธิทำให้นอนไม่หลับ กายมันหลับ แต่จิตมันตื่น ผมก็กลัวจะไม่ได้หลับได้นอน

    เดียวนอนตื่นสาย ต้องถอนสมาธิออกเพื่อให้หลับ แต่ถ้าภาวนาแล้วเข้าไปจุดนี้อีก

    จะทดลองคุมสติเอาไว้ครับ

    ส่วนเรื่องการปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ ตอนนี้ก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆครับ เพราะกลัวจะเครียดเกินไป
    ก็พยายามจับภาพพระให้ได้ นึกได้ตอนไหนก็ทำตอนนั้น บางทีก็ข้ามวันกว่าจะนึกได้อีก เมื่อคืน
    นอนภาวนาดูลม พอจิตเป็นสมาธิ เริ่มเคลิ้มๆ รู้สึกจิตดิ่งวูบแรงมากเลยครับ จนตัวเองสะดุ้ง
    จำได้ว่าแขนขากระตุกไปเลย อาการแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไม่ทราบว่าอาการนี้เรียกตกภวังค์หรือปล่าว
     
  8. niakjung

    niakjung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +9
    เรียนถาม อ.ชัช

    ผมเป็นสมาชิกใหม่ของ เวป พลังจิต จากการแนะนำของเพื่อน

    ผมได้ลองฟังคลิปรวมถึงได้ลองการฝึกสมาธิ มาบ้างเล็กน้อย

    เพื่อนผมให้ลองมาโพสถาม อ.ชัช ดูว่า ผมควรฝึกแบบไหน
    แล้วของเก่าเป็นมายังไงบ้างครับ

    ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมจะขอลงเรื่องของพื้นฐาน ซักระยะนึงก่อนนะครับ

    แล้วจะค่อยกลับมาตอบคำถามอีกทีครับ

    เพราะหากท่านไม่เข้าใจเรื่องของพื้นฐาน ท่านจะไม่สามารถประคองรักษาสมาธิที่ท่านเข้าถึงแล้วเอาไว้ได้

    เวลาที่ท่านจับลมหายใจ หรือทำสมาธินั้น

    ผมจะสังเกตุว่า บางท่าน ท่านจะนั่งนิ่งๆ หลับตา แล้วไม่จับลมหายใจ ไม่ภาวนาอะไรทั้งสิ้น

    จะปล่อยให้จิตนิ่งเอง ซึ่งเป็นวิธีที่จะเกิดผลน้อย และปฏิบัติถึงความสงบได้ยาก

    ทีนี้บางท่านจับลมหายใจ แต่ท่านไม่ได้ กำหนดฐานของลมหายใจ จึงส่งผลให้จิตไม่เกิดความตั้งมั่น

    ส่วนนึงก็เป็นความผิดพลาดของตัวผมเอง ซึ่งไม่ค่อยได้เน้นย้ำเรื่องนี้นัก

    จึงจะขอมาวางหลักให้ใหม่

    เวลาจับลมหายใจ หรืออาณาปานสตินั้น

    อาณาปาน คือ ลมหายใจ สติ คือ การกำหนดรู้ การระลึกถึง

    หากท่านจับลมหายใจโดยไม่ได้กำหนดฐานของสติ จึงไม่ถือเป็นอาณาปานสติกรรมฐานของพระพุทธเจ้า

    เมื่อท่านปฏิบัติโดยไม่กำหนดฐานของสติ

    จิตจะไม่มีความตั้งมั่น จะเคลื่อนคล้อยได้โดยง่าย

    อุปมาเหมือนบุคคล แหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทร ก็ถูกคลื่นซักไปมา ซ้ายที ขวาที

    ไม่อาจจะหยุดนิ่งได้

    พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้กำหนดฐานของลมหายใจ 1ฐาน 2ฐาน 3ฐาน

    ฐาน นั้น ฐาน คือ ฐานของสติ

    เมื่อเรากำหนดฐานของสติ เอาไว้ที่จมูก อก และเหนือสะดือสองนิ้ว

    จึงถือเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เพราะมีสติ กำหนดระลึก รู้ และพิจารณาในร่างกายของตัวเอง

    เมื่อกรรมฐานกองนั้น เป็นหนึ่งเดียวกับสติปัฏฐาน คือ มีสติกำกับ

    จึงถือเป็นสัมมาสมาธิ เป็นองค์ของอริยมรรคมีองค์แปด

    การกำหนดลม1ฐานนั้น ประดุจดังบุคคลแหวกว่ายในมหาสมุทร

    ไปเจอตอไม้เข้าตอนึง จึงผูกมัดตนนั้นเอาไว้กับตอไม้

    เมื่อกระแสคลื่น ซัดซ้ายที ขวาที หน้าที หลังที ย่อมมีอาการซัดส่าย แต่สามารถยึดเกาะเอาไว้ได้

    เรียกสภาวะจิตที่กำหนด ลม1 ฐาน คือที่จมูก

    อย่างมั่นคงนี้ ว่า ขณิกสมาธิ

    เมื่อบุคคลผู้แหวกว่ายในมหาสมุทร ยึดเกาะตอไม้ และผูกตนเอาไว้กับ ตอไม้ได้สองตอ

    อาการซัดส่ายจากคลื่นลม ย่อมลดน้อยลง สามารถจะโยกคลอนได้เพียง2ทิศ คือ ข้างหน้าและข้างหลัง

    เพราะ ฐานแห่งจิต หรือตอไม้ ผูกกันไว้ ถึงสองตอ

    ยังให้เกิดความเบิกบาน ความลิงโลดแห่งจิต อันเกิดจากการได้เข้าถึงซึ่งความมั่นคงระดับต้นเป็นครั้งแรก

    เรียก สภาวะจิต ที่กำหนดลมหายใจ เอาไว้ได้2ฐาน คือ จมูก และอกนี้

    ว่าอุปจารสมาธิ

    เมื่อบุคคลผู้แหวกว่ายในมหาสมุทร สามารถผูกตนเอาไว้กับตอไม้ได้สามตอ

    บุคคลนั้นจะเป็นผู้มีความตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ไม่กระเพื่อมสั่นไหว ด้วยอำนาจแห่งกระแสคลื่น

