วกกลับทำความเข้าใจ เรื่อง รูป ๒๘ ของนักปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 16 สิงหาคม 2011.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    (ขอ อนุโมทนา กับผู้พิมพ์เผยแพร่)













    (๑๒) โมหวิเฉทนี: รูป-นิพพานกัณฑ์<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/812264/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=871aa1a6-3e72-4cdc-b7bc-7b296a0f7713"></SCRIPT><SCRIPT src="http://bs.serving-sys.com/BurstingPipe/adServer.bs?cn=rsb&c=28&pli=2871882&PluID=0&w=300&h=250&ord=43313&ncu=$$http://a.admaxserver.com/click/CiQ2NmUxZTA2Yy02NjU0LTQ5ZDYtODNlZS04YjA0NjA5M2M3MGEQgN8xGJzOMSIDQ1BNKJPKGTCdkRE9uQU0O0AASOjJMVDnyTFaJGY5NDk1ZTZiLWE1NDEtNDE0ZS05MzJlLWQwYWQ1ZDVlNjA2NWICdmptYmBZPHgAgAEAiAEAkgEAmgEkOGY1NzNiODAtYmIyNi00ZGE4LTkxODMtMWVmMzUzMjBiNGE0ogEkYTc3ODU4YzgtOWRkYi00ZWM2LTgyOGItMWYxMTdlNDBjZGJmqgEkZThiODAyMzctYWUwZi00NjM0LTk4MWItMjZjYjc2NzRkZDg5sAEBuAEB/$$&z=999999"></SCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT><SCRIPT src="http://ds.serving-sys.com/BurstingCachedScripts/ebExpBanner_2_3_5.js"></SCRIPT><OBJECT style="POSITION: absolute; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; HEIGHT: 0px; OVERFLOW: visible; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; PADDING-TOP: 0px; textAlign: left" id=ebReportingFlash name=ebReportingFlash codeBase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=4,0,0,0" classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    </OBJECT><SCRIPT id=ebDownloadScript src="http://ds.serving-sys.com/BurstingRes/CustomScripts/ebIndiaBackground_Dimmer_Block_v3.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://ds.serving-sys.com/BurstingRes//Site-28485/Type-11/6011264_7bf494c3-d8e1-49b7-879b-9d1fbfc66c2f.js"></SCRIPT><SCRIPT id=ebPosition src="http://ds.serving-sys.com/BurstingCachedScripts/Position_4_5_0.js"></SCRIPT><SCRIPT>function ebBannerFlash_0_0015799903462120346_DoFSCommand(command,args){ebScriptWin0_0015799903462120346.gEbBanners[0].displayUnit.handleFSCommand(command,args,"ebBannerFlash_0_0015799903462120346");}</SCRIPT><SCRIPT for=ebBannerFlash_0_0015799903462120346 event=FSCommand(command,args)>ebBannerFlash_0_0015799903462120346_DoFSCommand(command,args);</SCRIPT><SCRIPT>function ebIsFlashExtInterfaceExist(){return true;}</SCRIPT>
    <OBJECT style="BORDER-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 300px; PADDING-RIGHT: 0px; HEIGHT: 250px; OVERFLOW: visible; BORDER-TOP: 0px; BORDER-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px; textAlign: left" id=ebBannerFlash_0_0015799903462120346 name=ebBannerFlash_0_0015799903462120346 codeBase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=10,0,0,0" classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    </OBJECT>​

    <NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    รูป - นิพพานกัณฑ์
    รูป - อัพยากฤตธรรม

    [๖๗] ก็บทว่า อัพยากต (อัพยากฤต) ยังไม่เสร็จก่อน. เพราะบรรดาอัพยากฤต วิปาก-อัพยากฤตและกิริยา-อัพยากฤต ได้แจกแล้ว; ส่วนรูป - อัพยากฤต และนิพพานยังเหลืออยู่.

    บรรดาอัพยากฤตที่ยังเหลืออยู่นั้น รูป-อัพยากฤตก่อน โดยภูมิเป็นกามาพจรเท่านั้น; ไม่แตกต่างกัน.

    แม้โดยสัมปโยคก็เหมือนกัน ไม่เป็นได้ทีเดียว เพราะว่า ธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้นมีสัมปโยค (ความประกอบ) กันและกัน; ธรรมนอกนี้ไม่มีสัมปโยค
    วินิจฉัยโดยธัมมุทเทส

    ก็โดยธัมมุทเทส รูปนี้เป็น ๒๘ อย่าง. นี้คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ, จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ, รูป เสียง กลิ่น รส, อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์, หทยวัตถุ, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ, อากาศ, ความเบา- ความอ่อน - ความควรแก่การงานแห่งรูป, ความก่อตัว - ความสืบต่อ - ความคร่ำคร่า - ความไม่เที่ยงแห่งรูป, กพลิงการาหาร. ก็บรรดาธัมมุทเทสเหล่านี้ หทยวัตถุมิได้มาในบทภาชนีย์ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ก็จักมาโดยสรุปมีคำว่า "มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป" ดังนี้เป็นต้ นั่นเทียว ในปัฏฐานบาลี ในเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น จึงได้ถือเอาหทยวัตถุนั้นในธัมมุทเทสนี้.

    ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "รูปเป็น ๓๓ อย่าง เพราะถือเอารูป ๕ คือ มิทธรูป พลรูป สัมภวรูป ชาติรูป โรครูป ด้วย." รูปทั้ง ๕ นั้น บัณฑิตพึงอ้างความไม่มี และความรวมลง (ในรูปที่กล่าวแล้ว) แห่งรูปเหล่านั้นปฏิเสธเสีย. ดังจะกล่าวโดยย่อ: บรรดารูปเหล่านี้ มิทธะ (ความง่วงงุน) ไม่เป็นรูปเลย เพราะนิวรณ์ทั้งหลายเป็นอรูปธรรม; อันที่แท้ เป็นความเป็นไปแห่งรูปโดยอาการโงกง่วงด้วยมิทธะนั่นแล. ส่วนพลรูป (รูปคือกำลัง) รวมลงในวาโยธาตุ เพราะเป็นสภาวะของวาโยธาตุ. สัมพวรูป (รูปคือน้ำสัมภวะ) รวมลงในอาโปธาตุ. ชาติรูป (รูปคือความเกิด) รวมลงในอุปจยะ (ความก่อตัว) และสันตติ (ความสืบต่อ). ส่วนโรครูป (รูปคือโรค) ก็เข้าไปใน ชรตา (ความคร่ำคร่า) และอนิจจตา (ความไม่เที่ยง) เพราะโรคแสดงอาการให้ปรากฏในเพราะความต่างแห่งวิการของรูปที่ตั้งขึ้นโดยมีปัจจัย. เพราะฉะนั้น รูปทั้งสิ้นจึงเป็น ๒๘ อย่างเท่านั้น นี้เป็นวินิจฉัยโดยธัมมุทเทส
    วินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น

    [๖๘] ส่วนวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบดังนี้: บรรดารูป ๒๘ นี้ ปฐวีธาตุ มีความกระด้างเป็นลักษณะ. มีความตั้งมั่นเป็นรส. มีการรับไว้เป็นปัจจุปัฏฐานะ.

    อาโปธาตุ มีความหลั่งไหลเป็นลักษณะ. มีความเข้าไปพอกพูนเป็นรส. มีความยึดไว้เป็นปัจจุปัฏฐานะ.

    เตโชธาตุ มีความร้อนเป็นลักษณะ. มีความเผารนเป็นรส. มีความตามเพ่ิมให้ซึ่งความอ่อนเป็นปัจจุปัฏฐานะ.

    วาโยธาตุ มีความอุ้มชู (วิตฺถมฺภน) เป็นลักษณะ. มีความพัดไปมา (สมุทีรณ) เป็นรส. มีความขยับขยายออก (อภินีหาร) เป็นปัจจุปัฏฐาน.

    อีกอย่างหนึ่ง ธาตุทั้ง ๔ นี้ มีมหาภูตรูป ๓ ที่เหลือเป็นปทัฏฐาน.

    จักขุ มีประสาทอันเป็นที่ควรกระทบของรูปเป็นลักษณะ, หรือมีประสาท อันเป็นธรรมชาติมีกรรมอันเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะเห็น เป็นสมุฏฐาน เป็นลักษณะ. มีการชักวิญญาณมาที่รูปทั้งหลายเป็นรส. มีความเป็นที่รองรับจักขุวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐานะ. มีภูตะเกิดแต่กรรมอันเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะเห็นเป็นปทัฏฐาน. ก็จักขุนี้ ซึมซึมซาบเยื่อนัยน์ตา ๗ ชั้น ราวกะน้ำมันอันบุคคลรดที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น ซึมซาบชั้นของปุยนุ่นฉะนั้น, อันธาตุ ๔ ซึ่งมีหน้าที่ธำรงไว้ ยึดไว้ ให้อบอุ่น และให้เคลื่อนไหว ทำอุปการะดุจขัตติยกุมารอันพี่เลี้ยง ๔ คน ซึ่งมีหน้าที่อุ้มชูให้อาบ ตบแต่งและพัดวี ทำอุปการะ ฉะนั้น, อันอายุบริบาลอยู่, อันสี กลิ่นและรส เป็นต้นแวดล้อม, อันฤดูจิตและอาหารอุปัตถัมภ์อยู่, มีขนาดเท่าหัวเล็นโดยประมาณ, ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จอยู่ตามควรแก่วิถีจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ตั้งอยู่ในประเทศเป็นที่บังเกิดแห่งทรวดทรงสรีระของคนที่ยืนอยู่ในที่ตรงหน้า ท่ามกลางมณฑลดำอันล้อมรอบด้วยมณฑลขาวแห่งสสัมภารจักขุที่เป็นก้อนเนื้อซึ่งตั้งอยู่ในเบ้าตา อันเส้นด้ายคือ เอนผูกล่ามไว้ที่มันสมอง; ที่มีสีขาวบ้าง สีดำบ้าง สีแดงบ้าง, มีมหาภูตแม้ทั้ง ๔; ที่เป็นสีขาวก็เพราะมีเสมหะสูงขึ้น, เป็นสีดำก็เพราะมีดีสูงขึ้น, เป็นสีแดงเพราะมีเลือดสูงขึ้น, เป็นวัตถุแข็งขึงก็เพราะปฐวีธาตุสูงขึ้น, หลั่งอยู่ก็เพราะอาโปธาตุสูงขึ้น; ร้อนรุ่มอยู่ก็เพราะเตโชธาตุสูงขึ้น, หมุนอยู่ก็เพราะวาโยธาตุสูงขึ้น; และที่กล่าวกันอยู่ในโลกว่า "จักขุซึ่งกว้างยาวคล้ายกลีบอุบลเขียว เรียงรายด้วยขนตาอันเขียว" ดังนี้. สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ดังนี้:-
    "บุคคลตามเห็นรูปทั้งหลายด้วยจักขุประสาทใด
    จักขุประสาทนี้เล็ก ละเอียดประมาณเท่าหัวเล็น."

    โสตะ มีประสาทอันเป็นที่ควรกระทบของเสียงเป็นลักษณะ, หรือมีประสาทอันเป็นธรรมชาติมีกรรมอันเกิดแต่เหตุ คือความเป็นผู้ใคร่จะฟังเป็นสมุฏฐาน เป็นลักษณะ. มีการชักวิญญาณมาที่เสียงทั้งหลายเป็นรส. มีความเป็นที่รองรับโสตวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐานะ. มีภูตะเกิดแต่กรรมอันเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะฟังเป็นปทัฏฐานะ. ก็โสตะนี้ อันปัจจัยมีธาตุเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้วทำอุปการะการอนุบาล การแวดล้อมและการอุปัตถัมภ์ ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จอยู่ตามควรแก่วิถีจิตมีโสตวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานเหมือนวงแหวนอันบุด้วยขนแดงบางๆ ในภายในช่องของสสัมภารโสตะ.

    ฆานะ มีประสาทอันเป็นที่ควรรกระทบของกลิ่น เป็นลักษณะหรือมีประสาทอันเป็นธรรมชาติมีกรรมอันเกิดแต่เหตุคือ ความเป็นผู้ใคร่จะดมเป็นสมุฏฐาน เป็นลักษณะ. มีการชักวิญญาณมาที่กลิ่นทั้งหลายเป็นรส. มีความเป็นที่รองรับฆานวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน. ก็ฆานะนี้ได้รับอุปการะ การอนุบาล การแวดล้อม และการอุปัตถัมภ์มีประการดังกล่าวแล้ว, ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จอยู่ตามควรแก่วิถีจิตมีฆานวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ในภายในช่องของสสัมภารฆานะ

    ชิวหา มีประสาทอันเป็นที่ควรกระทบของรส เป็นลักษณ, หรือมีประสาทอันเป็นธรรมชาติมีกรรมเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะลิ้มเป็นสมุฏฐาน เป็นลักษณะ. มีการชักวิญญาณมาที่รสทั้งหลายเป็นรส. มีความเป็นที่รองรับชิวหาวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐานะ, มีภูตะเกิดแต่กรรมอันเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะลิ้ม เป็นปทัฏฐาน. ก็ชิวหานี้เป็นธรรมชาติได้รับอุปการะ การอนุบาล การแวดล้อมและการอุปถัมภ์ มีประการดังกล่าวแล้ว ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จอยู่ตามควรแก่วิถีจิตมีชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานเหมือนปลายกลีบอุบล ในเบื้องหน้าของส่วนกลางสสัมภารชิวหา.

    กายะ มีประสาทอันเป็นที่ควรกระทบของโผฏฐัพพะเป็นลักษณะ, หรือมีประสาทอันเป็นธรรมชาติมีกรรมอันเกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะถูกต้องเป็นปทัฏฐาน เป็นลักษณะ. มีการชักวิญญาณมาที่โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นรส. มีความเป็นที่รองรับกายวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐานะ มีภูตะอันเกิดแต่กรรมที่เกิดแต่เหตุคือความเป็นผู้ใคร่จะถูกต้องเป็นปทัฏฐาน. ก็กายะนี้ เป็นส่วนของปฐวีธาตุและอาโปธาตุไปตามในที่นั้นๆ ทั้งหมด ราวกะใยยางตามในชั้นฝ้ายฉะนั้น, ได้รับอุปการะ การอนุบาล การแวดล้อมและการอุปถัมภ์ มีประการดังกล่าวแล้ว ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จอยู่ตามควรแก่วิถีจิต มีกายวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ ตลอดที่ซึ่งเป็นอุปาทินนกะในกายนี้.




     
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    [๖๙] ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ประสาทของภูตรูปอันยิ่งด้วยความร้อน ชื่อว่า จักขุ; ประสาทของภูตรูปอันยิ่งด้วยช่อง-ลม-น้ำ-ดิน ชื่อว่า โสตะ -ฆานะ-ชิวหา-กายะ (ตามลำดับ)" อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า "จักขุมีความร้อนเป็ฯสภาพ; โสตะ-ฆานะ-ชิวหา-กายะ มีอากาศ-ดิน-น้ำ-ลม เป็นสภาพ (ตามลำดับ)" และกล่าวเหตุว่า "เพราะเป็นธรรมชาติทำร่วมกับความร้อนเป็นต้น, และเพราะเป็นธรรมชาติมีรูปเป็นต้น อันเป็นคุณ(ลักษณะ)ของความร้อนเป็นต้น เป็นวิสัย" ดังนี้ตามลำดับ. ก็อาจารย์เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวว่า "ก็ใครได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า "อินทรีย์ทั้งหลายพึงเป็นธรรมชาติมีสภาวะทำร่วมกัน" หรือว่า "รูปเป็นต้นเป็นลักษณะแห่งความร้อนเป็นต้น"? แท้จริง ใครๆ ไม่ได้ที่จะกล่าวในภูตรูปทั้งหลายอันเป็นอวินิพโภควุตติ (ไม่มีความเป็นไปต่างกัน) ว่า "ภูตรูปนี้เป็นคุณของภูตรูปนี้". ถ้าแม้จะพึงกล่าวว่า "คำว่า "รูปเป็นต้นเป็นคุณลักษณะของความร้อนเป็นต้น"นี้ พึงปรารถนา เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า รูปเป็นต้น เป็นอธิกวิสัยในสัมภารธาตุอันยิ่งด้วยความร้อนเป็นต้น" ดังนี้ไซร้; อาจารย์เหล่านั้นบัณฑิตพึงกล่าวว่า "เราควรปรารถนา; ผิว่ากลิ่นในฝ้ายที่ยิ่งด้วยธาตุดิน พึงเป็นกลิ่นแรงกว่ากลิ่นของเครื่องดองที่ยิ่งด้วยธาตุน้ำ, และสีของน้ำเย็น พึงเสื่อมไปจากสีของน้ำร้อนอันยิ่งด้วยความร้อน. ก็เพราะลักษณะทั้งสองนี้ไม่มี, ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงละการกำหนดความแตกต่างของภูตรูป อนเป็นที่อาศัยของประสาทรูป มีจักขุเป็นต้น เหล่านี้ เสีย. รูปและรสเป็นต้นของภูตรูปในกลาปหนึ่งๆ ซึ่งแม้ไม่มีความแปลกกัน เป็นรูปและรสไม่เหมือนกันและกันได้ ฉันใด; แม้จักขุประสาท เป็นต้นก็เป็นได้ฉันนั้น" นี้เป็นคำที่พึงถือเอา. ถามว่า ก็เหตุของความแปลกกันแห่งจักขุประสาทเป็นต้นเหล่านี้ไม่มีหรือ? ไม่ใช่ไม่มี. ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุนั่น? กรรมนั่นแลเป็นเหตุอันไม่ทั่วไปของจักขุประสาทเป็นต้น เหล่านั้น เพราะความแปลกกันแห่งภูตรูปทั้งหลายอันตัณหาผู้ชนกให้เกิดแล้ว. สมจริงดังคำโบราณว่า "เมื่อความแปลกกันแห่งภูตรูปยังมีอยู่ ประสาทรูปแหละเกิดขึ้นไม่ได้. เพราะภูตรูปที่สม่ำเสมอกันเท่านั้น มีประสาทรูป; ภูตรูปที่ไม่สม่ำเสมอกันไม่มีประสาทรูป."

