**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8606

    ตะกรุดแคล้วคลาดรุ่น 1 ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาห้วยต้ม




    ท่านเป็นพระนักพัฒนา บำเพ็ญบุญ สร้างบารมีตามแบบอย่างครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน

    ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างทางขึ้นพระธาตุ ดอยสุเทพ กับพระครูบาเจ้าศรีวิชัย

    และท่าน ได้สร้าง ศาสนสถาน วัดวาอาราม โรงเรียน ถนนหนทาง ไว้มากมาย หลายที่

    พระอริยะเจ้าผู้นำทางจิตวิญญาณ นำพาชาวกะเหรี่ยง มานับถือศีล กินเจ กันทั้งหมู่บ้าน
    สมกับ ผู้เปรียบดั่งเป็นเทพเจ้ามหาโพธิสัตว์ แห่งชาวกะเหรี่ยง


    #ตะกรุดรุ่นแรกและรุ่นเดียว ของหลวงปู๋ครูบาชัยวงค์ ที่ทางวัดได้จัดสรา้งออกให้บูชา


    #พุทธคุณ ให้แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวงทุกประการ ครับ

    #ตัวจริงเสียงจริงหายากมาก

    ราคา2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    hjgjg.jpg hf.jpg pl.jpg Clip_6.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8607

    เหรียญรุ่น 2หลวงพ่อทรัพย์ วัดปลักแรด จ.พิษณุโลก กะไหล่ทองเดิมๆ

    หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา" วัดปลักแรต เป็นพระเกจิอาจารย์ดังขมังเวท สำคัญรูปหนึ่งของอำเภอบางระกำ และจังหวัดพิษณุโลก ที่จัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลยอดนิยมของสกุลพระเครื่องพระเกจิอาจารย์พิษณุโลก อันได้แก่ รูปหล่อโบราณ และเหรียญรูปเหมือน เป็นที่นิยมแสวงหากันมากในหลักแสน

    เนื่องจากวัตถุมงคลมีพุทธคุณสูงส่ง พุทธศิลป์งดงามแบบด้วยภูมิปัญญาช่างหล่อโบราณและสุดยอดฝีมือประติมากรในการแกะพิมพ์เหรียญไทยในยุคนั้นและมีของปลอมออกระบาดมายาวนาน จึงควรค่าแห่งการศึกษาอัตตชีวประวัติและพระเครื่องของท่านเป็นยิ่งนัก

    กล่าวสำหรับ "อำเภอบางระกำ" จังหวัดพิษณุโลก หรืออำเภอชุมแสงสงคราม เดิมเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำ มีแม่น้ำยมไหลผ่าน ยังความอุดมสมบูรณ์แห่งวิถีชีวิตชาวบางระกำมาแต่อดีต รวมทั้งยังปรากฏพบหลักฐานร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมมนุษย์ยุคก่อนประวัติ ศาสตร์ อาทิ การขุดพบขวานหินขัด หรือขวานฟ้า ยุคหินใหม่ และเครื่องประดับหิน อาทิ กำไลหิน และภาชนะเครื่องปั้นดินเผาแบบหยาบๆ และแบบมีลวดลายหยาบๆ ที่ฝังรวมไว้กับ "โครงกระดูกมนุษย์ยุคโบราณ" เป็นจำนวนมาก

    คาดว่าน่าจะเป็นสุสานโบราณมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กระจายไปทั่ว บริเวณ "วัดหนองตะเคียน" ต.หนองกุลา อ.บางระกำ และพื้นที่ใกล้เคียง บ่งบอกถึงวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบางระกำ สั่งสมสืบต่อกันมายาวนานจวบจนปัจจุบัน

    อำเภอบางระกำ เป็นต้นกำเนิด สกุลพระกรุเมืองพิษณุโลกพิมพ์หนึ่งที่หาได้ยากยิ่งและมีพุทธคุณสูงเป็นยิ่งนัก คือ "พระพิมพ์ยอดขุนพล" กรุชุมแสงสงคราม หรือบางครั้งนิยมเรียกว่า "พระพิมพ์ขุนไกร" เนื้อชินสนิมแดง พบที่ชุมชนโบราณชุมแสงสงคราม บริเวณปากคลองที่แม่น้ำยมกับคลองบางแก้วมาบรรจบกัน เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชาชนตั้งหลักแหล่งอยู่หนาแน่นมาแต่โบราณ เป็นชุมชนโบราณเก่าของเมืองพิษณุโลกอีกแห่งหนึ่ง เป็นศูนย์กลางความเจริญทางน้ำ การค้าขาย เป็นแหล่งผลิตข้าวและอาชีพสำคัญคือ จับสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาซึ่งมีอยู่อย่างชุกชุมมากที่สุดในพิษณุโลกเป็นยิ่งนัก ยิ่งในฤดูน้ำหลากจึงมีชื่อเรื่อง น้ำปลาปลาสร้อย และปลาร้า เป็นต้น

    ซ้าย-โครงกระดูกมนุษย์ยุคเก่าพบที่บางระกำ

    ขวา-ตะกรุดหลวงพ่อทรัพย์

    นิยมเรียกกันว่า "ปากคลอง"

    ปรากฏมีซากแนวคันดินยาวขนานกับแม่น้ำยม และคลองบางแก้ว สันนิษฐานว่า เป็นร่องคันคูกำแพงเมืองโบราณ ภายหลังถูกไถทำลายกลายเป็นคันนาไปหมด มีเส้นทางโบราณเชื่อมไปสุโขทัย มีคติชนวิทยา มุขปาฐะ กล่าวว่า

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จยาตราทัพผ่าน ในครั้นไปพระเจ้า หงสาวดีคิดอุบายให้ไปช่วยปราบอังวะที่แข็งเมือง ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ความสำคัญตอนหนึ่งว่า "...เมื่อวันอาทิตย์ แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล (พ.ศ.2126) เพลา 11 ทุ่ม กอรปด้วยเพชรกฤษ์ เสด็จทรงพระคชาธารพร้อมพยุหแสนยากร 100,000 ช้างเครื่อง 800 ม้า 1,500 ออกจากเมืองพระพิษณุโลก ทางประตูไชยแสน ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์เสด็จแต่บูรพาทิศผ่านพระคชาธารไปโดยประจิมทิศเท่าผลมะพร้าวปอกแล้ว ไปถึงตำบลวัดยม ท้ายเมืองเมืองกำแพงเพชร บังเกิดพายุฝนตกห่าใหญ่ พสุธาไหวเป็นมหัศจรรย์ ทรงตั้งประทับแรม อยู่ตำบลหนองปลิง 3 ราตรี แล้วยกไปโดยทางเชียงทอง (ตาก) จึงเคลื่อนทัพผ่านไปทางเชียงทอง (ตาก) จนไปถึงเมืองแครง เมื่อทราบจากพระยาเกียรติ พระยารามว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดไม่ซื่อจะทำภยันตรายแก่พระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปีพ.ศ.2127

