รูปหล่อรูปปั้นไม่ใช่พระพุทธรูป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 16 กุมภาพันธ์ 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +215
    มันต้องเริ่มจากตัวเองครับ อย่าคิดตัดสินผูอื่นเลย

    คุณว่าทำไมในหลวงถึงกราบพระแก้วมรกตละครับ???
     
  2. thanakorn_b

    thanakorn_b สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +8
    ในหลวงท่านเป็น เจ้าอาวาสไงท่านรู้ว่าทำอะไร

    แต่พุทธส่วนใหญ่ เป็นพระองค์ไหนละ
    เขา กำลังกล่าวถึงองค์รวม ไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคล

    จากคำกล่าวคุณก็องค์ที่ 2 นะก็ครูอาจาร์ยท่านกราบ

    คนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ พ่อแม่ทำมา แต่ไม่รู้ว่า เหตุคืออะไร
     
  3. thanakorn_b

    thanakorn_b สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +8
    การกล่าวแบบนี้ ก็ไม่ได้ตัดสินใคร
    ผมไม่ใช่เทพเจ้า ตัดสินใคร คนทำเหตุใดก็รับผลนั้น

    แต่เพียงหวัง ว่าจะเป็นประโยชน์ กับผู้ที่เป็นพระองต์ 1-3 จะเข้าใจในแนวทางเจ้าอาวาส
    หรือจะดำเนินทาง ต่อไปก็แล้วแต่ตัวบุคคล
     
  4. โพชน์

    โพชน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +1,904
    แค่ตั้งกระทู้ขึ้นมา ก็เพืิ่่อจุดประเด็นสร้างกระแสให้สมาชิกมาออกความเห็นกันในเรื่องที่ล่อแหลมแบบนี้ มันจะดีหรือ รังแต่ก่อให้เกิดต่อความยาว สาวความยืดนะ คุณคิดว่ามันดีแล้วหรือพ่อตำราเคลื่อนที่ เอาพระไตรปิฏกมาถกกันเหมือนของเล่นนะ ท่านรู้ความหมายและตีความกันลึกซึ้งแล้วรึ ตีความออกมาจากจิตไม่ใช่คิดเองเออเอง ศานาพุทธยืนยาวมาบัดนี้มิใช่มึพระพุทธรูปที่เป็นรูปลักษณ์มหาบุรุษ 32 ประการมิใช่หรือ บรรพชนในอดีตกาลกาเลท่านทั้งหวงแหนทั้งศรัทธาจัดสร้างมาเพื่อให้ลูกหลานให้กราบไหว้ และเพื่อเป็นกุศโลบายธรรมในการสืบทอดพุทะศานามิใช่หรือ ท่านนะ บารมีธรรมท่านนะ ผมไม่รับรู้หรอกจะโสดาเหมือนสมาชิกท่านอื่นเชียร์กันขนาดไหน อย่างไรก็ไม่ควรตั้งกระทู้อย่างนี้ เยี่ยงนี้ส่อไปทางนี้ จริตคนผู้ฝักใฝ่ในธรรมมีต่างกันไป อาจไม่เข้าใจเจตนาที่ดีหรืออย่างไรของท่านจะพากันออกความเห็นปรามาสกันโดยไม่ตั้งใจได้ คุณนะจะพลอยมีส่วนในกรรมนั้นด้วยมันคุ้มแล้วรึ กรรมปรามาสโดยไม่เจตนานะ
     
  5. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234

    จ้าาา ขอโทษจ้าาา(f)
    ไม่ขัดเคืองใจหรอกจ้ะ แค่เตือนๆไว้อ่ะจ้า คิดมองคนอื่นในแง่ดีไว้ก่อน ดีกว่าต้องมาเสียใจที่หลังเพราะมองคนอื่นในแง่ร้ายเกินไป แต่เจตนาท่านดีนะ ก็ดีทุกคนแหล่ะ โน๊ะ ภูมิจิตภูมิธรรมอาจไม่เหมือนกันบ้าง แต่เจตนาดีกันทุกคน น่าาาา นะqsqu
     
