ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 มิถุนายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมเทศนา

    อนามตธัมมกถา
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
    เนื่องในวันบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร
    ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๕


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ยัมหิ สัจจัญจะ ธัมโม จะ อหิงสา สัญญูโม ทโม
    เอสะ พยาเสวันติ เอตัง โลเก อนามตันติ ฯ

    บัดนี้จะแสดงพระธรรมเทศนา ใน อนามตธัมมกถา พรรณนาเรื่องธรรมะเป็นเหตุให้ชีวิตเป็นอมตะ เนื่องในโอกาสการบำเพ็ญกุศลในวาระ ปัญญาสมวาร คือ ครบ ๕๐ วัน นับแต่วันที่ ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ได้ถึงมรณภาพ

    โดยคณะท่านเจ้าภาพ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ได้มาพร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลตามวิธีในทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ทักษิณานุประทาน เพื่อประมวลส่วนแห่งความดีทุกประการ อุทิศถวายเสริมบารมีธรรมแก่ ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ตามพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลอุทิศในพระพุทธศาสนา

    การบำเพ็ญกุศลเนื่องด้วยการศพของท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) นั้น คณะท่านเจ้าภาพได้ร่วมกันจัดทำในส่วนต่าง ๆ อันเป็นเบื้องต้นให้เป็นไปเรียบร้อยดีงาม ทั้งตามขนบธรรมเนียมประเพณี และทั้งในทางพระศาสนา ภายใต้ความอุปถัมภ์ให้ความเมตตากรุณาอย่างสูงยิ่งของ หลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ ทั้งในส่วนกลางและในต่างจังหวัด

    หลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้ให้ความเมตตากรุณาต่อการศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่จะพรรณนาได้ว่า ให้ความเมตตากรุณาอย่างสูงยิ่งเป็นที่ปรากฏแก่ท่านทั้งหลายทั้งฝ่ายวัดและฝ่ายบ้าน ทั้งฝ่ายราชการและประชาชนโดยทั่วไป หลวงพ่อเจ้าประคุณฯ ได้ให้ความเมตตากรุณาเอาใจใส่มาดูแลติดตาม

    แม้ในวาระบำเพ็ญกุศลครบ ๗ วัน หลวงพ่อเจ้าประคุณฯ ก็มาเป็นประธานในการบำเพ็ญกุศลตามนิยมนั้น ท่านพระเถรานุเถระทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด เมื่อได้รับทราบถึงความเมตตากรุณาของหลวงพ่อเจ้าประคุณฯ ต่างก็ได้แสดงน้ำใจออกมาเป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นเหตุให้การศพของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เป็นไปโดยถูกต้องงดงามทุกประการ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีของพระมหาเถรานุเถระต่าง ๆ ที่มีต่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ในกาลที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่เคยมีน้ำใจต่อกันอย่างไร เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำถึงมรณภาพไป ก็ยังคงมีน้ำใจต่อกันเหมือนอย่างเดิม

    น้ำใจที่ได้แสดงให้ปรากฏในการศพครั้งนี้เป็นน้ำใจที่ท่านทั้งหลายจะกล่าวได้พร้อมกันว่าเป็นน้ำใจที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งพระธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนตรัสบอกแก่ศาสนิกทั้งหลายให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อกันในกาลต่าง ๆ และให้รู้จักแสดงน้ำใจ ทรงสอนให้เป็นคนไม่แห้งแล้งน้ำใจทรงสอนให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อกัน และให้มีน้ำใจต่อกัน ทั้งในเวลาที่มีชีวิตอยู่หรือแม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล่วงลับจากไปตามวิสัยของสังขาร ก็ทรงสอนให้มีน้ำใจต่อกัน ให้แสดงความเป็นญาติ แสดงความเป็นมิตร เป็นต้น ให้ปรากฏ มิใช่ว่าเป็นญาติเป็นมิตรเป็นผู้เคารพรักใคร่นับถือกันแต่เวลาที่มีลมหายใจอยู่เท่านั้น แม้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะไม่มีลมหายใจเหลือแต่ร่างกายที่ไร้วิญญาณแล้วก็ยังคงนับถือว่าเป็นญาติมิตร มีความเคารพนับถือรักใคร่ต่อกันเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นลักษณะของน้ำใจที่เที่ยงแท้แน่นอนพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้

    ท่านพระมหาเถระ พระเถระ ท่านสหธรรมมิกภิกษุ สามเณร ตลอดถึงท่านสาธุชนได้แสดงน้ำใจให้เป็นที่ปรากฏเห็นร่วมกันในการศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำนี้แล้ว หากว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำจะสามารถกล่าวให้ท่านทั้งหลายได้ยิน ท่านทั้งหลายก็จะได้ยินคำอนุโมทนาสาธุของหลวงพ่อฤาษีลิงดำชัดเจน

    แต่ว่าแม้จะไม่ได้ยินเสียงของหลวงพ่อร่างที่ไร้วิญญาณของหลวงพ่อก็เป็นสักขีพยานอยู่ ท่าทั้งหลายก็จะมีความรู้สึกก้องอยู่ในจิตใจของท่านทั้งหลายเองว่า หลวงพ่อรู้สึกอย่างไร หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายปราศรัย โอบอ้อมอารีต่อท่านในเวลามีชิวิตอยู่อย่างไร

    ท่านทั้งหลายก็นึกในใจให้ปรากฏว่า หลวงพ่อก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อไม่ได้ไปไหน ยังคงอยู่ในใจของท่านทั้งหลายนั้นเอง และนั้นแหละก็จะเป็นไปอย่างที่หลวงพ่อได้เคยสอนท่านทั้งหลายและหลวงพ่อได้เคยบอกว่า ท่านมีความรักมีความห่วงใยท่านทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายระลึกได้เหมือนกับว่าปรากฏภาพของหลวงพ่อในจิตใจของท่านทั้งหลายแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า หลวงพ่อรักลูกทั้งหลายและเป็นห่วงเป็นใยลูกทุกคน เหมือนอย่างที่หลวงพ่อได้เคยกล่าวไว้

    ดังนั้น ท่านทั้งหลายจึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีหลวงพ่อประจำอยู่ทุกคนไม่เหินห่าง ยังคงมีหลวงพ่ออยู่ในใจตลอดเวลา เพราะเหตุที่หลวงพ่อยังอยู่ในใจของท่านทั้งหลายอย่างนี้แหละ ทั้งในที่นี่และกลับไปบ้าน ท่านทั้งหลายจึงต้องขวนขวายมาร่วมกันบำเพ็ญกุศลเพราะนึกว่าบำเพ็ญกุศลให้แก่หลวงพ่อ ซึ่งเป็นเสมือนพ่อของท่านทั้งหลายนั้นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศลร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงดังเป็นที่ปรากฏ ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ยกหลวงพ่อขึ้นไว้เป็นที่เคารพบูชา และเป็นเหตุที่จะทำให้ท่านทั้งหลายได้ระลึกถึงความดีของหลวงพ่อร่วมกัน ในโอกาสที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศลนี้อีกด้วย จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้อนุสรณ์รำลึกถึงความดีความงามของหลวงพ่อ

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระเถระองค์สำคัญในสังฆมณฑลในพระศาสนายิ่งรูปหนึ่ง หลวงพ่อได้อุทิศชีวิตร่างกายนี้เพื่อพระศาสนามาโดยแท้ ได้เข้ามาอยู่ในร่มเงาของพระศาสนาแล้ว มีความซาบซึ้งในร่มในเงาของพระศาสนา แม้หลวงพ่อจะไม่ได้บอกแก่เราทั้งหลายอย่างตรง ๆ ว่า หลวงพ่อซาบซึ้งในร่มในเงาของพระศาสนา

    แต่ด้วยการกระทำและการพูดทุกอย่าง เป็นเหตุที่จะให้กล่าวได้ว่า หลวงพ่อท่านรู้สึกสำนึกในร่มในเงาของพระศาสนา หลวงพ่อจึงสามารถอุทิศชีวิตร่างกายนี้ทั้งหมด เพื่อพระพุทธเจ้า เพื่อพระธรรมคำสอน และพระอริยสงฆ์ ไม่มีความหวั่นไหว และไม่มีใครจะสามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเช่นนั้นของหลวงพ่อได้เลยแม้แต่เพียงเล็กน้อย มีความมั่งคงทวีตรีคูณยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ

    ที่พรรณนาในโอกาสนี้เช่นนี้ ก็เป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายได้เห็นเป็นที่ประจักษ์มาแล้วนั้นเอง จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อมุ่งมั่นตั้งใจแน่นอนต่อสังฆมณฑล และต่อพระศาสนาโดยเฉพาะที่วัดท่าซุง หลวงพ่อได้ทุกอย่างไว้ และให้ท่านทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ได้มีความภูมิใจว่า มีหลวงพ่อเป็นเสมือนพ่อที่มีความเด็ดเดี่ยวยกย่องเชิดชูพระศาสนายิ่งด้วยชีวิตถึงปานนี้

    ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวัดท่าซุง เกิดขึ้นเพราะน้ำใจที่เด็ดเดี่ยว แน่นอน แกล้วกล้า ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นของหลวงพ่อฤาษีลิงดำทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าเป็นน้ำใจที่เต็มไปด้วยสัจจะ มีคุณธรรมหนักแน่นไม่คิดเป็นอย่างอื่น มุ่งตรงมั่นต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียว

    หลวงพ่อได้แสดงออกมาให้ท่านทั้งหลายได้เห็น ท่านทั้งหลายจึงได้ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนความปรารถนาของหลวงพ่อ ให้ได้สำเร็จตามที่หลวงพ่อต้องการ หลวงพ่อต้องการจะทำอะไรอย่างไร ก็ร่วมใจกันเสียสละส่งเสริมให้ได้สำเร็จ เพราะต่างก็รู้กันดีว่าหลวงพ่อไม่ได้ทำเพื่อใคร ไม่ได้ทำเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น หลวงพ่อไม่ได้คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย ความทุกข์ยากของท่านแม้แต่เพียงเล็กน้อย สามารถจะอุทิศชีวิตนี้ให้สิ้นลงไปเมื่อไรก็ได้ เพื่อที่จะธำรงไว้ซึ่งพระศาสนาคำสอนของพระบรมศาสดาและพระอริยสงฆ์

    ชีวิตของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จึงเป็นชีวิตที่รองรับพระรัตนตรัย สมกับที่หลวงพ่อได้เปล่งวาจาเป็นปณิธานอย่างที่ท่านทั้งหลายรู้กันว่า พุทธัสสาหัสมิ ทาโสวะ ธัมมัสสาหัสมิ ทาโสวะ สังฆัสสาหัสมิ ทาโสวะ คือ อุทิศชีวิตนี้ให้เป็นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมของพระองค์ และพระอริยสงฆ์ เป็นที่ตั้ง แม้จะเป็นชีวิตที่เล็กน้อย แต่ก็อุทิศชีวิตเพื่อจะรองรับพระยุคลบาทอย่างเต็มกำลัง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพราะเหตุที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำมีปณิธานที่มั่นคงแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล เป็นเหตุให้เกิดพลังในใจของหลวงพ่อโดยประการต่าง ๆ เสริมให้มีอานุภาพทางจิต เสริมให้ทุกอย่างได้สำเร็จเป็นผลสัมฤทธิ์ตามที่ปรารถนาไม่ตกค้าง และเพราะคุณธรรมที่มั่นคงต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเอง หลวงพ่อจึงสามารถที่จะมองอะไรออกไปไกล สามารถที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สถาบันแห่งชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่คนทั้งหลายในแผ่นดินกล่าวกันว่า บ้านเมืองของเรานี้มีสถาบันสาม ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หนักแน่นในพระศาสนาในเบื้องต้น แล้วได้ค้ำจุนเกื้อหนุนไปถึงสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ชีวิตของหลวงพ่อจึงเป็นชีวิตที่รองรับสถาบันที่สำคัญในบ้านเอง คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมกันไป ท่านทั้งหลายที่เป็นศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อ อนุสรณ์รำลึกให้ดีแล้วก็จะเกิดปีติโสมนัสว่ามีหลวงพ่อเช่นนี้ มีหลวงพ่อที่ไม่รู้จักสิ้นสุด ไม่รู้จักตายเช่นนี้ อยากจะมีพระสงฆ์ในพระศาสนาที่เป็นเหมือนหลวงพ่อเป็นเช่นนี้อีก
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีชีวิตรองรับสิ่งที่สำคัญของแผ่นดินดังพรรณนามาแล้วโดยย่อจึงเป็นเหตุให้ชีวิตของหลวงพ่อมีความสำคัญ จิตใจสูงขึ้นไปโดยลำดับ ด้วยอำนาจแห่งการบ่มอบรมภาวนาของหลวงพ่อเอง และบารมีธรรม พร้อมทั้งจิจใตของท่านทั้งหลายเข้าไปส่งเสริมจึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อมีจิตใจเจริญมั่นคง และมีอานุภาพสูงขึ้นไปโดยลำดับ จนกระทั่งทำให้ท่านทั้งหลายเกิดความรู้สึกด้วยตนเองว่า หลวงพ่อเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ให้ท่านทั้งหลายได้เห็นในเวลาที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ และต่อหน้าต่อตาของท่านทั้งหลายนับครั้งไม่ถ้วน เรียกกันว่า ความศักดิ์สิทธิ์

