ร่วมซื้อ หน้าต่าง ประตู ถวายในการบูรณะกุฎิหลวงปู่เทสก เป็นอาจาริยะบูชา

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย nakarine, 7 เมษายน 2014.

  1. nakarine

    nakarine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +412
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) กำเนิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 (ปีขาล)เมื่ออายุ 18 ปี มีโอกาสติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ และบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านเค็งใหญ่ โดยมีพระอาจารย์ลุย เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาไป ศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล และเรียนหนังสือที่วัดศรีทอง จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ได้อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดสุทัศนาราม โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมาได้ออกธุดงคไปกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสวาสนากราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ทำให้มีกำลังจิต กำลังใจในการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความเพียรอย่างยิ่ง

    เมื่อปี ๒๕๓๔ หลวงปู่เทสก มีดำริที่จะสร้างเสนาสนะ เพื่อระลึกถึงวัดที่ท่านได้อุปสมบทและจำพรรษาแรกเริ่มอยู่ถึง๕พรรษา จึงได้นิมนต์หลวงปู่พิมพ์เจ้าอาวาสวัดสุทัศนารามที่วัดถ้ำขาม และถวายปัจจัยเพื่อมาจัดสร้างเสนาสนะ โดยมีนาย สายสิทธ พรแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นเป็นประธานจัดสร้าง เป็นกุฎิหลวงปู่เทสก เทสรังษี สองชั้นห้าห้อง แล้วเสร็จเมื่อเดือน ตุลาคม ๒๕๓๔

    ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๒๓ ปีตัวกุฎิมีความทรุดโทรมตามกาล ในโอกาส ๑๑๒ปี ชาตะกาลองค์หลวงปู่ ในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๗ อาตมาภพจึงได้นำเรียนพระครูสุทัศโนบล (หลวงปู่พิมพ์)เจ้าอาวาสวัดสุทัศนาราม เจ้าคณะตำบลในเมือง ฝ่ายธรรมยุติ ขออนุญาติบูรณะอาคารกุฎิหลวงปู่เทสก เทสรังษี เพื่อใช้กุฎิสำหรับพระเณร ทั้งที่บวชเรียน และเพื่อใช้รับรองพระเถระ พระกรรมฐาน อาคันตุกะ ที่ผ่านเข้ามาตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นสถานที่อันสัปปายะ สงบร่มเย็น

    ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น ๒๓๙,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นเก้าพันบาท)
    ได้จัดตั้ง "กองทุนบูรณะกุฎิหลวงปู่เทสก เทสรังษี" โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตย์โดยคุณ เพียงลัดดาได้ ทอดผ้ป่าสามัคคีถวายเงินเริ่มต้นทั้งสิ้น ๘๙๙๐๐ บาทเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ที่ผ่านมา
    ปัจจุบันการก่อสร้างต่างๆ เริ่มดำเนินการแล้ว และจะทยอยจัดสร้างไปตามกำลัง มุ่งหวังจะให้แล้วเสร็จก่อนกาลเข้าพรรษานี้

    แบ่งเป้นลำดับตามนี้
    -ซ่อมแซม สร้างห้องน้ำใหม่จำนวน ๒ ห้อง ห้องละ ๑๕,๐๐๐บาท (จารึกชื่อ)
    -เปลี่ยนบานประตู ๕ บาน หน้าต่าง ๑๖ บาน เป็นไม้เเท้เพื่อความคงทน
    บานประตู ๕บานๆละ ๓,๕๐๐บาท หน้าต่าง๑๖บานๆละ ๑,๘๐๐บาาท(จารึกชื่อทุกบาน)
    -ปูกระเบื้องแทนปาเก้ภายใน ๒ห้อง และระเบียงภายนอกรวม ๖๐ ตรม.
    ตารางเมตรละ ๒๐๐ บาท (จารึกชื่อบริเวณชานพักบันใด)
    -เปลี่ยนโครงหลังคากันสาด ฉนวนกันความร้อน ๙,๕๐๐บาท(จารึกชื่อบริเวณชานพักบันใด)
    -ผ้าเพดาน ราวสแตนเลสและระบบไฟภายใน ห้องละ ๔,๐๐๐บาท(จารึกชื่อ)
    -ปรับปรุงภูมิทัศน ต้นไม้รอบตัวกุฎิ ๑๐,๐๐๐ บาท
    -ทาสี ภายใน ภายนอก ทั้งอาคาร
    ไม่ว่ามากน้อย ตามกำลังศัทธา ขออนุโมทนามายังทุกๆท่าน

