ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 มิถุนายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่ว่าเป็นที่ต้องการของคนฝึกเพราะว่าอะไร ก็เพราะว่ากำลังใจในขั้นของสมถะภาวนาเป็นแสงสว่าง แต่ว่ามีกระแสออก แสดงว่ากำลังใจของท่านมีสมาธิดี ถาแสงสว่างของจิตไม่มีแกนกลาง ก็หมายถึงว่าเป็นกำลังของฌาน ๔ ถ้ามีแกนกลางก็ดูแกนเล็กและแกนใหญ่ แต่ทว่าวันนั้นจะมีอยู่บ้าง ก็นิดหน่อยจัดว่ามีกำลังใจที่ดีมาก คำว่า ฌาน ๔ นี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องนั่งหลับไม่รู้เรื่องมันเป็นกำลังใจที่ปักแน่นคือ เอกัคคตา กับ อุเบกขา เพราะว่ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทนี่มันควบกันทั้งสมถะและวิปัสสนา เพราะการแนะนำท่านพุทธบริษัทไม่ได้แนะนำเฉพาะสมถะ ที่พูดก็พูดกันควบทั้งสมถะและวิปัสสนา แสดงว่าทั้งข้าวตอกด้วยน้ำกระทิด้วยเสร็จใช่ไหม

    ฉะนั้นถ้าฟังไปบางทีอาจจะไม่รู้ว่าสอนอะไร สมถะหรือวิปัสสนาอันนี้อาจจะไม่ทราบ แต่ความจริงก็ไม่จำเป็นจะต้องบอก เพราะว่าการปฏิบัตินั้นจะต้องปฏิบัติพร้อมกันทั้ง ๓ อย่าง ทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา ศีลเราก็รู้ว่าศีล ส่วนสมาธิคือสมถะ ปัญญา คือ วิปัสสนาญาณ ทีนี้ถ้าเวลาแนะนำท่านจะบอกว่า นี่ศีลนะ อย่างนี้เป็นสมาธินะ อย่างนี้เป็นวิปัสสนา เวลาปฏิบัติเขาไม่ได้ใช้แบบนั้น เวลาปฏิบัติจริง ๆ เราใช้อารมณ์รวมกันทันทีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

    ฉะนั้นเวลาแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัทจึงว่าควบกันไปเลย ไม่แยกออก ถ้าพูดถึงศีลก็พูดถึงสมาธิและวิปัสสนาไปพร้อม ถ้าพูดถึงสมาธิก็พูดถึงศีลวิปัสสนาไปพร้อม ถ้าพูดถึงวิปัสสนาก็มีควบทั้งศีลและสมาธิพร้อมกันไป ใช้ควบกันเลยนะใช่ไหม ไม่ใช่แกงส้ม มันมีรสเค็มกี่ถ้วย รสเปรี้ยวกี่ถ้วย ถ้าใส่หวานอีกนิดก็มีรสหวานอีกถ้วยกินไม่ไหวละ มันต้องใส่ถ้วยกิน ทีเดียวทั้ง ๒ รสหรือ ๓ รสใช่ไหม ก็เหมือนกัน

    ฉะนั้น การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์ใจแบบนั้นแสดงว่า ทุกท่านมีกำลังใจดีคำว่า ดีในที่นี้ถ้าจะพูดกันไปตามส่วน ถ้าจะว่ากันถึงบารมี เอ๊ะ…เดี๋ยวจะหาว่ายอกันนะ ยอหรือไม่ยอ ถ้าจะว่าถึงบารมีก็จะต้องถือว่ามีบารมีดีพอ ดีพออย่างไร พอที่จะไปนรกก็ได้ สวรรค์ก็ได้ ใช่ไหม

    ถ้าหากว่ากำลังใจแจ่มใสแบบนั้นมันไปนรกไม่ได้ แต่ว่าข้อสำคัญว่าในเมื่อกำลังใจเราแจ่มใสพอ โดยเฉพาะวันสุดท้าย นอกจากว่ากำลังใจจะเข้มแข็งทั้งสมาธิและปัญญาแล้ว พร้อมกันนั้นก็มีอุเบกขาเข้ามาครอบงำที่เรียกกันว่า สังขารุเปกขาญาณ เฉพาะวันนั้นเห็นพระท่านมา ท่านบอกว่ากำลังใจแบบนี้ก็เหมือนกับเอาหินก้อนใหญ่มาวางไว้ เป็นที่พอใจของท่าน

    คำว่า หินก้อนใหญ่มาวาง ไอ้หินก้อนใหญ่นี่ขยับมันไม่ได้ มันเลื่อนเองก็ไม่ได้ลมพัดมันก็ไม่ไป น้ำไหลมันก็ไม่แล่น ใช่ไหม ทีนี้ถ้าจะเรียกกันด้านของวิปัสสนาญาณก็ต้องเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ ตัวนี้เป็นวิปัสสนา ตัวสุดท้ายเป็นตัวที่ ๘ ได้ตัวที่ ๙ จริง ๆ นั้น สัจจานุโลมิกญาณ ไม่มีอะไรมันเดินหน้าถอยหลังไอ้ ๘ ตัวนั่นแหละนะ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในเมื่อกำลังใจเข้าถึงตัวสุดท้าย มันก็เหลืออีกจุดเดียว คือ การก้าวต่อไปมันก็คือ โคตรภูญาณ เพื่อความเป็นพระโสดาบัน นี่สำหรับท่านผู้ใหม่นะ สังขารุเปกขาญาณนี่ มันก็เป็นไปได้ทั้งหมดจนถึงอรหัตผล เพราะว่ากำลังใจของพระโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ไม่เท่ากัน จะถึงโดยญาณก็เป็นสังขารุเปกขาญาณเหมือนกัน

    ถ้าสังขารุเปกขาญาณของพระโสดาบันก็เป็นสังขารุเปกขาญาณขั้นเบา ๆ คอมีความหวั่นไหวอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ความหวั่นไหวก็ยังมีอยู่ คือ หมายความรู้ว่าตัวว่าจะต้องตาย แต่ว่าบางครั้งก็กลัวตายเหมือนกันนะ แต่ว่ามีความมั่นใจอยู่อย่างหนึ่งว่าจิตเรามั่นอยู่ในพระรัตนตรัย คือ คุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ มีศีลบริสุทธิ์ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ก็คิดว่าไอ้ความตายมันต้องตาย กลัวตายก็มีอยู่บ้าง ความห่วงใยเบื้องหลังก็มีอยู่บ้าง แต่ก็มีความมั่นใจว่าการตายของเราคราวนี้เราไม่ลงนรกแน่ …นะ ตัวนี้เป็นสังขารุเปกขาญาณของพระโสดาบัน มีความมั่นใจพอว่าเราไม่ลงนรก แต่ก็ยังหวั่นไหวอยู่นิดหน่อยเพราะถือว่าเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น

    ถ้าเป็นสังขารุเปกขาญาณของพระอนาคามี พระสกิทาอาจจะไม่พูด สำหรับสังขารุเปกขาญาณของพระอนาคามี พระอนาคามี มีอะไร มีการตัดกามฉันทะได้เด็ดขาดแล้วก็ตัดโทสะได้เด็ดขาดมีอารมณ์เยือกเย็น ตอนนี้จะถือว่ากลัวตายไหม ก็ต้องตอบว่าพระอนาคามีก็ยังมีความหวั่นไหวอยู่ในความตายบ้างเหมือนกัน แต่ก็หวั่นน้อยและก็ยังมีการกระทบกระทั่งมีการกระเทือน แต่ทว่าความมั่นใจในสังขารุเปกขาญาณของพระอนาคามี มีอยู่คิดว่าเราตายคราวนี้เราเป็นเทวดาหรือพรหม เราก็ไม่ลงมาอีกแล้วบำเพ็ญตนที่นั่นจนกว่าจะเป็นอรหันต์แล้วเข้าพระนิพพาน

    สำหรับสังขารุเปกขาญาณของพระอรหันต์นี่ไม่ใช่อย่างนั้น มีอารมณ์จืด คือ จืดหมด อารมณ์ละไม่มี เพราะว่าไม่มีอะไรจะละ ละซะหมดแล้วนะ เห็นคนสวย สัตว์สวย วัตถุสวย อารมณ์ก็เฉย เพราะวางหมดเสียแล้ว เห็นความร่ำรวยมันก็เฉย เห็นการยั่วให้โกรธอารมณ์มันก็เฉย วัตถุสิ่งใดหรือคนใดที่ทำให้ตนห่วงด้วยอำนาจของกิเลสไม่มี อันนี้เป็นอารมณ์สังขารุเปกขาญาณของพระอรหันต์ อารมณ์มันสบาย ๆ อย่างนี้เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ คือ อารมณ์มันวางเฉย มันเฉยหลายขั้นด้วยกันนะ

    เป็นอันว่าเที่ยวที่แล้วมาอารมณ์สังขารุเปกขาญาณวันสุดท้ายของบรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาก็จะไม่ขอบอกว่าอยู่อันดับไหน เดี๋ยวจะหาว่าประจบชาวบ้านหากิน ก็รู้ตัวกันเอาเองก็แล้วกันเพราะว่าคนมาด้วยกัน ดูกำลังใจ ถ้ากำลังใจของท่านผู้ใดมีความมั่นใจในศีล ๕ ทรงตัว มีความเคารพในพระรัตนตรัย และก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททรงอย่างนี้ แต่ว่าให้ดูสิ่งที่ดูจริง ๆ ให้ดูตรงศีล สิ่งที่ต้องระวัง คือ ให้ดูศีลกับอารมณ์สุดท้ายคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้ามีศีล ๕ บริสุทธิ์ ด้วยความมั่นใจ และอารมณ์สุดท้ายหมายความทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน อย่างนี้ก็แสดงว่าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทท่านนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับพระโสดาบันเคยพูดว่าเป็นคนเป็นชาวบ้านชั้นดีคือยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีบุตร ภรรยา สามี เพราะว่ายังมีกิเลสสมบูรณ์ แต่ว่าอยู่ในขอบเขตของศีล คือ ว่าไม่ละเมิดศีลนั่นเอง ท่านยังกล่าวพระโสดา กับ สกิทาคา เป็นผู้ทรงอธิศีล คือ มีศีลบริสุทธิ์ แต่ทุกอย่างเหมือนชาวบ้านธรรมดา แต่ว่าดีกว่าธรรมดา ที่เรามีศีลเป็นเครื่องควบคุม

    สำหรับอารมณ์ของพระสกิทาคามี มันมีการคลายตัวจากำลังของความรักในระหว่างเพศ มันคลายเฉย ๆ นะ มันไม่ถึงกับขาด กำลังใจเบาลง คลายในความโลภ คลายในความโกรธ คลายในความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าในด้านของพระโสดาบันนั้น เป็นอารมณ์ของสมาธิเล็กน้อย ปัญญาเล็กน้อยเป็นผู้ทรงศีล

    พอจิตจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระสกิทาคามีปัญญาก็เริ่มเกิด ตรงนี้ใช้ปัญญา ปัญญาพิจารณาเห็นว่าร่างกายคือสักกายทิฐิ ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะร่างกายเป็นธาตุ ๔ แต่อาศัย มหาภูตรูป คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ เข้ามาผสมกันและคำว่าเรามันอยู่ในขันธ์ ๕ หรือว่าขันธ์ ๕ มันมีในเรามันก็ไม่ใช่ ใช่ไหม คำว่าเราถ้าอยู่ในขันธ์ ๕ คือร่างกายถ้าเราจริง ๆ เราไม่อยากแก่ เราไม่อยากป่วย เราไม่อยากตาย แต่เราห้ามมันได้ไหม เราห้ามมันไม่ได้ ในเมื่อห้ามมันไม่ได้ร่างกายก็ไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา

    ทีนี้ถ้าร่างกายเป็นเราจริง เป็นของเราจริงเวลาตายแล้วถ้าเราไปสวรรค์ เราไปนรก เราไปพรหม เราไปนิพพาน มันก็ต้องไปด้วย นี่เวลาตายร่างกายไม่ได้ไปด้วย กายมันตาย ก็เป็นอันว่าสำหรับอารมณ์ของพระสกิทาคามีก็มีคลายความรู้สึก ที่เห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์มีสภาพสกปรก เป็นอนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้มันแก่เฒ่าเสื่อมโทรมลงไปทุกวันมันเป็นทุกขัง ถ้าเรายึดไปฝืนมันเข้าอารมณ์มันก็เป็นทุกข์ อนัตตาในที่สุดจะขวางขนาดใดก็ตามมันก็ไม่ทรงตัวมันก็ตาย

    ตอนนี้อารมณ์ใจก็เริ่มคลายในร่างกายคือขันธ์ ๕ คิดว่าขันธ์ ๕ นี่มันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกันมีอาการ ๓๒ มันแก่ลงไปทุกวัน มันใกล้ความตายในที่สุดมันก็พัง ฉะนั้นความรักในระหว่างเพศก็ดี ความโลภในทรัพย์สินก็ดี ความโกรธคิดจะประหัตประหารบุคคลอื่นก็ดีไม่มีความหมาย

