**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. sujit

    sujit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +703
    จองรายการนี้ครับ
    รายการที่ 4763
    พระภควัมบดี ปิดตาพ้นบ่วงมาร ปี 2526 พิมพ์ใหญ่ พร้อมกล่องเดิม

    เรียนคุณวันศีล
    ผมได้โอนเงินจำนวน 1,850 บาทเข้าบ/ช. ธ.ไทยพาณิชย์ เมื่อเวลา 19:39 น.
    วันที่ 17/10/62 เรียบร้อยแล้วครับ
    ชื่อและที่อยู่จัดส่งแจ้งทางข้อความครับ.....ขอบคุณครับ
     
  2. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,129
    ค่าพลัง:
    +5,418
    ขอจองครับ
     
  3. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,129
    ค่าพลัง:
    +5,418
    ขอจองครับ
     
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4770

    เหรียญตานใช้ตานแทน ครูบาวงค์ ปี 35 เนื้อเงิน


    พิธีชำระหนี้สงฆ์ ครั้งที่ 5 วันที่ 18 ตุลาคม 2535 (พิธีตานใช้ตานแทน)
    "ตาน" ภาษาพื้นบ้านทางเหนือหมายถึง "ถวายเป็นทาน" ครูบาชัยวงศา จัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกพิธีสำคัญเป็นพิธี ชำระหนี้ เจ้ากรรมนายเวร ขออโหสิกรรม ต่อเจ้ากรรมนายเวร เน้นทางด้านต่ออายุเสริมดวงชะตา จะช่วยให้กรรมนั้นๆจากหนักกลายเป็นเบา จากเบาจนไม่มีผลกรรมติดตามตัวเรา ปลุกเสกในพิธีชำระหนี้สงฆ์ ตานใช้ตานแทน ในครั้งที่ 5 วันที่ 18 ตุลาคม ปี 2535
    มีเกจิคณาจารย์ร่วมปลุกเสกดังนี้
    1.หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    2.หลวงพ่อดาบส สุมโน สำนักสงฆ์ไผ่มรกต
    3.ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    4.หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์
    5.หลวงปู่ทองคำ วัดท่าทอง
    6.ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลัง
    7.ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    8.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

    เนื้อเงินสร้างน้อย องค์นีัผิวสวยเดิมๆ หายากมาก


    บูชาแล้วครับ

    เหรียญตานใช้ เงิน 10.0 d.jpg เหรียญตานใช้ เงิน 10.0 e.jpg เหรียญตานใช้ เงิน 10.0 f.jpg เหรียญตานใช้ เงิน 10.0 g.jpg เหรียญตานใช้ เงิน 10.0 h.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2019
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4771

    เหรียญรุ่นสุดท้ายครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี 2535 เนื้อเงิน ห่วงเชื่อม ตอกโค๊ต ผิวสวยเดิม


    ราคา 3850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    fdgd.jpg Clip_8.jpg jhg.jpg hhtg.jpg ff.jpg ,lk.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4772

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527” เนื้อเงิน


    ..วัดบุพพาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    ประวัติการสร้าง และรายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในพิธีณ.

    ศูนย์ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีมติให้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ ๕๐ ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” ในการดำเนินงานจัดหาทุนได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นรูปเหมือนและเหรียญ ของครูบาศรีวิชัย..โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานไว้บนวัตถุมงคล..

    สถานที่จัดงานล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    ซึ่ง วัดนี้เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและ ปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นคลังเสบียงใหญ่ที่จัดสรรแบ่งปันเสบียงอาหาร ให้แก่ศรัทธาประชาชนที่มาช่วยงาน ซึ่งวัดศรีโสดาแห่งนี้ครูบาศรีวิชัยท่านอยู่พำนัก ระหว่างปฏิบัติงานสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนแล้วเสร็จ...

    วัดศรีโสดา ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เหมาะสมที่ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีบริเวณกว้างขวาง มีวิหารหลวงและสำคัญคือ “วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย...”

    จัดพิธีพุทธาภิเศกวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๕.๑๙ น.เมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชยันโต เจ้าคณะภาคเจ็ด ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย บรรดาพระคณาจารย์ศิษย์อาวุโสของครูบาศรีวิชัย จำนวน ๑๘ รูป ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์

    รายนามพระคณาจารย์สายครูบาศรีวิชัยที่มาร่วมอฐิฐานจิต มีดังนี้

    1.ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง

    2.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง

    3.ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย

    4.ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม

    5.ครูบามงคลคุณาทร วัดหม้อคำตวง

    6.ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง

    7.ครูบาโสภา วัดผาบ่อง

    8.ครูบาอ้าย วัดศาลา

    9.ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม

    10.ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง

    11.ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง

    12.ครูบาญาณวิลาส วัดต้นหนุน

    13.ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย

    14.ครูบามูล วัดต้นผึ้ง

    15.ครูบาศรีนวล วัดช้างค้ำ

    16.ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม

    17.ครูบาอินตา วัดห้วยไซ

    18.ครูบาศรีนวล วัดเจริญเมือง..

    “บรรดาพระคณาจารย์ผู้ทรงศีล” ที่นิมนต์มานั่งปรกอธิฐานจิตครั้งนี้..

    ล้วนเป็นลูกศิษย์และผู้เคยร่วมงานพัฒนา กับครูบาศรีวิชัยทั้งสิ้น”..เป็นพระเครื่องที่น่าใช้มาก ครับ


    ราคา 3900 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    vx.jpg jh.jpg i.jpg h.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4773

    ขุนแผนรุ่นแรกหลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง พิมพ์เล็ก เนื้อเขียว


    รุ่นแรก รุ่นรวยทรัพย์รับโชค สุดยอดมวลสารว่านมหาเสน่ห์ 108 ชนิด ผงมหาภูติมหาพราย ผงพรายกุมาร น้ำมันพรายปลุกเสกเมื่องานเข้าโสสากรรม พัฒนาป่าช้าวัดเชียงขาง ปลุกเสกในเตากองฟอนเผาศพที่ป่าช้า มีความขลังทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยม มีเสน่ห์สูงสุด เด่นทางด้านเมตตามหานิยมที่สุด โชคลาภ ค้าขาย

    องค์นี้เข้มขลังสุด ๆ


    ราคา 1650 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    hg.jpg err.jpg kjkj.jpg gi9.jpg Clip_11.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4773

    พระปิดตาครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าว สอดตะกรุด


    ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว สะเมิง สุดยอดพระเกจิท่านหนึ่งของเมืองเหนือ ที่ลูกศิษย์ของท่าน นิยมแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาใช้และมีประสบการณ์ทางด้านมหาอุดมานักต่อนักแล้ว ท่านได้ยึดถือตามรอยปฎิบัติ ของ ครูบาศรีวิชัยสม่ำเสมอตลอดชีวิตของท่าน คณะศรัทธา วัดศาลาโป่งกว๋าว โดยการนำของพ่อหลวง แก้ว ซึ่งมีความเลื่อมใสในวัตรปฎิบัติของ พระสม โอภาโส พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ท่าน จากวัดสวนดอกมาเป็นผู้นำการพัฒนาวัดศาลาโป่งกว๋าว ต. สะเมิงเหนือ อ. สะเมิง หลังจากนั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน ครูบาสม โอภาโส เป็นลูกศิษย์ผู้อุปฐากรับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัยรูปหนึ่ง ที่มีอาคมขลังยิ่ง ครั้งหนึ่งเคยเอาลูกระเบิดมาแกะเล่น ลูกระเบิดทำงาน ระเบิดกุฏิพังราบเรียบ จีวรขาดเป็นชิ้นๆ แต่ตัวท่านเองไม่ได้รับอันตรายอะไร นอกจากเหรียญรูปเหมือน รุ่น ๑ ของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราคานิยมหลักพันต้นๆ พระปิดตาเนื้อผง ก้นอุดตะกรุดน้ำบ่ห่าง ก็ได้รับความนิยมไม่เเพ้กันครับผม