    "ชุมแสง" เป็นชุมชนโบราณ เป็นแหล่งผลิตรวบรวมอาวุธ ยุทธภัณฑ์ ตลอดจน เสบียงอาหารต่างๆ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะ ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ ชุกชุมมาก จะแวะทัพมาพักเมื่อผ่านที่นี้ จึงเรียกขานกันว่า

    "ชุมแสงสงคราม" เดิมเคยเป็นที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชุมแสงสงคราม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2449 โดยมี "ขุนเผด็จประชาดุลย์" เป็นนายอำเภอคนแรก

    ต่อมาการคมนาคม ติดต่อ การเดินยากลำบาก ประสบอุทกภัยน้ำยมหลากบ่อย จึงย้ายไปตั้งที่ ตำบลบางระกำ ซึ่งมี ต้นระกำ ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ย แบบต้นมะยม มีหนามทั่วไปที่ลำต้นเนื้อไม้แข็งขึ้นพื้นที่ชื้นแฉะน้ำท่วงขัง นิยมตัดมาเผาถ่าน คนละประเภทกับต้นระกำที่ขึ้นตามพื้นที่ใกล้ชายทะเล ลูกสีแดงๆ ขึ้นอยู่มากจนเป็นภูมินามของย่านนี้ และเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบางระกำ


    ราคา 5500 บาท สนใจสอบถามได้ครัยบ 0861936900




    tyt.jpg ui.jpg wqq.jpg


    "หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา" วัดปลักแรต อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ โยมบิดาชื่อนายแจ้ง โยมมารดาชื่อนางอินทร์ "ทองเหนือเนตร" ที่บ้านกำแพงดิน อ.ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๕ คน ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยมาตั้งแต่เยาว์วัย
    ครั้นอายุได้ ๒๐ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมา (วัดพลับรัตนราชบำรุงธรรม) หรือนิยมเรียกว่า วัดพลับ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสร้างมานับแต่ปี พ.ศ.๒๑๗๓ ซึ่งภายหลังโอนไปขึ้นกับตำบลกำแพงดิน ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดกำแพงดิน และโอนไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน
    โดยมี "พระครูชุมแสงสงครามเขต" (อู๋) เจ้าคณะแขวงชุมแสงสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ (พระปลัดดิษฐ์) เป็นพระกรรมวาจารย์ (พระสมุห์สว่าง) เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "พรหมปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ดุจพรหม หรือผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ภายหลังนิยมเขียนฉายาหลวงพ่อเป็นภาษาไทยว่า "พรหมปัญญา"
    "หลวงพ่อทรัพย์" วัดปลักแรด ท่านเป็นพระสหธรรมิก กับ (หลวงพ่อกลับ) วัดลานกระบือ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ท่านไปเรียนอาคม กับ (พระอาจารย์เทศ จันทสร) พระเถราจารย์ผู้เรืองอาคม แห่งสำนัก วัดสนามคลีตะวันตก ริมแม่น้ำน่าน จ.พิษณุโลก
    (หลวงปู่เทศ จันทสร) องค์นี้ ท่านเป็นพระที่สมถะ สันโดษ ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ จากคณะสงฆ์ที่ถวายให้ แม้ตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะหมวด (ตำบล) ท่านก็ไม่ปรารถนา ท่านชอบเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิจในกุฎีีลำพังองค์เดียว แม้ในงานวัดมีการจุดพลุเสียงดังสนั่นลั่นวัดไปหมด ท่านก็ยังคงนั่งสมาธินิ่งไม่หวั่นไหวด้วยสมาธิจิตอันสูงยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาจิตสูง จึงมีนกและสัตว์ป่ามาอาศัยอยู่ที่รอบกุฎีท่านเป็นจำนวนมาก คนรุ่นเก่าเล่าว่า ท่านรู้ภาษาสัตว์
    มีครั้งหนึ่งพวกล่องซุงจากอุตรดิตถ์มาจอดพักที่หน้าวัดประจำ ได้ขึ้นไปยิงนกที่ป่าข้างกุฎีท่าน แต่ยิงไม่ออก ท่านให้คนไปเตือนก็ไม่เชื่อในที่สุดปืนแตก ต้องมาขอขมาท่าน หลวงปู่เทศจึงเป็นที่เคารพของชาวบ้านย่านนั้นและใกล้เคียงเป็นยิ่งนัก โด่งดังในด้านเครื่องรางของขลัง อาทิ (ผ้าประเจียด เบี้ยแก้ ลูกอม ตะกรุดทองแดง และตะกรุดกระดูกแร้ง) เป็นที่หวงแหนของชาวบ้านเป็นยิ่งนักและพบเห็นหรือหาชมได้ยากยิ่ง
    (หลวงพ่อทรัพย์) ท่านเป็นพระที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เรียบง่าย สมถะ สันโดษ ไม่สะสมหรือยินดีในเอกลาภ หลวงพ่อเป็นพระพูดน้อย ขณะพูดไม่ชอบมองหน้าใคร ท่านจะนั่งมองเพดานตลอดเวลา หลวงพ่อชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิจ
    วัตถุมงคหลวงพ่อทรัพย์ ยุคแรกๆ คือ ตะกรุด ขนาดต่างๆ คือ ตะกรุดโทน ขนาด ๕ นิ้ว ตะกรุดพวง (คู่) และตะกรุดสาลิกาขนาดเล็ก จารมือทุกดอก ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อทรัพย์ ได้สั่งให้กำนันแล เที่ยงตรง ศิษย์ผู้รับใช้ใกล้ชิด ไปหาช่างจัดสร้างคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปหล่อโบราณรุ่นแรกขึ้นถวายด้วยช่างฝีมือดีจาก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร เป็นช่างหล่อ หล่อด้วยโลหะทองเหลือง หรือทองผสมเสร็จ แล้วนำมาให้หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยว จนเป็นที่พอใจจึงนำออกแจกและให้คณะศิษย์บูชา
    รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อทรัพย์ รุ่นแรก เป็นพิมพ์สมาธิ พาดสังฆาฏิ รัดอกบนฐานเขียง มีเส้นขอบฐาน ๒ ชั้น ใต้ฐานเป็นยันต์ตัวอุณาโลม อันหมายถึงพระนิพพานสุดยอดแห่งบรมธรรมอันเป็นจุดหมายปลายทางในพระพุทธศาสนา เป็นตัวนูน หล่อในพิมพ์ จึงนิยมเรียกว่า พิมพ์ อุนูน สร้างประมาณ ๔๕๐ องค์ มีประสบการณ์แคล้วคลาด และเมตตา ค้าขาย รุ่งเรือง สมมงคลนาม คำว่า ทรัพย์ จึงเป็นที่นิยมแสวงหากันมาก
    ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา อายุวัฒนมงคล ครบ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมใจกันสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงถวายไว้ประจำวัด ปัจจุบันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป บนบานศาลกล่าวได้สำเร็จสมปรารถนา มีการแก้บนและถวายพวงมาลัยดอกไม้สด รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเป็นประจำทุกวันเป็นจำนวนมาก ในพิธีเททอง ที่วัดปลักแรตครั้งนั้นหลวงพ่อทรัพย์ได้มีเมตตาอนุญาตให้จัดสร้าง รูปหล่อขนาดบูชา ๗ นิ้ว จำนวน ๔ องค์ และ รูปหล่อพิมพ์แม่โพสพ จำนวน ๖ องค์ ด้วยเนื้อโลหะสำริด
    ปัจจุบันเป็นที่หวงแหนของผู้มีไว้สักการบูชาเป็นยิ่งนักจึงแสวงหาได้ยากยิ่ง ราคาจึงพุ่งไปสู่หลักแสนต้นๆ ในส่วนเนื้อทองผสมที่เหลือจากการหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงในครั้งนั้น ได้นำมาหล่อเป็นรูปหล่อคล้องคอ เพื่อหารายได้สร้างศาลาการเปรียญและปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดปลักแรต วัตถุมงคล (หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา) มีพุทธคุณสูงมาก และประสบการณ์สูงยิ่ง จึงทำให้เป็นที่หวงแหนของชาวจังหวัดพิษณุโลกยิ่ง
    หลวงพ่อทรัพย์ ท่านถึงแก่มรณะภาพลง เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ ด้วยอาการสงบ สิริอายุ ๘๘ ปี ๖๗ พรรษา
    เรียบเรียง : พระเกจิ แดนสยาม
    ที่มา : krusiam.com
    https://www.facebook.com/prakejidansiam/
    #ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
    #พระอริยสงฆ์บางท่านในอดีตกาลเราอาจไม่ทราบประวัติท่าน
    #เพจนี้สร้างขึ้นเพื่อศึกษาและเผยแพร่บารมีของท่านเท่านั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8608

