"วังบางขุนพรหม"100 ปีแห่งความทรงจำ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 1 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487

    ศิวพร อ่องศรี



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    วังบางขุนพรหม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>"โอ้เวียงวังบางขุนพรหมรมณีย์สถาน พระโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นศักดิ์ศรี

    แด่พระราชโอรสผู้ภักดี ทรงพำนักทรงงานที่แสนสำคัญ

    ...ทิวาวารผ่านมานานช้าแล้ว บางขุนพรหมยังเพริศแพร้วงามเหลือที่

    ยังเชิดหน้าชูตาด้วยกรณีย์ กิจสำคัญท้นทวีแก่สังคม

    จากเวียงวังดั้งเดิมเพิ่มคุณค่า เป็นธนาคารกลางอย่างเหมาะสม

    ยี่สิบแปด ธันวาฯ น่าชื่นชม ครบร้อยปีบางขุนพรหมรื่นรมย์ใจ..."



    ความพรรณนาข้างต้นนำมาจากกลอนแปด ประพันธ์โดย มาลินี บางท่าไม้

    เนื่องในวโรกาสที่ปีนี้เป็นปีพิเศษ ไม่เพียงวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมาจะเป็นวันคล้ายวันประสูติครบ 125 ปี ของผู้เป็นเจ้าของ "วังบางขุนพรหม" คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ต้นราชสกุลบริพัตร) พระราชโอรสพระองค์ที่ 33 ในรัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา

    ปลายปีนี้ คือ วันที่ 28 ธันวาคม ก็จะครบรอบ 100 ปีของวังบางขุนพรหม

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า "แบงก์ชาติ" จึงจัดทำโครงการทำความรู้จักกับ ธปท. เชิญผู้แทนส่วนงานที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ ธปท.และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร

    โปรแกรมหนึ่งในนั้นคือ การพาชมวังบางขุนพรหม เป็นการแนะนำอย่างเป็นทางการถึงบทบาทของวังบางขุนพรหมที่มากไปกว่าการเป็น "พิพิธภัณฑ์เงินตรา" ซึ่งตั้งอยู่ภายในธนาคารแห่งประเทศไทย บนเนื้อที่ 33 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เคียงข้างสะพานพระราม 8 อย่างสะดุดตา

    เนื่องจากวังแห่งนี้มีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านการศึกษา สังคม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    บันไดทางขึ้นวังบางขุนพรหม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    *สมคิด แสงเพชร* ผู้บริหารส่วนพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าถึงวังบางขุนพรหมว่า "ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมจัดซื้อที่ดินพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ พ.ศ.2442 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และเป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และใช้เป็นที่จัดงานสังสรรค์ของพระบรมวงศานุวงศ์

    "ทั้งยังเป็นสถานที่ให้ครูชาวต่างประเทศใช้จัดสอนวิชาต่างๆ ให้กับพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่นๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนชาวต่างประเทศเรียกกันว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาการบ้านการเรือน การครัว ภาษา มารยาทและการเย็บปักถักร้อย

    "ข้าหลวงฝ่ายในของวังบางขุนพรหมมักจะได้รับคำชื่นชมยกย่องจากบุคคลทั่วไป ตลอดจนชาวต่างชาติว่า เป็นผู้ที่มีกิริยามารยาทงาม มีคุณสมบัติครบถ้วนตามแบบฉบับของเบญจกัลยาณีทุกประการ

    "นอกจากนี้วังบางขุนพรหมยังเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เช่น วงมโหรีปี่พาทย์ วงพิณพาทย์ โดยจะมีการคัดเลือกนักดนตรีผู้มีฝีมือเข้ามาฝึกซ้อมประจำวง อาทิ จางวางทั่ว พาทยโกศล นายเทวาประสิทธิ พาทยโกศล ฯลฯ

    "ทางด้านสถาปัตยกรรมนั้น ตำหนักวังบางขุนพรหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตำหนักใหญ่และตำหนักสมเด็จ โดยมี นายมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ ลักษณะของวังมีรากฐานจากสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองซ์ของอิตาลีและอิตาลีบาโรก เน้นที่การใช้ช่องโค้งครึ่งวงกลม มีระเบียงที่มีเสาเรียงเป็นแถว การใช้เสาที่มีหัวเสาแบบกรีกและโรมัน ลายปูนปั้นรูปเปลือกหอย เป็นต้น

