วัดภูมินทร์-น่าน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 27 กรกฎาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,623
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    วัดภูมินทร์-น่าน
    Watphumin1-595x391.jpg

    น่านหรือน่านนคร เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีมนต์เสน่ห์แห่งนี้ ถ้าใครได้มาเที่ยวก็มักติดใจ และหวนกลับมาเที่ยวน่านอีกครั้ง น่านเป็นเมืองที่วางผังเมืองได้ดีมากในความคิดของเรา เพราะถ้าได้ลองขับรถในเมืองน่านแล้วจะรู้ว่าถนนจะบรรจบกันเป็นสี่เหลี่ยม ทำให้ขับรถไม่หลงแม้จะมาเป็นครั้งแรกก็ตาม ในครั้งนี้มุมสบายจะพาคุณไปสัมผัสกับวัดที่ใครมาน่านแล้วจะต้องไม่พลาด ถ้าพลาดคือ ไม่ถือว่า ได้มาน่าน นั้นคือ วัดภูมินทร์

    Watphumin2-595x341.jpg

    ข้อมูลเบื้องต้น
    วัดภูมินทร์ มีชื่อเดิมคือ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นวัดหลวง อยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2139 ต่อมาอีกประมาณ 300 ปี มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง 7 ปี

    Watphumin3-595x394.jpg

    ความสวยของวัดภูมินทร์ ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่ 2 ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพรพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประดับนั่งบนฐานซุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
    Watphumin5-595x479.jpg

    อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น 3 ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ 4 นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างชาวเมืองเมืองน่าน

    หอไตรวัดภูมินทร์สวยงาม มองในขั้นแรกนึกว่าเป็นของเดิมแต่โบราณ แต่ไม่ใช่ เพราะได้สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิม เมื่อ 5 มีนาคม 2537 อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใดภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา ซึ่งของใหม่ที่สร้างมานี้ก็มีความสวยงามไม่แพ้ของเดิมเลย

    พระอุโบสถจตุรมุข มีความสวยที่ไม่เหมือนใคร เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ เป็น พระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถ จตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย

    Watphumin4-595x649.jpg

    ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ปรากฏอยู่บนผนังด้านในอุโบสถจัตุรมุข ทั้งสี่ด้าน โดยภาพจิตกรรมฝาผนัง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

    ส่วนแรก : แสดงถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตตำนานพื้นบ้านของชาวเมืองน่าน

    ส่วนที่สอง : เกี่ยวข้องกับเรื่องพระเตมีราชชาดก
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,623
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    Watphumin6-595x373.jpg

    ส่วนที่สาม : ส่วนนี้แสดงความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต เช่น การแต่งกายด้วยผ้าซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ และการทำการค้ากับชาวต่างชาติเป็นต้น ภาพจิตกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปและโดดเด่นเป็นพิเศษในวัดภูมินทร์แห่งนี้ก็คือ ภาพ “เสียงกระซิบบันลือโลก” หรือภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อสมัยโบราณ ในลักษณะกระซิบสนทนากัน

    ประวัติของปู่ม่านย่าม่าน :
    หลายๆ คนที่ฟังชื่อที่เรียกขาน ภาพจิตรกรรมฝาผนังอันบันลือโลกนี้ ว่า ปู่ม่านย่าม่าน ก็คงเข้าใจผิด คิดว่า เป็นหญิงชายที่เป็นปู่ย่าของเมืองน่าน บอกตรงๆ ว่า ตอนแรกเราก็คิดแบบนั้น เหมือนกัน แต่ก็ได้ถามชาวเมืองน่าน และคำตอบก็ไม่ได้เป็นปู่ย่าเหมือนที่เราคิดไว้ก่อนเลย หญิงชายในภาพนั้นเป็นชาวพม่า ซึ่งอันนี้ดูจากลักษณะการแต่งกายได้เลย จะเห็นว่า ผู้ชายจะมีหมวกแบบที่ชาวพม่าสวมใส่ ซึ่งหญิงชายในภาพเป็นสามีภรรยากัน เพราะมีการเกาะไหล่ (สมัยก่อนหนุ่มสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานกันห้ามแตะเนื้อต้องตัวกัน)