    จึงได้บอกบุญมายังท่านผู้มีจิตศัทธาทั้งหลายได้ร่วม เป็นเจ้าภาพบูรณะปฎิสังขรอาคาร กุฎิหลวงปู่เทสก เทสรังษี วัดสุทัศนาราม เพื่อเป็นอาจารยะบูชาในโอกาส ๑๑๒ปีชาตะกาล องค์หลวงปู่

    ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
    พระครูสุทัศโนบล(หลวงปู่พิมพ์)กุฎิเจ้าอาวาส วัดสุทัศนาราม จ.อุบลราชธานี
    พระบัญชา ฐิตคุโณ กุฎิหลวงปู่เทสก เทสรังษี โทร 088-7178188
    อีเมล์ Titakhun@gmail.com
    หมายเลขบัญชี ธนาคาร ยูโอบีรัตนสิน
    และ 864-0-17707-4 ธนาคารกรุงไทย พระบัญชา

    "จะมีสักกี่ครั้งที่เราจะได้จารึกชื่อ ลงในเสนาสนะกุฎิพระสุปฎิปันโนเพื่อเป็นอาจารยะที่คงทนถาวร"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 เมษายน 2014
  2. nakarine

    nakarine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +412
    เราสร้างเพื่อให้สิ่งที่มีอยู่ สืบต่อไป มิใช่เพื่อความยิ่งใหญ่จนเกินกาล
    มิปล่อยให้เสนาสนะรกร้าง ดีกว่าสร้างใหม่ในทุกวัน

    เนื่องในวันพระ

    สาธุ ภิกษุผู้ด้อยปัญญา ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ถึงนิพพาน ขอนอบน้อมแด่พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันเป็นธรรมโลกบาล ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฎิบัตดีปฎิบัตชอบ อันเป็นเนื้อนาบุญของโลก จะขอยกพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้ามากล่าวโดยสังเขป

    "มนาปทายี ลภเต มนาปัง อัคคัสส ทาตา ลภเต ปุนัคคัง วรัสส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฎฐนัทโท เสฎฐมุปติ ฐานัง "
    ผู้ให้ของที่ชอบใจ ย่อมได้รับของที่ชอบใจ ผู้ให้ของเลิศย่อมได้รับของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้รับของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ...
    คุณธรรม๕ของผุ้นำนั้นประกอบด้วย เข้มแข็ง เมตตา ปัญญา กล้าหาญ สัจจะ
    เมตตานั้น คือสิ่งที่เราสัมพันธ์ ถึงบุคคลอื่นๆ สิ่งอื่นๆ ทั้งด้วยรูปธรรม นามธรรม เช่น เมตตาต่อต้นไม้ เมตตาต่อสัตว์เลี้ยง จนกระทั่งถึง เมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
    ดังนั้นเราจึงจะพิจจารณาความเมตตากันด้วยความสัมพัน เช่นพ่อตีบุตรก็ด้วยสัมพัน ว่าเป็นผู้สืบเชื้อสาย จึงนับเป็นการตีด้วยเมตตา
    การว่ากล่าวนั้น นับเป็นสัมพัน อย่างหนึ่ง ถึงบางครั้งจะรุ่นแรง ก็นับว่าเป็นความเมตตาอย่างเที่ยงแท้ ถ้ามีจิตใจอันปราถนาดี
    สิ่งที่จะทำมิให้ความเมตตาของเรานั้นเป้นผลร้าย หรือผิดความตั้งใจได้นั้นคือ การปฎิสัมพัน ไม่ว่าจะเป็นการ พูดคุย เดิน นั่ง ย่อมจะสามารถสอดแทรก ความเข้าใจ ให้กับ ผู้คนรอบกายได้ เมื่อมีโอกาส อธิบายในสิ่งที่ผ่านมา หรือถามความเข้าใจ จากคนอื่นบ้างนั้นนับว่าเป็นสัมพัน ก็คือเมตตาอย่างหนึ่งนั่นเอง อธิบายเมื่อเรารู้ได้ว่า หรือรู้สึกได้ว่าเขาไม่เข้าใจ นั้นนับเป็นเมตตาอย่างยิ่ง ทั้งนี้ต้องอธิบายเพื่อเข้าใจร่วมกัน มิใช่เพื่อให้คิดตามอย่างทำอย่างเราเพียงความคิดถ่ายเดียว ...
    ความเมตตานั้น คือความสัมพัน ที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ ต่อกันและกัน ผู้ที่มีเมตตาสูง จึงเป้นผู้ที่มีความสัมพันอย่างกว้างใหญ่ เช่นพ่อแม่ครูจารย์ของเรา
    เมื่อต้องการความเมตตา หรือต้องการส่งมอบความเมตตาสู่ผู้อื่น เราจึงควรทำใจให้เป็นบุญ แล้วจึงเริ่ม สัมพันกับคนต่างๆ สิ่งต่างๆ รอบกาย สิ่งที่จะได้รับตอบแทน ย่อมจะเป็นสิ่งดี ... เอวัง

