รู้..เห็น.. กาย..ใจ..ตนเอง .. ชื่อว่า..รู้เห็นตามความเป็นจริง (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 20 ธันวาคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ธรรมเทศนา
    โดย
    หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ. นครราชสีมา​
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 1)

    ต่อไปนี้เป็นโอกาสที่จะได้ฟังธรรม
    วันนี้เป็นวันธรรมะสวนะ แรม 15 ค่ำ เดือน 10

    แสดงว่า

    เราได้จำพรรษาผ่านพ้นมาแล้ว เกือบจะสิ้นพรรษา

    วัน เดือน ปี มีขึ้น มีแรมฉันใด
    ชีวิตของมนุษย์เรา ก็มีขึ้น มีแรม เช่นเดียวกัน

    นับตั้งแต่วัน เรา ถือ ปฏิสนธิ ในครรภ์ของมารดา
    เจริญเติบโตขึ้นมาจนครบกำหนด
    คลอดออกมา จนกระทั่งเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มที่
    อันนี้ เป็นการขึ้นของชีวิต

    ในเมื่อเจริญขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว
    สภาพร่างกายแหล่ะจิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป
    มีแนวโน้มไปในทางที่เรียกว่าแก่
    ความแก่นั้น คือเดือน วันเดือนปีข้างแรม
    เราส่วนมากชีวิตอยู่ในวัยแรมกันทั้งนั้น

    แหล่ะผู้ที่เกิดมาสุดท้ายภายหลัง แม้ว่าเราจะยังมี อายุน้อย
    ชีวิตยังหนุ่ม ยังสาว อยู่ในระยะที่กำลังขึ้น คือเจริญขึ้น

    แต่พอเจริญขึ้นเต็มที่แล้ว ก็ต้องเดินตามรอยของผู้เกิดก่อนไป
    ดังนั้น อันนี้ก็เป็นแนวทางที่ให้เราได้ถือ คติ
    เป็นการพิจารณาชีวิตของเรา

    พระพุทธเจ้าท่าน จึงสอนให้เราพิจารณาเนืองๆว่า

    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
    เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บไปไม่ได้
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

    อันนี้ คือ ความเป็นไป แห่ง วิถีชีวิตของเรา
    นอกจากนั้น ยังสอนให้เราพิจารณาชีวิตให้รู้ว่า

    ที่เราได้ชีวิตมานี้
    เป็นมาด้วยกฎของกรรม ท่านจึงให้พิจารณาว่า

    กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของงของตน
    กัมมะทายาโท มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
    กัมมะพันธุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    กัมมะปฏิสรโณ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

    แล้วก็ให้ทำจิตยอมรับ ว่า

    เราจักทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน

    อันนี้เป็น วิถีทาง ที่ ให้เราพิจารณา เพื่อกระตุ้นเตือน ความรู้สึกของเรา
    ให้มีความไม่ประมาท เพราะความประมาท เป็นหนทางแห่งความตาย

    คนที่เกิดมามีชีวิต อยู่ด้วยความประมาท แม้จะมีอายุยืนตั้ง 100 ปี
    ก็ยังสู้บุคคลผู้เกิดมา มีอายุเพียงวันเดียว แต่เต็มไปด้วยความไม่ประมาทไม่ได้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 2)

    ดังนั้น

    บรรดา ญาติโยม พุทธบริษัททั้งหลาย ตลอดทั้ง พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
    ในเมื่อถึงวันธรรมะสวนะเช่นนี้ เราก็สละ เวลา มาประชุมกัน
    มาประชุมกัน เพื่อบำเพ็ญ กรณียกิจ อันเป็นกุศล

    เรามีกาย มีวาจา แหล่ะมีใจ เป็น สมบัติของเราเอง
    กาย วาจา แหล่ะ ใจเป็น ที่เกิดของบุญ ของกุศล
    บุญกุศล ที่เราจะพึงทำนั้น

    คือ 1.การให้ทาน
    2.การรักษาศีล
    3.การเจริญภาวนา

    ทานัง เม ปริสุทธัง
    ทานที่เราให้เป็นทานที่บริสุทธิ์

    แต่ ทั้งหลายมักจะเข้าใจ ว่า

    การให้ทานนี้ เรามักตะมี วัสดุ สิ่งของเป็นเครื่องสละ อันนั้น ก็เป็นการถูกต้อง

    แต่

    ถ้าหากจะเข้าใจ ว่า การให้ทาน คือ การสละ สิ่งของ
    อันเป็น สมบัติส่วนตัว เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น โดยถ่ายเดียวนั้น
    เรายังเข้าใจ แค่ ในคำว่าการให้

    การให้ เช่น

    อย่างท่านทั้งหลาย ได้สมาทานศีล 5 ศีล 8 ลงไปแล้วนั้นแหล่ะ
    ได้ชื่อว่าเป็นการให้ ให้อภัยทาน

    คือ

    การไม่ฆ่า
    ไม่เบียดเบียน
    ไม่ข่มเหง
    ไม่รังแก
    อันนี้ชื่อว่าเป็นการให้ อภัยทาน

    ญาติโยมทั้งหลาย สละเวลา มาทำบุญสุนทานกันในวัด

    ก็ได้ชื่อว่า ให้

    คือ ให้ สละเวลามาเฝ้าพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป ในวัด
    ให้เวลามา เพื่อได้ทัศนะ คือได้เห็นพระภิกษุ สงฆ์ สามเณร ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    อันนี้

    ก็ได้ชื่อว่า การให้
    เรียกว่า การให้ทานเหมือนกัน

    ทีนี้ การรักษาศีล

    ศีล ท่านทั้งหลายก็ได้สมาทานมาแล้ว
    ศีล 5
    ศีล 8 เป็น ข้อวัตร ปฏิบัติ
    เป็นอุบายวิธี ฝึกหัดละความชั่ว ทางกาย ทางวาจา
    ความชั่วที่เราจะตั้งใจละเอาได้นั้น คือ
    ความชั่ว ที่เราจะพึงละเมิด ด้วยกาย ด้วยวาจา

    แต่ ส่วนเรื่องใจนั้น เรายังละไม่ได้หรอก

    ดังนั้น เราจึงมายึดหลักแห่งการละความชั่ว
    ด้วยการ สมาทานศีล ตามชั้นภูมิของตนเอง

    คฤหัสถ์ ทั่วไป มีศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติ ก็ได้ชื่อว่า ละความชั่ว 5 ข้อ
    ผู้ สมาทานศีล 8 ก็ได้ ละความชั่ว 8 ข้อ
    ผู้ มีศีล 10 ก็ได้ละความชั่ว 10 ข้อ
    ผู้ มีศีล 227 ข้อ ก็ได้ละความชั่ว ทั้ง 227 ข้อ