    "ขณะเดียวกันมีการปรุงแต่งจนเป็นสถาปัตยกรรมแบบเยอรมันบาโรกด้วยรูปทรงอ่อนโยนของอาคารและการตกแต่งลวดลายปูนปั้นอันหรูหราวิจิตร <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ห้องพระประวัติ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตำหนักใหญ่เป็นตึก 2 ชั้น ประตูวังสร้างด้วยเหล็กดัดและเสาปูนประดับลวดลายที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาประตูทางเข้าวังทั้งหลายในกรุงเทพฯ

    กึ่งกลางสนามมีน้ำพุ ประดับขอบบ่อด้วยรูปเงือกฝรั่งชายหญิงและสัตว์น้ำต่างๆ เชื่อมโยงโดยรอบ ตามริมขอบประดับด้วยพระโพธิสัตว์และนางดารา "ปรัชญาปรมิตา" ทำขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 17

    "ในส่วนของตำหนักใหญ่ หรือที่เรียกกันในหมู่ชาววังว่า "ตำหนักทูลกระหม่อม" สร้างขึ้นโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในประกอบด้วยห้องสำคัญๆ

    "เช่น ห้องสีชมพู ห้องที่จัดว่างดงามที่สุดของวังนี้ อยู่ชั้นบนของตำหนัก เป็นห้องรับแขกบุคคลสำคัญ ภายในห้องทาด้วยสีชมพูอ่อน เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นเป็นสไตล์ยุโรป และล้วนเป็นสีชมพูเข้าชุดกัน

    "ทั้งรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จมาประทับที่ห้องสีชมพูแห่งนี้หลายครั้งแล้ว ปัจจุบันจัดแสดงภาพเขียน ภาพถ่ายเจ้านายในสกุลบริพัตร และยังมีสิ่งของเครื่องใช้ในวังบางขุนพรหมเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

    "ส่วน "ตำหนักสมเด็จ" เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โดยมีนายคาร์ล ซิกฟรีด ดือห์ริ่ง สถาปนิกและวิศวกรชาวเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบ มีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรม แบบอาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค

    "นอกจากนี้ยังมี ภาพวาดปูนเปียก ภาพนักบวชหญิงในสวนดอกไม้ อยู่บนผนังภายในตำหนักสมเด็จ โดยสถาปัตยกรรมเป็นแบบก้าวหน้าในยุคนั้นที่เรียกว่า "นวศิลป์แบบเยอรมัน" มีหน้าบันรูปโค้ง ผนังด้านนอกตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นในกรอบสี่เหลี่ยม มีการเปิดช่องโล่งของโถงชั้นล่างภายในสูงจรดเพดานโดม

    การตกแต่งภายในผนังประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีและไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษาและเรขาคณิต

    "จุดเด่นของตำหนักสมเด็จคือภาพเขียนสีปูนเปียก วาดโดยนายคาร์โล ริโกลี ศิลปินเอกชาวอิตาเลียน" สมคิดเล่าอย่างคล่องแคล่วและเชี่ยวชาญ

    "น่าเสียดายที่เจ้าของวัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้องย้ายออกจากวังอย่างกะทันหัน ภายหลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 โดยเสด็จไปประทับอยู่ที่ตำหนักประเสบัน เกาะชวา เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์"

    ส่วนการกำเนิดของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น สมคิดเล่าว่า ในปี พ.ศ.2525 วังบางขุนพรหมได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้จัดแบ่งห้องแสดงนิทรรศการทั้งหมด 13 ห้อง

    จัดแสดงวิวัฒนาการของเงินตรา ตั้งแต่สื่อกลางการแลกเปลี่ยนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ใช้ขวานหิน ลูกปัด กำไลหิน กำไลสัมฤทธิ์ ฯลฯ กระทั่งมาเป็นเงินพดด้วง เงินกระดาษหลวง จนถึงธนบัตรหน้าตาแบบยุคปัจจุบัน

    ใครที่สนใจจะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สมคิดบอกว่า จะต้องติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ เพื่อจองเวลาเข้าชมมิให้ซ้ำซ้อนกับคณะอื่น เนื่องจากห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เป็นห้องขนาดเล็กไม่สามารถที่จะรับรองผู้เข้าชมจำนวนมากได้

    เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร) ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยจะต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมถึงผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.0-2283-5286, 0-2283-6723, 0-2283-5265


    ที่มา : มติชน

    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra04010849&day=2006/08/01
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,282
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001


    ดู clip ข้างบนนี้ได้เช่นกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...