    สัพ พีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมาวัฑฒันติ, อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

    เจริญพร
    ฐิตคุโณ ภิกษุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2014
  3. nakarine

    nakarine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +412
    เรื่องเล่าเช้าวันพระ : ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
    พระไพศาล วิสาโล

    แบ่งปันบน facebook Share

    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท เป็นศิษย์รุ่นหลังของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้มีโอกาสกราบหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรก เมื่อบวชได้ ๓ พรรษาเท่านั้น ประสบการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงตอกย้ำศรัทธาของท่านให้มั่นคงในการปฏิบัติเท่านั้น หากยังพบคำตอบในการเจริญกรรมฐาน จนมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
    หลวงปู่เจี๊ยะหรือ "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" ของหลวงปู่มั่นนั้น เป็นพระที่มีกิริยาอาการไม่เหมือนใคร อยู่นิ่งไม่ค่อยได้ ขยับเนื้อขยับตัวอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังชอบพูดจาโผงผาง ส่งเสียงเอะอะ ดูอาการภายนอกแล้วก็ไม่สู้เรียบร้อย มีเรื่องเล่าว่าคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไปสวดในงานแต่งงาน เมื่อถึงบ้านเจ้าภาพ แทนที่จะขึ้นบันไดตามปกติ ท่านกลับโหนตัวขึ้นทางลูกกรง พอนั่งเสร็จ ท่านก็ถามเจ้าภาพว่า "จะสวดหรือไม่สวดล่ะ เอ้า ประเคนกินกันเลย"

    เวลาไปบิณฑบาต พอถึงบ้านญาติโยมที่คุ้นเคย ท่านถือวิสาสะเดินเข้าไปในบ้านเลย แล้วพูดกับเจ้าของบ้านว่า “เฮ้ย ชงกาแฟถ้วยซิ” ระหว่างที่จิบกาแฟก็นั่งไขว่ห้างกระดิกเท้า สูบบุหรี่ วันไหนอยากฉันอะไรก็พูดว่า “เฮ้ย ตำน้ำพริกกุ้งแห้งเกลือให้กูหน่อย”

    วันหนึ่งท่านขาเจ็บ ต้องนั่งรถไปบิณฑบาต พอถึงบ้านศิษย์ที่ใกล้ชิด ท่านก็สั่งทันที "เอ้า เอาข้าวมาให้กูกิน" ว่าแล้วก็ตั้งบาตรแล้วนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ พอลูกศิษย์ทัก ท่านก็ว่า "ขากูเจ็บนี่หว่า" ลูกศิษย์จึงว่า "ท่านอาจารย์ไม่ต้องมาบิณฑบาตเลย นอนอยู่เฉย ๆ เลย จะจัดไปถวายที่วัดเอง" "ไม่ได้เดี๋ยวเขาจะด่า หาว่าขี้เกียจบิณฑบาต" ท่านตอบ ลูกศิษย์จึงพูดต่อหน้าท่านว่า "นั่นล่ะ เขาจะด่าหนักล่ะไปอย่างนั้น" ท่านฟังแล้วก็ไม่ได้เคืองศิษย์แต่อย่างใด

    ท่านจะไปไหนมาไหน ไม่มีพิธีรีตองมาก เรียกว่าไปง่ายมาง่าย พาหนะที่ท่านใช้เดินทางไปกรุงเทพ ฯ เป็นประจำ หาใช่รถยนต์ไม่ แต่เป็นรถสิบล้อ เวลาจะเดินทาง พร้อมเมื่อใดท่านก็ออกไปโบกรถทันที รถคันไหนที่ท่านหมายตาไว้ เป็นต้องจอดทุกคัน เพราะท่านไม่ได้โบกริมถนน แต่ยืนโบกกลางถนนเลย บางครั้งท่านรีบมาก คว้าจีวรคว้าย่ามได้ก็ออกจากวัดเลย แล้วค่อยห่มจีวรขณะที่ยืนโบกอยู่กลางถนน บางทีไม่ได้โบกเฉย ๆ ยกเท้าโบกด้วย ลูกศิษย์เล่าว่าคราวหนึ่งมารอรับท่านที่กรุงเทพ ฯ เห็นท่านนั่งอยู่บนหลังคารถสิบล้อ พร้อมกับตะโกนว่า "หนาวโว้ย ๆ ...หนาว" ท่านว่าข้างล่างนั้นมีคนเต็ม มีผู้หญิงมาด้วย ท่านจึงขึ้นมานั่งบนหลังคา