    คลื่น จะมาทางทิศไหนก็ตาม ย่อมไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ที่ มีฐานแห่งจิตตั้งมั่นถึงสามฐานได้

    ประดุจดังต่อไม้ ที่ถูกผูกเอาไว้ในลักษณะ สามเหลี่ยม ย่อมกันการกระทบได้จากทุกทิศทาง

    บุคคลผู้มีจิตระดับนี้ คือ กำหนดฐานของลมหายใจ ได้สามฐาน ได้แก่ จมูก อก และท้องเหนือสะดือสองนิ้ว

    จิตของท่านย่อมเข้าถึงซึ่งปฐมฌาณ เป็นอัปปนาสมาธิ จิตสะอาดสงบระงับจากนิวรณ์ทั้งห้าประการ

    เมื่อท่านกำหนดฐานของลมหายใจเอาไว้ได้สามฐานดังนี้

    ย่อมบังเกิดองค์ของฌาณ ประชุมกันพร้อม 5องค์

    ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคตา

    เมื่อท่านกำหนดจิตให้ตั้งมั่นเป็นปฐมฌาณเอาไว้ได้ จนมีความช่ำชอง ชำนิชำนาญในลมสามฐาน

    จิตของ ท่านจะสัมผัสได้ถึง วิตก วิจาร คือ อาการที่ตรึกคิด คิดในกองลม พิจารณาในลมหายใจที่กระทบทั้งสามฐานอยู่เสมอ

    วิตก และวิจารนั้น ท่านไม่แยกออกจากกัน เพราะวิตก คือ การกำหนด หรือจิตสัมผัสกับลมหายใจ ส่วนวิจาร คืออาการที่จิตตามลมหายใจนั้นไป

    วิตก เปรียบดั่งการยกแก้วน้ำให้ลอยขึ้น ส่วนวิจารนั้นเปรียบเหมือนการถือประคองแก้วน้ำนั้นให้ลอยอยู่

    เกิด ปีติ แปลว่า ความเอิบอิ่ม เป็นอาการที่การดีใจ ทำให้เกิดสุขอันเป็นความเย็นแก่ร่างกายและจิตใจ จะรู้สึกเย็นจริงๆ

    อุปมาเหมือน บุคคลผู้เห็นอาหารอันโชะ ก็เกิดความดีใจขึ้น อาการดีใจนั้นคือปีติ

    ปีติ ที่เกิดในปฐมฌาณนั้น จะเป็นผรณาปีติ เป็นปีติที่แผ่ซ่าน เอิบอิ่ม ไปทั่วทั้งร่างกาย

    เกิด สุข แปลว่าความอร่อย ความอร่อยนี้เป็นสิ่งที่ติดตามปีติมา เป็นอารมณ์ที่มีความละเอียดมากกว่าปีติ เย็นแบบเสียดแทงน้อยกว่า ถ้าเป็นอุณหภูมิ ก็ถือว่าปีติมีอุณหภูมิต่ำกว่า สุข

    หรืออุปมาเหมือน หลังจากที่ได้เห็นอาหารนั้นแล้ว เราได้ลิ้มชิมรสของอาการจนเกิดความเอร็ดอร่อย

    รสชาติที่อร่อยนั้น คือ สุข

    เกิด เอกคตา คือความตั้งมั่นของจิตที่ฐานทั้งสาม จิตจะมีอาการรวมตัว ปักแน่นมากกว่าในขั้นอุปจารสมาธิ

    ต่อมาเมื่อเราเสวยสุขอยู่ในปฐมฌาณ จิตมีการกำหนดในลมทั้งสามฐาน อย่างมั่นคง

    เมื่อจิตเลื่อนเข้าสู่ทุติยะฌาณ อาการของวิตก และวิจาร จะหายไป

    จะเหลือแต่ ปีติ สุข และเอกคตา

    แล้วอารมณ์มันเป็นยังไง

    ก็คือ จิตจะจับ แต่อาการของความเย็น ของ ปีติ และสุข และฐานทั้งสาม

    อาการที่คอยใคร่ครวญ ลมหายใจ คอยติดตามลมหายใจ จะหายไป เพราะอาการที่ใคร่ครวญ ที่ติดตามลมหายใจนี้ จะทำให้จิตเกิดความสั่นไหว การกระเพื่อมในขั้นละเอียด

    จิตจะเกาะในอาการเย็น ความสุขเอร็ดอร่อย และ สติที่ฐานทั้งสามเป็นสำคัญ

    จิตจะรวมตัวปักแน่น ยิ่งกว่าตอนปฐมฌาณ

    ต่อมาเมื่อจิตเคลื่อนตัวสู่ตติยะฌาณ

    จิตจะตัดปีติออก เหลือแต่ สุข และเอกคตา

    ความเย็นที่เกิดขึ้นจะมีอาการละเอียด ประณีต ความเย็นนั้น จะไม่เสียดแทงเหมือนปีติ

    เย็นแบบเสียดแทงนั้น อุปมาเหมือน เราอาบน้ำที่ความเย็นฉ่ำ

    อาการกระทบกับน้ำเย็นในครั้งแรก คือ ปีติ ส่วนอาการเอิบอาบ ชุ่มเย็น ของน้ำเย็นนั้น คือ สุข

    จิตจะมีความเอร็ดอร่ยในความสุขอันเย็นประณีตที่เกิดขึ้น

    ต่อมาเมื่อจิตเคลื่อนเข้าสู่จุตตถะฌาณ

    สุขจะเปลี่ยน เป็นอุเบกขา เลยเหลือเป็นอุเบกขา และเอกคตา

    คือ ความเย็นที่เกิดขึ้น จะจาง จืดชืด จนหายไป

    เหลือเป็นความสุขที่ นิ่งๆ ละเอียด ประณีต และจิตรวมตัว ตั้งมั่นปักแน่น อย่างถึงที่สุด