  6. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234

    จ้า ไม่ให้เชื่อพระไตรปิฎกแล้วจะให้เชื่ออะไร งง.... มันก็ไม่ได้ตีความยากขนาดนั้นนะ สำหรับเรื่องนี้ ไม่ได้ลบหลู่ แต่อยากให้มองถึงแก่นถึงแกนกัน ไหว้ได้แต่อย่ายึดอย่าติด ไม่ใช่ว่าจะต้องแดดิ้นตาย ย้ำๆๆๆว่าต่อให้นั่งตักตถาคตอยู่ แต่ไม่เห็นธรรมก็ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคตนะจ้ะ ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้นลึกนัก ยากที่เหล่าสัตว์จะรู้ตามได้ แต่ด้วยพระมหาเมตตากรุณา ทรงแสดงธรรมนั้น แม้จะมีเพียงส่วนน้อยที่เข้าใจ ท่านทรงแสดงความจริงเท่านั้น หาได้พูดเอาใจในสิ่งที่ชนพาลชอบไม่ เอวัง

    อ้อ ให้ธรรมะเป็นทานย่อมได้บุญกุศล
    ส่วนคนปัญญาเบาที่ปรามาสก็รับวิบากไป ไม่เกี่ยวกันนิ อันนั้นก็ถือว่าเกินเยียวยา รอเป็นอาหารของเต่าปลาเดี๋ยวก็ซึ้งเอง
     
  7. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +215
    เห็นมะพอมีใครเห็นต่าง ก็ตั้งป้อมว่าเค้าแล้ว ซึ้งเห็นๆ
    เจริญพรหมวิหาร 4 ไว้สิครับ อย่ามัวแต่อ่านตำรา
     
  8. โพชน์

    โพชน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +1,904
    อืม..แล้วท่านถึงแก่นธรรมแล้วรึ ถ้าถึงในแก่นธรรม เอาพระไตรปิำฎก มาอ้างไปใย ผมแค่กระพี้เอง ในเมื่อแก่นธรรมก็อยู่ในใจ ใจก็คือธรรม พระไตรปิฎกก็คือธรรม ไม่ได้ต่างกันตรงไหน ท่านดูที่เจ้าของกระทู้โพสไว้เบื่้องต้นแรกๆดีหรือยัง ใจความแค่ว่าพุทธองค์แฝงธรรมขั้นสูงไม่ให้ยึดติดแม้แต่ร่างกายเช่นเดียวกับพระวรกายพระองค์อันเป็นของไม่เที่ยง มีตรงไหนที่ท่านสอนมิให้กราบไหว้องค์ท่าน แต่เมื่อท่านไม่ทรงดำรงค์ขันธ์อยู่บนโลกใบนี้แล้ว ชนรุ่นหลังจะทำอย่างไรจะสืบทอดพุทธศาสนาอย่าง ถ้าหากขาดซึ่งรูปเคารพที่เป็นตัวแทนแห่งองค์ท่านนะ หากท่านสอนเด็กเล็ก ท่านจะสอนอย่างไร นี้คือพระพุทธ นี้คือพระสงฆ์ นี้คือพระธรรม เด็กมันจะเข้าใจธรรมขั้นสูงขนาดนี้มั้ย ท่านมีความคิดเยี่ยงนี้ แสดงว่าท่านหลบหลู่ภูมิปัญญาพระมหากษัตริย์โบราณตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชเลย จนยันพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่องค์พ่อขุนรามเลย รู้มั้ย รู้แต่ตำรา หารู้โดยจิตไม่เลย ผมไม่ใช่มอดนะกินตำราเป็นอาหารนะ
     
  9. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +215
    เกรงว่าเจ้าของกระทู้จะไม่เห็น เพราะลูกคู่ คอรัส แดนซ์เซอร์ออกมาตอบแทนซะมากมายไปหมด

    เหตุที่ถามเพราะ บาลีที่ท่านยกพุทธพจน์มานั้น"พระพุทธรูป"หมายถึง รูปลักษณ์พระวรกายของพระพุทธเจ้า

    หาใช่ "พระพุทธรูป" (รูปหล่อปูนปั้น)อันเป็นสิ่งที่คนชั้นหลังสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการระลึกถึงพระพุทธเจ้าไม่

    เลยให้สงสัยว่าท่านตั้งชื่อกระทู้ว่า "รูปหล่อรูปปั้นไม่ใช่พระพุทธรูป" ท่านเอามาโยงมาเกี่ยวกันเพื่ออะไร ด้วยเจตนาใดกันแน่ครับ ????


