ร่วมบุญฉลอง ๕๕๐ ปี วัดเจ็ดยอด วัดแห่งปฐมสังคายนาพระไตรปิฎกในประเทศไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 1 ธันวาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไป เรียกตาม ลักษณะ เครื่องยอดส่วนบนของหลังคาพระวิหารที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็น พระสถูปเจดีย์ มีจำนวน เจ็ดองค์เจ็ดยอด ด้วยกัน

    แต่ชื่อของวัดที่มีมาแต่เดิม เมื่อคราวแรกสร้างวัดนี้ ชื่อว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร"

    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดมหาโพธาราม เป็นวัดโบราณ ที่ พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดี องค์ที่ ๒๒ แห่งพระราชวงศ์มังราย โปรดให้ หมื่นด้ามพร้าคต หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่าง ดำเนินการก่อสร้าง ศาสนสถาน และเสนาสนะ ขึ้นเป็นอาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๙๙

    เมื่อการสถาปนาอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราช โปรดให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อ พระอุตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรก แห่งหมู่สงฆ์ในอารามแห่งนี้ ครั้งนั้น พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงสดับธรรมบรรยาย จากสำนัก พระภิกษุสีหล เรื่องอานิสงส์ ปลูกต้นโพธิ์ มีพระราชประสงค์ ใคร่จะปลูกต้นโพธิ์ จึงโปรดให้แบ่ง หน่อมหาต้นโพธิ์ต้นเดิม ที่พระภิกษุสีหลนำมาจากศรีลังกา เอามาปลูกขึ้นไว้ในอาราม ป่าแดงหลวง ที่เชิง ดอยสุเทพ เอามาปลูกไว้ในอารามที่สร้างขึ้นนี้ เพราะเหตุที่หน่อมหาโพธิ์ ปลูกในอารามนี้ จึงได้รับการ ขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร"

    [​IMG]

    ในอาณาจักรล้านนา วัดเจ็ดยอดมีความสำคัญยิ่ง ทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ พ.ศ. ๒๐๓๐ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้จัดการประชุม พระเถรา นุเถระ ทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา แล้วทรงคัดเลือก ได้ พระธรรม ทิน เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้เจนจัดในพระบาลี เป็นฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลก ราช ทรงรับเป็น ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘ นับเนื่องจากที่ได้ทำมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดีย และศรีลังกา รวมแล้ว ๗ ครั้ง
    การสังคายนาที่ได้ทำ ณ วัดมหาโพธารามนี้ นับว่าเป็นการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งแรกในประเทศไทย

    ต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด

    [​IMG]

    ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอ ที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมือง อื่นหมดสิ้น
    ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดี บรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก

    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้เอง

    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ff6600 bgColor=#ffffcc>
    จำลองการสังคายนาครั้งที่๘

    นายเชฏฐา หิมะอนุกุล ประธานกลุ่มหนุ่มสาวจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย ฆราวาส กล่าวว่า คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรศาสนา รัฐวิสาหกิจและ ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ทุกหมู่เหล่าเตรียมจัดงานสมโภช ๕๕๐ ปี วัดเจ็ดยอด โดยปีนี้จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์ พระบาททสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยงานสมโภชดังกล่าวจะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๗ ธันวาคม ๒๕๔๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น.เป็นต้นไป ที่มณฑลพิธีวัดเจ็ดยอด ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    สำหรับกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น วันพฤหัสบดีที่ ๑ เวลาเวลา ๐๗.๐๐น. จัดขบวนแห่ผ้า ไตรพระราชทาน พระไตรปิฎกฉบับล้านนา , หน่อพระศรีมหาโพธิ์ พระเจ้า ๗๐๐ ปี , พระเจ้าแก่นจันทน์ และ ธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก ณ จุดตั้งขบวนวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

    วันศุกร์ ที่ ๒ ธันวาคม เวลา ๐๙.๐๐ น. ประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ และ บวงสรวงดวงพระวิญญาณ บุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า องค์สถาปนาวัดเจ็ดยอด โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์

    วันเสาร์ ที่ ๓ ธันวาคม เวลา ๐๙.๐๐ น. ประกอบพิธีมหามงคลสืบชาตาหลวง ประจำปีนักษัตร ๑๒ ราศี ภาคบ่ายมีการเทศน์มหาชาติ

    วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม เวลา ๐๙.๐๐ น. ฟังการเสวนา เรื่อง การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เวลา ๑๓.๓๐ น. เทศน์ ๓ ธรรมาสน์ จำลองรูปแบบการสังคายนา โดย พระปิฏกคุณาภรณ์ รองเจ้าคณะ จังหวัดลำพูน วัดพระธาตุหริภุญชัย พระมหาเกษม เขมาภินันโท เจ้าคณะตำบลฟ้าฮ่าม วัดท่าสะต๋อย อ. เมือง จ. เชียงใหม่ พระครูอดูลสีลกิจ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ เจ้าคณะตำบลหายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศาสตร์จำนวน ๕๕๐ รูป ประกอบพิธีสวดแจง
    นอกจากนี้ยังมีการจัดพิธีบรรพชาอุปสมบท หมู่จำนวน ๘๐ รูป เฉลิมพระเกียรติ พิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น มหาพุทธาภิเษก ทำบุญทักษิณานุปทาน - ก๋วนข้าวทิพย์ ฯลฯ รวมทั้งการจัดสัมมนา-นิทรรศการทาง วิชาการ การประกวดแข่งขันดนตรีพื้นเมือง ชิงทุนการศึกษาสำหรับเยาวชน การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา จัดเทศน์มหาชาต ิ และสวดแจง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/12/01/02.php
     
  2. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนาครับ...สำหรับข้อมูลที่ดีๆ..
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    ก๋วนข้าวทิพย์ ฯลฯ รวมทั้งการจัดสัมมนา-นิทรรศการทาง วิชาการ การประกวดแข่งขันดนตรีพื้นเมือง ชิงทุนการศึกษาสำหรับเยาวชน การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา จัดเทศน์มหาชาต ิ และสวดแจง

    จริง ๆ แล้วอยากไปร่วมงานดูจังเลยค่ะ ประเพณีพื้นเมืองดูแล้วอบอุ่นดีจัง
    และที่สำคัญ สวดแจง เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบเหมือนกันนะคะ
    ใครที่เป็นคนเมืองช่วยอธิบายหน่อยว่าหมายถึงอะไร
    อ่านแล้วจะงง นิดหน่อยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...