รู้จัก FIRE กลุ่มคนที่โหมเก็บเงิน เพื่อหวังจะเกษียณตอนอายุ 30-40 ปี

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ann, 17 พฤษภาคม 2022.

  1. ann

    ann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    246
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +2,291
    รู้จัก FIRE กลุ่มคนที่โหมเก็บเงิน เพื่อหวังจะเกษียณตอนอายุ 30-40 ปี

    สำหรับ “FIRE” ในบริบทนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคำว่า “ไฟ” แบบที่เราคุ้นเคยกันดี แต่มันถูกย่อมาจาก “Financial Independence, Retire Early”

    ซึ่งคำนี้ใช้เรียกกลุ่มคนที่แสวงหา “อิสรภาพทางการเงิน” เพื่อที่จะได้ไปทำในสิ่งที่รัก มากกว่าสิ่งที่ต้องทำ อย่างเช่น “งาน”
    ดังนั้น พวกเขาจึงมีพฤติกรรมที่ทุ่มเทให้กับการออมเงินและการลงทุนอย่างสุดโต่ง เพื่อที่จะมีเงินมากพอให้สามารถเกษียณออกจากงานได้ก่อนกำหนด
    ซึ่งบางรายอาจถึงขั้น ตั้งเป้าเกษียณในช่วงอายุ 30-40 ปีเลยทีเดียว
    แล้ว FIRE มีที่มาจากอะไร ?

    และคนกลุ่มนี้มีการวางแผนการเงินอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
    พฤติกรรมแบบ FIRE ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือขายดี อย่าง “Your Money or Your Life” ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1992 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
    โดยพฤติกรรมการเงินของคนกลุ่ม FIRE จะมีเป้าหมายที่การเกษียณก่อนกำหนด หรือก็คือ การลาออกจากงานก่อนวัย 65 ปี

    ดังนั้นในช่วงทำงาน สำหรับบางคนอาจจะเก็บออมเงินถึง 70% ของรายได้
    และเพื่อให้มีเงินเก็บมากพอสำหรับให้ตัวเองมีอิสรภาพทางการเงินในยามเกษียณ คนเหล่านี้จะถอนเงินออกจากบัญชีเงินเก็บเล็กน้อยมาก ๆ ซึ่งบางราย อาจถึงขั้นถอนออกมาเพียง 3-4% ของยอดคงเหลือในบัญชีต่อปี

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของเงินออม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วย
    โดยรูปแบบพฤติกรรมแบบ FIRE สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

    1. Fat FIRE
    กลุ่มที่ไม่ต้องการลดมาตรฐานการใช้ชีวิตในปัจจุบัน
    แต่ก็ยังเก็บเงินในสัดส่วนที่สูงกว่ามนุษย์เงินเดือนทั่วไป
    ดังนั้น ถ้าหากอยากเก็บเงินให้ได้ก้อนโตจนสามารถเกษียณได้ก่อนกำหนด
    ก็ควรจะต้องเน้นการลงทุน และเก็บออมเงินอย่างแข็งขันถึงจะได้ผล

    2. Lean FIRE
    กลุ่มที่เน้นการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย (Minimalist) และเก็บเงินแบบสุดขีด
    ดังนั้น ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้จะถูกตีกรอบด้วยเรื่องของ “เงิน” เป็นหลัก