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าความสวยสดงดงามของคนและสัตว์ไม่ทรงตัวประเดี๋ยวมันก็หายสวย แล้วเราจะรวยมากเท่าไร เราก็ตาย ถ้าเราจะคิดฆ่าชาวบ้านเขาเพื่อประโยชน์อะไร เขาก็ตายเราก็ตาย แต่ว่าอารมณ์ของพระสกิทาคามีนี่ยังไม่ได้ถอนหมดนะ ยังไม่ได้ถอนหมดคือใช้ปัญญาแต่เพียงเบา ๆ บางครั้งก็คิดได้บางครั้งก็ตะเกียกตะกายตัวเอง ตะกายเข้าบ้างตะกายออกบ้าง เดินเข้าไปข้างหน้า ๒ ก้าว ถอยหลังเข้ามา ๔ ก้าว เดินถอยหลังมา ๒ ก้าวเดินหน้าไปข้างหน้า ๔ ก้าว ล่อกันยุ่งเลย ก็รวมความว่าเริ่มใช้ปัญญาแต่ว่าการละสังโยชน์อยู่แค่ ๓ เท่า พระโสดาบัน แต่อารมณ์ใจละเอียดกว่ามีความเบื่อหน่าย คือ คลายตัวจากกำลังความรักในระหว่างเพศโดยใช้กายคตานุสสติ กับ อสุภกรรมฐาน เป็นเครื่องประคองใจนะ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กายคตานุสสติเห็นว่า ร่างกายของคนและสัตว์ที่เต็มไปด้วยอาการ ๓๒ มันเป็นของสกปรกโสโครกอารมณ์ผูกพันก็คลายตัว ทีนี้ไอ้ความโลภอยากจะร่ำรวย ไอ้รวยนี่เขาไม่ได้ว่า แต่ว่าจิตใจก็ทรงอยู่ในสัมมาอาชีวะ ตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแต่ว่าตอนนี้ปัญญาสูงขึ้นคิดว่ารวยเท่าไรก็ตาย แต่งานทุกอย่างต้องทำตามหน้าที่

    แต่ว่าจิตใจที่จะผูกพันทรัพย์สินเกินไปนี่ไม่มีสำหรับเรา ทำทุกอย่างเพื่อกินเพื่อครอบครัวเพื่อตัวและคนในปกครองแต่ว่าถ้าเราจะตายเมื่อไรก็ตาย ทรัพย์มันจะไปไหนมันก็เป็นเรื่องของมัน ใช่ไหม นี่อารมณ์ใจตอนนี้จะเห็นว่าพระสกิทาคามีกำลังใจในการให้ทานสูงขึ้น ตั้งแต่พระโสดาบันก็เริ่มไหวตัวมากแล้วนะ แต่ถึงสกิทาคามีจะรู้สึกว่าการบริจาคทาน เข้มแข็งมากขึ้น

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะไอ้ตัวโลภมันสลายตัวลง มันยังไม่ตายนะ แต่มันคลานต้วมเตี้ยม ๆ ๆ มันขวางไม่ไหว ใช่ไหม เราจะดูได้ว่าอะไรมันจะพังไม่พัง ถ้าหากว่าโลภะมันพังทานก็หนักขึ้น แต่ว่าไม่ใช่จนหมดตัวนะ กำลังใจนี่มีมากแต่ว่าการจะบริจาคก็เป็นเรื่องของกำลังทรัพย์ ที่นี้ต่อมาในด้านโทสะ กำลังใจของพระสกิทาคามีก็เอาพรหมวิหาร ๔ เข้ามาใช้แทนที่จะบูชาโทสะว่ามีกำลังดี แล้วพิฆาตเข่นฆ่าใครเขาได้ มันเป็นของดี ไม่ได้คิดตามนั้นกำลังใจพระสกิทาคามีทำลายโทสะไม่หมด แต่ทว่าลดตัวลงไปมาก

    ใครเขาสร้างความโกรธให้บางทีก็โกรธ แต่โกรธแล้วมันหายเร็ว ให้อภัยไวใช่ไหม ความรู้สึกตัวมันเกิดขึ้นมาไว คิดว่าคนที่เขาทำให้เราโกรธนี้ก็เป็นคนรู้น้อย หมายความว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังเป็นคนโง่อยู่เพราะคนที่ทำให้บุคคลอื่นโกรธเป็นการสร้างศัตรู ถ้าคนที่มีเขามีปัญญาเขาไม่สร้างให้ใครโกรธคือสร้างความเป็นมิตร

    ตอนนี้จิตเมื่อปัญญามันเกิดขึ้นก็ให้อภัยแก่คนที่ทำความผิด แต่ทั้งนี้เว้นไว้แต่ว่าผู้ปกครองที่ต้องอยู่ในระเบียบวินัย ถ้าทำผิดระเบียบวินัยต้องลงโทษ ไม่ได้ลงโทษเพราะความโกรธลงโทษเพื่อให้เขาทรงตัวดี อย่างพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย ใช่ไหม ลงโทษพระ คือ ไม่ได้โกรธแต่ต้องการให้พระท่านดี สำหรับกำลังใจของพระสกิทาคามีก็เช่นเดียวกัน โกรธไม่นานอย่างพระโสดาบันนี่ยังโกรธนานนะ แต่ว่าไม่ทำอะไรเขา เพราะว่ากลัวศีลจะขาด

    พอจิตเข้าถึงพระสกิทาคามีความโกรธมันโกรธเหมือนกัน อาจจะโกรธแรงกว่าเก่า แต่ว่ากำลังเวลาขังความโกรธมันลดตัวลง และมีการให้อภัยเร็วขึ้นใช่ไหม ที่พูดนี่ให้ท่านทั้งหลายวัดใจของท่านเองนะ ความหลงก็ไม่ต้องพูดกัน เพราะว่าความโลภมันลดความรักมันลด ความโกรธมันลดก็แสดงว่าความหลงมันลด
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้องค์สมเด็จพระบรมสุคต ที่สอนให้บรรดาพุทธบริษัทปฏิบัติความดีคือต้องการให้เป็นพระอรหันต์ จะเอาหรือยังพระอรหันต์อยากจะเป็นหรือยัง อยากเป็นหรือ ให้ใครเขาเอาสีมาเขียนไว้ข้างหน้าว่าพระอรหันต์ ใครเขามาเจอะ อ้อ…พระอรหันต์ เขียนไว้อย่างนี้ก็ได้ว่า พระอรหันต์มาแล้ว (หัวเราะ) ใช่ไหม คือว่าการเป็นพระอรหันต์ก็ค่อย ๆ ไปแต่ว่า ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เกาะพระโสดา สกิทาคาได้ทุกคนเวลาตายอย่างเลวที่สุดก็เป็นอนาคามี หรืออรหันต์ใช่ไหม

    เพราะว่าถ้าเป็นสกิทาคามีนี่ คุณสมบัติก็มีบอกอยู่แล้วว่า ถ้าตายจากคนเกิดเป็นมนุษย์ชาติเดียวชาตินั้นแหละเป็นพระอรหันต์เลย ใช่ไหม

    ทีนี้อย่าลืมว่า ถ้ากำลังใจของท่านเป็น สกิทาคามีได้ ความเข้มแข็งมันจะเกิดขึ้น พอป่วยไข้ไม่สบาย เห็นทุกขเวทนามันเกิดขึ้น ก็อาจจะเบื่อในขันธ์ ๕ ใช่ไหม หรือว่าเท่าที่ท่านพูดบอกว่า เวลานี้ถ้าใครเป็นพระโสดาบันท่านว่าอย่างนั้นกันนะ นี่ท่านพูดกันท่านบอกว่า เวลานี้ถ้ากำลังใจของใครทรงได้ในความเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามีจะตายก็ไปนิพพานทุกคน แต่ก็สงสัยถามท่านว่าไปได้อย่างไร พระโสดาบัน พระสกิทาคามีก็ยังไม่ได้ไป พระอนาคามีก็ไม่ไปเขาไปกันแต่พระอรหันต์ แต่พระโสดาบันจะไปนิพพาน

    ท่านก็บอกว่า ถ้าฉลาดอย่างแกมันก็ไปไม่ได้ ถ้าโง่อย่างฉันไปได้ ก็แปลกคุยกันไม่รู้เรื่อง คนฉลาดไปไม่ได้ คนโง่ไปได้ ก็เลยถามว่าท่านไอ้โง่นะมันโง่ยังไง ท่านก็บอกว่าพระโสดาบันแปลว่าเป็นผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน เมื่อขณะที่เขาจะตายป่วยไข้ไม่สบาย ทุกขเวทนาสาหัสมันเข้ามาบีบคั้นใช่ไหม อารมณ์เบื่อขันธ์ ๕ มันเกิดขึ้น ในเมื่ออารมณ์เบื่อขันธ์ ๕ มันเกิดขึ้น ทีนี้ไอ้จิตที่มันคิดตั้งแต่ต้นว่าเราทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานนี่ ท่านบอกว่าคนที่จะไปพระนิพพานได้ก็ต้องอาศัยมีพระนิพพานเป็นเอกัคคตารมณ์ ไอ้คำว่า เอกัคคตารมณ์ เอกะ นี่เขาแปลว่า หนึ่ง อารมณ์ น่ะมันเป็นอารมณ์ อารมณ์จับพระนิพพานอย่างเดียว เสร็จ เสียท่าท่านนะซิ…

    ท่านบอกว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จที่ใจ เจ๊งไอ้เราน่ะไม่แพ้ ท่านแพ้เรา ท่านคุยแล้ว ท่านก็ไปแต่เราอยู่

    ก็เป็นอันว่าท่านบอกว่าบุคคลใด ถ้ามีใจเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว บุคคลนั้นเวลาตายส่วนมากไปนิพพาน เพราะอะไร เพราะว่าเวลานี้มันเป็นสมัยที่พูดเรื่องพระนิพพานเฟื่อง มันชินใช่ไหม อารมณ์ชินอารมณ์เกาะพระนิพพาน ท่านยกตัวอย่างว่าดูแต่ท่านอะไรละที่เชือดคอตาย อ้อ…โคชิกะ ท่านยังไม่ได้เป็นพระโสดาบันจิตยังทรงฌาณโลกีย์เล็กน้อย แต่อาศัยเบื่อขันธ์ ๕ เชือดคอตายไปนิพพาน ใช่ไหม

    ทีนี้อารมณ์พระโสดาบันมีจิตพอใจพระนิพพานอยู่แล้ว ในเมื่อเวลาทุกขเวทนามันบีบคั้นก็เห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ดีจริง ๆ ใช่ไหม มันเจ็บโน่นมันปวดนี่ ทีนี้ท่านคิดว่าถ้าเรายังเกิดเป็นคนอีกก็ต้องปวดแบบนี้ ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อหมดบุญวาสนาก็ต้องเกิดมาเจ็บป่วยแบบนี้อีก ถ้าทางที่ดีเราไปพระนิพพานดีกว่า ท่านตัดสินใจแบบนั้น อารมณ์มันยึดแบบนั้นตายก็ไปนิพพาน เราเสียท่าท่านตรงนี้นะ เราสู้ท่านไม่ได้ เป็นอันว่าเหลือเวลาอีก ๗ นาที
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ก่อนที่เราจะเป็นพระอริยเจ้ากัน นี่จะขอย้อนกันมาถึงบรรดาท่านพุทธบริษัทที่บังเอิญยังมาใหม่ ว่ากำลังใจของทุกท่านที่เขามาเจริญพระกรรมฐาน ในอันดับแรกก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านให้ถือว่าศีล ๕ นี้มีความสำคัญมาก ทุกคนที่จะเจริญพระกรรมฐาน ถ้าหากท่านบกพร่องในศีล เวลาเจริญพระกรรมฐานก็มีอารมณ์ไม่ทรงตัว และความแน่นอนในผลที่เจริญพระกรรมฐานไม่มี นี่สำหรับผู้ที่มาใหม่นะ เพราะว่าศีล ๕ นี่เป็นศีลของพระโสดาบันกับสกิทาคามี

    ทีนี้สำหรับท่านผู้อยู่เก่านี่ที่ทรงศีล ๘ ก็มีเยอะ ศีล ๘ นี่ถ้าถือด้วยความจริงใจไม่มีการฝืนอารมณ์มันเต็มศีล ๘ เป็นศีลของพระอนาคามี หากว่าผู้ใดทรงศีล ๘ เป็นปกติ ก็ถือว่ากำลังใจของท่านอย่างน้อยก็เป็น โคตรภูญาณของอนาคามี คำว่า โคตรภูญาณมันยืนอยู่ระหว่างกลางสกิทาคา กับอนาคา เป็นโคตรภูญาณของอนาคามี ถ้าจิตไม่ฝืนนะให้จิตมันเป็นศีล ๘ จริง ๆ คือ จิตมันทรงศีล ๘ ด้วยความเต็มใจไม่เบื่อหน่าย คือ ไม่สนใจกามารมณ์เพราะศีล ๘ เป็นอะพรัหมะจะริยาฯ ใช่ไหม คือจิตดวงนี้มันเป็นสภาพปกติ แต่มันยังมีอารมณ์อยู่บ้างเป็นของธรรมดา

