ร่วมปัจจัยถวายสีผึ้ง

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย ลัก...ยิ้ม, 4 ธันวาคม 2007.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    สาธุ ครับพี่ยิ้ม แล้วทำไมพี่ยิ้ม ไม่ลองเอา คำตอบ ต่างๆ ที่สมาชิกในเวปใน ตอบคำถามไป แล้ว อันไหนจะดีกว่า ครับ

    แล้วอานิสงส์มันเป็นยังไงหว่า ? หรือว่าหลวงพี่ บอกแล้ว แต่พี่ยิ้ม ตามไม่ทัน ครับ การที่หลวงพี่บอกนั้นตั้งใจจะถวายเพื่ออะไร ผมคิดว่า มันมีหลายอย่างน่ะ
    การเจรจาติดต่อ เน้นทางด้านเมตตา....นั้นก็ถูกอีก แต่ถ้าเป็นผม จะถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถวายเป็นบุญ เป็นกุศล เพื่อสร้างบารมี คือว่า ในสีผึ้งนี้ กว่าจะมาเป็นสึผึ้ง ต้องมีมวลสาร ต่างๆ มากมายหลายอย่าง จากหลวงพ่อ โน้น หลวงพ่อนี้ จากบุคคลโน้น บุคคลนี้ บุคคลที่เลื่อมใส ศรัทธา เพื่อให้ตนเองนั้นมีบุญ กุศล ได้เกิดในชาติหน้า จะได้กินดีอยู่ดี ไม่มีโรคาภัยไข้เจ็บ คิดสิ่งใดสมปราถนา เค้าจะอฐิษฐานอย่างนั้ส่วนใหญ่ อย่างนี้เราเรียกว่า เราสร้างบารมี บุญ กุศล ร่วมกัน น้อมจิตน้อมใจ มาสร้างร่วม ถวายเงินทอง ของอันมีค่า ถวายสิ่งๆ เล้กๆ น้อยๆ หรือว่าจะมาช่วยทำอย่างโน้น อย่างนี้เพื่อให้มันเกิดประโยชน์ มาสร้างความดีร่วมกัน อย่างนี้ท่านก็ไม่ได้สร้างบารมีคนเดียวแต่สร้างร่วมกัน สร้างเป็นหมู่คณะ เป็นกุล่ม นี้แหละ ได้บุญ ทั่วถึงกัน

    สาธุ หลวงพี่
     
  2. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    เพ่ว่าหลวงพี่ท่านรู้นะ...แต่ที่ถามอาจจะเพื่อต้องการให้เราตอบออกมาเพื่อเป็นสาธารณะแก่ผู้อื่น ๆ ได้รับรู้ (เพราะเนื่องจากพี่เป็นคนไม่ค่อยพูด ...และบางทีพูดก็ไม่ค่อยน่าจะเข้าใจในความคิดของคนอื่น ๆ ) เพ่เหมือนเด็กนักเรียนกะครูค่ะ เวลาครูถามมักตกใจ อึกอัก ๆ นึกไม่ออก แล้วมาเป็นคำถามมากมายภายหลัง หุหุ

    การที่พวกเราตั้งใจหุงสีผึ้งถวายพระอาจารย์ที่พวกเราหมายมั้นและเคารพบูชากันว่าท่านเป็นพระดี เป็นสาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยจิตใจอันมิพึงกระทำการเพื่อนำปัจจัยเข้าสู่กระเป๋าเพื่อบำรุงตนนั้น ย่อมถือเป็นการบำรุงพระศาสนาแล้ว เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาในที่สุด

    ขนาดเพื่อนด้วยกันถามว่าตอนนำสีผึ้งเข้าพิธีอธิฐานว่าอะไร...ยังตอบไปว่าไม่ได้ทำ ตอนหลังมานึก ๆ ว่า เอ...ท่าจำไม่ผิด ยิ้มว่าอธิฐานว่า ขอพระท่านโปรดสงเคราะห์ ขอให้ทุก ๆ ท่านปรารถนาสิ่งใด ขอให้ท่านเมตตาสมหวังทุกประการ จ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2008
  3. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ช่วงนี้คอมฯ ไม่รู้เป็นอะไร ก๊อบอะไรก็ไม่มา จะก๊อบคำตอบของผู้ที่ตอบไว้มารวมกันเพื่อง่ายต่อการพิจารณามอบรางวัลก็ทำไม่ได้ ผู้ใดสะดวกช่วยสงเคราะห์หน่อยค่ะ
     
  4. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    เรียนผู้ร่วมบุญทุก ๆ ท่านทราบว่า....


    เมื่อวานนี้ ท่านลูกเจ้าคุณนรฯ / น้องซัน ของเรา ได้โอนปัจจัยบุญที่ทุกท่านได้สละกำลังทรัพย์ร่วมบุญในการนี้มาเข้าบัญชีให้ยิ้มแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งหมด
    -7,583.00 บาท ค่ะ

    กราบโมทนาบุญทุก ๆ ท่าน ขออาราธนาบารมีพระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ โปรดสงเคราะห์ให้ทุก ๆ ท่านคิดประสงค์สิ่งใด โปรดสมประสงค์ด้วยทุก ๆ ประการ
     
  5. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ขออภัยค่ะ แจ้งยอดขาดไปหน่อย...เนื่องจากว่ามีบางท่านได้ร่วมบุญเป็นเงินสดเป็นจำนวนเงิน 380 บาท ดังนั้นยอดเงินทั้งหมดจึงเป็น -7,963.00 บ.