    3. Barista FIRE
    กลุ่มที่มีพฤติกรรมอยู่ระหว่าง Lean FIRE และ Fat FIRE
    โดยพวกเขาต้องการจะใช้ชีวิตแบบ Less-Than-Minimalist
    หรือก็คือ การใช้ชีวิตเรียบง่าย แต่อาจไม่มากเท่ากับกลุ่ม Lean FIRE
    ดังนั้น พวกเขาจะใช้วิธีหารายได้เสริมจากงานพาร์ตไทม์หรือฟรีแลนซ์ ควบคู่ไปกับการออมเงิน
    เพื่อให้ไลฟ์สไตล์ของพวกเขาไม่ต้องประหยัดมากจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีเงินเหลือไว้เก็บออมไปพร้อม ๆ กัน
    ถึงแม้ว่า FIRE ทั้ง 3 กลุ่มจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป
    แต่เป้าหมายที่ทั้ง 3 กลุ่มนี้มีเหมือนกัน ก็คือ “การแสวงหาอิสรภาพทางการเงิน เพื่อที่จะได้เกษียณก่อนกำหนด”
    ซึ่งไม่จำเป็นว่า เราจะต้องไปให้ถึงเป้าหมายของ FIRE ให้ได้ภายในอายุ 30-40 ปี
    เพราะจริง ๆ แล้ว เป้าหมายในการประหยัดเงินของ FIRE คือ อิสระจากการได้เกษียณเร็วขึ้น เพื่อที่จะได้ออกไปใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการได้ โดยไม่ต้องรอจนถึงอายุ 65 ปี
    แต่คำถามสำคัญคือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเกษียณเมื่อไร ?
    คำตอบก็คือ เมื่อพวกเขามีเงินเก็บมากถึง 25-30 เท่าของค่าใช้จ่ายรายปี ก็จะลาออก
    ยกตัวอย่างเช่น
    นาย A มีค่าใช้จ่ายรายปีอยู่ที่ 500,000 บาทต่อปี
    ดังนั้น เขาจะต้องเก็บเงินให้ได้ประมาณ 12.5 ล้านบาท หรือ 15.0 ล้านบาท เพื่อให้เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ
    อย่างไรก็ตาม การจะประเมินว่า เราต้องใช้เงินเท่าไรในวัยเกษียณ ก็ควรคำนึงถึงเรื่องเป้าหมายในชีวิตหลังเกษียณของเราด้วย อย่างเช่น
    บางคนต้องการ ใช้เงินในวัยเกษียณมากกว่าตอนทำงาน เพราะวางแผนออกเดินทางท่องเที่ยว
    หรือบางคน อาจใช้เงินน้อยลง เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัยลงได้ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในตัวเมือง เพื่อทำงานแล้ว
    และอีกประเด็นสำคัญ ก็คือ วางแผนการถอนเงินออกมาใช้
    ในกรณีปกติที่เกษียณตอนอายุ 65 ปี
    ผู้คนมักจะวางแผนการนำเงินเก็บออกมาใช้อยู่ที่ปีละ 4% ของจำนวนเงินทั้งหมด
    แต่สำหรับการเกษียณก่อนกำหนด เราอาจจะต้องเขยิบตัวเลขลงเป็น 3.5% ต่อปี
    ส่วนในกรณีของคนที่จะเกษียณตั้งแต่อายุ 30-40 ปี
    อาจจะต้องมีการวางแผนเรื่องการใช้เงินหลังเกษียณ และการนำเงินไปลงทุนให้รอบคอบมากกว่ากรณีอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินใช้เพียงพอ แม้ในช่วงที่ไม่ได้ทำงานแล้วก็ตาม
    อย่างไรก็ตาม การมุ่งมั่นเก็บสะสมเงินอย่างสุดโต่งก็มีข้อเสียเช่นกัน
    เพราะบางครั้งมันก็นำมาซึ่งความเครียด และอาจลุกลามไปถึงการทำลายความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
    หรือบางรายก็ประหยัดเงิน จนไม่ยอมใช้จ่ายกับเรื่องจำเป็น อย่างเช่น การไปหาหมอ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
    ดังนั้น เราต้องไม่ลืมว่า เป้าหมายของการเก็บเงิน
    คือ เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตแบบที่ต้องการ
    ไม่ใช่การเพิ่มจำนวนตัวเลขในบัญชีให้ได้สูง ๆ
    เพราะไม่เช่นนั้น
    เราอาจจะไม่ทันได้อยู่ใช้เงินก้อนนั้นที่อุตส่าห์เก็บสะสมมา ก็เป็นได้..

    AoAtUXk9M_A_VgrxP_CwUEs3RlQXPF6TLj8f05IppBOl&_nc_ohc=_UWGFgE_MGkAX-SbXXM&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg
    ลงทุนเกิร์ล

    References:
    -https://www.investopedia.com/.../financial-independence...
    -https://www.forbes.com/.../reti.../the-forbes-guide-to-fire/
    -https://edition.cnn.com/.../how-to-reach.../index.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...