    แต่ว่าจิตใจไม่ขวางไม่หมกมุ่น คือไม่กลัดไม่กลุ้ม ไม่มีการฝ่าฝืนในการทรงศีล ๘ นี่อย่างน้อยที่สุดท่านถือว่า อยู่ในช่วงระหว่างพระสกิทาคากับอนาคามีนะ แต่ว่าจะเป็นอนาคามีมรรคหรือไม่ก็เป็นเรื่องของบรรดาท่านพุทธบริษัทจะเป็นมรรคหรือเป็นผลก็เป็นเรื่องของท่าน นี่ขอพูดแบบเป็นกลาง

    ทีนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทที่เข้ามาใหม่ ในการเจริญพระกรรมฐานขอได้โปรดทราบว่า จะให้กำลังสมาธิของท่านทรงตัวดีท่านจะต้องทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ เพราะถ้าหากว่าศีลไม่บริสุทธิ์สมาธิก็ไม่ตั้งมั่น เมื่อสมาธิไม่ตั้งมั่นปัญญาสนับสนุนมันก็ไม่มี อันดับแรกต้องมีศีล พอมาประการที่ ๒ อารมณ์จิตที่เป็นสมาธิก็ต้องอาศัยความเข้มแข็งของจิต ความเข้มแข็งของจิตมีตัวไหน สมาธินี่มันจะเกิดได้หรือไม่ได้จะทรงตัวหรือไม่ทรงตัวมันอยู่ที่นิวรณ์

    ตัวที่ ๑. กามอารมณ์ คือ กามฉันทะ ได้แก่ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศนะ นี่จุดหนึ่งนะ ตอนนี้ต้องวางและก็

    ตัวที่ ๒ ความโกรธความพยาบาท

    ตัวที่ ๓ ความง่วงงาวหาวนอน

    ตัวที่ ๔ อารมณ์ฟุ้งซ่าน

    ตัวที่ ๕ อารมณ์สงสัย

    นิวรณ์ ๕ ตัวนี้ถ้าตัวใดตัวหนึ่งมันเข้ามาฝังจิต มันก็สมาธิไม่มี แต่หากว่าถ้าเป็นฌานโลกีย์เรามัวไปนั่งไล่นิวรณ์มันก็ไปไม่ไหว ฉะนั้นถ้าจิตจะตัดสินกำลังใจว่า ในช่วงนี้ต่อไปถึงเวลาที่เราจะทำสมาธิ เราจะไม่ยอมเอาจิตเข้าไปยุ่งกับอะไรทั้งหมด เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาเท่านั้น ไอ้เรื่อง กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธ อุทธัจจะกุกกจจะ วิจิกิจฉา เป็นอย่างไรไม่รับรู้ รับรู้อย่างเดียวว่ารู้ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาและพิจารณา

    เท่านี้ก็ชื่อว่านิวรณ์เข้าไม่ได้แล้วพอ มานั่งไล่เบี้ยนิวรณ์ก็มันไม่ไหวนะ เพราะว่ามันมานั่งไล่เบี้ยนิวรณ์ ก็ไล่ไปล่มา ถึงเวลาหุงข้าว เสร็จ เวลาเช้ามืดเลยไม่ได้กินข้าวเพราะมันมานั่งไล่เบี้ยนิวรณ์ พอตื่นขึ้นมาเช้าพ่อบ้านไม่ได้กินข้าวก็ทะเลาะกันกรรมฐานแตกกันละทีนี้ (หัวเราะ) บ้านพัง

    เป็นอันว่าสำหรับท่านผู้ใหม่ก็มีสำคัญ คือ ศีล สอง ความเข้มแข็งของจิต ความเข้มแข็งของจิต ก็อันดับแรกเราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนา ถ้าไม่รู้จักภาวนาอย่างไรก็ใช้ พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ นี่เจริญกรรมฐานปกตินะ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับท่านที่ฝึกด้านอภิญญาก็ใช้ตามลีลาของท่าน นั่นว่าของคนใหม่นะ คนเก่าถ้าเป็นด้านสุกขวิปัสสโก เราก็ฝึกฝนกำลังจิตกันมาดีแล้ว อันดับแรกที่จะหลับหรือว่าตื่นใหม่ ๆ หรือจะทำเพื่อบูชาพระ ก็ตัดกำลังใจว่าขันธ์ ๕ คือ ร่างกายนี่มันพังแน่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เราก็ช่างมันตาย แต่ตายคราวนี้ไม่ไปไหน ขี้เกียจแล้ว เป็นมนุษย์ทำงานมาก ถ้าไปพักแค่เทวดาหรือพรหมก็ไม่เป็นเรื่องเดี๋ยวก็หล่นมาใหม่ไปนิพพานดีกว่า ตัดสินใจเพื่อนิพพานแล้วก็จะภาวนาพิจารณาอย่างไรก็ช่าง เริ่มจับอารมณ์พระนิพพานก่อนใช่ไหม

    ถ้าจะดีแล้วก็ก่อนหลับจับอารมณ์พระนิพพานก่อน พอตื่นมาใหม่ ๆ คิดว่าวันนี้อาจจะตายได้ ถ้าตายวันนี้ขอไปพระนิพพาน หลังจากนั้นจะภาวนาพิจารณาอะไรก็ช่างว่าไปเถอะ ให้มันจับเสียตั้งแต่ก่อนหลับ และตอนตื่นใหม่ ๆ ให้จิตมันไม่คลายตัว นี่ถือว่าอารมณ์มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ใช่ไหม

    ทีนี้สำหรับเวลาที่จะปฏิบัติเวลานี้เหลืออีก แหม…เหลือวินาทีเดียว ขออีกนิดหนึ่งต่อแต่นี้ไปก็ใกล้จะถึงเวลาสมาทาน นี่ความจริงมันถึงแล้วขยับเวลาให้นาฬิกามันถอยหลังไปหน่อย (หัวเราะ) นาฬิกาเจ๊ก ใช่ไหม พระเดินมานาฬิกาเลยเที่ยงแล้วเจ๊กหมุนพรืดเหลือสิบเอ็ดโมงพอดี “นิมงคับ นิมงคับ แหม…สิกเอ็ดมงพอลีเลยครับ” (หัวเราะ) แกไปนั่ง ไอ้เจ๊กเล้า แหม่…เห็นพระเดินมา เราก็นั่งกินข้าวอยู่นั่น อิ่มแล้วก็นั่งคุยนาฬิกาเลยเที่ยงหน่อยพระเดินมา ๔-๕ องค์ หมุนนาฬิกาพรืดกลับ แลเห็นพระมาแต่ไกล พอพระมาถึง นิมง นิมง นิมงครับ ๆ สิกเอ็ดมงพอลีเลยครับ ได้เอาจะพูดก็พูดไม่ออกพระพวกนั้นท่านหิวมา (หัวเราะ) พอพูดเข้าเดียวก็จะเตะเอาโมโหหิว (หัวเราะ) นี่ก็เหมือนกันเอาซะหน่อย

    เป็นอันว่าสำหรับต่อนี้ไปนะ ก็จะรักษากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทเพื่อพระกรรมฐาน ฉะนั้นเพื่อเป็นการทรงอารมณ์ให้เข้าถึงจุดหมายปลายทาง ทั้งคนใหม่และคนเก่าให้รักษากำลังใจเสมอกัน เมื่อสมาทานเสร็จหรือก่อนจะสมาทานก็ตามใจ ตั้งแต่เวลานี้ก็ได้ตั้งกำลังใจไว้อย่างเดียวว่า ขอการเกิดคราวนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย การที่จะมีชีวิตมีขันธ์ ๕ อาการ ๓๒ แบบนี้เป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต เมื่อตายจากชีวิตวาระจิตคราวนี้แล้วการเกิดเป็นมนุษย์สำหรับเราไม่มีการเป็นเทวดาหรือพรหมสำหรับเราไม่มี เราต้องการพระนิพพานโดยเฉพาะ ฝังจิตอยู่แค่นั้นจะคือจับ จับให้มันชินนะทำตื้อก็ไอ้ตื้อนี่มันครองโลก ใช่ไหม

    คำว่า ตื้อ ก็หมายความว่า ดื้ออารมณ์มันจะถอยมา ก็ดื้อดันเข้าไว้มันขึ้นนิพพาน ไม่ช้าก็เกิดอารมณ์ชิน ไอ้ฌาณนี่มันก็คือชินอารมณ์มันคิดซะจนชินอารมณ์มันก็เบาใคร ๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้นแหละ พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ตื้อแบบเรานี่ ใช่ไหม

    ทีนี้สำหรับท่านที่ได้มโนยิทธิแล้ว ผู้ทรงอภิญญาเล็ก อภิญญาเล็กอภิญญาใหญ่ มันก็เหมือนกันใช้อารมณ์เดียวกัน นั่นก็คือเมื่อกำลังที่จะใช้เวลาสงบจิต ก็ตัดกำลังใจไว้โดยเฉพาะคือไม่ต้องการคิดอะไรมาก รวบรวมกำลังใจจับกระแสจิตให้ผ่องใส หรือจับภาพพระให้ผ่องใส รักษากำลังคือคุมกำลังใจพอมีกำลัง จุดแรกที่ขึ้นก็คือนิพพานขึ้นไปนั่งอยู่เฉพาะพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ถ้าหากว่าเรามีอารมณ์ขัดข้องอะไรจะทูลถามปรึกษาท่านก็ได้ ท่านจะสอนสั้น ๆ แล้วก็มาปฏิบัติจนได้ และก็ถ้าจะนั่งอยู่ตรงนั้นจนกระทั่งหมดเวลาไม่ไปไหนเลยก็ดี หรือว่าบางทีท่านอาจจะขับมีไหม คนที่เคยถูกขับ คนพูดนี่ถูกขับไปนั่ง แล้วท่านก็บอกบ้านแก แกทำไมไม่ไปล่ะ เราก็บอก ขเกียจ ท่านบอกไปสิ แล้วท่านก็ลุกไป ท่านลุกไปเราก็ไปถ้าท่านไม่ลุกไป เราก็ไม่ไปก็หมดเรื่อง ใช่ไหม

    คือว่า นั่งอยู่เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อ อารมณ์มันสดชื่น เมื่ออารมณ์สดชื่นตรงนั้นมันเป็นพระนิพพาน ถ้าจิตใจของเราจับอยู่ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมาร เมื่อตายเมื่อไรก็ไปตรงนั้นแหละ เพราะมันชอบที่ตรงนั้นใช่ไหม มันชอบบ้านไหนมันก็ไปบ้านนั้นแหละ เมื่อสมัยเมื่อหนุ่ม ๆ นะ (หัวเราะ) ใช่ไหม ออกจากบ้านนะไม่ผิดหรอ ถ้าจะไปตามก็ไปตามแถวนั้นแหละ

    เอ้า…ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งใจสมาทานนะ

    (ก่อนที่จะเริ่มภาวนา หลวงพ่อยังแนะนำอีกว่า) ก่อนที่จะพิจารณา ขออาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนกระทั่งบารมีของเราที่เคยบำเพ็ญมาในอดีต ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าพ้นจากวัฏฏะ คือ มนุษยสมบัติ เทวสมบัติ และพรหมสมบัติ สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพานสมบัติ และหลังจากนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทกำหนดจิตจับลมหายใจเข้าออก สำหรับท่านที่มาใหม่ ถ้าไม่เคยเจริญพระกรรมฐานมาจากไหนให้ใช้คำว่าภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ

    ถ้าหากว่าท่านมาใหม่ในนี้ แต่ว่าเก่ามาจากอื่น เคยใช้คำภาวนาแบบไหนคล่องตัวมาแล้ว หรือพิจารณาแบบไหนคล่องตัวมาแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยน เป็นแต่เพียงกำหนดจิตคิดว่าถ้าเราตายคราวนี้ ขอองค์สมเด็จพระชินสีห์ได้โปรดสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพาน และก็ตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามที่ท่านคล่องมาแล้ว

    สำหรับท่านที่ปฏิบัติเก่าในด้านสุกขวิปัสสโกก็ดี หรือว่าด้านมโนมยิทธิก็ดี ให้ตั้งจิตของท่านไว้โดยเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่ามนุษย์โลก เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่มีความหมายสำหรับเรา เพราะเห็นว่าโลกทั้งสามเป็นไปด้วยอำนาจกำลังของความทุกข์ หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป ก็ต้องการให้เราพุทธบริษัทตามปฏิบัติตามท่านเข้าสู่พระนิพพาน

    ฉะนั้นเวลานี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่พระนิพพาน ณ ที่ใด เราขอติดตามองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไป ณ ที่นั้น นอกจากนั้นก็ส่งใจไปเฉพาะพระนิพพาน หลังจากนั้นก็ให้ภาวนา และพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    (หลังจากนั่งสมาธิจนได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลาแล้ว หลวงพ่อยังโปรดเมตตาคุยหลังกรรมฐานอีก)