    มีเรื่องมาแอบเม้าส์ให้ฟังว่า....มีสหายธรรมท่านหนึ่ง แกได้ยินหลวงพี่เล็กท่านเล่าถึงอานิสงฆ์การถวายสีผึ้งแล้ว แกคงมั่นใจมากว่าแกคงจะเวียนว่ายอีกหลาย ๆ ชาติ(ไม่เหนื่อย บ้างรึไง) แกได้สมทบบุญมาด้วยล๋วยค่ะ ฮี่ ๆๆ....เขาแอบเล่าให้ฟังนะ ตัวเองคงไม่เห็น ร๊ากนะจึงเย้าเล่น จุ๊บ ๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2008
  6. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ครับ จะลองดูครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2008
  7. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ของ พี่ newcomer

    <TABLE style="WIDTH: 707pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=943 border=0 x:str><TBODY><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; WIDTH: 707pt; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" width=943 height=29>อานิสงค์การทำทาน จาก กะทิ สำนักพิมพ์ : GATI Publishing</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓๘ อานิสงส์ถวายสัพพทาน</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>..."ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑. ให้ของที่สะอาด</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๒. ให้ของประณีต</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓. ให้ถูกกาล</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๔. ให้ของที่สมควร</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๕. เลือกให้</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๖. ให้เสมอๆ</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา" ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ๆ นครสาวัตถี</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>พระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ เอาประธูปประทีปคันธรสของหอม แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่งจึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD class=xl22 style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; WIDTH: 707pt; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" width=943 height=29>ภนฺเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลายๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังฤาพระเจ้าข้า

    อันว่าองค์สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า

    ดูกร มหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธามาก่อสร้างสัพพาทานหลายๆ ชนิดเป็นต้นว่า</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑. สร้างพระพุทธรูป ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๒. สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของ</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>พระพุทธเจ้า ก็จักได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓. ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป์ ">๓. ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔. ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป์ ">๔. ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๕. ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป์ ">๕. ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๖. ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป์ ">๖. ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๗. ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง ">๗. ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๘. ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทราย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป์ ">๘. ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทราย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๙. ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๐. ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์ ">๑๐. ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๑. ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป์ ">๑๑. ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๒. ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป์ ">๑๒. ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๓. ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป์ ">๑๓. ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๔. ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป์ ">๑๔. ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑๕. บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑๖. ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑๗. ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๑๘. สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๑๙. ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป์ ">๑๙. ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๒๐. ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๑. ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป์ ">๒๑. ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๒. ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๒๒. ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๓. ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอาราม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๒๓. ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอาราม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๔. ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป์ ">๒๔. ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๕. ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป์ ">๒๕. ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๖. ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป์ ">๒๖. ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๗. ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป์ ">๒๗. ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๒๘. ผู้ใดถวายผ้าป่า ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๒๙. ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๒๙. ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๐. ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป์ ">๓๐. ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๑. ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๓๑. ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๒. ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๓๒. ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓๓. ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓๔. ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๕. ผู้ใดสร้างต้นกัลป์พฤกษ์ให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๓๕. ผู้ใดสร้างต้นกัลป์พฤกษ์ให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓๖. ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๗. ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะ ก็จักได้อานิสงส์ ๔ กัลป์ ">๓๗. ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะ ก็จักได้อานิสงส์ ๔ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๓๘. ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๓๘. ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๓๙. ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๔๐. ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๑. ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป์ ">๔๑. ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๔๒. ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป์</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๓. ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์ ">๔๓. ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>๔๔. ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดงก็จัก ได้บริวารหมื่นหนึ่ง</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๕. ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ก็จักได้บริวาร ๓ หมื่น ">๔๕. ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ก็จักได้บริวาร ๓ หมื่น </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๖. ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดา ก็จักได้บริวารหนึ่งแสน ">๔๖. ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดา ก็จักได้บริวารหนึ่งแสน </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๗. ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็จักได้บริวารโกฏิหนึ่ง ">๔๗. ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็จักได้บริวารโกฏิหนึ่ง </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="๔๘. ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ ">๔๘. ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้ บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจ สละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29 x:str="อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตา ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์ ">อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตา ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์ </TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับจนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน"</TD></TR><TR style="HEIGHT: 21.75pt" height=29><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #d4d0c8; BORDER-BOTTOM-COLOR: #d4d0c8; BORDER-TOP-COLOR: #d4d0c8; HEIGHT: 21.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #d4d0c8" height=29>พอจบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์สาม ส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ของพี่ sridoi

    ลองตอบบ้างนะครับ

    1. ทำให้มีวรรณะผุดผ่อง
    2. มีรูปงาม
    3. มีริมฝีปากสวย
    4. มีโรคน้อย
    5. มีวาจาอันเป็นที่รัก
    6. มีเสียงไพเราะ
    7. มีความสุขทั้งในชาตินี้ ชาติหน้าและสุขสูงสุด
     
  9. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ของผมเองครับ newhatyai อันนี้ครั้งแรกครับ

    อานิสงส์ถวายสัพพทาน
    ...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ ๑. ให้ของที่สะอาด
    ๒. ให้ของประณีต ๓. ให้ถูกกาล ๔. ให้ของที่สมควร ๕. เลือกให้ ๖. ให้เสมอ ๆ
    ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
    ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย
    อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี
    ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม
    แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่
    ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด
    เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

    ... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา
    มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
    สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
    ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
    ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
    ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
    ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
    ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
    ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
    ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์
    ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป
    ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
    ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
    ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
    ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
    ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์
    ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า
    อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้า
    ถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่
    สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตร
    ปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้น
    ดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้
    ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่ง
    ครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอ
    จบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์
    สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์

