รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขออนุโมทนาครับ สำหรับอานาปาณสติ แต่ผมยังมีข้อสงสัยครับ คือ การเอาสติไปจดจ่อตรงจมูกนี่ทำยังไงครับ หมายถึงการเอาความสนใจไปจับอยู่ตรงที่จมูก แล้วลมที่เข้าออกเราก็ไม่ต้องไปตามรู้ใช่หรือปล่าวครับ ลมจะเข้าจะออกก็แค่รู้แต่ไม่ต้องตามลมว่าเข้าไปถึงไหน หรือเวลาออกออกจากตรงไหนแบบนี้หรือปล่าวครับ
    ตามที่ผมทำ ผมจะตามรู้ลมว่าเข้าไปสุดที่ไหน เวลาออกเริ่มจากตรงไหน
     
  2. tunwarat_s

    tunwarat_s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +141
    ขอสอบถามเพื่อความเจริญขึ้นในการปฎิบัติค่ะ คือ ไม่เข้าใจว่าการพิจารณาในการวิปัสนา นั้นทำอย่างไร การพิจารณาว่าเหตุการที่เกิดกับเรานั้นดีหรือไม่ดี เป็นทุกข์หรือเปล่า อย่างนี้ เป็นการพิจารณาหรือเปล่าค่ะ คือเห็นพูดๆ กันว่า หลังจากจิตเป็นสมาธิแล้วก็ให้เริ่มพิจารณา แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่าพิจารณาอะไรกันบ้าง อย่างไร ง่ะค่ะ
     
  3. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177
    ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ

    1. ปกตินั่งสมาธิโดยกำหนดพองหนอ ยุบหนอที่ท้องตามหลักหลวงพ่อจรัญค่ะ ทำมาได้ เดือนหนึ่งแล้วรู้สึกว่าลมหายใจละเอียดเร็วขึ้น เข้าสมาธิเร็วขึ้น คือนั่งได้ประมาณ 5 นาทีก็เริ่มไม่รู้สึกว่าท้องพองขึ้นหรือยุบลง มันจับความรู้สึกไม่ได้ ไม่รู้ว่าท้องพองหรือยุบ ก็เลยกำหนดรู้หนอไปเรื่อย ๆ แทน และกำหนดตามสภาวะที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่มีปิติใดๆ เกิดขึ้น (เหมือนข้ามช่วงนั้นไปแล้ว)

    2. พอนั่งไปเรื่อย ๆ นิ่ง ๆ เพลิน ๆ ก็มักมีคำต่าง ๆ ผุดขึ้นมาในหัว เหมือนมีคำลอยมา เหมือนจะให้เรากำหนดตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีตัวตน คือมันเป็นช่วงที่อยากจะกำหนดคำพวกนี้ขึ้นมาซะเฉย ๆ อารมณ์ตอนนี้ไม่มีปิติ อยู่นิ่ง ๆ แต่ยังคงได้ยินเสียงรอบข้าง แต่ไม่สนใจในเสียงนั้น ยังคงจดจ่ออยู่กับสมาธิ

    3. และช่วงสุดท้ายที่มีความรู้สึกได้ว่าเป็นช่วงที่สงบที่สุด ร่มเย็น เหมือนจิตรรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ก็นั่งดูนิ่งๆ แล้วเหมือนกับว่าเป็นช่วงที่ได้ชาร์จแบตเตอร์รี่ เหมือนเป็นช่วงที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แต่ในใจยังคงกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา

    4. เป็นไปได้ไหมที่จะมีครูบาอาจารย์ (พระที่เราเคารพ นับถือ) มาเมตตาสอนเราในแต่ละช่วงที่เราปฏิบัติอยู่ อาจจะมากกว่า 1 ท่าน

    ขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยนะคะ
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    อันนี้คำสอนของหลวงพ่อครับ เอามายืนยันว่าผมไม่ได้พูดเลื่อนลอย หรือนั่งเทียนเอา

    เรื่องลมหายใจนี่ต้องระมัดระวัง อย่าไปบังคับให้มันเร็ว
    ให้มันช้า ให้มันหนักให้มันเบา เพื่อให้เกิดความรู้สึกไม่ได้ ต้องปล่อยไปตามปกติของมัน แต่ว่าเอา
    สติเข้าไปจับ วิธีจับถ้ารู้ลมผ่าน แค่จมูก หายใจเข้าหรือหายใจออกรู้แค่ลมจมูก แต่มันรู้ทรงตัวอยู่
    ได้ ๒ นาที ๓ นาที ๕ นาที ก็ตาม อย่างนี้เรียกขณิกสมาธิ เป็นสมาธิเล็กน้อย ไม่ใช่เครื่องวัด
    เมื่อ ลมหายใจเข้ารู้กระทบถึงอกด้วย ทั้งเข้าทั้งออก เข้ากระทบจมูกรู้ กระทบอกข้างในรู้ แต่ศูนย์
    ไม่รู้ เวลาออกกระทบหน้าอกรู้ กระทบจมูกหรือริมฝีปากรู้ มันได้แค่ ๒ จุด ใน ๓ จุดที่ท่านกำหนดไว้
    เมื่อทรงได้ ๒ จุดแบบนี้แสดงว่าท่านเข้าถึงอุปจารสมาธิ นี่เป็นเรื่องละเอียดในอานาปาน์ถ้าหากว่า
    ท่านกำหนดรู้ความสัมผัสของลมที่ กระทบจมูก หน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออก
    กระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบจมูกหรือริมฝีปาก ได้ทั้ง ๓ ฐาน อย่างนี้ได้ชื่อว่าจิตของท่านเข้าสู่
    ปฐมฌาน นี่จัดว่าเป็นฌานนี่ อย่างหนึ่งที่เราจะสังเกต เพราะว่าการเจริญพระกรรมฐานและการ
    เจริญสมาธิในด้านโลกียสมาธิ

    ถือว่าตรงกันนะครับ
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึง คุณชินนา ครับ

    พอดีกับที่ผมกำลังคิดเลยครับ
    ผมกำลังจะบอกท่านเจ้าของกระทู้ (ขออนุญาตเรียกว่า อาจารย์นะครับ)อยู่พอดี ว่าผมทำตามแบบที่อาจารจ์แนะนำผมมายังไม่ได้ เนื่องจากยังไม่ทรงฌาณในอานาปานุสติ

    ถูกแล้วครับ ผมก็คิดแล้วว่าคงทำกันไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก จึงควรจะจี้เรื่องอาณาปานสติให้ได้ทุกคนก่อนเป็นอันดับแรกครับ

    ว่าจะบอกว่าขอให้ผมฝึกทำในอานาปาฯ ให้ชำนาญก่อนได้ไหม แต่ก็เกรงว่าอาจารย์จะตำหนิเอาว่ายังทำไม่เท่าไหร่ก็จะเก่งเกิน

    ถ้าอาจารย์บอกมาอย่างนี้ ผมก็ขอรบกวนบอกและถามคำถามแรกเลยนะครับ

    - คือผมมีปัญหาว่าเวลาผมกำหนดจิตจับสามฐานแล้วเกิดอาการมึนหัว เครียด เกร็ง จิตไม่สบาย น่าจะเพ่งที่ฐานเกินไปหนะครับ แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้

    (แต่ก็มีผลเกิดขึ้นเหมือนกัน ตรงที่ว่ามีอาการเย็นในโพรงตั้งแต่คอจนถึงท้อง)