    คุยกันตอนนี้ก็ไม่มีอะไร เพราะว่าการใช้กำลังจิตของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทวันนี้ใช้จิตถูกต้องมากนะ คือว่า การเจริญสมาธินี่มันมีอยู่ ๒ แบบ แบบที่ใช้อารมณ์ปักมีอารมณ์แน่นสนิทที่เรียกว่า เป็นฌาน จนกระทั่งจิตขยับไม่ได้ อันนี้มันมีอยู่ อันนี้ก็ใช้ได้ แต่ว่าความหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง ๆ ต้องการให้บรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์เป็นสมาธิด้วยและก็ใช้ปัญญาได้ด้วยนะ ทีนี้บางท่านถ้าปฏิบัติมาจากที่อื่น อาตมาก็เคยปฏิบัติมาการใช้อารมณ์แน่นสนิท จนกระทั่งจิตไม่สัมผัสกับอาการภายนอกอันนี้ก็ดีจัดว่าเป็นฌานสมาบัติ

    แต่ว่าวันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าพูดกันตามส่วนจะถือว่าทั้งหมดก็ได้ ใช้กำลังใจอยู่ในขั้นปานกลาง คือ มันมีอารมณ์คิดไว้ด้วย และก็เป็นสมถะได้ด้วย และก็เป็นวิปัสสนาญาณได้ด้วย อันนี้ถูกต้องมาก ที่ว่าถูกมาก เพราะว่าอะไร เพราะหนึ่งจิตเป็นสมาธิพอสมควรมีกำลังเบา ๆ การภาวนาก็ดีพิจารณาก็ดี ใช้อารมณ์เบา ๆ แบบสบาย ๆ มีอารมณ์คิดได้ด้วย บางท่านก็คิดใช้อารมณ์ตัด บางท่านก็มีจิตวางอารมณ์พอเป็นสุข อย่างนี้ถือว่าเป็นการใช้อารมณ์ถูกจริง ๆ คำว่าถูกจริง ๆ ก็เพราะว่าเราเจริญสมาธินี่จะต้องมีอารมณ์ตัดไปในตัว อารมณ์ที่จะตัดอารมณ์จริง ๆ มันเป็นอารมณ์ของปัญญา

    ฉะนั้นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ถึง ๔๐ แบบ เป็นอารมณ์ที่มีอารมณ์หยุดอยู่ ๑๑ แบบ คือ กสิณ ๑๐ และอานาปานุสสติ ๑ นอกจากนั้นเป็นอารมณ์คิดทั้งหมด ฉะนั้นการที่บรรดาท่านพุทธบริษัท วันนี้พิจารณาดวงจิตท่าน ก็อาจจะมีสักคนสองคนที่อาจจะมาใหม่ นอกนั้นเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถือว่ารวมกันหมดเป็นใช้ได้ถูกต้อง คือใช้อารมณ์เบา ๆ พอปานกลางอันนี้ถูกและอารมณ์ขนาดนั้นบางท่านก็ทรงจิตพอสงบพอสบายบางท่านก็ใช้อามรณ์บางทีก็ใช้อารมณ์คิดไปในตัวมันก็เป็นสมาธิ

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]รวมความว่า ทั้งหมดใช้ทั้งศีลด้วยทั้งสมาธิด้วยปัญญาด้วย ถ้าหากว่าใช้กำลังจิตขนาดนี้นั่นแหละ เป็นกำลังจิตที่เป็นตัวตัดที่แท้จริง กิเลสจะสิ้นไปได้เพราะกำลังใจสมาธิขนาดนี้ ที่ทำอย่างวันนี้นะ วันนี้นะทำ ถูกทั้งหมด ถือว่าถูกทั้งหมด ถ้าจะถามว่ามีการใช้อารมณ์เครียดเกินพอดีมีไหม ก็ต้องตอบว่าไม่มีเลย วันนี้นะถือว่าไม่มีอารมณ์สะดุดเลย ถ้าจะถามว่ารู้ได้ยังไงก็ต้องตอบว่าเดาเอาหมดเรื่อง

    เป็นอันว่าวันนี้เริ่มต้นดีมาก ต้องถือว่าดีมาก ความจริงก่อนจะมาพระท่านก็บอกมาแล้วนะ แต่ก่อนจะมากรุงเทพฯ นี่ ถามท่านก่อน ถามว่าไปคราวนี้จะมีผลเป็นอย่างไรบ้าง ท่านจะบอกก่อนทุกวัน และเวลาที่ญาติโยมปฏิบัติจะตรงตามนั้นทุกวันเหมือนกัน มาคราวนี้มาคราวก่อนท่านชมว่าดีมาก ดีขึ้นตามลำดับ วันที่ ๑ ดี วันที่ ๒ ดีขึ้น วันที่ ๓ ดีขึ้น วันที่ ๔ ดีขึ้น แต่ก่อนที่จะเดินทางมาคราวนี้ถามท่าน ท่านบอกว่าดีต่อดีขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นวันเริ่มต้นของเราวันนี้รู้สึกว่าแน่ใจว่าท่านพูดตรงเป๋ง
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอเริ่มต้นของเราวันนี้ ท่านวางอารมณ์จิตกันถูกต้องมากเลยต้องการอย่างนี้แหละ ต้องการมานานแล้ว ไอ้อย่างแบบดำดินตึ๊บปวดท้องขี้ท้องเยี่ยว ไม่รู้น่ะมันก็ดีเหมือนกันแต่ว่ามันเป็นสมาธิเฉยๆ ตัวสมาธิเฉย ๆ ที่ไม่ควบด้วยปัญญานี่ ถ้าถึงเวลาเสื่อมแล้วใช่ไหม มันหล่นดังตุ๊บ ถ้าหากว่าใช้กำลังสมาธิดีจิตเริ่มต้นจับจุดปลายทางทางนั่นคือพระนิพพาน ไปได้หรือไม่ได้ก็ตั้งใจไปวันหนึ่งมันถึงแน่

    พอจิตจับอารมณ์พระนิพพานนี่ ถ้าเราจะถามว่ามันดีตรงไหน ก็ต้องตอบว่าถ้าจิตรักพระนิพพานนี่มันเป็นตัวตัด อวิชชา อวิชชานี่ พระพุทธเจ้าท่านแยกศัพท์ไว้เป็น ๒ ศัพท์ คือ ฉันทะ กับราคะ ฉันทะนี่มีความพอใจในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ราคะนี่เป็นว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี อันนี้ยังเป็นอวิชชา

    ถ้าหากว่าจิตของเราจับพระนิพพานตรงจุดเดียว ถ้าตายคราวนี้ขอไปนิพพาน มันก็เป็นการตัดอวิชชาไปในตัว เพราะเราไม่สนใจกับมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ใช่ไหม ไม่ต้องไปนั่งไล่เบี้ยว่า มนุษยโลกไม่ดี พรหมโลกไม่สบาย สวรรค์ไม่บาย ไม่ต้องไปนั่งไล่ เราไม่เอามันซะก็หมดเรื่อง ไม่ต้องไปนั่งเถียงกับเขาหรอก เดินผ่านไปเลย

    ไอ้การที่จะเดินผ่านไปเลย อันนี้ก็ต้องมีปัญญาควบคู่กันไปด้วย ไม่ใช่ว่าจะรักษาสมาธิกันอย่างเดียว ถ้าศีลกับสมาธิอย่างเดียวมันเป็น โลกียฌาน ถ้ามีศีล มีสมาธิ มีปัญญาบวกด้วย มันก็เป็นทั้ง โลกียฌาน ทั้ง โลกุตตรฌาน ถ้าจะเป็นโลกุตตรฌานได้อย่างไร ก็ต้องนั่งดูใจของเรา ว่าใจของเรามีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริงไหม เคารพในพระธรรมจริงไหม เคารพในพระอริยสงฆ์จริงไหม มีศีล ๕ บริสุทธิ์ไหม รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ไหม

    นี่เป็นเบื้องต้นของโลกุตตรฌาน ถ้าจิตของท่านทรงอารมณ์ขนาดนี้ ก็ถือว่าฌานของท่านเป็นโลกุตตรฌาน การถอยหลังไม่มี ถ้าขืนพูดมากไปไม่ดี ชัยณรงค์ จะกลับบ้านดึก


    [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]ต่อไปนี้ท่านพุทธบริษัทตั้งใจอุทิศส่วนกุศลนะ
    [/FONT][/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำสอนสายกลาง โดย…พระราชพรหมยาน

    (คำสอนที่สายลม ๑๑ ส.ค. ๒๒)

    วันนี้มีเวลามากแต่คุยน้อยนะ เหนื่อย เดี๋ยวก่อนนะ (หัวเราะ) เอ้อ…วันนี้คุยเรื่องอะไรดีนะ เมื่อวานนี้รู้สึกว่าจะคุยรวม ๆ กันไว้นะ เรื่อง ชัยณรงค์ ขอยืมเงินไม่ส่งดีไหม (หัวเราะ) วันนี้ก็ขอคุยต่อหรือซ้ำนะ เอาอย่างนี้ดีกว่าขอเริ่มตั้งแต่ต้นยันปลายเลย ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทค่อย ๆ จับเสียงไปแล้วก็วัดกำลังใจของท่านไปด้วย เอ้อ…สำหรับคนเก่านะจะมีมาใหม่หรือเปล่าก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าจะเป็นใหม่หรือเก่าก็ตาม เมื่อคืนนี้เวลาท่านทำกันแล้วก็ตรวจกระแสจิตของท่าน ก็รวมความว่าจะใหม่หรือเก่าก็มีกำลังใจเสมอกัน ใช่ไหม ใหม่หรือเก่านี่ไม่แปลกสำคัญอยู่ที่กำลังใจ ถ้ากำลับใจดีก็ต้องถือว่าดีเหมือนกัน

    วันนี้ก็จะขอพูดตั้งแต่เริ่มต้นไปสักหน่อยหนึ่งเผื่อว่าบางทีท่านปฏิบัติมานาน ๆ ลืมต้นอย่าง ชัยณรงค์ เป็นต้น เรียนไป ๆ เขียนอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำเขียนไม่ได้ พอสอบ ป.๑ ตก ใช่ไหม สำหรับตอนต้นในการปฏิบัติถ้าหากว่าท่านเริ่มปฏิบัติใหม่ ๆ สิ่งที่จะกวนใจญาติโยมนั่นคือ นิวรณ์ ๕ ประการ แต่ว่านิวรณ์ ๕ นี่มี ๕ อย่างจริงแต่ว่านิวรณ์ที่มีความสำคัญอยู่อย่างเดียวคือ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ใช่ไหม ได้แก่อารมณ์ฟุ้ง

    ถ้าอารมณ์ฟุ้งเกิดขึ้นมาตัวเดียวอัก ๔ ตัวมันก็รวมถูกไหม เป็นอันว่า นิวรณ์ ๕ อย่างก็ได้แก่ ๑ ขณะที่เราจะปฏิบัติสมาธิจิต จิตน้อมเข้าไปในกามฉันทะ คือ พอใจมันไปคำนึงถึงรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอมรสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อย่างใดอย่างหนึ่ง และก็ ๒ อารมณ์ความโกรธและอาการโกรธ ที่เราโกรธมาแล้วก็มานึกถึงคนที่ทำให้เราโกรธ ประการที่ ๓ ได้แก่ การง่วงหงาวหาวนอน ประการที่ ๔ อารมณ์ฟุ้ง คำว่า ฟุ้งในที่นี้หมายถึงว่า บางทีเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือภาวนาอยู่ประเดี๋ยวมันก็ย่องเข้าบ้านใครต่อบ้านใครไป ละ ใช่ไหมเข้าบ้านคนรักไม่เป็นไร แต่อย่าเข้าบ้านเจ้าหนี้ไปใจหายวาบ..ใช่ไหม พอนั่งปุ๊บ เอ๊ะ…ใจไปเจอหน้าเจ้าหนี้เข้า โอโฮ…แย่ฟุ้ง จัดนะ

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ทีนี้อารมณ์ฟุ้งหมายถึงอารมณ์ไม่ทรงตัวนะ ข้อ ๕ อารมณ์สงสัย การสงสัยว่า ผลของการปฏิบัติที่เราทำนี่มันถึงไหนกันแน่มันดีหรือไม่ดี มันถูกหรือไม่ถูก บางทีอาการสำคัญของทางกายมันมีอยู่ ๕ อย่าง แต่ว่ามันเป็นอาการทางกายที่มีผลในด้านของความดี นั่นก็คืออาการของปีติ ตอนนี้มีบรรดาญาติโยมมาถามกันเรื่อย แต่ว่าที่ท่านมาถามอาตมาก็ไม่ตำหนิว่าท่านเลวหรือว่าท่านโง่ แต่ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการเจริญสมาธิ เมื่อบางทีเรามีการศึกษาอ่านหนังสือแล้ว แต่ว่าอาการที่มันปรากฏมันไม่เหมือนกันก็สงสัยนะเป็นเรื่องธรรมดา
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้นเพื่อเป็นการเปลื้องความสงสัยชองบรรดาท่านพุทธบริษัท ขอให้ทุกท่านคิดไว้เสมอเลยว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานนี่ต้องการผลทางจิต ฉะนั้นอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ถามถ้ามันเกิดขึ้นมาทางกายก็ปล่อยมัน แต่ปล่อยเฉพาะบางอย่างนะ เวลาปวดอุจจาระปัสสาวะนี่ปล่อยไม่ได้นะ เดี๋ยวจะว่าอาจารย์บอกให้ปล่อยนี่หว่า พอปวดขึ้นมาเลยไม่อั้นปล่อยส่งเดช แย่…มันไม่เป็นเรื่องนะ