    อานิสงส์ถวายหมากเบ็งบูชา
    ......องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในวิหาร เมืองสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐
    รูปเป็นบริวาร ครั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงตบแต่งดอกไม้ ของหอมพร้อมกันยังขันหมากเบ็งมี
    ข้าวพันก้อนด้วยความประณีตบรรจงเสด็จไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อม
    ข้าราชบริพารทั้งหลาย เมื่อถวายเสร็จแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้กราบทูลถามถึงผลอานิสงส์ของ
    การสร้างหมากเบ็งบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร
    พระพุทธ องค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารบุคคลใดมีใจศรัทธา
    ใคร่จะทำหมากเบ็งกับข้าวพันก้อนถวายบูชา พระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์
    ผู้นั้นเมื่อทำลายขันธ์ไปแล้วก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขสิ้นกาลช้านาน
    ดังกับหญิงผู้หนึ่ง ซึ่งได้ถวายหมากเบ็งบูชา พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ครั้นทำกาลกิริยาตายไปก็บังเกิดในดาวดึงส์เทวสถาน มีวิมานทองสูงสิบสองโยชน์
    มีนางฟ้าพันหนึ่งเป็นบริวารได้เสวย ทิพย์สมบัติ มากมายดังนี้แล ดูกรมหาบพิตร
    อันบุคคลได้ให้หมากเบ็งบูชาพระรัตนตรัยมีผลมากนักเป็นสำดับชั้นตามขั้นหมากเบ็ง คือว่าเมื่อตนได้
    ตายไปจากมนุษย์โลกนี้แล้วก็ไปอุบัติในบนสวรรค์ชั้นจตุมหาราช เมื่อจุติจากชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ได้
    ไปอุบัติขึ้นในชั้นดาวดึงส์ จนถึงชั้นกามาพจรเป็นที่สุดตามบุญกุศลที่ตนได้กระทำไว้ได้ เสวยสมบัติ
    ทิพย์มีวิมานอันงามวิจิตร และมีนางเทพกัญญาอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร นานได้ ๙ ล้านปี ในเมือง
    มนุษย์จะมีร่างกายผ่องใส ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมความปรารถนาทุกประการ ครั้นจบพระธรรม
    เทศนาแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายก็มีจิตยินดีปลาบปลื้มบันเทิงใจ ดัง
    นี้เป็นต้น

    อานิสงส์ถวายเครื่องเถราภิเษก

    ...ในกาลครั้งนั้นองค์สมเด็จพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร พร้อมภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป
    ในกาลครั้งนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้นำเครื่องสักการะทั้งหลาย
    เข้าไปสู่พระเชตะวันมหาวิหารถวายอภิวาท แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่งแล้วทูลถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอันบุคคลใดกระทำสักการะบูชาสรงเถราภิเษก
    แก่สงฆ์ ด้วยใจเลื่อมใสศรัทธาจะได้ผลอานิสงส์เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    จึงตรัสว่า ดูกรมหาราช บุคคลใด มีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการในเมื่อปรารถนาอันใด
    ก็จะสมความมุ่งมาตรปรารถนา ทุกประการ การทำเถราภิเษกนี้ได้ทำกันสืบ ๆ มาในครั้งพุทธเจ้าก่อน ๆ
    ... แล้วพระองค์ทรงแสดงสืบต่อไปว่า ในกาลครั้งนั้นเป็นสมัยครั้งศาสนาของพุทธเจ้าเมธังกร ยังมี
    พระยาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าวิชัยยะ ได้เสวยสมบัติในเมืองสารนครประกอบไปด้วยทศพิธราช
    ธรรม ๑๐ ประการ มีเถระองค์หนึ่งชื่อว่าอุสสาเป็นอันเตวาสิกแห่งพุทธเจ้าเมธังกร
    พระยาวิชัยยะได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาเถระเข้ามาในเมือง พระยาวิชัยยะก็มีใจศรัทธาเลื่อมใสใน
    อิริยาบถ ของพระมหาเถระเจ้าเสร็จไปต้อนรับนิมนต์ให้ไปสู่ปราสาทของพระองค์ แล้วก็จัดแจงสรง
    เถราภิเษกด้วยน้ำหอม เสร็จแล้วถวายภัตตาหารตั้งความปรารถนาว่า ปวงชนทั้งหลายที่อยู่ในขอบเขต
    ขัณฑเสมา ขอจงตั้งอยู่ในโอวาทคำสอนของพระองค์ทุกเมื่อ และขอให้ข้าพระองค์ได้พ้นจากทุกข์ภัย
    เวร ข้าศึกศัตรูทั้งหลายด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ในอนาคตกาลโน้นเทอญ พระมหาเถระเจ้าก็
    ได้อนุโมทนาแห่งพระยาวิชัยยะ แล้วถวายพระพรทิพย์ ๑๐ ประการ ลากลับไปสู่สำนักแห่งพระมหา
    เถระเจ้า พระยาวิชัยยะได้รับพร แห่งพระมหาเถระแล้วมีจิตยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ต่อบุญกุศลของพระ
    องค์ที่ทรงกระทำไว้ ครั้นจุติจากโลกแล้วก็ไปอุบัติ อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตพิภพ มีวิมานทองสูง
    ๒๒ โยชน์มีนางเทพอัปสรแสนหนึ่งเป็นบริวาร ครั้นสิ้นชีพเทวบุตรแล้ว ได้ไปเกิดเป็นเจ้าพระสิริตะ
    เสริมสร้างบารมีให้แก่กล้าขึ้นไป ได้มาเกิดเป็นองค์พระตถาคตเดี๋ยวนี้แล