    ก็บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ อันมีความต่างกัน เพราะความต่างกันแห่งกรรมอย่างนี้ จักขุและโสต เป็นธรรมชาติชื่อว่ารับอารมณ์อันไม่กระชั้นชิด เพราะเป็นเหตุของวิญญาณในเพราะอารมณ์อันเป็นที่อาศัยที่ไม่นาบเนื่องที่อาศัยของตนนั่นเอง. ส่วนฆานะ ชิวหาและกายะ เป็นธรรมชาติชื่อว่ารับอารมณ์อันกระชั้นชิดด้วยสามารถเป็นที่อาศัย และเพราะตนเองเป็นเหตุของวิญญาณในเพราะอารมณ์อันนาเนื่องที่อาศัยของตนด้วยนั่นเอง.

    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "แม้จักขุและโสต ก็เป็นธรรมชาติชื่อว่ารับอารมณ์อันกระชั้นชิดเหมือนกัน เพราะความบังเกิดแห่งวิญญาณ ด้วยการประกอบด้วยรัศมีของนัยน์ตาอันไปเร็วในรูปพระจันทร์เป็นต้น แม้ที่ตั้งอยู่ในที่ไกล และด้วยการที่เสียงทั้งหลายมาสืบๆ กันแล้วกระทบที่ช่องหู; ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล วิญญาณจึงไม่บังเกิดได้ในเพราะรูปและเสียงอันผ่าเป็นต้นคั่น และที่ไปในภูเขาและถ้ำเป็นต้นที่ไม่มีช่อง." แท้จริง ความที่จักขุเป็นธรรมชาติสามารถในอันประกอบด้วยรัสมี โดยความต่างแห่งกาลอันท่านมิได้กำหนด ในพระจันทร์และต้นไม้เป็นต้นทั้งไกลและใกล้ก็ดี, ความที่เสียงทั้งหลายทั้งไกลและใกล้ มีความต่างแห่งกาลอันไม่รู้แจ้ง สามารถในอันมากระทบที่ช่องหูก็ดี บัณฑิตพึงเข้าใจว่า คือความเป็นเหตุของความบังเกิดวิญญาณ แม้แห่งจักขุและโสตะนั้นเหมือนกัน. เบื้องหน้าแต่นั้นจึงเป็นความเข้าถึงความสามารถในการยังวิญญาณให้เกิด แห่งจักขุและโสตที่ตั้งอยู่ในที่นั้นนั่นเองและความไม่มาสู่คลองของจักขุหรือโสตอันเว้นจากปัจจัยที่ทำร่วมกันอยู่แห่งรูปและเสียงที่ฝาหรือถ้ำเป็นต้นคั่น. อันความประกอบด้วยอินทรีย์ในภาวะเช่นนั้นๆ แม้ของจักขุและโสตะนั้น พึงเป็นโดยประการนอกนี้. แม้การห้ามความไป ก็เป็นการห้ามความบังเกิดนั่นเอง. เหมือนกันนั่นแล บัณฑิตพึงถือเอาคำอธิบายสำหรับจักขุหรือโสตะที่เว้นจากปัจจัยที่ทำร่วมกันอยู่ว่าความประกอบด้วยอินทรีย์ของจักขุและโสตะเหล่านั้น ปรากฏในภาวะเช่นใด, ความบังเกิดขึ้นแห่งวิญญาณก็เป็นได้ในภาวะเช่นนั้นเทียว.

    ถามว่า จักขุเป็นธรรมชาติ ชื่อว่ารับอารมณ์อันไม่กระชั้นชิดเพราะรับแม้พระจันทร์เป็นต้นที่ตั้งอยู่ในที่ไกลได้ จงยกไว้ก่อน; แต่โสตะ เมื่อยังค่อยๆ กำหนดเสียงนั้น เพราะไม่สามารถที่จะรับเสียงคนตัดต้นไม้และคนซักผ้าในที่ไกลพร้อมด้วยกายวิการเป็นต้น ที่ปรากฏอยู่ในที่ไกลได้ทีเดียว จะเป็นธรรมชาติชื่อว่ารบอารมณ์อันไม่กระชั้นชิดได้อย่างไร? ดังจะเฉลย: เพราะความที่เสียงของการตกครั้งแรกของผึ่งและผ้าเป็นต้นแม้ในที่นั้น เป็นเสียงน้อย จึงไม่มาสู่คลอดงเหมือนกันกับเสียงน้อยๆ ที่เกิดจากการไหวเป็นต้นของกิ่งและใบที่ถูกตัดอยู่ในที่นั้น ไม่มีการมาสืบๆ กัน. แต่การมาสู่คลองของเสียงที่ตั้งอยู่ในที่นั้นนั่นเองเท่านั้น ย่อมมีได้ราวกะ ความมาของเสียงใหญ่ๆ ที่บังเกิดขึ้นเพราะความที่การกระทบและการเสียดสีในภายหลังเป็นอาการมีกำลัง; การกำหนดทิศไกลและใกล้ไม่พึงมีโดยประการนอกนี้ ดุจที่พึงมีแก่กลิ่นเป็นต้น. เพราะฉะนั้น จักขุและโสตะเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีอารมณ์อันไม่กระชั้นชิดนั่นเทียว; ส่วนฆานะเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นธรรมชาติมีอารมณ์อันกระชั้นชิด.

    อนึ่ง ประสาทรูปมีจักขุเป็นต้นนี้ เป็นเช่นกับงู จระเข้ นก ลูกสุนัข และสุนัขจิ้งจอก, เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่างูย่อมไม่อภิรมย์ในที่อันเกลี้ยงเสมอที่รดนัำแล้วในภายนอก, ละที่นั้นแล้ว มีอัธยาศัยพอใจในที่ไม่เสมอ มีที่รกชัฏด้วยหญ้า ใบไม้และจอมปลวก เป็นต้น ฉันใด; แม้จักขุก็ละฝาอันเกลี้ยงเป็นต้นเสียแล้ว มีอัธยาศัยพอใจในอารมณ์มีรูปหญิงและบุรุษและจิตรกรรมลายดอกไม้และลดาวัลย์เป็นต้น ฉันนั้น.

    แม้จระเข้ ก็เป็นสัตว์มีอัธยาศัยพอใจปล่องในน้ำ ละเสียซึ่งการเที่ยวไปในภายนอก ฉันใด; แม้โสตะก็มีอัธยาศัยพอใจในปล่องมีช่องหน้าต่างเป็นต้น ฉันนั้น.

    เหมือนอย่างนกมีแร้งเป็นต้น เป็นสัตว์มีอัธยาศัยพอใจแล่นไปในอากาศ ละเสียซึ่งแผ่นดินและต้นไม้เป็นต้น ฉันใด; แม้ฆานะก็เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ในเบื้องบน มีอัธยาศัยพอใจในอากาศ เพื่อจะชักมาซึ่งลมอันเป็นสื่อของกลิ่น ฉันนั้น.

    เหมือนอย่างลูกสุนัข เป็นสัตว์แสวงหาเหยื่อ มีอัธยาศัยพอใจบ้าน มีจิตน้อมไปในโรงครัวใหญ่เป็นต้น ละเสียซึ่งการเที่ยวไปนอกบ้าน ฉันใด; แม้ลิ้น ก็เป็นธรรมชาติมีอัธยาศัยพอใจในน้ำ ฉันนั้น.

    เหมือนอย่างสุนัขจิ้งจอก เป็นสัตว์แสวงหาเนื้อ มีอัธยาศัยพอใจป่าช้า ละเสียซึ่งการเที่ยวไปภายนอกป่าช้า ฉันใด; แม้กาย ถึงจะได้ที่นอนเป็นต้นมอันมีสัมผัสเป็นสุข แต่เป็นอนุปาทินนกะ; ก็ยังมีอัธยาศัยพอใจในอุปาทินนกะฉันนั้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายเมื่อไม่ได้อุปาทินนกะอื่น ก็สอดเข่าทั้งสองของตนเข้าอ้อมอกบ้าง, เอาศีรษะหนุนฝ่ามือบ้างนอน.

    อนึ่ง ปัจจัย คือ แสงสว่าง ช่อง ลม น้ำและดิน เหล่านี้เป็นเหตุยังวิญญาณให้เกิด. การกำหนดประสาทรูป ๕ เหล่านั้น โดยความต่างแห่งลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐานะ ประเทศ ที่อาศัย อารมณ์ (โคจร) อัธยาศัย และปัจจัย พึงทราบด้วยประการฉะนี้.<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    [๗๐] รูป มีความกระทบเฉพาะซึ่งจักขุเป็นลักษณะ. มีความเป็นวิสัยของจักขุวิญญาณเป็นรส. มีความเป็นโคจรของจักขุวิญญาณนั้นนั่นแลเป็นปัจจุปัฏฐานะ. มีมหาภูตรูป ๔ เป็นปทัฏฐาน. อนึ่ง ปทัฏฐานของอุปาทายรูปแม้ทั้งสิ้น พึงทราบเหมือนอย่างของรูปนี้ แต่มีความแปลกกันดังจักกล่าว: รูปนี้นั้น มีหลายอย่างโดยเป็นสีเขียว, สีเหลือง, สีแดง, สีขาว, สีดำ, สีหงสบาท, สีคล้ำ, เงา, แดด, แสงสว่าง, มืดเป็นต้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ชื่อว่า มืดเป็นอาการสักว่าความไม่มีแสงสว่างเท่านั้น, นอกจากภาวะนั้นเท่านั้นแล้วไม่ปรากฏรูปอันอยู่ในมืดนั้น." คำนั้นไม่ชอบ. เงาของเมฆเขียวและแก้วมณีเป็นต้น เป็นวรรณยตนะที่ไม่เหมือนกับแสงส่ว่าง ฉันใด; และเงาของฝา หลังคา แผ่นดิน และภูเขาเป็นต้น เป็นเงาทึบ พึงเห็นว่า เป็นมืดที่ไม่เหมือนด้วยแสงสว่าง โดยปกปิดรูปหม้อเป็นต้น ฉันนั้น.

    เสียง มีความกระทบเฉพาะซึ่งโสตเป็นลักษณะ. มีความเป็นวิสัยของโสตวิญญาณเป็นรส. มีความเป็นโคจรของโสตวิญญาณนั้นนั่นแลเป็นปัจจุปัฏฐานะ. เสียงนั้นมีหลายอย่าง โดยเป็นเสียงเพลงขับและเสียงกลองเป็นต้น.


    กลิ่น มีความกระทบเฉพาะซึ่งฆานะเป็นลักษณะ มีความเป็นวิสัยของฆานวิญญาณเป็นรส. มีความเป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแลเป็นปัจจุปัฏฐานะ. กลิ่นนั้นมีหลายอย่าง โดยเป็นกลิ่นรากไม้และเป็นกลิ่นแก่นไม้เป็นต้น

    รส มีความกระทบเฉพาะซึ่งชิวหาเป็นลักษณะ. มีความเป็นวิสัยของชิวหาวิญญาณเป็นรส. มีความเป็นโคจรของชิวหาวิญญาณนั้นนั่นแลเป็นปัจจุปัฏฐานะ. รสนั้นมีหลายอย่างโดยเป็นรสรากไม้และรสผลไม้เป็นต้น.

    อิตถินทรีย์ มีความเป็นหญิงเป็นลักษณะ. มีความประกาศว่าหญิงเป็นรส. มีความเป็นเหตุแห่งเพศ นิมิตร ท่าทางและอากัปกิริยาของหญิงเป็นปัจจุปัฏฐานะ.

    ปุริสินทรีย์ มีความเป็นชายเป็นลักษณะ. มีความประกาศว่าชายเป็นรส. มีความเป็นเหตุแห่งเพศ นิมิตร ท่าทางและอากัปกิริยาของชายเป็นปัจจุปัฏฐานะ.

    ความที่อินทรีย์แม้ทั้งสองนี้เป็นเหตุแห่งเพศเป็นต้นของหญิงและบุรุษนี้ ไม่มีโดยรสของตน เพราะความที่อินทรีย์ทั้งสองนี้เป็นปัจจัยของเพศเป็นต้นเหล่านั้น โดยปัจจัยอะไรๆ มิได้มาในปัฏฐานปกรณ์. แต่ภาวะคือเพศ นิมิตร ท่าทางและอากัปกิริยา แน่นอนจำเพาะแก่หญิงหรือบุรุษ เพราะเป็นธรรมชาติเกิดมาแต่ชนกปัจจัยของตน; ความเป็นปัจจัยและความเป็นอินทรีย์ ท่านกล่าวโดยปริยายเพราะความบังเกิดโดยนิยมแม้แห่งอนุคุณรูปทั้งหลายและเพราะความที่โวหารว่าเพศและนิมิตรเป็นต้น มีอินทรีย์ทั้งสองนั้นเป็นประธาน. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พยัญชนะมีเพศและนิมิตรเป็นต้น ของบุรุษจึงเกิดได้แก่อุภโตพยัญชนกหญิง แม้จะไม่มีปุริสินทรีย์ก็ตาม, และพยัญชนะมีเพศและนิมิตรเป็นต้นของหญิงจึงเกิดได้แก่อุภโตพยัญชนกชาย แม้จะไม่มีอิตถินทรีย์ก็ตาม, ทั้งนี้ ก็เพราะปุริมกรรมนั่นเอง แท้จริงผิว่าพยัญชนะอันแน่นอนจำเพาะ พึงบังเกิดแก่อุภโตพยัญชนกเหล่านั้น ด้วยอินทรีย์นั้นๆ เท่านั้นไซร้, พยัญชนะที่ ๒ ก็ต้องไม่มี. อุภโตพยัญชนกเหล่านั้น จะมีภาวะรูปทั้งสองอย่างไม่ได้เลย, ผิว่าพึงมีไซร้; ก็จำต้องประสงค์ความเกิดแห่งพยัญชนะทั้ง ๒ อย่างแม้ในกาลทุกเมื่อ. แท้จริง อุภโตพยัญชนกหญิงมีแต่อิตถินทรีย์เท่านั้น, ไม่มีปุริสินทรีย์. แต่เมื่อใด เขาเกิดจิตกำหนัดในหญิง, เมื่อนั้น ก็ปรากฏพยัญชนะชาย. พยัญชนะหญิงก็ถูกปิดบัง. พยัญชนะหญิงปรากฏแก่อุภโตพยัญชนกชาย. ก็เหมือนกัน. ก็เพราะอุภโตพยัญชนกเหล่านั้นมีอินทรีย์แน่นอนอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น อุภโตพยัญชนกหญิงจึงตั้งครรภ์เองก็ได้ ยังหญิงอื่นให้ตั้งครรภ์ก็ได้, อุภโตพยัญชนกชายจึงยังหญิงอื่นให้ตั้งครรภ์ได้; แต่ตั้งครรภ์เองไม่ได้. เพราะฉะนั้นจึงพึงถือเอาความตกลงว่า ราคจิตอันมีกรรมเป็นสหายนั่นแล เป็นเหตุของพยัญชนะแห่งอุภโตพยัญชนกเหล่านั้น, ไม่ใช่ภาวรูป. ถึงหญิงและชายปกติทั้งหลายก็มีปัจจัยมีกรรมอันยังภาวรูปทั้ง ๒ ให้เกิดเป็นต้น นั่นแลเป็นเหตุของพยัญชนะมีเพศและนิมิตรเป็นต้นนั้นๆ ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์ทั้งสองนี้ตั้งขึ้นแก่มนุษย์ที่เกิดในประถมกัลป์ในปวัตติกาล; แต่ในกาลเป็นส่วนอื่นแต่นั้น ตั้งขึ้นในปฏิสนธิเท่านั้น. แต่เปลี่ยนแปลงได้แก่มนุษย์ทั้งปวงในปวัตติกาลเท่านั้น. ก็บรรดาเพศเหล่านี้ เพศชาย เป็นเพศสูงสุด; เพศหญิงเป็นเพศทราม. เพราะฉะนั้น เพศชายจึงอันตรธานได้ด้วยอกุศลอันมีกำลัง; เพศหญิงดำรงอยู่ได้ด้วยกุศลอันทุรพล. ก็เพศหญิงเมื่ออันตรธานย่อมอันตรธานด้วยอกุศลอันทุรพล; เพศชายดำรงอยู่ได้ด้วยกุศลมีกำลัง. ทั้งสองเพศย่อมอันตรธานด้วยอกุศลเท่านั้น, ดำรงอยู่ได้ด้วยกุศลเท่านั้น ในสุคติด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง เพศทั้งสองนี้เป็นธรรมชาติซึมซาบสรีระทั้งสิ้นทีเดียวราวกะกายประสาท; แต่ไม่ตั้งอยู่ในโอกาสที่กายประสาทเป็นต้นตั้งอยู่แล้ว. ถามว่า "ผิว่าอย่างนั้นกายินทรีย์และภาวินทรีย์ก็ไม่ตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้นนะสิ?" ไม่ใช่อย่างนั้น; แต่ใครๆ ไม่อาจที่จะแยกออกโดยประการทั้งปวงโดยปรมัตถ์ บัญญัติ ความต่างแห่งโอกาสของกายินทรีย์และภาวินทรีย์เหล่านี้ได้ ราวกะของอวินิพโภครูปมีรูปและรสเป็นต้น. แท้จริง รสในรูปไม่มีโดยปรมัตถ์; ผิว่าพึงมีไซร้, ก้จะพึงถึงการถือเอาได้ด้วยศัพท์คือรูปเท่านั้น. กายินทรีย์และภาวินทรีย์ ไม่ตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์, และจะชื่อว่าไม่มีในสรีระทั้งสิ้น เพราะใครๆ ไม่อาจที่จะกันออก ก็หามิได้ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่กายินทรีย์และภาวินทรีย์เหล่านี้เป็นธรรมชาติไม่เจือปนกัน. เพราะววัตถานะ (เครื่องกำหนด) มีลักษณะเป็นต้นที่กล่าวแล้วในหนหลัง. ไม่เฉพาะแต่กายินทรีย์และภาวินทรีย์เหล่านี้เท่านั้น รูปแม้ทั้งหมดก็เป็นธรรมชาติไม่เจือกันเลย. ครั้นเมื่อประทีปที่เขาทำไส้ด้วยฝ้าย ๕ สี แล้วจุดให้โพลงขึ้น, ถึงเปลวจะเป็นราวกะว่าเนื่องเป็นอันเดียวกันก็จริงอยู่แล; แต่รัศมีของประทีปนั้นๆ มีเปลวแยกกันไม่เจือปนกันและกันเลย ฉันใด. รูปมีกายินทรีย์และภาวินทรีย์เป็นต้นเหล่านี้ก็ฉันนั้น, แม้ประชุมอยู่ในที่เดียวกัน แม้ตั้งอยู่ในที่ต่างกันโดยเบื้องล่างและเบื้องบนเป็นต้น ก็เป็นรูปไม่เจือปนกันเลยทีเดียว.