    ซึ่งเป็นไปโดยเจตนา แหล่ะความตั้งใจ ว่าเราจะละ
    เรามาฝึกหัดละความชั่ว ดังที่กล่าวแล้ว จนเกิดความคล่องตัว
    เกิดความชำนิ ชำนาญ มีเจตนาอันแน่วแน่ ว่าเราจะละความชั่ว อันนั้นจริงๆ
    โดยไม่กลับกลอกเสื่อมคลาย

    อันนี้ได้ชื่อว่า เป็นการตั้งใจละความชั่ว
    ตามพุทธบริษัท ที่ท่าน สอนว่า

    สัพพะปา ปัสสะ อะกะระณัง
    การไม่ทำบาปทั้งปวง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 3)

    การไม่ทำบาปทั้งก็หมายถึง ว่า
    การงดเว้น ตามศีล สิกขาบท ที่เราสมาทานมาแล้วนั้น

    ท่านผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ได้ ตามขั้นตามภูมิของตน
    ได้ชื่อว่า เป็นผู้ละความชั่วได้โดย เจตนา คือ ความตั้งใจ

    ในขั้นแรกๆ เราก็ตั้งใจ อดอด ทนทน ตั้งใจละเอา
    บางทีก็ ขาดตก บกพร่องบ้าง แต่เราก็พากเพียรพยายามที่จะปฏิบัติให้ได้
    จนกลายเป็น ศีลอันบริสุทธิ์ เป็น อธิศีล

    อธิศีลที่เกิดขึ้น ในจิตในใจของเรานั้น หนักๆเข้า
    เราจะไม่ได้ตั้งเจตนาที่จะละ สิ่งใดๆ ทั้งนั้น

    แต่หากว่า การประพฤติของเรานั้น มันเป็นไปเพื่อความละ
    เป็นไปเพื่อความงดเว้นเองโดยอัตโนมัติ ได้ชื่อว่า

    เป็นผู้มีศีลอัน บริสุทธิ์
    แหล่ะได้ละความชั่วโดยเจนาโดยสมบูรณ์

    ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล ตามขั้น ตามภูมิของตนแล้ว
    ขอทุกท่านจงได้โปรด ทำความภาคภูมิใจ ว่า เรามีศีล อัน บริสุทธิ์แล้ว

    ปริสุทธัง เม สีลัง ศีล ของเรา บริสุทธิ์แล้ว
    ปริสุทธัง เม สีลัง ศีล ของเรา บริสุทธิ์แล้ว
    ปริสุทธัง เม สีลัง ศีล ของเรา บริสุทธิ์แล้ว

    ปริสุทโธ อะหัง ภันเต
    ปริสุมโธ ติมัง
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทาเรตุ

    ข้าพเจ้า มีศีลอัน บริสุทธิ์แล้ว
    ขอ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์
    นี่คือ ความบริสุทธิ์ แห่งศีล

    เพื่อเป็น อุบาย วิธีการ ที่จะปลูกฝังเจตนาให้มั่นคง ในการละความชั่ว

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงสอนให้เราบำเพ็ญ สมาธิภาวนา

    การบำเพ็ญ สมาธิภาวนา เป็นบุญกิริยาวัตถุอันนึง ซึ่งเรียกว่า

    ภาวนามัย
    บุญสำเร็จด้วยการภาวนา

    การให้ทาน บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน เรียกว่า

    ทานมัย
    บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน

    ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา

    ดังนั้น ณ โอกาสนี้
    ขอท่านทั้งหลาย จงตั้งใจ กำหนดจิต บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานั้น
    เป็นอุบายวิธี ทำจิต ให้เข้าถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นอน

    เมื่อท่านผู้ใด บำเพ็ญสมาธิ ด้วยบริกรรมภาวนา ให้จิตสงบลง เป็น สมาธิ

    ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ ลงไปแล้ว
    สภาพจิต จะกลายเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    เมื่อท่านทั้งหลาย ทำจิตให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ได้ชื่อว่า
    เป็นผู้เข้าถึง พระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง

    เป็นอันว่า ได้ พระพุทธเจ้าเป็น สรณะ
    เมื่อได้พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไว้ในจิต ในใจแล้ว
    การทรงไว้ ซึ่ง ความรู้สึกเช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่า ได้พระธรรมเป็น สรณะ

    ความที่มี สติ สัมปชัญญะ สังวร ระวัง ตั้งใจว่า
    เราจะละความชั่ว ประพฤติความดี อยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ
    ได้ชื่อว่า เป็นผู้ได้ พระสงฆ์เป็น สรณะ

    นี่เป็นอุบายวิธี ทำจิต ทำใจ ให้เข้าถึง
    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็น สรณะ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  5. ariya_mettrai

    ariya_mettrai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +6
    อนุโมทนาให้กับปราบเทวดา เจ้าของกระทู้ในการเผยแพร่คำสอน หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    จักเป็นคู่มือ...เตือนสติ...ให้กับผู้ที่สนใจในธรรม
    จักเป็นคู่มือ...พิจารณา...ให้กับผู้ที่สนใจในธรรม
    จักเป็นคู่มือ...ปฏิบัติ...ให้กับผู้ที่สนใจในธรรม



    อนุโมทนา อนุโมทนา อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2012
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สาธุครับ

    ทำความเข้าใจ คำว่า อนุโมทนานิดนึง


    ผู้อนุโมทนา ย่อมเกิดบุญกุศลต่อตนเอง

    อนุโมทนาให้กันไม่ได้
    หมายถึงว่า มันยก ตำแหน่ง ยกฐานะ ยกสิ่งของ ยกอามิส ให้กันไม่ได้


    การอนุโมทนาบุญ จึงเป็นการ สร้างบุญให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

    เรียกว่า อนุโมทนามัย
    บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา



    ผมขอแบ่งบุญ ในการเผยแพร่ คำแนะนำหลวงปู่พุธ ฐานิโย
    ให้เพื่อนสมาชิกที่ได้มาอ่านทุกท่านด้วยครับ
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 4)


    ดังนั้น ณ โอกาสนี้
    จึงขอเชิญ ท่านทั้งหลาย กำหนดจิต บริกรรมภาวนา
    หรือ
    พิจารณาอันใด อันหนึ่ง ซึ่งเป็น อารมณ์ของจิต
    ที่ท่านเคย คล่องตัว แหล่ะ เคยพิจารณามาแล้ว
    จนกว่า จิต จะสงบลง มีสมาธิ อันประกอบด้วย องค์
    คือ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา

    เมื่อเรา สามารถ ทำสมาธิจิต ให้เกิด มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา

    นั่น

    คือ สมาธิเบื่องต้น ได้เกิดขึ้น กับ จิตของเราแล้ว
    จิต ที่มี สมาธิ ที่ประกอบด้วยวิตกนั้น เป็นอย่างไร

    ยกตัวอย่าง เช่น

    ท่านกำลังบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่
    พอบริกรรมภาวนาไปแล้ว
    จิตของท่านบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ รั้งไม่อยู่
    นั่นเรียกว่า จิตได้ วิตก