    จะเป็นโสดา หรือ โซดา อยู่ที่เจตนาของท่านนี้แหละครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๖๘/๒๘๘

    [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกร
    คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
    เจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
    ธรรม ดังนี้ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
    เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
    ผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ
    ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด
    ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้
    เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
    [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
    เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
    บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
    สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
    เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน
    เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
    อย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
    ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
    มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
    ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
    [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
    นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
    ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
    พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
    วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
    เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ

    ----
    พระโสดาบัน
    1.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
    2.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
    3.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค(ไม่ใช่พระสงฆ์ทุศีล)
    4.ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    5.แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาถึงปฏิจจสมุปบาท
     
  11. thanakorn_b

    thanakorn_b สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +8
    <TABLE id=post5745664 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลมสุริยะ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5745664", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Oct 2011
    ข้อความ: 145
    พลังการให้คะแนน: 19 [​IMG]


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5745664 class=alt1><!-- google_ad_section_start -->เห็นมะพอมีใครเห็นต่าง ก็ตั้งป้อมว่าเค้าแล้ว ซึ้งเห็นๆ
    เจริญพรหมวิหาร 4 ไว้สิครับ อย่ามัวแต่อ่านตำรา<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=post5745664 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid" class=thead>[​IMG] เมื่อวานนี้, 09:58 PM </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=thead align=right> #67 </TD></TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175>[​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5745664 class=alt1><!-- google_ad_section_start -->เห็นมะพอมีใครเห็นต่าง ก็ตั้งป้อมว่าเค้าแล้ว ซึ้งเห็นๆ
    เจริญพรหมวิหาร 4 ไว้สิครับ อย่ามัวแต่อ่านตำรา<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->โลกก็เป็นเช่นนี้<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ---------------------------------------------------
    พอเหตุผล สู้ไม่ได้ก็ว่าเขาว่า
    ที่ผมกล่าวมีเหตุผลลองรับ
    ก็คุณตอบ แบบนี้เอง ทำเพราะเขาทำ (ถ้าคุณตอบว่าทำเพราะมีเหตุเป็นอย่างนี้)
    ผมก็ว่าไปด้วยเหตุผลนั้น คุณก็เป็นเจ้าอาวาสได้ถ้าทำไปเพราะรู้เหตุ
    แต่คุณตอบ เป็นพระองค์ 2 เอง .. ทำเองทั้งนั้น
     
  12. thanakorn_b

    thanakorn_b สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +8
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->poch9999<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5746113", true); </SCRIPT>
    สมาชิก
    *****************************
    หนังสือ เขามีไว้ให้อ่าน และวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น
    จะได้รู้ว่า เข้าใจถูก ที่กล่าวมาก็เป็นประเด็น
    ซึ่งผม ก็ตั้ง ข้อสังเกตุ โดยยกเป็นละคร
    เพื่อแสดง ให้ เห็นถึง การส่งต่อความรู้
    ********* ถ้าพระทั้งองค์ 3 ไม่ถามเจ้าอาวาสละ*****
    ที่เสือบ ต่อกันมาก็จะไปด้วยเหตุ 3 ข้อนั้น ซึ่งผมก็เห็นว่ามันมีอยู่เยอะ
    มีน้อย คนที่จะหา เหตุว่า ทำไป แบบนี้เพื่ออะไร
    ดูแต่รูปภายนอก ว่ากราบ แต่ไม่ดูที่ จิตและความคิด
    ** คนพุทธ ภูมิใจ นักหนา ว่าเป็น ศาสนาแห่งเหตุผลและปัญญา
    แต่ช่วง หลังมานี้เน้น ศรัทธา จนงมงาย ไม่เหตผล
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔๓/๒๙๐

    [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม
    ละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน
    ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
    ย่อมละอัสมิมานะเสียได้อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ฯ