    เหรียญครูบาวัง วัดบ้านเด่น ปี 13 กะไหล่ทองเดิมๆ


    หลวงพ่อครูบาวังวัดบ้านเด่นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหาเสน่ห์โดยเฉพาะผู้ที่เป็นลูกน้องแล้วอยากให้เจ้านายรักใคร่หรือเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานหากใครโดนเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเขม่นอยู่ขอบอกว่าโดนครับท่านบูชาท่านจะได้ประจักษ์จากศัตรูจะกลายเป็นมิตรในไม่ช้า ด้านคงกระพันก็มีให้เห็นมาแล้ว,พุทธคุณมีผู้ใช้แล้วพบเจอประสบการณ์ต่างๆมากมาย
    เหรียญยอดนิยมของท่านครูบาวัง เหรียญดังยอดนิยมเป็นอย่างมากในท้องถิ่นจังหวัดตากครับ


    ราคา 1350 บาท สนใจสอบถามได้ครับ

    จองแล้วครับ


    qw[.jpg p[[.jpg p].jpg Clip_5.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8609

    เหรียญเสมาครูบาวัง วัดบ้านเด่น ปี 08


    หลวงพ่อครูบาวังวัดบ้านเด่นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหาเสน่ห์โดยเฉพาะผู้ที่เป็นลูกน้องแล้วอยากให้เจ้านายรักใคร่หรือเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานหากใครโดนเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเขม่นอยู่ขอบอกว่าโดนครับท่านบูชาท่านจะได้ประจักษ์จากศัตรูจะกลายเป็นมิตรในไม่ช้า ด้านคงกระพันก็มีให้เห็นมาแล้ว,พุทธคุณมีผู้ใช้แล้วพบเจอประสบการณ์ต่างๆมากมาย
    เหรียญยอดนิยมของท่านครูบาวัง เหรียญดังยอดนิยมเป็นอย่างมากในท้องถิ่นจังหวัดตาก...ครับ
    เหรียญเล้กน่าใช้ครับ

    ราคา 850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ


    IMG_9377.JPG IMG_9378.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340

    รายการที่ 8610

    พระเนื้อดินหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว พิมพ์ขี่สิงห์ อุดผงเดิมๆ

    ในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผา ชุดพระเจ้าห้าพระองค์ พระกำแพงศอกเนื้อดิน พระพิมพ์บ้านกร่างคู่เนื้อดิน ชุดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นรูปพระพุทธทรงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงโค พิมพ์ทรงสิงห์ พิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงไก่ พิมพ์ทรงพญานาค เป็นต้น หลวงพ่อโบ้ย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 เป็นชาวบ้านสามหมื่น ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่ออุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี ที่วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี หลังจากนั้นก็จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว 3 พรรษา ก็เดินทางไปศึกษาด้านพระธรรมวินัยและอักขระขอม ที่วัดชีปะขาว หรือ วัดศรีสุดาราม จากนั้นจึงได้ไปศึกษา ด้านวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมรินทร์โฆษิตาราม เป็นเวลา 8-9 ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวในปี พ.ศ.2466 หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง อ.บางปลาม้า ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน อยู่ที่วัดอู่ทองได้ 1 พรรษา จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระที่ถือสมถะ สันโดษ มักน้อย ไม่สะสมทรัพย์ใดๆ วัตรปฏิบัติประจำของท่านคือจะตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวัน ทำวัตรสวดมนต์จนรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาถึงวัดท่านจะนิมนต์พระทุกรูปในวัดยืนเข้าแถว แล้วจะตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป เป็นเช่นนี้ประจำทุกวัน หลวงพ่อโบ้ยจะจำวัดพักผ่อนเพียงวันละ 2-3 ช.ม. หลวงพ่อโบ้ยเริ่มสร้างพระประมาณปี พ.ศ.2473 เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้นำโลหะต่างๆ มาถวาย เช่น ทองเหลือง ขันลงหิน ช้อนทัพพี เชี่ยนหมากเป็นต้น หลวงพ่อโบ้ยจะหล่อพระในตอนกลางคืนโดยมีชาวบ้าน พระ เณรมาช่วยกันทำ พระเนื้อโลหะผสมของท่านส่วนใหญ่ต้นแบบจะเป็นพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์ในยุคเก่านำมาถอดพิมพ์ ในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผา ชุดพระเจ้าห้าพระองค์ พระกำแพงศอกเนื้อดิน พระพิมพ์บ้านกร่างคู่เนื้อดิน ชุดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นรูปพระพุทธทรงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงโค พิมพ์ทรงสิงห์ พิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงไก่ พิมพ์ทรงพญานาค เป็นต้น ปี พ.ศ.2500 สร้างพระรูปเหมือนเนื้อดิน เนื้อผงธูป และเนื้อชานหมาก ปี พ.ศ.2505 สร้างเหรียญแปดเหลี่ยม และเหรียญกลมนั่งเต็มองค์ เพื่อแจกในงานฉลองผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ย มรณภาพเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2508 สิริอายุได้ 73 ปี 52 พรรษา พระเครื่องเนื้อโลหะผสมของหลวงพ่อโบ้ยปัจจุบัน บางพิมพ์มีสนนราคาสูงมาก และค่อนข้างหายากแล้วครับ แต่พระเนื้อดินเผายังพอหาได้ไม่ยากนัก เนื่องจากในสมัยก่อนคนต่างถิ่นไม่ทราบว่าเป็นพระของหลวงพ่อโบ้ย ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงโค มาให้ชมกันครับ น่าใช้มากๆครับ