    อาการกระเพื่อมหวั่นไหวไม่มี

    เมื่อจิตเข้าเป็นฌาณ4นี้ จะพิจารณาได้ว่า

    ความสุขที่เกิดขึ้น ในฌาณ3นั้น ยังมีอาการเสียดแทงอยู่

    อุปมาเหมือน เราเปิดแอร์

    ความเย็นของแอร์ ที่ฌาณ1 อยู่ที่ 10องศา ที่ฌาณสองอยู่ที่ 15องศา ฌาณ3 อยู่ที่ 20องศา ฌาณ4 อยู่ที่ 24องศา

    เมื่อจิตมาจนถึงฌาณ4แล้ว จะพบว่าแม้สุขที่เกิดในฌาณ 1 2 3 ก็ยังเป็นอาการเสียดแทงที่ไม่น่าปรารถนา

    เป็นความเย็น ที่เกินจากความปรารถนาของเราไป

    สรุปว่า ให้เรากำหนดฐานของลมหายใจ ให้ได้1ฐาน เพิ่มเป็น2ฐาน เพิ่มเป็น3ฐาน

    พอได้สามฐานแล้วจิตจะมีความสุขแช่มชื่นเบิกบานมาก ให้ประคองอารมณ์นี้เอาไว้

    สุขที่เกิดขึ้นจะมีความแผ่วบางลงไป

    จนกระทั่งเป็นฌาณ 2 3 4 ตามลำดับ

    หากท่านไม่กำหนดฐานของสติ จิตของท่านจะไม่สามารถทำจิตให้เข้าถึงซึ่งความสงบได้

    เพราะไม่มีหลักยึด

    อุปมาเหมือนแหวกว่ายในมหาสมุทร อันกว้างใหญ่ ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อพบเจอตอไม้ ก็ปฏิเสธ ที่จะยึดเกาะเอาไว้ ท่านจะหาความมั่นคงและตั้งมั่นได้จากสิ่งใด

    แต่หากท่านกำหนดสติในฐานทั้งสาม

    สมาธิ และสติของท่านย่อมเจริญคู่กันไป เป็นลำดับ

    เป็นอุปจาร และอัปปนา ขึ้นไปตามลำดับ

    และท่านจะมีความคล่องแคล่ว สามารถกำหนดเข้า ขณิก อุปจาร และอัปปนาได้ตามต้องการ

    โดยการเลือกกำหนด ฐาน 1 2 3 และ เลื่อนองค์ของฌาณ ละ วิตกวิจาร ละ ปีติ และ ละสุข ได้อย่างคล่องแคล่ว

    ท่านจะเป็นผู้ชำนาญในการทำฌาณเบื้องต้นให้เกิดขึ้น และทรงเอาไว้ได้ตลอดทั้งวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2010
  10. chayapin

    chayapin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,115
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    หายสงสัยไปเลยค่ะ ในความไม่มั่นคงของสมาธิตนเอง ถ้าเปรียบเทียบว่าเราทานอาหาร แต่ไม่รู้สึกอื่ม ก็คงเป็นเพราะไม่ได้กำหนดดูลมละเอียด 3 ฐาน ค่ะจะนำไปปฏิบัติด้วยความเข้าใจค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ชัชค่ะ
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ตอนนี้อยากจะให้ทุกๆท่าน

    เน้นเรื่องฌาณ พื้นฐานให้ได้กันเสียก่อน

    สามารถกำหนดฐานของลมได้สามฐาน

    สามารถกำหนดได้ว่า องค์ฌาณแต่ละตัว มันหน้าตาเป็นอย่างไร

    การละองค์ฌาณแต่ละองค์นี่มันเป็นอย่างไร

    ฌาณ 1 2 3 4 แต่ละฌาณมีความรู้สึกเป็นประการใด

    ผมขออนุญาติว่า ช่วงนี้ให้ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นสำคัญ

    หากใครสงสัย ทำไม่ได้ตรงไหน ในอาณาปานสติให้ถามมาเลยครับ

    จะขอตอบเน้น เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียวก่อนครับในช่วงนี้

    ส่วนคำถามก่อนหน้านี้ขอละเอาไว้ก่อนครับ ให้ถามกันเข้ามาใหม่เลยนะครับ ขอเรื่องอาณาปานสติเป็นหลักครับ

    เพราะหากท่านไม่ได้พื้นฐานของสมาธิแล้ว ท่านจะไปต่ออะไร ก็จะไม่มีความมั่นคงทั้งสิ้นครับ

    ขอให้แลกเปลี่ยนกันเข้ามาได้เลยครับ

    ท่านจับลมหายใจแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ได้กี่ฐาน เกิดอารมณ์ยังไง ความสุขเย็นอย่างไรบ้าง

    สติของท่านชัดเจน มีอาการระลึกรู้ ตื่น สว่างโพลง ไม่มีง่วง ไม่มีเคลิ้ม ไม่มีความมืดมน อย่างไรบ้าง

    ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ
     
  12. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    สวัสดีครับ อาจารย์ชัดผมฝึกอานาปานสติครับ 1.ทำไมบางครั้งที่นั่งเข้าสมาธิ รู้สึกตัวว่ายังไม่ตายคิดอะไรไม่ได้ หูดับ ลมหายใจดับ อยู่อย่างนั้นนานๆ 2.ทำไมบางครั้ง ไม่รู้สึกตัวเลยเหมือนหลับ แต่พอถอยออกมา มีสมาธิ มากๆ นั่งเข้าสมาธิต่อก็ดิ่งเลย เพราะจะจำอารมณ์ได้แล้ว ฌานสี่จะต้องมีตัวรู้ใช่ไหมครับ ขอบพระคุณครับ อาจารย์
     