    ถึงจะเย็น แต่ก็ยังมีความหนัก อารมณ์เป็นแท่งๆทึบๆอยู่ ถูกไหมครับ

    คุณข้ามขั้นไปครับ

    อย่าเริ่มมาจับทีเดียวสามฐาน โอกาสรอดมีน้อยครับ จะเครียดตายซะก่อน

    เพราะอะไร เพราะไม่ได้ปรับพื้นฐานจิตมาเป็นลำดับ

    เหตุใดท่านจึงให้เพิ่มทีละ1ฐาน ก็เพื่อให้จิตค่อยๆละเอียดขึ้นเป็นลำดับครับ

    อุปมาเหมือน คนเป็นไข้ หมายถึงคนที่จิตใจเร่าร้อน หากไปอาบน้ำเย็น ย่อมเป็นไข้หนักกว่าเดิม คือข้ามขั้นจับของสูงไป

    เราก็เช่นกัน ต้องค่อยๆปรับสภาวะขึ้นไป

    สามฐาน ไม่ได้ ให้เอา1ฐาน พอเราทรง1ฐานจนถึงจุดอิ่มตัว

    เราจะรู้เอง มันอิ่มตัวคือ มันไม่สงบ มันไม่เย็นไปกว่านี้แล้ว มันตันได้เท่านี้

    เมื่อนั้นให้เราเพิ่มฐานที่สอง พอฐานที่สองสุข เย็น จนไม่เพิ่มมากกว่านี้แล้ว
    ให้เพิ่มฐานที่สาม พอสามฐานสุขเย็น เต็มที่ จึงค่อยขยับไปตัดวิตกวิจาร

    แบบนี้จึงจะมีชีวิตรอดได้ครับ

    จำไว้นะครับ เทคนิคคือ ทำให้ถึงจุดอิ่มตัว ของสิ่งที่เราทำอยู่ก่อน เมื่ออิ่มตัวแล้วจึงค่อยขยับต่อไป

    เหมือนเราต้องฝึก บวกลบเลขให้เป้นก่อน จึงจะค่อยคูณค่อยหาร

    พอคูณหารเป็น จึงค่อยถอดรูท ค่อยยกกำลัง

    ถ้าเริ่มมาเราไม่เคยเรียนบวกลบเลข แต่ให้เราฝึกยกกำลังเลย เราจะทำได้ไหมครับ

    ถ้าไม่เก่งจริงผมว่าทำไม่ได้ครับ ต้องเป็นลำดับขั้นไปครับ

    ผมเลยใช้การกำหนดลมแบบสติปัฏฐาน ที่หลวงพ่อฤาษีสอนไว้ว่า การฝึกอานาปานุสติแบบสติปัฏฐานสามารถทำให้ถึงฌาณ ๔ ได้ (ผมจำไม่ได้ว่าอยู่ที่บอร์ดไหน) ผมก็เลยใช้วิธีนี้ ปรากฏว่าดีขึ้นกว่าเก่าครับ ง่ายดีด้วยครับ อาการเย็นๆ ของลมกระทบตั้งแต่จมูก คอ อก ถึงท้อง ก็ยังปรากฏได้ถ้าเอาจิตสังเกต แต่ผมจะไม่จับความเย็นมากนัก เพียงแต่เอาจิตตั้งไว้ที่ปลายจมูกอย่างเดียว

    อันนี้คือ1ฐานนะครับ ง่ายกว่าแน่ละครับ เพราะเราไม่ควรจะจับสามฐานตั้งแต่ต้น

    ทำไปเลยแบบนี้แหละครับดีแล้วครับ แต่ว่าจิตย่อมไปได้ไกลถึงแค่จุดๆหนึ่งเท่านั้น

    เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว เราก็ต้องกำหนดฐานที่สองเพิ่ม ไม่อย่างนั้นจิตก็จะตันอยู่แค่นั้นครับไม่ไปไหนต่อ

    ถาม - ผมจะใช้แบบวิธีฝึกนี้แทนได้ไหมครับ แล้วผลจะทำให้ฝึกในกีฬาสมาธิอย่างอื่นได้เสมือนฝึกแบบสามฐานไหมครับ

    ขอคำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่อาจารย์คิดว่ามีผลโดยตรงต่อผมด้วยครับ

    ขอบพระคุณมากๆ ครับ

    โมทนาสาธุในความดีของท่านด้วยครับ<!-- google_ad_section_end -->

    จำไว้นะครับ เวลาฝึกคือเพิ่มทีละ1ฐานนะครับ

    อย่าทีเดียวสามฐาน รับรองไม่ไปไหนครับ เพราะจิตยังไม่ชิน จับเยอะไปจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน และเครียดมากกว่าที่จะสงบ

    เมื่อคุณได้1ฐานแล้ว พอถึงจุดหนึ่งคุณจะรู้เอง เมื่อนั้นให้เพิ่มฐานที่สองนะครับ ฝากเอาไว้แค่นี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Nickaz ครับ

    วิธีที่จะเข้าฌาณนั้นๆเลยนะครับ

    คือจะต้องจำอารมณ์ จำองค์ฌาณของฌาณนั้นๆให้ได้ครับ

    ผมจะอุปมานะครับ

    ฌาณ2 มีรสหวานมาก ฌาณ3มีรสหวาน ฌาณ4 มีรสจืดๆ

    รสหวานที่ว่าคือ ความเย็น คือปีติ คือสุข ที่เกิดขึ้น

    เราจะต้องจดจำความหวานแต่ละขั้นให้ได้

    และกำหนดจิตถึงความหวานในระดับนั้นๆ

    จิตก็จะเข้าเป็นฌาณนั้นโดยทันทีครับ

    แต่ในความเป็นจริง มันก็จะค่อยๆไล่จาก 1 2 3 4 แต่มันจะเร็วมาก จะเร็วกว่าจากเดิมที่เคยทำได้เข้าไปอีก

    ความเร็วมันจะเพิ่มขึ้นอีก

    เพราะก่อนหน้านี้ เราวิ่งไป หยุดทีละสถานี แต่วิ่งต่ออย่างรวดเร็ว

    แต่อันนี้เราตั้งเป้าเอาไว้ที่สถานีปลายทาง แล้ววิ่งไปเลย มันจะเร็วกว่าครับ

    กับเรื่องหลับแล้วรู้สึกว่าตื่นนั้น

    มันมีสองแบบครับ

    1. ฟุ้งซ่าน อารมณ์หนัก ตั้งใจมาก จนนอนไม่หลับ

    2. จิตแยกจากกาย ปล่อยให้กายหลับ แต่จิตสว่างโพลง ตื่นอยู่ทั้งคืน

    หรือท่านที่ได้มโนมยิทเต็มกำลัง จะสามารถทิ้งกายเอาไว้ แล้วออกไปเที่ยวได้ตามต้องการ

    แบบที่สองนี้ควรจะฝึกให้ได้ครับ เพราะจะทำให้สติมีความเต็มรอบมากยิ่งขึ้น

    ผมคิดว่า หลายๆท่านคงจะได้เคยสัมผัสแบบที่สองมาบ้าง

    ทีนี้เราจะต้องฝึกให้ควบคุมได้ครับ

    ก็คือฝึกทรงสติอยู่สม่ำเสมอ ทั้งในอาณาปานสติ กรรมฐานกองอื่นๆ และสติปัฏฐาน4

    พอท่านจะนอน ท่านก็พิจารณาทิ้งกาย วางร่างกายเอาไว้บนโลก เหมือนมันเป็นตุ๊กตาตัวนึง

    ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราจริงๆคือจิต

    แล้วก็ตั้งลมสามฐาน เคลื่อนจิตเข้าฌาณ ให้ละเอียดเข้าๆ จนสุดในอารมณ์ที่ท่านทำได้

    จากนั้นให้ประคองสติเอาไว้ที่ฌาณนั้นๆตลอดทั้งคืน

    หากจิตของท่านสามารถประคองสติเอาไว้ได้ กายท่านจะหลับ แต่จิตท่านจะตื่นอยู่ทั้งคืน

    เมื่อตื่นนอน จะรู้สึกสดชื่น มีพลัง ยิ่งกว่าคนที่นอน โดยกายหลับ จิตหลับ หลายเท่านัก
     