    บูชาแล้วครับ

    i][.jpg ik.jpg o[.jpg ew.jpg
    c_oc=AQk2Kr_js4WE4CKMsHkmve2Z6yTGfXEex6xWG4MB9L4mtWUNSspPVnwGIHO5dd1bI5Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340

    รายการที่ 8611


    เหรียญครูบาอินตา วัดห้วยไซ รุ่นสร้าง รพ เนื้อเงิน ปี 39 สวยเดิมๆ


    "หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"
    พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)
    วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
    อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิ ญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”
    หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอด ถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ
    พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
    สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือ
    หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ
    เหรียญสุดยอดประสบการณ์ของเมืองลำพูน เนื้อเงินสร้างน้อย หายากมากสวยแชมป์ครับ

    ราคา 4999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    uj.jpg fds.jpg re.jpg Clip_7.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8612

    ปิดตารุ่นแรกพระครูถาวรศีลคุณ (ครูบาอินตา ธนกฺขนฺโธ) วัดวังทอง

    หลังฝังตะกรุด4ดอก ผงดอกไม้บูชาพระ ด้านหน้าติดตะกรุดครูบาวัดปากกอง 1 ใน 20 องค์

    หายากมาก


    บูชาแล้วครับ

    พระปิดตาครูบาอินตา วัดวังทอง 1 a.jpg พระปิดตาครูบาอินตา วัดวังทอง 1 b.jpg พระปิดตาครูบาอินตา วัดวังทอง 1 c.jpg พระปิดตาครูบาอินตา วัดวังทอง 1 d.jpg พระปิดตาครูบาอินตา วัดวังทอง 1 e.jpg Clip_9.jpg

    ครูบาอินตา เกิดวันเสาร์ แรม 10 ค่ำเดือน 2 ตรงกับวันที่ 12 มกราคม 2453 ปีจอ (ปีเส็ด ) ซึ่งอยู่ในช่วง แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    ครูบาอินตา เกิดที่ บ้านเหมืองง่า ม.2 ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน โยมพ่อชื่อนายตา โยมแม่ชื่อนางบัวแก้ว นามสกุล ธนาขันธรรม ท่านเป็นหลานท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล (ครูบาปวน อภิชโย ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน รูปที่ 4 อดีตเจ้าคณะแขวงลี้ อดีตเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า อยู่ในครอบครัวชาวนา ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาชีพที่มีฐานะยากจน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 5 คน พระเดชพระคุณเป็นคนสุดท้อง และมีน้องบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดาอีก 5 คน
    ขะโยมวัดเหมืองง่า
    ครูบาเมื่อเป็นเด็กชาย อินตา ธนาขันธรรม อายุ 7 ขวบ (พ.ศ. 2460) โยมพ่อแม่นำมาฝากกับครูบาปวน อภิชโย ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะแขวงชั้นเอกราชทินนามที่พระครูมหาศีลวงค์
    ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองลำพูนเจ้าอาวาสเหมืองง่า ครูบาฯ ได้เป็นเด็กวัดและได้เรียนหนังสือครั้งแรกกับครูบาปวน และได้เรียนหนังสือพื้นเมือง(ภาษาล้านนา) ในสมัยนั้น
    ที่โรงเรียนวัดเหมืองง่า ซึ่งเป็นโรงเรียนแรก ในตำบลเหมืองง่า ในจบชั้นประถมปีที่ 4 พ.ศ. 2464
    ระหว่างเป็นเด็กวัดและบวชเป็นสามเณรอยู่นั้น ครูบาฯ ได้เรียนคาถาและวิทยาคมจากครูบาปวน เล่ากันว่าเป็นผู้ที่ถือของคลังและวิทยาคมเป็นอย่างมาก
    พ่อเจ้าเหนือหัวพลตรี มหาอำมาตย์โทเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหอคำเมืองนครลำพูน ถึงกับมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษ
    ซึ่งพระสงฆ์ที่เจ้าเหนือหัวทรงให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษมีอยู่ 4 รูป ด้วยกันคือ
    1. ครูบาธรรมชัย ธัมมัมชโย วัดประตูป่า ต.ประตูป่า อ.เมือง ลำพูน
    2. ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ ลำพูน
    3. พระญาณมงคล (ครูบาปวน อภิชโย) วัดเหมืองง่า ต.เหมืองง่า อ.เมืองลำพูน
    4. ครูบาติกขะปัญโญ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    ครูบาติกขะรูปนี้ ถูกบังคับให้สละสมณเพศ หลังจากหลวงจักรคำฯ ถึงแก่พิราลัย และครูบายังได้เรียนคาถาวิทยาคม ยังได้สืบทอดวิถีการสะเดาะเคราะห์
    และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย ได้ 3 ปี ได้กราบลาครูบาศรีวิชัยเดินทางกลับวัดเหมืองง่า เพื่อที่จะเข้าพิธีญัตติจตุถกรรมวาจาเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2474
    ในครั้งนั้น ครูบาปวน รักษาการเจ้าคณะนครลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสุดใจ ญาณวุฒิ วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระกรรมวาจารย์
    พระครูสมุห์จรูญ วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า ธนักขันโธ
    ครูบาติกขะ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังทอง เจ้าจักรคำฯ ให้ความนับถือศรัทธาเป็นพิเศษ หลังจากเจ้าจักรคำถึงแก่พิราลัย พ.ศ. 2584
    พระครูบาติกขะเป็นพระผู้ที่เข้มงวด ในเรื่องการปฏิบัติและเป็นผู้ที่ถือของขลัง ในครั้งนั้นได้มีชาวบ้าน ไปแจ้งพ่อแคว่น (กำนัน) ว่าครูบาติกขะได้ฆ่าวัวของชาวบ้านว่ามากินหญ้าหน้าวัด
    เพราะวัวของ ชาวบ้านได้มาทำความเสียหายแก่วัดวังทอง ครูบาติกขะได้ถือก้อนหินเท่าลูกกำปั้นปาถูกกะโหลกหัวของวัวเสียชีวิต กำนันในสมัยนั้นได้มาสอบสวนหาสาเหตุท่านไม่ยอมพูด
    กำนันได้ใช้กำลังชกต่อยครูบาติกขะ ท่านไม่ได้ตอบโต้แต่พอตอนกลางคืนกำลังพักผ่อน ได้ล้มพับลงกับที่แล้วมีเลือดไหลออกปาก จมูก จนเสียชีวิตกับที่สร้างความแปลกใจให้แก่ลูกบ้าน ครอบครัว เป็นอย่างยิ่ง
    ทำให้ทุกคนสงสัยว่า ครูบาติกขะเป็นผู้ที่ให้กำนันเสียชีวิต เพราะเชื่อในวิทยาคมของครูบาติกขะ ซึ่งชาวล้านนาเรียกพิธีนี้ว่า "การตู้ของใส่ของ" สาเหตุอย่างถึงที่ ครูบาติกขะถูกบังคับให้สละสมณเพศ
    เพราะว่าครูบาติกขะเป็นผู้ไม่เกรงกลัวอำนาจการปกครอง ทำให้คณะกรรมการและคณะสงฆ์ยำเกรง จนทำให้คณะสงฆ์ชั้นปกครองไม่สามารถทำงานได้สะดวกเพราะเกรง ในวิทยาคมของครูบาติกขะ
    ครูบาอินตา มรณะภาพแล้วฟื้น
    เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ครูบาอินตาได้อาพาธหนัก และเข้ารักษาที่ รพ.ลำพูน จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 อาการยังไม่ดีขึ้นและทรุดหนักจนไม่รู้สึกตัว
    แพทย์จึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์ได้นำครูบาอินตาเข้าห้อง ไอซียู และไม่รู้สึกตัวถึง 8 วัน พอถึงวันที่ 7 มีนาคม 2532 แพทย์ได้มาแจ้งว่าครูบาอินตามรณภาพแล้ว
    ทำให้ลูกศิษย์ ต่างเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก ขณะที่แพทย์จะฉีดยาศพ ปรากฏว่า เข็มฉีดยากับแทงไม่เข้าและได้หักงอ แพทย์จึงตัดสินใจไม่ฉีดยาศพ และเมื่อจะอาราธนาศพขึ้นรถ
    เพื่อไปส่ง ณ วัดวังทอง ครูบาอินตา ก็รู้สึกตัวและเหนื่อยหอบ สร้างความตกในแก่แพทย์ และได้นำครูบาอินตาเข้าห้อง ไอซียู และรักษาจนหายปกติ
    ชื่อเสียงของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านเป็นหนึ่งในผู้ปลุกเสกเหรียญกู่ช้างอันโด่งดังของ จ.ลำพูน รวมถึงคาถา มหาเสน่ห์ มหานิยม พุทธคุณดีด้านเมตตามหาเสน่ห์ มหานิยมโชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขายร่ำรวย ด้านคงกระพันนั้น นอกจากนั้นในอดีต หลวงปู่ครูบาอินตา เป็นผู้หนึ่งที่ “มรณภาพแล้วฟื้น”
    มีเรื่องเล่าว่า เวลาจำวัดท่านจะจำวัดที่ระเบียงกุฏิท่าน ท่านจะไม่เข้านอนภายในแม้จะฝนตก แดดออก หรือ อากาศหนาวเย็นเพียงใดก็ตามกุฏิท่านจะเต็มไปด้วยข้าวสาร และข้าวสุก ที่ท่านโปรยให้บรรดานกต่าง ๆ ภายในวัดได้อาศัยจิกกิน ซึ่งแสดงถึงความเมตตาของท่านอีกทั้ง ท่านไม่ถือยศศักดิ์ ลูกศิษย์ลูกหาเข้าพบได้ตลอด หากท่านไม่ติดกิจนิมนต์ไปนอกวัด และใครไปหาท่าน ๆ มักบอกคาถา จ่ายมบาล ป้องกันเคาระห์อันตรายต่าง ๆ ท่านบอกว่าจ่ายมบาลให้มาตอนมรณภาพแล้วฟื้น คาถาว่าดังนี้ครับ “สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ มะอะอุ พุทโธเน้อ ธัมโมเน้อ สังโฆเน้อ” หลวงปู่ครูบาอินตา มรณะภาพลงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 สิริอายุ 101 ปี 79 พรรษา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8613

