เรื่องเด่น ลม3ฐาน กับ การทรงตัวของสติ-สัมปชัญญะ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 14 เมษายน 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    jpg.jpg


    ลม3ฐาน กับ การทรงตัวของสติ-สัมปชัญญะ

    ถ้าหากว่าเราเอาจิตเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ฐาน 3 ฐานของลมที่จะต้องกระทบ จิตมันก็ไม่มีเวลาที่จะไปคิดเรื่องอื่นภายนอก มันจะมีการทรงตัว ก็ต้องคอยระวังว่า

    เวลานี้ ลมหายใจไหลเข้า...กระทบจมูก รู้สึกหรือเปล่า

    กระทบ...หน้าอก รู้สึกหรือเปล่า

    กระทบศุนย์...เหนือสะดือ รู้สึกหรือเปล่า

    กระทบ...ริมฝีปากหรือจมูก รู้สึกหรือเปล่า

    เมื่อมานั่งไล่เบี้ยอยู่อย่างนี้ แล้วก็จะมีอารมณ์อะไรเข้ามาแทรก เพราะงานมันหนัก งานของจิตมันหนัก แล้วอาการกระทบของลมมันก็เบา มันไม่แรงเหมือนกับเรากระทบของแข็ง หรือของหนักที่มากระทบกาย มันเบาจัด โดยเฉพาะลมหายใจนี่ เราใช้มันตั้งแต่เริ่มคลอดออกจากครรภ์มารดา ขณะที่เราอยู่ในครรภ์มารดา เราไม่ใช้ เป็นภาระของมารดา ลมจะเข้าจะออกเป็นเรื่องของแม่ แม่หายใจเข้ามันก็ไหลไปสู่ตัวเราด้วย ถ้าแม่หายใจออกมันก็ไหลไปสู่ตัวเราด้วย

    คราวนี้ เราออกจากท้องแม่ ลมหายใจมันก็ต้องใช้งานเอง แต่ว่าตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งบัดนี้ บางปีเราไม่เคยสนใจกับลมหายใจเลย ทั้งๆที่มันหายใจอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เมื่อการหายใจมันชินเป็นปกติ และเป็นภาระหน้าที่ของร่างกาย เราจึงไม่สนใจ ต่อมานี่เราก็เริ่มสนใจ การสนใจเริ่มขึ้น จะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจมันเบาเกินไปสำหรับเราที่จะรู้สึก บางท่านก็หายใจแรง เพื่อที่จะรู้ลมหายใจเข้าออก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ที่จะใช้ได้จริงๆ ก็ต้องปล่อยไปว่า สภาวะของลม มันจะเข้ามันจะออกเพียงใด ก็เรื่องของมัน แรงหรือเบาเป็นเรื่องของมัน แต่ที่ให้รู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกก็เพื่อเป็นการทรงสติสัมปชัญญะ

    สติ นึกได้เสมอว่า เราหายใจหรือเราหายใจออก

    สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวว่าลมกระทบที่จมูก กระทบที่หน้าอก กระทบที่ศุนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก

    ถ้าเอาจิตไว้ใช้อย่างนี้โดยเฉพาะ เรื่องกังวลอย่างอื่นมันก็ไม่มี จิตก็จับเฉพาะสายของลมที่เดินไป แล้วก็ความรู้สึกทางกายที่ลมกระทบ มันละเอียดมาก มันเบามาก เราก็ต้องระวังมาก อันนี้เป็นการฝึก เป็นการฝึกทรงสติสัมปชัญญะ ก็คือเป็นการฝึกฌาน

    คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ 34 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) หน้า 49-50


    *********************************************************************


     

แชร์หน้านี้

Loading...