  7. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ครับ

    คำแนะนำตรงใจดีจริงๆ ครับ ผมจะค่อยๆ ปรับไป ไม่รีบร้อนครับ (เสียเวลานานมากกับเรื่องสมาธินี่)
     
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    สวัสดีครับอาจารย์ชัช เนื่องจากอาจารย์บอกว่าจะเน้นที่อานาปาณสติก่อน ผมจึงขอเรียนถามครับ จากเดิมที่เคยเล่าถึงการปฏิบัติของผมไปแล้ว ผมขอเล่าใหม่นะครับ คือ แม้ว่าผมจะเน้นไปที่บริกรรมพุทโธเป็นหลัก แต่เมื่อจิตนิ่งดีแล้ว ก็จะหันมาดูลมเอง ในจุดนี้ผมไม่ได้เน้นจับลม 3 ฐาน แต่ผมจับลมยาวเป็นสายเลยครับ เพราะตอนแรกได้ศึกษาสติปัฐฐาน 4 ลมเข้าก็รู้ ออกก็รู้ เข้าสั้น ออกสั้นก็รู้ เข้ายาว ออกยาวก็รู้ เคยฝึกแบบนี้มานาน และตอนที่ฝึกดูลมใหม่ๆ ผมตั้งใจไว้ว่า เอาแค่รู้ว่ามีลมเข้า และลมออกก็พอ ยังไม่ได้ถึงขั้นที่จะไปสนใจว่าสั้นหรือยาวครับ พอมาถึงตอนนี้ก็เลยได้แค่รู้ว่ามีลมเข้า และลมออก เอาความรู้สึกจับลมตลอดสาย โดยไม่ได้เน้นไว้ที่ฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งผลการปฏิบัติก็ได้มั่งไม่ได้มั่งครับ

    ช่วงหลังๆมาผมไม่ค่อยได้บริกรรมพุทโธเท่าไหร่นะครับ ส่วนมากจะจับลมหายใจ นึกได้ตอนไหนก็ดูลมไปเรื่อยๆ ถ้าเผลอพอนึกได้ก็ดูใหม่ พอหลังจากอาจารย์แนะนำให้ทรงภาพพระไว้ ตอนนี้ก็พยายามผสานภาพพระเข้ากับลมหายใจอยู่ครับ

    อาการที่ทดลองจับลมหายใจไว้ที่ปลายจมูก รู้สึกตึงๆบริเวณโพรงจมูกครับ บางทีก็รู้สึกโล่งๆ และหายใจได้สะดวกขึ้น บางทีก็รู้สึกเหมือนศรีษะตึงๆ หมุนๆ อาการพวกนี้เป็นช่วงที่ผมปฏิบัติในชีวิตประจำวันครับ ส่วนการนั่งสมาธิยังไม่ได้ทำ

    เคยดูลมแล้วได้ผล คือจิตนิ่งเป็นสมาธิครับ แต่ก็จำอารมณ์ได้ลางๆ ไม่ชัดเจน รู้สึกลมหายใจโล่งตลอดสาย กายหายใจ แต่เราเป็นผู้ดู แต่จำได้อย่างหนึ่งคือ เวลาเราจ้องมองดูลม จะไม่เคยได้ผล ต้องนึงถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเรื่อยๆ ส่วนลมก็ระลึกรู้บ้างไม่รู้บ้าง พอเผลอหน่อยเดียว จิตถึงนิ่งเป็นสมาธิได้ครับ<!-- google_ad_section_end -->

    แหะๆ สวัสดีครับคุณ NICKAZ ผมเองก็ได้ติดตามผลการปฏิบัติของคุณมานานเหมือนกันครับ อ่านไปแล้วพอมาเทียบกับตัวเอง ก็รู้สึกอายครับ อิอิ เลยได้แค่ติดตามอ่านไว้เป็นความรู้ครับ

    ในเรื่องการนอนภาวนา (ผมหากินทางการนอนครับ) ก็นอนภาวนาไปเรื่อยๆครับ บางทีก็บริกรรมพุทโธ บางทีก็สวดมนต์ บางทีก็จับลมหายใจ ผลการปฏิบัติก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างครับ หมายถึงจิตเป็นสมาธินะครับ แต่ถ้าหมายถึงการหลับ นั่นได้ผลดีมากครับหลับไม่รู้เรื่องไปเลย จากเดิมที่เคยเป็นโรคเครียด คิดมาก นอนไม่หลับ ถึงทุกวันนี้หลับง่ายมาก บางทีนึกครึ้มๆอยากคิดอะไรเล่นๆ คิดได้แป๊บเดียวก็หลับ เซ็งเลย
    ส่วนอาการที่ผมเล่าว่าเวลานอนภาวนาบางทีก็นอนไม่หลับ เพราะจิตมันตื่น เอาไงดีหล่ะ กลัวจะมั่ว เอางี้ก็แล้วกันผมเล่าแบบลูกทุ่งนะครับ คือพอภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้สึกได้ถึงลมหายใจยาวตลอดสาย เข้าก็รู้ออกก็รู้ อาการเหมือนเข้าฌานประมาณนี้ครับ บางทีลมก็หาย เหลือแต่ความรู้สึก พอเคลิ้มๆเหมือนจะหลับ ก็จะรู้ตัวตลอด เลยสับสนเล็กน้อยครับว่า ทำไมมันไม่ยอมหลับละเนี่ย เพราะส่วนมากผมจะหลับไม่รู้ตัว แต่ทีนี้พอเคลิ้มๆรู้ตัวตลอด เลยคิดว่าตัวเองนอนไม่หลับครับ กลัวว่าจะตื่นสาย ต้องถอนสมาธิออก พลิกตัวไปมา (ผมนอนหงายภาวนา มือวางข้างลำตัว ประมาณว่าทำท่านอนเตรียมตัวตายอ่ะครับ) อาการก็ประมาณนี้ครับคุณ NICKAZ ถ้ามีอะไรจะแนะนำ ผมยินดีนะครับ

    ขออนุโมทนาครับ สำหรับอานาปาณสติ แต่ผมยังมีข้อสงสัยครับ คือ การเอาสติไปจดจ่อตรงจมูกนี่ทำยังไงครับ หมายถึงการเอาความสนใจไปจับอยู่ตรงที่จมูก แล้วลมที่เข้าออกเราก็ไม่ต้องไปตามรู้ใช่หรือปล่าวครับ ลมจะเข้าจะออกก็แค่รู้แต่ไม่ต้องตามลมว่าเข้าไปถึงไหน หรือเวลาออกออกจากตรงไหนแบบนี้หรือปล่าวครับ
    ตามที่ผมทำ ผมจะตามรู้ลมว่าเข้าไปสุดที่ไหน เวลาออกเริ่มจากตรงไหน

    <!-- google_ad_section_end -->สติปัฏฐาน ในตอนเริ่มต้น ก็มีสติกำหนดรู้ลมหายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ อย่างที่คุณทำถูกแล้วครับ