    ครูบาหนังเหยียว ท่านเก่งทางด้านคงกระพัน มหาอุด
    ทางใดชอบสายเหนี่ยวไม่ควรพลาดครับ


    ราคา 1800 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    dfgd.jpg u.jpg ik.jpg ytyt.jpg j.jpg uj.jpg Clip_3.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4774

    เหรียญรุ่นแรกพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ไข่ใหญ่ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

    พระทักขิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวล ดุจสีดอกบวบ หรือ สีดอกพิกุลแห้ง พระธาตุประจำปีเกิด ปีชวด(ปีหนู)ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 จนถึงปัจจุบัน พระบรมธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระษาดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060
    วัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอจอมทองพระธาตุประจำปีเกิด ปีชวด(ปีหนู) ครับ

    เหรียญประจำวันเกิดสำหรับท่านที่เกิดปี ชวด (หนู) เหรียญยอดนิยมของเมืองเชียงใหม่


    ราคา 3200 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    ghy.jpg jk.jpg g.jpg Clip_9.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4775

    เหรียญครูบาคำหล้า สังวโร ปี 2505 เลี่งเงินโบราญสุดคลาสสิค

    เหรียญที่มีประสบการณ์สูง และเป็นที่หวงแหนของคนที่เป็นเจ้าของอย่างมาก ประสบการณ์เรื่อง "เหนียว" นั้น มีสูงมากเหรียญครูบาคำหล้าออกปี 2505 ระบุไว้ว่าออกที่วัดจันดี ซึ่งในด้านหลังเหรียญได้ระบุไว้เช่นนี้แต่คาดว่าไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกับหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน เพียงแค่ว่าตอนสมัยนั้นทางวัดไปให้ช่างเขาปั๊มเหรียญแล้วเผอิญมีบล็อคของหลวงพ่อคล้ายที่ออกวัดจันดีอยู่ ทางกรรมการเห็นว่าสะดวกและไม่เสียเวลา จึงให้ใช่แม่พิมพ์บล็อคนั้นแต่ย่อขนาดให้เล็กลงหน่อย เพราะวัดชื่อตรงกันคือวัดจันดี เท่านั้นเอง และได้อาศัยแบบของหลวงพ่อคล้ายเป็นต้นแบบ
    ครูบาคำหล้าพลังจิตท่านนั้นกล้าแกร่ง เรื่องแคล้วคลาดกับอุบัติเหตุบนท้องถนน

    เหรียญยอดนิยมของเมืองเชียงราย พะเยา

    บูชาแล้วครับ

    fds.jpg ;lp.jpg fsdf.jpg Clip_12.jpg


    ชีวประวัติของครูบาคำหล้า ฐิตสํวโร
    วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร อ.เชียงคำ จ.พะเยา

    รูปภาพ

    1.สถานะเดิม

    ครูบาคำหล้า ฉายา สํวโร นามเดิม คำหล้า นามสกุล สุภายศ นามบิดา นายใจ มารดานางน้อย สุภายศ บ้านสันโค้งหลวง มีพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยกัน 5 คน และท่านเป็นคนสุดท้องจึงได้นามว่า “คำหล้า” มีรายชื่อดังนี้

    1. นางบุญปั๋น เนตรสุวรรณ
    2. นางสุจา วิจิตรรัตน์ (เสียชีวิต)
    3. นางสุข สุภายศ (เสียชีวิต)
    4. นางสุวรรณ สุรัตน์
    5. ครูบาคำหล้า สํวโร(มรณภาพ)

    2. ชาติกาล
    ท่านครูบาคำหล้าเกิดเมื่อวันพุธ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2460 ขึ้น 11 เดือน 3 (เดือนห้าเหนือ) ตรงกับปีมะเส็ง ณ บ้านสันโค้งหลวง เลขที่ 14 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

    3. การศึกษา

    ชีวิตเมื่อเยาว์วัยตั้งแต่อายุ 1-8 ปี ท่านก็อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาและญาติ มีชีวิติความเป็นอยู่เหมือนเด็กทั้งหลาย เคยเลี้ยงควาย วัว ตามทุ่งนา มีนิสัยร่าเริงว่านอนสอนง่าย เมื่ออายุ 9 ปี มีนิสัยเปลี่ยนไปไม่ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยปลาหรือเนื้อสัตว์ ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผักเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจะชอบทานจำพวกน้ำพริกน้ำผักที่ทำจากผักกาด และน้ำหน่อ และผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีอายุ 9 ขวบได้เรียนหนังสือ ณ โรงเรียนจำรูญราษฎร์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดยอดในชั้นประถมปีที่ 1 และในปลายปีนี้เองที่ท่านได้เจ็บป่วยอย่างหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอดไม่ยอมทานอาหารเป็นเวลา 3 วัน ทานเฉพาะใบส้มลม โดยเอาใบส้มลมมาห่อใบตองแล้วหมกไฟจนสุกจึงนำไปจิ้มกับเกลือใช้ทานแทนอาหาร นอกจากนี้ยังป่วยเป็นตุ่มพุพอง ในช่วงบริเวณใต้เข่าจนถึงเท้าทั้ง 2 ข้างใช้ยาหลายชนิดก็ไม่หายจึงได้นำเอาน้ำมันขี้โล้มาทาในที่สุดโรคนั้นก็พอทุเลาลง การเรียนหนังสือก็มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี

    4. ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านครูบาศรีวิชัย

    ในปีนี้เอง ท่านครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย ซึ่งมีคนเคารพนับถือมากได้เดินทางกลับจากการไปบูรณะพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือได้มาพำนักวัดเชียงยืน (วัดสันโค้งหลวง)

    คุณพ่อใจ และแม่น้อย สุภายศ ก็ได้นำบุตรของตน คือ เด็กชายคำหล้า ไปนมัสการท่านครูบาศรีวิชัย พร้อมทั้งกราบเรียนว่าบุตรชายคนนี้มีนิสัยไม่ชอบทานเนื้อ ทานปลา ชอบทานอาหารที่ปรุงด้วยพืชผักเท่านั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่ค่อยสบายจึงขอมอบบุตรชายให้ท่านครูบาได้เมตตาช่วยอบรมสั่งสอนด้วย เล่ากันว่า พ่อหนานทองสิงห์ ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ได้นำเอาผ้าเหลืองมาบนกับเจ้าที่วัดเชียงยืนไว้ว่า “ถ้าภายใน 2-3 วันนี้ถ้าเด็กชายคำหล้าหายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดจะขอให้เด็กชายคำหล้าบวชเป็นสามเณรแก้บน” ปรากฏเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ภายหลังจากนั้นไม่นานเด็กชายคำหล้าก็หายป่วยพ่อแม่จึงดีใจมากให้ไปบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา

    5. ครูบาศรีวิชัยเป็นประธานในการบรรพชา

    ในปีพ.ศ. 2470 ขณะที่เด็กชายคำหล้ามีอายุได้10 ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วิหารวัดเชียงยืน โดยมีท่านพระครูบาศรีวิชัย เป็นประธานสงฆ์พร้อมทั้งพระสงฆ์ที่เข้าพิธีอีก 10 รูปท่านครูบาศรีวิชัยได้ตั้งฉายาให้ว่า “ฐิตสํวโร” แปลว่าผู้มีความสำรวมที่มั่นคงดี ท่านครูบาศรีวิชัยได้มาแสดงธรรมโปรดคณะศรัทธาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ท่านก็เดินธุดงค์จาริกไปยังจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนต่อไป ในการที่สามเณรคำหล้าได้รับการบรรพชาจากท่านครุบาศรีวิชัยในครั้งนี้ได้นำความปลาบปลื้มปิติยินดีมาสู่บิดามารดาและวงศาคณาญาติเป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรคำหล้าได้บรรพชาเป็นสามเณรเรียบร้อยแล้วก็ได้ประจำอยู่ ณ วัดเชียงยืน และได้เข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเชียงรายจรูญราษฎร์ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อชั้นม. 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยา (ขณะนั้นตั้งอยู่ใกล้วัดดอยงำเมือง) จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงลาออก ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี

    ในขณะที่ศึกษาอยู่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมนั้น ท่านได้เริ่มชักชวนคณะศรัทธา คณะญาติและผู้ใจบุญทั้งหลายได้ก่อสร้างเจดีย์ 1 องค์ ขนานกว้าง 7 ศอก สูง 9 ศอก ด้านหลังวิหารวัดเชียงยืน ภายหลังได้ทรุดโทรมและได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระครูเมธังกรญาณ เป็นเจ้าอาวาสวัดเชียงยืน

    6. การศึกษาพระธรรมวินัย

    เมื่อท่านได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว นอกจากจะศึกษาวิชาสามัญแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องจำทำวัตรสวดมนต์เจ็ดตำนานได้คล่องแคลวมีความรู้แตกฉาน ด้านอักษรล้านนา (ภาษาล้านนา) เทศนาธรรมอักษรล้านนาและชอบเทศน์มหาเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์มหาพนท่านชอบมากจำได้คล่องปากเปล่าได้เข้าสอบความรู้พระปริยัติธรรม ณ สนามสอบวัดเจ็ดยอด สอบได้น.ธ.ตรี สมัยยังเป็นสามเณร

    พ.ศ. 2477 ขณะที่ท่านได้อายุ 17 ปีท่านได้ออกเดินธุดงค์จากเชียงราย ผ่านอ.แม่สรวย ไปยังวัดฮ่างต่ำ อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพื่อไปศึกษาภาษาบาลี และภาษาโบราณกับครูบาปัญญา อยู่ที่นั่งประมาณ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืน ได้นำเอาความรู้ที่ได้รับ มาอบรมสั่งสอนเพื่อนสหธรรมิกพระเณรในวัด และอบรมศิลธรรมกัมมัฏฐานแก่คณะศรัทธาทั้งหลาย ตามปกติท่านเป็นผู้มีความมักน้อยสันโดษชอบอยู่ในสถานที่สงบวิเวก ดังนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของท่านจึงได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิกัมมัฏฐานถวายไว้ 1 หลัง ซึ่งท่านก็ได้อาศัยจำศิลภาวนา และมีความพอใจในการอยู่คนเดียวมาก

    7. การอุปสมบท

    ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2481 ขณะอายุได้ 21 ปี ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสุทธิว่า สำเร็จเป็นพระภิกษุ เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 27 นาที ของวันนั้น ณ พัทธสีมา วัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับฉายาว่า “สํวโร ภิกขุ” โดยมี

    1. หลวงพ่อพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววํโส) วัดมุงเมือง เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์
    2. เจ้าคุณพระวีรญาณมุณี (หมื่น สุมโน) วัดเจ็ดยอด เผยแผ่จังหวัดเชียงราย )เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    3. พระมหาบัว โกมโล ครูสอนบาลี วัดมุงเมือง เป็นพระอนุสาสนาจารย์

    ภายหลังที่ได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ศึกษาและปฏิบัติธรรม เจริญเมตตาภาวนา ได้สั่งสอนธรรมะแก่พระภิกษุสามเณรวัดเชียงยืนและแก่คณะศรัทธาประชาชนทั่วไป ได้ชักชวนคณะศรัทธาสร้างกุฏิเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร 1 หลัง และสร้างกุฏิเพื่อใช้เดินจงกลม 1 หลัง ขณะที่ท่านจำพรรษาที่ ณ วัดเชียงยืน พ่อใจ สุภายศ ยอมบิดาของท่านก็ได้มาเอาใจใส่อุปัฎฐาก เพราะโยมบิดาท่านเป็นมรรคนายกของวัด และเป็นผู้นำชาวบ้านสันโค้งหลวงในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย

    เมื่อพ่อใจ สุภายศ อายุได้ 64 ปี ได้ถึงแก่กรรมท่านได้จัดงานฌาปณกิจศพตามประเพณี ในขณะนั้น คุณแม่น้อย สุภายศ โยมมารดาของท่านได้เป็นที่ประทับร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และได้เป็นร่างทรงมาตั้งแต่ครูมามีอายุ 5-6 ขวบแล้วจนบัดนี้ก็ยังเป็นร่างทรงของวิณญาณอื่น ๆ เช่น

    1. เจ้าแม่คำเขียว
    2. เจ้าพ่อคำฟู
    3. เจ้าอินต๊ะปัฏฐาน
    4. เจ้าหลวงโมกขาว
    5. เจ้าแม่คำแดง
    6. เจ้าแม่สร้อยคำ

    8. ครูบา ได้แนะนำมารดาให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

    ในสมัยโบราณ ประชาชนยังไม่นิยมเข้ารับรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เมื่อท่านทราบว่าแม่น้อย สุภายศเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และยังสามารถเอารากไม้และสมุนไพรมาเสกเป่าและให้คนนำไปต้มกินบ้าง ทำให้ผู้คนทั้งหลายหลั่งไหลกันมารักษาโรคภัยไข้เจ็บจนเต็มบ้านทุกวัน บ้านของแม่น้อยจึงพรุกพร่านไปด้วยแขกไม่ขาดหาเวลาพักผ่อนแทบไม่มี ท่านครูบาคำหล้า เล่าว่าท่านระลึกถึงมารดาของพระสารีบุตรได้ชักชวนมารดาให้ยินดีในศิลทานภาวนาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนกลายเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ ท่านครูบาคำหล้าจึงไปขอร้องคุณแม่น้อย มารดาของท่านอย่าได้เป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่าง ๆ อีกได้เอาธรรมะไปเทศนาให้โยมแม่ฟังจนสามารถทำให้แม่เลิกเป็นร่างทรงและได้ออกบวชเป็นชีและได้นำเอาเครื่องสักการะ เครื่องเข้าทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลายไปทิ้งเสีย ซึ่งได้รับการวิพากย์วิจารย์กันอย่างมาก แต่ครูบาท่านบอกว่าท่านทำถูกต้องแล้ว เมื่อแม่ชีน้อยท่านปฏิบัติธรรมอยู่จนมีอายุได้ 64 ปี ก็ถึงแก่กรรม ห่างจากโยมพ่ออยู่ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น ท่านครูบาก็ได้จัดทำบุญฌาปนกิจศพมารดาตามประเพณี