    แต่โดยความเป็นจริงนั้นก็คือ อานุภาพแห่งธรรมะที่หลวงพ่อได้ประพฤติปฏิบัตินั้นเอง ธรรมะในทางพระศาสนาทั้งในขั้นธรรมดา และสูงขึ้นไป ล้วนมีอานุภาพอย่างที่พระสงฆ์ท่านสวดว่า ธัมมานุภาเวนะ อ้างอานุภาพแห่งพระธรรม และอย่างที่ท่านทั้งหลายรู้กันอยู่แก่ใจว่า อานุภาพแห่งพระธรรมสำคัญยิ่งนัก เพราะอำนาจแห่งพระธรรมที่มีความสำคัญยิ่งนักนั่นแหละ จึงเป็นเหตุนำชีวิตของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ให้ก้าวสูงขึ้นไปในคุณธรรม

    จนกระทั่งว่า เมื่อท่านจะพูดอะไร จะแสดงอาการกิริยาอย่างไร ท่านก็มองเห็นไปในความศักดิ์สิทธิ์มีอานุภาพทั้งสิ้น ดังตัวอย่างที่ท่านทั้งหลายได้ยินมาก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพหลายครั้งหลายหน ซึ่งเหมือนกับว่าหลวงพ่อพูดสนุกสนานพูดเล่น แต่ว่าได้เกิดเป็นความจริงขึ้น จะด้วยจะกล่าวว่าเป็นเหตุบังเอิญหรืออะไรก็ตาม แต่ว่าได้ปรากฏเป็นความจริงขึ้นอย่างนั้น

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้กล่าวทั้งแก่ศิษย์เฉพาะคนและทั่วไปว่า ในเวลาที่ท่านจะถึงมรณภาพ ให้สังเกตดินฟ้าอากาศธรรมชาติจะมีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ปกติ เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำจะดับชีวิตไป ก็มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นล่วงหน้า ๒-๓ วัน ดินฟ้าอากาศไม่ปกติ มีความแปรผัน มีพายุ และยังมีแผ่นดินไหวในบางส่วนของประเทศอีกด้วย ที่กล่าวนี้ไม่ใช่ให้ท่านทั้งหลายได้หลงใหล และเข้าใจผิดว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น หรือว่าเราทั้งหลายเชื่องมงายไม่มีเหตุผล
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่ที่นำมาพรรณนานี้ก็เพื่อที่จะพรรณนายืนยันให้ท่านทั้งหลายได้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า หลวงพ่อเคยพูดไว้อย่างนั้น แล้วก็มีเหตุการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้น ก่อนที่ท่านจะถึงมรณภาพจริง จะโดยบังเอิญหรือโดยอะไรก็ช่าง แต่มีสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง ท่านทั้งหลายก็ทราบกันอยู่ว่า เวลาที่หลวงพ่อถึงมรณภาพ ดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร และมีแผ่นดินไหวจริงหรือไม่ในบางส่วนของประเทศ

    จะอย่างไรก็ตามคำที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้กล่าวไว้นั้นได้เกิดเป็นความจริงขึ้น จะด้วยเหตุใดไม่มีใครสามารถที่จะทราบได้ ทราบได้แต่เพียงอย่างเดียวว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้เคยพูดไว้อย่างไร ก็เกิดเหตุอย่างนั้นขึ้นให้ท่านทั้งหลายได้เห็น แม้เราจะนึกกันอย่างธรรมดาว่า หลวงพ่อพูดเล่น ๆ แต่เป็นจริง ก็ยังเป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะถ้าใครพูดเล่นแล้วเป็นอย่างจริงอย่างนี้ ก็น่าจะให้ลองพูดเล่นกัน จะได้เห็นว่าคนที่พูดเล่น ๆ แล้วเป็นจริง เป็นอย่าง (เสียงเทปขาดหายไป) กล่าวได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีสิ่งที่เป็นอมตะ คือ ไม่รู้จักตายเหลือไว้ให้เราทั้งหลายได้เห็น และนึกกันไปจนสิ้นชีวิตของเรา

    เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยมีอยู่ในคัมภีร์ทางพระศาสนา และเคยมีเรื่องเล่ากล่าวไว้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป แม้แต่เวลาของสังคายานาพระธรรมวินัยจบ ก็พรรณรากล่าวไว้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงผิดปกติของธรรมชาติในโลก แต่ว่าเราไม่ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ก็นึกว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมเป็นไปได้เพราะอำนาจแห่ง พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ และสังฆานุภาพ

    ครั้นมาถึงเวลาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เราก็ได้เห็น ขอให้ท่านทั้งหลายได้นึกย้อนไปถึงวันนั้น ซึ่งนับแต่นี้ถอยไป ๕๐ วันเท่านั้นเอง ท่านทั้งหลายก็จะนึกได้ว่าในช่วงระยะ ๒-๓ วันนี้ มีลักษณะอาการดังที่พรรณนามานี้ เพราะเหตุนี้แลจึงเป็นเหตุที่จะให้พรรณนาได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำเกิดมาในชาตินี้ ได้พบพระพุทธศาสนา และชีวิตได้เข้าไปสัมพันธ์กับพระศาสนาอย่างเต็มที่ จนเกิดสิ่งเป็นอมตะโดยประการต่าง ๆ

    นอกจากที่นำมาพรรณนาให้สอดคล้องกับเรื่องที่ท่านทั้งหลายเข้าใจกัน เป็นส่วนใหญ่แล้ว เรื่องต่าง ๆ อีกมากที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้ทำ และท่านทั้งหลายไม่ทราบโดยทั่วกันก็มีในทางการศึกษาหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้ส่งเสริมสนับสนุนอย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นพระที่หลงไหลในเรื่องของความขลังความศักดิ์สิทธิ์โดยทิ้งตำรับตำรา

    ดังนั้น หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อทราบว่า ได้เกิดสถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ขึ้น ในเครือของ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลวงพ่อเห็นว่าเป็นสถาบันทางพระบาลีซึ่งเป็นชื่อของภาษาหนึ่งที่รองรับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงได้เป็นองค์อุปถัมภ์สถาบันนั้นเป็นที่ปรากฏ และเมื่อได้เกิดหนังสือขึ้นเนื่องจากสถาบันแห่งนั้น หลวงพ่อก็ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ ซึ่งท่านทั้งหลายก็จะได้เห็นที่ปรากฏอยู่แล้ว
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี้เป็นตัวอย่างในทางการศึกษาว่า หลวงพ่อไม่ได้เพิกเฉย แต่พยายามค้ำจุนส่งเสริมโดยประการต่าง ๆ ในทางการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้เผยแผ่อย่างเต็มที่ แม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเจ็บป่วยอย่างไร แต่เมื่อถึงเวลาที่สอนแล้ว หลวงพ่อจะต้องสอน ไม่คำนึงถึงความเจ็บได้ป่วย และไม่กลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย ขอให้ได้สอนก็แล้วกันแม้แต่เพียงคนเดียว

    การเผยแผ่พระศาสนาของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จึงกล่าวได้ว่า เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงธรรมครั้งแรกเบื้องหน้า ท่านเบญจวัคคีย์ ซึ่งมีจำนวนเพียง ๕ คน หลวงพ่อฤาษีลิงดำเดินตามทางของพระพุทธเจ้า เมื่อมีโอกาสที่จะได้ให้คำแนะนำสั่งสอนในทางพระศาสนาแล้ว หลวงพ่อจะปฏิบัติทันทีโดยไม่เห็นแก่ชีวิต จึงกล่าวได้ว่า การเผยแผ่พระศาสนานั้นหลวงพ่อได้ทำจนล้นชีวิตของหลวงพ่อแล้ว

    ในด้านสาธารณูปการ ท่านทั้งหลายก็เห็นว่าวัดท่าซุงเป็นอย่างไร นี้เป็นส่วนของสาธารณูปการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังได้ไปเกื้อหนุนในส่วนต่าง ๆ อีกมากมายนับจำนวนเงินไม่ถ้วน

    นอกจากทางพระศาสนาโดยตรงดังพรรณนาโดยย่อนี้แล้ว การใดที่เกี่ยวกับสถาบันของชาติซึ่งมีส่วนประกอบ เช่น การศึกษา เป็นต้น หลวงพ่อก็ได้ทำทุกอย่าง ได้สร้างโรงเรียนไว้ ได้สงเคราะห์เด็กยากจนที่สนใจในทางการศึกษาเล่าเรียน ได้ตั้งโรงเรียนขึ้น ให้เด็กได้เล่าเรียนศึกษา ให้เยาวชนของชาติได้มีสมองพัฒนาไปด้วยกำลังแห่งการศึกษา ดังที่ท่านทั้งหลายได้เห็นแล้ว
    ในสถาบันชาติมีส่วนประกอบอย่างไรได้บ้าง หลวงพ่อก็ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าในส่วนใดเมื่อมีโอกาสและเข้าไปเกี่ยวข้องได้ หลวงพ่อก็จะปฏิบัติในสถาบันพระมหากษัตริย์ ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ สมกับที่เป็นสถาบันที่สำคัญสถาบันหนึ่งในชาติได้พยายามชักจูงแนะนำศิษยานุศิษย์ญาติมิตร ให้เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ จนกระทั้งสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า คือ ในหลวงของเรา พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาที่วัดท่าซุงและทรงนิยมยกย่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะเหตุที่หลวงพ่อได้ยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเองให้ชาติของเรา เป็นชาติที่มีหลักไม่เป็นชาติที่ลอย สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติหลวงพ่อก็ได้ทำให้เห็นได้ว่า เป็นสถาบันที่เป็นหลักของชาติจริง ๆ อยู่ในชาติจริง ๆ

    หลวงพ่อจึงได้พยายามที่จะสร้างสิ่งที่เป็นสื่อให้ไปถึงองค์พระมหากษัตริย์ไว้ในวัดท่าซุงจนคนทั้งหลายอาจจะคิดเห็นแปลกออกไปว่าทำไมถึงสร้างอย่างนั้น ทำอย่างนั้น นั่นก็คือต้องการที่จะให้เป็นสื่อให้ท่านทั้งหลายได้สำนึกในความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง

    ที่พรรณนาโดยสังเขปนี้เป็นเหตุที่จะให้พรรณนารวมกันได้ว่า ชีวิตของหลวงพ่อได้อุทิศแล้วเพื่อพระศาสนา เป็นเหตุให้หลวงพ่อได้บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลเอื้ออำนวยไปถึงสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์ ชีวิตของหลวงพ่อจึงพรรณนาได้ว่า เป็นชีวิตที่รองรับสถาบันที่สำคัญของแผ่นดิน ด้วยประการดังนี้
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การที่หลวงพ่อสามารถปฏิบัติบำเพ็ญได้เช่นนี้ เป็นเหตุที่จะให้พรรณนาได้ว่าสอดคล้องกันกับธรรมภาษิต ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นภาษาบาลีในเบื้องต้นว่า “ยัมหิ สัจจัญจะ” ดังนี้ เป็นต้น ท่านแปลความกันไว้ว่า “ในท่านผู้ใด มีคุณสมบัติที่เป็นคุณธรรม ๕ ประการ คือ สัจจะ ประการหนึ่ง ธรรมะ ประการหนึ่ง อหิงสา ประการหนึ่ง สัญญมะ ประการหนึ่ง และ ทมะ เป็นประการที่ ๕ ท่านผู้ประเสริฐทั้งในระดับธรรมดาและสูงขึ้นไปถึงชั้นพระอริยะย่อมนิยมคบหาสมาคมท่านผู้มีคุณธรรม ๕ ประการนั้น และคุณธรรม ๕ ประการนั้นแล ย่อมเป็นเหตุบันดาลให้ชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นอมตะ ไม่รู้จักตายปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้”

    คุณสมบัติที่เป็นคุณธรรม ๕ ประการ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว แต่เพื่อส่งเสริมบารมีของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และให้เกิดเป็นธัมมัสสวนานิสงส์ จึงขอพรรณนาในที่นี้โดยสังเขป

    ประการที่หนึ่ง สัจจะ โดยความหมายอย่างธรรมดาก็คือ จะทำอะไรก็ทำจริง จะพูดอะไรก็พูดให้จริง จนกระทั่งความจริงขั้นสูงสุด เป็นความจริงที่เป็นอริยสัจ ความจริงโดยทั่วไปก็คือจริงการกระทำและจริงการพูด พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนว่า “ยะถา วาทีตถา การี” พูดอย่างใดให้ทำอย่างนั้น ก็คือให้ทำจริงนั้นเอง แม้เวลาจะพูดก็พยายามจะพูดให้เป็นคำที่เป็นสัจจะมากเข้าไว้
    เป็นคนธรรมดาสามัญ ย่อมมีพลั้งเผลอ จริงบ้างไม่จริงบ้าง พูดเป็นคำอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง แต่ว่าพยายามที่จะให้สัจจะ คือคำจริงนั้นมีมากกว่าคำเหล่านั้น เมื่อทำได้เช่นนั้นวาจาก็จะมีความสำคัญขึ้น อย่างที่พูดกันว่าพระร่วงมีวาจาสิทธิ์ ก็เพราะพระร่วงเจ้ามีพระวาจาเป็นสัจจะนั้นเอง คนทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อพูดให้เป็นสัจจะมากเท่าไรก็ทำให้วาจาศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไปเท่านั้น สัจจะชั้นสูงที่เป็นอริยสัจ แม้จะเข้าถึงได้โดยยาก แต่เมื่อพยายามที่จะเข้าถึงก็จะสามารถพอที่จะรู้ได้ว่า อริยสัจนั้นมีความสำคัญอย่างไร