    แต่ทีนี้สติปัฏฐานก็มีลำดับขั้น

    ในขั้นต่อมา ต้องกำหนดตัวรู้ กำหนดสติเอาไว้ที่ ฐานทั้งสามครับ

    <!-- google_ad_section_end -->เอาสติไปจดจ่อทำยังไง ผมขอใช้คำว่า รู้ ครับ

    รู้มันอยู่ตรงจมูกนั่นแหละครับ แล้วก็ อก แล้วก็ท้อง

    ลมที่เข้าออกไม่ต้องเอาจิตไปตามครับ

    เพราะจะทำให้จิตเคลื่อน ไหลเวียน ตามลมหายใจ จะส่งผลให้จิตไม่ตั้งมั่น

    ให้เอาจิตเอาไว้ที่ฐาน เป็นสำคัญ

    เอาจิตเอาไว้ที่ฐานตลอด เวลาลมมากระทบก็รู้ ถึงการกระทบ ทั้งเข้าและออก

    ของคุณ ติดอยู่ที่ ไม่รุว่าทำอย่างไรถึงจะไปจนสุดอารมณ์ จึงทำไม่สุดเสียที

    พอทำไม่สุดอารมณ์ มันก็เลยขึ้นๆลงๆอยู่อย่างนี้

    สุดอารมณ์ที่ควรได้คือ ฌาณ4 หยาบ ในเบื้องต้น

    ต้องตั้งสติที่ฐานทั้งสามนะครับ

    จับลมตลอดสาย มันไปได้แค่ถึงจุดหนึ่งไม่ไกลมาก จะไปต่อไมได้

    ถ้าจะไปต่อต้องตั้งลมที่ฐานทั้งสาม ค่อยๆฝึกไปทีละฐานก็ได้ครับ

    ผมจะอธิบายเหตุผลให้ว่า ทำไมจึงไม่ควรใช้จิตจับที่ลมหายใจ

    เพราะว่าลมหายใจย่อมบางเบาไปตามความสงบของจิต

    พอจิตสงบขึ้นๆ ลมหายใจจะบางเบาลง

    นั่นเท่ากับสติของเราที่จับลมหายใจก็จะเบาบางตามไปด้วย

    พอลมหายใจหยุดไป สติที่จับลมก็จะบางจนขาด

    ทำให้ตกภวังค์ หรือคล้ายกับหลับไป

    หากโชคดี วันดีคืนดี เราประคองสติเอาไว้ได้ จิตก็จะดิ่งนิ่งสงบ

    แต่ถึงทำได้ ก็จะขาดความคล่องตัวในการเข้าฌาณออกฌาณอยู่ดี

    มันจะไม่ใช่เรื่องของวสีหรือความคล่อง มันจะกลายเป็นเรื่องของวันดีคืนดีไปแทน

    การทำสมาธินั้น อย่าให้มันเป็นเรื่องของวันดีคืนดี กำหนดเอาแน่นอนไม่ได้

    เราต้องให้มันเป้นเรื่องที่คตวบคุมได้ นึกจะเข้าก้เข้าได้ นึกจะออกก็ออกได้

    ร่างกายจะแย่ขนาดไหนก็ยังหลบเข้าฌาณตัดอารมณ์ทางกายได้ แบบนี้จึงจะดี

    นึกจะเข้า นึกจะออกสมาธิ นึกจะทรงก็ทรงได้ดั่งใจ นี่เป็นวสี

    ถ้าเรานึกจะเข้านึกจะออกนี่ทำไม่ได้ แปลว่าไม่ใช่วสี มันเป็นเรื่องของวันดีคืนดีมันเกิดได้ขึ้นมา วันไหนไม่ดีมันก็ไม่ได้

    ถ้าเราจะฝึกเอาให้ได้วสีก็ต้องตั้งฐาน ลมสามฐาน กำหนดองค์เณ พิจารณาองค์ฌาณ จนเข้าใจให้ได้

    ทำได้ไม่ยากนัก ใช้เวลาฝึกเท่ากัน ถ้ารู้วิธีก็ไปได้ ถ้าเดินผิด หรือเดินไม่สุด เดินแค่ครึ่งทาง ก็ทำไม่ได้

    เดินแล้วต้องเดินให้สุดก่อน จึงค่อยเลิก ไปพัก หรือเปลี่ยนสถานที่เดิน

    คือทำให้มันสุดเป็นฌาณ4 ให้มันเป็นจริงๆ เกิดวสีจริงๆ แล้วค่อยคิดจะเปลี่ยนกองกรรมฐาน

    ถ้าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไปไหนไม่ได้

    อาณาปานสติเป็นฐานของทุกอย่าง

    เพราะพอตั้งลมสามฐาน ตั้งองค์ฌาณ เลื่อนองค์ฌาณเป็นแล้ว

    กรรมฐานทุกกองจะทรงตัวหมด

    พอเป็นจริงๆแล้วครั้งนึง ถึงไม่ทำซักเดือน ก็ยังกลับมาทำได้ในทันที แต่อาจจะเฝือไปบ้าง

    แต่ถ้าทำยังไม่สุดอารมณ์ ยังตั้งตัวรู้ในสามฐานไม่ได้ ยังพิจารณาอารมณ์ขององค์ฌาณไม่ได้

    แค่เราไม่ทำวันเดียว ก็เข้าอีกทีไม่ถูกแล้ว จริงไหมครับ

    ดังนั้นลองทำ 1 ฐาน 2 ฐาน 3 ฐาน ดูก่อนครับ พอได้แล้วค่อยว่ากันใหม่

    ติดที่ฐานไหนไม่ได้ ให้ถามทันทีครับ
     
  9. KOKOKING_<<0>>

    KOKOKING_<<0>> เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    813
    ค่าพลัง:
    +1,373
    อนุโมทนาในธรรมทานของท่าน อ.ชัชมากครับ จี้ตรงประเด็น เก็บรายละเอียดได้ดี อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ
     
  10. tunwarat_s

    tunwarat_s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +141
    ขอเรียนถามเพื่อความเจริญขึ้นในการปฏิบัติค่ะ
    1. ปกติในช่วงว่างจะพยายามตั้งสติระลึกรู้ลมที่ผ่านเข้าออกทางช่องจมูก (ลืมตา) แล้วจะรู้สึกเย็นวาบๆ บริเวณหน้าผากค่ะ พอผ่านไปซักพัก ก็จะตึงๆ ตื้นๆ บริเวณผิวหน้าและรู้สึกเหมือนมีอะไรมีฉุดดึงให้ต่ำลงไป หลังจากนั้นรู้สึกเหมือนมีอะไรบ้างอย่างวูบวาบและเคลื่อนไปมาบริเวณผิวหน้าง่ะค่ะ (เหมือนบางอย่างพยายามที่จะดันตัวเราออกไปนะคะ) ไม่ทราบว่าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะตั้งใจมากเกินไปหรือเปล่าค่ะ
    2. ตอนนั่งสมาธิ (หลับตา) และระลึกรู้ลมหายใจแล้ว มีความรู้สึกว่าตอนหายใจออกจะมีความรู้สึกผ่อนคลายและสบายเบาตัว เบาใจ มากเลยค่ะ และจะรู้สึกเบาตัว เบาใจ มากขึ้นไปอีกในขณะที่หายใจออกจนสุดแล้วลมหยุด ก็จะเกิดอาการโล่งโปร่งสบายมากๆ เลยค่ะ และก็จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระทุ้งผิวหน้าจากด้านภายในร่างกายออกมาค่ะ พอถึงตรงนี้แล้วก็จะต้องรู้สึกอึดอัด เพราะว่าลมได้หยุดไปนาน จนต้องทะลึ่งสูดลมหายใจเข้าค่ะ

    กรูณาให้คำชี้แนะด้วยนะคะ เพราะพึ่งเริ่มฝึกมา 2-3 เดือน เลยไม่รู้ว่าที่ฝึกมานี้ถูกหรือผิด หากผิดแล้วจะแก้ไขได้อย่างไรค่ะ
     
  11. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    แหะๆ สวัสดีครับคุณ NICKAZ ผมเองก็ได้ติดตามผลการปฏิบัติของคุณมานานเหมือนกันครับ อ่านไปแล้วพอมาเทียบกับตัวเอง ก็รู้สึกอายครับ อิอิ เลยได้แค่ติดตามอ่านไว้เป็นความรู้ครับ

