รู้จัก ‘โรคเครียดเฉียบพลัน’ หลังเหตุสะเทือนขวัญ ‘กราดยิงโคราช’

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 9 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b982e0b8a3e0b884e0b980e0b884e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b894e0b980e0b889e0b8b5e0b8a2e0b89ae0b89ee0b8a5.jpg

    9 กุมภาพันธ์ 2563


    30

    ทำความรู้จัก “สภาวะเครียดอย่างเฉียบพลัน” ซึ่งมักเกิดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือน โรคนี้มีอาการอย่างไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง พร้อมคำแนะนำ วิธีปฏิบัติตัว หากมีอาการเข้าข่าย


    หลังจากผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญหรือรุนแรงที่ไม่คาดคิด ทั้งผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้ที่ติดตามข่าวสารตลอดเวลา อาจเกิดภาวะเครียด ซึ่งอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี เช่นเดียวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญคนไทยล่าสุด มีทหารเข้าไปกราดยิงในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

    เหตุการณ์นี้กินระยะเวลายาวนานเกินกว่า 15 ชั่วโมง ที่คนร้ายเดินถือปืนอยู่ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว ในขณะเดียวกันยังคงมีประชาชนติดอยู่ในสถานที่ดังกล่าวเช่นกัน ทุกคนต่างหาที่หลบภัยและรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ภายนอก หลายคนที่ติดอยู่ภายในให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น จากความกลัวที่จะพบคนร้ายผู้ก่อเหตุ หรือญาติที่มารอรับผู้ที่ติดอยู่ภายใน ก็เกิดความกังวลและเป็นห่วงแน่นอนว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง

    โดยจากบทความเรื่อง “วิกฤตจิตใจจากภัย 7 ตุลา และภัยเศรษฐกิจ” ที่เขียนโดย ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ในตอนหนึ่ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เหตุการณ์สะเทือนขวัญ (traumatic event) ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ หรือจากมนุษย์ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิตตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ทั้งโรค “เอเอสดี” (ASD-Acute Stress Disorder) และโรค “พีทีเอสดี” (PTSD-Post traumatic Stress Disorder)”

    “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั้งสอง เพื่อให้รู้ถึงลักษณะของอาการ กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค และวิธีการรักษา เพราะหากใครหรือคนใกล้ตัวพบอาการเหล่านี้จะได้รับพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

    สำหรับโรค “พีทีเอสดี” (PTSD-Post traumatic Stress Disorder)” หรือโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายไว้โรคนี้ไว้ว่า เป็นสภาวะป่วยทางจิตใจ เมื่อเผชิญเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก เช่น ภัยพิบัติ อุทกภัย แผ่นดินไหว การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม การปล้นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น คนที่อยู่ในเหตุการณ์และรอดชีวิตมาได้ หรือผู้ที่สูญเสียคนรัก จะเกิดความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมาก ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ

    โดยอาการแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 หรือประมาณช่วง 1 เดือนแรก เป็นระยะทำใจ หรือเรียกว่า โรค “เอเอสดี” (ASD-Acute Stress Disorder) หรือโรคเครียดเฉียบพลัน ช่วงนี้จะเกิดอาการเครียดแบบเฉียบพลัน อาจทำให้เกิดอาการทางประสาทขึ้นมาได้

    ส่วนระยะที่ 2 PTSD: Post-Traumatic Stress Disorder จะกินระยะเวลานานมากกว่า 1 เดือ อาจยาวหลายเดือน หรือนานเป็นปี มีอาการสำคัญ 4 อย่าง ได้แก่ 1.เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นตามหลอกหลอนอยู่บ่อยๆ หรือฝันเห็นบ่อยครั้ง 2.อาการ Flash Back คือ เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้นกำลังจะเกิดขึ้นควบคุมไม่ได้ อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตกใจง่าย ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิ เครียดได้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว 3.พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะส่งผลทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ และ 4.มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์เชิงลบ รู้สึกชีวิตตัวเองหม่นหมอง ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือทำมาก่อน ทำให้อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ

    สำหรับวิธีการรักษา มี 5 วิธี คือ 1.ยอมรับตัวเอง ไม่ต้องกลัวการรักษาหรือคิดว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวชร้ายแรง 2.ทำจิตบำบัดในเชิงพฤติกรรมบำบัด เช่น ให้เผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัว เหตุการณ์ที่เคยหวาดกลัว ให้คนไข้ได้ปรับตัว หาทางที่จะควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง 3.ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ ฝึกลมหายใจ ฯลฯ และ 4.ทำกลุ่มบำบัด โดยนำบุคคลที่เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันมาพบกันและ 5.รักษาด้วยยาตามจิตแพทย์สั่ง

    โดยกลุ่มเสี่ยงต่อโรค PTSD-Post traumatic Stress Disorder) ได้แก่
    1.คนที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายตอนเด็กๆ
    2.คนที่ไม่ค่อยมีเพื่อนหรือครอบครัวมาคอยช่วยเหลือ
    3.คนที่ชอบพึ่งพาคนอื่นมาโดยตลอด ไม่พยายามช่วยเหลือตนเอง
    4.คนที่มีอาการทางจิตเวชเป็นทุนเดิม เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล
    5.คนที่อายุน้อยไม่มีประสบการณ์ คนอายุมากที่มีปัญหาเรื่องการปรับตัว
    6.ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเป็นโรค PTSD ได้มากกว่าผู้ชาย

    หากใคร หรือคนใกล้ชิดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งจากข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษา ทั้งนี้หากพบความผิดปกติ สามารถติดต่อขอคำปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต ได้ที่เบอร์โทร 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

    ที่มา :

    http://www.psychiatry.or.th/home/index.php/psyarticles/7-news2

    https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/ptsd-ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุ/

    https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/กลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะป่ว/

    http://www.healthandtrend.com/parental/kid/how-to-cope-after-an-emotional-incident



    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865617
     

แชร์หน้านี้

Loading...