    ----
    ถ้าใครบอกว่า ดับสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ฯลฯ มันเยอะไป กว่าจะดับได้มันใช้เวลาศึกษาเยอะ อยากเอาแบบสั้น ๆ ดับอวิขชาเลย แนะนำพระสูตรนี้ครับ "กายคตาสติ"
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระโสดาบัน
    1.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
    2.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
    3.มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค(ไม่ใช่พระสงฆ์ทุศีล)
    4.ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    5.แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาถึงปฏิจจสมุปบาท

    ใครอยากเป็นมากกว่าพระโสดาบัน แนะนำศึกษา อินทรีย์ ๕, สุจริต ๓, สติปัฏฐาน ๔, โพชณงค์ ๗ ครับ แต่ถ้ายังกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครอง กราบไหว้ศาลเจ้า นับถือผีสางนางไม้ ไม่เชื่อกฏแห่งกรรม รักษาศีลไม่ได้ ท่านยังห่างไกลพระพุทธเจ้ามากครับ
     
  15. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    จากข้อความจขกท.ที่ยกมา ผมกลับตีความว่า มีผู้ต้องการสร้างรูปเหมือนพระพุทธเจ้าไว้เนื่องจากชื่นชอบในความงดงามของรูปกายของท่าน พระพุทธเจ้าจึงได้เตือนว่าการหลงในรูปกายว่าสวยว่างามนั้นเป็นสิ่งที่ผิด น่าจะสนใจธรรมะของท่านมากกว่า

    แต่ก็ไม่ได้แปลว่า การเคารพบูชาพระพุทธรูปของชาวพุทธในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ผิด เพราะอย่างผมเวลากราบก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณท่าน ทำให้จิตใจเป็นกุศล สถานที่ใดมีพระพุทธรูปซึ่งถือเป็นตัวแทนท่านก็เกิดเป็นสิริมงคลแก่สถานที่นั้น

    มีบ้างที่คิดว่าช่างที่สร้างมีฝีมือดี มีบ้างที่ชื่นชมในศรัทธาของผู้ที่ร่วมสร้าง แต่ก็ไม่ได้คิดว่านั่นคือพระพุทธเจ้าตัวจริง หรือคิดว่าพระพุทธรูปหล่อจังแล้วคิดไปในด้านกามารมณ์ต่อท่านให้เกิดเป็นอกุศล

    ดังนั้น จะเหมาะสมหรือไม่ขึ้นกับจิตใจของผู้ที่กราบไหว้ ไม่ควรไปโทษพระพุทธรูป หรือสรุปเอาว่าการกราบพระพุทธรูปเป็นสิ่งผิดเพียงอย่างเดียว

    ปล. - ครูบาอาจารย์ท่านก็ทำเป็นแบบอย่างให้เห็น เวลากราบพระพุทธรูปท่านก็มีความนอบน้อมเปรียบเสมือนกราบพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หรือแม้แต่รอยพระพุทธบาทก็ยังมีเทวดาปกป้องรักษา ทั้งๆที่ก็เป็นดินเป็นโลหะ นี่ยังไม่นับพระพุทธรูปที่นาคหรือเทวดามาร่วมสร้าง แม้แต่หลวงปู่มั่นไปที่ใดก็แนะนำให้สร้างพระพุทธรูปไว้ตามที่ต่างๆ แต่ผมก็ไม่ทราบหรอกว่าความศักดิ์สิทธิ์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอะไร ทำไมพระพุทธรูปแต่ละองค์จึงศักด์สิทธิ์ไม่เท่ากัน รบกวนผู้รูช่วยอธิบายอีกทีละกัน
    - การอ่านพระไตรปิฎกต้องใช้ปัญญาพิจารณาควบคู่ไปด้วย อย่าสักแต่อ่านแล้วตีความเอาตามความคิดเราเพียงอย่างเดียว เพราะบางทีมันตีความผิดเพี้ยนไปได้ตามการรับรู้ อคติ หรือกิเลสแต่ละคน อย่างศีลของพระข้อเดียวกัน พระใหม่ก็อาจตีความต่างกัน ศาสนาพุทธจึงจะอยู่ได้ก็เพราะอาศัยครูบาอาจารย์สั่งสอน อย่างหลวงปู่มั่นท่านมีความเข้าใจเรื่องศีลอย่างดี ต่างกับพระบางรูปที่อ้างแต่ข้อยกเว้นเพื่อตามใจกิเลส ดังนั้นพุทธศาสนาจะอยู่ได้ก็เพราะอาศัยครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วย ไม่ใช่อาศัยแค่ธรรมะตามตำราอย่างเดียว ส่วนจะได้เจอท่านเหล่านั้นหรือไม่ก็ขึ้นกับบุญบารมีแต่ละคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อินทรีย์ ๕