    ประการที่สอง ธรรมะ โดยความหมายสูงสุดนั้น คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยความหมายทั่วไปก็คือ คุณธรรมที่เป็นธรรมดาสามัญ เช่น กตัญญูกตเวทิตาธรรม อปจายนธรรม ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ขันติธรรม ความอดทน วิริยธรรม ความพากเพียรพยายาม เป็นต้น

    ประการที่สาม อสิงหา โดยความหมายได้แก่ เมตตา คนสามัญโดยทั่วไป ที่จะมีเมตตาเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลานั้น ย่อมเป็นไปได้ยาก ในทางศาสนาท่านจึงสอนว่า พยายามสร้างความรักให้มากกว่าความชัง อย่าสร้างความชังให้เกิดขึ้นในใจของคนอื่น มากกว่าความรัก ถ้าคนอื่นมีความรู้สึกในใจชิงชังมากก็ทำให้เป็นอยู่ได้ยาก แม้จะต้องมีคนชังเป็นธรรมดา แต่ก็ให้คนรักให้มากกว่าคนชัง นักปราชญ์ทางศาสนาท่านสอนกันไว้อย่างนี้ สอดคล้องกับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมตตา คือ ความรัก เป็นธรรมะที่สำคัญ อย่างมารดาบิดามีเมตตาต่อบุตรธิดา ทำให้มารดาบิดาสามารถจะลบล้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อลูกได้มากแม้ไม่หมดสิ้น ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมของแม่ของพ่อนั้นเอง เมตตาธรรมมีความสำคัญอย่างนี้ ดังธรรมภาษิตที่ว่า “เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก” โลกของเราไม่ร้อนจนเกินไปก็เพราะเมตตานั้นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเหมือนกับน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถที่จะชะโลมให้ความร้อนลดลงไปกลายเป็นความเย็นขึ้นมา

    ประการที่สี่ สัญญมะ โดยความหมายในทางธรรมปฏิบัติ ได้แก่ มีสติและสัมปชัญญะ กำหนดทั้งในสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในวิปัสสนากรรมฐานกำหนดให้รู้ เริ่มต้นตั้งแต่นามในรูปจนเห็นได้ว่า นามเป็นอย่างนี้ และรูปเป็นอย่างนี้ เมื่อเกิดความรู้ขึ้นในความสงบอย่างนั้น ก็พรรณนาได้ว่าเป็น นามรูปปริเฉทญาณ และญาณก็จะสูงขึ้นไปโดยลำดับ จนกระทั่งถึงมรรคญาณ และผลญาณ

    ในทางสมถกรรมฐานก็ให้มีสติ จนกระทั่งสามารถที่จะให้จิตใจจดมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียว มีจิตเป็นสมาธิเป็น เอกัคคตา สูงขึ้นไปโดยลำดับเป็น อุปจารสมาธิ จนถึง อัปปนาสมาธิ คือ ถึงขั้นฌาน จิตสูงขึ้นไปถึงฌานแล้ว เป็นเหตุที่จะส่งให้ได้อภิญญาที่เป็นโลกียะ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยวิชาสาม ฌานนั้นเองเป็นเหตุที่จะให้ได้วิชชาสองประการเบื้องต้น วิชชาสองประการเบื้องต้นที่เป็น ปุพเพนิวาสานุตสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ และเป็นข้อที่สามารถปฏิบัติให้เกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อได้ฌานแล้ว สามารถทำให้วิชชาสองประการนั้นเกิดขึ้น

    แต่ว่าผู้ทำวิชชาทั้งสองประการนี้ให้เกิดขึ้นมีน้อย ดังนั้น เมื่อมีเกิดขึ้นในที่ใดจึงเห็นไปว่าไม่ใช่คำสอนในทางพระศาสนา แต่แท้ที่จริงก็คือวิชชาสองประการที่เป็นโลกียะ อันมีฌานเป็นบาทฐานนั้นเอง ดังพระบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั่ว ๆ ไปว่า ท่านผู้เจริญฌานเข้าถึงจตุตถฌาน อันเป็นบาทฐานแห่งอภิญญาดังนี้เป็นต้นนั้น

    นั่นเป็นการยืนยันให้ทราบได้ว่า เมื่อเจริญสมถกรรมฐานจึงได้ฌานแล้วก็จะเป็นเหตุให้ได้อภิญญา ให้ได้วิชชาสองประการ ตามหลักแห่งวิชชาสามประการนั่นเอง ผู้ใดปฏิบัติในทางสมถะได้เช่นนี้ ก็จะเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ สัญญมะในทางธรรมปฏิบัติก็คือ มีสติและสัมปชัญญะในทางทั้งสองดังพรรณนามาแล้ว
    โดยทั่วไปได้แก่ รู้จักระมัดระวังสังวรการทำและการพูด การทำและการพูดมีอยู่ทุกขณะเวลา ก็คอยระมัดระวังเข้าไว้ ไม่ให้การทำนั้นต้องพลาดพลั้ง และการพูดต้องเสียที ถ้าไม่ระวังการทำก็พลาดพลั้งได้ การพูดก็เสียทีได้เช่นเดียวกัน

    ประการที่สุดท้าย คือ ทมธรรม หมายถึงความข่มใจ คือ รู้จักข่มใจ มีความรู้สึกอย่างไรก็ให้รู้จักแบ่งส่วน ว่าส่วนนี้ควรจะเอาไปให้ปรากฏส่วนนี้ควรจะเก็บไว้ ถ้าไม่มีทมะแล้วก็ไม่สามารถเก็บไว้ สิ่งที่ควรจะเก็บไว้ในก็ต้องเผยแพร่ออกไป ส่วนที่ควรจะเผยแผ่ออกไปกลับเอามาเก็บไว้ เพราะไม่มีทมะ คือรู้จักเลือกเก็บนั้นเอง

    ทมธรรม [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]จึงเป็นธรรมะที่ทำบุคคลธรรมดานี้เองให้เป็นคนงดงามได้ คือ เมื่อรู้จักข่มใจ จะแสดงอาการใด ๆ ก็แสดงด้วยอำนาจแห่งการข่มใจ คือยับยั้งไว้ได้ ไม่ให้สิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ปรากฏ สิ่งที่จะปรากฏก็คือสิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น ทมธรรมจึงทำคนธรรมนี้เองให้งดงามและงามสูงขึ้นไปโดยลำดับ จนกระทั่งสิ่งที่ไม่งดงามต่าง ๆ ได้สงบระงับลงไปเป็น วูปสมะ อันเป็นลักษณะเนื่องอยู่ในขันตินั้นเอง
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะมีคุณธรรม ๕ ประการนี้มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ แต่ว่าสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏให้ท่านทั้งหลายได้เห็น ทำให้ท่านทั้งหลายเห็นได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระที่มีสัจจะ แม้จะทำให้เรากล่าวไม่ได้ว่า หลวงพ่อมีสัจจะสูงอย่างไร แต่เราก็กล่าวกันได้ว่า หลวงพ่อของเรามี สัจจะ อย่างที่ท่านทั้งหลายได้รู้ได้เห็นมาแล้วนั้นเอง แม้แต่สัจจะที่หลวงพ่อได้กล่าวไว้ก่อนที่จะถึงมรณภาพดังพรรณนามาแล้ว

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระที่มีคุณธรรม มีน้ำใจ หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นพระที่มีเมตตาจิต น้ำใจเมตตาสูง คนที่มาหา

    ดังนั้น บางคราวแม้ท่านจะมีอาพาธรบกวน พอทราบว่าใครมา อำนาจของเมตตานั่นเอง ก็จะพยุงร่างกายของหลวงพ่อให้ออกมาต้อนรับด้วยความยิ้มแย่มแจ่มใส คนที่มาจึงไม่ทราบว่าหลวงพ่อกำลังป่วย แต่แท้ที่จริงหลวงพ่อมีอาการป่วยไข้ เมตตาธรรมเข้ามาช่วยกันไว้ให้หลวงพ่อแสดงเมตตาธรรมต่อผู้มาหาได้

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระที่มี สัญญมะ ดังพรรณนาแล้วจึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อมีสิ่งต่าง ๆ ได้ปรากฏให้ท่านทั้งหลายเห็นได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระที่งดงาม น่านับถือ น่ากราบ น่าไหว้ น่าบูชาของศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีทมธรรม คือ ความข่มใจเป็นที่สุด คนทั้งหลายไม่เห็นเลยว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำเจ็บแค่ไหนป่วยแค่ไหนมาเห็นทีไรเห็นหลวงพ่อยิ้มทุกที แม้แต่เมื่อทำบุญอายุเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ใน พ.ศ. นี้ หลวงพ่อก็ป่วยและค่อนข้างหนัก แต่หลวงพ่อก็ออกมาต้อนรับพระเถรานุเถระ และศิษยานุศิษย์ศาสนิกชนได้เหมือนว่าไม่มีอะไร ข่มใจไว้ได้ว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นคุณธรรมที่ต้องแสดงให้ปรากฏ ที่แสดงปรากฏได้ก็เพราะ ทมธรรม นั้นเอง

    จึงพรรณนาได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระเถระที่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ หลวงพ่อฤาษีลิงดำจึงมีคุณธรรมที่บันดาลให้ชีวิตเป็นอมตะไม่รู้จักตาย ท่านทั้งหลายเห็นเป็นที่ปรากฏได้อยู่ในขณะนี้แล้ว หลวงพ่อฤาษีลิงดำผู้มีคุณธรรมที่เป็นอมตะ ๕ ประการถึงมรณภาพไปแล้ว

    ท่านทั้งหลายระลึกนึกได้ว่า หลวงพ่อนี่แหละคือพระที่มีคุณธรรม ๕ ประการ จึงรู้สึกเคารพนับถือ บูชา รักใคร่ไม่รู้จักสร่าง แม้หลวงพ่อจะมรณภาพไปแล้วก็ยังคงเหมือนเดิม และได้มาร่วมกันบำเพ็ญกุศลดังที่ปรากฏอยู่เช่นนี้ การที่ท่านทั้งหลายได้ทำคุณธรรมให้เกิดขึ้นในใจ และร่วมใจกันบำเพ็ญกุศลเช่นนี้ พรรณรนาได้ว่าท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกประการ

    แสดงพระธรรมเทศนาควรแก่กาลเวลา อิมินา กตปุญเญนะ ขออำนาจบุญกุศลคุณความดี โดยประการต่าง ๆ ที่ท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติบำเพ็ญมาแต่ต้นจนถึงวาระ ปัญญาสมวาร [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]คือครบ ๕๐ วัน จงมารวมกันพลันบังเกิดเป็นบุญนิธิ คือ กองบุญกองกุศลอำนวยผลเป็นบารมีธรรมส่งเสริมชีวิตวิญญาณของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (ท่านเจ้าคุณพระราชพรมหยานเถระ) ในสัมปรายภพให้สมกับที่ท่านทั้งหลายได้ตั้งใจปรารภอุทิศจงทุกประการ[/FONT][/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]
    พระธรรมเทศนายติด้วยกาลเวลา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้…

    [/FONT]
    [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อริยสัจ ๔

    ตอนที่ ๑

    วันนี้ว่ากันถึง อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่า อริยสัจ ก็เพราะว่าเป็นความจริงที่ทำบุคคลให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเขาเป็นกันยังไง เหาะได้รึไง ไอ้โง่แบบนี้ละ ปล่อยให้โง่ไปคนเดียวนะ คิดอย่างนั้นจริง ๆ อีตอนที่เรียนใหม่ ๆ คิดว่าคนทุกคน ถ้าเป็นพระอรหันต์ได้ต้องเหาะเหินเดินอากาศได้ แสดงฤทธิ์ได้นี่มันเป็นความโง่ แต่ความจริงนี่คำว่า อรหันต์ แปลว่า เป็นผู้สิ้นจากกิเลส ใช่ไหม หรือแปลว่า เป็นผู้ไกลจากกิเลส หรือ มีกิเลสอันสิ้นแล้ว นั่นเอง คำว่าอรหันต์มีอยู่ตรงนี้

    ไม่ได้หมายความว่าเหาะเหินเดินอากาศเนรมิตอะไรได้ ไอ้ตัวเหาะได้นี่ความจริงเขาเหาะได้ตั้งแต่ยังไม่ถึงพระโสดาบัน แต่ว่าพวกที่ได้ฌานโลกีย์ แล้วก็ได้อภิญญาด้วยนี่ฤทธิ์มันปรากฏตั้งแต่ตอนนี้ หากว่าเราไปเห็นใครเขาเหาะได้ เนรมิตอะไรได้เข่า อย่านึกว่าเขาเป็นพระอริยเจ้า อันนี้ไม่ใช่