    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ของผม ครั้ง ที่ 2 ครับ newhatyai

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าสีผึ้งคืออะไร
    สีผึ้ง คือการทำขี้ผึ้งมาสีกับไส้ฝ้าย

    ความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
    ตั้งแต่สมัยบรรพกาล ชาวพุทธศาสนิกชนล้วนเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา คอยปฏิบัติกิจ อันเกี่ยวกับศาสนาอยู่เป็นนิจ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองในทางพุทธศาสนา มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามปฏิบัติกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 200 ปี
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD>ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ประเพณีที่ก่อเกิดมาจากการเกษตรกรรม ประเพณีตามความ เชื่อและประเพณีตามพุทธศาสนา ที่มีอยู่ตลอดทุกเดือน จนเกิดคำว่า ฮีต 12 ซึ่งหมายถึงประเพณีประจำ 12 เดือน เป็นกิจกรรมประจำของชาวอุบลราชธานีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยตลอด และเมือถึงฤดูฝน ฤดู กาลแห่งการทำนา พืชพันธ์ธัญญาหารที่เขียวชอุ่ม สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างเปรมปรี ที่ได้รับน้ำฝนอัน สะอาดบริสุทธิ์เย็นชุ่มฉ่ำ ทำให้พระสงฆ์สาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องหยุดจาริกแสวงบุญ เพื่อ โปรดสัตว์ และป้องกันมิให้เกิดความเสียหาแก่ข้าวกล้า และชีวิตของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ดังนั้น นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวม 3 เดือนเต็ม จึงเป็นช่วงที่มีพุทธบัญญัติ ให้พระสงฆ์ทำพิธีปวารณาเข้าอยู่จำนำพรรษา ณ อาวาสแห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดไตรมาส


    พุทธศาสนิกชนชาวอุบลผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต่างพากันหาดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าอาบ น้ำฝน น้ำมันก๊าด ตลอดจนเครื่องไทยทาน นำไปถวายพระภิกษุสามเณร ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดใกล้เคียง และ สิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆก็คือ เทียน สำหรับพระภิกษุสามเณร ได้จุดบูชาพระพุทธรูป และส่องสว่างเพื่อการ บำเพ็ญเพียร การค้นคว้า ศึกษาหาความรู้




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากเทียนเล็กๆ คนละเล่ม เป็นเทียนที่ชาวบ้านต่างควั่น (สีผึ้ง คือ การทำขี้ผึ้งมาสีกับไส้ฝ้าย) กันเอง จากขี้ผึ้ง เป็นเล่มเทียน วัดความยาวเท่ารอบศรีษะตัวเอง แล้วนำไปถวายพระ จนมาถึงงานประเพณีที่ ยิ่งใหญ่ระดับชาติ ในวันนี้

    เทียนได้มาจากน้ำผึ้ง ประกอบกับอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในแหล่งหรือพื้นที่เป็นป่าไม้ มีผึ้งมาอาศัยทำรวงรังอยู่มากมาย จนได้เรียกว่า "ดงอู่ผึ้ง" ผึ้งเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องในเรื่องพุทธศานา ดังนิทานในชาดกที่เราท่านทั้งหลายได้ยินได้ฟังมา คือ เมื่อครั้งพุทธกาลตามหนังสือ พระธัมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1 ในเรื่องลำดับที่ 5 คือ เรื่องพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ซึ่งมีความตอนหนึ่ง กล่าวถึงวานรถวายรวงน้ำผึ้ง ขณะนั้นมีช้างชื่อ ปาริเลยยกะ อุปัฏฐากพระศานา มีวานรตนหนึ่งเห็นการกระทำนั้น ถือนำน้ำใส่เต้าถวายพระศาสดา จึงคิดอยากจะทำอะไรสักอย่างถวายพระตถาคตเจ้าบ้าง วานรตัวนั้นจึงเที่ยวไป วันหนึ่งวานรเห็นรวงผึ้งที่กิ่งไม้ แต่หาตัวผึ้งไม่มี จึงหักเอากิ่งไม้ที่มีรวงผึ้งนั้น แล้วนำรวงผึ้งทั้งกิ่งไม้ไปสู่สำนักพระศาสดา