    การปล่อยมีอย่างนี้คือ ๑ อาการของปีติที่เป็นอาการของความดีเวลาที่ท่านเจริญพระกรรมฐานในขั้นต้น ขั้นต้นเราเรียกกันว่า ขณิกสมาธิ คำว่า ขณิกสมาธิ นี่แปลว่า มีสมาธิเล็กน้อย หมายความว่า ท่านใดก็ตามพิจารณาอยู่ก็ดี ภาวนาอยู่ก็ดีหรือว่ากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี มันได้ประเดี๋ยวเดียวอารมณ์จับได้ประเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวจิตมันก็เที่ยวฟุ้งซ่านไปคิดเรื่องโน้นไปคิดเรื่องนี้ แต่ว่าพอนึกขึ้นมาได้ก็ต้องดึงกลับมาใหม่ แล้วสักประเดี๋ยวหนึ่งมันก็ไป

    พอมันไปแล้วก็ดึงกลับมาใหม่ แล้วเดี๋ยวมันก็ไปอีกก็ดึงมันไปดึงกันมานะ อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย หมายความว่า มันทรงอารมณ์อยู่ได้เล็กน้อย เดี๋ยวมันก็เคลื่อนไปเดี๋ยวมันก็วิ่งไป แต่ว่าความจริงขณิกสมาธินี่ ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้ถึงขนาดนี้ ก็จงอย่าปรามาสว่าเรายังดีไม่พอ

    ขณิกสมาธิถ้าหากว่าท่านสามารถจะทำได้ ดึงไว้บ้างมันก็ไปบ้างมันไปแล้วเราก็ดึงมาก็ว่ากันตามเรื่องแบบนี้ เมื่อทรงอารมณ์ได้อย่างนี้ ผลที่จะพึงได้ในเวลาตายก็คือ กามาวาจรสวรรค์ ไปได้นะเป็นเทวดาได้อย่านึกว่าเป็นเทวดาไม่ดีนะ เทวดานี่ก็เหยียบมนุษย์ได้นะ ใช่ไหม เหาะข้ามหัวมนุษย์ซะไม่รู้กี่ราย มนุษย์ไม่มีการต่อว่าได้

    แต่ว่าเป็นเทวดาได้ไม่เต็มภาคภูมิ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ากามาวาจรสวรรค์ทั้งหมดเราไม่สามารถจะเลือกได้ทุกชั้น แต่ว่าเราก็เป็นเทวดาได้อย่างน้อยที่สุดเราก็เป็นภุมเทวดา หรือว่าบางที ท่านก็สามารถจะเป็นรุกขเทวดา แต่ทว่าถ้าขณิกสมาธิอย่างดี ก็เป็นอากาศเทวดาได้ ความจริงเป็นภูมิเทวดาก็ดีนะ ถ้าใครไปปลูกบ้านที่เราอยู่ ไม่ให้เรากิน เราก็แกล้งหักแข้งหักขาซะบ้างอะไรบ้าง ก็ยังดีนะ แต่ว่าความจริงขณิกสมาธิเป็นผลถึงอากาศเทวดา พระพุทธเจ้าทูลตรัสว่า บุคคลใดสามารถทำจิตให้ว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว เรากล่าวว่าบุคคลนั้นมีจิตไม่ว่างจากฌาน เห็นไหม

    ทีนี้ขณะใดที่บรรดาท่านพุทธบริษัทรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอย่างเดียวก็ดี หรือว่าจะรู้แต่ภาวนาอย่างเดียวก็ดี หรือว่ารู้พิจารณาอย่างเดียวก็ดีหรือว่ารู้ลมหายใจเจ้าออกด้วยรู้คำภาวนาด้วยไปสักนาทีหรือสองนาทีเดี๋ยวจิตมันก็ซ่านไปแล้ว เมื่อรู้สึกตัวก็ดึงกลับเข้ามาใหม่ อย่างนี้ก็ถือว่าขณะที่รู้คำภาวนาอยู่ก็ดีหรือว่ารู้การพิจารณาก็ดี หรือรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี ซึ่งอารมณ์อื่นไม่กวน ตอนนั้นพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ท่านเป็นผู้มีจิตว่างจากกิเลส ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกวันทุกวันผลที่ท่านจะพึงได้ก็คือ กามาวจรสวรรค์ เกิดเป็นเทวดา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้สำหรับสมาธิขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่งก็เรียกว่า อุปจารสมาธิ สำหรับอุปจารสมาธิ แบ่งเป็น ๕ ขั้น คือว่า ๕ ขั้น ขั้นที่ ๑ คือ มีจิตเยือกเย็นมีความอิ่มใจ อุปจารสมาธินี่ต้องอาศัยปีติเป็นพื้นฐาน คำว่า ปีติ ก็มีความอิ่มใจมีความชุ่มชื่นใจจะมากหรือน้อยก็ตาม ถือว่าเป็นอุปจารสมาธิเหมือนกัน แต่ระดับไม่เท่ากัน แต่ว่าในเมื่อจิตท่านเข้าถึงปีติ มันจะมีอาการอย่างนี้ทางกายนะ อาการมี ๕ อย่างนะ แต่ว่าคนหนึ่งอาจจะไม่ผ่านทั้ง ๕ อย่าง จะผ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก็มีหรือจะผ่านถึงสองสามอย่างก็มี

    แต่ว่าสำหรับท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องผ่านทั้ง ๕ อย่าง เพราะว่าพุทธภูมินี่ต้องผ่านหมดละเอียดหมด ในเมื่ออาการที่ผ่านโดยเอาจิตเข้าถึงปีติ อย่าลืมคำว่า ปีตินี่แปลว่า ความอิ่มใจ ถ้าจิตถึงตอนนี้จะมีอารมณ์ชุ่มชื่นจะไม่มีความอิ่มไม่เบื่อในสมาธิ ใจจะเริ่มสบายดีกว่าขณิกสมาธิ เพราะว่าขณิกสมาธิเราต้องมีอารมณ์ฝืน ที่ฝืนเพราะอะไร เพราะว่าสมาธิมันไม่ทรงตัว มันวิ่งหน้าวิ่งหลังต้องคอยดึงกันไปดึงกันมา

    พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิมันเริ่มมีการทรงตัว จิตเริ่มมีความสุขความอิ่มอกอิ่มใจมีความปลื้มใจเกิดขึ้น ใจสบาย ทีนี้เมื่อใจเริ่มสบาย ตอนนี้อาการที่จะปรากฏทางกายอันดับที่ ๑ คือ ขนพองสยองเกล้า นั่นก็หมายความว่าเมื่อเราเริ่มภาวนาขนมันลุกซู่ซ่าบังคับไม่อยู่ แต่ถ้าอาการเป็นอย่างนี้ก็อย่าไปสนใจมัน เป็นแต่เพียงแต่รู้ไว้ว่าเมื่ออาการอย่างนี้เกิดขึ้นจิตของเราถึงอุปจารสมาธิขั้นต้น นะเริ่มเข้านะ เริ่มเข้าจะนั่งนั่งขนก็ลุกชันไม่มีการกลัวแต่ว่าใจสบาย

    อาการที่ ๒ ของปีตินั่นก็คือ น้ำตาไหล แต่ว่าถ้าเจริญกรรมฐานธรรมดานะ เวลาจิตเข้าถึงใจจะมีความอิ่มใจน่ะใจสบายแต่น้ำตา มันไหลบังคับไม่อยู่ แต่ทีนี้เราก็ต้องไปดูจิตว่าจิตมันเป็นอย่างไร ร้องไห้ถึงใคร ร้องไห้ถึงเจ้าหนี้ หรือร้องไห้ถึงพ่อตาย แม่ตาย ที่ร้องไห้ถึงเจ้าหนี้ไม่ใช่เกรงว่าเจ้าหนี้เขาจะมาช้าหรอกนะ ไม่มีสตางค์ให้เขา แต่ว่าอาการตอนนั้นมันไม่มีนี่ จะคิดถึงว่าคนโน้นตายคนนี้ตาย คนโน้นเจ็บใครลำบากไม่มีใจมันเป็นสุข แต่ว่าน้ำตามันไหลให้ทราบว่านั่นเป็นอาการของปีติที่ ๒ ขั้นที่ ๒

    แต่อย่างนี้ท่านไม่ต้องแก้ มันอยากจะขนลุกขนชันก็ปล่อยมันไป มันอยากจะน้ำตาไหลก็ปล่อยมันไป พอจิตมันก้าวเลยขึ้นไปนิดอาการอย่างนั้นมันก็หมดไปนะ คือว่าไม่ใช่ขนลุกซู่ซ่า ๆ มันจะลุกอยู่แค่นั้น แต่ถ้าว่าสมาธิของเราไม่ดีกว่านั้นมันก็จะทรงอยู่แบบนั้น ถ้ามันหล่นลงมาขนมันก็ไม่ลุกหรอก ถ้ามันเลยขึ้นไปหน่อยอาการขนลุกซูซ่ามันก็หายไปถึงน้ำตาไหล ช่วงน้ำตาไหลนี่ถ้าปีติสูงขึ้น บางทีไม่ใช่เวลาที่เราเจริญสมาธิถ้าไปพบใครเขาพูดเรื่องการบุญกุศลอารมณ์ใจมันเกิดชุ่มชื่นขึ้นมา เกิดดีใจหรือปลื้มใจขึ้นมาน้ำตามันก็ไหลอีกนั่นแหละ

    ขณะที่พูดกันนะ บางคนถึงกับไหลมากต้องเอาผ้าซับน้ำตาเปียกโชกอันนี้ก็มี ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ขอทุกท่านโปรดทราบว่า จิตของท่านเข้าถึงปีติอันดับที่ ๒ สูงขึ้นไปหน่อยนะ พอมาถึงอันดับที่ ๓ มันก้าวไปถึงอันดับที่ ๔ อาการน้ำตาไหลมันจะหายไป อันนี้เขาเรียกว่า โอกกันติกาปีติ มีร่างกายโยกโคลง

    เมื่อคืนนี้เห็นมีใครมารายงานว่าโยกสบายเลย ความจริงมันก็โยกหน้าโยกหลังโยกไปโยกมา เราบังคับมันไม่อยู่ถ้าจะให้มันเลิกโยก นั่นก็หมายความว่าเราเลิกคุมจิตเป็นสมาธิมันก็เลิกโยก ทีนี้ถ้ามันโยกอย่างนั้นก็ปล่อยมันไป ทำไมจึงปล่อยเพราะว่าอการอย่างนั้นจิตใจจะมีความชุ่มชื่นอารมณ์จะเป็นสุข อารมณ์สบายนะร่างกายมันก็โยกมาโยกไปตามเรื่องของมันนะ แต่จิตสบาย
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้นการเจริญกรรมฐานเราต้องการจิตสบายอย่างเดียว อย่างนี้ท่านเรียกว่า โอกกันติกาปีติ เป็นปีติขั้นที่ ๓ ถ้าหากว่าจิตมันผ่านขั้นที่ ๓ ไป ไปถึงขั้นที่ ๔ ท่านเรียกว่า อุเพงคาปีติ อุเพงคาปีตินี่ในบาลีท่านบอกว่า จะมีตัวลอยขึ้นไปในอากาศ แต่ว่าอันนี้ไม่แน่นอนนัก แต่ว่าส่วนที่เป็นกันได้จริง ๆ นั่นคือสั้นคล้าย ๆ กับปลุกพระหรือว่าถูกพระมาปลุกก็ไม่รู้นะ เพราะว่าสั่น บางรายถึงกับสั่นตึงตัง ๆ เอากันจริง ๆ จัง ๆ เลย แต่ว่านั่นไม่ใช่แกล้งสั่น มันจะสั่นสักเท่าไรก็ตาม มันก็ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่บางทีก็หมุนอย่างอาตมาเคยผ่านมา