    พระเกศาว่านไก่แดงครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อนทาทองสวยเดิมๆ



    พระยุคแรกของท่านครูบาดวงดี ที่จัดสร้างกันเองในบรรดาลูกศิษย์ กดมือกันเอง โดยใช้ผงผสมเกศา ผสมน้ำว่นไก่เเดง ว่านเมตตา พระออกมาจึงไม่ค่อยสวย หลวงปู่ท่านเสกให้นานมาก หลายสิบปี และได้มอบให้ลูกศิษย์ไว้ไช้ติดตัว สุดยอดพระพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม เเคล้วคลาด จนเป็นพระยอดนิยมของท่านครูบาครับ

    ทางทองเต็มสวยแบบนี้หายากมากครับ

    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    cx.jpg wq.jpg yo.jpg pip.jpg hd.jpg Clip_4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  9. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,144
    ค่าพลัง:
    +5,421
    ขอจองครับ
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจองขอบคุณครับ
     
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8614

    เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อธรรมยะ กะไหล่ หายาก


    หลวงพ่อธรรมมะยะ หรือหลวงพ่อตะมะยะ (ในภาษาเรียกของคนท้องถิ่น) เป็นชาวกะเหรี่ยงปะโอ สมัยเด็กบวชเป็นเณรที่วัดหลวงแม่สอด และเติบโตเป็นประผู้ใหญ่ในรัฐกะเหรี่ยง จากนั้นจัดตั้งสถานอภัยทานที่บ้านธรรมมะยะ ฉันอาหารเจ มีชื่อเสียงทางกรรมฐาน และพัฒนาโรงเรียน ก่อสร้างวัดวาอาราม สร้างถนน สร้างสะพาน จัดตั้งโรงเรียนให้แก่นักเรียนชนบท ถือเป็นพระผู้ใหญ่ในพม่าท่านเป็นพระที่คนพม่านับถือกันทั้งประเทศรวมทั้งคนไทยในเขตชายแดนที่ติดกับพม่า

    สุดยอดเหรียญประสบการณ์แห่งแดนตะวันตก ดังจากประสบการณ์ล้วนๆ เล่ากันปากต่อปาก ไม่ต้องมีใครปั่น เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์เรื่องมหาอุด คลาดแคล้ว คงกระพันสูงมากๆ

    ราคา3750บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    tyr.jpg e.jpg u.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8615

    มีดหมอครูบาชัยวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ออก แก่งสร้อย ปี 2539 สวยเเชมป์


    จัดสร้างโดยท่านพระป่านิกร ชัยเสนโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ได้ขอเมตตาหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จัดสร้างมีหมอรุ่นแรก ในปี 2539 เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนบูรณะโบสถ์ของวัดแก่งสร้อย จำนวน 300 เล่ม หลวงปู่ท่านเมตตาออกแบบ ลงคาถา หัวใจเเม่ธรณี ธรณีสารช้างเผือก เป็นภาษาล้านนา ลงในใบมี ว่า ริติติมุมุธรณีติติ มอบหมายให้ช่างขันชัย โสภักต์ ร้านดาบทุ่งเกวียนลำปาง เป็นช่างผู้จัดทำ หลวงปู่เมตตาอธิฐานจิตออกให้บูชา ในงานกฐินวัดแก่งสร้อย ในปี 2539