    พระศาสดาทรงรับไว้ วานรเฝ้าดูอยู่ เพื่อจะได้ทราบว่า พระศาสดาจะบริโภคหรือไม่พระศาสดาทรงนิ่งเฉยอยู่ วานรเกิดความสงสัย จึงนำกิ่งไม้พิจารณาดูเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงค่อยๆ นำตัวอ่อนนั้นออกเสีย แล้วถวายใหม่ พระศาสดาทรงบริโภค วานรนั้นมีใจยินดี กระโดดโลดเต้นไปตามประสา ไปตามกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาที่ปลายตอไม้ ทำให้วานรถึงแก่ความตาย แต่อานิสงส์ที่ทำไว้ ถือเป็นผู้หารวงผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าผู้ทรงศีล จึงได้เกิดในวิมานทอง สูง 30 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร
    จากเรื่องที่ปรากฎในสมัยพุทธกาลที่กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น มนุษย์เพียงแต่รู้จักบริโภคน้ำผึ้ง แต่ยังคงไม่รู้จักนำขี้ผึ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นำมาทำเป็นเทียนขี้ผึ้ง
    แต่อย่างไรก็ตาม การให้แสงสว่างเป็นทานนับว่ามีประโยชน์ ทั้งให้แสงสว่างที่เป็นแสงสว่างจริงๆ และการให้แสงสว่างทางด้านปัญญา ทั้งยังมีเรื่องเล่าอีกว่า พระอนุรุทธะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาดรู้อรรถ รู้พระธรรมวินัยแตกฉาน จนเป็นที่เรื่องลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในชาติปางก่อน พระอนุรุทธะเคยได้ให้แสงสว่างเป็นทาน จึงมีปัญญาเฉลียวฉลาด
    เรื่องราวทั้งหลาย จึงได้สืบทอดมาจนยุคปัจจุบัน และข้อความที่ว่า การนำขี้ผึ้งมาทำเป็นเทียนถวายพระสงฆ์ย่อมได้บุญกุศล จึงมีผู้คนได้คิดทำเทียนประเภทต่างๆ ขึ้นเพือนำถวาย
    ชาวอุบลได้คิดค้นทำต้นเทียนและตั้งชื่อมาหลายรูปแบบตามชื่อเมืองนักปราชญ์ ดังนี้
    1. เทียนมณฑป ถือว่าทำมาตั้งแต่สมัยก่อนๆ ซึ่งเรียกว่าสมัยโบราณ ได้คิดค้นมา ความหมายคือ ทำเป็นที่วางเครื่องบริขารในการทอดกฐิน มณฑปนี้ถ้าจะเรียกชื่ออีกอย่าง ก็ดูเหมือนว่าบุษบก เพราะรูปแบบคล้ายคลึงกัน ไม่มีแตกต่างกันเลย มณฑปนี้ ทำแทนหอ คือ ที่ตั้งที่วาง เพื่อให้เครื่องบริขารและบริวารที่จะนำไปทอดถวายพระสงฆ์ อยู่เป็นที่มีขอบเขตเป็นสัดส่วน เป็นเอกเทศ ไม่กระจัดกระจาย ส่วนเทียนนั้น จะตั้งไว้บนแผ่นโลหะที่เป็นจาน เป็นถาด หรือพาน เทียนนี้จะไม่จุดไฟ ทำตั้งไว้เพื่อบูชาเป็นเครื่องบริขาร ที่ทำเป็นรูปมณฑปนั้น เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เกิดความสวยงาม รวมความหมายถึงฐานะของเจ้าของศรัทธาผู้ทำบุญกฐินด้วย แต่บางครั้งก็ใช้ในการทอดผ้าป่า ส่วนมณฑปนี้ เจ้าศรัทธาก็ได้นำถวายให้วัด จะไม่นำกลับคืนมา
    2. เทียนปราสาทผึ้ง ถือว่าเป็นเทียนโบราณอีกแบบหนึ่ง ความหมาย ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนความหมายอีกอย่าง ทำเพื่อแก้บน ซึ่งผู้ทำได้บนบานไว้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องเจ็บป่วย มีเรื่องไม่ดีไม่งาม เรื่องการไปทางไกล ฯลฯ พอสิ้นเรื่องราวแล้ว เจ้าตัวก็จะทำต้นดอกผึ้งไปเส้นสรวงถวายเทพเจ้าเพื่อเป็นการแก้บนไว้ แต่การทำเทียนแบบนี้ เขาจะใช้กาบกล้วย ซึ่งแกะแคะออกจากลำต้นมาทำ หักพับเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือเอาต้นกล้วยยังเล็กอยู่มาทำ โดยใช้ดอกพิมพ์จากแบบพิมพ์ แม่พิมพ์ก็อาศัยแบบจากตัดเอาก้านกล้วยบ้าง เผือกบ้าง มันแกว มันเทศบ้าง มาแกะเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไม้เสียบ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ต้มให้ละลาย แล้วนำมาจุ่มลงในน้ำเย็น ดอกจะหลุดลงอยู่ในน้ำเย็น เมื่อแข้งตัวแล้ว นำดอกไปกลัดติดกับลำต้นกล้วยที่นำมาเตรียมไว้ หรือกาบกล้วย ให้เกิดความสวยงาม ปัจจุบัน เจ้าศรัทธาที่ร่ำรวย ก็พัฒนาทำเป็นเค้าโครงด้วยไม้ เป็นรูปร่างเหมือนปราสาทจริงๆ ก็มี
    เทียนปราสาทผึ้ง หรือต้นดอกผึ้ง (ชาวบ้านเรียก เผิ่ง) ยังทำให้เห็นอยู่โดยตลอดปัจจุบัน โดยเฉพาะในท้องถิ่นชนบท
    3. เทียนพุ่ม ความมุ่งหมาย จัดทำเพื่อให้เกิดความสวยงาม ประกอบกับเป็นเทียนที่มีขนาดเล็กและสั้น เจ้าศรัทธาจะนำเทียนก่อนจะถวายมัดรวมไว้ ส่วนมากเป้นเทียนที่ฝั้นเสร็จตั้งในขันหรือพานไม้ที่มีอยู่ ให้ไส้เทียนอยู่เบื้องบน ดูๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่สมัยโบราณ คงยกย่องและสรรเสริญในแนวความคิดที่จัดทำแบบแปลกๆ ความมุ่งหมายที่แท้จริง ก็เพื่อถวายพระสงฆ์เท่านั้น ถือว่าได้กุศล
    4. เทียนมัดรวม ความมุ่งหมายที่แท้จริง ก็หมายถึง เอาไปถวายพระสงฆ์ในสำนักสงฆ์ หรือวัด เทียนมัดรวม ก็เหมือนเทียนพุ่ม แต่ในกาลต่อมา ได้มีการประดิดประดอย ตกแต่งต้นเทียนสั้น ยาว ปานกลาง ตั้งขึ้น นำเชือกปอ ตัดกระดาษสีมารัดเป็นเปลาะๆ ให้แปลกตาเกิดความสวยงาม ถึงกับระยะเวลาต่อมา ได้มีการท้าทายของชาวคุ้มวัดต่างๆ เพื่อประกวดประชันว่า ของใครจะทำดี ทำสวย ทำแปลก มีการแห่แหนด้วยหมอลำ หมอขับ หมอร้อง มีเครื่องดนตรี ดีดสีตีเป่า ตามแต่จะหาได้
    เทียนทั้งสี่ชนิด สี่ประเภท ล้วนเป็นเรื่องราวที่มาของคำบอกเล่าว่า เป้นเทียนโบราณ อนุชนรุ่นหลังรุ่นปัจจุบัน ไม่รู้ ไม่เห็น จึงได้มีการสืบเสาะแสวงหา ดังปรากฏขณะนี้

