ร้อยวันเก่า...เลาะตลาดร้อย (สิบสอง) ปีสามชุก

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]


    คอลัมน์ แบกเป้

    เรืองอุไร เพชรสังข์


    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ปีนี้ก็อายุ 112 แล้ว ถ้าเป็นคนก็คงติดอันดับอายุยืนยาวที่สุดในประเทศไทย

    แต่นี่เป็นเพียงตลาดเล็กๆ ริมแม่น้ำมะขามเฒ่า หรือเรียกกันอย่างเป็นทางการว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี "ตลาดสามชุก" จ.สุพรรณบุรี จึงยังไม่ติดอันดับโบราณสถานเก่าแก่ในเมืองไทย แต่หากเปรียบกันเฉพาะในตลาดที่มีชีวิต รับรองสภาพบ้านเรือนในตลาดสามชุกเก๋ากึ้กไม่แพ้ใคร

    [​IMG]

    [​IMG]

    ตามประวัติเล่าว่า เมืองสามชุกตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่ออำเภอนางบวช ตั้งอยู่บริเวณตำบลนางบวช โดยมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรก

    ต่อมาในปี 2457 ต้นรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้านสำเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยนั้น จนกระทั่งปี 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอนางบวชมาเป็นอำเภอสามชุก และย้ายมาตั้งอยู่ริมลำน้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านคลองมะขามเฒ่าจวบจนวันนี้

    แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่าท่ายาง มีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่าสามแพร่ง ต่อมาเพี้ยนเป็นสามเพ็ง และสำเพ็ง ในที่สุด

    ยังมีคำเล่าขานด้วยว่าระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่ากระชุก ชาวบ้านจึงเรียกว่าสามชุกมาถึงปัจจุบัน
    [​IMG]
    สามชุกวันนี้ ยังมีกลิ่นอายวันเก่าแห่งตลาดร้อยปีให้สัมผัส ต้องชื่นชมและขอบคุณชาวบ้านในชุมชนที่ไม่ยอมให้ภาครัฐทำลายตึกรามบ้านช่องอันเก่าแก่เพื่อสร้างอาคารใหม่ๆ ขึ้นมา บ้านขุนจีนารักษ์ซึ่งเป็นนายอากรคนแรกของเมืองแห่งนี้ จึงเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวายืนยงรอทุกคนมาเยี่ยมเยือน

    อดีตแห่งผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ที่สร้างสัมพันธ์ต่อกันด้วยการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้า จนพัฒนาไปสู่การลงหลักปักฐาน สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นมา มาวันนี้หากเห็นสาวน้อยขาวหมวยยืนก๋ากลางซอย คุณลุงผิวเข้มนั่งยิ้มเห็นฟันขาวขายโปสการ์ด และคุณยายผิวสีตองนวลก้มหน้าก้มตาทำขนมเบื้องโบราณขายไม่หยุดมือในตลาดร้อยปีสามชุก จึงอย่าแปลกใจ เพราะแม้สีผิวจะแตกต่างแต่ยืนยันได้ว่าหัวใจรักสามชุกไม่แปลกแยกจากกัน
    [​IMG]
    เดินเข้าไปในซอกซอยไหนของตลาด มีแต่ผู้คนยิ้มแย้ม ทักทาย

    "เอ้า! พักเหนื่อย ดื่มน้ำมะนาวดองที่โรงแรมอุดมโชคหน่อยนะคะ โน่นค่ะหนังสือจะหวานปนตลกก็ต้อง "ผู้กองยอดรัก" หรือเอาแบบหลากหลายความรู้สึกหยิบ "ตลาดอารมณ์" มาก็ดี แต่หากอยากรำลึกสงครามสู้รบเชิญ "ขุนศึก" เล่มนี้เลยค่ะ"

    อ้อ! ที่โรงแรมแห่งนี้นอนพักค้างคืนไม่ได้แล้วนะ ไม่ได้หวง แต่เพื่อกระจายรายได้ให้ไปถึงกันหลายๆ บ้านนั่นเอง
    [​IMG]
    หิวแล้ว แวะกินข้าวแกงหน้าตลาด ร้านขายน้ำพริกของแม่กิมลั้งอยู่ยงคงกระพันมากว่า 50 ปี ชอบเป็ดย่างก็ร้านติดกันเลย ข้าวห่อใบบัวก็น่าสน เดินชมก่อนแล้วแวะชิม จะพกห่อกลับบ้านด้วยก็ไม่มีปัญหา คอกาแฟรึก็ไม่ต้องห่วง ร้านอยู่ติดกับตลาดเถ้าแก่เบี้ยวฝั่งติดแม่น้ำ ลูกค้าทั้งวัยรุ่นคนเฒ่าคนแก่อุดหนุนกันแน่นร้าน

    ติดกันมีขนมหวานเยอะแยะไปหมด ขนมเปี๊ยะ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น ขนมไส้เค็ม ขนมไข่ สาลี่ ชักติดคอแล้วแอบไปกินโค้กได้ที่ร้าน ตกแต่งแดงพรึ่บ เดินกันทั่วทุกซอยในตลาดแล้ว ก่อนกลับแวะไหว้ศาลเจ้าพ่อสามชุกเพื่อเป็นสิริมงคล

    นึกครึ้มใจแล้วใช่มั้ย เอาล่ะ หากจะขับรถไปเอง ตั้งต้นที่บางบัวทอง ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ถึงสุพรรณบุรีแล้ววิ่งต่อไปทางชัยนาทราว 39 ก.ม. จะเห็นป้ายทางเข้าตลาดร้อยปีสามชุกอยู่ด้านซ้าย เลี้ยวเข้าไปได้เลย หรือจะขึ้นรถบ.ข.ส.ที่หมอชิตหรือสายใต้ใหม่ไปเมืองสุพรรณก็ไม่ว่า ถึงแล้วนั่งสองแถวต่อไปอีกหนึ่งเพลิน
    [​IMG]
    กลิ่นอายวันเก่าแห่งตลาดร้อยปีสามชุกจะทำเอาลืมเหนื่อยไปเลย

    ที่มา...

    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03tou02270749&day=2006/07/27
     

แชร์หน้านี้

Loading...