  13. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    ผมฝึกโดยจับลมที่ปลายจมูกครับ อยากให้อาจารย์อธิบาย 3 ฐาน รู้ลมกระทบแต่ละฐานใช่ไหมครับ ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายนะครับ หายใจเข้า-กระทบอย่างไร ออกอย่างไรครับ เมื่อหลวงพ่อพุทธทาสมีชีวิตอยู่เคยไปฝึก วิ่งตามลม และเฝ้าดูลม ที่วัดสวนโมกข์ ครับ ขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้มาสอนสมาธิถึงที่เลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2010
  14. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    พอดีกับที่ผมกำลังคิดเลยครับ
    ผมกำลังจะบอกท่านเจ้าของกระทู้ (ขออนุญาตเรียกว่า อาจารย์นะครับ)อยู่พอดี ว่าผมทำตามแบบที่อาจารจ์แนะนำผมมายังไม่ได้ เนื่องจากยังไม่ทรงฌาณในอานาปานุสติ

    ว่าจะบอกว่าขอให้ผมฝึกทำในอานาปาฯ ให้ชำนาญก่อนได้ไหม แต่ก็เกรงว่าอาจารย์จะตำหนิเอาว่ายังทำไม่เท่าไหร่ก็จะเก่งเกิน

    ถ้าอาจารย์บอกมาอย่างนี้ ผมก็ขอรบกวนบอกและถามคำถามแรกเลยนะครับ

    - คือผมมีปัญหาว่าเวลาผมกำหนดจิตจับสามฐานแล้วเกิดอาการมึนหัว เครียด เกร็ง จิตไม่สบาย น่าจะเพ่งที่ฐานเกินไปหนะครับ แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้

    (แต่ก็มีผลเกิดขึ้นเหมือนกัน ตรงที่ว่ามีอาการเย็นในโพรงตั้งแต่คอจนถึงท้อง)

    ผมเลยใช้การกำหนดลมแบบสติปัฏฐาน ที่หลวงพ่อฤาษีสอนไว้ว่า การฝึกอานาปานุสติแบบสติปัฏฐานสามารถทำให้ถึงฌาณ ๔ ได้ (ผมจำไม่ได้ว่าอยู่ที่บอร์ดไหน) ผมก็เลยใช้วิธีนี้ ปรากฏว่าดีขึ้นกว่าเก่าครับ ง่ายดีด้วยครับ อาการเย็นๆ ของลมกระทบตั้งแต่จมูก คอ อก ถึงท้อง ก็ยังปรากฏได้ถ้าเอาจิตสังเกต แต่ผมจะไม่จับความเย็นมากนัก เพียงแต่เอาจิตตั้งไว้ที่ปลายจมูกอย่างเดียว

    ถาม - ผมจะใช้แบบวิธีฝึกนี้แทนได้ไหมครับ แล้วผลจะทำให้ฝึกในกีฬาสมาธิอย่างอื่นได้เสมือนฝึกแบบสามฐานไหมครับ

    ขอคำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่อาจารย์คิดว่ามีผลโดยตรงต่อผมด้วยครับ

    ขอบพระคุณมากๆ ครับ

    โมทนาสาธุในความดีของท่านด้วยครับ
     
  15. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ปัญหาจากpm มีปัญหาอานาปนสติมาถามเจ้าของกระทู้เหมือนกัน

    เนื่องจากผมมีปัญหาจากท่านสมาชิกบางส่วน ถามผมมาทาง pm ตามที่อ้างอิงถึงไว้ โดยรวมๆ สอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องการฝึกไล่ฌาณ ผมตอบท่านที่ถามมาไม่ได้ แล้วยังติดค้างกันอยู่ เคยเอามาสอบถามไว้ในนี้ นานแล้ว ยังไม่ได้คำตอบ ตอนนี้เห็นเจ้าของกระทู้เน้นเรื่องอานาปนสติ เห็นว่าเรื่องนี้ก็เข้าข่าย เลยขอเอามาถามกันอีกครั้งครับ

    ปัญหาคือ ท่านสอบถามมาเรื่องการไล่ฌาณ และการเข้าฌาณแบบทันทีทันใด ไม่ต้องมาไล่ 1 2 3 4 คือ จู่ๆ จะไปที่ 4 เลย อันนี้ท่านถามว่าทำอย่างไร ? (ผมก็ทำไม่ได้ ปกติทำแต่ไล่ไปตามลำดับ แต่มันไปได้ด้วยความเร็วสูง จึงดูเหมือนจะไป 4 ก็ไปได้ปั๊บ จริงๆแล้ว มันก็ต้องผ่านตามลำดับอยู่ดี)

    ส่วนเรื่องอรูป ไม่ได้เล่าให้ท่านผู้ถามฟัง เพราะวิธีการของผมค่อนข้างพิลึกไปหน่อย เลยเว้นเอาไว้ก่อน

    ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ครับ

     
  16. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ขอคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณsuthipongnuyด้วยครับ

    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ครับ ขอคุยกับคุณsuthipongnuy เล็กน้อย เกี่ยวกับเรื่องอานาปนสติเหมือนกันครับ

    คุณ suthipongnuy ครับ ผมค่อนข้างจะสนใจเรื่องที่คุณบอกว่า
    "จิตเป็นสมาธิทำให้นอนไม่หลับ กายมันหลับ แต่จิตมันตื่น ผมก็กลัวจะไม่ได้หลับได้นอน

    เดียวนอนตื่นสาย ต้องถอนสมาธิออกเพื่อให้หลับ แต่ถ้าภาวนาแล้วเข้าไปจุดนี้อีก"

    เลยอยากจะขอคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณ suthipongnuy สักเล็กน้อยครับ

    ปกติการนอนในสมาธิ ถ้าเป็นผม นอนแล้วก็หลับนะครับ แต่ต้องให้อารมณ์ผ่อนคลายหน่อย (อารมณ์ของการนั่งกรรมฐานกับการนอนหลับในฌาณมันต่างกัน) ภาวนาไปเรื่อยๆ พอถึงฌาณ มันก็ตัดหลับไปเอง

    เคยเจอมาอย่างนี้ เลยสนใจกรณีของคุณsuthipongnuy จริงๆ ว่าการนอนสมาธิ ทำไมถึงนอนไม่หลับ?