    [๗๑] ชีวิตินทรีย์ มีการตามรักษาบรรดารูปที่เกิดร่วมเป็นลักษณะ. มีการยังรูปที่เกิดร่วมเหล่านั้นให้เป็นไปได้ เป็นรส. มีการดำรงไว้ซึ่งรูปที่เกิดร่วมเหล่านั้นนั่นแล เป็นปัจจุปัฏฐานะ (ผลปรากฏ). มีธรรมที่พึงให้เป็นไปเป็นปทัฏฐาน. ก็ชีวิตินทรีย์นี้ตามรักษาบรรดารูปที่เกิดร่วมแต่ในขณะที่มีอยู่เท่านั้น ราวกะน้ำตามรักษาชลชาติมีดอกบัวเป็นต้น ฉะนั้น; ไม่ตามรักษาในภังคขณะ เพราะจะแตกไปเอง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรักษาบรรดาธรรมที่เกิดแต่ปัจจัยตามของตนราวกะพี่เลี้ยงรักษากุมาร ฉะนั้น. อนึ่ง ย่อมเป็นไปได้แต่โดยความสัมพันธ์แห่งธรรมที่ตนให้เป็นไปเอง, พึงเห็นว่า ราวกะต้นหน ฉะนั้น.

    หทัยวัตถุ มีความเป็นที่อาศัยของมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุเป็นลักษณะ. มีความทรงไว้ซึ่งธาตุทั้งสองนั้น เป็นรส. มีความถอนขึ้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. ก็หทัยวัตถุนี้ มีสัณฐานดังดอกปทุมแดงตูมที่บุคคลปลิดกลีบนอกแล้ววางคว่ำหน้าไว้, ภายนอกเกลี้ยง, ภายในเช่นกับส่วนภายในผลบวบขม; ของคนมีปัญญา แย้มหน่อยหนึ่ง, ของคนมีปัญญาน้อย ตูม, ตั้งอยู่ในท่ามกลางถันทั้งสองในภายในสรีระ. ไต ตับ พังผืด ม้าม เป็นต้น แวดล้อมคู่เนื้อหัวใจตั้งอยู่. โลกหิตประมาณกึ่งซองมือ ขังอยู่ในบ่อซึ่งมีขนาดพอเป็นที่ตั้งเมล็ดบุนนาคได้ ภายในเนื้อสสัมภารหทัยนั้น. ก็โลหิตที่ขังอยู่นั้นของคนราคจริตเป็นสีแดง, ของคนโทสจริตเป็นสีดำ, ของคนโมหจริตเป็นเช่นกับน้ำล้างเนื้อ, ของคนวิตกจริตมีสีคล้ายเยื่อถั่วดำ, ของคนศรัทธาจริตมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์, ของคนพุทธิจริตใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ขาว บริสุทธิ์ มีความรุ่งเรืองราวกะชาติมณีที่จาระไนแล้ว. หทัยวัตถุนั้น อันภูตรูปทั้งหลายซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ มีการทรงไว้เป็นต้นซึมซาบทำอุปการะแล้ว, อันอายุตามรักษาอยู่, อันโคจรรูปมีสีเป็นต้นแวดล้อมไว้, อันฤดู จิตและอาหารอุปถัมภ์อยู่, ยังความเป็นวัตถุของมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั่นแล และของธรรมที่เกิดร่วมกับธาตุทั้งสองนั้นให้สำเร็จอยู่ ตั้งอยู่.

    กายวิญญัติ มีวิการของอาการแห่งวาโยธาตุอันมีจิตที่ยังอาการมีการก้าวไปทั้งหน้าต้น ให้เป็นไป เป็นสมุฏฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยแก่การค้ำจุน การทรงไว้ และความหวั่นไหวแห่งรูปกายที่เกิดร่วมเป็นลักษณะ. มีการประกาศความประสงค์เป็นรส. มีความเป็นเหตุของความเคลื่อนไหวแแห่งกายเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปทัฏฐาน.

    วจีวิญญัติ มีวิการของอาการแห่งปฐวีธาตุอันมีจิตที่ยังการเปล่งวาจาให้เป็นไปเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยแก่การเสียดสีแห่งอุปาทินนสังขาร เป็นลักษณะ. มีการประกาศความประสงค์เป็นรส. มีความเป็นเหตุของเสียงดังแห่งวาจาเป็นปัจจุปัฏฐานะ. มีปฐวีธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานะเป็นปทัฏฐาน.

    กายวิญญัติและวจีวิญญัติทั้งสองนี้ เรียกชื่อเช่นนั้น เพราะความที่ตนเองเป็นอาการอันบุคคลพึงรู้แจ้ง และเพราะการยังผู้อื่นให้รู้แจ้งซึ่งความประสงค์ ด้วยความเคลื่อนไหวแห่งกายแลเสียงดังของวาจา. แท้จริง ครั้นเมื่อใครๆ ยืนอยู่ในคลองจักษุและโสตทำกายวิการมีโบกมือและผจกศีรษะเป็นต้น หรือทำเสียง, รูปายตนะและสัททายตนะอันเป็นไปอย่างนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสต; แต่รูปายตนะและสัททายตนะเหล่านี้ไม่เป็นวิญญัติ. ส่วนวิการแห่งวาโยธาตุอันอยู่ในกลาป (หมวด) ที่จิตให้ตั้งขึ้นอันเป็นปัจจัยแก่ความทรงไว้และความหวั่นไหวแห่งรูปกายที่เกิดร่วมเป็นกายวิญญัติ. อย่างเดียวกัน วิการแห่งอาการของปฐวีธาตุที่จิตให้ตั้งขึ้น อันเป็นปัจจัยแก่ความเสียดสีแห่งอุปาทินนสังขารเป็นวจีวิญญัติ. ก็กายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นไม่เป็นธรรมชาติอันบุุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสต; แต่เป็นธรรมชาติที่พึงรู้แจ้งได้ แม้ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายด้วยชวนะอันเป็นไปในมโนทวาร, โดยแล่นไปตามวิการแห่งกายและเสียงดังของวาจาตามที่ตนถือเอาแล้ว ราวกะน้ำดื่มเป็นต้นเป็นของที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยเครื่องหมายคือวัตถุมีใบตาลเป็นต้น; อนึ่ง ความประสงค์ว่า "ผู้นี้ให้เราทำการและกล่าวความนี้และนี้" ดังนี้ ก็เป็นาภวะที่พึงรู้ได้โดยแล่นไปตามกายวิการและเสียงดังของวาจาตามที่ตนถือเอาแล้วนั้นนั่นแล. เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญัติ เพราะความที่ตนเองเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งและเพราะการยังผู้อื่นให้รู้แจ้งซึ่งความประสงค์.

    ก็ในกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้น พึงเห็นอรรถรูปดังนี้:
    วาโยธาตุที่ชวนะ ๖ เบื้องต้น - ในบรรดากามาวจรชวนะ ๗ ในวิถีแห่งชวนะที่เป็นไปในมโนทวารอันจะยังกายวิญญัติให้เกิด - ให้ตั้งขึ้นแล้วอาจที่จะทำกิจ คือความค้ำจุนและควาทรงไว้เท่านั้น; แต่ไม่อาจที่จะยังกิจมีการก้าวไป้างหน้าเป็นต้นให้สำเร็จได้. ส่วนวาโยธาตุที่ชวนะที่ ๗ ให้ตั้งขึ้นแล้ว ได้วาโยธาตุที่ชวนะ ๖ ให้ตั้งขึ้นแล้วในหนหลังเป็นธรรมค้ำจุนช่วยเหลือ ย่อมอาจที่จะทำกิจมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นของรูปกายได้ ราวกะโคที่เทียมในแอกที่ ๗ ของเกวียนที่มีภาระอันจะพึงลากไปด้วยแอกทั้ง ๗ ได้ โคที่เทียมในแอกอีก ๖ แอกเป็นผู้ค้ำจุนช่วยเหลือจึงอาจที่จะทำกิจมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้ได้ฉะนั้น. แม้ความที่ปฐวีธาตุที่ชวนะอันยังวจีวิญญัติให้เกิดให้ตั้งขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยของความเสียดสีแห่งอุปาทินนกสังขารก็พึงทราบอย่างนี้. แต่ในวจีวิญญัตินั้น ความที่ปฐวีธาตุที่ชวนะเบื้องต้นให้ตั้งขึ้นแล้วเป็นธรรมค้ำจุนช่วยเหลือ และความที่ปบวีธาตุที่ชวนะที่ ๗ ให้ตั้งขึ้นแล้วเป็นปัจจัยของความหวั่นไหว ไม่มี, เพราะความค้ำจุนและความหวั่นไหวเหล่านั้นเป็นกิจของวาโยธาตุ. แต่ปฐวีธาตุหลังๆ อันรูปที่เกิดร่วมก่อนๆ ค้ำจุนช่วยเหลือ เป็นธรรมชาติสามารถในการเสียดสีอุปาทินนกสังขาร. คำอธบายที่เหลือก็เช่นเดียวกันนั่นแล. ก็อาการมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นของสกลกายย่อมเป็นไปได้ เพราะครั้นเมื่อกายที่จิตให้ตั้งขึ้นหวั่นไหวอยู่ด้วยวาโยธาตุ แม้บรรดากายที่ชวนะเหล่านั้นเป็นสมุฏฐาน อันกายที่จิตให้ตั้งขึ้นนั้นค้ำจุนช่วยเหลือ ก็หวั่นไหวไปด้วย ราวกะว่า ครั้นเมื่อน้ำไหลไปอยู่ บรรดาใบไม้ที่ตกไปในน้ำนั้นก็ไหลลอยไปด้วย ฉะนั้น.
     
  4. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    [๗๒] อากาศธาตุ มีการกำหนดตัดรูปเป็นลักษณะ. มีการประกาศที่สุดของรูปเป็นรส. มีขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน. , มีความไม่สัมผัสกันแห่งรูปทั้งหลายเป็นปัจจุปัฏฐาน, หรือมีความเป็นช่องเป็นร่องเป็นปุจจุปัฏฐาน. มีรูปที่กำหนดตัด เป็นปทัฏฐาน; ด้วยอากาสธาตุไรเล่า จึงปรากฏขอบเขต ณ รูปทั้งหลายที่กำหนดตัดว่า "รูปนี้เบื้องบนเพียงแค่นี้, เบื้องล่างเพียงแค่นี้, และเบื้องขวางเพียงแค่นี้".

    ความเบาแห่งรูป (รูปสฺส ลหุตา) มีความไม่ช้าเป็นลักษณะ. มีการบรรเทาความหนักแน่นแห่งรูปทั้งหลายเป็นรส. มีความเปลี่ยนแปลงเร็วเป็นปัจจุปัฏฐาน, มีรูปเบาเป็นปทัฏฐาน.


    ความอ่อนแห่งรูป (รูปสฺส มุทุตา) มีความไม่กระด้างเป็นลักษณะ. มีการบรรเทาความกระด้างแห่งรูปทั้งหลายเป็นรส. มีความไม่มีความผิดพลาดในกิริยาทั้งปวงเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีรูปอ่อนเป็นปทัฏฐาน.

    ความควรแก่การงานแห่งรูป ( รูปสฺส กมฺมญฺญตา) มีความควรแก่การงาน อันอนุกูลแก่กิริยาของสรีระ เป็นลักษณะ. มีการบรรเทาความไม่ควรแก่การงานเป็นรส. มีความไม่ทุรพลเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีรูปอันควรแก่การงานเป็นปทัฏฐาน.

    ก็ภาวะแม้ทั้ง ๓ อย่างนี้ย่อมไม่ละกันและกัน. ท่านกล่าวว่า มีการบรรเทาความหนัก ความกระด้าง ความไม่ควรแก่การงานเป็นกิจนั้น กล่าวโดยปริยาย เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อรูปหนักกระด้าง ไม่ควรแก่การงานและเพราะเป็นการทำให้หลากแห่งรูปที่เป็นธรรมชาติเบา อ่อน ควรแก่การงาน ซึ่งเกิดแต่ฤดู จิตและอาหารอัตั้งขึ้นแล้ว; แต่มิได้กล่าวโดยสภาวะ เพราะความเป็นธรรมชาติไม่มีอยู่ด้วยตนเอง.

    ความก่อตัวแห่งรูป (รูปสฺส อุปจโย) มีความสะสมขึ้นเป็นลักษณะ. มีการยังรูปทั้งหลายให้เติบโตขึ้นจากส่วนเบื้องต้นเป็นรส. มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน, หรือมีความเป็นรูปบริบูรณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน. มีรูปที่ก่อตัวแล้วเป็นปทัฏฐาน.

    ความสืบต่อแห่งรูป (รูปสฺส สนฺตติ) มีความเป็นไปเป็นลักษณะ. มีความตามผูกพันเป็นรส. มีความไม่ขาดตอนเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีรูปที่ตามผูกพันเป็นปทัฏฐาน.

    รูปแม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็เป็นชื่อของชาติรูปนั่นเอง. แท้จริงความบังเกิดขึ้นครั้งแรก แห่งบรรดารูปที่มีสมุฏฐาน ๔ อันกรรมประมวลไว้ ชื่อว่า อุปจยะ (ความก่อตัว), ความบังเกิดในเบื้องบนๆ ชื่อว่า สันตติ (ความสืบต่อ). ด้วยเหตุนั้นนั่นเทียว ในบทภาชนีย์ของรูปทั้งสองนั้น จึงได้กล่าวไว้ว่า "อันใดเป็นความก่อตัวแห่งรูป อันนั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป". แต่ทรงขึ้นเป็นแผนกหนึ่งๆ เพราะความต่างกันแห่งอาการ.