    ท่านเป็นพระที่ไม่ถือเนื้อถือตัว พระอาจารย์วัน อุตตโม ซึ่งเป็นวิปัสสนาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน เล่าว่า เคยได้รับนิมนต์ไปฉันในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ระหว่างที่ฉันอยู่บนปะรำพิธี ก็สังเกตเห็นหลวงปู่เจี๊ยะนั่งฉันปะปนกับพระหนุ่มเณรน้อยด้านล่าง หลวงปู่เจี๊ยะนั้นเป็นพระที่พระอาจารย์วันเคารพมาก พอฉันเสร็จจึงมาขอขมาต่อหลวงปู่เจี๊ยะว่า "ครูอาจารย์ เกล้า ฯ ขอขมาที่นั่งสูงกว่า" พระเณรทั้งหลายตกใจกันใหญ่เพราะคิดว่าหลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระหลวงตาธรรมดา ๆ

    อีกคราวหนึ่งพระอาจารย์วันไปงานฉลองพระที่จังหวัดขอนแก่น ท่านได้รับนิมนต์ให้นั่งบนแท่นใหญ่ในพิธี พอเห็นหลวงปู่เจี๊ยะนั่งข้างล่าง ท่านก็รีบกระโดดลงมาขอขมาหลวงปู่ หลวงปู่ตอบว่า "วัน...ไป ๆ ไม่เป็นไร"

    คนส่วนใหญ่มองเห็นหลวงปู่เจี๊ยะว่าเป็นพระหลวงตาธรรมดา ๆ อาจจะนึกดูหมิ่นหรือค่อนแคะอยู่ในใจด้วยก็ได้ที่เห็นอากัปกิริยาของท่านไม่เรียบร้อย แต่เขาเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าหลวงปู่เจี๊ยะเป็นที่นับถือของพระอาจารย์องค์สำคัญ ๆ สายหลวงปู่มั่น ท่านเหล่านี้มาเยี่ยมและกราบคารวะท่านสม่ำเสมอ เช่น หลวงปู่หลุย หลวงปู่ชอบ หลวงปู่สาม หลวงปู่ตื้อ หลวงตามหาบัว หลวงพ่อพุธ และพระอาจารย์สิงห์ทองเป็นต้น

    แม้ว่าท่านจะเป็นคนโผงผาง เอะอะตึงตังอยู่เสมอ แต่ท่านนอบน้อมในธรรมยิ่งนัก บางคราวขณะที่กำลังคุยกับพระเณร ส่งเสียงดัง หรือมีเสียง เฮ ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ทันทีที่มีพระเณร ผู้ใหญ่หรือเด็ก พูดเรื่องธรรมะ ท่านจะนิ่งฟัง แสดงความเคารพในธรรม จนศิษย์บางคนตั้งข้อสังเกตว่า "กิริยาในธรรมกับกิริยาในโลกของท่านต่างกันนัก"

    หลวงปู่จันทา ถาวโร เคยถามหลวงปู่เจี๊ยะว่า กิริยาอาการของหลวงปู่เป็นอย่างนี้ ท่านไม่กลัวคนตำหนิบ้างหรือ ท่านตอบว่า "อันว่ากิริยาภายนอกนั้นจะเป็นอย่างใดก็ตามเถอะ แต่ถ้าหากเรามุ่งมั่นปั้นใจจนเที่ยงดี ก็ยังดีกว่าคนที่กิริยางามแต่ใจไม่เที่ยง เพราะนิสัยวาสนาคนเรามันไม่เหมือนกัน เขาก็ยังมีคำพูดอยู่มิใช่หรือว่า แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้ เราจึงไม่ไปแข่งวาสนากับใคร เราเป็นอย่างนี้จึงพอใจอย่างนี้ เพราะนิสัยวาสนาเป็นมาอย่างนี้"

    ในยุคที่ผู้คนติดยึดอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก และตัดสินคนจากสิ่งที่เห็นด้วยตานั้น หลวงปู่เจี๊ยะได้เตือนใจให้เราตระหนักว่าสิ่งสำคัญกว่าคือคุณธรรมภายใน หากเราไม่หลงเข้าใจว่าเปลือกเป็นแก่นแล้ว ก็ย่อมเรียนรู้สิ่งดี ๆ ได้มากมายจากหลวงปู่เจี๊ยะ น่าเสียดายก็ตรงที่ท่านได้ละสังขารไปแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ คงเหลือแต่เรื่องราวมากมายที่สอนใจเราและอนุชนรุ่นหลัง
     
  4. nakarine

    nakarine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +412
    ร้าน พรหมศิลป อุบล ถวายประตู พร้อมหน้าต่าง จำนวน 5,000 บาท
     
  5. nakarine

    nakarine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +412
    กำลังดำเนินการก่อสร้าง ขออนุโมทนากับทุกท่าน ท่านสามรถมีส่วนร่วมได้ตามกำลังศัทรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...