    คือไม่ต้องตั้งใจ จะบริกรรมภาวนา
    แต่จิต ก็ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เอง
    แหล่ะพร้อมๆกันนั้น ก็มี สติ สัมปชัญญะ รู้พร้อม อยู่ในขณะจิต
    ที่บริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ
    อันนี้ จิตได้ วิตก วิจาร ในขั้นต้น

    ในบางครั้งเราอาจจะภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอจิตหยุดบริกรรมภาวนาพุทโธ
    จิตไปนิ่ง สว่างอยู่
    อันนั้นจิตก็มี วิตก คือ วิตกถึงความสว่างที่มีอยู่ ในจิต
    แล้วก็มี สติ สัมปชัญญะ รู้พร้อมอยู่ที่จิต
    ในขณะ ที่จิต มีความสงบนิ่ง สว่างอยู่นั้น
    จิต กลายเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา

    พร้อมๆกันนั้น ก็มี ปิติ มีความสุข แหล่ะ มีความสงบ ได้ชื่อว่า ได้ สมาธิ ในขึ้นต้น

    นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปกลัว สมาธิ

    ครูบาอารจารย์ของเรา สอนให้ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ

    แต่ในบางครั้ง

    เราลืมไป เราไม่เชื่อครูบาอาจารย์
    บางทีเราก็ไปเชื่อ บุคคลที่ภาวนาไม่เป็น

    บางทีเค้าจะกล่าวว่า ภาวนา พุทโธ แล้ว
    จิตมันจะไปนิ่งติดความสบเป็น สมถะ ไม่ถึง วิปัสนา อันนี่ อย่าไปเชื่อ !!


    ครูบาอาจารย์ของเรา ได้ทำมาแล้ว

    ภาวนาพุทโธ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    แม้ ในปัจจุบันนี้ ก็มีหลักฐานพยาน
    บางท่านภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ แล้ว
    จิต สงบ นิ่ง สว่าง มีปิติ มีความสุข มีความสงบ จนกระทั่งตัวหาย
    ไม่ปรากฎ ว่า มีตัว มีตน มีร่างกายปรากฎ
    มีแต่จิตดวงเดียว สงบ สว่าง ไสว นิ่ง ลุกโพรงอยู่
    เหมือนกับไฟลุกอยู่ในใจฉะนั้น

    บางทีผู้ที่ไม่รู้เรื่อง ของสมาธิอย่างละเอียด
    พอจิต สงบปุ๊บ ลงไป สว่างโพร่งขึ้น

    แล้วก็เกิดตกใจว่า หึ๊

    ทำไมจิตของคนเรามันจึงลุกเป็นไฟขึ้นมาได้
    นี่ มันเป็นอย่างนั้นก็เป็น

    ทีนี้

    ในเมื่อจิต มีความสงบ นิ่ง นิ่ง นิ่ง นิ่ง สว่าง บ่อยๆ บ่อยๆ บ่อยๆเข้า

    สมาธิ คือ ความสงบจิตนั้น เป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2012
  8. ariya_mettrai

    ariya_mettrai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +6




    สาธุ สาธุ สาธุ

    ใจอันบริสุทธิ์ของปราบเทวดาเราน้อมรับ

    คำว่า...อนุโมทนา

    1) การกล่าวคำ...อนุโมทนา เพื่อให้ผู้ที่กำลังสร้างบุญกุศลอยู่นั้นสำเร็จลุล่วง
    2) จากนั้นบุญกุศลจะเกิดแก่ผู้กล่าว แต่ผู้กล่าวต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์


    ประโยคที่ว่า อนุโมทนาให้กับปราบเทวดา เจ้าของกระทู้ในการเผยแพร่คำสอน หลวงปู่พุธ ฐานิโย จึงเป็นนัยตามข้อ1
    เพื่อให้บุญกุศลที่ปราบเทวดากระทำอยู่สำเร็จลุล่วง มิได้หมายถึง ยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับใคร


    กิจใดที่เป็นไปเพื่อทำนุบำรุงพุทธศาสนา จงทำต่อไปเถิดปราบเทวดา

    อนุโมทนา อนุโมทนา อนุโทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2012
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 5)

    ความสงบของจิต ทำให้จิตมีพลังงาน
    ทำให้จิต มี สติ สัมปชัญญะ
    เมื่อจิตมี สติ สัมปชัญญะ แม้มันจะอยู่ในความสงบ ลึกละเอียด สักปานก็ตาม

    แต่เมื่อมันออกจากสมาธิจากความสงบมาแล้ว มันจะมีความคิดเกิดขึ้น
    ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแหล่ะ คือ ปัญญา

    ถ้าหากว่าเรามี สติ ตามรู้ทัน ความคิดอยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ
    เรียกว่า ปัญญาเกิดจากสมาธิ

    ถ้าหาก ขณะใด ที่เรามี สติ ตามรู้ไม่ทัน จิตก็กลายเป็นความฟุ้งซ่าน
    จริงอยู่ ในขณะ ที่จิตสงบนิ่ง โดยกายไม่ปรากฎ
    ความรู้สึก นึกคิดอื่นๆ มันจะไม่มี
    มีแต่จิต สงบ นิ่ง สว่าง อยู่เฉยๆ

    แต่เมื่อจิตเลิกจากความสงบนิ่งสว่างแล้ว
    ถอนออกมา พอรู้ ว่ามีกายเท่านั้น
    แล้วจิตมันก็จะเกิดความคิด ผุด ผุด ผุด ผุด ผุด ผุด ขึ้นมา

    แน๊

    นี่ ปัญญามันเกิดขึ้นแล้วนะ เกิดขึ้นตอนนี้
    ตอนที่จิต สงบนิ่ง เงียบ สว่าง จนไม่มีตัวนั่น ปัญญามันไม่เกิดจริง

    แต่เราสามารถที่จะมีปัญญารู้ได้ เมื่อเราออกจากสมาธิมา ว่า นี่คือสมาธิ
    แหล่ะเราจะรู้ว่า นี่
    เราภาวนาได้ สมาธิแล้ว

    นี่ จิตของเรา ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว
    นี่ จิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว
    นี่ คุณธรรม ที่ทำคนให้เป็น พระพุทธ เกิดขึ้น ในจิต ในใจ ของเราแล้ว
    นี่ คือปัญญาที่จะเกิดจากสมาธิ

    ถ้าหากว่า สมาธิไม่เกิดขึ้นอย่างนี้ เราก็ไม่รู้เช่นนั้น

    เมื่อจิต ถอนออกมาจากสมาธิเช่นนั้น
    จิต มีความคิด เกิดขึ้นเมื่อใด สติ สัมปชัญญะ จะตามรู้ความคิดนั้นทันที
    เพราะอาศัยพลัง แห่ง ความสงบอันนั้น เป็นมูลฐาน