    ความคร่ำคร่าแห่งรูป (รูปสฺส ชรตา) มีความสุขงอมแห่งรูปเป็นลักษณะ. มีการนำเข้าไป (สู่มรณะ) เป็นรส. มีความปราศไปแห่งความเป็นของใหม่ แม้สภาวะจะไม่ปราศไปก็ตาม เป็นปัจจุปัฏฐาน, ราวกะความเป็นของเก่าแห่งข้าวเปลือก. มีรูปอันสุกงอมอยู่เป็นปทัฏฐาน. ก็ชรานี้แม้แตกไปอยู่ในขณะๆ ท่านก็กล่าวว่าปรากฏชรา (ชราที่ปรากฏ) สวีจิชรา (ชราที่มีคลื่น) เพราะความเป็นธรรมมีวิการที่พึงรู้ง่ายในระหว่างๆ โดยอาการมีฟันหักเป็นต้นในอุปาทินนกสังขาร, และเพราะอาการมีวิการแห่งสีเป็นต้นในอนุปาทินนกสังขารมีต้นไม้และเครือเขาเป็นต้น. ท่านกล่าวว่า อปากฏชรา (ชราที่ไม่ปรากฏ) อวิจิชรา (ชราที่ไม่มีคลื่น) เพราะเป็นธรรมชาติที่รู้ยาก และเพราะความเป็นธรรมชาติหาระหว่างมิได้ในอนุปาทินนกสังขารบางอย่างมีแก้วมณี ทอง พระจันทร์และพระอาทิตย์เป็นต้น แท้จริง ชราในอนุปาทินนกสังขารเช่นนี้ พึงปรากฏโดยความวิกาลในกาลที่กัลปพินาศ ส่วนชราในอรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิจฉันนชรา เพราะความเป็นธรรมชาติมีวิการอันไม่ปรากฏแม้ในกาลทุกเมื่อ. ชรามีความวิการแห่งสีเป็นต้นไม่มีเลยในอรูปธรรมเหล่านั้นเพราะความที่ชรามีความวิการแห่งสีเป็นต้นเหล่านั้น เป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้ด้วยจักษุ.

    พึงถือเอาอรรถรูปว่า แท้จริง ชราไม่เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้ด้วยจักษุ; แต่เป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้ด้วยใจ. ห้วงน้ำแม้ที่บุคคลมิได้เห็น ด้วยการเห็นแผ่นดินเป็นต้น ที่ห้วงน้ำกัดเซาะแล้ว ก็เป็นประเทศอันบุคคลพึงรู้ง่าย ฉันใด, ชราแม้ที่บุคคลไม่เห็นด้วยการเห็นวิการก็เป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้ง่าย ฉันั้น.

    ความไม่เที่ยงแห่งรูป (รูปสฺส อนิจฺจตา) มีความทรุดโทรมเป็นลักษณะ, มีความล่มจมเป็นรส. มีความสิ้นไปและความเสื่อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีรูปอันทรุดโทรมอยู่เป็นปทัฏฐาน.

    ก็ชาติชราและมรณะที่พระผู้มีพระภาคทรงถือเอาด้วยอาการมีความก่อตัวเป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นได้แก่บรรดารูปธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้; ย่อมเป็นได้แท้เทียว แม้แก่บรรดอรูปธรรม. จริงอยู่ ชาติชราและมรณะนี้ พึงเห็นว่าเป็นได้แก่สัตว์เหล่านี้ เช่น กับโจรผู้เข้าต้อนให้เข้าไปสู่ป่า, ผู้ยังสัตว์ที่เข้าไปแล้วให้ล้มลง, และผู้ฆ่าสัตว์ที่ล้มลงแล้ว ตามลำดับ.

    กพลิงการาหาร มีโอชาเป็นลักษณะ. มีการนำมาซึ่งรูปเป็นรส. มีการอุปถัมภ์ค้ำชูเป็นปัจจุปัฏฐาน, มีวัตถุที่พึงนำมาเป็นปทัฏฐาน. วินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น อย่างนี้.<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    วินิจฉัยโดยการสงเคราะห์

    [๗๓] ส่วนวินิจฉัยโดยการสงเคราะห์ พึงทราบดังนี้ : รูปนี้แม้ทั้งหมด เป็นอย่างเดียวโดยขันธ์ คือเป็นรูปขันธ์เท่านั้น. และอย่างเดียวกัน เป็นอย่างเดียวโดยนัยมีอาทิคือ เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ), เป็น อเหตุกะ (ไม่มีเหตุ), เป็น สัปปัจจัยะ (มีปัจจัย), เป็น สังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่ง) , เป็น โลกิยะ, เป็น สาวะ (เป็นอารมณ์ของอาสวะ) , เป็น สังโยชนิยะ (เป็นอารมณ์ของสังโยชน์) , เป็น โอฆนียะ (อารมณ์ของโอฆะ), เป็น โยคนิยะ (เป็นอารมณ์ของโยคะ), เป็น นีวรณียะ (เป็นอารมณ์ของนิวรณ์), เป็น ปรามัฏฐะ (เป็นอารมณ์ของปรามาส), เป็น สังกิเลสสิกะ (เป็นอารมณ์ของสังกิเลส), เป็น อนารัมมณะ (ไม่มีอารมณ์), เป็น อัปปหาตัพพะ (ธรรมอันมรรคไม่ประหาร),

    อนึ่ง รูปนั้นเป็น ๒ อย่างโดยภูตรูปและอุปาทายรูป. อย่างเดียวกัน เป็น ๒ อย่างโดยนิปผันนรูปและอนิปผันนรูป. บรรดารูปเหล่านั้น มหาภูต ๔ มีปฐวีธาตุเป็นต้น ชื่อว่า ภูตรูป; รูปที่เหลือชื่อว่า อุปาทายรูป. รูป ๑๗ มีปฐวีธาตุเป็นต้น และกฬฬิงการาหาร รวมทั้ง ๑๘ อย่างนี้ ชื่อว่า นิปผันนรูป เพราะเป็นธรรมชาติมีอยู่โดยปรมัตถ์; รูปนอกนี้ ชื่อ อนิปผันนรูป. ประสาทรูป ๕ มีจักขุเป็นต้น, ภาวรูป ๒, ชีวิตินทรีย์, รวมทั้ง ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า อินทรียรูป; รูปนอกนี้ ชื่อว่า อนินทริยรูป. อินทริยรูปเหล่านั้นนั่นแหละ และหทัยรูป รวมทั้ง ๙ อย่างนี้ ชื่อว่า อุปาทินนะ; รูปนอกนี้ชื่อ อนุปาทินนะ; ประสาทรูป ๕ , โคจรรูป ๔ คือ รูป เสียง กลิ่น รส, ภูตรูป ๓ เว้นอาโปธาต, รวมทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ( เป็น ๑๐ อย่าง โดยนับแต่ "ภูตรูป ๓ เว้นอาโปธาตุ๑ เป็น ๑ โดยรวมเป็น โผฏฐัพพะ; แต่ ฉ. และอภิธัมมัตถสังคหะ นับเป็น ๑๒ อย่างทีเดียว ) ชื่อว่า โอฬาริกรูป (รูปหยาบ), ชื่อว่า สันติเกรูป (รูปใกล้), และชื่อว่า สัปปฏิฆรูป (รูปกระทบได้); รูปที่เหลือ ชื่อว่า สุขุมรูป (รูปละเอียด), ชื่อว่า ทูเรรูป (รูปไกล); และชื่อ อัปปฏิฆรูป (รูปกระทบไม่ได้), ประสาทรูป ๕ และหทยรูป ชื่อว่า วัตถุรูป ; รูปนอกนี้ชื่อว่า อวัตถุรูป. ประสาทรูป และวิญญัติรูป ๒ ชื่อว่า ทวารรูป ; รูปนอกนี้ ชื่อว่า อทวารรูป. ประสาทรูปชื่อว่า อัชฌัตติกรูป (รูปภายใน), และชื่อว่า โคจรคาหิกรูป (รูปรับอารมณ์); รูปนอกนี้ชื่อว่า พาหิรรูป (รูปภายนอก), และชื่อว่า อโคจรคาหิกรูป (รูปไม่รับอารมณ์), สุทธัฏฐกรูป นี้ คือภูติรูป ๔ , รูป, กลิ่น, รส,และโอชา ชื่อว่า อวินิพโภครูป; รูปนอกนี้ชื่อวินิพโภครูป. อนึ่ง รูปเป็น ๒ อย่างโดยการจำแนกมีอย่างนี้คือ จักขุ, ไม่ใช่จักขุ, เป็นอาทิ.

    [๗๔] อีกนัยหนึ่ง รูปนั้นเป็น ๓ อย่างโดย สนิทัสสนติกะ. บรรดารูป ๓ อย่างนั้น รูปายตนะ ชื่อว่า สนิทัสสนสัปปฏิฆะ (รูปที่เห็นได้และกระทบได้); โอฬาริกรูปที่เหลือ ชื่อว่า อนิทัสนสัปปฏิฆะ (รุปที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้); สุขุมรูปแม้ทั้งสิ้นชื่อว่า อนิทัสสนอัปปฏิฆะ (รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้). โดยกัมมชาทิติกะ ก็เป็น ๓ อย่างๆ เช่นกัน. บรรดารูป ๓ อย่างนั้น อุปาทินนรูป ๙ อย่าง, สุทธัฏฐกรูป, และอากาสธาตุ ชื่อว่า กัมมชะ (รูปที่เกิดแต่กรรม); วิญญัติ ๒, รูป ๓ มีความเบาเป็นต้น และเสียง ชื่อว่า อกัมมชะ (รูปที่ไม่เกิดแต่กรรม); ลักขณรูป ๔ มี อุปจยะ เป็นต้น ชื่อว่า อชะ (รูปที่ไม่เกิด), สุทธัฏฐกรูป, อากาส, วิญญัติสอง, วิการรูป ๓ มีลหุตา เป็นต้น , และเสียง ชื่อว่า จิตตชะ (รูปที่เกิดแต่จิต); รูปเหลือจากนั้นเว้นลักขณรูป ชื่อว่า อจิตตชะ (รูปที่ไม่เกิดแต่จิต); ลักขณรูป ชื่อว่า อชะ (รูปที่ไม่เกิด). สุทธัฏฐกรูป, อากาส,และวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น, ชื่อว่า อาหารชะ (รูปที่เกิดแต่อาหาร); รูปที่เหลือเว้นลักขณรูป ชื่อว่า อนาหารชะ (รูปที่ไม่เกิดแต่อาหาร); ลักขณรูปชื่อว่า อชะ. สุทธัฏฐกรูป, อากาส วิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น และเสียงชื่อว่า อุตุชะ (รูปที่เกิดแต่ฤดู); รูปที่เหลือเว้นลักขณรูปชื่อว่า อนุตุชะ (รูปที่ไม่เกิดแต่ฤดู); ลักขณรูป ชื่อว่า อชะ.

    แท้จริงลักขณรูปทั้งหลายไม่ได้โวหารว่าเกิดแต่สมุฏฐานอะไรๆ เพราะเป็นสภาวะแห่งธรรมอันเกิดอยู่คร่ำคร่าอยู่ แตกสลายอยู่, แม้ทั้งที่ลักษณะเหล่านั้นยังต้องประสงค์ชื่อมี ชาติ เป็นต้น. การที่จะกล่าวว่า "ชาติเกิดอยู่, ชราคร่ำคร่าอยู่, มรณะตายอยู่" ดังนี้ ไม่ชอบเลย เพราะไม่มีฐานะเป็นที่กำหนด. ส่วนอนิปผันนรูปมีอากาศและวิญญัติเป็นต้น ที่เหลือจากนั้น แม้จะไม่มีการบังเกิดแต่สมุฏฐานอะไรๆ เพราะเป็นรูปที่ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น ท่านก็ได้กล่าวความที่อนิปผันนรูปเหล่านั้นเป็นธรรมมีเหตุไว้ เพราะไม่มีความผิดพลาดแก่การกล่าวอนิปผันนรูปเหล่านั้นว่ามีอยู่ก็ดี ว่าบังเกิดแต่เหตุก็ดี โดยหมายถึงรูปที่เป็นไปโดยประการนั้นๆ. ส่วนความที่แม้ชาติก็เป็นธรรมชาติเกิดแต่เหตุบางอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในคำว่า "รูปายตนะฯ เปฯ ความก่อตัวแห่งรูป, ความสืบต่อแห่งรูป, กพลิงการาหาร, ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน" ดังนี้เป็นต้นในบาลี นั้นตรัสหมายถึงความที่ปัจจัยอันยังรูปให้เกิดชื่อว่ามีอยู่ในขณะรูปเกิด เพราะเป็นธรรมชาติปรากฏในลักษณะคือการเสวยกิจ, แต่มิได้ตรัสสำหรับชราและมรณะ เพราะไม่มีในขณะรูปเกิด. ส่วนคำว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรามรณะไม่เที่ยง เป็นสังขตะอาศัยเหตุเกิดขึ้น" ดังนี้ พึงทราบว่า ตรัสไว้เพราะทรงถือเอาวิญญาณและนามรูปต้น ที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นนั่นเอง ด้วยแง่คือชราและมรณะ.

    อนึ่ง รูปเป็น ๓ อย่าง โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า "รูปที่เป็นภายในชื่อว่า อุปาทา; รูปที่เป็นภายนอก ชื่อว่า อุปาทาก็มี, ชื่อว่า โนอุปาทา (ไม่ใช่อุปาทา) ก็มี."
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    [๗๕] อีกนัยหนึ่ง รูปทั้งหมดนั้นเป็น ๔ อย่าง โดยทิฏฐะ (เห็นด้วยตา) สุตะ (ฟังด้วยหู) มุตะ (รู้ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย) วิญญาตะ (รู้แจ้งด้วยใจ). บรรดารูป ๔ อย่างนั้น รูปายตนะชื่อว่าทิฏฐะ, เสียง ชื่อว่า สุตะ, กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ชื่อว่า มุตะ เพราะจึงถึงแล้วถือเอา; รูปที่เหลือชื่อว่า วิญญาตะเพราะจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ. อย่างเดียวกัน รูปเป็น ๔ อย่างโดยรูปรูปจตุกกะ เป็นต้น. บรรดารูป ๔ อย่างนั้น นิปผันนรูป ๑๘ อย่าง ชื่อว่า รูปรูป; อากาศชื่อว่า ปริจเฉทรูป; วิญญัติทั้งสอง และรูป ๓ อย่าง มีลหุตา (ความเบา) เป็นต้น ชื่อว่าวิการรูป; รูป ๔ อย่าง มีอุปจยะ (ความก่อตัว) เป็นต้น ชื่อว่า ลักขณรูป. อย่างเดียวกัน รูปเป็น ๔ อย่างโดยมีอาทิอย่างนี้ว่า “หทยวัตถุ ชื่อว่า เป็นวัตถุ, แต่ไม่เป็นทวารวิญญัติทั้งสองชื่อว่า เป็นทวาร, แต่ไม่เป็นวัตถุ, ประสาทรูป ๕ มีจักขุเป็นต้น ชื่อว่า วัตถุด้วย ทวารด้วย; รูปที่เหลือชื่อว่าวัตถุก็ไม่ใช่ ทวารก็ไม่ใช่”

    <O:pอีกนัยหนึ่ง รูปนั้นเป็น ๕ อย่าง โดยเอกชะเป็นต้น ดังจะกล่าวโดยพิสดาร: อุปาทินฺนรูป ๙ อย่างชื่อว่า เอกชะ เพราเกิดด้วยยกรรมเท่านั้น, และวิญญัติทั้งสองก็ชื่อว่า เอกชะ เพราะเกิดด้วยจิตเท่านั้น; เสียงชื่อว่า ทวิชะ เพราะเกิดด้วยฤดูและจิต; รูป ๓ อย่างมีลหุตาเป็นต้น ชื่อว่า ติชะ เพราะเกิดด้วยฤดู จิตและอาหาร; สุทธัฏฐกรูป ( สุทธัฏฐกรูป: ภูตรูป ๕, รูป ลิ่น รสและโอชา – ดูข้อ ๗๓) และอากาศ ชื่อว่าจตุชะ เพราะเกิดด้วยเหตุทั้ง ๔ อย่าง (กรรม ฤดู จิตและอาหาร); ลักขณรูปทั้งหลายชื่อว่า อชะ. เป็น ๕ อย่างโดยนัยมีอย่างนี้เป็นอาทิ.


    <O:pอีกนัยหนึ่ง รูปนั้นเป็น ๖ อย่าง โดยรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์และมนินทรีย์ . เป็น ๗ อย่างโดยรูปที่พึงรู้ด้วยวิญญาณธาตุ ๗. รูป ๗ อย่างนั้นนั่นแล เป็น ๘ อย่าง เพราะทำรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณธาตุให้เป็น ๒ อย่าง โดยภูตรูปและอุปาทายรูป. (ในธัมมสังคณีตอนรูปสังคห มาติกา แสดงรูป ๘ อย่างไว้ดังนี้ .- รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุ ๑ ...ด้วยโสตะ ๑.... ด้วยหานะ ๑.. ด้วยชิวหา ๑.... ด้วยกาย มีสัมผัสเป็นสุข ๑ มีสัมผัสเป็นทุกข์ ๑... ด้วยมโนธาตุ ๑... ด้วยมโนวิญญาณธาตุ ๑ ) ดังจะกล่าวโดยย่อ: บรรดารูปเหล่านั้น อาโปธาตุชื่อ ว่าภูตรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณเท่านั้น; สุขุมรูปทั้งกับประสาทรูปนอกนี้ชื่อว่า อุปาทายรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ.