    ขอบคุณ คุณ suthipongnuy ที่แวะมาคุยกันนะครับ เรื่องการปฏิบัติอย่าไปเปรียบเทียบกับใครเลยครับ จริตของใครก็ของคนนั้น หลวงพ่อฤาษีท่านกล่าวอยู่เสมอว่าให้มุ่งฝึกความดีกับตัวเองแค่นั้นก็พอ ไม่ต้องสนใจผู้อื่น


    อาการก็ประมาณนี้ครับคุณ NICKAZ ถ้ามีอะไรจะแนะนำ ผมยินดีนะครับ

    แหะๆ ข้อนี้มิบังอาจครับ ผมเป็นแค่ผู้ฝึกปฏิบัติขั้นต้นเหมือนกับหลายๆท่านในนี้เท่านั้นเอง ยังไม่มีความดี ยังไม่มีความรู้ที่จะไปแนะนำท่านผู้ใดหรอกครับ เว้นแต่มาคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ว่าไปอย่าง


    ถึงคุณ Xorce ครับ

    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้อธิบายให้ผู้มีปัญญาทึบอย่างผมได้เข้าใจนะครับ ตอนนี้ท่านที่มีข้อสงสัย ที่เคยถามกับผมทาง pm ถ้าท่านผ่านมา คงจะได้รับทราบคำตอบที่ผมติดท่านอยู่ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ
     
  12. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177

    พอดีได้มาอ่านกระทู้นี้ ก็คิดว่าคล้ายกับตัวเอง ปกติจะภาวนายุบหนอ พองหนอเหมือนกันค่ะ และจะได้ระดับอย่างที่อาจารย์บอกเลยค่ะ

    ถ้าจับยุบหนอควบลมหายใจนะครับ
    ระดับจะเป็นอย่างนี้
    -จับลมหายใจคู่กับคำภาวนา
    -ทิ้งคำภาวนาเหลือแต่ลมหายใจ
    -ลมหายใจช้าลงๆ
    -ลมหายใจหยุดไป จับความความเบาสบาย ความชุ่มเย็นของจิตแทน

    แต่จะติดตรงที่ว่าแบบที่ฝึกมาจะให้กำหนดคำภาวนาอยู่ตลอดเวลาไม่ให้หลุด แต่พอปฏิบัติจริงพอถึงขั้นที่อยากจะทิ้งคำภาวนาและเหลือแต่ลมหายใจนั้น ก็เลยลังเลว่าจะทิ้งคำภาวนาดีหรือไม่ แต่ตามความรู้สึกในช่วงนั้นไม่อยากจะภาวนาอะไรแล้ว อยากอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ รู้สึกว่าจิตรวมกันเป็นหนึ่งเดียวจริง ๆ และในระหว่างที่หลับตานั้น ก็ไม่มืดซะทีเดียว มันเหมือนว่าเรากำลังลืมตาอยู่ในความมืด คือในความมืดมันมีความใส สว่างอยู่ในนั้น ไม่มีแสงสีอะไรให้เห็น แต่จะมีคำต่าง ๆ ผุดขึ้นมาแทนให้พิจารณา เช่น ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ไม่ทราบว่าอารมณ์อย่างนี้นี่อยู่ในระดับไหน และทำถูกไหมคะ รบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
     
  13. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขออนูโมทนา และขอบพระคุณอาจารย์ชัชครับ

    ตามที่อาจารย์อธิบายมานั้นถูกต้องทั้งหมดครับ

    คงขอฝึกจับลมฐานที่1 ให้ได้ก่อน ถ้าติดขัดตรงไหน

    ผมขออนุญาติรบกวนอาจารย์นะครับ

    :cool:
     
  14. คิดอยู่นาน

    คิดอยู่นาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +129
    พอเริ่มจับภาพพระพุทธรูปภาวนาหายไปเอง แล้วลมหายใจช้าลงจนเกือบหยุด
    รู้สึกถึงร่างมันกระเพื่อมเล็กน้อยตามแรงเต้นของหัวใจ ร่างกายรู้สึกไม่ใช่ร่างเรา
    แบบนี้เริ่มถึงฌาณรึยังครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ ฝึกเองแบบลองผิดลองถูกครับ
     
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ tunwarat_s ครับ

    ขอสอบถามเพื่อความเจริญขึ้นในการปฎิบัติค่ะ คือ ไม่เข้าใจว่าการพิจารณาในการวิปัสนา นั้นทำอย่างไร การพิจารณาว่าเหตุการที่เกิดกับเรานั้นดีหรือไม่ดี เป็นทุกข์หรือเปล่า อย่างนี้ เป็นการพิจารณาหรือเปล่าค่ะ คือเห็นพูดๆ กันว่า หลังจากจิตเป็นสมาธิแล้วก็ให้เริ่มพิจารณา แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่าพิจารณาอะไรกันบ้าง อย่างไร ง่ะค่ะ

    วิปัสสนาให้รอไปก่อนนะครับ ใจเย็นครับ

    เพราะถ้าสมถะยังไม่แข็ง แล้วไปจับวิปัสสนา จะเกิดผลน้อยครับ

    ขอเรียนถามเพื่อความเจริญขึ้นในการปฏิบัติค่ะ
    1. ปกติในช่วงว่างจะพยายามตั้งสติระลึกรู้ลมที่ผ่านเข้าออกทางช่องจมูก (ลืมตา) แล้วจะรู้สึกเย็นวาบๆ บริเวณหน้าผากค่ะ พอผ่านไปซักพัก ก็จะตึงๆ ตื้นๆ บริเวณผิวหน้าและรู้สึกเหมือนมีอะไรมีฉุดดึงให้ต่ำลงไป หลังจากนั้นรู้สึกเหมือนมีอะไรบ้างอย่างวูบวาบและเคลื่อนไปมาบริเวณผิวหน้าง่ะค่ะ (เหมือนบางอย่างพยายามที่จะดันตัวเราออกไปนะคะ) ไม่ทราบว่าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะตั้งใจมากเกินไปหรือเปล่าค่ะ
    2. ตอนนั่งสมาธิ (หลับตา) และระลึกรู้ลมหายใจแล้ว มีความรู้สึกว่าตอนหายใจออกจะมีความรู้สึกผ่อนคลายและสบายเบาตัว เบาใจ มากเลยค่ะ และจะรู้สึกเบาตัว เบาใจ มากขึ้นไปอีกในขณะที่หายใจออกจนสุดแล้วลมหยุด ก็จะเกิดอาการโล่งโปร่งสบายมากๆ เลยค่ะ และก็จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระทุ้งผิวหน้าจากด้านภายในร่างกายออกมาค่ะ พอถึงตรงนี้แล้วก็จะต้องรู้สึกอึดอัด เพราะว่าลมได้หยุดไปนาน จนต้องทะลึ่งสูดลมหายใจเข้าค่ะ

    กรูณาให้คำชี้แนะด้วยนะคะ เพราะพึ่งเริ่มฝึกมา 2-3 เดือน เลยไม่รู้ว่าที่ฝึกมานี้ถูกหรือผิด หากผิดแล้วจะแก้ไขได้อย่างไรค่ะ

    วิปัสสนานั้น คือ การใช้ปัญญา ควบคู่กับกำลังของสมาธิ ในการหาทุกข์ให้เจอ หาเหตุของทุกข์ให้เจอ และดับเหตุของทุกข์นั้นเสีย