    9. บำเพ็ญธุดงควัตรต่างประเทศ

    เมื่อโยมบิดาโยมมารดาได้ถึงแก่กรรมไปแล้วท่านครูบาคำหล้าเล่าว่าท่านจึงไม่ค่อยเป็นห่วงกังวลอะไรเพราะถ้าพ่อแม่ยังอยู่ ก็ต้องเอาใจใส่ดูแลท่านตามสมควรเพราะพระพุทธเจ้าเองยังตรัสสั่งสอนไว้ว่าการบำรุงบิดามารดานั้น ด้วยการให้อามิสทานบ้าง ธรรมทานบ้าง ไม่ถือว่าผิดสมณวินัย พระองค์ยังทรงยกย่องด้วยเพราะเคยมีเรื่องภิกษุรูปหนึ่งได้เอาอาหารที่ตนได้รับจากบิณฑบาตมาแล้วแบ่งให้แก่บิดามารดาชรา ภิกษุหลายรูปตำหนิท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทราบได้เรียกภิกษุรูปนั้นมาตรัสถามทราบเรื่องราวความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงอนุโมทนาสาธุการ ดังนั้น ในกาลต่อมา ท่านครูบาคำหล้า จึงได้เดินธุดงค์จาริกไปถึงสำนักวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่ครูบาอินทจักร (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระสุธรรมยานเถระพระราชาคณะฝ่ายวิปัสนาธุระ) ได้ศึกษาอยู่ที่สำนักวัดน้ำบ่อหลวงอยู่ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่วัดเชียงยืน จังหวัดเชียราย

    อยู่มาไม่นานท่านครูบาก็ได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขาหาสถานที่สงบวิเวก ท่านเล่าว่าได้อยู้ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้จิตใจมีความปิติสุข ท่านเดินทางไปหลายที่หลายแห่งไม่คิดจะกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืนอีกต่อไปเพราะวัดอยู่ในเมืองมีหมู่ญาติมากก็อาจไปมาหาสู่กัน จะเสียเวลาในการปฏิบัติธรรม ท่านจึงเดินธุดงค์ไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอแม่สายเข้าสู่อำเภอท่าขี้เหล็กในอณาเขตของประเทศพม่า ได้ไปถึงเมืองพง เมืองเลน เมืองยอง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงตุง จึงได้ขาดการติดต่อกับญาติพี่น้องทางเชียงรายเป็นเวลา 3 ปีเศษ ดังนั้นทางหมู่ญาติก็เป็นห่วงมาก พ่อน้อยแสน เนตรสุวรรณ ผู้เป็นพี่เขยและญาติคนอื่น ๆ อีก 4 คนจึงได้เดินทางออกตามหาติดตามไปยังประเทศพม่าเพื่อสืบข่าวท่านครูบาคำหล้า ได้พำนักอยู่ ณ ที่ใด ใช้เวลาติดตามหาตัวท่านอยู่นานแรมเดือน ในที่สุดจึงได้พบท่านครูบา จำศีลภาวนาอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเมืองพง ประเทศพม่า หมู่ญาติที่ไปพบต่างก์มีความดีใจมาก ทีแรกก็คิดว่าท่านอาจมรณภาพไปเสียแล้ว จึงนิมนต์ท่านกลับมาจำพรรษา ณ วัดเชียงยืน (สันโค้งหลวง) อีก

    10. ครูบาสร้างวัดพระธาตุจอมสักสังวรารามเป็นแห่งแรก

    เมื่อท่านครูบาคำหล้า ได้กลับมาอยู่วัดเชียงยืนแล้ว ท่านก็ได้สั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนให้ยินดีในการให้ทานให้รักษาศีลและเจริญเมตตาภาวนาพอออกพรรษาแล้วท่านก็เดินธุดงค์ไปต่างถิ่นอีกได้ไปอยู่ป่าบ้านห้วยขม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้ปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอและจาริกต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ชอบติดอยู่ที่นั่นเอง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านครูบาได้ไปพบซากเจดีย์เก่าแก่แห่งหนึ่งมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากของวัดร้างแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าขัวแคร่ ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย

    เล่ากันว่า ณ วักร้างแห่งนี้ชาวบ้านขัวแคร่เล่ากันว่ามีผุดุมาก เวลากลางคืนใครจะเดินผ่านบริเวณนั้นไม่ได้จะถูกผีหลอก ครูบาคำหล้าเห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีความสงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านจนเกินไป สะดวกแก่การออกบิณฑบาตเมื่อท่านครูบา ได้มาปักกดอยู่ ณ วัดร้างแห่งนี้ ท่านเล่าว่าในระยะแรก ๆ ถูกผีหลอกอยู่หลายคืนแต่ท่านครูบาไม่เคยกลัว ได้สวดมนต์ภาวนาแผ่เมตตาจิตขอให้สรรพสัตว์ได้ยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี อย่าได้เบียดเบียนกันเลย ทางคณะศรัทธาชาวบ้านขัวแคร่ เมื่อทราบข่าวว่ามีพระกรรมฐานมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ก็ดีใจจึงได้ชักชวนกันไปทำบุญตักบาตรไปฟังธรรมไปสนทนาธรรมะกับท่านครูบาคำหล้า ก็เกิดความเลื่อมใส จึงยินดีรับใช้ปรนนิบัติบำรุง ท่านครูบาจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่โดยครอบเจดีย์องค์เก่าจนสำเร็จนับเป็นเจดีย์องค์แรกพร้อมกับสร้างวิการเรือนไม้สักยกใต้ถุนสูงจำนวน 1 หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์และเจดีแห่งนี้ต่อมาได้รับการขนานนามว่า “พระธาตุจอมสักสังวราราม” เพราะตั้งอยู่ในดงไม้สัก และท่านครูบาคำหล้า สํวโรเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างไว้นั่นเอง

    11. พบกับครูบาอินถา กัลยาณมิตรที่สำคัญ

    เมื่อท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน และจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระธาตุจอมสักอยู่นั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัดเช่นเดียวกัน ท่านมีครอบครัวมาแล้วได้ลาออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยอุปสมบท ณ วัดสีย่องเปียะ ต.ม่วงคำ อ.ตะโก่ง จ.หม่องระแหม่ง ประเทศพม่า ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านขัวแคร่ ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน ได้มาพักชั่วชาว ณ วัดพระธาตุจอมสัก คณะศรัทธาและหมู่ญาติจึงได้ขอนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นไว้ ขอให้อยู่ช่วยงานก่อสร้างและอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านครูบาคำหล้า ภิกษุรูปนั้นคือ หลวงพ่อครูบาอินถา สุทนฺโต ท่านครูบาทั้งสองจึงได้ช่วยกันพัฒนาวัดพระธาตุจอมสัก โดยร่วมกันก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มีกุฏิ วิหาร ศาลา กำแพง บันไดนาค สถานที่กักเก็บน้ำ และเสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก ท่านครูบาอินถา ได้เป็นกัลยาณมิตรผู้ยิ่งใหญ่ได้ร่วมบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมีร่วมกับท่านครูบาคำหล้า จนตราบเท่าท่านได้ถึงอายุขัยมรณภาพจากไปเมื่อประมาณ 32 ปีล่วงแล้วนี้เอง

    12. ไปศึกษาที่มหาธาตุวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

    ในปีพ.ศ. 2496 พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองได้นิมนต์ท่านครูบาคำหล้าและครูบาอินถาทั้งสองรูปไปอบรมวิปัสนากัมมัฏฐาน ณ สำนักวัดมหาธาตุ ของมหาธาตุวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ท่านได้ไปรับการอบรมอยู่ 3 เดือนเศษเมื่อเสร็จการอบรมแล้วก็ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดพระธาตุจอมสักตามเดิม ต่อมาท่านครูบาทั้งสองก็ได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นประทานก่อสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ปูชณียสถาน และถาวรวัตถุหลายแห่ง โดยไปดำเนินการก่อสร้างต่างตำบล ต่างอำเภอ และต่างจังหวัดทั้งในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน

    13. ผลงานด้านการก่อสร้าง

    การไปทำการก่อสร้างปูชณียสถานหรือถาวรวัตถุตามสถานที่ต่าง ๆ นั้นท่านครูบาคำหล้าจะพิจจารณาดูก่อนว่าจะมีใครเป็นหัวหน้ามายืนยันกับท่านก่อนว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือและจะต้องมีคณะศรัทธาที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวท่านจริง ๆ ท่านจึงจะยินดีรับนิมนต์ ถ้าไม่พร้อมทั้ง 2 ประการนี้ครูบาจะไม่รับนิมนต์ ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างแต่ละแห่งนั้นมักจะสำเร็จลงอย่างรวจเร็วเพราะมีคนเคารพเลื่อมใสและตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีนั่นเอง และทุกแห่งที่ครูบาไปดำเนินการจะไม่มีการออกใบฎีกาเรี่ยรายขอให้ผู้ทำบุญมุ่งเอากุศลความดีเป็นที่ตั้ง อย่าทำบุญเอาหน้า หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือบริจาคเงินไปแล้ว เกิดความเสียดายอาลัย ก็ไม่เป็นบุญเป็นกุศล ท่านครูบาคำหล้านั้นแม้ไม่ได้ศึกษามาทางสายสถาปัตยกรรมการก่อสร้างก็ตาม แต่ท่านครูบา ก็สนใจศึกษางานก่อสร้างด้วยตนเอง และมีพรสวรรค์ในด้านวรรณกรรม มีความชำนาญทางด้านนี้เป็นพิเศษงานส่วนใหญ่ท่านครูบาชอบสร้างเจดีย์เพราะท่านบอกว่าสร้างแล้วมีคนกราบไหว้ ลองลงมาก็คือการสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลา สะพาน และเสนาสนะต่าง ๆ ผลงานทางด้านการก่อสร้างของท่านครูบาคำหล้า สํวโร และท่านครูบาอินถา สุทนฺโตนั้น จะขอนำมากล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้

    1. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร กุฏิ หอฉัน กำแพง บันไดนาค ถังกักเก็บน้ำฝน และเสนาสนะต่าง ๆ ณ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    2. สร้างวิหารและบูรณะพระธาตุวัดพระธาตุเจดีย์คำ ตำบลเจดีคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    3. สร้างเจดีย์วัดกู่แก้ว ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียวราย
    4. สร้างเจดีย์วัดพระธาตุดอยเขาควายพร้อมทั้งกุฏิ หอฉัน บันไดนาค และยักษ์ 2 ตน ถังเก็บน้ำฝน และเสนาสนะอื่น ๆ บนดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    5. สร้างวิหารวัดพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    6. สร้างเจดีย์วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    7. สร้างเจดีย์วิหารวัดพระธาตุภูซาง ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
    8. สร้างเจดีย์ขุนบง ตำบลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    9. สร้างเจดีย์เด่นหล้าจอมสวรรค์ ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    10. สร้างเจดีย์ วิหาร วัดพระธาตุปูล้าน ตำบลไม้ยา อำเภอเมืองพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
    11. สร้างเจดีย์ป่าตาล ตำบลป่าตาล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    12. สร้างพระธาตุ และวิหารวัดพระธาตุขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
    13. สร้างเจดีย์วัดจอมทอง ตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    14. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
    15. สร้างเจดีย์ปูขวาง ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
    16. สร้างวิหารวัดพระธาตุจอมสวรรค์ บ้านสันขี้เหล็ก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
    17. สร้างพระธาตุศรีมหาโพธิ์ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลเวียงอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    18. สร้างเจดีย์วัดนาซาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    19. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร หอฉัน และเสนาสนะอื่น ๆ วัดวังถ้ำแก้ว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    20. สร้างเจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
    21. สร้างวิหารวัดสะเกิน ตำบลยอด อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
    22. สร้างวิหาร กุฏิ ศาลา หอฉัน และเขื่อนกั้นน้ำวัดพระธาตุขุนห้วยสวดโดยการฝังท่อแอสร่อน นำเอาน้ำที่กั้นไว้นั้นไปใช้ในหมู่บ้านแวนโค้ง ทั้ง 2 หมู่บ้าน มีระยะทางไกล 3 กิโลเมตรและยังได้พบกระแสน้ำที่ไหลเข้าใกล้กุฏิของท่านครูบาคำหล้า นำมาให้ในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    23. ในปี พ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้าได้มีความดำริจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานไว้บนดอยห้วยขุนสวด ได้ขอรถจากผู้มีจิตศรัทธาไปทำการปรับพื้นที่บริเวณนั้น แต่ปลายปีนี้เองที่ท่านครูบาคำหล้าได้อาพาธจนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล การก่อสร้างจึงต้องต้องพักไว้

    14. การเดินทางไปเยี่ยมแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล)

    ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร พร้องทั้งคณะของท่านอันมีพระมหาหมื่น ปญฺญาธโร(ปัจจุบันคือพระครูศรีปริยัติวิธาน รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย) วัดพระสิงห์ พระครูอนันทขันติคุณ วัดเจ็ดยอดเชียงราย และอุบาสกอุบาสิกา มีพระภิกษุจำนวน 6 รูป และฆราวาส 21 คน ได้เดินทางไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง คือ

    1. สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่สวนลุมพินี ตำบลรุมมินเดย์ เขตประเทศเนปาล
    2. สถานที่ตรัสรู้ ตั้งอยู่ที่พุทธคยา ตำบลคะยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
    3. สถานที่แสดงประฐมเทศนาคือธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตั้งอยู่ป่าอิสิปนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ ใกล้กรุงพาราณสี รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย
    4. สถานที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพาน ตั้งอยู่ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินาคาร์ รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย

    การเดินทางไปเยี่ยมดินแดนพุทธภูมิครั้งนี้ท่านครูบาเล่าว่าได้ประโยชน์มหาศาล เพราะได้ไปเห็นเทวทูตทั้ง 4 และไปพบสัจธรรม หากได้ไปประเทศอินเดียมาแล้วจะมีความซาบซึ้งในเรื่องพระพุทธานุสติและยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามากขึ้น ท่านครูบาคำหล้ายังได้นำเอาดินจากพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 และดินจากปูชนียสถานที่สำคัญแห่งอื่น ๆ เอามาผสมกับเกศาของท่านและครูบาอินถาสร้างเป็นพระพิมพ์รูปเหมือน 2 หน้าของครูบาเพื่อแจกให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมที่เคารพนับถือท่าน จะได้นำเอาไปสักการบูชา ในงานปอยหลวงคือฉลองวิหาร และอุโบสถ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม เพราะการทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ในปีพ.ศ. 2521 เมื่อท่านครูบาอยู่ ณ สถานที่ใดพอสมควรแล้วท่านก็จะย้ายไปอยู่ที่สถานที่แห่งใหม่อีก แห่งสุดท้ายที่ท่านพำนักอยู่นานที่สุดคือ วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    15. ธรรมะโอวาทของครูบาคำหล้า

    ท่านครูบาคำหล้านั้น นอกจากจะเป็นนักปฏิบัติธรรม มีศิลาจารวัตรที่เคร่งครัดแล้ว ยังมีปฏิภาณไหวพริบในการสั่งสอนในเวลาการแสดงธรรมเทศนาท่านจะยกเอาคำสุภาษิตบ้าง สำนวนคำพังเพยบ้าง บางคำก็มีคำพื้นเมืองคือภาษาถิ่นเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ คนฟังก็ไม่รู้สึกเบื่อ และคนฟังก็ตั้งใจฟังอยู่ในอาการอันสงบ เป็นที่น่าเสียดายที่การจัดพิมพ์หนังสือคราวนี้ไม่ได้รวบรวมพระธรรมเทศนาที่ท่านครูบาเทศนาในโอกาสต่าง ๆ มาพิมพ์ไว้ คงจะได้จัดทำในโอกาสอันสมควรต่อไป

