"รู้จักพญานาคดีแค่ไหน"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 18 กันยายน 2016.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    "รู้จักพญานาคดีแค่ไหน"

    พญานาคเป็นราชาแห่งงูจัดเป็นเดรัจฉานด้วย เพราะมีลำตัวไปทางขวาง และไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

    นาคแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่คือ.....

    1.ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
    2.ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
    3.ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
    4.ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ

    พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ....

    1.เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที ผุดเกิดสำเร็จเป็นตัวเป็นตน เช่น พรหม เทวดา เปรต หรือสัตว์นรกทั้งปวง พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง
    2.เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในสิ่งที่หมักหมมในเปลือกในตม ในที่ชื้นแฉะหรือด้วยเหงื่อไคลโดยไม่อาศัยฟองไข่และครรภ์ของมารดา คือเกิดนอกครรภ์ เช่น หนอนหรือเชื้อแบคทีเรีย
    3.เกิดแบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
    4.เกิดแบบอัณฑชะเกิดจากฟองไข่

    ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
    เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะหรือมีจิตผูกพันธ์กับแม่น้ำ และพญานาค หรืออธิฐานจิตขอเกิดเป็นพญานาค(ถึงแม้ทำบุญมามากแค่ไหนพอที่จะไปเกิดสวรรค์ ชั้นสูงๆกว่านี้ได้ แต่ถ้ามีจิตผูกพันธ์ ยึดติดกับอะไรตายไปก็จะไปตรงนั้น) ดังนั้นควรยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด เพราะเป็นสรณะอันประเสริฐที่สุดเพียงหนึ่งเดียว
    พวกพญานาคอยู่ ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก
    ประเภทของพญานาค นาคแบ่งลำดับชั้นตามหน้าที่ไว้เป็น 4 พวกคือ....

    1)นาคสวรรค์ มีหน้าที่เผ้าวิมานเทพและเทวดา
    2)นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน
    3)นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำคลอง
    4)นาครักษาขุมทรัพย์

    เมื่อรวมนาคทั้ง 4 พวกแล้ว จะมีพญานาคทั้งสิ้นประมาณ 512 ชนิด และแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ
    1)กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ
    2)อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ

    พญานาคบางพวกมีอายุสั้น บางพวกก็มีอายุยืน อาจจะมีอายุยาวนานเป็นกัลป์ก็ได้ อย่างพญานาคตนหนึ่งชื่อพญานาคกาละมีอายุยืนยาวมาก ตั้งแต่พระพุทธเจ้ากุสันธะจนถึงพระสมณโคตมะ และจะมีอายุไปจนถึงพระศรีอาริยะเมตไตรย์

    ตามปกติพญานาคจะกลัวพญาครุฑ พญานาคที่พญาครุฑไม่สามรถกินเป็นอาหารได้ มีอยู่ 7 พวกด้วยกันคือ

    1) พญานาคที่มีชาติกำเนิดที่ละเอียดกว่าและภพภูมิสูงส่งกว่าพญาครุฑ
    2) กัมพลสัตรพญานาคราช
    3) รตรัฐพญานาคราช
    4) พญานาคราชที่อาศัยอยุ่ในมหาสมุทรสีทันดรทั้งเจ็ดสมุทร
    5)พญานาคราชที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน
    6)พญานาคราชที่อาศัยอยู่ในภูเขา
    7)พญานาคราชที่อาศัยอยู่ในวิมาน พญานาคที่กล่าวมานี้เป็นพญานาคที่มีปรากฏอยู่ในชาดกทางพุทธศาสนา

    พิษของพญานาค พญานาคเป็นพญางู เมื่อนึกถึงงูก็ต้องนึกถึงพิษของงู ความน่าเกรงขามของพิษพญานาคใน "คัมภีร์ปรมัตถโชติกพมหาอภิธรรมมัตถสังหฏีกา"ปริเฉทที่ห้า จัดหมู่ของนาคไว้ตามชนิดของพิษแบ่งเป็น 4 จำพวกคือ....

    1)พญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วร่างกายจะแข็งไปหมดทั้งตัว อวัยวะต่างๆแม้จะยือหรืองอหรือเหยียดออกไปไม่ได้จะปวดทรมานมาก
    2) ปูติมุขพญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วแผลจะเน่าเปื่อยมีน้ำเหลืองไหลออกมาตลอดเวลา
    3)อัคคิมุข พญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วจะเกิดความร้อนไปทั้งตัวและรอยแผลที่ถูกกัดเป็นริ้วรอยคล้ายถูกไปไหม้
    4) สัตถมุข พญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ซึ้งผู้ใดโดนกัดแล้วก็เหมือนกับถูกฟ้าผ่า

    พญานาคที้งสี่ประเภทนี้ มีวิธีที่จะทำอันตรายด้วยวิธีที่แตกต่างกันดังนี้....