    อึกนัยหนึ่ง รูป ๘ อย่างนั้นนั่นแล เป็น ๙ อย่างเพราะทำอุปาทายรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณให้เป็น ๒ อย่าง โดยอินทรีย์และอนินทรีย์. (ในธัมมสังคณีตอนรูปสังคห มาติกา แสดงรุป ๙ อย่างไว้ดังนี้ – จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์. และตอนนวกนิเทศ แสดงรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ไว้ว่ารูปายตนะ ฯ เปฯ กพฬิงการาหาร.) รูปนั้นนั่นแลเป็น ๑๐ อย่าง โดยประสาทรูป วิสยรูป อาโปธาตุ ภาวรูป ทหยรูป ชีวิตรูป ปริจเฉทรูป วิการรูป ลักขณรูปและอาหารรูป ( ในธัมมสังคณี ตอนรูปสังคห มาติกา แสดงรูป ๑๐ อย่างไว้ดังนี้ จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ และรูปไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ)

    <O:pอีกนัยหนึ่ง รูปนั้นนั่นแล เป็น ๑๑ อย่างโดยอายตนะ คือ จักขวายตนะ,โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวหายตนะ,กายายตนะ, รูปายตนะ,สัททายตนะ,คันธายตนะ, รสายตนะ,โผฏฐัพพายตนะ, ธรรมายตนะ. (ในธัมมสังคณี ตอนรูปสังคห-เอกาทาสก ว่า “รูปที่เป็นอนิทัสสนะ อัปปฏิฆะ อันนับเนื่องในธรรมายตนะ” ซึ่งได้แก่อิตถินทรีย์ฯลฯ กพฬิงการาหาร.) โดยธาตุก็เหมือนกัน. บรรดาธาตุเหล่านั้น ภูตรูปทั้ง ๓ เว้นอาโปธาตุ ท่านกล่าวว่า
    โผฏฐัพพายตนะ, โผฏฐัพพธาตุ, รูปอันพึงรู้ด้วยกาย,
    และว่า รูปอันถึงรู้ด้วยกายวิญญาณ. สุขุมรูปทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ธรรมายตนะ, ธรรมธาตุ; รูปนั้นนั่นแล กับทั้งประสาท ท่านกล่าวว่ารูปอันพึงรู้ด้วยมโน, และว่ารูปอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ. คำที่เหลือ บัณฑิตพึงรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.

    <O:p[๗๖] ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงได้กล่าวความโผฏฐัพพะแห่งธาตุทั้งหลายแต่ที่เว้นจากอาโปธาตุเท่านั้น; แม้อาโปธาตุ บุคคลก็พึงถูกต้องรู้แจ้งโดยลักษณะเย็น มิใช่หรือ? หามิได้; เพราะแม้ลักษณะเย็นก็เป็นเตโชธาตุ, แม้จริงลักษณะร้อนนั่นเอง อ้างกันว่าเย็น, ราวกะเงาห่างๆ ของต้นไม้เป็นต้น หมายถึงแดดแข็ง; หรือเงาชิดเป็นต้น ก็หมายถึงแดดแข็งนั้น. กล่าวโดยประการอื่น: สีตัตตะ (ความเป็นลักษณะเย็น) นี้ พึงเป็นสภาวะของธรรมอะไร? หากตอบว่า “ของอาโปธาตุ;” ผิว่าอย่างนั้น, ความเป็นอาโปก็ไม่พึงมีในน้ำร้อนเป็นต้น, อนึ่ง เพราะความที่อาโปและเตโชที่เป็นไปร่วมกันเป็นธาตุมีลักษณะผิดกัน อาโปธาตุนั้นจึงจะละสีตัตตะเสียแล้ว ดำรงอยู่ในการรวมกันกับเตโชธาตุก็ไมได้เลย. สภาวะทั้งหลายจะละสภาวะของตนด้วยการเกิดร่วมด้วยสภาวะอะไรๆ ไม่ได้เลย เพราะจะถึงความไม่เกิด. อนึ่ง เพราะปล่อยสภาวะเย็นเสียแล้ว สภาวะอื่นอีกที่เป็นทางชอบทางควรแห่งการอยู่ร่วม ก็ไม่มีแก่อาโปธาตุนั้น; ผิว่าพึงมี, ภาวะทั้ง ๒ คือ อาโปและสีตัตตะก็จะพึงมีเพราะความที่ตนเป็นภาวะมีลักษณะผิดกันและกันเป็นสภาวะ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น สีตัตตะก็ไม่เป็นสรูปของอาโปธาตุ. หากจะพึงท้วงว่า “ลักษณะเย็นนั้นปราศไปได้ในเพราะความรวมกันกับลักษณะร้อน; รูปที่มีลักษณะเท่านั้นยังดำรงอยู่” ดังนี้ไซร้; ก็จะพึงมีผลว่า อาโปธาตุลำพังตัวเองกันใครๆ ไม่พึงถูกต้องในกาลนั้น ในที่นั้น, และไม่เป็นธรรมชาติมีผัสสะอันแน่นอน; และพราะเหตุนั้น ลักษณะคือผัสสะเย็นอันใด, อันนั้นจึงเป็นอันเรากล่าวดีแล้ว ว่าเป็นลักษณะพิเศษของเตโชธาตุ.

    <O:pหากพึงตกลงว่า ลักษณะคือผัสสะเย็นนี้นั่นแล เป็นลักษณะพิเศษของเตโชธาตุ; คำถามก็จะพึงมีว่า “สีตัตตะและอุณหัตตะ (ความเป็นลักษณะร้อน) ผิดต่อกันและกันมิใช่หรือ; สีตัตตะนั้นพึงเป็นสภาวะของเตโชธาตุอย่างไร” ตอบว่า “นี้ไม่เป็นโทษ เพราะสีตตัตะและอุณหัตตะนั้นไม่มีการเกิดร่วมในกลาปเดียวกัน. อนึ่ง ความเป็นเตโชธาตุก็ไม่ผิดในเพราะความเป็นไปได้กลาปที่ต่างกัน ดุจความเป็นวรรณายตนะแห่งแสงสว่าง มืด สีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น.” ถามว่า “ผิว่า สีตัตตะไม่เป็นสรูปของอาโปธาตุ, อะไรเล่าเป็นสรูปของอาโปธาตุนั้น?” ตอบว่า ทรวตา (ความเหลว). ถามว่า “ผิว่าอย่างนั้น แม้ทรวตาก็พึงเป็นโผฏฐัพพะ เพราะเป็นสิ่งอันบุคคลพึงถูกต้องรู้” ตอบว่าหามิได้; เพราะเป็นความถูกต้องของเย็นเป็นต้นแล้วพึงดาเห็นวรรณายตนะ. แท้จริง คนนอนอยู่ในที่มืดถูกต้องบกล้วยเป็นต้นมักจะสงสัยว่า “ที่นี่มีน้ำหนอ” หรือถูกต้องน้ำก็มักจะสำคัญว่างูเป็นต้น เพราะสิ่งที่ถูกต้องเป็นของเย็นยิ่ง. (ในอภิธัมมัตถวิภาวินี หน้า ๑๙๔ ได้อธิบายไว้ว่า ส่วนพวกที่กล่าวว่า “ทรวตาเป็นอาโปธาตุ และทรวตานั้น ถูกต้องเอาได้” บัณฑิตพึงกล่าวว่า “ที่ว่าขึ้นชื่อว่าทรวตาถูกต้องเอาได้นี้เป็นเพียงความสำคัญเกินไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราวกะในสัณฐาน” สมจริงดังที่โบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “โลกนี้เมื่อถูกต้องภูตรูป ๓ อันเป็นไปกับด้วยทรวตา ก็สำคัญเกินไปว่า เราถูกต้องทรวตาได้; บุคคลถูกต้องภูตรูปแล้วก็เดาเห็นสัณฐานว่า ข้าเห็นโดยประจักษ์ ฉันใด, ทรวตาก็พึงรู้ฉันนั้น.” )เพราะฉะนั้น จึงพึงถือเอาว่า อาโปธาตุไม่ใช่โผฏฐัพพะเลย; ธาตุ ๓ นอกนี้เท่านั้นเป็นโผฏฐัพพะ.


    <O:p[๗๗] ถามว่า“ก็กายวิญญาณอาจที่จะทำธาตุทั้ง ๓ นี้ ให้เป็นอารมณ์โดยความเป็นอันเดียวกันเกิดขึ้นหรือ, หรือว่าไม่อาจ” ตอบว่า “ไม่อาจ” เพราะเหตุไร? เพราะกายวิญญาณจำทำธาตุเหล่านั้นเฉพาะอย่างเดียวให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการกำหนดเอา หรือด้วยอำนาจความเด่น ดังจะกล่าวโดยย่อ;

    <O:pด้วยอำนาจการกำหนดเอา - เมื่อบุคคลหยิบเมล็ดข้าวจากโถข้าวสุกพิจารณาความแข็งหรืออ่อนอยู่; หรือจุ่มมือลงในภาชนะน้ำอุ่นพิจารณาความอุ่นอยู่, หรือเปิดหน้าต่างให้ลมถูกสรีระอยู่ในคราวฤดูร้อน, แม้ในภูตรูปที่กำหนดเอานั้นๆ จะมีภูตรูปนอกนี้อยู่ครบทั้ง ๓ ก็จริง; ถึงอย่างนั้น กายวิญญาณก็ปรารภปฐวีธาตุหรือเตโชธาตุ หรือวาโยธาตุตามที่กำหนดเอานั้นๆ เท่านั้นตามลำดับเกิดขึ้น. กายวิญญาณชื่อว่าทำอารมณ์ด้วยอำนาจการกำหนดเอาอย่างนี้.

    ส่วนด้วยอำนาจความเด่น – เมื่อบุคคลขบก้อนกรวดในเวลากินอาหาร, หรือเหยียบไฟในหนทาง. หรือถูกลมแรงกระทบที่หมวกหู, แม้ในภูตรูปที่เด่นนั้นๆ จะมีภูตรูปนอกนี้อยู่ครบทั้ง ๓ ก็จริง: ถึงอย่างนั้นกายวิญญาณก็ปรารถปฐวีธาตุ หรือเตโชธาตุ หรือวาโยธาตุ ตามที่เด่นนั้นๆ เท่านั้นตามลำดับเกิดขึ้น.

    <O:pอีกอย่างหนึ่ง กายของบุคคลผู้มีสรีระทั้งสิ้นจมลงในไฟ แม้จะถูกไฟลวกพรึบเดียวก็จริง; ถึงอย่างนั้น กายประสาทในที่ใดๆ เป็นประสาทเด่น, ก็หรือว่าความเสียดสีแห่งการกระทบอารมณ์ในที่ใดๆ เป็นอาการมีกำลัง กายวิญญาณย่อมบังเกิดขึ้นก่อน ในที่นั้นๆ นั่นแล, บังเกิดในที่นอกนี้ๆ ภายหลัง; แต่สรีระทั้งสิ้นปรากฏราวกะถูกเผาอยู่พรึบเดียว ด้วยอำนาจความเปลี่ยนบังเกิดโดยพลัน (แห่งกายวิญญาณ) เพราะความน้อยแห่งขณะ. วิญญาณมากดวงจะบังเกิดในขณะเดียว หรือจะผสมผสานกันบังเกิดเป็นดวงเดียวไม่ได้เลย; แต่ในกายทสกะที่ไม่แยกกันอันหนึ่งๆ กายวิญญาณเฉพาะดวงเดียวบังเกิดด้วยอำนาจความเด่น. แม้ในวัตถุนอกนี้ๆ วิญญาณก็บังเกิดด้วยอำนาจความเด่นอย่างนี้. แม้ในวัตถุนอกนี้ๆ ก็พึงทราบความบังเกิดแห่งวิญญาณทั้งหลาย เฉพาะดวงเดียวๆ ในประเทศอันไม่แยกกันอย่างนี้ กายวิญญาณชื่อว่ากระทำอารมณ์ด้วยอำนาจความเด่นอย่างนี้.

    <O:p</O:pถามว่า ก็การย้ายอารมณ์ของจิต เป็นได้โดยอะไร? ตอบว่าโดยอัชฌาสัย หรือโดยความมีประมาณยิ่งแห่งอารมณ์. อาวัชชนะย่อมบังเกิดได้โดยกิจของตน แก่บุคคลผู้ใคร่จะเห็นปฏิมาอันวิจิตร เป็นต้น แม้ในที่ต่างๆ กัน เพื่อจะเห็นรูปแรกในที่แห่งหนึ่งแล้วจึงเห็นรูปทั้งหลายในที่นอกนี้ๆ ในลำดับนั้น. การย้ายอารมณ์เป็นได้โดยอัชฌาสัยอย่างนี้. อนึ่ง เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งรูปารมณ์แม้ใหญ่ หรือครั้นเมื่อเสียงกึกก้องแห่งดนตรีทั้งปวงปรากฏแล้ว ฟังเสียงกึกก้องนั้นอยู่, จิตย้ายไปในอารมณ์นอกนี้ๆ ในบรรดากลิ่น รส โผฏฐัพพะมีประมาณยิ่ง ทั้งที่ฟูใจและที่ไม่ฟูใจซึ่งกระทบที่อินทรีย์ทั้งหลาย. การย้ายอารมณ์เป็นได้โดยความมีประมาณยิ่งแห่งอารมณ์ อย่างนี้.

    นี้เป็นวินิจฉัยโดยการสงเคราะห์ในรูป-อัพยากฤตธรรมนี้.


    วินิจฉัยโดยความว่าง
    </O:p
    ส่วนวินิจฉัยโดยความว่างและโดยประเภทอันไม่มีที่สุดแต่ละอย่างด้วยสามารถประเภทมีอดีตเป็นต้น พึงทราบตามสมควร โดยอนุโลมตามนัยที่กล่าวแล้วในการจำแนกจิต.


    <O:pปกิรณกกถา
    <O:p</O:p
    [๗๘] ก็ปกิรณกกถาใน รูป-อัพยากฤตธรรมนี้ พึงทราบโดยสมุฏฐาน และโดยลำดับแห่งความเป็นไปในภพและกำเนิดทั้งหลาย. แท้จริง รูปทั้งหลายอันมีสมุฏฐาน ๔ เมื่อจะบังเกิดขึ้นย่อมบังเกิดขึ้นพร้อมสัมภวะ ในปฏิสนธิและปวัติกาล ด้วยสามารถกลาปมีทสกะเป็นต้นในภพ ๒ ในกำเนิด ๔

    บรรดารูปอันมีสมุฏฐาน ๔ นั้น พึงทราบปกิรณกะ ในกรรมชรูป ก่อน: รูป ๘ คือ วัตถุ ๖,(วัตถุ ๖ คือ ประสาทรูป ๕ หทยรูป ๑) ภาวะ ๒ (ภาวะ ๒ คือ อิตถีภาวะและปุริสภาวะ (อิตถินทรีย์และปริสินทรีย์ก็เรียก) อย่างใดอย่างหนึ่ง, และชีวิต, ของสัตว์สังเสทชกำเนิด (เกิดในเถ้าไคล) และโอปปาติกกำเนิด (ผลุดเกิดขึ้น) ย่อมปรากฏจำเดิมแต่ปฏิสนธิตามสัมภวะในกามโลก (กามาวจรภูมิ) เท่านั้น ด้วยกามาวจรกุศลและอกุศล ๒๐. รูป ๘ เหล่านั้นบังเกิดเป็นกลาป ๙ คือ สุทธัฏฐกะ (สุทธัฏฐกะ คือภูตรูป ๔, รูปลกลิ่น,รส,และโอชา: รูป ๘ อย่างนี้ เรียกว่า อวินิพโภครูปก้มี ดูข้อ ๗๓) และชีวิต ชื่อชีวิตนวกะ , นวกะนั้นนั่นแหละ กับจักขุ ชื่อจักขุทสกะ, กับโสตะ ชื่อโสตทสกะ, กับฆานะ ชื่อ ฆานทสกะ, กับชิวหา ชื่อ ชิวหาทสกะ กับกายชื่อ กายทสกะ, กับหทยวัตถุ ชื่อ วัตถุทสกะ , กับภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อ ภาวทสกะ (นับเป็น ๒ คือปุริสภาวะทสกะและอิตถีภาวทสกะ). บรรดากลาป ๙ นี้ ภาวทสกะไม่มีแก่น ปุงสกะ (สัตว์ที่มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง); อย่างเดียวกัน จักขุ-โสตะ ฆานทสกะ ก็ไม่มีแก่สัตว์พิกลด้วยประสาทรูป ๓ อย่างนั้น มีสัตว์ตาบอดแต่กำเนิดเป็นต้น. แม้ของสัตว์อัณฑชกำเนิด (เกิดจากไข่) และสัตว์ชลาพุชกำเนิด (เกิดจากครรภ์) ก็อย่างนี้; แต่สำหรับสัตว์อัณฑชกำเนิดและสัตว์ชลาพุชกำเนิดนั้น กายทสกะ วัตถุทสกะ และภาวทสกะ เท่านั้นบังเกิดพร้อมปฏิสนธิจิต; ต่อจากนั้น ชีวิตนวกะและจักขุทสกะ เป็นต้น จึงบังเกิดตามสมควรในปวัติกาล (ในกาลปัจจุบัน). ส่วนในรูปภพ ทสกะ ๓ มีฆานทสกะเป็นต้น, ภาวทสกะทั้งสอง และอุทรัคคินวกะ ไม่มี. รูปที่เหลือบังเกิดขึ้นจำเดิมแต่ปฏิสนธิด้วยกุศลกรรมอันเป็นรูปาพจร ๕; แต่สำหรับอสัญญีสัตว์ ชีวิตนวกะเท่านั้น บังเกิดด้วยกุศลคือปัญจมฌาน.