    มีเหมือนกัน นอนภาวนาแล้วนอนไม่หลับ จะเป็นวันที่ฟุ้งซ่านจริงๆ จิตไปไม่ถึงฌาณ (เรื่องธรรมดาของพวกฌาณโลกีย์) อันนี้ ผมก็ต้องปล่อยให้มันฟุ้งซ่านไปเรื่อย จนหลับไปเอง (ขืนฝืนภาวนาไป โรคจิต โรคประสาท โรคเครียดจะถามหาเสียเปล่าๆ)

    อารมณ์ของคุณหนักไปหรือเปล่าครับ(ตั้งใจมาก ตั้งใจภาวนา ตั้งใจจับภาพพระมากไปหรือเปล่า) หรือไม่ก็ยังไปไม่ถึงฌาณหรือเปล่า ถึงนอนไม่หลับครับ

    อีกอย่าง เรื่องนอนในสมาธิ กายมันหลับ จิตตื่น แล้วจะนอนไม่พอนั้น ผมว่าจริงๆแล้ว ถ้าหลับในสมาธิจริงๆแล้ว กายกับจิตมันไม่เกี่ยวกันนะครับ ยิ่งในระดับสมาธิสูงๆแล้ว มันคนละส่วนกันเลย อย่างที่ผมเคยคุยกับเจ้าของกระทู้เกี่ยวกับการนอนหลับในอรูปฌาณน่ะครับ ถ้าคุณsuthipongnuy ย้อนไปอ่าน ผมว่าน่าจะได้ความรู้เรื่องการนอนในสมาธิเพิ่มมากทีเดียว เพราะผมคุยเรื่องนี้กับเจ้าของกระทู้อยู่หลายครั้ง แล้วท่านเจ้าของกระทู้ก็กรุณาอธิบายให้ผมฟังอย่างละเอียดด้วยครับ

    คุยแลกเปลี่ยนกันพอหอมปากหอมคอ ส่วนเรื่องการแก้ทางปัญหาของคุณ คงต้องรอให้เจ้าของกระทู้มาอธิบายอีกทีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  17. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    สวัสดีครับอาจารย์ชัช เนื่องจากอาจารย์บอกว่าจะเน้นที่อานาปาณสติก่อน ผมจึงขอเรียนถามครับ จากเดิมที่เคยเล่าถึงการปฏิบัติของผมไปแล้ว ผมขอเล่าใหม่นะครับ คือ แม้ว่าผมจะเน้นไปที่บริกรรมพุทโธเป็นหลัก แต่เมื่อจิตนิ่งดีแล้ว ก็จะหันมาดูลมเอง ในจุดนี้ผมไม่ได้เน้นจับลม 3 ฐาน แต่ผมจับลมยาวเป็นสายเลยครับ เพราะตอนแรกได้ศึกษาสติปัฐฐาน 4 ลมเข้าก็รู้ ออกก็รู้ เข้าสั้น ออกสั้นก็รู้ เข้ายาว ออกยาวก็รู้ เคยฝึกแบบนี้มานาน และตอนที่ฝึกดูลมใหม่ๆ ผมตั้งใจไว้ว่า เอาแค่รู้ว่ามีลมเข้า และลมออกก็พอ ยังไม่ได้ถึงขั้นที่จะไปสนใจว่าสั้นหรือยาวครับ พอมาถึงตอนนี้ก็เลยได้แค่รู้ว่ามีลมเข้า และลมออก เอาความรู้สึกจับลมตลอดสาย โดยไม่ได้เน้นไว้ที่ฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งผลการปฏิบัติก็ได้มั่งไม่ได้มั่งครับ

    ช่วงหลังๆมาผมไม่ค่อยได้บริกรรมพุทโธเท่าไหร่นะครับ ส่วนมากจะจับลมหายใจ นึกได้ตอนไหนก็ดูลมไปเรื่อยๆ ถ้าเผลอพอนึกได้ก็ดูใหม่ พอหลังจากอาจารย์แนะนำให้ทรงภาพพระไว้ ตอนนี้ก็พยายามผสานภาพพระเข้ากับลมหายใจอยู่ครับ

    อาการที่ทดลองจับลมหายใจไว้ที่ปลายจมูก รู้สึกตึงๆบริเวณโพรงจมูกครับ บางทีก็รู้สึกโล่งๆ และหายใจได้สะดวกขึ้น บางทีก็รู้สึกเหมือนศรีษะตึงๆ หมุนๆ อาการพวกนี้เป็นช่วงที่ผมปฏิบัติในชีวิตประจำวันครับ ส่วนการนั่งสมาธิยังไม่ได้ทำ

    เคยดูลมแล้วได้ผล คือจิตนิ่งเป็นสมาธิครับ แต่ก็จำอารมณ์ได้ลางๆ ไม่ชัดเจน รู้สึกลมหายใจโล่งตลอดสาย กายหายใจ แต่เราเป็นผู้ดู แต่จำได้อย่างหนึ่งคือ เวลาเราจ้องมองดูลม จะไม่เคยได้ผล ต้องนึงถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเรื่อยๆ ส่วนลมก็ระลึกรู้บ้างไม่รู้บ้าง พอเผลอหน่อยเดียว จิตถึงนิ่งเป็นสมาธิได้ครับ
     
  18. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    แหะๆ สวัสดีครับคุณ NICKAZ ผมเองก็ได้ติดตามผลการปฏิบัติของคุณมานานเหมือนกันครับ อ่านไปแล้วพอมาเทียบกับตัวเอง ก็รู้สึกอายครับ อิอิ เลยได้แค่ติดตามอ่านไว้เป็นความรู้ครับ