    แล้วคำว่า ถวาย แปลว่าอะไร คำว่าถวาย แปลตรงๆก็คือ ให้นั่นเอง

    แล้วพระสงฆ์ล่ะแปลว่าอะไร
    พระสงฆ์ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตาม พระธรรมวินัย ที่พระบรมศาสดา สั่งสอนและกำหนดไว้
    พระสงฆ์ จัดเป็นรัตนะหนึ่งในจำนวนรัตนสามหรือพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้แก่ ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า หลังจากได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใส ต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ปฏิบัติตามธรรมและวินัยที่กำหนดไว้เฉพาะสำหรับภิกษุ จำนวน 227 ข้อ บางครั้งเรียกว่า เรียกว่า สงฆ์ ""พระสงฆ์"" รูปแรกของโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

    ฉะนั้นในความหานของผมก็คือ การถวายเทียน

    อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน
    ......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลากร
    มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ
    ๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
    บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิด
    จิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้น
    บูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย
    การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก
    ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง
    พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำดอกไม้เหล่านั้นได้
    เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่า
    ไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระ
    ตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย
    ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้
    นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์
    พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาต
    ให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนา
    พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์
    ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่
    พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วย
    ภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึง
    สาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด
    มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง
    ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง
     
  11. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    แถมอีกล่ะกันในเมื่อมีเทียน มีสีผึ้ง ก็ต้องมีคาถาบูชาใหมครับ ฉะนั้นนั้แหละอีกอันนึง คืออานิสงส์ของการสวดมนต์

    สวดมนต์ ด้วย พระคาถา ต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
    อานิสงส์ - เพื่อให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็น สมาธิ ได้เร็ว

    แล้วยังมีอีกครับพี่ๆทุกท่าน เมื่อเขาให้มาก็ต้องมีข้อแม้ด้วยใช่ไหมครับ คือให้เราทำความดี รักษาศีล นี่แหละอีกข้อนึง ก็คือ อานิสงส์ของการรักษาศีล


    ......พ่อค้าสำเภา ได้ไปค้าขายหัวเมืองต่าง ๆ ในท้องมหาสมุทรอยู่มาวันหนึ่งเกิด
    มรสุมพายุพัดอันแรงกล้า จนพวกพ่อค้าสำเภาหมดปัญญาแก้ไขได้คิดทอดอาลัยตามแต่บุญกรรม หัว
    หน้าพ่อค้าสำเภาเรียกมาพร้อมกัน ๕๐๐ คน ให้สมาทานศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปในชาติหน้ากันเถิด
    เมื่อสมาทานศีลจบแล้ว เรือสำเภาก็แตก จมลงในมหาสมุทรนั้น พ่อค้า ๕๐๐ คน ถึงแก่ความตายพร้อม
    กันหมดด้วยอำนาจรักษาศีลด้วยความตั้งใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองเป็นที่อยู่
    ตลอดทั้ง ๕๐๐ คน

    "ให้ทาน ก็ได้บุญ รักษาศีล ก็ได้บุญ เจริญภาวนา ก็ได้บุญ แต่

    ให้ทาน 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า รักษาศีล 5 เพียงครั้งเดียว

    รักษาศีล 5 ร้อยครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า ทำสมาธิภาวนาเพียงครั้งเดียว

    ทำสมาธิภาวนา (สมถภาวนา) ร้อยครั้ง ยังไม่เท่าภาวนาแล้วได้วิปัสนาญาณเพียงครั้งเดียว

    ได้วิปัญณาญาณ 100 ครั้ง ยังไม่เท่าเป็น พระโสดาบัน"



    "ให้ทานกับสัตว์ 4 เท้า 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่ากับ ให้ทานกับสัตว์ 2 เท้าเพียงครั้งเดียว

    ให้ทานกับคนพิการ 100 ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ มนุษย์ผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงครั้งเดียว

    ให้ทานกับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระสกิทาคามี เพียงครั้งเดียว

    ให้ทานกับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระอนาคามี เพียงครั้งเดียว

    ให้ทานกับพระอนาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ พระอรหันต์ เพียงครั้งเดียว"

    เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า "การให้ทานกับผู้ที่สามารถทำประโยชน์ต่อโลกได้มากกว่า จะได้บุญมากกว่า"

    "การให้ทานกับผู้ที่มีศีลมีธรรม มีคุณธรรมมากกว่า ก็ได้บุญมากกว่า"

    ลำดับอานิสงส์ของทาน (ทานํ=การให้)
    ให้แก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้มนุษย์ 1 ครั้ง
    ให้แก่มนุษย์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สมมติสงฆ์ 1 ครั้ง
    ให้กับสมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระโสดาบัน 1 ครั้ง
    ให้กับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระสกิทาคามี 1 ครั้ง
    ให้กับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอนาคามี 1 ครั้ง
    ให้กับพระอนาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอรหันต์ 1 ครั้ง
    ให้กับพระอรหันต์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    ให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สังฆทาน 1 ครั้ง
    ให้สังฆทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้อภัยทาน 1 ครั้ง
    ให้อภัยทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้ธรรมทาน 1 ครั้ง
    ดังนั้น การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สพฺพทานํ ธมมทานํ ชินาติ”