    อันดับแรก เหมือนกับปลุกพระก่อนต่อไปหัวไปก้มใกล้พื้นแล้วก็หมุนเป็นลูกข่างหมุนจิ้ว แล้วมันไม่เมื่อยไม่ปวดนะ มันจะเป็นอย่างไรใจมันก็เป็นสุขตลอดเวลา อาการปวดอาการเมื่อยไม่มีพอเลิกแล้วเราทำแบบนั้นไม่ได้ เลิกแล้วทำไม่ได้แต่ว่า ปีติมันขึ้นมามันเป็นแบบนั้น แต่ก็มีเพื่อนกันอยู่องค์หนึ่ง พอถึงอุเพงคาปีตินี่แกมีตัวลอยขึ้นไปตามเจริญพระกรรมฐานด้วยกันในโบสถ์ แกนั่ง ๆ แล้วตัวแกก็ลอยขึ้น พอลอยขึ้นไปพอถึงเพดานหัวกระทบเพดานนิดหนึ่ง มันก็ค่อย ๆ ลอยกลับ

    ไอ้เจ้านี่มันไม่ไปไหน ถาเรานั่งอยู่ยังไง ถ้าเราขีดเส้นไว้นะ เวลามันกลับมามันอยู่ตามนั้นตามปกติไม่เคลื่อนไหว แต่ว่าองค์นั้นท่านดีพิเศษไปหน่อยหนึ่ง พอตัวลอยขึ้นไปกระทบเพดานโบสถ์ก็กลับมานั่ง พอกลับมาพื้นที่นั่งแกลุกพรวดพราดวิ่งออกจากโบสถ์ ไปหา หลวงพ่อปาน ขอลาออกจากกรรมฐาน ถามทำไม กลัวลอยไปแล้วกลับไม่ได้ แกไม่เอาจริง ๆ นะแกเลิกเลย หลวงพ่อปานบ่นบอกว่าแหม…ไอ้คนกลัวดีนี่มันหายากจริง ๆ มันน่าเสียดายและก็มีบางท่านก็ลอยไปไกล แต่พอรู้สึกตัวปั๊บมันจะลอยกลับ

    ไอ้เรื่องที่ไม่ต้องห่วง มันจะลงตามที่ของมันพอดี เราเรียกกำลังของปีตินะอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อุเพงคาปีติ จำไว้ให้ดีนะ และปีติขั้นที่ ๕ เขาเรียก ผรณาปีติ ไอ้ผรณาปีติ ตัวนี้มันจะมีอาการรู้สึกเหมือนกับตัวสูงขึ้นแล้วก็ใหญ่หน้าตาใหญ่โต และจะมีอาการซาบซ่าน..ซู่…คล้าย ๆ กับลมมันจะออกจากตัว กายจะโปร่งตัวจะเบา บางทีจะมีความรู้สึกอยู่นิดว่ามีหน้าอยู่แต่ตัวหายไป อย่างนี้ท่านเรียกว่า ผรณาปีติ แต่ถ้าพูดถึงกำลังใจกำลังใจสบายมาก ปีติตัวที่ ๕ นี่นะ มีความสุขสดชื่นมีความอิ่ม จิตทรงสมาธิได้ดี

    ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทเจริญพระกรรมฐาน ถ้าจิตใจทรงอยู่ในกำลังของปีติ จะเป็นปีติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตามจำอาการไว้ด้วย หรือว่าถ้ามันจะมีอาการนอกไปจากนี้อย่างท่านหญิงวิภาวดี ตอนที่ถึงอุเพงคาปีติ บางทีท่านก็ลุกขึ้นมาเองยืนขาเดียวเสียบ้าง ยืนขาเดียวทำท่าเหมือนนั่งเก้าอี้บ้าง ยืน อยู่บนขอบเก้าอี้บ้าง พอเลิกแล้วท่านทำไม่ได้ แล้วท่านก็มาถามว่าเป็นยังไง บอกว่านี่อาตมาผ่านมาแล้วเข้าใจดี เราซ้อมมาเสร็จ ความจริงไม่ได้ตั้งใจซ้อม แต่มันเอาของมันเอง มันว่าของมันไปเอง แต่พอเลิกแล้วไปทำไม่ได้ พอตั้งท่าแบบนั้นล้มทุกที แต่พอเริ่มจับจิตปั๊บ มันทำของมันได้เป็นท่าเป็นทางของมันไป และจิตใจจะทรงความสบายเป็นปกติ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รวมความว่า ถ้ากำลังใจของญาติโยมพุทธบริษัทอยู่ในขั้นของปีติ ถ้าจิตอยู่ในปีติแน่นอนนี่ทุกเวลาที่เราจะเริ่มทำสมาธิ เริ่มจับปั๊บมันจะอยู่ทันที อาตมาเคยทดลอง สมัยก่อนโน้มมันไม่มีเครื่องสูบน้ำนี่นะ ต้องตักน้ำกัน พระก็ต้องอาบน้ำ พอหาบน้ำมาเหนื่อย พอวางหาบแล้วก็นั่งปุ๊บ จิตจับสมาธิมันอยู่เลย ทันทีแต่ว่าอารมณ์ของปีตินี่ คำว่าปีตินี่แปลว่าความอิ่มใจ ทีนี้มันไม่อิ่มอยู่แต่เฉพาะเวลาที่เรามานั่งสงัดเป็นสมาธิมันอิ่มตลอดวัน มีอารมณ์ใจชุ่มชื่นเบิกบาน และจิตก็ไม่ยุ่งกับพวกกิเลสต่าง ๆ นะ มันจะตัดอารมณ์ของกิเลส แต่ว่ามันไม่ถึงกับหมดกิเลสหรอกนะ มันระงับกิเลส เพราะว่าเป็นฌานโลกีย์อย่างนี้ท่านจัดว่าเป็น อุปจารฌาน

    ต่อมาเมื่ออาการของปีติผ่านไปจิตจะเข้าอีกจุดหนึ่ง ความจริงถ้าเข้าถึงผรณาปีติมันก็เข้าสุขเป็นอุปจารสมาธิ ตอนเข้าสุขนี่ต้องระวังให้ดีหน่อยนะ เพราะคนเราเสียท่าเพราะกำลังของความสุขนี่มีมาก เพราะอะไรรู้ไหมคำว่าสุขมันไม่มีทุกข์ มันประกอบกันหนึ่งความอิ่มใจของกำลังปีติ สองความสุขนั้นมันเกิดขึ้น ความสุขนั้นมันสุขจริง ๆ แบบว่าในชีวิตของเราไม่เคยผ่านมาเลย มันหาความสุขที่เราผ่านมาเปรียบเทียบไม่ได้ ทีนี้ความสุขใจในขณะที่ทรงอยู่นะไม่เป็นไรสำคัญตอนนี้ซิ

    พอเริ่มจับอารมณ์สมาธิ แต่หัวค่ำแกก็สุขด้วยอิ่มด้วยสบายใจด้วยเผลอประเดี๋ยวเดียวสว่างแล้ว นี่ตั้งแต่ ๒ ทุ่ม ไปถึงตี ๔ ตี ๕ มันมีความรู้สึกว่าประเดี๋ยวเดียว นี่มันสุขเพราะว่าอารมณ์มันสุขใช่ไหม ความสุขสดชื่นมันเกิดขึ้นมาความอิ่มใจมันเกิดขึ้น ตอนนี้ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังเพราะว่าต้องตั้งเวลาไว้ว่าเราเคยมีเวลาพักผ่อน เท่าไรตั้งแต่กำหนดกำลังใจว่าเรานั่งจุดนี้ไปสักเวลาเท่าไร เราถึงจะเลิกนะ เราจะใช้เวลา ๑ ชั่วโมงเราตั้งใจไว้ก่อนว่า ๑ ชั่วโมงจะเลิกแล้วก็เลิกทำสมาธิ

    พอจิตถึงตอนนี้ไม่ต้องตั้งท่ามาก จะนั่งท่าไหน จะนอนท่าไหนก็ได้ทั้งนั้นได้หมด เริ่มจับปั๊บจิตจะหยุดทันที ไม่ใช่ว่าหยุดเต้นนะ หยุดอารมณ์ภายนอกความอิ่มจะเข้ามาความสุขจะเข้ามาทดแทน สบายพอถึงเวลา ๑ ชั่วโมง จิตมันจะตัดทันทีความรู้สึกตัวมันจะปรากฏขึ้น อันนี้ไม่ต้องตั้งนาฬิกา ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ปล่อยไปตามสบายของมัน มันว่าตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างไม่กี่วันหรอก โรคประสานกิน อันนี้พระพุทธเจ้าท่านห้ามนะต้องระมัดระวังคือการพักผ่อนนี่ต้องให้ได้อยู่ในเกณฑ์อันสมควร

    ทีนี้ถ้าจะถามว่าจิตมันเป็นสุข อยากจะทำให้มันนาน ๆ ก็ได้แต่ว่าจะต้องเป็นวิธีนานที่ไม่ทรมานกาย ตั้งเวลาไว้สัก ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ถึงแค่นั้นพอเวลาที่เหลือนะ พักผ่อนตั้งแต่ตอนหัวค่ำหรือตอนดึกขนาดไหนกี่ชั่วโมง ถึงเช้าเรามีความสุข พอเลิกแล้วถึงเวลานอนก็จับอารมณ์ใหม่ พอนอนจับอารมณ์ใหม่ประเดี๋ยวเดียวพอปีติเข้าถึงเต็มที่พอกำลังถึงฌานมันจะตัดหลับ และในช่วงการหลับท่านถือว่าเป็นการหลับในสมาธิ ถ้าตายเวลานั้นจิตเป็นฌานก็จะไปเป็นพรหม ถ้าเวลานั้นจิตเรานิยมตั้งอยู่ในเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ไปพระนิพพานเลย ก็ถือว่าใช้สมาธิทรงเวลาหลับด้วยและหลับเป็นสมาธิด้วย หลับในสมาธินี่ก็ถือว่ามีสมาธิตลอดเวลา นี่เป็นวิธีการที่เรียกว่า เราจะไม่ทรมานเราเกินไปถึงขั้น อัตตกิลมถานุโยค ถ้าทำไปถึงอัตตกิลมถานุโยคเป็นการทรมานกายนี่ พระพุทธเจ้าบอกว่าจะไม่เข้าถึงผลของความดี
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นอันว่าตั้งแต่ปีติถึงสุข พระพุทธเจ้าท่านถือว่า จิตเต็มอารมณ์ของอุปจารสมาธิ ก็ชื่อว่าเราสามารถจะเป็นเทวดาได้ทุกชั้นตามความต้องการ ต้องเป็นทีละชั้นจะเป็นทีเดียว ทุกชั้นมันไม่ได้นะ

    นั่นก็หมายความว่าขณะที่เราจะตายถ้าจิตเราเข้าถึงอุปจารสมาธิ ท่านถือว่า เต็มภาคภูมิแห่งกามาวจรสวรรค์ ทีนี้เมื่อจิตเข้าถึงสุขพอถึงผรณาปีติ พอถึงผรณาปีติความจริงพอถึงแล้วปั๊บมันจะเข้าถึงสุขทันทีมันไม่รอ

    ไอ้ที่นี่เราพูดดูเหมือนว่ามันจะมีเวลาต่อนะ แต่ความจริงมันไม่ต่อนะ แต่ถ้าเข้าถึงผรณาปีติ ประเดี๋ยวเดียวจิตมันก็เข้าถึงสุขเลย พอจิตนี่เข้าถึงตัวสุขนี่มันก็จะเข้าปฐมฌานทันที อาการของมันมันไม่ช้าเหมือนกับที่เราพูดกันเป็นขั้น ๆ นะ เดี๋ยวจะนึกว่าพอเข้าถึงผรณาปีติแล้วต้องรอไปอีก ๗ วันจึงจะเข้าถึงสุข รอไปอีก ๓ เดือน จึงจะเข้าปฐมฌานละ เจ๊งแล้ว ไม่ใช่ มันมาพร้อมกันเลย มันวิ่งมาพรืดถึงผรณาปีติอารมณ์มันก็เริ่มเป็นสุข

    พออารมณ์เริ่มเป็นสุขจิตก็เป็น เอกัคคตารมณ์ เป็น ปฐมฌาน ทีนี้ถ้าจิตเข้าถึงปฐมฌานตอนนี้หมายถึงว่าถ้าตายตอนนี้ก็ไปเป็นพรหม เอาแค่ปฐมฌานก็พอมั้ง แต่ว่าสิ่งที่จะต้องระวังอย่างหนึ่งคือ จิตที่เข้าถึงปฐมฌาน นี่พูดถึงอาการทางกายนะ ประเดี๋ยวจะสงสัย แต่ทว่าจริง ๆ ไม่ค่อยได้พูดนะปีนี้โผล่ขึ้นมาก็ ๒ นี่ก็ขึ้นอันดับต้นพระโสดาบันบ้าง อนาคามีบ้าง เป็นอันว่าถ้าจิตเข้าถึงปฐมฌานจริง ๆ ถ้าถึงเสียเลยมันก็ไม่เป็นอะไร มันมีตอนหนึ่งที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะต้องคำนึงถึงไว้ด้วยว่า กำลังใจของเราถ้าเข้าถึงปีติละเอียดและถ้าอารมณ์ถึงสุขจริง ๆ เวลาที่จิตเข้าถึงปฐมฌานมันก็จะทรงฌานเป็นปกติ
    แต่ว่าบางท่านไม่ใช่อย่างนั้นคนอื่นเป็นหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ว่าในตำราท่านบอกว่าเป็น แต่อาตมานะเป็น เป็นตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ คือว่า ถ้าจิตเข้าไปตั้งอยู่ในปฐมฌานหยาบ จิตไม่ทรงจัวประเดี๋ยวตอนนั้นมันจะมีความสุขมีอารมณ์สบายสักประเดี๋ยวจะมีอาการวาบใจคล้าย ๆ กับตกจากที่สูง อันนี้ท่านเรียกว่า จิตพลัดลงจากปฐมฌาน พลัดจากฌานนะ อันนี้ต้องระวังนะ บางท่านก็เลิกเสียเลยเหมือนกัน มันวาบบ่อย ๆ