    ในเรื่องการนอนภาวนา (ผมหากินทางการนอนครับ) ก็นอนภาวนาไปเรื่อยๆครับ บางทีก็บริกรรมพุทโธ บางทีก็สวดมนต์ บางทีก็จับลมหายใจ ผลการปฏิบัติก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างครับ หมายถึงจิตเป็นสมาธินะครับ แต่ถ้าหมายถึงการหลับ นั่นได้ผลดีมากครับหลับไม่รู้เรื่องไปเลย จากเดิมที่เคยเป็นโรคเครียด คิดมาก นอนไม่หลับ ถึงทุกวันนี้หลับง่ายมาก บางทีนึกครึ้มๆอยากคิดอะไรเล่นๆ คิดได้แป๊บเดียวก็หลับ เซ็งเลย
    ส่วนอาการที่ผมเล่าว่าเวลานอนภาวนาบางทีก็นอนไม่หลับ เพราะจิตมันตื่น เอาไงดีหล่ะ กลัวจะมั่ว เอางี้ก็แล้วกันผมเล่าแบบลูกทุ่งนะครับ คือพอภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้สึกได้ถึงลมหายใจยาวตลอดสาย เข้าก็รู้ออกก็รู้ อาการเหมือนเข้าฌานประมาณนี้ครับ บางทีลมก็หาย เหลือแต่ความรู้สึก พอเคลิ้มๆเหมือนจะหลับ ก็จะรู้ตัวตลอด เลยสับสนเล็กน้อยครับว่า ทำไมมันไม่ยอมหลับละเนี่ย เพราะส่วนมากผมจะหลับไม่รู้ตัว แต่ทีนี้พอเคลิ้มๆรู้ตัวตลอด เลยคิดว่าตัวเองนอนไม่หลับครับ กลัวว่าจะตื่นสาย ต้องถอนสมาธิออก พลิกตัวไปมา (ผมนอนหงายภาวนา มือวางข้างลำตัว ประมาณว่าทำท่านอนเตรียมตัวตายอ่ะครับ) อาการก็ประมาณนี้ครับคุณ NICKAZ ถ้ามีอะไรจะแนะนำ ผมยินดีนะครับ
     
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ นักพรต99 ครับ

    สวัสดีครับ อาจารย์ชัดผมฝึกอานาปานสติครับ 1.ทำไมบางครั้งที่นั่งเข้าสมาธิ รู้สึกตัวว่ายังไม่ตายคิดอะไรไม่ได้ หูดับ ลมหายใจดับ อยู่อย่างนั้นนานๆ

    จะรู้สึกว่าจิตนิ่ง ทุกๆอย่าง มันนิ่งหมด และคล้ายจิตบีบเข้ามารวมตัวด้วยใช่ไหมครับ

    อันนี้ถือเป็นฌาณ4ละเอียดนะครับ

    2.ทำไมบางครั้ง ไม่รู้สึกตัวเลยเหมือนหลับ แต่พอถอยออกมา มีสมาธิ มากๆ นั่งเข้าสมาธิต่อก็ดิ่งเลย เพราะจะจำอารมณ์ได้แล้ว ฌานสี่จะต้องมีตัวรู้ใช่ไหมครับ ขอบพระคุณครับ อาจารย์<!-- google_ad_section_end -->

    สติครับ สติประคองเอาไว้ไม่อยู่ หรือไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดสติโดยชัดเจน

    พอจิตเป็นสมาธิ จึงประคองการรู้ตัวเอาไว้ไม่อยู่ ทำให้จิตคล้ายตกภวังค์ไปในที่สุด

    ผมฝึกโดยจับลมที่ปลายจมูกครับ อยากให้อาจารย์อธิบาย 3 ฐาน รู้ลมกระทบแต่ละฐานใช่ไหมครับ ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายนะครับ หายใจเข้า-กระทบอย่างไร ออกอย่างไรครับ เมื่อหลวงพ่อพุทธทาสมีชีวิตอยู่เคยไปฝึก วิ่งตามลม และเฝ้าดูลม ที่วัดสวนโมกข์ ครับ ขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้มาสอนสมาธิถึงที่เลยครับ<!-- google_ad_section_end -->

    ของคุณมีติดอยู่ตรงที่

    ใช้วิธีการจับลมหายใจ โดยตามดูลมไปเรื่อยๆ ถึงไหนถึงกัน

    แต่ว่าไม่ได้เข้าใจในเรื่องของ อารมณ์ฌาณแต่ละฌาณจริงๆ

    ไม่เข้าใจว่าสมาธิแต่ละระดับมีเครื่องวัดเป็นอะไร

    อาศัยว่าทำไป วันดีคืนดีก็สงบ วันไหนไม่ดีก็ไม่สงบ

    ดังนั้นฌาณที่คุณเข้าได้ อาจจะเคยเข้าได้ลึกก็จริง

    แต่จะไม่มีความคล่องแคล่วในการเข้าออกฌาณ

    นึกจะเข้านึกจะออกนี่ทำไม่ได้

    ต้องจับลมไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยให้จิตสงบของมันเอง

    ถูกไหมครับ

    อาณาปานสตินั้น

    ให้เรากำหนดสติเอาไว้ที่ฐานทั้งสาม ไม่ใช่ที่ตัวลมหายใจ

    เพราะหากกำหนดสติเอาไว้ที่ลมหายใจ

    พอลมหายใจดับไปแล้ว สติย่อมไม่มีเครื่องยึด จะทำให้ตกภวังค์ เข้าไม่ถึงเนื้อฌาณ จริงๆ เป็นกันหลายคนนะครับ ลองทบทวนว่าจริงไหม

    เพราะถ้าลมหายใจหาย แล้วจิตของเรา ไม่ได้ตั้งสติเอาไว้ที่ฐานทั้งสาม อารมณ์ของสุข หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้น

    จิตย่อมไม่มีเครื่องให้ยึด จะทำให้สติขาดไป

    ผลก็คือพอท่านปฏิบัติจนใกล้จะถึงความสงบ จิตมักจะตัดคล้ายกับจะหลับไปทุกที หรือบ่อยๆ

