ล็อกเมืองช่วงโควิด-19 ทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยขึ้นจริงหรือ?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 7 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    a1e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983.jpg

    Credit Clip WION

    ขณะที่คนไทยและนานาประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 ต่อเนื่องมาหลายระลอก จนทำให้ต้องหยุดการเดินทางและกิจกรรมหลายอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันตามมาตรการควบคุมโรคแต่ละช่วงเวลานั้น

    ภาวะธรรมชาติอื่นๆ ที่มนุษย์เราดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันยังไปต่อตามวัฏจักรและปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ เราจึงไม่สามารถขอไม่ให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อชีวิตของเราได้ ซึ่งในเรื่องที่คนทั่วโลกวิตก “ภัยแผ่นดินไหว” ก็เช่นเดียวกัน

    พร้อมมีข้อสังเกต ให้ชวนสงสัยจากประชาชนในหลายประเทศที่อาศัยในเมืองถูกล็อกดาวน์ (Lockdown) ว่า “การล็อกดาวน์เมืองในช่วงโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยขึ้นหรือไม่ เพราะรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้บ่อยขึ้นกว่าปกติ”

    e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983-1.jpg
    นักวิชาการวิศวะมหิดล แจงการเตรียมพร้อมรับมือ ต้องรวมเอา “ภัยแผ่นดินไหว”ไว้ด้วย

    รศ.ดร. ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลายเดือนที่ผ่านมาพบว่า เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในหลายๆ ประเทศ สามารถตรวจพบแผ่นดินไหวได้บ่อยขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วแผ่นดินไหวเหล่านี้เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งในภาวะปกติแล้วค่อนข้างที่จะทำการตรวจจับได้ยาก เนื่องมาจากว่าหลักการตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวต้องวางอยู่บนพื้นดินเพื่อวัดการสั่นสะเทือนของพื้นดินที่เกิดจากแผ่นดินไหว

    ดังนั้นการที่เมืองทั้งเมืองถูกปิด หรือ ล็อกดาวน์ ผู้คนสัญจรบนถนนหนทางและทำกิจกรรมในสถานที่สาธารณะกันน้อยลงจึงทำให้สัญญาณรบกวนการวัดแผ่นดินไหวก็น้อยลงตามไปด้วย เช่น เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 มีรายงานการตรวจพบแผ่นดินไหวใกล้กับกรุงเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย ขนาด 3.8 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร โดยมีระยะห่างจากใจกลางเมืองหลวงเพียง 8 กิโลเมตร โดยปกติแล้วเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลา หากเรากำลังสัญจรเดินทางกันอยู่ เช่น ขับรถ หรือ เดินอยู่นอกอาคาร เราจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็ก แต่เมื่อชาวเมืองเดลีหยุดเดินทางไปทำงานและกิจกรรมนอกบ้าน ทำงานที่บ้าน หรือ อาศัยอยู่แต่ในบ้าน จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเดลี สามารถรู้สึกถึงแผ่นดินไหวนี้ได้

    หากเปรียบเทียบปี 2563 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ที่เคยเกิดในบริเวณใกล้กรุงเดลี มีผู้รายงานความรู้สึกรับรู้การสั่นไหวจำนวนเพียง 32 รายงาน แต่ในเดือนสิงหาคม 2564 แผ่นดินไหวขนาด 3.8 เมื่อช่วงล็อกดาวน์ มีจำนวนคนรายงานเหตุการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 242 รายงาน ซึ่งช่วยยืนยันได้ว่า มีการตรวจวัดได้เพื่มขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นถี่ขึ้น แต่เป็นเพราะสัญญาณรบกวน หายไปนั่นเอง

    e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983-2.jpg

    e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983-3.jpg

    e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983-4.jpg
    ในช่วง 2 ปี ตัวอย่างเมืองหลายๆ แห่งในโลกที่ได้รับทั้งผลกระทบรุนแรงจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ซ้ำเติมด้วยภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว หรือจะเรียกว่าภัยพิบัติซ้ำซ้อนก็ได้ เช่น แผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 7.0 ในทะเลอีเจียน ซึ่งคั่นระหว่างตุรกีกับกรีซในวันที่ 30 ต.ค.2563 ทำให้เมืองชายฝั่งของสองประเทศเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 14 คน เกิดคลื่นสูงระดับ “มินิสึนามิ” พัดกระหน่ำ น้ำทะเลยกสูงที่พัดเข้าชายฝั่งทำให้ถนนสายต่างๆ กลายเป็นแม่น้ำไหลเชี่ยว