    หากว่าบังเอิญจะเป็นพระอริยเจ้า ได้อภิญญา ๖ หรือปฏิสัมภิทาญาณ เรื่องที่ท่านจะเหาะให้เราดูเฉย ๆ ก็ไม่มีเหมือนกัน ท่านไม่ยอมทำ เพราะว่าท่านไม่ยอมเป็นทาสของคำชมเชยหรือคำนินทาสรรเสริญ พระอรหันต์ถ้าหากว่าจะแสดงฤทธิ์ก็ต้องจำเป็นจริง ๆ เพื่อเป็นการเจริญศรัทธา เรียกว่าอย่างพระพุทธเจ้าที่จะทรมานชฏิล เพราะพวกนี้เขาเล่นฤทธิ์กัน ถ้าพระพุทธเจ้าไม่แสดงฤทธิ์ก็จะไม่นับถือ ที่พระพุทธเจ้าจำจะต้องทำ หรือว่าพระพุทธเจ้าทรงไปทรมานน้ำใจของพระประยูรญาติ คำว่า ทรมาน นี่หมายความว่า กลับใจจากผิดให้มาเป็นถูก มันเป็นการทรมานเหมือนกัน ศัพท์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ทรมาน ถ้าสำหรับชาวบ้านเราเรียกว่า โปรด

    ทีนี้คำว่า โปรด หรือว่า ทรมาน นี่ก็คือกลับอารมณ์อีกอารมณ์หนึ่ง จะเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง อย่างเขาชอบกินเหล้า เราบอกว่ากินเหล้าไม่ได้ นี่เขาต้องฝืนอารมณ์เดิม เขามางดจากการกินเหล้า ก็ชื่อว่า ทรมานใจ แต่ว่าเราทรมานให้ได้ดีอย่างนี้ ตามศัพท์ภาษาบาลีท่านจึงเรียกว่า ถ้าพระพุทธเจ้าไปโปรดใครท่านเรียกว่า ทรมาน อย่างทรมานพระญาติพระวงศ์ อันนี้ก็ต้องแสดงฤทธิ์เหมือนกัน ต้องเหาะให้ดู เหาะให้ดู เมื่อเหาะเสร็จเรียบร้อยแล้วพระญาติพระวงศ์มีความเชื่อ เพราะคนที่มีความสามารถไม่มีเสมอนั้น เชื่อว่าพระองค์มีความสามารถเป็นพิเศษจริง จึงยอมรับนับถือ นี่ก็ความจำเป็นเกิดขึ้นท่านจึงจะแสดงฤทธิ์ ไอ้ฤทธิ์นะไม่ใช่แสดงกันส่งเดชไป

    วันนี้มาว่ากันถึงอริยสัจ วันนี้ว่าตัวสำคัญเลย อริยสัจ แปลว่า ความจริง ท่านลองนึกดู นี่เราเรียนกันอย่างแบบสบาย ๆ ดีกว่าแบบตามตำราเกินไปมันฟังยาก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ หาความสุขมิได้ นี่เราก็มานั่งนึกดูซิว่า พระพุทธเจ้าพูดจริงหรือพูดปด พระอรหันต์โกหกมีไหม เรื่องพระสารีบุตรกับตัมพทาฐิกโจร [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]โกหก แปลว่า พูดไม่ตรงตามความจริง ตัมพทาฐิก[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]โจร แกฆ่าคนมานับหมื่น ทีนี้เวลาพระสารีบุตรไปเทศน์ กัณฑ์แรกก็ล่อปาณาติบาตเข้าเลย มันก็เสร็จน่ะซิ พอปาณาติบาตคนฆ่าสัตว์ตัดชีวิตฆ่าคนก็ตาม ตายตกนรก โอ้โฮ ถ้าทำเป็นอาจิณกรรม ลงอเวจีมหานรก และก็อธิบายเสียเป็นคุ้งเป็นแควไปเลย พวกก็เหงื่อแตกพลั่ก เสร็จ เหงื่อแตก กระสับกระส่าย [/FONT][/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]
    พระสารีบุตรมองไปเห็นอีตาตัมพทาฐิกโจนท่าทางไม่ดีแล้ว ท่านหยุดถาม “โยมไม่สบายรึ”บอก “ไม่สบายใจขอรับ” ถาม “ทำไม” ไอ้ที่ท่านเทศน์ ผมแย่เต็มทีแล้ว เสร็จ ผมน่ะลงนรกไม่ได้ขึ้นละ ก็เลยถาม “ไอ้คนที่โยมฆ่าน่ะ ฆ่าเองหรือให้ใครฆ่า” บอกว่า “พระราชาสั่งให้ฆ่า” เพราะแกเป็นเพชรฆาต ท่านก็เลยเทียบกับคนลูกจ้างทำนา ๑๐๐ ไร่ เมื่อผลในนาน่ะ นายได้หรือลูกจ้างได้ แกก็บอกว่า “ลูกจ้างได้แต่ค่าจ้าง ผลในนานายได้” แกโง่กว่าพระสารีบุตร เห็นไหม

    พระสารีบุตรก็เลยบอกว่า “ไอ้คนที่โยมฆ่าคน พระราชาสั่งให้ฆ่าน่ะมันอยู่กับใคร” ท่านก็ไม่บอกว่า บาปมันอยู่กับพระราชา นี่อีตานั่นแกโง่กว่าพระสารีบุตรนี่ แก้ก็นึกว่าแกไม่บาป พอนึกว่าแกไม่บาปเท่านั้น พระสารีบุตรก็เทศน์ใหม่ เทศน์อานิสงส์ของทาน กัณฑ์นั้นปล่อยทิ้งไปครึ่งกัณฑ์ เพราะว่าถ้าขืนเทศน์เป็นไม่ได้การแน่ ไอ้กัณฑ์นั้น ขนกัณฑ์ใหม่เทศน์อานิสงส์ของทาน ตัมพทาฐิกโจรเป็นพระโสดาบัน ึ้

    เห็นไหม นี่ถ้าพระสารีบุตรไม่โกหก ตัมพทาฐิกโจรไมได้เป็นพระโสดาบัน แต่คุณอย่าไปโกหกเข้านะ โกหกอย่างเรามันลงนรก อย่างท่านไปนิพพานได้ อย่างนั้นเขาไม่เรียกว่าโกหก เขาเรียก เป็นลีลาแห่งการแสดง
    ทีนี้พระพุทธเจ้าเทศน์อริยสัจ ว่าโลกทั้งโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ คุณก็ลองหาดูซิว่า ไอ้โลกจุดไหนที่มันเป็นสุข ลองช่วยกันหาดูซิ หิวข้าวเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หิวทำไมละ แล้วแกหิวทำไม หือ..ทำไมถึงหิว เพราะมันอยากหิว ร้อนมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ปวดท้องขี้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้ามันไม่ขี้มันเป็นทุกข์ใหญ่นะ รวมความว่า ที่เราทรงชีวิตอยู่นี่นะ เราหาความสุขไม่ได้จริง ๆ สิ่งที่ทุกข์ที่เป็นประจำเรียกว่า นิพัทธทุกข์ ที่ถามมาเมื่อกี้นี้ท่านเรียกว่า นิพัทธทุกข์

    ความจริงนิพันธทุกข์นี่มันมี ๑๐ อย่าง แต่เราเอากันเห็นแบบง่าย ๆ พอตื่นขึ้นมาถ้าเราไม่ล้างหน้า เราไม่แปรงฟัน มันก็เป็นทุกข์ เพราะรำคาญ ใช่ไหม เพราะรำคาญ นี่ไม่ล้างหน้าไม่ได้ รำคาญ มันกลางหน้า หน้ามีเหงื่อมีไคลบ้างรึเปล่า ปากถ้าไม่แปรงฟันมันก็เหม็น ไอ้ความรำคาญเกิดขึ้น บรรดาอาการของความทุกข์แปลว่า ความไม่สบายกายไม่สบายใจ อาการอย่างใดมันเกิดขึ้นก็ตาม ถ้าเป็นเหตุของความไม่สบายกายไม่สบายใจนั่นเป็นอาการของความทุกข ์
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้พอตื่นขึ้นมาแล้วล้างหน้า ถ้าเราไม่ได้กินข้าวมันก็หิว ไอ้ตัวหิวนี่มันเป็นทุกข์ และเมื่อกินเข้าไปแล้วทำไง ไอ้คนใหม่เข้าไปคนเก่ามันอึดอัดมันออก ฮึ…ปวดท้องขี้ปวดท้องเยี่ยวซี ทีนี้มันเข้าไปซ้อนกันอยู่ได้เมื่อไร ไอ้กากมันจะออก การกระสับกระส่ายของการปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นอาการของความทุกข์ นี่คำว่าปกติของทุกข์ เป็นประจำวัน แต่เรื่องหิวนี่เราเกิดมาชาติหนึ่ง เราต้องการอาหารวันละกี่เวลาต้องคิดมันดู เราต้องการดื่มน้ำวันละกี่ครั้ง

    ขณะใดที่เราต้องการดื่มน้ำ ขณะนั้นเป็นอาการของความทุกข์ เพราะหากว่าถ้าเราไม่ได้ดื่ม ความกระหายมันเกิด ไอ้ความกระหาย ความต้องการนี่มันเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวสุข เห็นไหม การหิวข้าวเป็นทุกข์ การปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นทุกข์ ความเย็นสูงเกินไปเป็นทุกข์เพราะเราไม่ต้องการ ร้อนมากเกินไปเป็นทุกข์ การปฏิบัติงานทุกอย่างเพื่อความเป็นอยู่เป็นทุกข์ เพราะอะไร เพราะว่าการหากินทุกอย่างต้องเหน็ดเหนื่อยต้องใช้ทั้งกำลังกายกำลังใจ และก็กำลังทรัพย์เราไม่มีทรัพย์เราก็หากินอะไรไม้ได้เลย หากินได้ไหม บอกว่าไม่มีทุนไปขุดดิน เอาอะไรไปขุด

    ถ้าไม่มีสตางค์ซื้อพลั่ว ซื้อจอบ ซื้อเสียม ก็ต้องเอาไม้แข็ง ๆ ไปขุด ไอ้ไม้ชิ้นนั้นมันเป็นทรัพย์ ต้องใช้ทรัพย์เหมือนกัน เราทำงานทุกอย่าง เราเหนื่อยต้องเคร่งเครียดต่อการงาน และการทำงานที่มีผู้บังคับบัญชาก็ยิ่งหนัก
    สองอย่าง หนักทั้งงาน หนักเพราะเกรงใจ ผู้บังคับบัญชาเกรงว่าจะไม่ถูกใจ นี่การปฏิบัติงานทุกอย่าง ขึ้นชื่อว่าความสบายไม่มีเลยนี่เป็นอาการของความทุกข์ที่เราเห็นได้ง่าย ๆ

    แต่พระพุทธเจ้าบอก ความทุกข์มีจริงแต่คนเห็นทุกข์ไม่มี นี่เราต้องมานั่งนึก นึกถึงความทุกข์ในอริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า แม้แต่ข้าวคำเดียวที่เราเปิบเข้าไปมันก็เป็นทุกข์ ท่านบอกว่า กับข้าวหรือข้าวที่เราจะพึงหามาได้ ที่เราจะกินอันนี้มันมาจากไหน มันมาจากหยาดเหงื่อแรงงานของเรา หรือว่าถ้าเราจะมีสตางค์ซื้อข้าว สมมติว่าพวกคุณมีเงินเดือน ไอ้เงินเดือนนี่มันไม่ใช่เงินครึ่งเดือน หรือว่าไม่ใช่เงินครึ่งวัน เราทำงานมาตั้งเดือนถึงจะได้เงินจำนวนนั้นมา และการทำงานทุกครั้งมันเหนื่อยไหม บางทีเราก็นั่งเขียนหนังสือ มันก็เหนื่อย เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ เมื่อยมือ ใช้สมอง แล้วก็ต้องเหนื่อย เกรงว่าผู้บังคับบัญชาจะหาว่าทำไม่ถูกใจ ไม่ถูกแบบไม่ถูกแผน นี่มันเหนื่อย

    ทีนี้คนที่เขาทำนาทำสวนมันก็เหนื่อย ออกกำลังกายมาก ใช้กำลังความคิดด้วย คนที่ประกอบการค้าก็เหนื่อย ไม่ใช่เขานั่งอยู่ได้สบาย ๆ ยิ่งต้องใช้สมองหนัก และการค้าต้องเอาใจชาวบ้าน นี่มันหนักทุกอย่าง หากว่าใครเขาจะเข้ามาซื้อของเราพูดไม่ถูกใจเขา เขาก็ไม่ซื้อ เราก็ต้องวางแผนว่าจะวางลีลาตั้งท่าว่ายังไง จะพูดว่ายังไงเขาจึงจะชอบใจซื้อของของเรา ทีนี้ไอ้การวางแบบ วางแผน วางกฎ ตั้งตนไอ้แบบนี้จะทำให้ถูกใจเขานี่มันเหนื่อย รวมความว่าอาหารที่เราจะกินเข้าไป กว่าจะได้อาหารมาก็แสนที่จะเหน็ดเหนื่อยเต็มไปด้วยความทุกข์