    ทุกข์แรกที่ควรจะหาให้เจอ คือ ทุกอันเกิดจากนิวรณ์5

    นิวรณ์5 คือ เครื่องรบกวนจิตใจไม่ให้เป็นสมาธิ

    ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

    กามฉันทะ คือ อารมณ์จิตที่มีความเร่าร้อน จากการพึงพอใจในกามคุณทั้ง5ประการ

    อุปมาเหมือนยาพิษ ซึ่งมีรสหอมหวานน่ากิน แต่ย่อมเผาผลาญบุคคลที่ได้เสพกินจากภายใน

    พยาบาท คือ อารมณ์จิตที่เร่าร้อน ด้วยความโกรธ การผูกโกรธ จองเวรผู้อื่น

    อุปมา เหมือนเปลวไฟที่เผาผลาญทุกอย่าง แม้แต่ตัวเองจนมอดไหม้

    เพราะการจะใช้ไฟเผาผู้อื่นนั้น ตัวเราเองต้องกลายเป็นเชื้อแห่งกองไฟนั้นเสียก่อน

    ถีนมิทธะ คือ จิตที่หดหู่ เศร้าหมอง ท้อแท้ สิ้นหวัง อึดอัด เครียด กดดัน ง่วงหงาวหาวนอน

    อารมณ์จิตจะมีความมืดมน หมุ่นหมอง มองไม่เห็นแสงสว่าง แม้แต่นิดเดียว

    อุปมาเหมือน บุคคลผู้จมอยู่ในบ่อโคลนดูด ยิ่งดิ้นรนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดำดิ่งลึกลงไปเท่านั้น

    อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความวุ่นวายฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบ ความรำคาญใจ

    มีแต่ปัญหาชีวิตเข้ามาไม่มีที่สิ้นสุด นู่น นี่ นั่น ประเดประดังเข้ามา มีเรื่องให้คิดตลอด

    อุปมาเหมือน ยืนตากแดดกลางแจ้ง และถูกใช้แรงงาน จนจิตมีแต่ความเร่าร้อนเหนื่อยล้า

    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ จะมีผลจริงไม่มีผลจริง

    ความลังเลสงสัย จะเอาแบบนี้ดี หรือไม่เอาดี ถอยหน้าถอยหลังในการตัดสินใจของตัวเอง

    อุปมาเหมือน บุคคลผู้อยู่ตรงทางแยก หันซ้ายทีขวาที หรือเหยียบเรือสองแคม ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอาซ้ายหรือขวาดี

    คำถามของผมคือ ที่ผมกล่าวไปข้างต้น5ข้อ มีใครที่ไม่เคยเจอบ้าง ยกมือขึ้นบอกผมมาเลย

    ผมว่าไม่มีครับ เรารู้ไหมว่าเรามีทุกข์เนืองนิจ ที่เกิดขึ้นกับทั้งร่างกายและจิตใจของเรามันเยอะมันบ่อย มันมากขนาดไหน

    เราเครียดมากี่ครั้ง หงุดหงิดมากี่ครั้ง หดหู่มากี่ครั้ง โกรธมากี่ครั้ง ลุ่มหลงในกามคุณมากี่ครั้ง

    นับไม่ถ้วน คือเราทุกข์จากแค่นิวรณ์5 อย่างเดียวเนี่ย มานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว

    ดังนั้นกิจแรกของเราในการปฏิบัติสมาธิก็คือ

    หาทางดับทุกข์จากนิวรณ์5 ให้เจอ

    เรารู้หรือไม่ว่า เพียงจิตของเราไม่เป็นสมาธิ มันก็ทุกข์แล้ว

    คนที่จิตเป็นขณิกสมาธิจะพิจารณาได้ว่า จิตที่ไม่เป็นสมาธิมันทุกข์

    คนที่จิตเป็นอุปจารสมาธิ จะพิจารณาได้ว่า ขณิกสมาธิก็ยังทุกข์

    คนที่จิตเป็นฌาณ1 สงบจากนิวรณ์5 จะพิจารณาได้ว่า อุปจารสมาธิก็ยังทุกข์

    คนที่จิต เป็นฌาณ2 จะพิจารณาได้ว่า ฌาณ1ยังเป็นทุกข์

    คนที่จิต เป็นฌาณ3 จะพิจารณาได้ว่า ฌาณ2ยังเป็นทุกข์

    คนที่จิต เป็นฌาณ4 จะพิจารณาได้ว่า ฌาณ3ยังเป็นทุกข์

    ผู้ที่จิตเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ จะพิจารณาได้ว่า ฌาณ4ยังเป็นทุกข์

    ผู้ที่จิตเข้าถึง วิญญานัญจายตนะ จะพิจารณาได้ว่า อากาสานัญจายตนะ ยังเป็นทุกข์

    ผู้ที่จิตเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ จะพิจารณาได้ว่า วิญญานัญจายตนะ ยังเป็นทุกข์

    ผู้ที่จิตเข้าถึง เนวสัญญาณาสัญญายตนะ จะพิจารณาได้ว่า อากิญจัญญายตนะ ยังเป็นทุกข์

    ผู้ที่จิตเข้าถึงซึ่ง นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ จะพิจารณาได้ว่าเนวสัญญาณาสัญญายตนะ ก็ยังเป็นทุกข์

    เดี้ยวเอาไว้ผมจะมาอธิบายอีกทีครับ ว่า เป็นทุกข์อย่างไรบ้าง
    <!-- google_ad_section_end -->
    แต่ที่แน่นอน หากจิตของเราไม่เป็นสมาธิเมื่อไหร่ มันทุกข์แน่นอน

    ผู้ที่รู้แล้วว่า หากจิตของเราไม่เป็นสมาธิเราจะทุกข์ บุคคลผู้นั่นจะพยายามทรงสมาธิเอาไว้ตลอด24ชั่วโมง

    อย่างต่ำก็เป็นปฐมฌาณตลอด อย่างในกระทู้นี้ก็มีบางคนพอจะทำได้บ้างแล้ว

    อธิบายมายืดยาวยังไม่จบ เดี้ยวต่ออีกโพสต์เพื่อให้ไม่สับสนกัน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  16. มรนังสุขัง

    มรนังสุขัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +52
    ขอถามหน่อยครับ การเอาสติจับที่ฐาน 1 คือยังไงครับ ผมเข้าใจแบบนี้นะครับ
    คือการรับรู้ว่าลมเข้า-ลมออกใช่รึเปล่าครับ เวลาเอาสติจับแล้วรจะรู้สึกเย็นๆในโพรงจมูก แบบนี้ถูกต้องรึเปล่าครับ

    แล้วต้องถึงขนาดไหนครับ ผมถึงจะเริ่มฐานที่ 2 ต่อ

    ขออนุโมทนาสาธุ ที่ให้ความสว่าง
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ขอต่อเรื่องฌาณก่อนครับ

    การพิจารณาเห็นว่า ฌาณ หรือ สมาธิในขั้นก่อนหน้านี้

    มีความไม่เที่ยง นิวรณ์5ไม่เที่ยง องค์ของฌาณนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้คือ อนิจจัง

    เมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เพราะฌาณในขั้นต้น ยังมีอาการเสียดแทงทางจิตใจ

    หากจิตไปยึดเกาะย่อมเกิดความทุกข์ อันนี้คือ ทุกขัง

    และฌาณนี้มันก็ไม่มีความคงทนถาวร มีได้ ก็ย่อมเสื่อมสลายพังทลายไปได้เช่นกัน

    อันนี้ คือ อนัตตา

    เมื่อเราพิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในฌาณ1 เราย่อมเลื่อนจิตสู่ฌาณ2

    เมื่อเห็นไตรลักษณ์ ใน ฌาณ2 ก็ย่อมเลื่อนจิตสู่ฌาณ3 4เป็นลำดับขึ้นไปจนถึงพระนิพพาน

    เพราะฌาณ1นั้น เป็นรูปภูมิ หรือสภาวะของความเป็นรูปพรหม ชั้น 1 2 3

    การเห็นว่า แม้ความเป็น รูปพรหมก็ยังไม่เที่ยง ยังมีทุกข์ อาการเสียดแทง ยังเป็นอนัตตา ไม่ใช่สภาพที่มีความมั่นคงถาวร

