ร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ นมัสการภูเขาทองวัดสระเกศ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย phuang, 14 พฤศจิกายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ นมัสการภูเขาทองวัดสระเกศ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์บรมบรรพตภูเขาทอง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากรัฐบาลอินเดีย พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุประดิษฐานไว้บนองค์บรมบรรพตภูเขาทอง และโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นระยะเวลา 7 วัน 7 คืน
    จนกลายเป็นประเพณีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับชาวพระนครสืบต่อมาจนปัจจุบัน
    [​IMG]หากย้อนไปภายหลังเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทรงเปลี่ยนนามวัดสะแกเป็น "วัดสระเกศ" เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ต้องตามสถานที่ที่พระองค์ประกอบพิธีมูรธาภิเษก วัดสระเกศจึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และราชวงศ์จักรี
    ในปัจจุบันสระที่นำน้ำขึ้นมาทำน้ำพระพุทธมนต์ในพิธีมูรธาภิเษกได้ถูกถมไป ยังคงปรากฏอยู่แต่หอไตร เพราะถือว่าสระน้ำที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้แล้วไม่ควรที่ประชาชนทั่วไปจะใช้อีก นอกจากนั้นยังมีพระตำหนักรัชกาลที่ 1 อยู่บริเวณเดียวกับหอไตร เดิมเป็นเรือนไม้ ต่อมารัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนเป็นตึกก่ออิฐถือปูนในคราวที่บูรณะวัดสระเกศทั้งพระอาราม เพราะพระองค์เกรงว่าหากพระตำหนักยังเป็นเรือนไม้อาจจะทรุดโทรมเสียหายได้ง่าย ภายในพระตำหนักมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลวดลายกระบวนจีน อันแสดงถึงลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3
    สำหรับงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุปีนี้ ทางวัดร่วมกับรัฐบาลจะจัดอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติราชวงศ์จักรี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี เป็นการย้อนเส้นทางประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และราชวงศ์จักรี ในบริเวณซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีมูรธาภิเษกในอดีต
    นอกจากนั้นในงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุปีนี้ ทางสำนักงานเขตป้อมปราบฯ ได้จัดให้มีการแสดงแสง สี เสียง บอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดสระเกศที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีมูรธาภิเษก อันเป็นเส้นทางการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนประวัติความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุจากแดนพุทธภูมิสู่สยามประเทศ ซึ่งบรรจุอยู่บนองค์บรมบรรพตภูเขาทอง สมัยรัชกาลที่ 5
    พระเทพสิริภิมณฑ์ (ธงชัย สุขญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ในฐานะผู้ดูแลองค์บรมบรรพตภูเขาทอง กล่าวว่า งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุปีนี้ ทางวัดได้ร่วมกับรัฐบาลจัดงานย้อนเส้นทางประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และราชวงศ์จักรี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี
    "ในการนี้ทางสำนักงานเขตป้อมปราบฯ ได้จัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงบอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดสระเกศที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีมูรธาภิเษก อันเป็นเส้นทางการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนประวัติความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุจากแดนพุทธภูมิสู่สยามประเทศ ซึ่งบรรจุอยู่บนองค์บรมบรรพตภูเขาทอง สมัยรัชกาลที่ 5"
    [​IMG]พิธีห่มผ้าแดง ซึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่างานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเริ่มขึ้นแล้ว เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ชาวพระนครให้ความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าเป็นพิธีทำให้เกิดสิริมงคล อานุภาพแห่งการบูชาพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในชีวิต แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏความว่า หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 3 พรรษา เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายแก่ชาวเมืองเวสาลี ผู้คนประสบภัยพิบัตินานาประการ เกิดโจรผู้ร้ายเข่นฆ่าชาวเมืองผู้บริสุทธิ์ ไม่เว้นแม้แต่สมณพราหมณ์ผู้ทรงศีล ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
    "เมื่อพระพุทธองค์เสด็จสู่เมืองเวสาลี ความทุกข์ความเดือดร้อนวุ่นวายก็พลันหายไปสิ้น เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ประชาชนโดยทั่วไป เมื่อโรคภัยไข้เจ็บหายก็ทำให้ประชาชนมาแวดล้อมพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งที่เกิดเช่นนี้มิใช่เรื่องน่าอัศจรรย์ แต่เป็นเพราะอานุภาพแห่งบุญบารมีที่พระองค์เคยนำผ้าประดับบูชาเจดีย์ในอดีตชาติ"