    แต่ถ้าบังเอิญเป็นอย่างนั้นสัก ๒-๓ คราว ถ้าเราไม่สบายจะคุมจิตอยู่ วิธีป้องกันก็คือพอเริ่มต้นใหม่ ๆ ให้หายใจยาว ๆ เหมือนกับที่เขาเกณฑ์ทหาร ถ้าญาติโยมผู้หญิงไม่เข้าใจว่าเขาเกณฑ์ทหารเขาหายใจแบบไหน ก็ให้ ชัยณรงค์ ลุกขึ้นแล้วทำท่าให้ดูก็ได้ (หัวเราะ)

    เป็นอันว่าหายใจยาว ๆ สัก ๓-๔ ครั้งเป็นการขับลมหยาบ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าเวลาเริ่มต้นหายใจเราหยาบเกินไป พอจิตมันจะเข้าถึงระดับฌานลมหายใจมันจะละเอียดทีนี้ลมหายใจละเอียดนี่มันอยู่ข้างใน ลมหยาบมันอยู่ข้างนอกมันก็ดันเอา ใช่ไหม มีอาการคล้าย ๆ ตกจากที่สูงแต่นี้ไม่มีอันตรายอะไรหรอก
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าอาการเป็นอย่างนั้นก็จงภูมิใจว่าท่านกำลังใจเข้าถึงปฐมฌานแล้ว แต่ทว่าทรงฌานอยู่ไม่ได้ วิธีแก้ก็แก้แบบที่พูดเมื่อกี้นี้ คือ ให้หายใจยาว ๆ หลังจานั้นมันก็ไม่มีอีก แล้วก็สำหรับเรื่องฌานนี่ ก็ต้องมีเรื่องคิดกันอีกตอนหนึ่ง ขณะที่จิตทรงปฐมฌานนี่จะสังเกตได้ นั่นคือเวลาที่ท่านทั้งหลายกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี ภาวนาก็ดี หรือว่าพิจารณาก็ดี หูของท่านนี่ยังได้ยินเสียงข้างนอกชัดเจนแจ่มใสใคร เขาจะคุยกันเขาจะพูดกันหรือว่าเขาจะด่ากันเรารู้เรื่องหมด ใช่ไหม รู้เรื่องหมดทุกถ้อยคำ แต่ว่าใจไม่รำคาญในเสียง เราสามารถจะภาวนาหรือพิจารณาได้ตามสบายอารมณ์ไม่รำคาญในเสียง

    นี่อันนี้เป็นเครื่องสังเกตว่า ใจของท่านเวลานั้นอยู่ในขั้นของปฐมฌาน แต่ถ้าจะถามว่าปฐมฌานนี่มีความดีขนาดไหน ก็ต้องตอบว่า ถ้าจิตของท่านทรงอยู่ในปฐมฌาน หากว่าท่านเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะสามารถทรงได้ถึงพระโสดาบันกับสกิทาคามี นี่กำลังของปฐมฌานนะ ทรงได้ถึงพระสกิทาคามี เมื่อพูดถึงฌานก็ขอต่ออีกนิด จากปฐมฌานไปแล้วพอเจ้าถึง ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ ไอ้คำว่า ปฐมฌาน แปลวา ฌานที่ ๑ พอถึงฌานที่ ๒ มันมีอาการแปลกอยู่นิดหนึ่ง จะเป็นนักเทศน์นักเรียน นักสวดนักอะไรก็ตาม พังไปตาม ๆ กัน คนอื่นเขาพีงหรือไม่พังไม่ทราบ

    แต่อาตมานี่มาพัง พังเพราะอะไร เพราะว่าตามแบบท่านบอกว่า ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ ๑ วิตก ไอ้วิตกแปลว่า นึก ตรึก ตรึกคือนึก ๒. วิจาร ๓. ปีติ ๔. สุข ๕ เอกัคคตา คำว่า เอกัคคตา นี่หมายความว่ามีอารมณ์เป็นอารมณ์เดียว ตามที่พูดเมื่อตะกี้นี้ อารมณ์ของเราจะมีอารมณ์เดียว เราภาวนาอยู่ก็ดี พิจารณาอยู่ก็ดี หูได้ยินเสียงภายนอกเขาคุยกันเขาหัวเราต่อกระซิกหรือว่าเขาด่ากันตามเรื่องราวได้ยินหมด

    แต่ว่าอารมณ์เดียวในจิตของเราคือเราสามารถภาวนาและพิจารณาได้ตามปกติ คือว่าไม่รำคาญในเสียง นี่ถือว่ามีอารมณ์ เป็นอารมณ์เดียว ใช่ไหม เอกัคคตารมณ์นี่มันทรงตามนี้ นี่เรื่องของปฐมฌาน

    พอมาถึงทุติยฌานที่ ๒ ท่านบอกว่าทรงองค์ ๓ ปฐมฌานนี่มีองค์ ๕ แต่ทุติยฌานนี่มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาใช่ไหม ปีติ ความอิ่มใจ สุข มีความสุขสันต์ เอกัคคตารมณ์แนบแน่นสนิท ทรงตัวอยู่ พอเข้าถึงฌานที่ ๒ จะรู้สึกว่าลมหายใจเริ่มเบาลงอย่าไปนึกว่าใกล้ตายนะ ความจริงลมหายใจนะไม่ได้เบา มันยังหายใจตามปกติ แต่จิตมันเริ่มแยกจากประสาทถอยหลังห่างไปนิดหนึ่งนะ

    ตอนนี้มันก็ตัดวิตก วิจารออก ไอ้ตัววิตกวิจารนี่ตัวพัง พังตอนไหน เราก็นึกวิตก ตรึก วิจารตรอง แต่ความจริงเวลาปฏิบัติมักตัดภาวนา ตัดตัวภาวนา ภาวนาไป ๆ ภาวนาหาย จิตอิ่มเอิบชุ่มชื่นมีอารมณ์ทรงตัวดี ตอนนี้พอจิตมันเคลื่อนตกลง มันตกลงมาถึงอุปจารสมาธิเหลืออารมณ์เดิม มีความรู้สึกว่า เอ๊ะ…เมื่อกี้นี้เราลืมภาวนานี่หว่าหรือว่าหลับไป แค่พุทโธสองคำจับต้นชนปลายไม่ถูก

    นี่อาการอย่างนี้ให้ทราบว่าตอนนั้น จิตของท่านเข้าถึงฌานที่สอง ที่มันตัดคำภาวนาออก ไอ้คำภาวนานี่เราจะภาวนานี่เป็นวิตก รู้ตัวอยู่ว่าภาวนาถูกหรือผิดว่าเป็นวิจาร นี่เวลาเรียนเขาว่าวิตกกับวิจาร เอาเข้าจริง ๆ ไม่ยักรู้อะไร แหม…เทศน์สอนชาวบ้านเขาฟุ้งถึงนิพพาน พอถึงฌานสองไม่รู้เรื่อง ตัวเอง ไอ้นี่ตัวเองนะไม่ใช่นิทานชาวบ้าน

    เป็นอันว่าวันนี้เราพูดกันถึง ฌาน เป็นเครื่องสังเกตว่าจิตของท่านถึงฌาน เมื่อถึงฌานที่สองลมหายใจจะเบาลง แต่ความจริงมันไม่เบา ร่างกายหายใจปกติลมละเอียด แต่ว่าจิตกับประสาทแยกถอยห่างจากกัน พอเข้าถึงฌานที่ ๓ ท่านถือว่ามีองค์ ๒ ปีติ ความอิ่มใจหายไป เหลือแต่สุขกับ เอกัคคตา
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนนี้จะมีความรู้สึกอย่างนี้ลมหายใจจะรู้สึกว่าเบามาก หูจะได้ยินเสียงแม้แต่เสียงดังจะรู้สึกว่าเสียงเบามาก อาการจะรู้สึกอาการทางกายนั่งอยู่ก็ดี จะนอนอยู่ก็ดีเหมือนกันกับใครเขามัดให้แน่น หรือตัวเกร็งเป๋งแต่ว่าตัวเป็นปกติ แต่นั่นกำลังของสมาธิมันสูงขึ้นก็มีความรู้สึกเหมือนกับว่านั่งตัวตึงเป๋งไม่ขยับเขยื้อนนะ อาการมันเป็นแบบนั้นนั่นมันเป็นอาการของฌานที่ ๓

    ทีนี้มาอาการของฌานที่ ๔ ความจริงฌาน ๑ ๒ ๓ นี่มันมี ๓ ชั้น อย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด แต่พูดไปก็รู้สึกว่าจะทำให้ญาติโยมกลุ้มใจ มาถึงฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ ที่มีเครื่องสังเกต ฌานที่ ๔ นี้จอพูดถึง ๒ ชั้น เพราะว่ามี ๒ ชั้น

    เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี่มีองค์ ๒ ตัดสุขทิ้งไป เอ้าตัดเองน่ะเราไม่ต้องไปช่วยมันตัดหรอก ไอ้อารมณ์มันจะตัดเองเหลือแต่อารมณ์ เอกัคคตา กับ อุเบกขา คือ เพิ่มอุเบกขามาอีก ๑ เอกัคคตาคือมีอารมณ์เป็นอันเดียว อุเบกขาวางเฉย ทีนี้อาการของฌาน ๔ มีอะไรเป็นเครื่องสังเกตอาการของฌาน ๔ ก็คือว่ามีความรู้สึกเหมือนกับว่าเราไม่ได้หายใจนะ ถ้าหากว่าเราไม่หายใจเป็นชั่วโมง ๆ ก็ได้เผากันแน่ แต่ความจริง ร่างกายยังทำงานเป็นปกติ

    แต่ว่าฌาน ๔ นี้จิตแยกออกจากประสาทอย่างเด็ดขาด อย่างกับที่ท่านเจริญมโนมยิทธิท่องเที่ยวไปไหนต่อไปไหนนะเป็นกำลังของฌาน ๔ มันแยกตัวกันได้นะ คือว่ามันแยกออกมาจากประสาทจนไม่มีความรู้สึกว่า ร่างกายหายใจ นี่รายการนี้คนก็เลิกเสียเยอะเหมือนกันกลัวตาย ไม่ใช่หนีนะ เลิกจริง ๆ

    แต่ว่าถ้าเป็นฌาน ๔ หยาบเราจะไม่รู้สึกว่าหายใจ คือ จิตมันละเอียดสบายมันไม่รู้สึกว่าหายใจ หูได้ยินเสียงเสียงเครื่องขยายก็เสียงดัง ๆ พอตั้งไว้ใกล้ ๆ มันจะได้ยินแว่ว ๆ น้อย ๆ ได้ยินไม่ค่อยชัดนัก แต่ว่าเป็นฌาน ๔ ละเอียดตัดขาดไปเลย คือ ว่าไม่รับสัมผัสอะไรทั้งหมด ยุงจะกินลิ้นจะกัดเสียงจะมายังไงก็ตามไม่รู้เรื่อง ไอ้คำว่าไม่รู้เรื่องนี่มันไม่ใช่หลับ จิตที่อยู่ข้างในมีความมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์โพลงมีกำลังสว่างมาก คือ มันไม่อยากจะถอนตัวนะ มันมีความตั้งมั่นไม่ใช่มืดสว่าง ๆ เป็นโพลงมากรู้สึกว่าพอใจมาก
    แต่ทีนี้อาการสัมผัสที่เรียกว่า อุเบกขา คือ การสัมผัสจากอาการภายนอกไม่มีความรู้สึก และบอกว่ายุงกินริ้นกันนี่ความจริงพวกฌาน ๔ นี่ยุงไม่กินริ้นไม่กัด เพราะอะไร เพราะไม่ทราบว่ามันเป็นยังไง เคยไปทำในป่าในดงนี่มันไม่เอาด้วย ไม่งั้นพระสมัยโน้นก็ตายหมดนะ แต่ว่าเสียงภายนอกหรืออะไรจะมากระทบกายนี่มันไม่รู้เรื่อง จนกว่าฌาน ๔ มันจะถอยไป นี่อุกเบกขามันเฉยจริง ๆ นี่พูดถึงกำลังของฌาน เพราะว่ามาพูดกันไปพูดกันมาก็ว่าวิปัสสนาไปเรื่อยนะ