    อันนี้คือวิปัสสนา เพราะเป็นการถอนความอาลัย ความยึดติด ในภพของความเป็นพรหม

    เมื่อไม่อาลัยในภพของความเป็นพรหม มีหรือจะอาลัยในภพของมนุษย์ และเทวดา

    เมื่อจิตปราศจากซึ่งราคะ ความอาลัย ในความเป็นมนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหมได้

    จิตของเราย่อมข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้

    ดังนั้นหากเราใช้ปัญญาของเราให้ดี เราก็สามารถใช้การเคลื่อนของสมาธิจาก

    ขณิก สู่อุปจาร สู่อัปปนา ฌาณ1 2 3 4 และอรูปฌาณทั้ง4 เป็นวิปัสสนาญาณได้

    ดังนั้นยิ่ง เราได้สมถะเข้มเท่าไหร่ จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ และถอดถอนกิเลสได้มากเท่านั้น

    นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไม บุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องมีฌาณ4 จึงจะปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ได้

    เพราะหากเราไม่ได้ฌาณ4 เป็นอย่างต่ำ เราจะเข้าใจอย่างแท้จริงได้อย่างไรว่า

    สภาวะจิตที่ต่ำกว่านี้ทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ หรือแม้แต่ฌาณ4เองก็ยังไม่พ้นทุกข์อย่างถาวร

    มันเข้าใจไม่ได้ ถ้าเข้าใจไม่ได้ก็ถอนความอาลัยในการเกิดไม่ได้

    ถ้าถอนความอยากเกิดไม่ได้ ก็ไปพระนิพพานไม่ได้

    ดังนั้นท่านใดที่ได้ฌาณแล้วขอให้ไปพิจารณาหาเหตุผลเข้าใจว่า

    สภาวะจิตที่ไม่เป็น ที่ต่ำกว่าฌาณมันไม่เที่ยง ทุกข์ มันไม่มั่นคงถาวรอย่างไร

    แล้วฌาณที่ท่านได้อยู่ณขณะนี้ มันเที่ยงแล้วหรือยัง มันเป็นสุขที่สุดหรือยัง มันมั่นคงถาวรแล้วหรือยัง

    หากยังก็ควรจะเคลื่อนจิตเข้าสู่ฌาณขั้นต่อไป ภาวะจิตที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น เพื่อเข้าถึงความสุขสงบร่มเย็นที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้

    ขอเรียนถามเพื่อความเจริญขึ้นในการปฏิบัติค่ะ
    1. ปกติในช่วงว่างจะพยายามตั้งสติระลึกรู้ลมที่ผ่านเข้าออกทางช่องจมูก (ลืมตา) แล้วจะรู้สึกเย็นวาบๆ บริเวณหน้าผากค่ะ พอผ่านไปซักพัก ก็จะตึงๆ ตื้นๆ บริเวณผิวหน้าและรู้สึกเหมือนมีอะไรมีฉุดดึงให้ต่ำลงไป หลังจากนั้นรู้สึกเหมือนมีอะไรบ้างอย่างวูบวาบและเคลื่อนไปมาบริเวณผิวหน้าง่ะค่ะ (เหมือนบางอย่างพยายามที่จะดันตัวเราออกไปนะคะ) ไม่ทราบว่าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะตั้งใจมากเกินไปหรือเปล่าค่ะ
    2. ตอนนั่งสมาธิ (หลับตา) และระลึกรู้ลมหายใจแล้ว มีความรู้สึกว่าตอนหายใจออกจะมีความรู้สึกผ่อนคลายและสบายเบาตัว เบาใจ มากเลยค่ะ และจะรู้สึกเบาตัว เบาใจ มากขึ้นไปอีกในขณะที่หายใจออกจนสุดแล้วลมหยุด ก็จะเกิดอาการโล่งโปร่งสบายมากๆ เลยค่ะ และก็จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระทุ้งผิวหน้าจากด้านภายในร่างกายออกมาค่ะ พอถึงตรงนี้แล้วก็จะต้องรู้สึกอึดอัด เพราะว่าลมได้หยุดไปนาน จนต้องทะลึ่งสูดลมหายใจเข้าค่ะ

    กรูณาให้คำชี้แนะด้วยนะคะ เพราะพึ่งเริ่มฝึกมา 2-3 เดือน เลยไม่รู้ว่าที่ฝึกมานี้ถูกหรือผิด หากผิดแล้วจะแก้ไขได้อย่างไรค่ะ

    จุดที่ติดคือ

    คุณเผลอควบคุมลมหายใจของตัวเองครับ

    พอเราควบคุมลมหายใจย่อมส่งผลให้เกิดอาการเครียดทางร่างกาย

    แล้วจิตก็กระเพื่อม ไปกับอาการเครียดที่เกิดนั้น

    หากถามว่าจิตของเรา เข้าถึงอารมณ์สบายได้บ้างไหม ถือว่าได้

    แต่ถ้าถามว่าจิตสงบ ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ไหม ถือว่ายังไม่ได้

    เพราะจิตยังกระเพื่อม ยังซัดส่าย ยังไหลไปตามอารมณ์ จริงไหมครับ

    สิ่งที่ต้องทำนะครับ

    อย่าดัดแปลง ควบคุมลมหายใจ

    หน้าที่ของเรา คือตั้งสติ ตัวตัวรู้เอาไว้ที่จมูก แล้วก็รู้ถึงลมหายใจที่กระทบทั้งเข้าและออก

    โดยไม่ต้องควบคุม โดยไม่ต้องเอาจิตตามลมหายใจ

    ย้ำนะครับ อย่าเอาจิตตามลมหายใจ อย่าเอาจิตตามลมหายใจ อย่าเอาจิตตามลมหายใจ

    ตั้งความรู้สึก ตั้งสติเอาไว้ที่ฐานทั้งสาม

    ฝึกเพิ่มไปทีละฐาน

    ตั้งเอาไว้ที่จมูก เราจะสัมผัสได้ถึงความเย็น ความโปร่งโล่งสบาย

    บางท่านจะรู้สึกว่าโพรงจมูกปลอดโปร่งมีความเย็นเกิดขึ้น

    รู้สึกว่าหายใจได้ปลอดโปร่ง ลมหายใจจะช้า จะละเอียดขึ้น เป็นของมันเองไม่ต้องบังคับ

    สติจะจับที่จมูกตลอด ถ้าสติคลาดจากจมูก แปลว่าสติเราคลาดไป ให้ตั้งใหม่

    พอเรารู้สึกว่าจิตมีความเย็น ความปลอดโปร่ง ความสงบมากขึ้นแล้ว

    ให้เพิ่มฐานที่สอง ที่อก ตั้งตัวรู้ อาการรู้เอาไว้ที่ จมูก และอกพร้อมๆกัน

    ไม่ควบคุมลมหายใจ

    พอกำหนดจิตไว้ที่จมูกและอก จะบังเกิดความเย็นของปีติ ที่บริเวณกลางอก และจะแผ่ซ่านออกไปยังทั้งร่าง

    พอถึงจุดนี้ ให้ท่านถามใจตัวเองว่า

    เมื่อสติตั้งฐานของลมหายใจไว้2ฐาน จิตมีความสงบมากกว่า 1ฐาน หรือไม่

    เราพิจารณาจนเห็นได้ไหมว่า ลม1ฐาน มันทุกข์กว่าลม 2ฐาน ลม2ฐานมันสุขกว่าลม1ฐาน

    สุขกว่าเพราะ1. ลมหายใจของลม1ฐาน จะหยาบกว่า คือมันหายใจแรงกว่า เร็วกว่า ทำให้เกิดอาการเสียดแทงแก่ร่างกายมากกว่าลม2ฐาน