    ดังนั้น

    ท่านผู้ภาวนาทั้งหลาย อย่าไปกลัว
    อย่าไปกลัวว่า จิต มันจะไปสงบนิ่งอยู่เฉยๆไม่มีทาง

    มันจะสงบนิ่งอยู่ ก็ เฉพาะในขณะที่นั่งหลับตาอยู่เท่านั้น
    แต่เมื่อออกจากที่นั่งหลับตาแล้ว มันก็ไม่สงบ

    เพราะ

    เรามี ภาระธุรกิจ ที่จะต้องทำ
    ยืน เดิน นั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
    นั่นคือ ภาระกิจ อันเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน

    คนที่ไม่มีสมาธิมาก่อน

    ยืน ก็ยืนด้วยความไม่มีสติ
    เดิน ก็เดินด้วยความไม่มีสติ
    นั่ง ก็นั่งด้วยความไม่มีสติ
    กิน ดื่ม ทำ พูดคิด ก็ด้วยความไม่มีสติ

    แต่ผู้ที่มีจิต ผ่าน สมาธิมาแล้วบ่อยๆ

    ยืน ก็มี สติรู้อยู่

    เดิน ก็มี สติรู้อยู่

    นั่ง ก็มี สติรู้อยู่

    นอน ก็มี สติรู้อยู่

    กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ก็มี สติรู้อยู่


    เมื่อมี สติรู้อยู่
    สติตัวนี้ มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็นปัญญา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 ธันวาคม 2012
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 6)

    มองสิ่งใด ซึ่งผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แหล่ะ ใจ ด้วยความ มีสติ

    จิต ที่มี สติ รับรู้อะไรแล้ว เค้าจะมีการพิจารณาโดย ความเป็นอัตโนมัติ

    เช่น

    อย่างเมื่อ ตาเห็นรูป พอเกิดความยินดีปั๊ปขึ้นมา จะมี สติพิจารณา
    บางทีก็พิจารณา ว่า รูปนี่มันก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    บางทีก็พิจารณา ว่า รูปที่สดสวยงดงาม ในที่สุดมันก็ไม่สดไม่สวย ไม่งดไม่งาม
    เพราะ มันเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครก

    ทีนี้ มีหู
    หูได้ยินเสียงอะไรเข้ามา ถ้าเกิดความยินดี ยินร้าย
    ผู้มี สติ จะเกิด ปัญญา พิจารณาทันที
    อะไรผ่านเข้ามาทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
    ก็จะมี สติ พิจารณาทันที
    แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งภายนอก จะเป็นสิ่งภายในก็ตาม

    ในเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เพราะอาศัยความมี สติ
    เค้าจะมีความรู้พร้อม แหล่ะมีการเตรียมพร้อม

    มีตา ก็เป็นตา มีศีลมีธรรม ไม่ใช่ตาหาเรื่อง
    ถ้าตาหาเรื่องแล้วก็มอง ดูใคร ทำอะไรไม่ถูกอกถูกใจก็หาเรื่อง
    พาลทะเลาะกัน

    นั่นเรียกว่า ไม่มี สติ ขาดสติ
    จึงปล่อยให้ตาไปเที่ยวหาเรื่องกับเหตุการณ์ภายนอก

    เหตุการณ์ภายนอก

    รูปที่ผ่านเข้าในทางสายตานั้น
    ตามันเป็น สิ่ง ที่มีไว้สำหรับดู

    ในเมื่อเราลืมตาอยู่
    มันก็เห็นหมดทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ

    เห็นทั้งสิ่งที่ดี
    เห็นทั้งสิ่งที่ร้าย
    เห็นทั้งสิ่งที่สวย
    เห็นทั้งสิ่งที่งาม
    เห็นทั้งสิ่งที่ ขี้ริ้ว ขี้เหร่

    เห็นทั้งสิ่งที่น่าชอบใจ
    เห็นทั้งสิ่งที่ไม่น่าชอบใจ

    ในเมื่อจิต มี สติ สัมปชัญญะ รู้พร้อม
    จิตของเราจะให้ ความยุติธรรม แก่สิ่งที่เห็น

    เห็นอะไรที่แสดงออกมา
    แม้ว่าจะเป็น สิ่งที่เราชอบใจไม่ชอบใจก็ตาม

    จิตที่มี สติ ย่อมจะเป็นกลาง โดย เที่ยงธรรม
    เห็นอกเขาอกเรา ใครแสดงอะไรออกมา

    นั่น

    เป็นอุปนิสัยของเขาอย่างนั้น


    เสียงที่เราได้ยิน
    ใครพูดออกมาดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม
    จิตที่มีสติ จะพิจารณาว่า
    ใครเปล่งเสียงออกมาอย่างไร ดีชั่วก็ตาม
    เป็นอุปนิสัยของเขาผู้นั้น

    กลิ่น ที่ผ่านเข้ามาทางจมูก เหม็นหอม ก็เป็นเรื่องของกลิ่น
    จิตเป็นกลางแล้ว ย่อมไม่ยินดี ยินร้าย

    สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางลิ้น สัมผัสทางรส
    รสอร่อย เปรี๊ยว หวาน มัน เค็ม
    จิตที่เป็นกลางแล้ว จะไม่ติไม่ชม กับ รสนั้นๆ

    ทีนี้

    แม้สิ่ง ที่มีสัมผัส ในทางกาย ที่อยู่ ที่หลับ ที่นอน
    จะอ่อน จะแข็ง อย่างไรก็ตาม
    ในเมื่อจิต มี สติ สัมปชัญญะ ก็มีแต่ความเป็นกลาง

    เช่น

    อย่างญาติโยมมาวัด จะมีเสื่อปูให้นั่งก็ตาม
    ไม่มีก็ตาม จิต ที่เป็นกลาง มี สติ สัมปชัญญะ ย่อมไม่ติ ไม่ชม

    เห็นอะไร ก็นึกว่า เป็นเรื่องของธรรมดา

    เห็นอะไร ก็ปลงปัญญา ทำจิตเป็นกลาง ว่าเป็นเรื่องของธรรมดา

    พิจารณาขมวดเข้าไปสู่หลักของพระไตรลักษณ์
    ทุกสิ่งทุกอย่าง
    มันแสดง ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของมัน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ธันวาคม 2012
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 7)

    ทีนี้ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องภายนอกนั้น
    มีหรือ ที่ มันจะเป็นไป โดยถูกอกถูกใจของเราหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

    แม้แต่ลิ้นกับฟัน อยู่ในปาก มันก็ยังกระทบกัน

    บางทีเคี้ยวอาหารมันก็เผลอไปกัดปากตัวเองเข้าให้
    แม้แต่สิ่ง ที่เป็นอยู่ ภายใน ร่างกายของเรา
    เรายังควบคุมไม่ได้ตลอดไปหมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง

    เรื่องอะไรที่เราจะไปควบคุมบุคคลอื่น แหล่ะ สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
    ให้มันเป็นไปตามใจของเรา

    เพราะฉะนั้น

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ท่านจึงให้ มี สติ สัมปชัญญะ พิจารณาสิ่งต่าง
    อะไรเกิดขึ้นให้พิจารณาน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์

    อนิจจังไม่เที่ยง
    ทุกขังเป็นทุกข์
    อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    โดย ในหลัก ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
    ท่านให้ยกเอาขันธ์ 5 ขึ้นมาพิจารณา

    รูปปัง ภิกขเว อนัตตา
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง อ่า! รูปเป็นอนัตตา
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็น อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    รูป คือ ร่างกาย แม้แต่ร่างกายของเราเนี๊ยะ
    มันก็ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา

    ถ้าว่ามันเป็นของเราจริงๆ
    ทำไม มันจึงแก่
    ทำไม มันจึงเจ็บ
    ทำไม มันถึงตาย
    หรือ บางที
    ทำไม มันจึงไม่อยู่ ในอำนาจ
    ในเมื่อเราแก่เฒ่า ชราการมาแล้ว
    ชรา ชัฎ ฉริตา อัฏฏะ ปานา อนัตตะวา
    มือเท้ามันก็ไม่อยู่ในอำนาจ
    แข้งขาตีนมือมันก็ไม่อยู่ ในอำนาจ นั่นคือลักษณะ แห่ง อนัตตา

    เพราะฉะนั้น

    เราจึงไม่ได้ในรูปของเรา คือ ร่างกายของเรานี้ว่า

    ขอรูปกายของเรา จงเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตายเลย
    มันก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
    ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ที่เราชอบใจ มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ

    เพราะฉะนั้น รูปมันจึงไม่เที่ยง
    เพราะฉะนั้น รูปมันจึงเป็นทุกข์
    เพราะฉะนั้น รูปมันจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    เวทนา อนัตตา
    เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
    มันก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

    เวลานี้ เรานั่งสมาธิภาวนาอยู่
    เราอยากให้จิตของเรา สงบเป็นสมาธิ ให้ทันอก ทันใจ
    มันก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ

    เรานั่ง สมาธิอยู่ เราไม่อยากจะให้ร่างกายมันปวดมันเมื่อย
    ไม่ให้ มีเวทนาทุกข์ มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ
    เราต้องการให้ร่างกายของเรามีเวทนาสุขอย่างเดียว
    มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ

    เพราะฉะนั้น เวทนามันจึงไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นเรื่องของขันธ์ 5
    มันก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น
    อันนี้เป็น แนวทาง ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เราพิจารณา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2012
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 8)

    ในการพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    อันนี้เป็น วิธีการ ปฏิบัติกรรมฐาน ในสายวิปัสนากรรมฐาน

    การปฏิบัติกรรมฐาน ในสายวิปัสนากรรมฐาน
    คือ การหัดใช้ความคิด ให้เกิด ปัญญา

    จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด

    เราฟังเทศน์ เราจดจำได้ แล้วก็ มี อ่า ความรอบรู้
    อันนั้น ปัญญาเกิด เพราะ การฟัง เรียกว่า สุตามยปัญญา

    ในเมื่อเราฟังรู้แล้ว เราน้อมเอาสิ่งที่เราฟังรู้ มาพิจารณาในใจอีกทีหนึ่ง
    เช่น อย่างฟังเรื่อง ของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วเราก็เอามาพิจารณา

    พิจารณา ว่า

    รูปก็ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
    พิจารณาไปจนกว่าจิตมันจะสงบลงเป็น สมาธิ
    หรือ
    จิต มันอาจจะพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ
    ถ้าหากว่า จิต กำหนดรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เอง โดยอัตโนมัติ
    โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ อันนั้น เรียกว่า จิต ของเราได้ วิตก วิจาร ในขั้นแห่ง พิจารณา

    ทีนี้ บางท่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อ พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว

    จิตมันจะไปพิจารณา ว่า
    รูปไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง เวทนา สัญญา วิญญาณไม่เที่ยงอะไรทำนองนั้นหรือ
    มันไม่เป็นเช่นนั้นดอก

    ในเมื่อ เราอาศัย การคิด พิจารณา ในเบื้องต้น ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    เมื่อจิตสงบลง เป็นสมาธิแล้ว มันจะหยุดพิจารณาเรื่องที่เราตั้งใจคิด
    แล้วก็ไปสงบนิ่งอยู่เฉยๆ

    ในขณะที่มันสงบนิ่งอยู่เฉยๆ มันก็จะรู้ว่า รูป ยังปรากฎอยู่
    รูป ยังปรากฎอยู่ มันก็มองเห็นว่า มีรูป

    ในเมื่อจิตรู้สึกว่า รูป มีอยู่
    เวทนาสุข ทุกข์ มันก็เกิดขึ้นที่ รูป
    สัญญาก็เกิดขึ้นที่ รูป

    จิตที่คิดอยู่ไม่หยุด ก็เพราะมี รูป คือกายเป็นเครื่องมือ
    วิญญาณ ที่รู้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ก็เพราะมีกาย

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเกิดขึ้นได้ ในขณะที่เรายังมีกายอยู่

    เมื่อเรานั่งกำหนดจิต ดู อยู่ในขณะนี้

    เรารู้ว่ามีกาย อะไรผ่านเข้ามาสัมผัสกาย เราก็รู้
    รู้แล้วว่า อะไรเป็นที่สะบายเราก็รู้
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ หายไปหมด
    ยังเหลือแต่จิต สงบนิ่ง สว่างอยู่ เหมือนกัน กับ บริกรรมภาวนาในเบื้องต้น

    แล้ว รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็หายไป
    ยังแต่ จิต สงบนิ่ง สว่าง ไสว เป็นกลางโดยเที่ยงธรรม

    สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี ทำไมมันจึงไม่มี เพราะกายหายไป
    สุข ทุกข์ คือ อ่า เป็นเวทนา

    เวทนานี้ มันเกิดจากกาย

    เมื่อกายมีอยู่ สุข ทุกข์ ก็ปรากฎอยู่
    เมื่อกายมีอยู่ สัญญา ความทรงจำก็ยังมีอยู่
    เมื่อกายมีอยู่ จิต ที่ คิดนึก ก็ยังมีอยู่
    ในเมื่อกายมีอยู่ จิต คิดนึก สัมผัสรู้อะไร วิญญาณ ก็ยังมีอยู่

    เมื่อกายดับไปแล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับไปหม๊ด

    นี่ เรื่องของเรื่องมันเป็นอย่างนี้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2012
  13. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    แวะมาส่งการบ้านครับ หกวันแล้วไม่งอแง เลี้ยงง่าย สุขภาพแข็งแรงดีครับ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ของขวัญ ปีใหม่เลย นะ ยินดีด้วย:cool:
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 9)