    ในด้านธรรมะสำหรับใช้ปฏิบัตินั้น ท่านมักจะสอนธรรมะที่ง่าย ๆ เช่นเรื่องบุญกิริยาวัตถุคือ เรื่องการทำบุญให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนานั้นท่านครูบามักจะสอนให้ภาวนาบทว่า พทฺโธ พทฺโธ พทฺโธ บ้างครั้งก็สอนให้ใช้บทว่า ยุบหนอ พองหนอ บางครั้งท่านก็สอนให้เจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ข้อสำคัญท่านครูบา ก็จะแนะนำว่าอย่ายึดติดในสำนักนั้นสำนักนี้ดีกว่ากัน จงทำจิตใจให้สงบระงับ มีจิตใจที่ใสสะอาด ปราศจากกิเลศนิกรณ์ธรรม ไม่เกิดการฟุ้งซ่านก็เป็นการดีที่สุด ท่านครูบาบอกว่านักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรจะปิดทวาร คำว่าทวารหมายถึงประตูเข้าออกของกิเลศคือปิดกายทวาร สิ่งที่ผ่านเข้าทางกาย ปิดวจีทวาร สิ่งที่ผ่านทางวาจา ปิดมโนทวาร สิ่งชั่วร้ายที่ผ่านเข้าทางใจจะต้องปิดกั้นมันหมดเพื่อทำจิตใจให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตใจเป็นสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดมีขึ้นมาเอง และนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะต้องยินดีในสถานที่สงบเงียบเช่นในป่า ใกล้ภูเขาหลีกเว้นจากการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะธรรมให้เกิดความวุ่นวาย อย่าเห็นแก่การกิน การนอน การคุย การเล่น แม้แต่วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดถึงหนังสือพิมพ์ก็ควรงดดู งดอ่าน จะอ่านก็ควรเป็นหนังสือธรรมะเท่านั้น ท่านยังพูดตำหนิพระเณรที่ชอบดูทีวีไม่สนใจข้อวัตรปฏิบัติของสมณะที่ดีชอบดูรายการมวยและส่งเสียงดังทั่ววัด ชอบเล่นหวย ซึ่งเป็นการพนันอีกชนิดหนึ่ง ล้วนแต่อยู่ในประเภทกิเลศหนาปัญญาหยาบทั้งสิ้น

    คติสอนของท่านครูบาคำหล้า สํวโร

    1. คนเรานั้น โลกีย์บ่หลุด โลกุตตร์บ่ได้
    หมายความว่า มนุษญ์เราไม่สามารถจะพ้นจากโลกนี้ไปได้ง่าย แลไม่สามารถจะบำเพ็ญเอาโลกุตรสมบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นโลกุตรธรรมชั้นสูงได้

    2. จะยะอะหยังหื้อยะแต๊ ๆ กันยะเลาะแหละ มันบ่จ่างปอกิ๋น
    หมายความว่า ถ้าท่านจะทำสิ่งใดก็ขอให้ทำสิ่งนั้นอย่างจริงจัง อย่าสักว่าทำเล่น ๆ ถ้าทำจริงแล้วทุกอย่างก็จะสำเร็จจะมั่งมีเหลือกินเหลือใช้

    3. สัญชาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย มันมีแต่เซาะหากิ๋นกับตั๋วต๋ายเต่าอั้น
    หมายความว่า ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลายนั้น มีปกติแสวงหาอาหารและกลัวแต่ความตายเท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์เรานั้นจะต้องมีสติปัญญา รู้จักแก้ไขอุปสรรค์ปัญหาดีกว่าสัตว์เหล่านั้น

    4. ยากอะไรไม่ยากเท่าปฏิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่ยากเท่าถอนมานะ ละอะไรไม่ยากเท่าละอวิชชา
    หมายความว่า ถ้าทำสิ่งใดไว้ หากมันชำรุดทรุดโทรม จะไปทำการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่มันยากมาก คนมีทิฏฐิมานะจัด มักเอาใจยากเพราะเขาจะยึดเอาความคิดเห็นตนฝ่ายเดียว เหตุที่คนไม่บรรลุพระนิพพาน เพราะมีกิเลศหนาถูกอวิชชาคือความโง่เหลาห่อหุ้มจิตใจไว้

    5. อย่าเป็นคนใหญ่เพราะกำข้าว อย่าเป็นคนเฒ่าเพราะอยู่เมิน
    หมายความว่า คนเราเติบโตขึ้นมาได้เพราะการกินอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นมาแล้วต้องรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักใช้สติปัญญา มีเหตุผล เวลาแก่เฒ่าต้องรู้จักจำศีลภาวนา อย่าห่วงแต่ลูกหลานหรืออาศัยอยู่ไปเป็นวัน ๆ ไม่ทำประโยชน์อันใดไว้

    6. เกิดเป็นคนจงมืนตากว้างผ่อตางไกล๋
    หมายความว่า คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าแสนประเสริฐแล้ว อย่าได้เป็นคนมีใจคับแคบ อย่าเห็นแก่ตัว ต้องเห็นแก่ส่วนรวม ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ชาติ แก่ศาสนา แก่แผ่นดินที่ตนเกิด

    7. มืนตาแล้วต้องสว่างไป อย่าเป็นคนรกโลก
    หมายความว่า คนเราได้เกิดมาในโลกนี้ ถือว่ายังมีกิเลศตัณหาอยู่ ก็ต้องทำลายล้างกิเลสออกจากสันดานเพื่อจะได้ไปเกิดในภพในชาติที่ดีมีพระนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อย่าทำตนเป็นเสี้ยนหนาม หรือเป็นคนไม่มีศีลธรรม ถือว่าเสียชาติเกิดรกแผ่นดินเปล่า ๆ

    17. ท่านครูบาคำหล้าอาพาธ

    ปลายปีพ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เจริญอายุถึง 73 ปี 33 พรรษา นับตั้งแต่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีประชาชนได้ยกย่องสักการบูชาเป็นจำนวนมาก ท่านอยู่ในวัยชราแม้กิจนิมนต์นอกวัด ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ท่านก็จะไม่ไป ท่านครูบา ได้เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นธรรมดาของสังขารตามปกติ ถ้าไม่เจ็บป่วยมากท่านครูบา จะไม่ยอมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรคเก๊าที่เท้าของท่านนับว่าเป็นโรคที่คอยรบกวน ท่านครูบามาตลอด ซึ่งท่านก็พยายามรักษาเองมาโดยตลอดโดยการใช้ยาสมุนไพรบ้าง ยาแผนปัจจุบันบ้าง บางครั้งก็นั่งสมาธิบำบัดโรค ต่อมาท่านได้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบอีก ทำให้ท่านฉันอาหารได้น้อยลง ทำให้สุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง แม้จะพยายามรักษาโดยวิธีการต่าง ๆ ก็มีอาการพอทุเลาลงบ้างเท่านั้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ คณะญาติ และคณะศรัทธา จึงได้ขออาราธนาท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่ พอมีอาการทุเลาขึ้น ท่านครูบาก็ขอออกจากโรงพยาบาลลานนา เพื่อมารักษาโตอยู่ที่วัดพระธาตุขุนห้วยสวด ต่อมาไม่นานนักอาการป่วยของท่านก็กำเริบขึ้นอีก ฉันอาหารได้น้อยลง คณะศิษย์ และคณะศรัทธาที่เคารพก็นิมนต์ครูบา ไปพักรักษาตัวอยู่ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการก็ไม่ค่อยจะดีขึ้น ฉันอาหารไม่ค่อยได้สุขภาพร่างกายผอมลง ถึงกระนั้นครูบาก็ข่มเวทนาความรู้สึกเจ็บป่วยได้ แสดงว่าด้านพลังจิตของท่านเข้มแข็งมาก อาการป่วยของท่านทรุดลงเรื่อย ๆ ย่างน่าวิตก จนท่านเอ่ยปากพูดว่าป่วยครั้งนี้คงจะเอาไม่อยู่นะ