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๕๗/๒๘๘
    [๔๑๖] ธรรม ๕ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คืออินทรีย์ ๕ ได้แก่อินทรีย์
    คือศรัทธา ๑ อินทรีย์คือวิริยะ ๑ อินทรีย์ คือสติ ๑ อินทรีย์คือสมาธิ ๑ อินทรีย์คือปัญญา ๑
    ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเจริญ ฯ
    [๔๑๗] ธรรม ๕ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความถ่าย
    ถอน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจซึ่งกามทั้งหลาย จิต
    ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจ
    ซึ่งเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่น้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอดำเนินไป
    ดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้วพ้นดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะเหล่าใด
    บังเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น
    ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกามทั้งหลาย ฯ
    อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความพยาบาท จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
    ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความพยาบาท แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความไม่พยาบาท จิตย่อม
    แล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาทจิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรม
    ดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาทอาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความพยา
    บาทเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนา
    นั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความพยาบาท ฯ
    อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความเบียดเบียน จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส
    ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความไม่เบียดเบียน จิต
    ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว
    อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากความเบียดเบียน อาสวะเหล่าใดบังเกิด
    ขึ้น เพราะความเบียดเบียนเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะ
    เหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความเบียดเบียน ฯ
    อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูปทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส
    ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งอรูป จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส
    ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว
    พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะรูปเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความ
    เร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    เป็นที่ถ่ายถอนรูปทั้งหลาย ฯ
    อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งกายของตน จิตย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่
    ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกายของตน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความดบกายของตน จิตย่อมแล่นไป
    เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับกายของตน จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
    ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากกายของตน อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้นเพราะกายของตน
    เป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น
    อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกายของตน ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้รู้ได้ยาก ฯ
    [๔๑๘] ธรรม ๕ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือสัมมาสมาธิประกอบด้วย
    ญาณ ๕ ได้แก่ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑
    ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้เป็นอริยะไม่มีอามิส ๑ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ
    นี้อันบุรุษผู้ไม่ต่ำช้าเสพแล้ว ๑ ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต มีปฏิปัส
    สัทธิอันได้แล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่ห้ามด้วยจิตเป็นสสังขาร ญาณ
    บังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้น มีสติ เข้าสมาธินี้ และมีสติ ออกจากสมาธินี้ ๑ ธรรม ๕
    อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สุจริตมี ๓ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑.
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สติปัฏฐาน ๔

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๕๕/๒๘๘
    [๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
    เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้าย
    ในโลกเสียได้ ๑พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    โพชฌงค์ ๗

    [๕๔๔] โพชฌงค์ ๗ คือ
    ๑. สติสัมโพชฌงค์
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    [๕๔๕] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอก มีอยู่ สติในธรรมภายในแม้ใด สติใน
    ธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    [๕๔๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือก
    สรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้นก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใด
    ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน
    [๕๔๗] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    ความเพียรทางกาย มีอยู่ ความเพียรทางใจ มีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียร
    ทางกายแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน
    [๕๔๘] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    ปีติที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่มีวิตกมีวิจารแม้ใด
    ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใดปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปีติ
    สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    [๕๔๙] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    กายปัสสัทธิ มีอยู่ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น
    ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน
    จิตตปัสสัทธิแม้ใด จิตตปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    [๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร
    แม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    แม้นั้น ก็ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    [๕๕๑] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    อุเบกขาในธรรมภายใน มีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอก มีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายใน
    แม้ใด อุเบกขาในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้นั้น
    ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปฏิจจสมุปบาท
    อินทรีย์ ๕
    สุจริต ๓
    สติปัฏฐาน ๔
    โพชณงค์ ๗

    ถ้ามันยากไป ทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง แนะนำ "กายคตาสติ"
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...