    ความหนาวจะหนาวสักเพียงใดก็ตาม ก็ต้องทนทำงานเพื่อเงิน อากาศร้อนจะเพียงใดก็ตาม ก็ต้องทนทำงานเพื่อเงิน บางทีอันตรายที่เราจะถึงสำนักงาน หรือว่าไปถึงสำนักงานแล้วอันตรายรอบตัวจะพึงมีก็ได้ เราก็ต้องทนทำ เพราะต้องการเพื่อเงินและทรัพย์เอามาเป็นอาหารที่เราจะพึงกิน นี่เป็นอันว่าอาหารที่เรากินเข้าไปนี้เรากินทุกข์ใช่ไหม
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรานี่รู้แล้วว่าโลกนี้มันทุกข์แล้วเกิดมาทำไมล่ะ ทำไมถึงเกิด อีตอนนั้นมันไปโง่เพราะเจ้านายมันบังคับให้เกิด คือ กิเลส ความเศร้าหมองของจิต ที่คิดว่าโลกเป็นสุข ใช่ไหม ตัณหา ความทะยานอยาก คือ คิดว่าโลกเป็นสุกจึงอยากจะมาเกิด อุปาทาน เมื่อเกิดขึ้นเป็นความยึดมั่นอุปาทาน อยู่คนเดียวสบาย ๆ ไม่พอ อยากจะแต่งงานให้มันมีความสุข พอแต่งงานแล้วหาความสุขตรงไหนล่ะ เราอยู่คนเดียวเอาใจเราคนเดียว เราจะกินเมื่อไร เราจะนอนเมื่อไรก็ได้ จะซักแห้งกี่วันก็ได้ เพราะนอนคนเดียว เพราะฉะนั้น ถ้าเราเป็นคนสองคนเราจะถือระบบนั้นไม่ได้ จะต้องคอยเอาใจคนอีกคนหนึ่ง ไอ้การประกอบอาชีพการแสวงหาทรัพย์สินมันก็ต้องมากขึ้น เพราะต้องเผื่อคนอีกคน ถ้าเรามีคนอีกคนหนึ่งมาเป็นคู่เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ แต่ความจริงไม่ใช่ร่วมสุข มันร่วมแต่ทุกข์ แล้วเราก็จ้องรักษากำลังใจคนอื่นอีกหลายสิบคน ซึ่งเป็นพวกพ้องซึ่งกันและกัน นี่ความหนักมันเกิดไม่ใช่ความเบาเกิด

    พอแต่งงานแล้วลูกโผล่ออกมาอีกซี พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
    “ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งหลาย ๕ เป็นภาระอันหนัก”
    เราคนเดียวมีแค่ขันธ์ ๕ หนักพอแล้ว หนักเพราะความหิว หนักเพราะความกระหาย เพราะความร้อน ความหนาว ความป่วยไข้ไม่สบาย ความแก่ ความปรารถนาไม่สมหวัง และก็ความตาย แค่นี้หนักจนเราแบกไม่ไหว ในที่สุดร่างกายมันพัง

    ทีนี้หากว่าเรามีคู่ครองและเขาแบกมาอีก ๕ เป็น ๑๐ ใช่ไหม ๑๐ ขันธ์ เข้าไปแล้ว พอเข้ามาเป็น ๑๐ ขันธ์ เดี๋ยวมันโผล่มามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อีตอนที่มีใหม่ ๆ น่ะหรือรู้ข่าวว่ามีลูก แหมดีใจ พอลูกโผล่ออกมา ชักยุ่งแล้ว ใช่ไหม ดีไม่ดี ดึก ๆ ดื่น ๆ ไอ้ลูกไม่สบายต้องวิ่งไปหาหมอ ต้องตื่นขึ้น ลูกร้องขึ้นมา นี่พูดให้เห็นว่าเป็นความทุกข์ง่าย ๆ ที่เราพึงมองเห็น แต่ว่าไม่มีใครเขาอยากมองกัน ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า โลกมีความทุกข์จริง แต่คนเห็นทุกข์ไม่มี นี่ความจริง

    ทีนี้มาดูทุกข์ภายในซิ นอกไปจากนั้น นอกจากนิพัทธทุกข์ ก็ได้แก่ความป่วยไข้ไม่สบาย อันนี้มันมีตามปกติ เรามองไม่เห็นใช่ไหม ที่ผมเคยบอก ชิคัจฉา ปรมา โรคา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความหิว ชื่อว่าเป็นโรคอย่างยิ่ง ไอ้ความหิวนี่มันเป็นอาการเสียดแทง โรค เขาแปลว่า เสียดแทง นี่เวลาหิวขึ้นมาไม่ได้กินก็แสบท้องนะซิ ใช่ไหม ความไม่สบายกายไม่สบายใจมันก็เกิด โรคประเภทนี้มันเป็นกับเรากี่วัน นี่เป็นอาการของความทุกข์ที่เรามองไม่เห็น

    ทีนี้ในเมื่อมันหิวแล้วเรากินเข้าไป ร่างกายเราเอาใจมันทุกอย่าง อาหารประเภทไหนราคาแพงเท่าไร ที่พวกอนามัยเขาบอกว่าดี เราก็พยายามกิน กินเข้าไปของแพงเท่าไรก็หนักใจมากเท่านั้น เพราะเราต้องจ่ายทรัพย์มาก เราต้องเหนื่อยมาก มีการสิ้นเปลืองมาก ของดีวิเศษแค่ไหนก็ตาม กินแล้วที่ไม่แก่ไม่มี กินแล้วไม่ป่วยไข้สบายก็ไม่มี กินเข้าไปแล้วไม่ตายก็ไม่มี เป็นอันว่าอาหารทุกอย่างที่เรากินเข้าไปเราได้มาจากความทุกข์

    แล้วเวลาที่เราจะกินก็กินเพราะอำนาจความทุกข์บังคับ เพราอะไร เพราะความหิวบังคับ นี่เราจะกินอาหารประเภทไหนมันก็แก่ มันก็ป่วย มันก็ตาย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ถ้าเราจะกินอาหาร ก็กินคิดว่าเป็นแต่เพียงอัตภาพให้เป็นไป อย่ากินเพื่ออย่างอื่น ถ้าเราคิดว่าเรากินเพื่ออย่างอื่นเราก็โง่เต็มที เราจะกินของดีประเภทใดก็ตามให้เราเป็นคนหมดทุกข์นะมันไม่ได้ ขณะที่ความหิว
    เกิดขึ้นเราอาจจะไม่มองถึงความทุกข์เรื่องอื่น มองทุกข์จุดเดียวคือ ความหิว คิดว่ากินเข้าไปแล้วถ้าอิ่มมันก็หมดทุกข์ แต่พออิ่มดีประสาทมันเริ่มดีขึ้น มันก็เลยนึกต่อไปว่าเวลานี้เราต้องการจะมีอะไรบ้าง ที่เรายังไม่ได้สมหวัง นี่อารมณ์แบบนี้มันเป็นอารมณ์บอกถึงความทุกข์ ไม่ใช่อารมณ์หยุด มันเป็นอารมณ์ทำงานทุกอย่างที่เราทำ ขณะที่เราทำมันเป็นทุกข์
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้พระพุทธเจ้า นี่ขอพูดย่อ ๆ ไอ้เรื่องทุกข์นี่พูดไปยันตายมันก็ไม่จบ หือ…จะจบยังไง เพราะผมต้องการบอกอาการผมทุกอย่างนี่ เวลามันตายมันปวดที่ไหน มันเสียดที่ไหน คุณก็ฟังไปยันตายเลย เป็นอันว่าเรามองหาโลก มองดูโลกตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าบอกว่า การเกิดของเราไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์อย่างเดียว แต่ไอ้ที่เราเห็นว่าสุข เพราะว่าเราโง่ มันมีจุดสุขอยู่นิดเดียว คือ ความปรารถนาสมหวัง ถ้าความปรารถนาสมหวังตามที่เราตั้งใจ เราคิดว่ามันเป็นสุข เราดีใจ ดีใจนี่เราต้องการ เราได้ตามความประสงค์

    แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ แล้วไม่ใช่ความสุข นั่นมันเป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราได้มันมาแล้วจะเป็นวัตถุหรือเป็นบุคคลก็ตาม อารมณ์ของความทุกข์มันก็ติดตามมา ถ้าเป็นวัตถุก็เกรงว่ามันจะสูญหายไป เกรงว่าเป็นอันตราย เกรงว่าจะเก่า เกรงว่าจะพัง นี่ตัวทุกข์มันตามมาเลย คนไม่มีสตางค์ คิดว่าเขามีสตางค์ สักหมื่นก็ดีใจ แต่ถ้าเงินหมื่นบาทเข้ากระเป๋าเมื่อไร คุณนอนไม่หลับเมื่อนั้น กลัวเงินจะหาย เกรงใครจะมาปล้น เกรงใครจะมาจี้ เกรงของจะหายเงินจะหาย นี่ไอ้ตัวทุกข์มันตามมาเลย

    หรือบางทีกลัวเงินไม่พอ เดือนนี้มีเจ้าหนี้กี่รายไปเซ็นอะไรใครเขามาบ้างไอ้ทุกข์มันมีหลายด้านนะ เป็นอันว่าวัตถุก็ดี บุคคลก็ดี ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข มันเป็นปัจจัยของความทุกข์อย่างเดียว นี่ขั้นแรกพระพุทธเจ้าสอนในอริยสัจให้หาตัวทุกข์ให้พบ ถ้าหากว่าเราจะปฏิบัติในอริยสัจละก้อ ถ้าเราหาตัวทุกข์ยังไม่พบ นี่อย่าเพิ่งปฏิบัติข้ออื่น นี่พูดกันถึงแนวปฏิบัติจริง ๆ นะ

    อันดับแรกพระองค์ทรงสอนให้เห็นทุกอย่างเป็นทุกข์ เราก็เป็นทุกข์ คนอื่นก็เป็นทุกข์ ทีนี้เวลาเรานอนอยู่หรือนั่งอยู่เป็นที่เงียบสงัด ปราศจากสิ่งรบกวน เราก็ใคร่ครวญหาความเป็นจริงว่า ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โลกเป็นทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามีทุกข์อะไรบ้าง ก็นั่งนึกหาความจริงให้มันพบ แล้วก็แปลทุกข์ให้มันออก ต้องนึกไว้เสมออะไรบ้างที่ทำให้เราไม่สบายกายไม่สบายใจ ภาระทุกอย่างที่เรามีอยู่นี่สร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจให้แก่เราทั้งหมด

    หนึ่งต้องกินข้าว ถ้าเราตื่นนอนมา ถ้าไม่มีข้าวจะกิน ความหนักใจมันก็เกิด ทีนี้ถ้ากินข้าวแล้วยังไม่กินสายเกินไป ความเสียดแทงมันเกิดมันเป็นทุกข์ ทีนี้เรากินข้าวเข้าไปแล้วทำไง อุจจาระปัสสาวะจะมามันก็เป็นทุกข์ นี่เรื่องพูดเก่า แต่หากว่าเป็นคนร่วมกัน ถ้าเราคุยเสียงดังเกินไปคนข้างห้องเขาบอกรำคาญ แต่เวลานี้ความจริงเขาอยากจะพูดให้เสียงดังเพราะมันสบายใจ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้คนข้าง ๆ เขาบอกว่าพูดแบบนี้ไม่ได้ ฉันไม่ชอบ รำคาญ ไอ้ความไม่สบายใจของเราก็เกิด มันเกิดคับใจเสียแล้วนี่ แหม…จะปล่อยอารมณ์ตามปรารถนาสักหน่อยเป็นไปไม่ได้ นี่ความไม่สบายใจมันเกิด ไอ้ตัวไม่สบายใจเกิดมันก็เป็นตัวทุกข์

    ทีนี้ประเดี๋ยวก็ได้ยินข่าวแล้ว เขาบอกว่า พ่อป่วย แม่ป่วย ญาติคนนั้นป่วยญาติคนนี้ตาย เอ้า ความไม่สบายกายไม่สบายใจเกิดขึ้นอีก ดีไม่ดีเขาบอก นี่พื้นที่ของท่านที่มีอยู่ที่โน้นมีคนเขามารุกที่เข้าไปศอกหนึ่งแล้ว แขนหนึ่งแล้ว หรือว่าคืบหนึ่งแล้วเอาอีกแล้ว แล้วก็คิดในใจว่าไอ้ที่นี่มีโฉนดมารุกรานกันยังไง มาอีกแล้ว นอนตาไม่หลับอีกแล้ว มือก่ายหน้าผาก นี่ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ก็ดี ร่างกายก็ดี มันทุกข์จริง ๆ

    ทีนี้เวลานักปฏิบัติเขาปฏิบัติ เขามองหาทุกข์ของตัวให้พบ แม้แต่ทุกข์เล็กทุกข์น้อย เขาต้องมองให้พบ หาด้วยปัญญา ไม่ได้หาด้วยสัญญา ทีนี้เมื่อหาความทุกข์ของเราพบแล้ว ก็หาความทุกข์ของคนอื่น มองดูคนทั้งโลกว่าคนไหนนะมีความสุขจริง ๆ เห็นคนเดินผ่านหน้าเราไป เราก็คิดว่าคนนี้น่ะหิวข้าวบ้างไหม คิดในใจ ปวดอุจจาระปัสสาวะบ้างไหม เขาเคยป่วยไข้ไม่สบายบ้างไหม ร่างกายของเขาทรงอยู่หรือทรุดโทรมอยู่เสมอ มันเลื่อนไปเสมอไหม นี่หาความจริงเหล่านี้ เราก็จะพบว่าคนทุกคนในโลกหาใครสุขไม่ได้เลย

    มันจะสุขยังไง ก็หิวข้าวเหมือนกัน เราหิวข้าวมีอาการแบบไหน เขาหิวข้าวก็มีอาการแบบนั้น เราปวดอุจจาระปัสสาวะแบบไหน มีความรู้สึกยังไง เขาก็เหมือนกัน เวลาเราป่วยไข้ไม่สบาย เรามีความรู้สึกแบบไหน เขาก็มีความรู้สึกแบบเรา ขณะใดที่ร่างกายมันทรุดโทรมลงไป ความทุกข์มันก็เกิดกับใจเพราะอะไร เพราะใช้กายมันไม่สะดวก