    18. ชีวิตครูบาคำหล้า ตอนอวสาน วันมหาวิปโยคของชาวพุทธ

    เมื่อเวลาเช้าของวันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06 : 59 น. ท่านครูบาคำหล้า สํวโรก็สิ้นลมปาณได้ถึงกาลมรณภาพ ละสังขารจากพวกเราผู้เป็นพุทธบริษัท ไปด้วยอาการอันสงบ แผ่นดินแห่งพุทธธรรม ได้สูญเสียพระมหาเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ผู้มีปฏิปทาและศิลาจารวัตรอันงดงามหาที่ตำหนิไม่ได้ ปฏิบัติตนเคร่งครัดด้านพระธรรมวินัย มีความมักน้อยสันโดษ มีเมตตาธรรมพรหมวิหารอันล้ำเลิศ เป็นมนุษย์ทรัพยากรบุคคลอันล้ำค่า ที่ไสวสว่างอยู่ในท่ามกลางดวงใจของบรรดาชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ท่านเป็นพระนักปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระ อธิษฐาน ฉันแต่มังสวิรัติวันละมื้อเดียวตั้งแต่อุปสมบทมาตลอดชีวิต และทำความดีมาโดยมิได้มุ่งหวังสมณฐานันดรศักดิ์ใด ๆ เลย เล่ากันว่าในวันที่ครูบาคำหล้าได้มรณภาพ ณ สำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุขุนห้วยสวด พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต่างกล่าวยืนยันกันว่า ก่อนเที่ยงของวันนั้น บริเวณวัด ซึ่งใกล้กับขุนเขาห้วยขุนสวดมีเสียงสั่นคล้ายแผ่นดินไหว ต่างก็มีอาการสะดุ้งตกใจ มองไปทางอากาศก็เห็นท้องฟ้ามืดคลึ้มคล้ายจะมีฝนตกหนักทั้งวัน แต่ก็ไม่มีฝนตกลงมาเลย สร้างความแปลกใจยิ่งนัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก

    หลวงพ่อครูบาคำหล้า สํวโร ได้ถึงกาลมรณภาพเมื่องวันที่ 8 เดือน มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06.59 น.ได้อาราธนาศพของท่าน ไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดเชตุพน (วัดสันโค้งน้อย) เชียงราย จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 เพื่ออนุวัตรตามคำสั่งของท่าน ก่อนจะมรณภาพ เคยสั่งการไว้ว่าท่านมรณภาพที่ใดก็ตามขอให้นำศพท่านไปเผาที่ห้วยขุนสวด เพราะเป็นสถานที่ครูบาได้เลือกไปอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติธรรม เป็นแห่งสุดท้ายในวัยชราของท่าน ดังนั้นท่านคณะสงฆ์ อันมีท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงรายพร้อมทั้งพระเถระนุเถระทั้งหลาย ฝ่ายฆราวาสอันมีคณะศรัทธาประชาชนผู้ที่มีความเคารพเลื่อมใสในท่านครูบาจึงได้ขออาราธนาศพของท่านเคลื่อนย้ายไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดขุนห้วยสวด ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เคลื่อนออกจากวัดพระฌชตุพน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ผ่านไปตามถนนสายเชียงราย เชียงคำ จนถึงวัดห้วยขุนสวด ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร โดยออกจากเชียงราย เมื่อเวลา 12.00น. ได้ไปถึงวัดขุนห้วยสวด เวลา 22.00 น. ของวันเดียวกันใช้เวลานานราว 10 ชั่งโมง นับว่าเป็นการเคลื่อนศพที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ที่ไม่เคยพบเคยเห็นที่ใหนมาก่อนเพราะตลอด 2 ฟากทางนั้น จะมีคณะประชาชนที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวครูบาจะถือข้าวตอกดอกไม้มาโปรยมากราบไหว้บูชา สักการะ และร่วมบริจาคเงินทองกำลังศรัทธาทำให้ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาต้องเคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เมื่อถึงอำเภอเชียงคำ ณ ที่นั่น นายทองคำ เขื่อนทา ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พ่อค้าประชาชนหลายหมู่บ้าน ชาวเขาหลายเผ่าและคณะสงฆ์อำเภอเชียงคำ ตลอดถึงผู้ที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้มาคอยต้อนรับเพื่อเคารพศพท่านครูบา มีการนำเอาตุงนับจำนวนหลายร้อยพร้อมทั้งมีขบวนกองเกียรติยศเดินนำหน้าขบวนศพของท่านครูบาไปจนถึงวัดพระธาตุขุนห้วยสวด เหตุการณ์ครั้งนั้นแสดงออกถึงความเคารพ ความเลื่อมใส ความกตัญญูที่ทุกคนได้แสดงออกให้ปรากฏสุดที่จะบรรยายได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2019
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4777

    เหรียญครูบาศรีวิชัย หน้าหนุ่มประคำเม็ด เนื้อทองแดง


    สำหรับยันต์ที่ปรากฏบนหลังเหรียญรุ่นนี้

    เป็นยันต์คล้ายกับผลน้ำเต้า จึงได้เรียกกันอีกนัยหนึ่งว่า “ยันต์น้ำเต้า”

    โดย ๒ ชั้นแรก ต้องอ่านรวมกันว่า “มิ(บนสุด) พุท ธะ สัง” แต่ความจริงต้องอ่านว่า “พุท ธะ สัง มิ” ซึ้งเป็นคาหัวใจยอดศีล

    ส่วนที่เป็นฐานหรือแถวแรก อ่านว่า “ปา อิ อา ปะ”(ศีลพระ)

    “ปา อิ อา ปะ” เป็นส่วนหนึ่งบทหนึ่ง ที่ปรากฏอยู่ในคาถา คาถาหัวใจ ๑๐๘ ใช้ได้สารพัดแล ทั้งทางอยู่คงทางเมตตาตามแต่จะปรารถนา

    #เหรียญยุคเก่ายอดนิยมของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย สภาพใช้ราคาเบาๆ


    บูชาแล้วครับ

    yt.jpg yy.jpg y.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2019
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    EW836692693TH ขอบพระคุณครับ
     
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4778

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอินโต. วัดบุญยืน ปี 2508 บล็อก 4 ขีด บล็อกหายาก


    เหรียญยอดนิยมเเห่งเมืองพะเยา

    ราคา2700 บาท สนใจสอบถามได้ครับ0861936900

    uj.jpg u.jpg yt.jpg Clip_8.jpg
     
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4779

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อขาน วัดบ้านเหล่า ปี 2524


    หลวงปู่ขาน ฐานวโร แห่งวัดวชิรทรงธรรมพัฒนา(วัดป่าบ้านเหล่า)(ดอยกู่แก้ว)ท้องที่เวียงเชียงรุ้ง เชียงราย นับเป็นพระสายอาจารย์มั่น ภูมิทัตโต และได้ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล และหลวงปู่จวน กุลเชษโฐ ถ้ำจันทร์หนองคาย จึงนับว่าเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นอย่างมาก