    ทำบุญด้วยการ รักษาศีล
    ศีล คือ หลักปฏิบัติ สำหรับควบคุมกายและวาจาของคนให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เฉพาะผู้ครองเรือน มี ๕ ข้อ

    ความหมาย ของศีล ๕
    ในศีลห้า ข้อที่หนึ่ง พึงกำหนด ขึ้นต้นบท ว่า"ปาณา" ห้ามฆ่าเขา
    ข้อที่สอง "อทินนา" อย่าถือเอา ของที่เขา มิให้ อย่าใฝ่ปอง
    ข้อที่สาม "กาเม" เล่ห์สวาท ต้องเว้นขาด คู่เขา เราอย่าข้อง
    ข้อที่สี่ "มุสา" อย่าคะนอง คำพูดต้อง ตามสัตย์ อรรถธรรม
    ข้อที่ห้า "สุรา" ท่านว่าไว้ ห้ามมิให้ ดื่มเหล้า ทั้งเช้าค่ำ
    เฮโรอีน ฝิ่นยาบ้า พาระกำ ท่านแนะนำ ให้งด เพื่อหมดเวร

    วิธีรักษาศีล ๕
    จะรักษา ศีลห้า ดังว่านั้น ให้คงมั่น ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์ผล
    จำต้องมี คุณธรรม ประจำตน ตามยุบล โบราณ ท่านสอนมา
    ข้อที่หนึ่ง พึงระวัง ยั้งความโกรธ ไม่เหี้ยมโหด ใฝ่จิต ริษยา
    รู้โอบอ้อม อารี มีเมตตา กรุณา เป็นธรรม ประจำใจ
    สองเลี้ยงชีพ โดยสัมมา อาชีวะ รู้สละ รู้ประหยัด อัชฌาสัย
    ข้อที่สาม คู่ครอง ของใครใคร ไม่สนใจ ยินดีอยู่ แต่คู่ตน
    ข้อที่สี่ มีสัตย์ ประหยัดปาก ไม่พูดมาก กลอกกลับ ให้สับสน
    ข้อที่ห้า สติตั้ง ระวังตน อยากก็ทน หักห้าม ไม่ตามใจ
    ท่านผู้ใด ใจบุญ รู้คุณค่า ของศีลห้า เบญจธรรม ดั่งคำไข
    ประพฤติมั่น อยู่เสมอ ไม่เผลอใจ จะต้องได้ ผลดี มีแก่ตน

    ความเสียหายที่จะได้รับจากการไม่รักษาศีล ๕
    อันบาปกรรม ทั้งห้า ถ้าไม่ละ บาปนั้นจะ ส่งวิบาก ให้ยากเข็ญ
    ตามประเภท เหตุที่ทำ เป็นกรรมเวร คิดให้เห็น เว้นให้ไกล อย่าได้ทำ
    การเบียดเบียน ชีวิต ปลิดชีพเขา ทำให้เรา อายุน้อย ถอยลงต่ำ
    ปราศจาก อนามัย ไข้ประจำ ผู้ใดทำ กรรมนี้ ชีพไม่ยืน
    ปล้นสะดม โกงกิน ทรัพย์สินเขา จะร้อนเร่า จิตใจ ไม่แช่มชื่น
    บางคราวรวย ก็อย่าหวัง ว่ายั่งยืน ต้องเป็นอื่น และจนลง อย่าสงกา
    การสมสู่ คู่ครอง ของผู้อื่น ก็จะชื่น ชั่วประเดี๋ยว จริงเจียวหนา
    ผลของกรรม ทำให้มี ไพรีมา เบียฬบีฑา ปองชีวิต คิดผูกเวร
    การพูดหลอก ลวงใคร ให้หลงผิด โทษจะติด ตามตน ให้คนเห็น
    จะถูกตู่ ใส่ความ ตามประเด็น เท็จจริงเป็น อย่างไร เขาไม่ฟัง
    การดื่มเหล้า เมายา ว่าให้คิด ถ้าเสพติด โทษร้าย เมื่อภายหลัง
    ต้องเสื่อมทรัพย์ อับโชค โรคประดัง ทอนกำลัง ปัญญา พาให้ทราม

    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาศีล ๕
    อานิสงส์ ข้อที่หนึ่ง นั้นพึงรู้ ชีพจะอยู่ วัฒนา อย่าฉงน
    อนามัย สมบูรณ์ จำรูญชนม์ ถึงร้อยฝน เทียวนะ จึงจะตาย
    ข้อที่สอง สมบัติ พัสถาน จะโอฬาร ล้นหลาก มีมากหลาย
    ยามใช้สอย ไม่ขาดแคลน แสนสบาย ใช้จนตาย ไม่จน เพราะผลบุญ
    ข้อที่สาม จะไม่มี ไพรีร้าย มาปองหมาย ชีวิต คิดเฉียวฉุน
    จะได้คู่ เป็นศรี มีแต่คุณ ไม่หันหุน กลับกลอก คิดนอกใจ
    ข้อที่สี่ พูดอะไร ใครก็เชื่อ คนไม่เบื่อ ระอา เมื่อปราศรัย
    จะเชิญชวน ชายหญิง ทำสิ่งใด เขาเต็มใจ พร้อมพรัก สมัครทำ
    ข้อที่ห้า อานิสงส์ จงประจักษ์ จะมีหลัก จรรยา ท่าคมขำ
    มีสติ มั่นคง ความทรงจำ ปัญญาล้ำ เลิศสัตว์ ในปฐพี
    หากเห็นจริง หญิงชาย ทั้งหลายเอ๋ย อย่าละเลย พยายาม ตามวิถี
    ประพฤติเถิด เกิดผล กุศลมี เป็นความดี ติดตามอาตม์ ทุกชาติไป

    และเมื่อมาจนจบ พี่ๆ ก็จะมีอานิสงส์อีกอย่างนึง คือ ได้ฟังธรรม อ่านธรรม
    แต่ผมไม่ขอก๊อปต่อล่ะ เหอๆๆ สาธุ...