    <O:pรูปกลาป ๙ อันตั้งขึ้นแต่กรรมขั้นกามาพจรและชั้นรูปาพจรย่อมบังเกิดในสันดานภายในเท่านั้นหาระหว่างคั่นมิได้ ในขณะ ๓ กล่าวคือ อุปปาทะ (เกิดขึ้น), ฐิติ (ตั้งอยู่), และภังคะ (ดับไป) แห่งจิต จำเดิมแต่ปฏิสนธิ ตราบเท่าความตั้งอยู่แห่งจิตที่ ๑๗ เบื้องหน้าแต่จุติจิต ตามสัมภวะ ในกำเนิด ๔ ในภพ ๒ ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นไม่เกิด แต่ดับไปพร้อมจุติจิต.

    <O:p[๗๙] ส่วน จิตตชรูป อันจิต ๗๕ ดวง –เว้นทวิปัญจวิญญาณ (๑๐ ดวง) และอรูปวิบาก (๔ ดวง)- ให้ตั้งขึ้นในอุปัตติขณะของตนๆ นั่นแหละ เป็นกลาป ๖ คือ สุทธัฏฐกะ, สุทธัฏฐกะนั้นนั่นแหละกับกายวิญญัติ ชื่อ กายวิญญัติตินวกะ, กับวจีวิญญัติและเสียง ชื่อ วจีวิญญัติทสกะ, กับวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น ชื่อ ลหุตาเทกาทสกะ, กับกายวิญญัติและวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น ชื่อทวาทสกะ, กับวจีวิญญัติ เสียง และวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้นชื่อเตรสกะ, เป็นไปตามควรในสันดานในภายในนั่นแหละ เริ่มแต่ปฐมภวังค์จนถึงจุติจิต เป็นที่สุดในปัญจโวการภพ. อนึ่ง บรรดาจิตที่ยังรูปให้เกิดเหล่านี้ กามาวจรชวนะอันสหรคตด้วยโสมนัส (๑๓ ดวง) ยังจิตตชรูปทั้งปวง รวมทั้งอิริยาบถวิญญัติและหสนะ (การยิ้มแย้ม) ให้ตั้งขึ้นได้. กามาวจรชวนะที่เหลือ (๑๖ ดวง) อภิญญา (๒ ดวง) และโวฏฐปนะ (ดวง ๑ รวมเป็น ๑๙ ดวง) และอัปปนาชวนะเว้นหสนะ ยังรูปพวกเว้นอิริยาบถเป็นต้นเท่านั้นให้ตั้งขึ้นได้; แต่ก็ยังค้ำจุนอิริยาบถตามที่เป็นไปไม่ให้เสียหาย. ส่วนจิต ๑๙ ดวงที่เหลือ คือ รูปาวจรวิบาก (๕ ดวง) มโนธาตุ (๓ ดวง) ตทาลัมพนะ (๑๑ ดวง) แม้กระทำกิจดังกล่าว ก็ยังกลาป ๔ คือสุทธัฏฐกะ, สัททวนวกะ, ลหุตาเทกาทสกะ, และสัททลหุตาทิทวาทสกะ ให้เกิดขึ้นได้. อนึ่ง บรรดาจิตเหล่านั้น ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งปวง, จุติจิตของพระอรหันต์, และจิตที่เข้าถึงอรูปภพ ย่อมไม่ยังรูปอะไรๆ ให้ตั้งขึ้นได้, อรูปวิบากและทวิปัญจวิญญาณไม่ยังรูปให้บังเกิดขึ้นได้โดยประการทั้งปวงแล.

    <O:pส่วน อาหารชรูป อันอาหารกล่าวคือโอชาที่ถึงความตั้งอยู่ด้วยการตั้งอยู่ในอาหารที่ได้กลืนกิน ให้ตั้งขึ้นแล้ว เป็นกลาป ๒ คือ สุทธัฏฐกะ และลหุตาเทกาทสกะ เป็นไปอยู่ตลอดชั่วอายุในสันดานภายในนั่นแล ในกามภพเท่านั้น; ไม่เป็นไปในรูปภูมิ.

    <O:pอุตุชรูป อันฤดูที่ถึงความตั้งอยู่ กล่าวคือเตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก ให้ตั้งขึ้นแล้วในสันดานภายใน เป็นกลาป ๔ คือ สุทธัฏฐกะ, สัททนวกะ, ลหุตาเทกาทสกะ,และสัททลหุตาทิทวาทสกะ, เป็นไปอยู่ตลอดชั่วอายุ; ส่วนที่ให้ตั้งขึ้นแล้วในภายนอกเป็นกลาป ๒ คือสุทธัฏฐกะและสัททนวกะมีเสียงกึกก้องของทะเลเป็นต้น เป็นไปอยู่ในประเทศมีแผ่นดิน ภูเขา วิมานเทวดา วิมานพรหม เป็นต้น. อนึ่ง บรรดาอุตุชรูปเหล่านี้ อุตุชรูปที่มีลักษณะเป็นอากาศ แม้มีอยู่ในกลาปะทั้งปวง ท่านก็ไม่นับเพราะไม่มีชื่อเรียกในกลาปสังคหะ.

    <O:pอนึ่ง บรรดารูปเหล่านี้ อุตุชรูป จิตตชรูป และอาหารชรูป ไม่เกิดในปฏิสนธิขณะ; ชราและมรณะไม่เกิดในอุปัตติขณะแม้โดยประการทั้งปวง. พึงทราบลำดับความเป็นไปในภพและกำเนิดในปฏิสนธิและปวัตติกาล แห่งรูปอันตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ อย่างนี้.

    <O:p[๘๐] อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความเป็นไปแห่งรูปอันตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ นี้ ในภายใน แม้ด้วยสามารถโกฏฐาส (ส่วน) ๔๒, และในภายนอก ด้วยสามารถมหาภูตรูปเป็นต้นอย่างนี้:-

    <O:pก็โกฏฐาสภายใน เป็นส่วนปฐวีธาตุ ๒๐ คือ ผม ขน ฯลฯ อาหารเก่า (กรีสํ) มันสมอง (มตฺถลุงฺคํ). เป็นส่วนอาโปธาตุ ๑๒ คือดี ฯลฯ มูตร. เป็นส่วนเตชาธิก (เตโชธาตุ) ๔ คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น, ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม, ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย, ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย. ที่เป็นส่วนวายุอธิก (วาโยธาตุ) ๖ คือลมพัดขึ้นเบื้องบน, ลมพัดลงเบื้องต่ำ, ลมในท้อง, ลมในไส้, ลมพัดไปตามตัว, ลมหายใจ. รวมเป็นโกฏฐาส ๔๒. บรรดาโกฏฐาส ๔๒ นั้น โกฏฐาส ๔ นี้คือ อาหารใหม่ (อุทริยํ), อาการเก่า, น้ำเหลือง (ปุพโพ มูตร, เกิดแต่ฤดู. บรรดารูป ๔ อย่างนี้ รูปแต่ละอย่างเป็นอุตุชัฏฐะกะเท่านั้น. โกฏฐาส ๔ นี้ คือ เหงื่อ ,น้ำตา,น้ำลาย น้ำมูก เกิดแต่ฤดูและจิต, บรรดาโกฏฐาส ๔ นี้ ในโกฏฐาสแต่ละอย่างเป็นอัฏฐกะได้อย่างละสองๆ. ไฟเผาอาหารให้ย่อยเกิดแต่กรรมเทียว; ในไฟเผาอาหารให้ย่อยนั้นเป็นได้แต่ชีวิตนวกะเท่านั้น. ส่วนลมหายใจ เกิดแต่จิตเทียว, ในลมหายใจนั้น เป็นได้แต่จิตตชสัททนวกะเท่านั้น. โกฏฐาส ๓๒ ที่เหลือเว้นโกฏฐาส ๑๐ นี้เกิดแต่สมุฏฐาน ๔.

    บรรดาโกฏฐาน ๓- นั้น ในโกฏฐาสคือไฟ และลมรวม ๘ อย่าง แต่ละอย่าง เป็นได้ทั้งชีวิตนวกะ และทั้งกลาป ๓ คืออุตุ –จิตต – อหารชัฏฐกะ. อนึ่ง ในโกฏฐาสคือลมนี้ เป็น อุตุ – จิตตชสัททนวกะ ได้บ้าง. ในโกฏฐาส ๒๔ ที่เหลือเป็นได้ทั้งกลาป ๒ คือ กาย – ภาวทสกะ และทั้งอัฏฐกะ ๓ ในที่ทั้งปวง เว้นที่อันพ้นจากเนื้อ ของ ผม ขน เล็บและฟัน. ส่วนในผมเป็นต้นที่พ้นจากเนื้อ เป็นได้แต่โกฏฐาสที่เกิดแต่ฤดูเท่านั้น. อนึ่ง ทสกะ นวกะ และอัฏฐกะ ตามที่กล่าวแล้วนั้นๆ เป็นได้ในอนุประเทศแต่ละแห่งในอวินิโภครูปในหนังเนื้อและเลือดเป็นต้นที่เอิบอาบสรีระทั้งสิ้น และในโกฏฐาสมีผมเป็นต้นที่ไม่เอิบอาบเพราะฉะนั้น แต่ละกลาป จึงมีปริมาณไม่มีที่สุด เพราะกลาปเหล่านั้นมีธาตุอันไม่มีที่สุดเป็นปัจจัย. แท้จริง ในสรีระมหาภูตรูป ๔ อันละเอียดยิบโดยแยกเป็นปรมาณู ชื่อว่าไม่มีที่สุดนั่นแลพร้อมด้วยอุปาทายรูป เป็นปัจจัยของกันและกัน เป็นโกฏฐาส ๔๒ เกิดขึ้นตามปัจจัย โดยอาการมีความยาวและความกว้างของสรีระเป็นต้น ในภายใน, ส่วนในภายนอก ก็เกิดขึ้นตามปัจจัย โดยอาการมีแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น; ทั้งนี้ เป็นธรรมชาติประโลมใจคนเขลาราวกะมายากรเป็นต้นฉะนั้น.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [๘๑] อนึ่ง บรรดามหาภูตรูป ๔ อย่างนี้ ปฐวีธาตุ สุขุม ละเอียดยิบ, อันอาโปธาตุสงเคราะห์ไว้, อันเตโชธาตุตามรักษาไว้, อันวาโยธาตุค้ำจุนไว้, อันอวินิพโภครูปมีวรรณเป็นต้นแวดล้อมไม่ให้กระจัดกระจายอยู่, ที่เป็นภายในก็เข้าถึงความเป็นสรีระของหญิง บุรษ เนื้อ นก เทวดา พรหมเป็นต้น ในภายใน, และที่เป็นภายนอกก็เข้าถึงความเป็นแผ่นดิน ภูเขา ต้นไม้ เทวโลก พรหมโลก พระจันทร์ พระอาทิตย์ นักษัตร์ แก้วมณี ทองเป็นต้น ส่วนอาโปธาตุเป็นเครื่องผูกอยู่ในเยื่อ ตั้งอยู่ในปฐวีธาตุ อันธาตุที่เหลือแวดล้อมไว้ด้วยการตามรักษาค้ำจุนและบ่ม ไม่หลั่งออก; เมื่อไม่หลั่งออกก็แสดงความอิ่มเอิบ. เตโชธาตุถึงความเป็นไออุ่น อันธาตุที่เหลือแวดล้อมไว้ด้วยความเป็นที่ตั้งมั่น ยึดไว้ และค้ำจุน บ่มกายนี้ คือยังวรรณสมบัติและความไม่เป็นของเน่าให้สำเร็จแก่กายนั้น. วาโยธาตุมีความค้ำจุนและความเคลื่อนไหวเป็นสภาพ อันธาตุที่เหลือแวดล้อมไว้ด้วยความเป็นที่ตั้งมั่น ยึดไว้ และตามรักษา ค้ำจุนอยู่, ยังกายให้เคลื่อนไหวอยู่ คือยังกิจมีการไปสู่ที่หมายมีสรีสวิมานเป็นต้น. ยังอาการมีการย่างเท้าเป็นต้น, และยังการยืนให้ถึงพร้อมอยู่.
    <O:p</O:p
    อีกอย่างหนึ่ง ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เกิดร่วมกันแล้วยังความเป็นโกฏฐาสมีผมเป็นต้นและความเป็นธรรมชาติมีปฐวีธาตุเป็นอย่างยิ่ง ; ยังความเป็นโกฏฐาสมีดีเป็นต้น และความเป็นโอกาสมีทะเลและน้ำเป็นต้น ให้สำเร็จได้ ด้วยความเป็นธรรมชาติมีอาโปธาตุเป็นอย่างยิ่ง; ยังความเป็นโกฏฐาสมีลมพัดขึ้นเบื้องบนเป็นต้นและความเป็นลมภายนอกมีลมรองแผ่นดินเป็นต้นให้สำเร็จได้ ด้วยความเป็นธรรมชาติมีวาโยธาตุเป็นอย่างยิ่ง; ยังความเป็นไฟภายใน มีไฟยังกายให้อบอุ่นเป็นต้น และความเป็นไฟภายนอกมีไฟนรกเป็นต้นให้สำเร็จได้ ด้วยความเป็นธรรมชาติมีเตโชธาตุเป็นอย่างยิ่ง. ด้วยความกำเริบแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่าไรเล่า โรค ชราและมรณะ และความพินาศนอก มีกับกัปพินาศเป็นต้น ปรากฏได้. โกฏฐาสอันมีภายใน ซึ่งแต่ละอย่างเป็นกลาปะมีปริมาณไม่มีที่สุดนั่นแล ปรากฏได้เพราะความสะสมแห่งธาตุอันละเอียดเป็นจุณวิจุณเหล่านี้ อย่างนี้: รูปอันมีในภายนอกก็เหมือนกัน. อนึ่ง รูปเหล่านั้นทั้งบังเกิดอยู่และทั้งจักบังเกิดด้วยการตั้งขึ้นโดยอาการอย่างนั้นๆ ด้วยปัจจัยนั้นๆ.

    [๘๒] ผิว่า ธาตุทั้งหลายตั้งอยู่โดยรูปของอณูเป็นเดิมแล้วจึงประกอบกันภายหลังไซร้, เพราะความไม่มีการแยกกันในฐานะอย่างนั้น ในที่นี้จึงพึงทราบประเภทแห่งสมุฏฐาน แม้โดยปริยายอื่นอีกดังนี้ คือ
    <O:pกัมมชะ, กัมมปัจจยะ, กัมมปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ;
    อาหารชะ, อาหารปัจจยะ, อาหารปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ:
    อุชุตะ อุตุปัจจยะ, อุตุปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ;
    จิตตชะ, จิตตปัจจยะ, จิตตปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ.
    บรรดาประเภทเหล่านั้น อุปาทินนรูป ชื่อว่า กัมมชะ (เกิดแต่กรรม). ผม ขน และฟันที่พ้นเนื้อ และน้ำมูกเป็นต้น ชื่อว่า กัมมปัจจยะ (มีกรรมเป็นปัจจัย), มหาเมฆที่ทำสมบัติ, แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น, จักรรัตนะ และเทววิมานเป็นต้น ชื่อว่า กัมมปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ (ทั้งมีกรรมเป็นปัจจัยทั้งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน). สุทธัฏฐกรูป (ดูข้อ ๗๓) ที่ตั้งขึ้นแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารชะ (เกิดแต่อาหาร). กพลิงการาหารเป็นตัวยังอาหารชรูปให้เกิด ตามรักษากัมมชรูป พราะฉะนั้น กัมมชรูป อันกพลิงการาหารนั้นตามรักษาแล้วจึงชื่อว่า อาหารปัจจยะ (มีอาหารเป็นปัจจัย). ผิวดำคล้ำและโรคเรื้อนเป็นต้นย่อมบังเกิดแก่บุคคลผู้เสพอาหารอันแสลงแล้วไปในแดด; รูปที่บังเกิดขึ้นนี้ ชื่อว่า อาหารปัจจยะ- อุตุสมุฏฐานะ ( ทั้งมีอาหารเป็นปัจจัย ทั้งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน). สุทธัฏฐกรูปที่ตั้งขึ้นแต่ฤดูอันเกิดแต่กรรมชื่อว่า อุตุชะ (เกิดแต่ฤดู). ฤดูในอุตุชรูปนั้นยังอัฏฐกรูปอื่นให้ตั้งขึ้นได้; อัฏฐกรูปที่ฤดูให้ตั้งชึ้นนี้ชื่อว่า อุตุปัจจยะ (มีฤดูเป็นปัจจัย). ฤดูแม้ในอุตุปัจจยะรูปนั้นก็ยังอัฏฐกรูปอื่นให้ตั้งขึ้นได้; อัฏฐกรูปที่ฤดูให้ตั้งขึ้นนี้ ชื่อว่า อุตตุปัจจะ-อุตุสมุฏฐานะ (ทั้งมีฤดูเป็นปัจจัย ทั้งตั้งขึ้นแต่ฤดู). สันตติทั้ง ๓ นั้นแล อาจที่จะสืบต่อได้ในอุปาทินนกรูปอย่างนี้; ส่วนในอนุปาทินนกรูป วลาหกชื่อว่า อุตุชะ; สายฝนชื่อว่า อุตตุปัจจยะ; อนึ่ง ครั้นเมื่อฝนตกแล้ว แผ่นดินส่งกลิ่นได้ พืชทั้งหลายงอกได้; รูปใดเป็นไปแล้วด้วยอำนาจสันตติอันไม่มีที่สุดอย่างนี้, รูปนี้ชื่อว่า อุตุปัจจยะ-อุตุสมุฏฐานะ (ทั้งมีฤดูเป็นปัจจัย ทั้งตั้งขึ้นแต่ฤดู). สุทธัฏฐกรูปเป็นต้นที่ตั้งขึ้นแต่จิต ชื่อว่า จิตตชะ (เกิดแต่จิต). กายอันจิตอุปถัมภ์โดยความเป็นปัจฉาชาตปัจจัย (ปัจจัยที่เกิดในภายหลัง) ชื่อว่า จิตตปัจจยะ (มีจิตเป็นปัจจัย). รูปมีช้างและม้าเป็นต้นอันอภิญญาจิตให้ตั้งขึ้นแล้วในภายนอก ชื่อว่า จิตตปัจจยะ- อุตุสมุฏฐานะ (ทั้งมีจิตเป็นปัจจัย ทั้งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน).