    เวลาที่เป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มตัวใช้ร่างกายได้สะดวก ทีนี้พอมันชักจะแก่เหลาแหย่อย่างผมนี่ มันใช้อะไรไม่สะดวก ตาน่ะใส่แว่นยังอ่านหนังสือไม่ค่อยจะออกเย สมัยก่อนหนังสือตัวเล็กขนาดไหน ไม่ต้องใส่แว่นก็อ่านออก เวลานี้หนังสือตัวใหญ่ ๆ บางทีใส่แว่นแล้วอ่านไม่ออก มันใช้ไม่ได้สะดวก ทีนี้ความรำคาญมันก็เกิด ไอ้ความรำคาญของการอ่านหนังสือไม่สะดวก หรือไม่ชัดเจนมันก็เป็นตัวทุกข์ อันได้แก่การไม่สบายกายไม่สบายใจ

    เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าให้มองหาความจริงของชาวโลก ความจริงกายก็ดีหรือวัตถุก็ดี มันไม่ทุกข์ ไอ้ตัวทุกข์จริง ๆ นะมันอยู่ที่ใจ ความจริงร่างกายนี่มันไม่ทุกข์หรอกคุณ วัตถุมันก็ไม่ทุกข์ ไอ้ตัวทุกข์จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ คือ เรา

    ที่บอกว่าความทุกข์มันอยู่ที่ใจ คือ เรา คำว่าเราก็คือ จิต หรือ อทิสสมานกาย ที่ควบคุมร่างกายอยู่ ไอ้ร่างกายแท้ ๆ น่ะ ถ้าเราถอยออกมาเสียแล้ว มันไม่มีความรู้สึก ตัวอย่างคนตายที่เราเห็นในเมื่ออทิสสมานกายมันเคลื่อนออกไป ทีนี้ร่างกายนั้นใครเขาทำอะไรมันก็ไม่ว่า นี่ความจริงมันไม่ทุกข์ ที่มันทรุดโทรมลงไปก็เป็นกฎธรรมดาของมันร่างกายเรามีอุปมาเหมือนไม้ท่อน มันไม่ต่างอะไรกับไม้ท่อน ความจริงมัน ไม่ได้มีความรู้สึกอะไร ไอ้ที่มีความรู้สึกทุกข์ต่าง ๆ มันมาจากจิตตัวเดียว จิตคือความนึกคิดที่มีกำลังเหนือระบบของร่างกายทั้งหมด ที่สามารถสั่งให้ร่างกายทำอะไรต่ออะไรก็ได้ นี่เราต้องเดินไป เราต้องพูดไป ต้องนอน ต้องยืน ต้องกิน อะไรพวกนี้ มันเรื่องของจิตสั่งตัวเดียว ลำพังของร่างกายมันไม่ได้สั่ง เพราะอะไร เพราะมันไม่ต้องการ จะให้มันทรงอยู่แบบไหนก็ตามใจ จะให้กินหรือไม่กินมันก็ไม่ได้ว่าอะไร ร่างกายมันไม่ได้ทวงแต่ว่าจิตมันทวง เพราะจิตเข้าไปรับทราบถึงความเสื่อมของร่างกาย ความขาดอาหารของร่างกายจิตมันเข้าไปทราบ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ถ้าเราจะพูดว่าคนเรายังไม่ตาย ถ้าจิตออกจากร่างกายแล้วร่างกายมันไม่ทุกข์ ตรงนี้เราจะต้องไปพิสูจน์กันอีตอนที่ได้มโนมยิทธิ หรือว่าถึงฌาน ๔ แต่ขณะใด ถ้าจิตเราทรงอยู่ใน ฌาน ๔ ขณะนั้นจิตมันแยกออกจากกายเด็ดขาด ความจริงมันอยู่ในกาย แต่ว่ามันไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาท นี่ท่านทรงฌาน ๔ อยู่นะ ยุงกินริ้นกัดจึงไม่มีความรู้สึก แล้วก็ใครเอาเสียงดัง ๆ อย่างเสียงปืนใหญ่ เสียงพลุ เสียงระเบิดมาทำเสียงให้ปรากฏใกล้ ๆ หูก็ไม่ได้ยิน แต่ความจริงประสาทไม่ได้ดับ มันทรงตัวตลอดแต่ว่าจิตไม่ยอมรับทราบ นี่เราจะพิสูจน์ได้ตอนฌาน ๔ อย่างหนึ่ง

    ทีนี้ประการหนึ่ง ถ้าเราได้นโนมยิทธิ สามารถอดกายภายในออก ถอดออกแล้วเราจะไปที่ไหนหรือไม่ไปก็ช่าง จะมายืนดูกายของเราที่เราอาศัยอยู่ ที่มันนั่งอยู่ แล้วก็ดูสิ เวลายุงกินริ้นกัดร่างกายมันจะเกามันจะไล่ยุงไหม จะไม่มีทางเลย มันจะเฉยทำเหมือนว่าเหมือนหัวหลักหัวตอ นี่แสดงว่าร่างกายนี่มันไม่รับรู้เรื่องจริง ๆ มันไม่ได้ทุกข์ด้วย และอาการที่ทุกข์ก็คือจิต จิตเข้าไปยึดว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรานี่นา ลงสักกายทิฐินะ ถ้ายุงมันเกินก็เกรงว่าไอ้ไข้ต่างๆ ที่มันมาจากยุง ยุงนำมาจะเกิดแก่ร่างกาย หรือไม่งั้น ร่างกายมันเจ็บ เราเสียเลือด เราต้องไล่ยุง นี่เมื่อจิตมันเกาะอยู่มันรับทราบ ถ้าจิตมันไม่เกาะอยู่มันไม่เอา ร่างกายมันไม่ทำ นี่เป็นอันว่าไอ้ตัวทุกข์จริง ๆ มันอยู่ที่จิตที่เราเรียกกันว่า อุปาทาน ตัวเข้าไปยึดถือ

    ทีนี้เรื่องทุกข์นี่ บอกแล้วว่าพูดเท่าไรก็ไม่จบ ท่านจะต้องหากันให้พบ ดูคนทุกคนในโลกให้เห็นว่าทุกคนมีแต่ความทุกข์ และก็ดูสัตว์ทุกประเภทในโลก เห็นว่าสัตว์ทุกตนมีแต่ความทุกข์ ไม่ใช่ไปแช่งเขานะ ไม่ใช่ไปแช่งให้เขามีความทุกข์ หาความจริงว่าเขามีทุกข์ ไอ้ความจริงที่เขามีทุกข์จะมียังไงบ้าง ก็มีตามที่ผมพูดมาแล้วนั่นแหละ ผมขี้เกียจย้อน ย้อนไปย้อนมาเดี๋ยวรำคาญ

    เป็นอันว่าหาให้ได้ ถ้าเรายังมองมุมใดมุมหนึ่งว่าเป็นแดนของความสุข อันนี้เขาถือว่าใช้ไม่ได้ จะชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติที่ดีนะใช้ได้ เขาเรียกว่า นักปฏิบัติเหมือนกัน แต่เป็นนักปฏิบัติที่เลวแสนเลว เพราะอะไร เห็นว่าโลกเป็นสุข มันก็ค้านความเป็นจริง เพราะชื่อว่าจิตเรายังประกอบไปด้วยตัณหา มีกิเลส มีตัณหา มีอุปาทาน ตัวยึดมั่น แล้วมันจะดีได้ยังไง มันก็เลว

    กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมอง ไอ้วัตถุใด ๆ ก็ตามถ้ามันเศร้าหมองไม่แจ่มใส เราก็ถือว่าวัตถุว่าวัตถุนั้นแล้ว มันหาตัวดีไม่ได้ ทีนี้หากว่ามันเศร้าหมองแล้วเรายังไปดึงมันเข้าไว้ก็ดึงเอาความสกปรกเข้ามา แล้วมันจะสะอาดได้ยังไง ก็เลวน่ะซิ อุปาทานตัวเดียวไอ้ตัวทะยานอยาก ตัณหาอยาก อุปาทานดึง ดึงเข้ามาแล้ว อกุศลกรรม คือ ทำด้วยความโง่ รักษาของเลวเป็นสมบัติของตนเลยเอาดีไม่ได้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่ถ้าเป็นนักปฏิบัติก็ต้องเป็นนักปฏิบัติที่ระบบชั้นเลวสุด ถ้าเราจะไล่ตัวเลวได้ตัวเลวอันดับหนึ่งน่ะมันถึงก่อน ตัวที่จะถึงก่อนนี่เขาต้องถือว่า ถ้าจิตของเราเข้าไปเห็นมุมใดมุมหนึ่งของโลก หรือว่าคนใดคนหนึ่งในโลก ไม่ว่าจะทรงร่างกายทรงฐานะระดับไหนก็ตามเห็นว่าเขามีสุข นั่นเราจะรู้เลยว่าเราโง่เต็มที จัดว่าเป็นคนบรมโง่แล้ว บรมโง่ ปรมะ แปลว่า อย่างยิ่ง บรมโง่ ก็แปลว่า โง่อย่างยิ่ง คือ ยอดของความโง่ หาใครโง่เกินกว่าเราไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความจริงของโลกไม่มีมุมไหนเป็นมุมของความสุข คุณลองบอกผมทีเถอะ คุณเห็นว่าไอ้โลกมุมไหนมันสุขบ้าง

    ถูกล๊อตเตอรี่มีความสุขหรือความทุกข์ ไม่มีสุข หาสุขไม่ได้ มันจะสุขตรงไหน พอรู้ว่าถูกล๊อตเตอรี่ ดีใจว่าถูกล๊อตเตอรี่ ความทุกข์มันตามมาเลย เกรงว่าสลากล๊อตเตอรี่จะหาย ใช่ไหม ความจริงตอนซื้อมา ๑๐ บาท อาจจะวางตรงไหนก็ได้ แต่รู้ข่าวว่าถูกรางวัลที่ ๑ อีคราวนี้ดีไม่ดีไม่อาบน้ำไม่ได้อาบท่าแล้ว อีใบนี้เก็บกันเต็มที่เลย นี่ทุกข์ตามมาเลย ทีนี่พอไปรับสตางค์ เขาเกิดหักภาษีรายได้ขึ้นมา อารมณ์ของความทุกข์มันก็เกิดเสียดายสตางค์ ใช่ไหม พอได้สตางค์มาแล้ว กลัวสตางค์หาย เสร็จ ดีไม่ดีถูกใครเขาต้มเขาตุ๋นไปก็เจ๊งไปเลย นี่เป็นอันว่า มุมของโลกหาความสุขไม่ได้

    ในฐานะของคนก็เหมือนกัน ถ้าจะคิดว่าพระมหากษัตริย์มีความสุข ก็ดูเรื่องของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินก็ลองนึกดูว่า ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านมีทุกอย่าง ต้องการอะไรก็ได้ ต้องการจะขี่เครื่องบินเมื่อไรก็ได้ ต้องการจะขี่รถยนต์เมื่อไรก็ได้ ต้องการจะเสวยพระยาหารแบบไหน เมื่อไรก็ได้ ลองไปถามท่านซิ เคยปวดอุจจาระปัสสาวะไหม ใช่ไหม เคยปวดหัวมัวตาไหม

    เฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ ก็ลองถามท่านเคยปวดฟันบ้างหรือเปล่า หรือ ไอ้โรคปวดฟันน่ะ มันทุกข์มาก ถ้าปวดด้านไหนประสาทด้านนั้นทั้งแถบมันไม่ดีเลย นี่เป็นทุกข์ เป็นอันว่ากษัตริย์ก็ทุกข์ มหาเศรษฐีก็ทุกข์ จะมีใครมันก็ทุกข์ทั้งหมด เป็นอันว่าโลกนี้ทั้งโลกมีแต่ความทุกข์ นี่ถ้าเราจะเรียน อริยสัจ ต้องหาทุกข์ให้จบก่อน มันไม่มีอะไร อันนี้มี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เห็นมีอะไร ง่ายนิดเดียว

    ที่เรียนมาในขณะที่ปฏิบัติ ท่านบอกว่าต้องมองโลกทั้งหมดให้เห็นว่าเป็นความทุกข์ ให้เห็นด้วยปัญญานะ ไม่ใช่เห็นด้วยสัญญา ไม่ใช่จำวาทะของท่านมาพูด เราต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องคิด เห็นคนที่มีร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์เดินแบบองอาจ เราแน่ใจว่าคนนี้จะมีความสุขหรือความทุกข์ ก็หากฎของความเป็นจริง คือ นิพัทธทุกข์ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระจาย การปวดอุจจาระปัสสาวะ อาการป่วยไข้ไม่สบาย นึกเลยว่าคนนี้เขามีแบบเดียวกับเรา มันทุกข์ แล้วดีไม่ดีเข้าไปถามเขา เขาจะบอกอาการทุกข์ประจำเขาปรากฏ คือ โรคที่มีอยู่ในกายหรือว่าความไม่สบายกายไม่สบายใจอย่างหนึ่งที่ประจำอยู่

    เป็นอันว่าคนทั้งโลกไม่มีความสุขจริง ๆ มีทุกข์ นี่จิตเราต้องเห็นทุกข์จริง ๆ เสียก่อน ก่อนที่จะย่องไปถึงสมุทัยนะ ยังไม่ต้องย่องไปถ้าเรายังไม่ เห็นว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกยังมีทุกข์ต้องตำหนิใจทันทีว่าใจเรานี่ยังเลวมาก ยังโกหกตัวเอง ยังมีกิเลสเป็นเครื่องบังใจ ไอ้กิเลสน่ะความเศร้าหมองเหมือนแว่นตา แว่นตาถ้ามันใสมองอะไรก็สะดวกเห็นถนัด ถ้ามันขุ่นมัวมันมีความเศร้าหมองละก้อ มองอะไรก็เห็นไม่ถนัด กิเลสเหมือนกับแว่นตาที่ถูกฝุ่นละอองมาปะ ถ้าฝุ่นละอองมันเปราะมากเราก็ไม่เห็นตามความเป็นจริง นี่หาทุกข์ให้พบ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุทัย

    ทีนี้เมื่อหาทุกข์พบแล้ว ความจริงอริยสัจที่เราเรียนกัน ๒ อย่าง ก็หาสมุทัยว่า ไอ้ตัวทุกข์จริง ๆ มันเกิดมาจากไหน สมุทัยในที่นี้แปลว่าเหตุให้เกิดทุกข์นะ ไม่ใช่สมุดที่เป็นเล่ม เขาทำด้วยกระดาษ ไอ้ตัวอะไรที่มันทำให้เราเกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่ามันมี ๓ อย่าง ความจริงนะมันอย่างเดียว แต่แบ่งออกเป็น ๓ จุด ไอ้ตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์จริง ๆ ที่มันหาทุกข์มาให้เราก็ได้แก่ ตัณหา คำว่า ตัณหาแปลว่า ความทะยานอยาก แน่ะไอ้อยากเฉย ๆ ท่านไม่ว่า บอกทะยานอยากซะด้วย แหม…ทำไง ทะยาน ทำไงนะ จะว่าความต้องการมันเกิดขึ้น ความดิ้นรนมันปรากฏก็เรียกว่าทะยานอยากนะ

    ทีนี้ ตัณหาท่านแจกออกเป็น ๓ ระดับ ด้วยกัน ๓ จุด คือ

    ๑. กามตัณหา ของสิ่งใดที่เขายังไม่มีอยากให้มีขึ้น เกิดความอยากนี่ เรายังไม่มีรถยนต์ต้องการมีรถยนต์ ตัวอยากมาแล้ว ถ้าไอ้ตัวอยากมีปรากฏ ถ้ามันยังมีขึ้นมาไม่ได้เพียงใดความสบายกายสบายใจมันก็มี ไม่เพราะเราอยากจะให้มันมี นี่ต้องหากต้องดิ้นรนต้องทำทุกอย่างเพื่อมีวัตถุสิ่งนั้น

    ๒. ภวตัณหา เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว อยากต้องการให้มันคงที่ ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม

    ๓. วิภวตัณหา ถ้าสิ่งนั้นมันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปกติก็หาทางฝืน เพราะไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น มันก็แบบเดียวกับกลิ้งครกขึ้นยอดเขาหรือดันน้ำให้มันไหลขึ้นด้านเหนือ ขึ้นด้านสูง มันทำไม่ได้ ทำแล้วก็ได้ความลำบาก ทำไม่สำเร็จผล

    ทีนี้ตัณหา ๓ ประการนี้เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์แบบไหนก็เห็นจะมองง่าย ๆ อย่างพวกเรานี้ เพราะอาศัยตัณหา อยากเกิด มันจึงเกิด ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียวจะเอาใครมาหิว ไอ้คนที่ไม่เกิดมันหิวหรือไม่หิว เปรตหิวนี่คนเป็นไปเกิด เปรตไม่หิวเหรอ ไอ้เกิดเป็นเปรตก็ถือว่าเกิดแล้ว ถ้ามันไม่เกิดเป็นเปรตมันก็ไม่หิว มันเกิดเหมือนกัน ไม่ใช่หมายความว่า เกิดเป็นคน ไม่ต้องถือว่าเป็นคนเสมอไปมันเกิดนี่ถ้าไม่มีตัวเกิดจริง ๆ มันก็ไม่หิวละ

    ถามเทวดาหิวไหม หิวไหม หิว เทวดาหิวอะไร ยังมีความอยากอยู่ อยากจะหิวคือยังมีการต้องการอยู่ ความจริงถึงแม้อาหารเขาไม่ต้องการก็จริง แต่เทวดาเขายังมีกิเลส นี่เราจัดเข้าเทวดาประเภทที่มีกิเลส ไม่ใช่พระอริยเจ้านะ เทวดามี ๒ พวก พรหมก็มี ๒ พวกเหมือนกัน ยังมีตัณหาอยู่ เขายังมีความต้องการ กายไม่หิวแต่ว่าใจหิว ยังอยากได้อย่างโน้นยังอยากได้อย่างนี้ เป็นเทวดาชั้นนี้มีรัศมีกายผ่องใสสู้องค์นั้นไม่ได้ ทำยังไง เราถึงจะมีรัศมีกายเท่าเขาหรือดีกว่าเขา
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เทวดานี่มีความต้องการที่รัศมีกายเป็นสำคัญ ถ้ามีบุญญาธิการมาก คือ มีรัศมีกายสว่าง สว่างมากมีบุญญาธิการน้อยก็มีรัศมีกายสว่างน้อย นี่เขาอายกันแค่รัศมีกาย คือมันเป็นแสงสว่างออกมา นี่เทวดาเขามีความต้องการ ไอ้ตัณหาความต้องการมันเกิดขึ้นมันอยากได้อย่างโน้น อยากได้อย่างนี้ ถ้ามันยังไม่ได้ก็เกิดทุกข์ต้องการให้มันได้ขึ้น พอได้ขึ้นมาแล้วก็เกิดความทุกข์ด้วยการระวังรักษา ใช่ไหม

    ทีนี้พอได้แล้ว กามตัณหา นี่อยากได้ พอได้มาแล้วปุ๊บ ดีใจว่าได้มา ตัวตัณหาอีก ตัวมันก็โผล่ มันรู้วัตถุที่เราได้มานี่มันต้องเก่า มันต้องพัง คนที่เราได้มานี่มันต้องแก่ ต้องทรุดโทรม และก็ตาย สิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ทั้งหลายที่เราได้มา มันต้องมีการเปลี่ยนแปลงต้องแก่ต้องตาย ทีนี้ได้ตัว ภวตัณหา มันก็ปรากฏ วัตถุก็ดีบุคคลก็ดีที่เราได้มาตามความต้องการ เราต้องการทรวดทรงแบบนี้ ต้องการสีแบบนี้

    ลักษณะแบบนี้ ไอ้ความต้องการไม่ให้เปลี่ยนแปลงมันก็เกิดขึ้น ว่าต้องการให้มันทรงตัวได้แก่ ภวตัณหา อารมณ์ฝืนมันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นแล้ว ในเมื่อสิ่งนั้นมันไม่ตามใจ มันเคลื่อนไปตามสภาพ เก่าไปตามสภาพ ทรุดโทรมไปตามสภาพ ความไม่สบายกายไม่สบายใจมันก็เกิด เพราะเราไม่ต้องการให้มันเป็นแบบนั้น แต่มันยังเป็น มันฝืน ในเมื่อมันเริ่มเคลื่อนไปแล้ว วิภวตัณหาก็โผล่ หาทาแก้ซี หาฤาษีมาชุบเลยคราวนี้ มันก็แก้ไม่ได้

    ทีนี้ได้สิ่งเหล่านั้นมันเก่าลง ๆ ในที่สุดมันก็ทรุดโทรม เพราะว่าสภาพทุกอย่างในโลก มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง และก็มี อนัตตา เป็นตัวสุดท้าย นี่เป็นกฎธรรมดา ในเมื่อบังคับไม่ได้แล้วสิ่งนั้นจะพังไป คนจะตายไป สัตว์จะตายไป เกิดทุกข์ใหญ่ นี่เราจะเห็นทุกข์ใหญ่ได้ก็มีอาการเสียใจปรากฏ เมื่อมีอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ หรือคนที่รักคนที่ชอบใจ สัตว์ที่เราชอบใจ นี่เป็นอันว่าความทุกข์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้ เพราะอาศัย ตัณหา

    ทีนี้เราจะตัดทุกข์ เราตัดตรงไหน ก็ตัดตรงตัณหาตัวเดียว ไม่เห็นยาก กิเลสทั้งหมด นี่เราตัดตัณหาตัวเดียวหมด ตัณหาที่เราตัดนี่คือไอ้ตัวละ ต้องอดใจไม่ชื่อว่าตัด อย่างคนเขามารักษาศีลอุโบสถวันหนึ่ง อย่างนี้ชื่อว่าตัดกามตัณหาหมดไปชิ้นหนึ่ง ไม่รู้ว่าชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ก็ช่างมัน ตัดทุกวันมันก็หมดไปทุกวัน อย่างที่พวกเรามาบวชอยู่นี่ ถือเนกขัมมบารมี เราจะคิดว่าเราละกิเลสไม่ได้เลยมันก็ไม่ได้

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ถ้าเราตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสจริง ๆ เราก็รักษาศีลอยู่ไม่ได้ เอาละถึงจะบวช ๒ เดือน ๓ เดือน ๙ วัน ๑๐ วัน ก็ตาม ถ้าบวชด้วยความรู้สึกจริงมีความเลื่อมใสจริง อดใจไว้ได้จริง เป็นอันว่าตอนนี้นะเราระงับกิเลสไว้ได้ แสดงว่ากิเลสมันเริ่มแพ้เราบ้างแล้ว มันแพ้เสียบ้างเราก็มีโอกาสจะชนะมันหาจุดอ่อนของมัน
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ การที่เราจะตัดตัณหาเขาทำยังไง พระพุทธเจ้าบอกว่า ต้องเจริญมรรคทุกขปฏิปทา คือต้องปฏิบัติในมรรค มีสัมมาทิฐิ เป็นต้น มรรคคือมี ๘ อย่าง ถ้าไล่ทั้ง ๘ มันก็เจ๊ง มรรคนี่เขาย่อลงมาจาก ๘ เหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็หันเข้าไปหา ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ ตัวนี่เป็นการทำลายกิเลส

    นี่ศีลเรามีแล้วกิเลสมันก็ยั้งตัวอยู่หน่อย เพราะอะไร ศีลมีอุปมาเหมือนกับกรงเหล็กเข้าไปครอบกิเลสเข้าไว้ แต่ว่ากิเลสเหมือนเสือ เสือร้ายหรือว่าสิงห์ร้าย ถ้ามันติดกรงอยู่มันดิ้นคึ่กคั่ก ๆ แต่มันกัดใครไม่ได้อย่างหมา หมาดิ้นอยู่ถึงแม้เราจะฆ่ามันไม่ตาย แต่เราขังไว้ได้ก็ชื่อว่าเราชนะจุดหนึ่งแล้ว จะขังไว้ได้นานหรือไม่นานนี่ไม่สำคัญ เรื่องเล็ก ชื่อว่าเราขังได้ก็แล้วกัน ถ้าเราเคยขังมันได้สักครั้งหนึ่ง ก็เชื่อว่าโอกาสหน้าเราสามารถจะจับมันขังได้อีกเราขังได้ ใช้เวลาน้อยก็ตามมาก็ตาม ถ้าขังบ่อย ๆ กิเลสมันก็เพลียเหมือนกัน ขังแล้วไม่ให้กินข้าวกินปลา มันก็ดิ้นไปดิ้นมามันชักหมดแรงเหมือนกัน

    นี่เหมือนกับพวกเราที่มาบวชนี่พวกคุณไม่ได้ฆ่ากิเลสตาย คุณรู้ คุณขังกิเลสไว้ แต่ก็ยังดีขังได้สัก ๓ เดือนก็ดีถมเถไปแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าการขังกิเลสไว้คราวหนึ่งก็ชื่อว่า เราพักไม่ให้กิเลสมันกัดกายเรา มันกัดใจเรา ใจของเราก็มีความสมบูรณ์ บริบูรณ์แข็งแรงขึ้นมาบ้าง พอมีกำลังที่จะวิ่งหนีอบายภูมิได้ ถึงแม้ว่าจะไม่พ้นอำนาจของกิเลสหรือพ้นอำนาจของอบายภูมิ นี่มันก็ชื่อว่าเป็นของดี ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ

    สำหรับต่อจากนี้ไป ถ้าหากว่าเราจะมาพูดกันว่า สำหรับมรรค ๘ มี สัมมาทิฐิ เป็นต้น นี่ท่านขึ้นตัวปัญญาก่อน ความจริงพระพุทธเจ้าสอนน่ะ สอนให้ใช้ตัวปัญญาก่อนนะ ไม่ใช่ขึ้นศีลก่อน คือ คนต้องมีปัญญาแล้วจึงจะมีศีล แต่ว่าในมรรค ๘ ย่นมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ว่าคนที่มีศีลได้นี่ถ้าไม่มีปัญญาเขาก็จะไม่รักษาศีล คนไม่มีปัญญานี่ย่อมไม่เห็นประโยชน์ของศีลแต่ว่าปัญญามันยังเล็กเด็กอยู่เท่านั้นเอง

    ฉะนั้นการศึกษาอะไรก็ตามที่เราพอใจในการศึกษา ว่าเราจะบวชเข้ามาด้วยศรัทธา นี่แสดงว่าเราเป็นคนมีปัญญาแล้ว แต่ว่าปัญญาตัวนี้ยังไม่มีกำลังกล้าพอที่ทำลายกิเลสได้หมด แต่ว่าเป็นปัญญาที่สามารถจะหาทางยับยั้งไว้ได้ นี่เป็นปัญญาเล็ก ๆ แต่ว่าปัญญาตัวเล็ก ๆ นี่คุณ อย่าถือว่าไม่มีประโยชน์นะ ความจริงมันเป็นประโยชน์ไม่ว่าวัตถุสิ่งใดก็ตาม บ้านเรือนโรงต่าง ๆ ที่เขาสร้างมาเป็นหลังใหญ่ ๆ ได้ เพราะอาศัยวัตถุเล็ก ๆ เป็นปัจจัย