    Watphumin7.jpg

    คำว่าปู่และย่านั้น เป็นภาษาพม่า ปู่ ใช้กับผู้ชายที่พ้นวัยเด็กมาแล้ว ส่วนคำว่าย่านั้น ใช้กับผู้หญิงที่พ้นวัยเด็กมาแล้วเช่นกัน จริงๆ แล้วไม่ได้ออกเสียงว่า “ย่า” แต่ออกเสียงว่า “ง่า”

    ส่วนใครที่เคยไปหอศิลป์ริมน้ำน่านแล้ว จะเห็นรูปจิตรกรรมฝาผนังคล้ายๆ กับ ปู่ม่านย่าม่านนี้ เพียงแต่ต่างตรงที่ไม่ใช่เป็นการ “กระซิบ”แล้ว หากเป็นการ “ตะโกน” แทน ภาพนั้นเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของพระเทพพระรัตน์ราชสุดาฯ ซึ่งเป็นภาพล้อของภาพ เสียงกระซิบรักให้ก้องโลก เนื่องจากว่า ตอนนี้แก่แล้วกระซิบก็คงไม่ได้ยิน ก็เลยเปลี่ยนเป็นการตะโกนแทน ถ้าใครยังไม่เคยเห็นภาพนั้นคงต้องแวะไปหอศิลป์ริมน้ำน่านกันแล้วล่ะ

    จุดเด่นของการมาไหว้ที่วัดภูมินทร์
    คือการลอดประตูที่อยู่ใต้ลำตัวของพญานาคที่อยู่รอบพระอุโบสถจตุรมุข ว่ากันว่า จะประสบผลสำเร็จสมดังปรารถนา

    ที่ตั้งและการเดินทาง
    วัดภูมินทร์ ถ.สุริยวงศ์ ต.เวียงใต้ เขต1 อ.เมือง จ.น่าน 55000 เริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 1080 และเมื่อเข้าสู่ตัวเมือง ให้วิ่งตามถนนมหายศ จะผ่านวัดสวนตาล แยกขวาเข้าถนนผากอง จากนั้นจะผ่านเทศบาลเมืองน่าน และวัดภูมินทร์จะอยู่ทางด้านขวามือ

    แผนที่สำหรับวัดภูมินทร์ google map

    จุดสังเกตุและสถานที่ใกล้เคียง
    • วัดภูมินทร์นี้อยู่ตรงกันข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบ้านหลวงธนานุสร (ช่วง โลหะโชติ) ซึ่งได้เปิดเป็นร้านกาแฟ บรรยากาศและการจัดร้านน่านั่งมากๆ ขอบอก
    • อยู่เยื้องๆ กับวัดพระธาตุช้างค้ำ มองจากวัดพระะธาตุช้างค้ำก็จะเห็นวัดภูมินทร์ และถ้ามองจากวัดภูมินทร์ก็จะเห็นวัดพระธาตุช้างค้ำเช่นกัน
    มีข้อสังเกตุว่า เมืองน่านแห่งนี้ จะเริ่มใช้ชีวิตกันตั้งแต่รุ่งเช้า ประมาณตีห้าก็เดินตลาดสดหาซื้อของกินตอนเข้ากันได้แล้ว และก็จะเงียบกันไวมากในช่วงคำคืน ในราวทุ่มกว่าๆ ก็จะเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ปิดไฟกันเงียบแล้ว จะมีก็แต่ร้านอาหารที่เปิดตอนกลางคืน ร้านเหล่านี้ก็ยังสวางสดใสอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีร้านรวงมากมายนัก

    ใครที่เคยชินกับแสงสียามคำคืนของกรุงเทพฯ หรือเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยชินนัก แต่ถ้ามองว่ามาพักผ่อน ให้หัวใจได้สัมผัสบรรยากาศของชาวเมืองเหนือแบบเงียบสงบก็ดูจะมีเสน่ห์ไปอีกแบบนะ ลองแวะมาเมืองน่านสักครั้งแล้วคุณจะติดใจ

    จิตรกรรมฝาผนัง, ดั่งต้องมนค์เมืองน่าน, น่าน, น่านนคร, น่านเนิบ, น้านน่าน, ปู่ม่านย่ามาน, เมืองสงบ, เมืองเสน่ห์, เสียงกระซิบบันลือโลก
    ขอบคุณที่มา :- http://moomsabai.com/wordpress/วัดภูมินทร์/
     

แชร์หน้านี้

Loading...