ลักษณะ เทวบุตรมาร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 20 พฤษภาคม 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    ข้อ ๔ คำว่าเทวบุตรมารเป็นอย่างไร ?

    มีบางท่านว่าเป็นเทวดาที่คอยแกล้งผู้ที่ทำความดีจริงหรือไม่ ?

    เอ่อใครจะว่ากันโดยบุคคลาธิฐานแล้วก็

    เทวบุตรมารก็หมายถึง เทวดาที่คอยมาหลอกหลอน
    เอาในปัจจุบันนี้แหล่ะ เทวบุตรมารเนี๊ยะมีเยอะ

    เช่น อย่างนักภาวนาไปแล้วพอจิตจะเข้าที่ รวมเป็นสมาธิที่ถูกต้องแล้ว

    ประเดี๋ยวก็มีพระบ้างล่ะ

    มีผู้ยิ่งใหญ่บ้างล่ะ

    มีเจ้านี่ เจ้าโน้นบ้างละ เป็น วิญญาณมาบอก

    การทำอย่างนั้น ไม่ถูกไม่ถูกไม่ถูก อย่าทำเลย อะไรทำนองเนี๊ยะ

    อันนี่แหล่ะคือเทวบุตรมาร


    ที่นี้ ถ้าจะว่า

    โดยกิเลส ที่มันมีอยู่ในตัวของเราเนี๊ยะ
    เช่นเราตั้งใจว่า จะทำสมาธิภาวนาในวันนี้แหล่ะ
    อ้าวพอทำไปทำไปพอจะได้สะบาย
    แล้วความคิดอันหนึ่งมันเกิดขึ้นมาว่า อึ้ย หยุดดีกว่า
    ไม่ต้องทำ อะไรทำนองนี่

    หมายถึงความคิดที่คอยกระตุ้นเตือน ให้เราหยุดพักการกระทำนั้น
    ในลักษณะ แห่งความขี้เกียจท้อแท้ เป็นเรื่องของเทวบุตรมาร
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มาร 1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี หรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ

    ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส

    ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์

    ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม

    ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร

    ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย 2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะมารได้ด้วยนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตตีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร คือ ปรนิมมิตวัสวัตตี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1 ด้วย


    กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ


    กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ ่ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์,


    กิเลส ๑๐ (ในบาลี เดิม เรียกว่ากิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไม่ใช่มารตัวพ่อ แค่เสนามาร แต่ขนาดเสนามาร ก็เล่นเอาผู้ปฏิบัติธรรม,ปฏิบัติกัมมัฏฐาน,ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน,ปฏิบัติสติปัฏฐาน (มีอะไรอีกก็เติมเข้าไป) หัวทิ่มหัวตำมานักต่อนักแล้ว :p ที่หนักหน่อยก็บ้าบอคอแตกเพราะมันนี่แหละ


    ศัตรูของสมาธิ

    สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่านิวรณ์

    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิขาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

    คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"

    นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ

    ๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

    ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

    ..........

    อ้างอิงที่ *

    * นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน ....ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ...ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา)
    อภิชฌา = กามฉันท์
    อภิชฌา = โลภะ
    คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖) (นอกนั้น ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก)
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    คำว่า เทวบุตรอะไรเนี่ย
    ส่วนตัวเรียกว่ากะแสแหย่
    อาจเป็นได้ทั้งวิบาก(ความคิดหรือสิ่งที่จรเข้ามาเรื่อยๆ)
    พวกนี้มาจากภายนอกนะครับ
    มักจะเข้ามาในลักษณะที่จะดูว่า
    เราจะไปตามหรือเล่นด้วยไหม
    ถ้าเราตามหรือเล่นด้วยคือเราสอบตก
    และถ้าเราไม่ทัน และเผลอไปปรุ่งร่วม
    เราจะคิดว่ามันเป็นตัวเราได้ครับ

    พูดง่ายๆ คือ จิตเราเองนี่หละที่ส่ง
    ตัวไปรู้พวกนี้ครับ
    ตัดตัวไปรู้พวกนี้ให้เป็น
    แล้วจะเริ่มเห็นการทำงาน
    ของพวกนี้ได้ด้วยตัวเราเองครับ

    จริงๆแล้วมีประโยชน์มากครับ
    สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัด
    การพัฒนาของจิตเราได้
    จะได้ไม่หลงตัวเองครับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่าง คือ

    ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ

    ๒. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป

    ๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน


    อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์


    อเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน ... ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...