    ถ้าไม่มีวัตถุเล็กเป็นเครื่องสนับสนุนเป็นอุปกรณ์บ้านหลังใหญ่มันก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ ตัวของเราเองก็เหมือนกันที่จะเกิดขึ้นมาได้เป็นตัวใหญ่ขนาดนี้ มันก็มาจากตัวเล็ก ๆ ก่อน ทีแรกเดิมทีเดียวมันก็ไม่เป็นตัว ทีนี้เวลานานวันเข้าการสะสมของร่างกายมันเกิดขึ้น มันก็เป็นตัวเต็มตัว แล้วในที่สุดมันก็เติบโตขนาดนี้ นี่เป็นอันว่าของเล็กมีความสำคัญ ไม่ใช่ว่าของใหญ่มีความสำคัญ

    ทีนี้ก็มาว่ากันถึง มรรค มรรคมีองค์ ๘ เราย่นมามันเหลือ ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา เขาบอกว่าในเมื่อมรรคท่านขึ้นด้วยปัญญาก่อน คือ สัมมาทิฐิ ตัวนี้เป็นปัญญา สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นชอบ แต่คนที่ไม่มีปัญญาจะมีความเห็นชอบไม่ได้ เวลาในกฎถือศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ขึ้นปัญญาก่อน เราก็ต้องตอบเขาว่าคนที่จะมีศีลได้ต้องเป็นคนมีปัญญา แต่ว่าปัญญาตัวนี้ยังมีกำลังใจไม่กล้าพอยังไม่สามารถจะทำลายตัณหาให้หมดไปได้ เป็นปัญญาตัวยับยั้งกำลังของตัณหา ยับยั้งเล็ก ๆ ไม่ใช่ยับยั้งใหญ่ เหมือนกับคอกขังเสือ

    ความจริงตัวมรรคนี่นะ เวลาปฏิบัติจริง ๆ นะ และเวลาปฏิบัติจริง ๆ เขาไม่มีกันหรอกนะ หรือไง ปฏิบัติจริง ๆ นี่เขาพิจารณากันแต่ทุกข์กับสมุทัยเท่านั้น ตัวมรรคกับนิโรธ ๒ ตัวนี้ไม่มีหรอก ถ้าเทศน์ละก้อมีนิโรธ แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลสตัณหาทั้งหมด มันเป็นผล ไอ้ตัวมรรคจริง ๆ น่ะ มันมีตั้งแต่เริ่มต้น คือเราเจริญสมถภาวนาใช่ไหม แล้วเวลาเราเจริญสมถภาวนานี่เราต้องมีศีลก่อน เพราะอะไร เพราะถ้าไม่มีศีล สมาธิมันไม่เกิด มันมีอยู่แล้ว

    เมื่อศีลมีแล้วเวลาที่เราเจริญสมถภาวนาเรา ก็ต้องมีสมาธิ ถ้าสมาธิไม่มีจริง ๆ มันก็เป็นสมถะไม่ได้ คือ ควบคุมอารมณ์ใจไม่ได้ นี่ตัวสมาธิ ตัวศีลก็ดี จะมีขึ้นได้เพราะตัวปัญญาเป็นปัจจัย ถ้าปัญญาของเราไม่ดีเราเป็นคนไม่มีปัญญา มันก็ไม่เห็น คุณเห็นประโยชน์ว่าการมีศีลดี มีสมาธิดีนี่เป็นอันว่าเราใช้ปัญญากันมาตั้งแต่ต้น แต่ว่าปัญญาที่องค์สมเด็จพระทศพลเรียงไว้ในด้านศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัญญาตัวสุดท้ายว่าเป็นปัญญาที่มีกำลังใหญ่ ไม่ใช่ว่าเราในตอนต้นนี่เราไม่มีปัญญา ไม่ใช่อย่างนั้น
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ การตัดตัณหา ท่านบอกว่า ให้เป็นคนมีศีล ไอ้ศีลนี่มันทำร่างกาย วาจาให้สงบแต่ความจริงมันต้องสงบมาถึงใจ เรียกว่าค่อย ๆ บุกมันลงไปค่อย ๆ เลาะไม่ใช่ตีทีเดียวตายเลยนะ ครั้งแรกมันอยากวิ่งเร็วนัก ตีขาซ้าย ขาซ้ายหัก ไอ้มีขาขวายังตะเกียกตะกายได้ ตีขาขวาให้หักอีกขา มีมืออีก ๒ มือ มันยังตะกายต่อไปได้ เอามือสาวไป ตีมือซ้ายหัก มีมือขวายังไปได้อีก ตีมือขวา ทีนี้ทำไงล่ะ มันก็นอนแหงแก๋ ไปไม่ได้ แต่ปากมันก็ยังด่าได้ หือ ทำไง ตีปากมันซะอีก ฟันเฟินหักปากพัง เอ๊ะ นัยน์ตามันยังด่าอีก ตาด่าได้มีไหม นี่เขามองกันไปมองกันมาเดี๋ยวชกกันนี่ มันใช้ตาด่า เห็นไหม ก็ต้องตีตามันอีก

    ก็แบบเดียวกับเราเจริญกฎ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นแรกเรามีศีลก่อน เมื่อรามีศีลแล้วเรียกว่าฝึกอดใจ แบบเล็ก ๆ ใช้กำลังน้อย ๆ ควบคุมกำลังใจพอระยะกฎ ๕ ประการ ที่เรียกว่า ศีล ๕ ถ้าพระก็มีศีล ๒๒๗ เณรศีล ๑๐ พระนี่ไปล่อเอาศีล ๕ ก็ไม่ได้นะ ตกนรกบอกไม่ถูกเลยนะ ไม่เป็นไรศีล ๕ ฉันมีฉันไม่ต้องห่วง อเวจีเป็นที่ไปละไม่ต้อง สบาย ลุงพุฒ ลงบัญชีเขียนบัญชีมันเมื่อยมือใช่ไหม พระไปรักษาศีล ๕ ไม่ได้ ถ้าพระองค์ไหนยิ่งไม่มีศีล ๕ ด้วยละก้อไม่ต้องห่วงแล้ว โลกันต์นั่นแหละเป็นที่ไปเลย เดี๋ยวนี้มีไหมพระไม่มีศีล ๕ เดินหลีกไม่พ้นเลยกระมั้ง

    ทำไมล่ะ ก็พระไม่รักษาสัจจวาจามันก็ขาดศีล ๕ ใช่ไหม แล้วพระไปบี้ยุ่งบี้มดมันก็ขาดศีล ๕ ขาดรึเปล่า ไม่ตั้งใจจะบี้ เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย การตั้งใจชื่อว่าเป็นตัวกรรม ถ้าเราไม่ตั้งใจเราจะไปบีบบี้มันทำไม ใช่ไหม เว้นไว้แต่ว่าอะไรมันมาจับข้างกายจะลูบดูคลำดูมันไปบังเอิญมันแรงไปนิดมันตายไป ไม่มีเจตนาฆ่า ตอนนี้ไม่ถือว่าขาดศีล ๕ นะ นี่เป็นอันว่าถ้าเรารักษาศีลได้ตามปกติ เราก็เป็นการตัดกำลังของกิเลส ตัดมากไม่ได้เป็นไร เราตัดน้อยเข้าไว้ก่อน เหมือนกะตีแข้งตีขาไว้ก่อน ใช่ไหม ให้มันคลานยากเข้า มันขาดมันวิ่งไม่ได้ มันจะเดินโขยก ก็ยังช้ากว่าวิ่ง ดีไม่ดีเราตัดเสีย ๒ ขาให้เดินโขยกไม่ได้ มันคืบไปยังช้ากว่า วิ่งช้ากว่าเดิน

    นี่อันดับแรกพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้ทรงศีลให้บริสุทธิ์เสียก่อน คือ ขึ้นชื่อว่าศีล เราจะต้องรักษาด้วยชีวิต แต่ว่าในตอนต้น ๆ จริง ๆ ท่านก็ไม่ได้บังคับขนาดนั้น บังคับแต่เพียงว่าหรือแนะนำไว้แต่เพียงว่า ถ้าหากเรารักษา ๕ ตัว ถ้าเป็นฆราวาส ถ้าเป็นพระน่ะไม่ได้นะ พระเณรนี่ ๑๐ ตัว ๒๒๗ ก็ ๒๗๗ ใช่ไหม เอามันแค่ ๑ ก่อน ถ้า ๑ นี่เราบังคับได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับไปเป็น ๒ ให้อารมณ์มันชินมา ๒ แล้ว ก็ไปเป็น ๓ เป็น ๔ เป็น ๕ ค่อย ๆ ไป ถ้าเราชนะศีล ๑ ตัวได้ เราไม่ละเมิดศีล ๑ ตัว ไอ้นี่แสดงว่าเราชนะกิเลสไป ๑ จุดแล้ว ไม่ใช่ว่าเราแพ้กิเลส ค่อย ๆ ตีเข้าไป

    พระราชพรหมยาน
    (จบเรื่องอริยสัจ ตอนที่ ๑[FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New])

    [/FONT]
    [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อริยสัจ ๔ ตอนที่ ๒

    เมื่อวานนี้พูดไปบ้างแล้ว เมื่อคืนนี้กลับไปกุฏิ ตอนหัวค่ำพระท่านมาบอกว่า การสอน ศีล สมาธิ ปัญญา บอกว่าให้รู้จักเอาศีลขังตัณหา สมาธิกดคอตัณหาปัญญา ห้ำหั่นตัณหา คือฟันเป็นท่อนเป็นตอน ท่านว่าอย่างนั้น นี่ผมก็ต้องเรียนมาเหมือนกันนะ คือถ้าเอาตามแบบผมละคุณเรียนไป ๑๐๐ ปี ไม่ได้อะไรนะ เมื่อคืนนี้ ท่านมาว่าอย่างนั้น

    พอตอนเช้ามืดท่านมาบอกอีกจุดหนึ่ง คนที่เห็นอริยสัจนี่ ถ้าเราพูดตามแบบก็เห็นยาก ให้หาจุดปลายทางจริง ๆ ก็คือ มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ นี่ก็ไป ๆ มา ๆ เราก็ทิ้งสมถะไม่ได้ อริยสัจนี่เป็นวิปัสสนาญาณ ถ้าหากว่าเราทิ้งสมถะเสียแล้ววิปัสสนาญาณไม่มีผล ผมเคยบอกมาแล้ว สมถะมีความสำคัญมาก เป็นตัวกล่อมจิตให้ทรงตัวอยู่ ให้จิตมีกำลังและก็เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ ฉะนั้นถ้าบุคคลใดเก่งในสมถะและมีความคล่องแคล่วในสมถะ สามารถจะเข้าฌานแต่ระดับได้ตามปกติ คำว่า ปกติก็หมายความว่า คิดจะเข้าฌานเมื่อไรจิตเข้าเป็นฌานทันที ไม่ยอมเสียแม้แต่เวลาครึ่งของวินาที วินาทีนี่อย่านึกว่ามันเร็ว มันช้าไปนะ แม้แต่นิดหนึ่งของวินาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานจิตถึงฌานเต็มที่ จะเข้าฌานไหนก็ได้

    การทรงฌานจะเป็นการทรงแบบไหนก็ได้ เรียกว่าใน กรรมฐาน ๔๐ กอง กองใดกองหนึ่งก็ได้ตามอัธยาศัย นี่ถ้ากำลังจิตเราแบบนี้นะ ถ้าเป็นฌานในส่วนของรูปฌาน แต่นี่ผมมวยหมู่ล่อกรรมฐาน ๔๐ ได้แบบนี้เข้าให้ กรรมฐาน ๔๐ นี่หมายถึงอรูปฌานด้วย ถ้าหากว่าเราสามารถทรงฌานในกรรมฐาน ๔๐ ก็ได้อรูปฌานด้วย คล่องตามอัธยาศัย ตั้งใจเข้าเมื่อไรได้เมื่อนั้น นี่หากว่าเราใช้อรูปฌาน เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ

    วิปัสสนาญาณนี่มีตัวเดียว ได้แก่ การพิจารณาขันธ์ ๕ นี่เราเรียนกันมาแล้วเรื่องขันธ์ ๕ ก็เรียนกันมา อายตนะนี่ก็คือขันธ์ ๕ ใช่ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามันเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส ไอ้ใจนึกพลุ่งพล่านไปตามอารมณ์นี่มันก็ไปเจอะไปชนขันธ์ ๕ ทีนี้มาถึงโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ มีสติ เป็นต้น ก็ไปชนขันธ์ ๕ ไปนึกอะไรก็ไปใคร่ครวญขันธ์ ๕ กัน ทีนี้มาถึง อริยสัจ ก็มาเล่นกับขันธ์ ๕ อีก ไอ้ตัณหาตัวนี้ก็เข้าไปอยากได้ขันธ์ ๕ นี่ ผมไม่เห็นมีอะไร ผมว่าง่ายจริง ๆ ไม่มีอะไรยากเลย มันไม่มีอะไรยากเลย เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณ มันมีตัวเดียวคือ พิจารณาขันธ์ ๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...