    ขอจบแต่การเพียงเท่านี้ เอวัง มีประการฉะนี้แล ฯ
     
  12. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    หมด ผู้ที่ร่วมตอบคำถามแล้วครับ ซึ่งมี ผู้ที่ตอบคำถามดังนี้

    1.newcomer
    2.sridoi
    3.newhatyai
     
  13. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ขอบใจนะค่ะ รอผู้ใจดีก่อนนะ แล้วจะมาประกาศผู้โชคดี เอ..รึว่าจะโชคดีหมดทุกคนหว่า หุหุ
     
  14. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ขอแจ้งยอดสีผึ้งที่หยอดตลับแล้วจำนวน 4,440 ตลับจ้า คำนวณด้วยสายตาแล้วตลับยังไม่พอค่ะ เพราะยังเหลือสีผึ้งอีก ประมาณ เกือบ 3 กก. และน้ำมันมะพร้าวสำหรับพอหุงอีก 1 หม้อ

    ถ้าจะต้องดำเนินการต่อด้วยการสั่งตลับเพิ่มและซื้อน้ำมันมะพร้าวเพิ่มอีกไม่น่าเกิน 6 ขวดและอื่น ๆ อีกนิดหน่อยจ้า

    ประมาณน่าจะแล้วเสร็จสิ้นไม่เกินเดือน มีนาคม...แล้วแต่ความอึดและอืดด้วยค่ะ
     
  15. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ยิ้มตัดสินใจสั่งตลับพลาสติกเพิ่มไปอีก 2,000 ตลับค่ะ หุหุ..เรียนมาให้ทราบกันด้วยนะค่ะ
     
  16. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    สีผึ้งสำเร็จแล้ว 5,200 ตลับค่ะ กำลังรอตลับชุดใหม่ที่สั่งไว้จำนวน 2,000 ตลับ เพื่อบรรจุส่วนที่เหลือ น่าจะได้อีกประมาณ 7/8 ร้อยตลับ

    กำลังคิดว่าจะหุงต่ออีกไหม ถ้าหุงต่อจะน่าจะได้ประมาณ พันกว่า ๆ ตลับ ตลับที่เหลือรอพบกันใหม่ปีหน้าไหมค่ะ เพราะยังคงมีชนวนเหลืออยู่อีก

    และแจ้งข่าวดีแก่ท่านที่ได้ร่วมตอบคำถามทั้ง 3 ท่านว่า .. ทางยิ้มและผุ้ตัดสิน(แอบแฝง) ยินดีมอบพระธาตุข้าวบิณฑ์ให้ท่านละ 1 องค์และจะมอบยันต์เกราะเพชรใป 50 ให้อีกท่านละหนึ่ง ช่วยเลือกเข้ามาด้วยค่ะ ว่าประสงค์จะรับเป็นสติกเกอร์/ผ้ายันต์/ลูกแก้ว


    1.newcomer
    2.sridoi
    3.newhatyai<!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน คุณลักยิ้ม
    ขอบคุณสำหรับรางวัลที่จะมอบให้ครับ

    ช่วยเลือกเข้ามาด้วยค่ะ ว่าประสงค์จะรับเป็นสติกเกอร์/ผ้ายันต์/ลูกแก้ว
    หมายถึงใครเลือกก่อน ได้ก่อน ?
    ถ้าใช่ ผมขอเลือก ลูกแก้ว ครับ
    ถ้าไม่ใช่ ผมขอสละสิทธิ์รางวัล ให้กับท่านsridoi กับ newhatyai ครับ

    โมทนาบุญครับ
     
  18. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    จะจัดส่งให้เป็นพระธาตุข้าวและลูกแก้วค่ะ

    และจะมอบยันต์เกราะเพชรใป 50 ให้อีกท่านละหนึ่ง ช่วยเลือกเข้ามาด้วยค่ะ ว่าประสงค์จะรับเป็นสติกเกอร์/ผ้ายันต์/ลูกแก้ว...ชุดนี้เลือกได้ค่ะ เพราะมีมากกว่าอย่างละ 3 ค่ะ เป็นวัตถุมงคลที่ยิ้มและเพื่อน ๆ ได้เคยร่วมกันนำเข้าในพีธีปี 50 ค่ะ



     
  19. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ขอบคุณครับ คุณยิ้มรอจัดส่งพร้อมกับสีผึ้ง จะได้ประหยัดค่าส่งครับ
    โมทนาบุญครับ
     
  20. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ขออภัยนะค่ะ ตกหล่นอีกแล้วค่ะ ลืมกล่าว อนุโมทนาบุญกับผู้ตัดสิน(แอบแฝง)ท่านค่ะ อุตสาห์เมตตามอบพระธาตุข้าวบิณฑ์มาเพิ่มให้

    และท่านลำดับที่ 2 และ 3 ยังมิได้ตัดสินใจเลือกนะค่ะ ช่วยมาเลือกให้ด้วยไม่งั้นจะ อิ๊บ ๆๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...