    จะมีรอดพ้นมาสงบ และมีสติอยู่ได้ นานๆซักครั้ง


    อาณาปานสตินั้น

    ให้กำหนดจิต ความระลึกได้ รู้ตัว ลงในฐานทั้งสาม ได้แก่ จมูก อก และท้อง

    ในเบื้องต้น ให้เอาจิตตั้งเอาไว้ที่จมูก

    เมื่อลมหายใจเข้ามากระทบเราย่อมรู้ได้ ลมหายใจเข้าไปลึกขนาดไหนก็ย่อมรู้ได้

    ลมหายใจจะแรง จะเบา ก็ย่อมรู้ได้

    เพราะถ้าเราตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเอาไว้แล้ว
    บุคคลนั้นจะเข้าไปอยู่ตรงจุดไหนของเมืองเราก็ย่อมทราบและตามเขาเจอได้โดยง่าย

    เมื่อจิตกำหนดลงที่1ฐาน คือปลายจมูก

    ลมหายใจจะมีความละเอียดขึ้น

    ลมหายใจหยาบคือ หายใจแรง เร็ว

    ลมหายใจละเอียดคือลมหายใจเบา ช้า ต่อเนื่อง เป็นระบบระเบียบ

    เราตั้งด่านเอาไว้เฉยๆ แค่กำหนดสติลงที่จมูก ลมหายใจจะสงบระงับลงเอง

    ให้ไปพิสูจน์ดูครับ

    สมาธิช่วงนี้จะอยู่ในขั้นขณิกสมาธิ

    ระดับขั้นของสมาธิ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลมหายใจ ว่าเบา ว่าเร็วแค่ไหน

    ไม่เกี่ยวกัน

    แต่อยู่ที่ความคมชัด กำหนดรู้ของสติ และอารมณ์ขององค์ฌาณแต่ละองค์ที่เกิดขึ้น

    ฌาณ สมาธิ เป็นเรื่องของ สติ และองค์ฌาณ จำตรงนี้เอาไว้นะครับ

    ขณิกสมาธิ ก็คือ สติมีกำลังน้อย องค์ฌาณก็มีกำลังน้อย ไม่อาจจะระงับนนิวรณ์5ทั้งหมดได้ จิตยังมีความซัดส่ายความฟุ้งซ่านอยู่

    ต่อมาเรากำหนดสติ กำหนดจิตเอาไว้ที่ จมูก และอก

    ไม่ต้องกำหนดลงที่ลมหายใจนะครับ

    เพราะเมื่อเราตั้งฐานของสติเอาไว้ที่จมูก และอกแล้ว เราจะบังเกิดรู้ลมหายใจได้ตลอดทั้งกองลมเองครับ

    และอารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่เพิ่มขึ้นมาและเราควรให้ความสนใจคือ

    1. สติจะมีความเต็ม ความชัด จิตจะตั้งมั่นมากกว่าเดิม เพราะมีสองฐาน

    2.จะมีอาการของปีติปรากฏขึ้น จะมีความเย็น อาการแผ่ซ่านเอิบอาบ ความอิ่มเย็นสุข ปรากฏขึ้น ที่กลางอกบ้าง แผ่ไปจนทั่วทั้งร่างกายบ้าง

    นอกจากนี้ยังจะมีแสงสีเสียงภาพ ในขั้นนี้อย่าไปสนใจสิ่งเหล่านี้ที่เข้ามา

    ให้สนใจแค่สติที่ จมูก และอก กับความเย็นของปีติที่เกิดขึ้นเท่านั้น

    ต่อมาให้เราเพิ่มฐานของสติ เข้าไปที่ท้อง

    รวมเป็นจมูก อก ท้อง

    คือให้เรากำหนดตัวรู้ ฐานของการระลึกรู เอาไว้ที่จมูก อก และท้อง พร้อมๆกัน

    คือรู้พร้อมๆกันสามที่

    พอจิตถูกกำหนดเอาไว้ ถึงสามจุดแล้ว

    ลมหายใจจะช้าลง ละเอียด สงบระงับลงมากกว่าเดิม แต่เราไม่ต้องเอาจิตไปจับลมหายใจ จับไว้แค่ฐานก็พอ

    เมื่อเราตั้งฐานของจิตได้สามฐานพร้อมๆกัน รู้สามจุด สามที่พร้อมๆกัน

    สติจะมีความคมชัด อาการเต็มมากขึ้น

    องค์ฌาณจะปรากฏทั้งห้า

    วิตกวิจาร คือ อาการที่จิตกระทบ และตามรู้ลมหายใจ

    ปีติ คือ ความเย็น ที่เกิดขึ้น

    สุข คือ ความเย็นที่ละเอียด ละมุนละไมกว่าปีติ

    เอกคตา คือ ความตั้งมั่นของสติ ของจิตที่ฐานทั้งสาม จิตกำหนดที่ฐานทั้งสามได้มั่นคงไม่มีอาการคลอนแคลน

    สภาวะนี้คือฌาณที่1

    ต่อมา เราจะเคลื่อนจิตสู่สภาวะของฌาณที่สอง

    ท่านให้ตัดวิตกและวิจาร แล้วทำยังไง

    ท่านให้ไม่ต้องสนใจ อาการกระทบของลม และอาการที่จิตติดตามลมหายใจ

    เพราะถ้าจิตยังจับการกระทบของลมหายใจอยู่

    ก็เหมือนเราถูกคลื่นซัดเข้ามากระทบ เป็นระลอกๆ ย่อมเกิดเป็นความเสียดแทง

    จิตของผู้จะเลื่อนเข้าฌาณ2นั้น เห็นว่าการที่จิตกระทบกับลมหายใจนั้น เป็นอาการเสียดแทงไม่น่าปรารถนา