    เป็นอันว่าเวลาเหลืออีก ๕ นาที วันนี้ก็เป็นการซ้อมกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทให้มีความเข้าใจในเรื่องของสมาธิกำลังสมาธิจริง ๆ ก็อยู่แค่ฌาน ๔ แต่ว่าฌาน ๔ นี่แยกออกเป็น ๒ ประเภทคือ ฌาน ๔ ที่เป็นรูปฌาน กับฌาน ๔ ที่เป็นอรูปฌาน ตามที่พูดมาเมื่อกี้เป็นฌาน ๔ ของรูปฌาน หมายความว่าเรายังเกาะรูปเราจะภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโม ก็ดีอะไรก็ตามถือว่าจะเป็นกรรมฐานกองไหนก็ตามถือว่า เป็นรูปฌาน แต่กำลังของฌานก็สูงสุดแค่ฌาน ๔
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ถ้าหากว่าจะปฏิบัติในอรูปฌาน ก็ต้องนำเอากำลังสมาธินี่มาใช้กับกสิณกองใดกองหนึ่งเอากองเดียวนะ เมื่อเอากสิณตั้งขึ้นมาแล้วก็สามารถจับภาพกสิณนั้นให้เข้าระดับถึงฌาน ๔ เป็นประกายหลังจากนั้นถ้าจะเจริญอรูปฌานก็เพิก ภาษาวิสุทธิมรรคท่านใช้คำว่าเพิก ใช้คำว่าเลิกก็แล้วกันคือเลิกกายนิมิต เราไม่ต้องการภาพนิมิตจับอากาศแทนที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ถือว่าอาการนี้มีสภาพกว้างใหญ่ไพศาลหาที่สุดไม่ได้ฉันใด ชีวิตของคนเราถ้ายังเกาะอยู่ในสภาพของรูปมันก็เกิด แก่ เจ็บ ตาย หาที่สุดมิได้ฉันนั้น สภาพของอรูปฌานนี้ มีอาการคล้ายวิปัสสนาญาณมาก

    แต่ก็อารมณ์สั้นไปนิดหนึ่งที่ไม่หวังนิพพาน เมื่อจิตจับอากาสานัญจายตะทรงฌาน ๔ ดีมันก็ไม่ยากเป็นฌาน ๔ อยู่แล้วนะ เพียงแต่เปลี่ยนจากสิ่งที่มีรูปมาเป็นไม่มีรูป เมื่อเชี่ยวชำนาญในอากาสานัญจายตนะก็มาจับวิญญานัญยตนะ วิญญาณหมายถึงความรู้สึก ความรู้สึกของอารมณ์นี้หาที่สุดมิได้เหมือนกัน ใช่ไหม เดี๋ยวมันก็อยากได้โน้นเดี๋ยวมันก็อยากได้นี่ เดี๋ยวมันก็ไม่ชอบใจโน้นเดี๋ยวมันก็ไม่ชอบใจนี่หาที่สุดมิได้

    เมื่อจับอารมณ์ตอนนี้แล้ว ก็มีความไม่พอใจในอวิญญาณ ถ้ายังมีวิญญาณอยู่เพียงใดมันก็มีความทุกข์ ท่านที่เจริญอรูปฌานในสมัยก่อนท่านถือว่าความทุกข์ต่าง ๆ มันจะมีขึ้นได้ก็เพราะอาศัยรูปกายเป็นสำคัญ ถ้าจับอรูปฌานแล้วต่อไปมันไม่มีรูปมันก็ไม่มีทุกข์ ไม่หนาว ไม่ร้อน เมื่อจับวิญญาณได้จนคล่องตัวทรงฌานดีก็จะตัดสภาพที่ไม่มีอะไรเหลือที่เรียกกันว่า อากิจจัญญายตนะ เห็นว่าคนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุธาตุต่าง ๆ ก็ดีในโลกนี้ต่อไปก็พัง คนก็ตายหมดสัตว์ก็ตายหมด วัตถุธาตุก็พัง จนกระทั่งอารมณ์จิตนี่ไม่ติดในรูปของคน ไม่ติดในรูปของสัตว์ไม่ติดอยู่ในวัตถุ มีอารมณ์ว่างสบาย ๆ แต่ใจไม่ถึงนิพพานนะ

    พอตอนนี้ผ่านไปก็มีอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เนวสัญญาสัญญายจนะ หมายถึง ว่ามีความรู้สึกมีความจำเหมือนกับว่าคนไม่มีความจำ จิตทรงฌาน ๔ เป็นปกติ มันอยากจะหนาวจะร้อนก็ช่างมันฉันไม่รู้ละ แต่ความจริงจิตทรงฌาน ๔ มันก็ไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาวเหมือนกันเพราะว่ามันเป็นอุเบกขา เป็นเอกัคคตากับอุเบกขาอารมณ์ มันตัดจากการสัมผัสทางภายนอก อย่างนี้เขาเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เป็นอันว่าอรูปฌาน ๔ ผลที่จะพึงได้สำหรับรูปฌานที่กล่าวมาเบื้องต้น ถ้าพอถึงฌาน ๔ ก็เกิดเป็นพรหมชั้น ๑๑ ได้ ๑ ถึง ๑๑ นะ ถ้าอรูปฌานนี่ต้องไปเกิดเป็นอรูปพรหม ไม่เป็นเรื่อง แต่ถ้าว่าดี ดีตรงไหน ถ้าสามารถทำได้ก็เอาจิตเข้าไปจับวิปัสสนาญาณ คือ ตัดสักกายทิฐิ ใช่ไหม เห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ท่านที่ได้อรูปฌานจนทรงตัวการเจริญวิปัสสนาญาณ ถ้าเกิน ๑๕ วัน เป็นพระอรหันต์ก็ซวยเต็มที เลวมากเพราะว่าอารมณ์มันใกล้เคียงกัน
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าหากว่าเวลาที่จะเจริญวิปัสสนาญาณมาถือพื้นฐานจากอรูปฌานก่อนเข้าไปจับในอรูปฌานก่อนแล้ว ค่อยถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิมาเจริญวิปัสสนาญาณ ถ้าหากว่าจิตของท่านตัดกิเลสเข้าถึงพระอนาคามี ก็จะได้ ปฏิสัมภิทาญาณ แต่โดยมากเขาไม่ติด แค่อนาคามีมันขึ้นก็ขึ้นถึงอรหันต์เลย

    พอตัดปุ๊บก็เป็นพระอรหันต์เลย ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ สำหรับปฏิสัมภิทาญาณนี่ เราจะฝึกจากฌานโลกีย์ไม่ได้จะได้ต่อเมื่อเป็นพระอริยเจ้าแล้วตั้งแต่พระอนาคามี

    เป็นอันว่าพูดมาพูดไปวันนี้ไม่ได้เรื่องเลยโยมฟังแล้วลืมหมด ใช่ไหม สาธุ แล้วก็ยกมือ พอสาธุแสดงว่าลืมแน่ เป็นอันว่าวันนี้พูดถึงกำลังจิตที่เข้าถึงฌานให้ทราบ แต่ทว่าก่อนที่จะจบ ก็จะขอเตือนบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่พูดมานี้เพื่อให้เข้าใจอาการของสมาธิ แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าต้องการคือต้องการให้บรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์ถึงพระนิพพาน อารมณ์ถึงพระนิพพานนี่ เป็นวิธีการง่าย ๆ ขอย้ำต้นก็คือว่า

    อันดับแรก ที่ท่านจะเข้ามาเจริญสมาธิจิตจะเป็นสมถะวิปัสสนาปกติหรือว่าจะเรียนวิชชาสาม อภิญญาหก ก็ดีหรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ตาม อันดับแรกของจิต จิตจะต้องทรงชินเป็นปกติ ถหากว่าศีลของท่านไม่ปกติสมาธิของท่านก็ไม่ปกติมันก็ขึ้น ๆ ลง ๆ ทีนี้ศีลเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเบื้องต้นก็คือศีล ๕ หรือว่าใครจะรักษาศีล ๘ ได้ก็ยิ่งดีไม่ได้ว่าอะไร แต่ว่าอย่าให้เป็นการทรมานกาย ถ้าศีล ๕ ของท่านบริสุทธิ์สมาธิที่ท่านได้ก็จะมีการทรงตัวไม่ขึ้นไม่ลงหมายความว่าไม่ลงมีแต่ขึ้น ถ้าหากว่าศีล ๕ ของท่านจะบริสุทธิ์ได้ เพราะอะไรเป็นเหตุนั่นก็หมายความ ท่านต้องมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นเหตุท่านจึงมีศีลบริสุทธิ์

    ทั้งนี้ เพราะว่าอะไรศีลนี่พระพุทธเจ้านำมาปฏิบัติ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกกันว่า พระธรรม เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วพระสงฆ์นำมา ทีนี้ท่านจะมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มั่นคงหรือไม่มั่นคงเขาดูกันที่ศีล

    ถ้าหากว่าท่านรักษาศีลไม่บริสุทธิ์ ไม่มั่นคง ก็แสดงว่าท่านเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไม่มั่นคงแน่นักนะ คือ ไม่เชื่อคำสอนกันแน่นอน ถ้าหากว่าจิตของท่านมั่นอยู่ในศีล ๕ บริสุทธิ์ผุดผ่องดี อย่าลืมนะว่าศีล ๕ จะขาดด้วยเจตนาเท่านั้น ถ้าเราไม่มีเจตนาแล้วไปทำเข้าศีลไม่ขาด ในเมื่อศีลของท่านทรงตัวดีแสดงว่าจิตของท่านเคารพในพระรัตนตรัยได้ดี

    ตอนนี้พระพุทธเจ้าเรียกบุคคลนั้นว่าเป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมณ์ คำว่า ไตรสรณคมณ์ นี่คือว่าจะต้องนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ธรรมดาไม่ได้ จะต้องเอาศีลเป็นหลัก ทีนี้เมื่อจิตของท่านถึงไตรสรณคมณ์แล้วก็มีอารมณ์อีกนิดเดียว นั่นก็คือว่าทำจิตของท่านให้รู้สึกว่าการเกิดเป็นมนุษย์นี่มันลำบาก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมสบายชั่วคราว ไม่มีความหมายหมดบุญเมื่อไรก็ลงมาเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ไป

    ทางที่ดีเราก็สถานที่ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวนั่นก็คือ พระนิพพาน เอาจิตจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ว่าถ้าตายคราวนี้เราจะไม่ยอมเกิดเป็นมนุษย์อีก ไม่ยอมเกิดเป็นเทวดา ไม่ยอมเกิดเป็นพรหม เราต้องการอย่างเดียวก็คือ พระนิพพาน ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน ถ้าจิตใจของท่านมีความมั่นคงในพระนิพพานโดยเฉพาะ คือไม่ต้องการ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกพวกท่านว่าเป็นพระโสดาบัน


    เอาละเอาแค่นี้พอ พอหรือยังแล้วแต่นะ เหนื่อยเต็มทีแล้วนะ (หัวเราะ) เป็นอันว่าจะพูดมากไป ดูเวลาก็หมดแล้ว ไอ้ที่พูดวันนี้มานานแล้ว ก็เลยพูดเรื่องฌาน เพราะว่าไม่ได้พูดมานานนะ

    เป็นอันว่าต่อนี้ไป ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ตั้งใจสมาทานพระกรรมฐาน
     
  20. maruko_k

    maruko_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +1,318
    "ถ้าขณะใดที่จิตของท่านยังรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำว่า พุทโธ ก็แสดงว่าจิตของท่านเป็นสมาธิ เป็นมหากุศลใหญ่ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้ก็เป็นบุญอนันต์ คือว่าจะนับประมาณอานิสงส์ไม่ได้ ถ้าทรงจิตใหญ่ตั้งใจไว้ตามปกติตายแล้วก็เกิดเป็นพรหม นี่ว่ากันถึงสมถภาวนา

    อารมณ์นี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงไว้เป็นปกติ จะเป็นเวลานี้หรือเวลาอื่นใดก็ตามทำงานอยู่ นั่งรถนั่งเรือเดินทางไปไหนก็ตาม นึกถึงอารมณ์นี้ไว้เป็นปกติเวลาตายจะไม่หลงตาย จุดที่ไปอย่างเลวคือสวรรค์ อย่างดีก็ต้องพรหมโลก เพราะว่าสมถภาวนามีผลถึงพรหมโลก และเราจะไปนิพพานได้ ถ้ามีสมถภาวนาแจ่มใสพอสมควร ปัญญาก็จะเกิดเป็นวิปัสสนาญาณขึ้นมาเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    ตื่นขึ้นมาตอนเช้าเตือนใจไว้เสมอว่า เราจะต้องตายนะ ร่างกายมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา ความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทำให้ครบถ้วน เราจะเป็นคนดีมีศีลบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา จิตใจของเรามีความปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพาน"

    ตอนนี้ขอทรงอารมณ์แบบนี้ให้ได้ก่อนค่ะ ไม่ง่ายเลย ขอบคุณคุณ vanco มากที่นำเรื่องทั้งหมดนี้มาลงให้อ่าน อนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...