    ด้านญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดนอกชายฝั่งทางตะวันออกของโทโฮกุ ขนาด 7.1 ถึง 7.3 แมกนิจูด มีจุดศูนย์กลางอยู่นอกชายฝั่ง 60 กิโลเมตร มีความลึกราว 51.9 กิโลเมตร หลังแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้งภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดย 3 ครั้งมีขนาดเกิน 5.3 แมกนิจูด มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 186 คน ไฟดับมากกว่า 9 แสนครัวเรือน อาคารหลายแห่งได้รับความเสียหาย

    สิ่งที่ชาวโครเอเชียไม่คาดฝัน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใกล้ กรุงซาเกร็บ เมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย ขนาด 6.3 เมื่อ 22 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในรอบ 140 ปีของเมือง ทำให้อาคารได้รับความเสียหาย เกิดเพลิงไหม้หลายแห่ง ประชาชนวิ่งหนีออกมาอยู่บนท้องถนน เด็กวัย 15 ปีโดนอาคารถล่มทับเสียชีวิต

    ภัยอันน่าเศร้าสลดล่าสุดวันที่ 14 สิงหาคม 2564 แผ่นดินไหวขนาด 7.2 ที่ประเทศเฮติ ทำให้อาคารบ้านเรือนพังเสียหายนับพันหลัง มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดในบริเวณแหล่งอาศัยที่ผู้คนไม่หนาแน่นเท่ากับในเมืองหลวงปอร์โตแปร็งซ์ (Port-au-Prince) จึงทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดในเฮติเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วเป็นอย่างมาก

    e0b8b7e0b8ade0b887e0b88ae0b988e0b8a7e0b887e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-19-e0b897e0b8b3e0b983-5.jpg
    ส่วนในเมียนมา ลาวและภาคเหนือของไทยมีหลายรอยเลื่อน เมื่อเร็วๆนี้ แผ่นดินไหวขนาด 4.8 จากรอยเลื่อนหงสา ในสปป.ลาว เมื่อวันที่ 7 กค 2564 ที่ระดับความลึก 1 กิโลเมตร ซึ่งประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดของไทย คือ น่าน พะเยา และเชียงราย พบว่าสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย ทั้งนี้รอยเลื่อนหงสาในลาวเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 6.4 ซึ่งสร้างความเสียหายในปี 2562 มาแล้ว

    ดังนั้นสำหรับประเทศไทย ในแผนการเตรียมความพร้อมรับมือภาวะโรคระบาดโควิด-19 ควรคำนึงถึงภัยพิบัติซ้ำซ้อน จากภัยธรรมชาติประเภทอื่นๆ ที่ยังเกิดขึ้นตลอดเวลาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยแผ่นดินไหวซึ่งไม่มีคำเตือนล่วงหน้าและอาจจะย้อนกลับมาหาเราได้ทุกเมื่อเช่นกัน หากเราลืมมันไป

    สำหรับการเตรียมการรับมือเกิดภัยพิบัติซ้ำซ้อนในระดับพื้นที่ สามารถดำเนินการอย่างประสานสอดคล้องกันซึ่งครอบคลุมทั้งภัยธรรมชาติและโควิด-19 เป็นการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ความรุนแรงและการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินและพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน เช่น

    1.ซักซ้อมความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง จัดทำข้อมูลแผนที่ชุมชน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนป่วยติดเตียง ข้อมูลการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดภัย เป็นต้น

    2.เตรียมความพร้อมแหล่งข้อมูลและซัพพลายเชนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีในการกู้ภัย การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้มากขึ้นกว่าเดิม

    3.วิเคราะห์และวางแผนจุดอพยพ จุดปลอดภัย สถานที่พักพิง ในมิติที่ครอบคลุมผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสคนติดเชื้อ กลุ่มเปราะบาง ที่อาจจำเป็นต้องย้ายที่อยู่

    4.ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารมาสร้างระบบเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการภัยพิบัติมีประสิทธิภาพ ข้อมูลในพื้นที่มีความแม่นยำ และได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนและทุกฝ่าย

    5.ประสานเครือข่ายและหน่วยงานในการบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านสุขภาพกายและใจ ปัจจัยสี่ คมนาคมขนส่ง การให้คำแนะนำ

    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000088537
     

แชร์หน้านี้

Loading...