    ปกิรณกกถา จบ
    รูป- อัพยากฤตธรรม จบ
     
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    นิพพาน- อัพยากฤตธรรม

    <O:p</O:p
    [๘๓] ก็อัพยากฤตธรรม คือนิพพาน โดยภูมิเป็นโลกุตตรอย่างเดียว. แม้โดยธรรมก็อย่างเดียวเท่านั้นประเภทไม่มี.

    <O:pส่วนวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบดังนี้:
    นิพพานมีสันติ (ความสงบ) เป็นลักษณะ, มีนวัตติ (ความกลับ) เป็นลักษณะ,
    หรือมีความเป็นอสังขตะเป็นลักษณะ.
    มีความไม่จุติเป็นรส.
    มีความไม่มีนิมิตรเป็นปัจจุปัฏฐานะ.
    ส่วนปทัฏฐานไม่มี เพราะนิพพานนั้นเว้นจากการกเหตุ (เหตุคือผู้สร้าง) โดยความเป็นอสังขตธรรม. แต่จะกล่าวด้วยสามารถปาปกเหตุ (เหตุอันให้ถึง) ว่า นิพพานนี้มีอริยมรรคเป็นปทัฏฐาน โดยพระบาลีว่า ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงนิพพานอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์) ดังนี้ ก็ควรอยู่.

    <O:pอนึ่ง โดยสังคหะ นิพพานไม่ถึงการสงเคราะห์ในขันธ์ทั้งหลาย เพราะไม่มีประเภท (ที่จะสงเคราะห์ได้); แต่ถึงการสงเคราะห์ว่าธรรมายตนะ, ธรรมธาตุ ในธรรมประเภทมีอายตนะเป็นต้น.

    ส่วนโดยสุญญตะ: นิพพานเป็นอัตตสุญญะ (ว่างจากอัตตา), คือเป็นอนัตตกะ (ไม่มีอัตตา) เป็นธัมมมัตตะ (สักว่าธรรม) เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน; อนึ่ง เพราะนิพพานนี้เป็นธรรมล่วงส่วนโดยความเป็นอสังขตะ จึงพึงถือเอาว่าเป็นว่าอนิจจตาสุญญะ (ว่างจากความเป็นของไม่เที่ยง), ทุกฺขตาสุญญะ (ว่างจากความเป็นทุกข์) , ราคาทิสุญญะ (ว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น), นิมิตตสุญญะ (ว่างจากนิมิต) ปวัตตสุญญะ (ว่างจากความเป็นไป).

    <O:p</O:p
    ส่วนโดยประเภท: นิพพานนี้ แม้มีอย่างเดียวโดยสภาพมีสันติลักษณะเป็นต้น ก็ยังเป็น ๒ อย่างโดยปริยายแห่งเหตุ คือสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. อนึ่ง โดยประเภทแห่งอาการที่พระโยคาวจรปริกัปไว้ด้วยสามารถกิจของตน ก็เป็น ๓ อย่างคือสุญญะตะ, อนิมิตตะ, อัปปณิหิตะ. ส่วนโดยอาการที่พึงปฏิเสธหมายประเภทแห่งสังขตธรรม นิพพานนี้ก็เป็นอนันตประการโดยนัยมีคำว่า ไม่ใช่จิต, ไม่ใช่เจตสิก, ไม่ใช่รูป, ไม่ใช่อดีต,ไม่ใช่อนาคต, ไม่ใช่ปัจจุบัน, ไม่ใช่มรรค, ไม่ใช่ผล. ดังนี้เป็นต้น.

    </O:p

    นิพพาน-อัพยากฤตธรรม จบ


    ชื่อว่าสภาวธรรมที่พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสในกุสลติกะนี้ ไม่มีด้วยประการฉะนี้. ส่วนในพวกอสภาวธรรม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสลักษณะแห่งปริเฉทากาศของรูปธรรมทั้งหลายไว้ในกุสลติกะนี้ก็จริง;

    <O:p</O:p
    ถึงอย่างนั้น ก็มิได้ตรัสปฏิภาคนิมิตของรูปกรรมฐานมีกสินเป็นต้น, อากาศที่เกิดจากการเพิกกสิณ, ความไม่มีแห่งวิญญาณ, นิโรธสมาบัติ, บัญญัติ ๓ คือ นาม-บุคคล-อุปทาบัญญัติ, และอนิจจตาทิลักษณะเป็นต้นของอรูปธรรมทั้งหลาย. แม้ถึงอย่างนั้น ก็เป็นอันถือเอาธรรมเหล่านั้นด้วย เพราะไม่มีธรรมอะไรที่นอกเหนือจากสภาวธรรม. เพราะฉะนั้น ติกะนี้ (กุสลติกะ) พึงทราบว่าเป็นนิปปเทสัตติกะ (ติกที่หาส่วนเหลือมิได้). อนึ่ง แม้ในตะกะและทุกะทั้งหลายเบื้องหน้าแต่นี้ ก็พึงทราบความเป็นนิปเทส ด้วยการถือเอาโดยปรมัตถ์อันหาส่วนเหลือมิได้ แม้ในเพราะความไม่มีแห่งการถือเอาโดยบัญญัติ, และความเป็นสัปเทส (ยังมีส่วนเหลือ) โดยตรงกันข้าม เหมือนอย่างในกุสลิติกนี้. แม้ในติกะและทุกะที่ไม่มีการถือเอาโดยสมมติเราก็จักกล่าว.

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รูป- นิพพานกัณฑ์ จบ<O:p</O:p
    กุสลติกสังวัณนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในพรรณนาความแห่งอภิธรรมมาติกา ชื่อโมหวิจเฉทนี<O:p</O:p
    ก็จบลงด้วยประการฉะนี้.
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    กายวิญญัติ มีวิการของอาการแห่งวาโยธาตุอันมีจิตที่ยังอาการมีการก้าวไปทั้งหน้าต้น ให้เป็นไป เป็นสมุฏฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยแก่การค้ำจุน การทรงไว้ และความหวั่นไหวแห่งรูปกายที่เกิดร่วมเป็นลักษณะ. มีการประกาศความประสงค์เป็นรส. มีความเป็นเหตุของความเคลื่อนไหวแแห่งกายเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปทัฏฐาน.

    วจีวิญญัติ มีวิการของอาการแห่งปฐวีธาตุอันมีจิตที่ยังการเปล่งวาจาให้เป็นไปเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยแก่การเสียดสีแห่งอุปาทินนสังขาร เป็นลักษณะ. มีการประกาศความประสงค์เป็นรส. มีความเป็นเหตุของเสียงดังแห่งวาจาเป็นปัจจุปัฏฐานะ. มีปฐวีธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานะเป็นปทัฏฐาน.


    กายวิญญัติและวจีวิญญัติทั้งสองนี้ เรียกชื่อเช่นนั้น เพราะความที่ตนเองเป็นอาการอันบุคคลพึงรู้แจ้ง และเพราะการยังผู้อื่นให้รู้แจ้งซึ่งความประสงค์ ด้วยความเคลื่อนไหวแห่งกายแลเสียงดังของวาจา. แท้จริง ครั้นเมื่อใครๆ ยืนอยู่ในคลองจักษุและโสตทำกายวิการมีโบกมือและผจกศีรษะเป็นต้น หรือทำเสียง, รูปายตนะและสัททายตนะอันเป็นไปอย่างนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสต; แต่รูปายตนะและสัททายตนะเหล่านี้ไม่เป็นวิญญัติ. ส่วนวิการแห่งวาโยธาตุอันอยู่ในกลาป (หมวด) ที่จิตให้ตั้งขึ้นอันเป็นปัจจัยแก่ความทรงไว้และความหวั่นไหวแห่งรูปกายที่เกิดร่วมเป็นกายวิญญัติ. อย่างเดียวกัน วิการแห่งอาการของปฐวีธาตุที่จิตให้ตั้งขึ้น อันเป็นปัจจัยแก่ความเสียดสีแห่งอุปาทินนสังขารเป็นวจีวิญญัติ. ก็กายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นไม่เป็นธรรมชาติอันบุุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสต; แต่เป็นธรรมชาติที่พึงรู้แจ้งได้ แม้ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายด้วยชวนะอันเป็นไปในมโนทวาร, โดยแล่นไปตามวิการแห่งกายและเสียงดังของวาจาตามที่ตนถือเอาแล้ว ราวกะน้ำดื่มเป็นต้นเป็นของที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยเครื่องหมายคือวัตถุมีใบตาลเป็นต้น; อนึ่ง ความประสงค์ว่า "ผู้นี้ให้เราทำการและกล่าวความนี้และนี้" ดังนี้ ก็เป็นาภวะที่พึงรู้ได้โดยแล่นไปตามกายวิการและเสียงดังของวาจาตามที่ตนถือเอาแล้วนั้นนั่นแล. เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญัติ เพราะความที่ตนเองเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งและเพราะการยังผู้อื่นให้รู้แจ้งซึ่งความประสงค์.


    อนุโมทนาค่ะ

    แค่รูปก็ยากแล้วนะ กายเป็นที่ตั้งของรูป(รูปธาตุต่างๆ)เป็นที่รองรับของกายวิญญาณ
    ส่วนกายสังขาร เป็น ลมหายใจ

    วจีเป็นรูป วจีสังขารอาศัยนาม(วิตกวิจารณ์ตรึกและตรอง)

    กามภูสูตร

    สังขาร ๓ และวิธีดับ

    ปัญหา กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคืออะไร
    และสังขารทั้ง ๓ นี้ดับไปเมื่อใด ?

    พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีลมหายใจเข้าและหายใจออก
    ชื่อว่ากายสังขาร...ลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
    ฉะนั้น...จึงชื่อว่ากายสังขาร...

    "วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร...บุคคลตรึกตรองก่อนจึงเปล่งวาจาภายหลัง
    ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร...

    "สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร...สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต
    ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น...จึงชื่อว่าจิตตสังขาร

    "ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน
    ต่อจากนั้นกายสังขารดับต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ..."


    http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4568.0
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ระงับกายสังขาร (มหาวิภังค์)

    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

    ข้อความบางตอนจากอรรถกถาอธิบายอานาปานสติ

    ข้อว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺส-

    สิสฺสามีติ สิกฺขติ ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ

    ระงับ ดับ ได้แก่ ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ

    ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบนั้น พึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ

    ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง

    ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ

    ระงับ ดับ ได้แก่ ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ

    ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ

    ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง

    ไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ เมื่อ

    เมื่อกายและจิตซึ่งเป็นของหยาบ ยังไม่สงบ แม้ลมหายใจเข้าและหายใจออก ก็

    เป็นของหยาบ คือเป็นไปเกินกำลัง จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง

    หายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด กายก็ดี จิตก็ดี เป็นของอันเธอกำหนด

    แล้ว เมื่อนั้น กายและจิตนั้นจึงเป็นของสงบระงับ. ครั้นเมื่อกายและจิตนั้น

    สงบแล้ว ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเป็นไปละเอียด คือเป็นสภาพถึง

    อาการที่จะต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ. เปรียบเหมือนลมหายใจเข้าและหาย

    ใจออก ของบุรุษผู้วิ่งลงจากภูเขา หรือผู้ปลงของหนักลงจากศีรษะแล้วยืนอยู่

    ย่อมเป็นของหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง

    ทางปาก ต่อเมื่อใด เขาบรรเทาความกระวนกระวายนั้นเสีย อาบและดื่มน้ำ

    แล้ว เอาผ้าเปียกคลุมที่หน้าอกนอนพักที่ร่มไม้เย็น ๆ; เมื่อนั้น ลมหายใจ

    เข้าและหายใจออกนั้นของเขา จึงเป็นของละเอียด คือถึงอาการที่จะต้องค้นหา

    ว่ามีอยู่หรือไม่หนอ แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในเวลาที่ภิกษุนี้ยังไม่ได้

    กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ฯ ล ฯ คือถึงอาการที่ต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่

    หนอ ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะความจริงเป็นอย่าง

    นั้น ในกาลก่อน คือในเวลาที่เธอยังมิได้กำหนดกรรมฐาน การคำนึง การ

    ประมวลมา การมนสิการ และการพิจารณาว่า เราจะระงับกายสังขารส่วน

    หยาบ ๆ ดังนี้ หามีแก่เธอนั้นไม่, แต่ในเวลาที่เธอกำหนดแล้ว จึงมีได้.

    เพราะเหตุนั้นในเวลาที่กำหนดกรรมฐาน กายสังขารของเธอนั้น จึงเป็นของ

    ละเอียดกว่าเวลาที่ยังไม่ได้กำหนด. ฯลฯ

    ระงับกายสังขาร (มหาวิภังค์)
     
  10. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    โมทนาพี่ปุณฑ์ครับ

    เห็นว่า เรื่องนี้ก็ทำให้เข้าใจได้ ดียิ่งขึ้น สำหรับผู้ศึกษาธรรม


    เครดิต ท่าน สมาชิก <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อนำมาเผยแพร่



    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/812264/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=871aa1a6-3e72-4cdc-b7bc-7b296a0f7713"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-6037698954609520";/* Ad 300x250 default */google_ad_slot = "3472486526";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 300px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 250px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 300px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 250px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_0_anchor></INS></INS><NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    กัณฑ์ที่ ๑๑
    พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย ๕,๐๐๐ กัณฑ์
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต

    ว่าด้วยวิญญาณัฏฐีติเป็นต้น
    (ฉบับ ส.ธรรมภักดี)



    สตฺติมา ภิกฺขเว วิญฺญาณฏฺฐีติโยฯ กตมา สตฺต สนฺติ ภิกฺขเว สตฺตา นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโนติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต กัณฑ์ที่ ๑๑ ว่าด้วยวิญญาณัฏฐีติเป็นต้น สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนานหาประมาณมิได้

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในพระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ปฐมถปัณณาสก์ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตนั้นว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า วิญญาณัฏฐีติ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ มีอยู่ ๗ ประการ คือ สัตวโลกทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นมนุษย์และเทพเจ้าบางจำพวก วินิบาตบางจำพวก ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกพรหมที่เกิดด้วยปฐมฌาน ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาต่างกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นอาภัสสรา ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นสุภกินหา ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงรูปสัญญา สิ้นปฏิฆสัญญา ไม่มีสัญญาต่างๆ อยู่ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาศไม่มีที่สุด ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่าไม่มีอะไร ๑ ดังนี้