    ให้เราเอาจิตของเรานั้น จับเอาไว้ที่ ฐานทั้งสาม และความเย็นของปีติที่เกิดขึ้น

    เมื่อจิตจับที่ฐานทั้งสาม และความเย็ฯของปีติที่เกิดขึ้นได้แล้ว

    อาการที่จิตกระเพื่อม เพราะการกระทบของลมหายใจก็จะหายไป

    ฌาณสองนี้ จิตไม่สนใจการกระเพื่อม การกระทบของลมหายใจแล้วนะ

    แต่จิตจะจับอยู่ที่อาการสุขของปีติเป็นสำคัญ

    ไม่ใช่ให้เลิกจับลมหายใจนะ แต่เปลี่ยนความสนใจของจิตมาที่ปีติ

    จนเราไม่สนใจอาการกระเพื่อมของลมหายใจอีกต่อไป ขอใช้คำว่าเปลี่ยนความสนใจ

    ลมหายใจยังมีอยู่ กายยังหายใจอยู๋ แต่อารมณ์จิต แต่สติ รวมอยู่ที่ฐานทั้งสาม และปีติ

    ไม่สนใจการกระทบของลมหายใจ เพิกการกระทบ และติดตามลมหายใจ

    เพราะเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ

    เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในฌาณที่สองแล้ว

    จะมี ปีติ สุข เอกคตา มีอาการของความสุข ความเย็น ความตั้งมั่น และความชัดของสติ

    เมื่อเราจะเคลื่อนต่อสู่ฌาณที่สาม

    เราต้องพิจารณา การจะเลื่อนฌาณ เราต้องพิจารณาจนเข้าใจก่อน

    ว่าฌาณในขั้นนี้ยังมีปัจจัย หรือเสี้ยนหนามให้เกิดความทุกข์

    เราจะละเสียซึ่งเสี้ยนหนามนั้น จึงเคลื่อนสู่ฌาณถัดไป

    จุดที่เราจะเอาออกคือปีติ

    เพราะเมื่อท่านทรงจิตอยู่ในฌาณที่2 เป็นระยะเวลาซักพักหนึ่ง

    ย่อมพบว่าปีตินั้นมีอาการเสียดแทงให้เกิดความทุกข์

    คือมันเย็นจริง แต่มันเสียดแทง เหมือนเราเปิดแอร์ที่เย็นเกินความพอดีไป

    เราก็ตั้งใจว่าจะละอาการเสียดแทงที่เกิดจากความเย็นนี้ออกไป

    จิตก็จะรวมลงอยู่ที่ฐานทั้งสาม และสุข

    ซึ่งสุขนั้น เป็นความเย็นเหมือนกัน แต่มีความละมุนละไม อ่อนโยนมากกว่า จะไม่เสียดแทงเหมือนปีติ

    การทรงจิตอยู่ในสภาวะนี้ คือฌาณ3

    เมื่อเราจะเข้าสู่ฌาณที่4

    ก็ให้เราพิจารณาว่า สุขนั้น มันละมุนละไมแต่ก็ยังมีอาการเสียดแทงอีกอยู่ดี

    พอทรงไปเรื่อยๆ จะรู้ว่ามันยังเสียดแทง

    เมื่อมันยังเสียดแทง เราก็ไม่ปรารถนาในมันอีกต่อไป

    เราก็ละเอาอาการเสียดแทงของสุขออกไป

    ตอนนี้จิตจะเหลือแต่อุเบกขา และเอกคตา

    จะเป็นอารมณ์ที่จิตเย็น แต่จะไม่มีอาการเสียดแทง จะมีความนิ่ง อ่อนโยน

    จิตจะมีความตั้งมั่นมาก สติจะมีความชัดเจน

    คล้ายคนที่อยู่ในที่ต่ำมานาน เมื่อได้ขึ้นมาอยู่บนยอดเขาย่อมมองเห็นอะไรปลอดโปร่ง

    จิตจะเข้าใจเลยว่าตัวเราเองนั้นทุกข์มานานขนาดไหน

    ความสุขที่เราได้สัมผัสนั้น มันน้อยนักเมื่อเทียบกับความทุกข์ที่เคยเจอมา

    แต่นี่ยังแค่ฌาณ4 ยังมีอารมณ์ที่สูงกว่านี้ ทั้งอรูปฌาณ วิปัสสนาญาณ อารมณ์พระนิพพาน

    แต่ถ้าท่านทำได้จนถึงจุดนี้ ท่านจะมีความคล่องแคล่ว ในการเข้าออกฌาณแต่ละฌาณ

    หากท่านปรารถนาจะเข้าฌาณไหน ท่านพึงจำอารมณ์ องค์ของฌาณนั้นให้แม่น

    ว่ามีเป็นอย่างไร

    และนึกถึงอารมณ์นั้น จิตของท่านจะเข้าเป็นฌาณนั้นได้โดยทันที

    สรุปว่า

    การฝึกอาณาปานสตินั้น

    ท่านอย่าตั้งสติเอาไว้ที่ลมหายใจ

    ให้ตั้งเอาไว้ที่ฐานทั้งสาม และรู้พร้อมกันทั้งสามฐาน ย้ำคำว่าพร้อมกัน

    รู้1ฐานเป็นขณิกสมาธิ 2ฐานเป็นอุปจารสมาธิ 3ฐานเป็นอัปปนาสมาธิ

    พอตั้งได้สามฐานจิตท่านจะเป็นปฐมฌาณ

    พอละความสนใจในการกระทบการกระเพื่อมของลมหายใจ เอาจิตมาจับปีติและฐานของสติทั้งสามเอาไว้

    จิตท่านจะเป็นฌาณ2

    พอละอาการเสียดแทงของปีติ จิตท่านจะเป็นฌาณ3

    พอละอาการเสียดแทงของสุข จิตท่านจะเป็นฌาณ4

    ขอให้ทุกๆท่านลองพิสูจน์ ในสิ่งที่ผมได้อธิบายไป

    หากติดขัดประการใดขอให้ถามกลับเข้ามาได้ในทันทีเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  20. Tanunchapat

    Tanunchapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +3,191
    โมทนา สาธุค่ะ

    อ.คะ นับถือ ค่ะ นับถือ ขนาดดิฉันอ่านที่ อ.ตอบคำถามแต่ละโพส ยังตาแทบจะหลุด เยอะขนาดนี้ อ.พิมพ์เมื่อยไหมคะนี่ :p โมทนาในธรรมทานด้วยค่ะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...