    แม้แต่ในทางที่คุณธรรมบังเกิดขึ้น
    เช่น
    เราภาวนา จิต สงบลงไปแล้ว
    วิตก วิจาร ปิติ สุข มันก็ปรากฎได้ ในขณะ ที่ยังมีกายอยู่

    แต่ถ้าจิต สงบละเอียดลงไป จนกระทั่ง กายหายไปแล้ว
    ยังเหลือแต่ จิต สงบ นิ่ง ว่าง สว่าง ไสว อยู่ รู้อยู่แต่ภายใน กายไม่มี

    วิตก วิจาร ปิติ สุข มันก็หายไปหมด ยังเหลือแต่ จิต สงบนิ่ง เป็น หนึ่ง
    เป็น เอกกัคตา กับ อุเบกขา

    จิต ที่เรียกว่าเป็น อุเบกขา ในขั้นนี้ หมายถึงว่า
    จิต เป็นตัวของตัวเองโดยเที่ยงธรรม
    จิต ไม่ได้พึ่งพาอาศัยอะไรเป็นอารมณ์ ไม่ได้ยึดเหนี่ยวอะไรเป็นอารมณ์
    เป็นแต่ จิต รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ตลอดเวลา

    จะว่าสุขก็ไม่ใช่ จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่
    มันเป็นกลาง หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

    ความยินดีก็ไม่มี ความยินร้ายก็ไม่มี
    สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี

    เพราะกายหายไปแล้ว
    ความยินดีก็ดี ความยินร้ายก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
    เราเกิดมี สัมผัส รู้ได้ เฉพาะ ในขณะที่เรามีกาย

    ในเมื่อกายหายไปแล้ว
    สุข ทุกข์ มันก็ไม่ปรากฎ มีแต่ความเป็นกลาง

    เพราะฉะนั้น

    จิตที่สงบ ลงเป็นอัปนาสมาธิ
    ท่านจึงว่า
    มันเหลือแต่ เอกกัคตา กับ อุเบกขา
    นี่ถ้าท่านผู้ใด ภาวนาไปถึงขั้นนี้แล้วจะรู้เอง

    เพราะฉะนั้น

    สมาธิ
    ขั้น อุปจาระ ก็ดี
    ขั้น สมถะ ก็ดี

    เป็นสิ่งจำเป็น ที่ นักภาวนา จะต้องรีบเร่งเอาให้ได้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ธันวาคม 2012
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 10)

    เมื่อเรามี สมาธิ ขั้น สมถะ อ่าขั้น อุปจาระ หรือขั้น อ่า ขั้น อัปนา

    ได้ ชื่อว่า เรามี สมาธิ ที่ดำเนินเข้าไปสู่ การทำจิตของตนเองให้เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ในตอนนี้ จิตเป็นตัวของตัวเองโดยเด็ดขาด

    อัตตาทีปะ มีตนเป็นเกราะ คือเป็นที่ยึด
    อัตตะสรณา มีตนเป็นที่พึ่ง
    อัตตาหิ อัตโนนาโถ มีตนเป็นที่พึ่งของตน

    นี่ ถึงแล้ว อัตตาหิอัตโนนาโถ
    ตนเป็นที่พึ่งของตน อยู่ที่ตรงนี้

    ในตอนแรก ๆ นี่ เราพยายาม ทำจิต ของเราให้เป็นที่พึ่งของตนให้ได้ซะก่อน
    ในเมื่อจิตมีสมาธิ จิตมีความเป็นที่พึ่งของตนได้โดยเด็ดขาด
    แม้ว่าจิตนั้นจะมีแต่ความสงบ นิ่ง นิ่ง นิ่ง นิ่ง อยู่เรื่อยๆ ก็ไม่เป็นไร
    ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจ
    ไม่ต้องไปนึกว่า
    เมื่อไรจิตมันจะเกิด วิปัสนา
    เมื่อไรจะเกิดภูมิความรู้
    เมื่อไรจะได้ฌาน
    เมื่อไรจะได้ญาณ

    เมื่อมี สมาธิ มันก็มีฌาน จิตสงบลง เป็นอุปจาระสมาธิ
    มีภาวนาอยู่ ก็มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคตา ก็ได้ฌานที่ 1 แล้ว
    เมื่อจิตหยุดภาวนา จิต นิ่ง สว่าง ไสว มี ปิติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ก็ได้ฌานที่ 2
    เมื่อปิติ หายไป มีแต่ สุข กับ เอกัคตา ก็ได้ฌานที่ 3
    เมื่อสุขหายไป เพราะกายหายไปหมดแล้ว มีแต่ เอกกัคตา กับ อุเบกขา จิตก็ได้ฌานที่ 4

    นี่ ภาวนาได้ฌานแล้ว จะไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกัน

    ปัญญา
    ในเมื่อเรามีญาณ มีฌาน

    มีสมาธิ ก็มีฌาน

    ในเมื่อมีฌาน แล้วก็ ญาณ มันก็มีขึ้นมาเอง

    เมื่อมีญาณ มันก็มีปัญญา

    เมื่อญาณแก่กล้า ก็บรรดาลให้จิต เกิดภูมิความรู้ขึ้นมา

    ภูมิความรู้ที่เกิดกับจิต ก็คือ ความคิด นั่นเอง

    ความคิดที่มัน ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา
    ผุดขึ้นมาเป็นเรื่องของธรรมะ

    บางทีมันก็จะผุดขึ้นมาว่า

    อ๊อ ..กายของเรานี่ มันเป็นอย่างนี่น๊อ ..มันมีแต่ของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก สกปรก
    มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    อันนี่ ปัญญามันบังเกิดขึ้นมาเพราะมีญาณ

    ในเมื่อ ปัญญามันบังเกิดขึ้นมาอย่างนี้
    เรามี สติ สัมปชัญญะ ตามรู้ ปัญญาที่มันเกิดขึ้นนั่น

    ไอ้เจ้าปัญญาเนี๊ยะ มันก็ไปของมันเรื่อยไป
    ไอ้ตัว สติ ก็ตามรู้ของมันเรื่อยไป
    ควบคุมกันไปอยู่ กำกับกันไปอยู่

    จิต อารมณ์ สติ ไม่พรากจากกัน

    นั่น คือ จิตได้ ภูมิ วิปัสนาขึ้นมาแล้ว

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ธันวาคม 2012
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุทั่งหลายคำที่เรากล่าวแล้วว่า "ภิกษุทั่งหลาย! เรากล่าวความสิ้นอาสวะเพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง" ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรเล่า? ภิกษุทั่งหลาย ในกรณีนี้ภิกษุเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั่งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใสใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า 'อากาศไม่มีที่สุด'ดังนี้. เเล้วเเลอยู่
    ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน(นามธรรม4). เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ฯ เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุ ด้วยการกำหนดว่า "นั้นสงบ นั้นปราณีต นั้นคือธรรมชาติที่สงบระงับแห่งสังขารทั่งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปาทิทั่งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน" ดังนี้
    เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทฐานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อานาคามีผู้ปรินิพพานในภพนนั้น(ในชั้นสุทาวาส) มีการไม่เวียนกลับจากนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าประการ เเละเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ นั้นๆนั่งเอง. ฯลฯ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 11)

    เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องอะไรที่เราจะไปกลัว ว่า จิตมันจะติด สมถะ ไม่มีทาง
    ถ้าหากว่า จิตมันจะไปติดสมถะกันจริงๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่สอน

    แต่ถ้าจิต จะติดสมถะ ติดสมาธิ ใน ขั้น ฌาน ก็ดี นี่
    ดีกว่ามันไม่ได้อะไรเลย

    ถ้ามันได้แต่ความคิด บนความตั้งใจ
    ภูมิปัญญาความรู้ ไม่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ
    ถ้าไม่คิดก็ไม่รู้ ถ้าไม่คิดก็ไม่มีความรู้

    เมื่อตั้งใจคิด จึงเกิดความรู้ อันนี้มันเป็น สติ ปัญญา ธรรมดาเด๊

    แต่ ถ้าอยู่อยู่ แล้วมันคิดของมันขึ้นมาเอง
    ปรุงขึ้นมาเอง เป็นเรื่องของธรรมะ
    ปรุงขึ้นมาแล้ว ก็มี ปิติ มีความสุข ควบคู่กันไป
    มีความสงบ ควบคู่กันไป

    ความคิด
    จิต มีความคิดอยู่ มันสงบได้อย่างไร
    มันสงบอยู่กับ หน้าที่ ที่มันกำหนด พิจารณาอารมณ์ อยู่ในปัจจุบันนั้น

    มันไม่เอาเรื่องอื่น เข้ามาแทรก มาแซง
    ธรรมมะที่เกิดขึ้นมา ผุด ผุด ผุด ผุด ขึ้นมา
    สติก็รู้ รู้ รู้ รู้ อยู่ที่จุดมันผุด ขึ้นมานั่น

    แล้วมันไม่ได้แส่ไปทางอื่น กำหนดรู้อารมณ์จิต อยู่ตลอดเวลา
    นี่คือ ความสงบจิต ในขั้น วิปัสนา

    ความคิดก็คิดอยู่ไม่หยุด สติ ก็ ตามรู้ อยู่ไม่หยุด ไม่พรั้งเผลอ นั่นคือ อะไร

    อัตโน โจทยัต ตานัง
    เรามีสมรรถภาพที่จะเตือนตนด้วยตนเอง

    การภาวนานี้ แม้ว่าเราจะไม่เห็นอะไรเป็นรูปเป็นร่างก็ตาม
    ให้มันรู้ มันเห็น ความเป็นจริงของกาย ของเรา
    ว่าปัจจุบันนี้ กายของเรามีอยู่หรือเปล่า

    เมื่อกายมีอยู่ มองเห็นเวทนาหรือเปล่า
    เมื่อกายมีอยู่ ความทรงจำ อดีตสัญญา มันเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
    เมื่อกายมีอยู่ ความคิด ความปรุงแต่ง มันมีอยู่หรือเปล่า
    เมื่อกายมีอยู่ วิญญาณรู้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันมีอยู่หรือเปล่า

    ในเมื่อมันมีอยู่แล้ว มี สติ สัมปชัญญะ รู้ทัน อยู่หรือเปล่า
    นี่ รู้กันที่ตรงนี้ เห็นกันที่ตรงนี้

    ไอ้เรื่องที่จะไปเห็นสิ่งอื่นๆ ภายนอก เห็น นางฟ้า เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์
    เห็นเมืองสวรรค์ เห็นเมืองนิพพาน อันนั่น มันเป็นมโนภาพ ต่างหากหรอก

    ต้องรู้กายของตนเอง
    รู้ใจของตนเอง

    นั่งภาวนาไปนานๆ
    มันเมื่อย มันปวด
    อ้าว ถ้า ทนต่อไป มันก็ทรมานร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบทเสี๊ยะ
    นี่เรียกว่า รู้เรื่องของกาย

    ถ้าหากว่ากายมันสะบาย
    นั่งไปแล้วมันสะบาย เพราะอาศัยพลัง ของ ปิติ แหล่ะสุข ซึ่ง เกิดขึ้นในทางจิต

    ก็นั่งต่อไป อย่าไปฝืนมัน
    ถ้าสิ่งใด จะเป็นการทรมานกายมากเกินไป
    เราก็เปลี่ยนอิริยาบท

    เพราะกายอันนี้

    ถ้าทรมานมากนัก มันก็ทรุดโทรม ทำให้เกิดเจ็บปวด
    เจ็บปวดหนักๆ เข้า ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ

    ทีนี้ ในทางจิต ถ้าปล่อยให้มันฟุ้งไปในทาง อกุศล มากเกินไป
    ไม่มีการควบคุม ไม่มีศีล มาเป็นเครื่องควบคุม ความประพฤติของตัวเอง

    อะไรเกิดขึ้นมาก็ลุอำนาจแห่งศีล จนมันเคยตัว
    ก็เรียกว่า ปล่อยจิต ปล่อยใจ ให้มันเป็นไปตามอำเภอใจไม่มีการควบคุม

    เมื่อเรารู้ความจริงของกาย ของจิต มันเป็นอย่างนั้น
    เมื่อความคิดอันใดมันเกิดขึ้น
    กุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม
    เรื่องบาปก็ตาม เรื่องบุญก็ตาม

    เมื่อเรามี สติ สัมปชัญญะ อยู่ จิตของเค้า มัน จะ ทำหน้าที่พิจารณาไปเอง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2012
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 12)

    ถ้าเผื่อว่าเรานั่ง สมมุติว่าเรานั่งอยู่ในขณะเนี๊ยะ
    มันคิดอยากจะไปทำอะไรที่ผิดศีลข้อใด ข้อหนึ่ง

    ถ้า สติ มีอยู่ มันจะได้ความสำนึกขึ้นมาว่า
    สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา

    เราเป็น ลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าแล้ว นี่น๊า
    จะไปคิดฆ่า คิดแกง คิดลัก คิดขโมย คิดด่า คิดทอ คิดนินทา
    กล่าวว่าร้ายกันอะไร มันไม่ใช่ วิสัยของผู้ปฏิบัติธรรมน๊า
    เราเป็น ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว ต้องเลียนแบบพระพุทธเจ้าน๊า