    [​IMG] สำหรับพระบรมสาริริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่บนองค์บรมบรรพตภูเขาทอง สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เป็นส่วนที่ขุดค้นได้จากพระสถูปโบราณ อันเป็นที่ตั้งกรุงกบิลพัสดุ์สมัยพุทธกาล รัฐบาลอินเดียถวายแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า ในปี พ.ศ.2441 นายวิลเลียม แคลคัส ตัน เปปเป ชาวอังกฤษ ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศอินเดีย ได้ขุดค้นซากปรักหักพังของสถูปโบราณซึ่งจมอยู่ภายใต้เนินดินที่ตำบลปิปราห์วะ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองพัสติ อันเป็นที่ตั้งกรุงกบิลพัสดุ์ สมัยพุทธกาล
    เมื่อนายวิลเลียม แคลคัสตัน เปปเป ขุดรื้อพระสถูปโบราณนั้นได้พบกล่องศิลาแลงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เต็มไปด้วยข้าวของเงินทองเครื่องประดับมากมาย และภายในกล่องศิลามีผอบบรรจุอัฐิธาตุ และที่ผอบนั้นมีข้อความจารึกด้วยอักษรพราหมีโบราณ อันเป็นภาษาที่ใช้มาก่อนพุทธกาล นักภาษาศาสตร์เชื่อว่ามีอายุเก่ากว่าภาษาที่ใช้จารึกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งใช้ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ หรือหลังจากนั้นก็ไม่น่าจะเกินพุทธศตวรรษที่ 2-4 ข้อความจารึกที่ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแปลความได้ว่า "ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้เป็นของตระกูลศากยราช ผู้มีเกียรติงามกับพระภาตา พร้อมทั้งพระภิคินี พระโอรส และพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวายไว้"
    จากจารึกและข้อสรุปของนักภาษาศาสตร์นั้น ทำให้เชื่อได้ว่า อัฐิธาตุที่บรรจุอยู่ภายในผอบนี้เป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ส่วนที่เจ้าศากยะได้รับไปในคราวแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
    ต่อมา นายมาร์ควิส เคอร์ชัน ผู้ดำรงตำแหน่งอุปราชครองประเทศอินเดีย ซึ่งเคยเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ และมีความคุ้นเคยกับรัชกาลที่ 5 มาก่อน เห็นว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้นเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวพุทธ จึงควรมอบคืนให้แก่ชาวพุทธ และนายมาร์ควิส เคอร์ชันเห็นว่ากษัตริย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาสมัยนั้นก็ยังมีแต่พระเจ้ากรุงสยามเท่านั้น รัฐบาลอินเดียจึงมีความประสงค์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่รัชกาลที่ 5 พร้อมให้ฝ่ายไทยส่งผู้แทนเป็นคณะราชทูตไปรับ และขอให้รัชกาลที่ 5 แบ่งพระบรมสารีริกธาตุแก่ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่างๆ เช่น พม่า ลังกา ญี่ปุ่น ไซบีเรีย เป็นต้น
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช เป็นผู้ออกไปรับพระบรมสารีริกธาตุ ณ ประเทศอินเดีย โดยเริ่มออกเดินทางออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2441 และเดินทางกลับในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุผ่านเมืองตรัง พัทลุง สงขลา แต่ละเมืองที่ผ่านมามีประชาชนเข้าร่วมขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุและสักการบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน แก้วแหวนเงินทองมากมาย แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในแต่ละเมืองได้เป็นอย่างดี และก็ผ่านมาถึงเมืองสมุทรปราการ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดิษฐานในวิหาร เกาะพระสมุทรเจดีย์ ทำการฉลอง 3 วัน 3 คืน วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2411 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุถึงกรุงเทพฯ และโปรดให้บรรจุประดิษฐานที่เจดีย์บรมบรรพตภูเขาทอง วัดสระเกศ
    การห่มผ้าแดงองค์บรมบรรพตภูเขาทอง เป็นเครื่องสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนเอง แก่ครอบครัว ตลอดจนประเทศชาติบ้านเมือง เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน
    ส่วนการจารึกชื่อบนผ้าแดง ทางวัดจะเริ่มให้ประชาชนไปจารึกชื่อตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 เวลา 07.00-17.00 น. และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นวันอัญเชิญผ้าแดง
    ขอเชิญชวนให้ร่วมกันแต่งชุดไทย เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของงานย้อนเส้นทางประวัติศาสตร์ในวันนั้น โดยเวลาประมาณ 16.00 น. ประชาชนพร้อมกันที่บริเวณองค์บรมบรรพต เพื่อร่วมขบวนแห่ผ้าแดงทำประทักษิณรอบองค์พระเจดีย์ 3 รอบ ก่อนอัญเชิญขึ้นห่มองค์พระเจดีย์ต่อไป สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0-2225-5873, 0-1821-1095
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellPadding=5 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </TD><TD vAlign=center width=20>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>[​IMG] [​IMG] [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><HR width=550 SIZE=1>​
    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ที่มา : ข่าวสด (วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...