ลักษณะของ ฌาน หรือ สมาธิ (อธิบายแบบให้เข้าใจง่าย ๆ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 15 พฤษภาคม 2019.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ถาม : พอจะอธิบายลักษณะของฌานใช้งาน ตั้งแต่อุปจารสมาธิจนถึงฌานสี่อย่างคร่าว ๆ ได้ไหมคะ ?
    ตอบ : ไปเปิดตำราดูดีกว่า อาตมาอธิบายไว้เยอะแล้ว

    ถาม : ไม่เหมือนกับทั่วไปไม่ใช่หรือคะ ?
    ตอบ : บางทีก็มีรายละเอียดที่เราจะต้องทำให้ถึงจริง ๆ จึงจะเข้าใจในสิ่งที่อาตมาพูดไป ถ้าทำไม่ถึงก็จะไม่เข้าใจในสิ่งที่ว่ามา ได้แต่คิดว่า คาดว่า ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น..ทำไปเถอะ พอทำถึงเดี๋ยวก็จะเข้าใจเอง

    ความจริงอุปจารสมาธิของพวกเราก็คือตอนนี้ ตอนที่เราตั้งใจทำอะไรบางอย่างโดยที่สติจดจ่ออยู่ตรงหน้า กรณีนี้หมายถึงคนทั่ว ๆ ไปนะ ถ้าคนที่เขาคล่องตัวแล้ว สติที่จดจ่ออยู่เฉพาะหน้าบางทีเขาเลยอุปจารสมาธิไปถึงไหน ๆ แล้ว

    กำลังใจจดจ่ออยู่เฉพาะหน้า ไม่ได้เคลื่อนไปไหน นั่นคืออุปจารสมาธิ หลังจากนั้นถ้าสามารถกำหนดรู้ลมได้ตลอดสามฐานก็จะเป็นปฐมฌาน ถ้าลมหายใจเริ่มเบาลง ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราหายใจน้อยลง หรือจับลมไม่ได้ บางทีคำภาวนาก็หยุดไปด้วย ก็เป็นฌานสอง ตรงนี้เป็นหลักที่คนส่วนใหญ่จะต้องเจอ

    พอเริ่มเป็นฌานสาม บางคนก็รู้สึกว่าตัวแข็ง แข็งเหมือนกับกลายเป็นหิน บางคนก็รู้สึกเหมือนว่าชา เหมือนกับกลายเป็นหินไปทั้งตัวแล้ว บางคนก็รู้สึกว่าเหมือนกับโดนมัดติดกับเสาจนแน่น ตั้งแต่หัวถึงเท้ากระดิกไม่ได้เลย อาการแรกเริ่มก็อาจจะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง อย่างเช่นปลายจมูกหรือปาก บางคนนั่ง ๆ อยู่เหมือนกับเม้มปากแน่นขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความจริงไม่ใช่ นั่นเป็นอาการที่สมาธิเริ่มทรงตัวมากขึ้น

    ถ้าหากเราไม่ตกใจและไม่กลัว เอาใจกำหนดดูกำหนดรู้ไปเรื่อย ตอนนั้นเราจะลืมไปด้วยซ้ำว่ามีลมหายใจหรือมีคำภาวนาหรือเปล่า ความรู้สึกของเราจะรวมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งในร่างกาย สว่างโพลงอยู่เฉพาะที่ ไม่รับรู้อาการภายนอก ถ้าอย่างนั้นจะเป็นฌานสี่ ถึงตอนนั้นแล้วเวลาจะผ่านไปโดยที่เราไม่รู้ตัว บางทีเรารู้สึกว่าเดี๋ยวเดียว ลืมตาขึ้นมาผ่านไปตั้งหลายชั่วโมง

    บางอย่างมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เฉพาะตัวอยู่ พอทำถึงก็อ๋อ..ที่แท้เป็นอย่างนี้เอง

    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔
    พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    ที่มา วัดท่าขนุน
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=c13409911233cfe99020eb65ea4478df.jpg







    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    ***********
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร
    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้

    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น

    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...