    อรรถกถา

    ในอรรถกถาว่า ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณัฏฐีติฯ ก็ในจักรวาลอันหาปริมาณมิได้ ย่อมมีมนุษย์หาปริมาณมิได้ แต่จะมีมนุษย์ซึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยวรรณะ สัณฐาน เป็นต้นไม่มี ถึงบุคคลเหล่าใดเป็นลูกแฝด มีวรรณะ สัณฐานอย่างเดียวกัน แต่บุคคลเหล่านัี้นก็ยังแปลกกัน ด้วยการแลเหลียว พูด ยิ้ม เดิน ยืน เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามีกายต่างกัน ก็ปฏิสนธิสัญญาแห่งพวกนั้นเป็นไตรเหตุก็มี เป็นทุเหตุก็มี เป็นอเหตุก็มี เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามีสัญญาต่างๆ กัน คำว่า เทพเจ้าบางเหล่านั้น หมายเทพเจ้าชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น กายของเทพเจ้าเหล่านั้น มีสีเขียวก็มี มีสีเหลืองเป็นต้นก็มี สัญญาของเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นทุเหตุก็มี เป็นไตรเหตุก็มี แต่ไม่เป็นอเหตุฯ คำว่า วินิบาตบางจำพวกนั้น ได้แก่พวกยักษ์ และพวเวมานิกเปรต ซึ่งมีสีกายขาวก็มี ดำก็มี เหลืองก็มี เป็นต้น มีกายผอมก็มี อ้วนก็มี ต่ำก็มี สูงก็มี มีสัญญาต่างกัน คือเป็นทุเหตุก็มี ไตรเหตุก็มี อเหตุก็มี เหมือนกับพวกมนุษย์ แต่ไม่มีศักดิ์มากเหมือนเทพเจ้า มีศักดิ์น้อยเหมือนคนกำพร้า มีเครื่องกิน เครื่องนุ่งห่มหาได้ยาก มีแต่ทุกข์บีบคั้น บางจำพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า วินิบาต เพราะพ้นจากความเกิดขึ้นแห่งสุข วินิบาตพวกใด เป็นไตรเหตุ วินิบาตพวกนั้นย่อมได้บรรลุธรรมเหมือนกับยักษิณีที่เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น

    คำว่า พวกพรหมนั้น หมายพวกพรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตมหาพรหม ซึ่งเกิดด้วยปฐมฌาน ส่วนพรหมปาริสัชชา มีประมาณอายุเท่าส่วนที่ ๓ แห่งกัลป์ พรหมปุโรหิต มีประมาณกึ่งกัลป์ มหาพรหมมีอายุ ๑ กัลป์ พรหมปาริสัชชามีร่างกายเล็ก พรหมปุโรหิตมีร่างกายปานกลาง มหาพรหมมีร่างกายใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงว่า พรหมเหล่านั้นมีกายต่างกัน มีสัญยาอย่างเดียวกัน คือได้ปฐมฌานเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายในอบายภูมิ ๔ ก็เหมือนกับพวกพรหม เพราะว่าพวกสัตว์นรกบางจำพวก มีตัวสูง ๑ คาวุตก็มี กึ่งโยชน์ก็มี โยชน์หนึ่งก็มี ส่วนพระเทวทัตมีกายสูง ๑๐๐ โยชน์ฯ สำหรับพวกดิรัจฉานนั้น มีร่างกายเล็กก็มี ใหญ่ก็มี พวกเปรตวิสัย มีร่างกายสูง ๖๐ ศอกก็มี ๘๐ ศอก ก็มี ผิวพรรณดีก็มี ผิวพรรณไม่ดีก็มี เช่นพวกกาลกัญชิกาสูร สัญญาของพวกอบายทั้งสิ้น เป็นวิบากแห่งอกุศล เป็นอเหตุ เพราะฉะนั้นพวกอบายทั้งสิ้น จึงเรียกว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน

    คำว่า พวกเทพเจ้าชั้นอาภัสสรานั้น ได้แก่พวกเทพเจ้าที่มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกาย เหมือนกับออกจากกายเทพเจ้า จำพวกอาภัสสรานั้นแบ่งออกเป็น ๓ คือพวกเจริญฌานได้น้อย มีรัศมีน้อย เรียกว่าพวกปริตตาภา ซึ่งมีอายุเพียง ๒ กัลป์พวกหนึ่ง พวกเจริญฌานได้พอปานกลาง ชื่อว่า พวกอัปมาณาภา ซึ่งมีอายุ ๔ กัปล์จำพวกหนึ่ง พวกเจริญฌานได้อย่างดี ชื่อว่าพวกอาภัสสรา ซึ่งมีอายุได้ ๙ กัลป์จำพวกหนึ่ง ทั้ง ๓ จำพวกนั้น มีกายใหญ่เหมือนกัน แต่สัญญาต่างกัน คือไม่มีวิตก มีแต่เพียงวิจารก็มี ไม่มีทั้งวิตกวิจารก็มี

    คำว่า สุภกินหา แปลว่า ผู้เกลื่อนกล่นด้วยความงาม คือผู้มีรัศมีเป็นแท่งอันเดียวกัน พวกนั้นเมื่อได้ได้สำเร็จจตุตถฌาน แต่เจริญจตุตถฌานได้น้อยก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี พวกเจริญได้น้อย ชื่อว่าปริตตสุภกินหา มีอายุได้ ๑๖ กัลป์ พวกเจริญได้พอปานกลาง ชื่อว่า อัปมาณาสุกิณหา มีอายุได้ ๓๒ กัลป์ พวกเจริญได้อย่างประณีต ชื่อว่า สุภกินหา มีอายุได้ ๖๔ กัลป์ ทั้ง ๓ จำพวกนั้น มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือมีสัญญาในจตุตถฌานเหมือนกัน

    พวกเวหัปผลา จัดเข้าในวิญญาณัฏฐีติที่ ๔ พวกอสัญญีสัตว์ไม่จัดเข้าในวิญญาณัฏฐีติ เพราะไม่มีวิญญาณ แต่จัดเข้าในสัตตาวาส พวกอยู่ในชั้นสุทธาวาส จัดเข้าในฝ่ายวิวัฏฏะ พวกนี้ไม่มีผู้เสมอ เมื่อโลกว่างพระพุทธเจ้า ตั้งพันกัลป์ก็ดี ตั้งอสงไขยก็ดี พวกนี้ก็ไม่เกิด เมื่อมีพระพุทธเจ้าเกิด ในภายในหมื่น ๖ พันกัลป์จึงเกิด พวกนี้คล้ายกับเป็นกองทัพของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมจักรพรรดิ เพราะฉะนั้น พวกสุทธาวาสนี้ จึงไม่นับเข้าในวิญญาณัฏฐีติ ไม่นับเข้าในสัตตาวาส แต่พระมหาศิวเถรเจ้ากล่าวว่า พรหมชั้นสุทธาวาสนับเข้าในวิญญาณัฏฐีติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร สัตตาวาสนั้น ไม่ใช่ของที่ได้ด้วยง่ายเลย เพราะสัตตาวาสนั้น เราไม่เคยได้อยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้ นอกจากพวกเทพเจ้าชั้นสุทธาวาส ดังนี้ ถ้อยคำของพระเถรเจ้าองค์นี้เป็นถ้อยคำที่มีผู้เห็นดีด้วยเพราะไม่มีใครค้านพระสูตรได้ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เพราะมีแต่วิญญาณละเอียดฉันใด ชั้นสุทธาวาสก็มีแต่วิญญาณละเอียดฉันนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณัฏฐีติ ดังนี้ สิ้นเนื้อความในอรรถกถาเพียงเท่านี้


    ธัมมัตถาธิบาย


    ในอรรถาธิบายว่า วิญญาณัฏฐีตินั้น แปลว่าที่ตั้งอยู่แห่งวิญญาณ หมายปฏิสนธิวิญญาณ แจกออกไปเป็น ๗ สถาน คือมนุษย์และเทพเจ้าบางเหล่านิบาตบางเหล่า ซึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมซึ่งเกิดด้วยปฐมฌาน ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมชั้นอาภัสสรา ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาต่างกัน ๑ พวกพรหมชั้นสุภกินหา ซึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมชั้นอากาสานัญจายตนะ ๑ ชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๑ ชั้นอากิญจัญญายตนะ ๑ วิญญาณย่อมตั้งอยู่ในสัตวโลก ๗ จำพวกนี้ ดังนี้​

    บาลี

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในพระสูตรที่ ๒ ว่า บริขารแห่งสมาธิ มีอยู่ ๗ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ความมีอารมณ์อันเดียวแห่งจิต ความห้อมล้อมแห่งจิตด้วยองค์ ๗ เรียกว่า อริยสมาธิ ที่มีอปุนิสัยที่มีบริขารดังนี้

    ในพระสูตรรนี้ มีอรรถกถาว่า บริขารแห่งสมาธินั้นได้แก่สัมภาระแห่งมรรคสมาธิ ดังนี้​

    ธัมมัตถาธิบาย

    ในอรรถาธิบายว่า คำว่า บริขารแห่งสมาธิ ซึ่งท่านว่าได้แก่สัมภาระแห่งมรรคสมาธินั้น คือได้แก่เครื่องปรุงแห่งมรรคสมาธิ เครื่องประกอบแห่งมรรคสมาธิ เครื่องตกแต่งแห่งมรรคสมาธินั้น ก็ได้แก่ธรรม ๗ ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมพันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ดังที่ว่าแล้วนั้น สมาธิใด มีเครื่องปรุง ๗ ประการนี้ สมาธินั้นเรียกว่าอริยสมาธิ ซึ่งมีอุปนิสัยคือมีที่อาศัยบ้าง เรียกอริยสมาธิ ซึ่งมีบริขารบ้าง ดังนี้

    ในพระสูตรที่ ๓ ว่า ไฟมีอยู่ ๗ กอง คือ ไฟราคะ ๑ ไฟโทสะ ๑ ไฟโมหะ ๑ ไฟอาหุไนยะ ๑ ไฟคฤหบดี ๑ ไฟทักขิไนยะ ๑ ไฟไม้ ๑ ดังนี้​

    อรรถกถา

    ในอรรถกถาแห่งพระสูตรนี้ว่า สิ่งทั้ง ๗ มีราคะเป็นต้น ที่ได้ชื่อว่าไฟนั้น เพราะเป็นของตามเผา คำว่าอาหุไนยะนั้น ได้แก่มารดาบิดา ผู้ควรแก่ของคำนับ เพราะมารดาบิดาย่อมควรแก่ของคำนับ โดยเหตุว่าเป็นผู้มีบุญคุณมากแก่บุตรทั้งหลาย พวกบุตรที่ทำผิดต่อมารดาบิดาย่อมเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น ถึงมารดาบิดาไม่ได้ตามเผาก็จริง แต่ว่าเป็นเหตุแห่งการตามเผา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าไฟอาหุไนยะฯ คำว่า ไฟคฤหบดีนั้น ได้แก่ไฟคือเจ้าของเรือน อันได้แก่สามี เพราะว่า สามี ย่อมมีคุณมากแก่มาตุคาม ด้วยการให้ที่อยู่ ที่นอน ผ้าผ่อนท่อนสะไบ เครื่องตกแต่งร่างกายเป็นต้น มาตุคามที่นอกใจสามี ย่อมเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น คฤหบดีจึงเรียกว่าไฟ เพราะเป็นของตามเผาฯ คำว่าไฟทักขิไนยนั้น ได้แก่ไฟ คือพระภิกษุสงฆ์ผู้ควรรับทิกขิณา อันได้แก่ปัจจัย ๔ พระภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่ามีคุณมากแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยการแนะนำในทางธรรมที่ดี เป็นต้นว่า แนะนำให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ และศีล ๕ ศีล ๑๐ แนะนำให้ปฏิบัติมารดาบิดา แนะนำให้ปฏิบัติสมณพราหมณ์ พวกคฤหัสถ์ที่ทำผิดต่อพระภิกษุสงฆ์ คือด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์ผู้ควรแก่ทักขิณา จึงเรียกว่า ไฟทักขิไนย เพราะเป็นของตามเผา ส่วนไฟที่เกิดจากไม้ตามปกติเรียกว่าไฟไม้ ดังนี้​

    ธัมมัตถาธิบาย

    ในอรรถาธิบายว่า คำว่า ไฟ หมายถึงสิ่งที่ร้อน แต่สิ่งที่ร้อนนั้น มีทั้งสิ่งที่ตาเห็นและตาไม่เห็น สิ่งที่ตาไม่เห็นนั้น ได้แก่กิเลส คือราคะ โทสะ โมหะ สิ่งที่ตาเห็นนั้น ได้แก่มารดาบิดา สามี พระภิกษุสงฆ์และไฟเกิดจากไม้ธรรมดาฯ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของทำให้เร่าร้อนทั้งกาย ทั้งใจ เมื่อราคะ โทสะ โมหะ เกิดในใจของผู้ใด ใจของผู้นั้นก็เร่าร้อน แต่เร่าร้อนต่างกัน คือราคะ ทำให้เร่าร้อน ด้วยความอยากได้ ด้วยความมัวเมา โทสะ ทำให้เร่าร้อน ด้วยความอยากทำลายโมหะ ทำให้เร่าร้อนด้วยความงมงาย ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งราคะ ย่อมทำกาเมสุมิจฉาจารและทำบาปอย่างอื่นได้อีก ผุ้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งโทสะ ย่อมทำปาณาติบาต และทำบาปอย่างอื่นได้อีก ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งโมหะ ย่อมทำบาปได้สิ้น เมื่อทำบาปแล้ว ก็ต้องร้อนกายร้อนใจ ทั้งในเวลาเป็น เวลาตาย เพราะฉะนั้น กิเลสทั้ง ๓ คือราคะ โทสะ โมหะ จึงเรียกว่าไฟ แต่ละอย่างๆ มารดาบิดา ที่เรียกว่าไฟอาหุไนยะนั้น เพราะบุตรที่กระทำผิดต่อมารดาบิดา ย่อมไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ สามีที่เรียกว่าไฟ คือคฤหบดีนั้น เพราะทำให้ภรรยาผู้นอกใจ ไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ พระภิกษุสงฆ์ที่เรียกว่าไฟทักขิไนยนั้น เพราะทำให้ผู้กระทำผิดต่อพระภิกษุสงฆ์ ไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ ส่วนไฟที่เกิดจากไม้ธรรมดานั้น ย่อมทำให้ร้อนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ทำให้ร้อนด้วยไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ฯ ไฟทั้ง ๗ กองนี้ มีไฟกิเลสเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าไฟกิเลสนั้นย่อมตามเผาอยู่ตลอดกาลนานหาประมาณไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรที่ทุกคนจะไม่ให้ไฟ ๗ กองนี้ ตามเผาตัวได้ จึงจะเป็นการดี สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.​

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ​
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า วิญญาณัฏฐีติ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ มีอยู่ ๗ ประการ คือ
    สัตวโลกทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นมนุษย์และเทพเจ้าบางจำพวก วินิบาตบางจำพวก ๑
    สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกพรหมที่เกิดด้วยปฐมฌาน ๑
    สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาต่างกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นอาภัสสรา ๑
    สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นสุภกินหา ๑
    สัตว์ทั้งหลายล่วงรูปสัญญา สิ้นปฏิฆสัญญา ไม่มีสัญญาต่างๆ อยู่ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาศไม่มีที่สุด ๑
    สัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ๑
    สัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่าไม่มีอะไร ๑
    ดังนี้


    ช่วงนี้รู้สึกเบื่อกายมนุษย์ มันทุกข์มากจริงๆ
    กายละเอียดมันก็ทุกข์น้อยกว่า

    ศึกษาอภิธรรม ดีตรงที่เขาใช้ภาษาอย่างรัดกุม ให้ขอบเขตของภาษานั้น
    เพื่อเวลากล่าวถึงในส่วนรายละเอียดของกายและจิตในส่วนที่ต้องขยายออกไปอีก จะได้ไม่ต้องสับสนกับภาษาที่หากใช้จำกัด จะทำให้เกิดวกวนสับสนหรือความเข้าใจผิดกับผู้รับได้ง่ายๆ อย่างจิตตสังขารนี่เขาหมายถึงเวทนาและสัญญา ส่วนมโนสังขารเขาหมายถึงการสังขารของกองสังขาร
    อภิธรรมอาจจะเหมาะกับคนที่ต้องการเข้าใจรูปและนามอย่างละเอียด
     
  12. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    สายสะบายดีครับ.. กาแฟครับกาแฟ


    เบื่อให้รู้ว่าเบื่อ ก็จะมันส์ในการภาวนาเรื่อยๆ:cool:

    ทำง่ายๆแต่ได้จริงๆ :cool:


    ภาษาที่มีมาในพระไตรปิฎก
    คำอธิบายที่ อธิบาย เป็น

    บทบาลี
    บทธัมมัตถาธิบาย
    บทอรรถกถา

    สามบทที่เสนอ จะทำให้เข้าใจ ในการศึกษาและวิธีมากขึ้น
    การอ่านพระไตรปิฎก หากอ่าน ควบคู่ กับ บทอธิบายทั้งสาม
    ก็จะเหมือนๆกับได้เรียนภาษาบาลีไปในตัว
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    สตฺติมา ภิกฺขเว วิญฺญาณฏฺฐีติโยฯ
    กตมา สตฺต สนฺติ ภิกฺขเว สตฺตา นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโนติ.

    อ่านว่า
    สัตติมา ภิกขะเว วิญญาณัฐฐีติโย
    กะตะมา สัตตะ สันติ ภิกขะเว สัตตา นานัตตะกายา นานัตตะสัญญิโนติ


    คำแปล (ต้นฉบับ)
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต กัณฑ์ที่ ๑๑ ว่าด้วยวิญญาณัฏฐีติเป็นต้น สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนานหาประมาณมิได้
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    รูป 28

    กระบี่ 23
     

แชร์หน้านี้

Loading...