    พิจารณาเอาว่าจริงไหม

    2.ลมสองฐานจะมีปีติหล่อเลี้ยงมากกว่าลม1ฐาน ลม1ฐานจะมีความเย็นน้อยกว่าลม2ฐาน

    ปีติที่มากกว่า ความเย็นที่มากกว่า ทำให้ลม2ฐานสุขกว่า1 ฐาน จริงไหมไปพิสูจน์เอง

    3.ลม2ฐาน สติจับ2จุด ทำให้จิตมีความตั้งมั่น มีความสงบ มีอาการตื่นตัว มีสติสัมปชัญญะมากกว่า จริงไหม แล้วอารมณ์มันเป็นอย่างไร ไปพิสูจน์ดูครับ

    ไปพิสูจน์สองฐานมาก่อนครับ
     
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ มรณังสุขัง ครับ

    เข้าใจถูกแล้วครับ เย็นในโพรงจมูกก็ใช่แล้วครับ

    ต้องถึงขนาดไหนถึงจะต่อฐานที่สอง

    ถึงอย่างที่คุณถึงอยู่นี่แหละครับ ต่อฐานที่สองไปได้เลยครับ
     
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ เวิ้งว้าง ครับ

    ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ

    1. ปกตินั่งสมาธิโดยกำหนดพองหนอ ยุบหนอที่ท้องตามหลักหลวงพ่อจรัญค่ะ ทำมาได้ เดือนหนึ่งแล้วรู้สึกว่าลมหายใจละเอียดเร็วขึ้น เข้าสมาธิเร็วขึ้น คือนั่งได้ประมาณ 5 นาทีก็เริ่มไม่รู้สึกว่าท้องพองขึ้นหรือยุบลง มันจับความรู้สึกไม่ได้ ไม่รู้ว่าท้องพองหรือยุบ ก็เลยกำหนดรู้หนอไปเรื่อย ๆ แทน และกำหนดตามสภาวะที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่มีปิติใดๆ เกิดขึ้น (เหมือนข้ามช่วงนั้นไปแล้ว)

    2. พอนั่งไปเรื่อย ๆ นิ่ง ๆ เพลิน ๆ ก็มักมีคำต่าง ๆ ผุดขึ้นมาในหัว เหมือนมีคำลอยมา เหมือนจะให้เรากำหนดตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีตัวตน คือมันเป็นช่วงที่อยากจะกำหนดคำพวกนี้ขึ้นมาซะเฉย ๆ อารมณ์ตอนนี้ไม่มีปิติ อยู่นิ่ง ๆ แต่ยังคงได้ยินเสียงรอบข้าง แต่ไม่สนใจในเสียงนั้น ยังคงจดจ่ออยู่กับสมาธิ

    3. และช่วงสุดท้ายที่มีความรู้สึกได้ว่าเป็นช่วงที่สงบที่สุด ร่มเย็น เหมือนจิตรรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ก็นั่งดูนิ่งๆ แล้วเหมือนกับว่าเป็นช่วงที่ได้ชาร์จแบตเตอร์รี่ เหมือนเป็นช่วงที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แต่ในใจยังคงกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา

    4. เป็นไปได้ไหมที่จะมีครูบาอาจารย์ (พระที่เราเคารพ นับถือ) มาเมตตาสอนเราในแต่ละช่วงที่เราปฏิบัติอยู่ อาจจะมากกว่า 1 ท่าน

    ขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยนะคะ

    พื้นฐานแน่นดีครับ สติจะมีความเต็มรอบเพราะกำหนดจิตอยู่ตลอด ทำถูกหมดุกข้อนะครับ ถึงทำไปเรื่อยๆเถอะครับ

    ทำแบบที่คุณทำอยู่แล้วก็ได้ครับ ไม่ต้องมาใช้วิธีผม เพราะทำมาดีพอสมควรแล้วครับ

    จริงๆ หลวงพ่อจรัญท่านสอนละเอียดและดีมากเลยครับ ถ้าเป็นไปได้อยากจะให้ทุกๆคนได้ลองฟังไฟล์เสียงของท่านครับ

    และเป็นไปได้ครับที่จะมีครูบาอาจารย์มาสอน<!-- google_ad_section_end --> อาจจะมามากกว่า1ท่านก็ได้ครับ

    ไม่รู้จะแนะนำอะไรดีครับ ทำอย่างที่ทำอยู่นั้นแหละ ดีแล้วครับ

    กับ การระลึกถึง พิจารณา และซาบซึ้ง ในพระคุณและความดีของครูบาอาจารย์ ของพระอริยสงฆเจ้า ที่เราเคารพรักสุดหัวใจ

    ถือเป็นสังฆานุสติกรรมฐาน

    ยิ่งจิตซาบซึ้งในพระคุณในความดีของท่านมากเท่าไหร่ จิตเรายิ่งใกล้ต่ออารมณ์ของความเป็นพระโสดาบันมากเท่านั้นครับ

    ดังนั้นที่เราเข้าใจ และซาบซึ้งในพระคุณของท่านนั้น ถือเป็นผลและอารมณ์ของสังฆานุสติกรรมฐานครับ

    กำหนดสติเอาไว้อยู่เสมอ กำหนดเอาไว้ตลอดเวลา ถือว่าทำดีแล้วล่ะครับ

    เหมือนมาให้เช็คมากกว่าว่าทำถูกรึเปล่า

    ถูกนะครับ ไม่ผิดหรอกครับ


    จุดที่สงสัยก็คือ เราควรจะทิ้งคำภาวนาไหม

    ถ้าจิตเริ่มสงบ รู้สึกว่าไม่อยากภาวนาแล้ว ให้เอาจิต ไปจับกับอารมณ์ของความสงบนั้น

    และไม่ต้องภาวนาครับ

    จิตช่วงนี้คือ จะเคลื่อนจาก ฌาณ1 ไปฌาณ2

    คือ เรากำลังจะตัดวิตกวิจาร ก็คือ ตัดคำภาวนา การภาวนา การที่จิตกระเพื่อมเพราะองค์ภาวนา

    พอคำภาวนาหายปุ้ป จิตจะอยู่ในฌาณ2 เป็นช่วงที่เหลือแต่ ปีติ สุข เอกคตา

    จะเป้นช่วงที่มีความสุขมาก จิตจะเย็น เอิบอิ่ม ตั้งมั่น จะรู้สึกว่าสว่าง สว่างจริงๆ

    แต่อย่าไปสนใจความสว่าง

    ให้เอาจิตตั้งเอาไว้ที่ ความตั้งมั่น ความเย็นที่เกิดขึ้น

    ต่อจากนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ความเย็นจะจืดชืดลงตามเวลา

    เมื่อความเย็นจืดชืดลงจนถึงที่สุด จิตจะเป็นฌาณ4

    อารมณ์จะเย็น แต่จะเย็น แบบไม่เย็นอย่างที่เคยเย็น มันจะเย็นอย่างอ่อนโยนมากกว่า

    จิตมันจะอิ่ม จะนิ่ง ถ้าฌาณ2เย็นเหมือนเปิดแอร์ ฌาณ4ก็เย็นแบบปิดแอร์ แต่ความเย็นของแอร์ยังค้างอยู่ในห้องที่เราอาศัย

    ช่วงที่เฝ้าดู ที่คุณบอกนั้น จะเกิดตั้งแต่ฌาณ 2 3 4 ถ้าก่อนคำภาวนาหายจะอยู่ในช่วงฌาณ1

    ถ้าติดขัดอะไรจริงๆ ให้มาถามใหม่ครับ เพราะดูแล้วไม่ค่อยจะติดอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2010
  20. มรนังสุขัง

    มรนังสุขัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +52
    ขอบคุณ คุณ Xorce มากครับ ที่ให้ความสว่าง

    ขอถามได้รึเปล่าครับ ว่า คุณชื่ออะไรครับ เพื่อความสะดวกในการเรียกครับ

    อนุโมทนา สาธุ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...