    พระพุทธเจ้า ฆ่าสัตว์ไม่เป็น เราก็ไม่ฆ่า
    พระพุทธเจ้า ไม่ทรมานสัตว์ เราก็ไม่ทรมาน
    พระพุทธเจ้า ลักขโมย ฉ้อโกงไม่เป็น เราก็เอาแบบท่าน
    พระพุทธเจ้า ไม่ประพฤติผิด กาเมสุมิฉาจาร เราก็เอาอย่างท่าน
    พระพุทธเจ้า โกหกหลอกลวงไม่เป็น เราก็เอาอย่างท่าน
    พระพุทธเจ้า ไม่ทรมานตน ไม่ทรมานคนอื่น
    ด้วยการดื่ม สุราเมรัย หรือ มัวเมาในสิ่ง ที่จะทำให้เสียผู้เสียคน
    เราก็เอาอย่างพระพุทธเจ้าซิ๊

    ถ้าหากเราไม่เอาอย่างพระพุทธเจ้า
    เราก็ไม่ใช่ ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ตอนที่ 13)

    พระพุทธเจ้า ท่าน
    เวลาท่านนั่งสมาธิเพื่อจะตรัสรู้

    พญามารปล่อยอาวุธร้ายไป หมายจะทำร้ายพระองค์
    พระองค์ก็มีแต่แผ่เมตตา แผ่เมตตาให้พญามาร

    ลูกกระสุน หรือ อาวุธ ที่พญามารปล่อยมา แทนที่จะถูกพระพุทธเจ้า
    กลายเป็นดอกไม้บูชา

    อ๊า..นี่ ในทำนองเดียวกัน เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า

    ใครด่ามาปุ๊บ เราก็แผ่เมตตาให้
    ไม่สนใจในคำด่า เค้าด่าปากเค้านั้นดอก

    คนโน้นเค้าด่าเรา เค้าสร้างบาป ให้กับเค้าเอง
    เราไม่รับเอาเสียแล้ว

    วัวมันเข้าคอกไหน มันก็กลับคืนไปสู่คอกนั้น
    คนที่ด่า ไม่มีใครรับ
    ไม่มีใครรับคำด่า
    มันก็เปรียบเหมือน การถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า แล้วมันก็ลงมารดหน้าของตัวเอง

    นี่ต้องพิจารณาอย่างนี้ นักปฏิบัติ

    เพราะฉะนั้น

    ถ้าหากว่าเรา กระทบอารมณ์ อะไร ก็ปล่อยไปซะจนสุดขีด
    ไม่มีการยับยั๊ง ไม่มี สติ สัมปชัญญะ พิจารณา
    เราก็ขาดคุณสมบัติ ความเป็นลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้า เท่านั้นเอง

    กฎ หรือ ระเบียบ ที่จะประพฤติ บำเพ็ญตน
    ให้เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ที่เราจะตั้งใจปฏิบัติโดยเจตนา คือ ศีล
    เรามาฝึกสมาธินี่ เพื่ออบรม จิตของเราให้ มีสติ สัมปชัญญะ
    มีปัญญา เพื่อให้จิตของเรานี่
    เป็นลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องควบคุม

    เมื่อจิต มี สภาวะ รู้ ตื่น เบิกบาน ก็ได้ชื่อว่า
    จิต มีคุณธรรมความเป็นพุทธะ

    โดยปกติ

    ผู้ ที่มี จิต เป็นสภาวะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว

    แม้ว่าอยู่ ในสมาธิ สภาพจิตเป็นอย่างนั้น
    เมื่อออกจากสมาธิมาแล้ว
    ความรู้สึก สำนึกผิดชอบ ชั่วดี มันจะมีอยู่ตลอดเวลา

    ตามธรรมดาของบุคคล ผู้มี ความรู้สึก สำนึก ผิดชอบ ชั่วดี
    เค้าจะต้องมี เจตนา ว่า
    เราจะละความชั่ว ประพฤติความดี
    ทำจิต ให้บริสุทธิ์สะอาด อยู่เสมอ

    ได้ ใน ภาษิต ที่พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ ว่า

    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุศะละสูปะสัมปะทา
    สจิตตะปริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานะศาสะนัง

    การไม่ทำบาปทั้งปวง
    การยังกุศลให้ถึงพร้อม
    การชำระจิต ให้บริสุทธิ์สะอาด
    นี่คือ
    คำสอนของ ผู้รู้ คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ทีนี้ แม๊

    การที่จะทำจิตให้ บริสุทธิ์สะอาดเนี๊ยะ มันยากเหลือเกิน

    อ๊าว.. ความบริสุทธิ์สะอาด ของจิตเนี๊ยะ มันมีโดยเจตนา
    ผู้ที่มี เจตนาจะรักษาศีล ให้บริสุทธิ์สะอาด

    นั่น

    คือ ทำจิต ให้บริสุทธิ์สะอาด
    เมื่ออบรมจิต ให้มันพ้น ต่อการทำจิตเช่นนั้น จนคล่องตัวแล้ว
    ต่อไป จิต มันก็จะบริสุทธิ์ สะอาดเอง


    พระภิกษุสงฆ์ สามเณร มีความซื่อสัตย์ ตรงไป ตรงมา ต่อหน้าที่
    มีความซื่อสัตย์ ตรงไป ตรงมา ต่อเพื่อนสมณะด้วยกัน

    มีการ รักษาศีล ให้ บริสุทธิ์
    กาย วาจา ให้บริสุทธิ์ สะอาด
    ทำตนให้เป็นผู้งามในเบื่องต้น

    ทำจิตให้มีเมตตา ปราณี
    ทำจิตให้มีความมั่นคง
    เป็นผู้ทำความงามในท่ามกลาง

    ทำจิต ให้มี สติ สัมปชัญญะ รอบรู้
    แหล่ะ
    มีเจตนาที่จะละเว้น อ่าความชั่ว ประพฤติความดี
    ทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาด อยู่เสมอ
    ได้ชื่อว่า เป็นผู้ ทำความงามในเบื้องปลาย

    อาทิกัลยานัง งามในเบื้องต้น
    คือ ศีลอัน บริสุทธิ์

    มัฌเชกัลยานัง งามในท่ามกลาง
    คือ สมาธิ

    ปริโยสานะกัลยานัง งามในเบื้องปลาย
    คือ ปัญญา

    เมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา งามพร้อม รวมลงเป็นหนึ่ง
    มีแต่ สติวินะโย ปรากฎเด่นชัด อยู่ที่จิต
    ต่อนั้นไป คืออะไร

    เอกายะโน มัค โค สัม มะทัก ขาโต สัต ตานัง วิสุท ธิยา
    คือ ทางดำเนิน ไปเพื่อความบริสุทธิ์สะอาด ของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยประกาละฉะนี้

    วันนี้ ขอ แสดงธรรมะ พอเป็นเครื่องประดับ สติ ปัญญา
    ของท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เห็นว่า พอสมควรแก่กาละเวลา
    จึงขอยุติ ด้วยประกาละฉะนี้


    จบไฟล์นี้เพียงเท่านี้

    นิพพาน นิพพาน นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...