    คาถาเสกมีดของครูบาวงค์ ท่านใช้คาถาหัวใจท้าวมหาราช และหัวใจธรณีสารช้างเผือก มีอุปเทห์การใช้คือ หัวใจท้าวมหาราช ป้องกันภูตผีปีศาจคุณไสย์ อมนุษย์ร้าย ส่วนธรณีสารช้างเผือก นั้น ป้องกัน อุบาด เสนียญจัณไร ภัยทั้งหลาย วิธีที่จะปลุกเสกธรณีสารช้างเผือก ต้องเสกคาถาใส่เทียนสีผึ้งแท้ จำนวน 3 เล่มให้เทวดาบริวาลของท่านมาคุมศาตรามหาราชทุกด้าม ให้มีผลเป็นกรณีพิเศษ เป็นที่รักของมนุษย์ เทพ เทวดา เป็นมหาลาภ มหาอำนาจ กันภูตผีปีศาจ เสนียญจัญไร คุณไสย์ ภัยทั้งหลาย

    เป็นมีดหมดรุ่นแรกของหลวงปู่ครูบาชัยวงค์ จัดสรา้งเพียง 300เล่มเท่านั้น สวยเดิมไม่ผ่านการใช้ครับ ท่านที่ชอบเก็บของสวยไม่ควรพลาดครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_5.jpg Clip_6.jpg Clip_7.jpg Clip_8.jpg Clip_9.jpg Clip_10.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8616

    เหรียญสร้างโบสถ์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เหรียญรุ่น 89
    (สร้างอุโบสถหลังเสมา)

    #เหรียญที่แกะแบบสวยงาม เหมือนหลวงปู่มากๆ ครับ
    #สนใจ สอบถาม ครับ
    คณะศิษย์ศรัทธาโดยคุณวิลาส ฉัตรภูติ นำชาวคณะ นสพ.จตุโชค,อาถรรพ์,สาวสวย โดยการสนับสนุนของวัดสัมพันธวงศ์ ท่านเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิตเจ้าอาวาสเป็นประธานดำเนินการฝ่ายสงฆ์ จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นเพื่อหาทุนทอดผ้าป่า วันที่ 5 พ.ค.2520 เพื่อสร้างกุฏิ หอระฆังและสบทบทุนสร้างอุโบสถ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่แหวนแผ่เมตตา ณ วิหารวัดดอยแม่ปั๋ง ในวันเพ็ญกลางเดือน 5 ตรงกับวันที่ 3 เม.ย. 2520 เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่แหวนครึ่งองค์หน้าตรง ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฏิ หูห่วงมีลายธรรมจักร มีอักษร "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ " ด้านหลังเป็นรูปเสมามีบัวคว่ำบัวหงายรองรับ ในเสมามีตัวเฑาะว์ มีรัศมี และเลข 89 อ.อุ.ม. บนเสมา มี พระคาถาอักษรขอม "พุทโธ อรหัง ธัมโม อรหัง สังโฆ อรหัง"และข้อมความ "ที่ระลึก หาทุนสร้างอุโบสถ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ 5 พ.ค.20 จำนวนสร้าง ทองแดง 60,000 เหรียญ นวะ 3,000 เหรียญ เงิน 171 เหรียญ


    บูชาแล้วครับ

    qwp.jpg iy.jpg ยน.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8617

    เหรียญพระอุปคุตจกบาตร (รุ่นแรก) วัดทุ่งโป่ง อ.เมืองปาย จ.แม่ฮ่องสอน เนื้อฝาบาตร

    เหรียญพระอุปคุตจกบาตร ความเชื่อหรือคตินิยมในการสร้างรูปเคารพพระมหาเถระอุปคุตนั้นมีแพร่หลายในประเทศพม่า มอญ และในล้านนาหรือในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกนมาว่าในอดีตกาล มีชาวเมืองรางกูรคนหนึ่งมีโอกาสได้ใส่บาตรกับพระอุปคุต และต่อมาก็ได้กลายเป็นเศรษฐี และเมื่อชาวเมืองรู้ข่าวต่างก็พากันหุงหาอาหารเพื่อจะได้ใส่บาตรกับพระอุปคุต ในภาคเหนือของไทยที่เมืองเชียงใหม่ชาวบ้านนิยมพากันใส่บาตรทำบุญในวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ ณ วัดอุปคุต เพราะเชื่อกันว่าวันนั้นพระอุปคุต จะออกมารับบิณฑบาตรและแม้จะไม่มีโอกาสได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตเพียงแค่ระลึกถึงหรือสร้างรูปพระอุปคุตไว้สักการบูชาก็จะเกิดอานิสงส์เช่นกันสำหรับเหรียญพระอุปคุตจกบาตรเหรียญนี้สร้างเป็นรุ่นแรก สร้างเนื่องในโอกาสที่ระฤกสร้างกุฎิสงฆ์ศาลาการเปรียญ ของวัดทุ่งโป่ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเหรียญที่น่าใช้และสะสมอนาคตหายากครับ ----ความหมายบนเหรียญ---- ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นพระมหาเถระอุปคุต ปางจกบาตร ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำหงาย หมายถึงความไม่อดอยาก มีกินมีใช้ บริเวณใต้ฐาน จะเป็นรูปเต่าและปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ หมายถึงความสงบร่มเย็น อุดมมงคลสูงสุด และสื่อถึงประวัติของพระมหาเถระอุปคุตที่ท่านจำพรรษา ณ กลางสะดือทะเล โดยมีสัตว์น้ำต่างๆ เป็นบริวาร บริเวณส่วนบนเหรียญ มีรูปกระต่าย แทนความหมายของพระจันทร์ และรูปหงส์แทนความหมายพระอาทิตย์ ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์นาคบ่วงบาศ ซึ่งเด่นด้านเมตตามหนานิยมและโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา
    เหรียญพระมหาอุปคุต รุ่นแรก ปฐมบทของวัตถุมงคลทั้งหลายทั้งปวงของวัดทุ่งโป่ง สร้างและเสกในปี 2545 โดยผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกที่วัดร้องขุ้ม และเสกเดี่ยวโดยพระคณาจารย์จำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ เสก 3 วาระ หลวงปู่ครูบาอิน 4 วาระ หลวงปู่ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา 3 วาระ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวกการาม หลวงปู่เจือ ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ครูบาอินตา วัดวังทอง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาดวงจันทร์วัดป่าเส้า ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน ครูบาเผือก วัดไชยสถาน หลวงพ่อเปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ ครูบาอินถา วัดหนองแฝก ฯลฯ
    ปลุกเสกเมื่อ 9พฤศจิกายน 2545 พระเกจิที่ร่วมปลุกเสกประกอบด้วย หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี หลวงปู่ครูบาอิน วัดทุ่งปุย หลวงพ่อเปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก หลวงปู่ครูบาอินคำ วัดข้าวแท่นหลวง หลวงปู่ครูบาคำหล้า วัดป่าลาน หลวงปู่ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา ครูบาเจ้าเทือง วัดบ้านเด่น หลวงปู่ครูบาเผือก วัดไชยสถาน หลวงปู่ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น พระเกจิที่อฐิษฐานจิต ได้แก่... หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา

    ราคา 1850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    lu.jpg ol[.jpg oi.jpg Clip_5.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8618

    พระกริ่งรุ่นแรก อาจารย์เปลี่ยน (เนื้อเงิน) ปี ๒๕๔๐ วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ สวยแชมป์
    (ด้านหลัง ตอกโค๊ด ป.ปลา และหมายเลขกำกับ #202)

    อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    -จัดสร้างโดยกองร้อย ตชด.ที่ 334 กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 33 อ.แม่อาย
    พระเก็บรักษาอย่างดี...พร้อมกล่องเดิมๆ...สวยระดับประกวด..เริ่มหายากแล้วตอนนี้...ใครมีก็เก็บเงียบกันหมด..
    -ข้อความบางส่วน.จาก.หนังสือประวัติโดยย่อวัดอรัญญวิเวก บ้านปง หนังสือประวัติพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    เชื่อว่าใครที่เคยได้กราบนมัสการ”พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป” วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) คงจะประทับใจกับอัธยาศัยและความใจดีของท่าน ไม่ว่าจะเป็นการทักทายพูดคุยสนทนาอย่างเป็นกันเอง หรือธรรมะที่ท่านสอดแทรกเข้ามาให้ได้คิด
    เพื่อนๆ ในกลุ่มของผมหลายคนบอกว่าไปกราบท่านแล้วก็อยากไปอีกไม่มีคำว่าเบื่อ
    จะว่าไปแล้ว ณ วัดป่ากรรมฐานแห่งนี้ถึงพร้อมไปเกือบจะทุกอย่างครับ อยากได้ธรรมะก็มีธรรมะให้ อยากได้พระเครื่องก็มีพระแจกให้ อยากได้กราบท่านแบบใกล้ชิด ก็สามารถเข้ากราบได้
    และก็คงไม่มีนักปฏิบัติธรรมมืออาชีพท่านใดปฏิเสธได้ว่า ในยุคปัจจุบัน “พระป่ากรรมฐาน” ที่เจริญรอยตามแนวธรรมปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และมีผลงานโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น ย่อมต้องมีชื่อของ “พระอาจารย์เปลี่ยน” เจ้าอาวาสวัดอรัญญวิเวก ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รวมอยู่ด้วย
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ได้ชื่อว่าเป็นพระป่ากรรมฐานที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง คำเทศนาและธรรมะของท่าน บางเรื่องได้ถูกรวบรวมพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเพื่อแจกจ่ายเป็นทานแก่คนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า หนังสือธรรมะของท่านบางเล่มได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าเนื่องจากเมื่ออ่านแล้วเป็นที่ถูกจริตกับพุทธศาสนิกชนส่วนมาก
    เช่น “การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ญาติโยมควรปฏิบัติ” ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้อ่านและทำความเข้าใจในการทำบุญให้ถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือ “เมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก” ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อให้บุคคลทั้งหลายได้นำเอาข้อธรรมไปพิจารณาให้แยบคายและฝึกหัดเพื่อเป็นการปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสภาวะโลก ฯลฯ
    ***ท่านพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป..หนึ่งในพระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เกิดมาเพื่อกำจัดและละกิเลสให้ออกไปจากจิตใจ
    ความมุ่งมั่นและปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้ตนเองได้บรรลุถึงธรรมตามที่ตั้งใจนั้นท่านมิได้มุ่งหวังเพียงเพื่อตัวของท่านเองเพียงลำพัง
    ท่านว่าการช่วยให้ทุกคนมีสติ เข้าใจในธรรม รู้เท่าทันในทุกข์ ก็เป็นหนึ่งในความปรารถนาของท่านอีกเช่นกัน...สาธุ
    สวยเดิมน่าใช้มากๆครับ


    ราคา 13500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ j999 จองแล้วครับ

    t.jpg th.jpg wq.jpg vco.jpg gfd.jpg yt.jpg fdgd.jpg Clip_18.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2021
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8619

    พระกริ่งใหญ่ พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโปอกโค๊ด ป.ปลา และหมายเลขกำกับ #743)


    จัดสร้างปี พ.ศ.2541 เมตตาอธิษฐานจิตเดี่ยวโดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 (วันพ่อแห่งชาติ)
    จำนวนการจัดสร้างทั้งหมดทุกเนื้อ 2541 องค์ ประกอบด้วยเนื้อนวะ นวะก้นเงิน และนวะก้นเงินกรรมการ
    ชนวนและโลหะวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาหล่อหลอมเป็นองค์พระกริ่งใหญ่ มีดังนี้
    1. ระฆังเก่าทั้งใบของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช อายุระฆังประมาณ 250 ปี
    2. แผ่นยันต์ทองคำ เงิน นาค อธิษฐานจิตของพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    3. ทองคำแท่งหนัก 10 บาท
    4. พระชัยวัฒน์ รุ่นแรก ปี 2540 จำนวน 10 องค์
    5. ฐานพระบูชาบูชาพระสิงห์ 1 ประมาณ 1 ก้อน
    6. ช่อชนวน พระกริ่งของวัดสุทัศน์ ปี 2479 1 ช่อ
    7. ช่อชนวน พระกริ่งของ หลวงพ่อเกษม เขมโก 1 ช่อ
    8. ตระกรุดพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ประมาณ 100 ดอก
    9. เหรียญกนกข้าง หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ปี 19 และ 20
    10. เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 5 จำนงน 10 เหรียญ
    11. พระกริ่งและเหรียญเก่า ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ จำนวนมาก
    พระดีน่าใช้มากครับ



    คุณ sunmk บูชาแล้วครับ

    ds.jpg y.jpg cx.jpg vc.jpg iui.jpg ws.jpg Clip_18.jpg
    Clip_15.jpg Clip_16.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2021
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8620

    พระกริ่งครูบาสิทธิ อภิวัณโณ รุ่น ชัยมงคล เนื้อ นวโลหะ โค๊ต ก้นจาร สวยกล่องเดิมๆ
    วัดปางต้นเดื่อ ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