    1)ใช้เขี้ยวพิษขบกัดแล้วพิษค่อยแผ่ซ่านไปทั้งตัว
    2)ใช้ตามองดูแล้วพ่นพิษออกมาทางตา
    3)มีพิษไปทั่วร่างกาย เพียงแต่ใช้ร่างกายกระทบเข้าก็เป็นพิษแผ่ออกมาได้
    4)ใช้ลมหายใจพ่นเป็นพิษออกมาและพิษนั้นจะแผ่ซ่านออกไปทั่วร่างกาย

    "คำอธิบายศัพท์"

    องค์นาคาธิบดดีทั้ง 9 พระองค์ (แต่ละเศียร) นั้นคือกษัตริย์แห่งเมืองบาดาลที่ปกครองวังนาคินทร์ต่างๆ ซึ่งแต่ละพระองค์เป็นพญานาคที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยู่ในศีลในธรรมแล้วทั้งสิ้น องค์นาคาธิบดีทั้ง 9 พระองค์ แต่ละเศียร)มีพระนามดังต่อไปนี้
    1.พญาอนันตนาคราช
    2.พญามุจลินท์นาคราช
    3.พญาภุชงค์นาคราช
    4.พญาศรีสุทโธนาคราช
    5.พญาศรีสัตตนาคราช
    6.พญาเพชรภัทรนาคราชหรือพญาเกล็ดแก้วนาคราช
    7.พญานาคดำแสนศิริจันทรานาคราช
    8.พญายัสมันนาคราช
    9.พญาครรตระศรีเทวานาคราช

    องค์นาคาธิบดีเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน กษัตริย์องค์นาคาธิบดีศรีสุทโธ แต่เดิมเป็นนาคธรรมดาสังเกตุจากที่มีเศียรเดียว แต่ได้เป็นองค์นาคาธิบดี(กษัตริย์แห่งนาค)ฝั่งไทย เพราะองค์อิศวรประทานให้ เนื่องจากได้ทำความดีความชอบในการค้นหาโคศุภราชขององค์อิศวร เมื่อคราโคศุภราชหนีมาเที่ยวบนโลกมนุษย์ โดยองค์นาคาธิบดีศรีสุทโธเป็นผู้ค้นพบโคศุภราช พญานาคราช พญานาคิณี เทียบเท่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นาค-นาคี เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัด,ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นาคผู้-นาคเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปที่ถือว่าเป็นคนมีศีล เงือกผู้-เงือกเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปแต่ไม่ถือศีลใดๆ งูตัวผู้-งูตัวเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปที่ทำดีได้-ทำชั่วได้ ปกติเหล่าพญานาคเป็นผู้ที่ถือศีลแปดเคร่งครัดมาก พญานาคจะไม่ทำร้ายใคร แต่ก็มีพญานาคชั้นเลว ชอบทำร้ายมนุษย์ตามแม่น้ำ....

    (เชื่อ ศรัทธา ภาวนาให้ถึง พึงพิจารณา หาอนัตตาให้เจอ อย่าเผลอหลงยึดติด หากหลงผิด จะติดภพชาติ เพราะขาดปัญญา)
     
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    นาคในพระไตรปิฎก....

    ว่าด้วยกำเนิดนาค ๔ จำพวก

    [๕๑๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
    คือ นาคที่เป็นอันฑชะ เกิดในไข่ ๑
    นาคที่เป็นชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑
    นาคที่เป็นสังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑
    นาคที่เป็นอุปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล.
    จบ สูตรที่ ๑.

    ๒. ปณีตตรสูตร
    ว่าด้วยความประณีตของกำเนิดนาคแต่ละจำพวก

    [๕๒๐] พระนครสาวัตถี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้.
    ๔ จำพวกเป็นไฉน?
    คือ นาคเป็นอัณฑชะ ๑ นาคที่เป็นชลาพุชะ ๑
    นาคที่เป็นสังเสทชะ ๑ นาคที่เป็นอุปปาติกะ ๑.
    ในนาค ๔ จำพวกนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ
    และอุปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ.
    นาคที่เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ ประณีตกว่า
    นาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะ. นาคที่เป็นอุปปาติกะ
    ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล.

    ..................................................................................
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ข้อที่ ๕๑๙ – ๕๓๐ หน้าที่ ๒๗๐-๒๗๕

    อ่านเพิ่มเติม.. พญานาคในพระไตรปิฎก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...