    ราคา 2250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    fgd.jpg jh.jpg xcz.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2019
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4780

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำเหมย วัดศรีดงเย็นปี 2519 นิยม

    ครูบาคำเหมย เป็นพระเกจิ ผู้ ทรงอภิญญา อาคม อีกรูปหนึ่ง ของ อ.ฝาง - ไชยปราการ ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น ชาวบ้าน ในตำบล และในอำเภอ นั้นต่างให้ความเคารพนับถือในบารมี ธรรม และ คุณงามความดีของท่าน ในการสร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เหรียญดังเเห่งเมืองฝางไยปราการ
    เป็นเหรียญประสบการณ์ ที่คนเมืองฝาง แม่อาย ไชยปราการ รู้ดีคับ เหรียญครูบาคำเหมยท่าน เด่นทางด้าน แคล้วคลาด ข่ามคง เมตตามหานิยม เอาชนิดที่ว่า แมลงวันไม่ได้กินเลือดเลยทีเดียวก็ว่าได้ครับ


    ราคา 3550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    jj.jpg ujo.jpg jjh.jpg uu.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2019
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4781

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง ปี 19 ออกปี 21


    สร้างโดยท่านผู้พัน เชวงศักดิ์ จารุจารีต สร้างจำนวน 3000 เหรียญ สร้างปี19 ออกแจกปี 21 หลวงปู่เมตตาปลุกเสก 3 ปี เต็มๆ
    ด้านหลัง เป็น พระคาถาบูชาท่านแม่ธรณี และคาถา หัวใจพระสิวะลี เป็นอักษรลานนาว่า เมกะมุอุ นะชาลิติ
    เมกะมุอุ พระคาถาบูชาท่านแม่ธรณี
    พระคาถาหัวใจพระแม่ธรณี นี้ใช้ได้สารพัดทุกประการ ใช้ทางเมตตาดีนัก จะเสกสีผึ้งทาปากก็ได้ เสกแป้งผัดหน้าก็ได้ ภาวนาไว้จะไม่มีใครทำอันตราย
    เมื่อใดเกิดเหตุร้าย ให้ตบดิน 3 ครั้ง
    แล้วเรียกพระแม่เจ้าธรณีช่วย “แม่จ๋าจงมาช่วยอุ้มชูลูกด้วยเถิด”แล้วตั้งจิตอธิษฐานตามความปรารถนา
    นะชาลิติ พระคาถาหัวใจพระสิวะลี
    เด่นทางด้านเมตตามหานิยมใช้ท่องตอน ติดต่อลูกค้า คุยกับผู้ใหญ่ ติดต่อการงาน
    จัดเป็นเหรียญสุดยอดประสบการณ์ของท่านหลวงปู่ครูบาอิน อินโท เหรียญยอดนิยม 1 ในอมตะเกจิแห่งดินแดนล้านนา


    ราคา 8600 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    เหรียญครูบาอิน 5.0 d.jpg เหรียญครูบาอิน 5.0 e.jpg เหรียญครูบาอิน 5.0 f.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2019
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4782

    เหรียญรวงข้าว หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก


    เหรียญรวงข้าวเป็นเหรียญรุ่นแรกของวัด สร้างโดยเงินส่วนตัวของหลวงพ่อเพื่อแจกและหาตายได้สร้างศาลาการเปรียญ มี 40,000 กว่าเหรียญ มี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ(เฉพาะรวงข้าวเล็ก) เงิน และทองแดง มี 3 โค๊ด คือ โค๊ดอุ,ขนมปังและตัวคล้าย ท(เป็นชุดที่แจกตอนสรงน้ำปี 38) กรรมการวัดที่อยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อบอกว่า รวงข้าวใหญ่สร้างเพื่อหารายได้สร้างศาลา รวงข้าวเล็กสร้างแจก...หลวงพ่อได้เก็บรวงข้าวใหญ่ส่วนหนึ่งไว้ใต้ฐานพระประธาน แล้วนำมาตอกโค๊ด ทแจกวันสรงน้ำหลวงพ่อปี 38 (พระชุดนี้เป็นพระที่สร้างปี 34 พร้อมกันกับโค๊ดขนมปังและโค๊ดอุ) เหตุผลที่ว่ารวงข้าวใหญ่สร้างน้อยดูที่องค์ในรูป...เหรียญรวงข้าวใหญ่เป็นเหรียญปั๊มที่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่ามีรอยปั๊มซ้ำโดยเห็นชัดจากใต้มือหลวงพ่อที่มีรอยอย่างชัดเจน ทำให้ในการปั๊มพระประมาณ 10000 กว่าเหรียญต้องกระแทกบล็อกประมาณมากกว่า 20000 ครั้ง ทำให้บล็อกชำรุดแตกที่ใต้คำว่า"พ่อ" เลยเปลี่ยนไปทำเหรียญรวงข้าวเล็กที่เป็นเหรียญฉีดซึ่งทำง่ายกว่า ค่าบล็อกถูกกว่าเหรียญปั๊ม...พอถึงตรงนี้ได้คำตอบว่าพระชุดที่แจกปี 38 ที่ใช้โค๊ด ท เป็นพระเสริมหรือเปล่า .... ถ้าเสริมต้องเป็นการปั๊มทีหลังและต้องเป็นบล็อกแตกเท่านั้น...องค์ในรูปเป็นบล็อกธรรมดาที่สร้างพร้อมกันกับเหรียญอื่น....ส่วนตัวผมว่ารุ่นแจกปี 38 ดีมากหลวงพ่อปลุกเสกต่ออีก 4 ปี


    เหรียญดีน่าใช้ ราคา 550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    เหรียญลพ.ยิด 150 a.jpg เหรียญลพ.ยิด 150 b.jpg เหรียญลพ.ยิด 150 c.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2019
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4783

    หรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณีปี 11 เนื้อทองแด


    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ท่านนับเป็นพระเกจิที่เป็นที่นับถือของชาวแม่กลองโดยแท้ อีกทั้งยังเป็นหลานของหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อมอีกด้วย เหรียญรุ่นแรกนี้คาดว่าสร้างประมาณ 1 หมื่นเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงไข่ มีรูปหลวงพ่อเนื่องห่มจีวรลดไหล่ครึ่งองค์ รอบขอบเหรียญด้านบนไหล่ปรากฎตัวอักษรโดยรอบ ด้านหลังบรรจุ " ยันต์ห้า" นะ โม พุท ธา ยะ ด้านบนสุดของยันต์ห้า ประกอบด้วยตัว "อุ" ชักยอด 3 ตัว ด้านบนมีอักษรคำว่า "ลาภผลพูนทวี" บ่งบอกถึงคุณลักษณะของเหรียญนี้ได้เป็นอย่างดี จัดเป็นหนึ่งในเหรียญสวยงาม ส


    เหรียญยอดนิยม น่าใช้ สภาพใช้ราคาเบาๆ

    ราคา 1250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_3.jpg Clip_4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2019
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 4784

    เหรียญนเรศวรตองโข่ รุ่น2


    เจ้ายอดศึกหัวหน้ากำลังไทใหญ่สร้างเพื่อเเจกทหารไทยใหญ่เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการกอบกู่ประเทศรัสฉาน ถือว่าเป็นรุ่น 2 ราคายังไม่แพง พระมีอนาคตใช้เเทนเหรียญรุ่น 1ได้เลยครับ

    ราคา 1250 บาท สนใจเชิญได้เลยครับ 086-1936900

    Clip_30.jpg Clip_31.jpg Clip_32.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...