    พระกริ่งรุ่นนี้ท่านได้สร้างในปี พ.ศ. 2549 เนื้อที่จัดสร้างพระกริ่ง คือ เนื้อทองคำ จำนวน 3 องค์ เนื้อนวโลหะ 999 องค์ เนื้อทองทิพย์ 1,999 องค์ พระกริ่งรุ่นนี้ได้เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วาระด้วยกัน
    - 9 พฤษภาคม 2549 ได้เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกร่วมกับพระกริ่งรุ่นครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ พระวิหารหลวงวัดสวนดอก
    - 10-12 พฤษภาคม 2549 ได้เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกร่วมกับพระกริ่งรุ่นครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดดอยสุเทพ (ตรงกับวันวิสาขบูชา)
    - 3 พฤศจิกายน 2549 ณ วัดปางต้นเดื่อ โดยมีครูบาสิทธิ เป็นประธานพิธีและมีพระมหาเถระอีกหลายรูปที่มาอธิฐานจิตปลุกเสก อาทิ
    หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม จ.สระแก้ว
    หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง
    หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
    หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
    หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
    หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ จ.ราชบุรี
    ครูบาพลัด วัดทุ่งเสลี่ยง จ.สุโขทัย
    และพระเถระทั่วทั้ง อ.แม่อาย ,อ.ฝาง ,อ.ไชยปราการ
    เนื่องจากกระผมสมัยบวชเรียนอยู่ที่วัดแม่อายหลวง ได้รับใช้ครูบาสิทธิทุกครั้งที่หลวงปู่ลงมาพักที่วัดแม่อายหลวง ต้องขออธิบายนิดหนึ่งเกี่ยวกับสองวัดนี้คือ วัดปางต้นเดื่ออยู่บนดอยสูงมีชาวเขาเผ่ามูเซอร์-คนไทย อยู่กันห่างๆ ความเจริญยังเข้าไม่ถึงในสมัยนั้น ส่วนวัดแม่อายเป็นวัดใหญ่ของตำบลเวลามีงานประเพณีใหญ่ๆ ทางวัดแม่อายหลวงก็จะรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ สังฆทาน ขึ้นไปถวายแก่หลวงปู่ ซึ่งผมจะไปด้วยทุกครั้ง เพราะแถบวัดปางต้นเดื่อนั้น เป็นชาวเขา และคนไทยทำไร่ทำสวน หลวงพ่อวัดแม่อายหลวงมีความเมตตาและเลื่อมใสครูบาสิทธิมาก และปัจจุบันหลวงพ่อวัดแม่อายหลวงได้เป็นเจ้าคณะอำเภอองค์ปัจจุบัน นี่คือความเกี่ยวเนื่องของสองวัดนี้คร่าวๆครับ... พระกริ่งรุ่นนี้หลวงปู่ได้เททองหล่อเองที่วัดแม่อายหลวง และปลูกเสก 3 พิธีใหญ่ มีพระเกจิเข้มขลังแห่งยุคร่วมปลุกเสก จึงเป็นพระที่ควรค่าแห่งการบูชาและสะสมอีกรุ่นหนึ่งของสายฝาง,แม่อาย,ชัยปราการครับ.
    ราคา 1500บาทสนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    kj.jpg
    dsfds.jpg [p.jpg bv.jpg f.jpg tr.jpg Clip_5.jpg Clip_19.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340

    รายการที่ 8621

    พระสิงห์หนึ่ง หน้าตัก 3 ซม ยุคล้านนา เชียงใหม่ หายากครับ สวยเดิมๆครับ


    พระสิงห์หนึ่ง หน้าตัก 3 ซม ยุคล้านนา เชียงใหม่ หายากครับ สวยเดิมๆครับ
    ศิลปะเชียงใหม่ ล้านนา เก่าๆ อายุ 300-400 ปี เนื้อโลหะผสม เก่าจัดชัดเจนยากที่จะหา หน้าตักเล็กๆขนาดพกพาบูชา พระพุทธสิงห์ 1 เมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในล้านนาและสร้างขึ้นตามตำนาน ตำนานพระพุทธสิหิงค์ จนเกิดการสร้างพระพุทธสิหิงค์ที่เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรอย่างแพร่หลายในล้านนา และความเชื่อเรื่องพระพุทธสิหิงค์คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรแบบล้านนานี้เองที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปแบบนี้อย่างแพร่หลายคือเรื่องของรูปแบบศิลปกรรมที่จัดว่าเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง โดยพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ซึ่งโดยลักษณะจะต้องมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม ขนาดพระเกศาใหญ่ ส่วนเหนือพระอุษณีษ์เป็นตุ่มคล้ายลูกแก้วหรือดอกบัวตูม ซึ่งลักษณะที่เป็นพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งของล้านนา ของเก่าน่าใช้มากๆครับ


    แท้ดูง่าย

    ราคา 7999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 08619336900



    rfd.jpg gfdg.jpg io.jpg we.jpg fp.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8622

    รูปหล่อ ครูบาศรีวิชัย ออกวัดบุพผาราม ปี 2527 เนื้อนวะโลหะ
    "50 ปีถนนศรีวิไชยรำลึก"

    ด้านหน้าเป็นครูบาเจ้าศรีวิไชย และ ข้อความที่ระลึก 50 ปี
    ด้านหลังอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.
    ล้อมรอบด้วยพระคาถาชนะมารอ่านว่า “สัมพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัตถิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สิระภูโตสะทาภะวะ”
    พิธีมหามังคลาภิเษก
    วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2527
    เวลา 15.19 น.
    พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นองค์จุดเทียนชัย
    พระมหาเถระที่นิมนต์มาสวดพุทธาภิเษกเจริญพระพุทธมนต์ ทันใดนั้นเอง ท้องฟ้าก็เริ่มพยับเมฆมืดครึ้มลงอย่างน่าอัศจรรย์ ชั่วเวลาไม่นานฝนก็เริ่มตกลงมาอย่างที่เรียกว่า ‘ฝนพรำ’ นับแต่ยอดดอยสุเทพเรื่อยมาจนถึงเชิงดอย และบังเกิดกระแสลมเย็น พัดลงมาจากยอดเขาเข้าสู่วิหารวัดศรีโสดา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเกิดความเยือกเย็นและเงียบสงบอย่างน่าประหลาด
    เหตุเหล่านี้ทำให้ประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวเข้าร่วมพิธีต่างนั่งทำสมาธิพร้อมกันไปด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพิธีเจริญพระพุทธมนต์ดำเนินไปจนถึงเวลา 19.19 น.บรรดาพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสซึ่งเป็นศิษย์ในครูบาเจ้าศรีวิไชยจำนวน 18 รูป ได้ประกอบพิธีสวดมนต์ไหว้พระตามแบบอย่างที่ได้เคยปฏิบัติเมื่อครั้งอยู่ร่วมกับครูบาเจ้าศรีวิไชย ซึ่งพิธีนี้อยู่นอกเหนือกำหนดการ นับเป็นมหามงคลแก่มงคลวัตถุ และ ประชาชนในพิธียิ่งนัก เป็นอันว่าเหรียญที่ระลึก 50 ปี ถนนศรีวิไชย ก็ผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาครบถ้วนบริบูรณ์ พระภิกษุที่มาปลุกเสกก็ล้วนแต่เก่งกล้าสามารถในองค์เองอยู่แล้ว
    อาทิเช่น..
    ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง
    ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย
    ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม
    ครูบามงคลคุณาทร วัดหม้อคำตวง
    ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    ครูบาโสภา วัดผาบ่อง
    ครูบาอ้าย วัดศาลา
    ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม
    ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง
    ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง
    ครูบาญาณวิลาส วัดต้นหนุน
    ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย
    ครูบามูล วัดต้นผึ้ง
    ครูบาศรีนวล วัดช้างค้ำ
    ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม
    ครูบาอินตา วัดห้วยไซ
    ครูบาศรีนวล วัดเจริญเมือง
    สวยเดิมน่าใช้มากครับ
    ราคา 1700บาทสนใจสอบถามได้ครับ 0861936900


    yh.jpg z.jpg ghff.jpg dfss.jpg bvp.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    ้่้รายการที่ 8623

    nb.jpg rf.jpg uj.jpg uiu.jpg cxz.jpg weol.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...