วัดไทยที่เนปาลีไก๊ด์ไม่ยอมพาไปดู

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    'วัดไทย'ที่เนปาลีไก๊ด์ไม่ยอมพาไปดู



    โดย ประภาษ รัตนพันธุ์



    [​IMG]

    ชานกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล มีเมืองเก่าแก่ของเนปาล เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย Tribhuvan ที่ใหญ่ที่สุดของเนปาล และเป็นเมืองบนเนินเขาที่สวยงามแห่งหนึ่ง ห่างไปทางทิศตะวันตกของเมืองหลวงประมาณ 8 กิโลเมตร ชื่อเมืองกีร์ตปูร์ (Kirtipur) เป็นเมืองที่สวยงามและมีวัดฮินดูอยู่บนยอดเขา และตามไหล่เขาหลายวัด เช่น Kvath Temple, Bagh Bhairav Temple, Chilanctip Vihar Stupa

    แต่ที่น่าสนใจคือ วัดไทย วัดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ที่คณะสงฆ์ไทยและชาวไทยให้การอุปถัมภ์ ชื่อวัด ไทยกีร์ตภวัน (The Thaikirti Bhavan) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 วัดที่มองเห็นเด่นเป็นสง่าเมื่อนั่งรถผ่านเมืองมหาวิทยาลัย หรือ Tribhuvan University Campus มองไปข้างหน้าตรงไหล่เขาของเมืองกีร์ติปูร์ เมืองที่เคยเป็นแคว้นอิสระ มีกษัตริย์ปกครอง ราว 700 ปีมาแล้ว ซากเมืองยังมีอยู่ให้เห็น และเมืองเก่ากว่า 200 ปี ยังคงสภาพสมบูรณ์น่าชมยิ่ง

    เมืองนี้มีศาสนาพุทธและฮินดู แต่ที่อยู่อาศัยแยกจากกัน มีพุทธเจดีย์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในปี 2495-2517 ได้มีการพยายามสร้างวัดพุทธขึ้นที่นี่ เรียกชื่อกันว่า วัดศรีกีรติวิหาร หมายถึงเป็นศรีแห่งเมืองกีร์ติปูร์หรือวัดที่มีชื่อเป็นทางการว่า วัดไทยกีร์ติภวัน

    ที่นี่มีการสร้างพุทธสังเวชนียสถานจำลอง 4 แห่งไว้ และตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในเนปาลขึ้น ได้มีสร้างพระอุโบสถอาคารทรงไทย เจดีย์ และพระพุทธรูปขึ้น
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ให้พนักงานขับรถนำไปเที่ยวเมืองนี้ เพราะทราบในกิตติศัพท์ความงามของเมือง และเป็นเมืองเก่าที่มีสภาพสมบูรณ์อายุร่วม 700 ปีแห่งนี้ ระหว่างทางจะผ่านด่านชุมชนที่ตั้งขึ้นเพื่อเก็บค่าเข้าชมเมือง เพื่อนำเงินไปบำรุงสภาพแวดล้อม แต่หากไม่อยากจ่ายค่าผ่านทางก็จะมีทางเลี้ยวเข้าไปในมหาวิทยาลัยตรีภูมิวัน มหาวิทยาลัยใหญ่ที่สุดของเนปาล และลัดเลาะไปตามถนนในมหาวิทยาลัย ออกไปสู่ทางเข้าเมืองก็ได้

    การเก็บค่าผ่านทางในประเทศเนปาลถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะไปที่ไหน จะมีด่านเก็บเงินเมื่อผ่านไปในหมู่บ้าน แต่เก็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการดูแลสถานที่ รัฐก็จะไม่มายุ่งเกี่ยวกับเงินเหล่านี้ ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์เพื่อบำรุงสถานที่และสิ่งแวดล้อมระหว่างทางเข้าเมือง

    มองเห็นวัดแบบไทยเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงเชิงเขา มองเห็นได้แต่ไกล เลยบอกพนักงานขับรถว่า ขากลับจากการชมเมืองหลังจากเที่ยวชมวัดฮินดูที่สวยงาม 2-3 แห่ง และดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมืองแล้วช่วยแวะวัดไทยให้หน่อย เพราะไม่มีอยู่ในรายการที่เหมารถมา พนักงานตอบตกลง และพาวนเวียนดูเมืองดูวัดจนเสร็จ พาลัดเลาะมาตามไหล่เขา ไปโผล่ที่ถนนทางเข้าหมู่บ้าน เป็นชุมชนที่จอดรถประจำทาง

    จากบนเนินที่ตั้งบ้านเรือน มองลงไปข้างล่าง ข้างๆ ศาลาที่พักทรงเนปาลมีบันไดเป็นทางลงไปสู่วัดที่ตั้งอยู่เบื้องล่าง เดินลงไปสวนทางกับสาวชาวเนปาลที่แต่งกายคล้ายชาวฮินดูอย่างที่เห็นชาวอินเดียที่กรุงเทพฯ และเนปาลีที่พำนักอาศัยอยู่ในละแวกนั้นอีกหลายคน แต่งกายแตกต่างกัน สอบถามได้ความว่า ช่วงนี้เป็นงานบุญของชาวพุทธ มีการหยุดงานฉลองเทศกาลกันหลายวัน เพราะเจอชาวทิเบตที่เมืองโพคารา ทางเหนือของประเทศเนปาล ก็บอกว่าเป็นเทศกาลของเขาคล้ายวันขึ้นปีใหม่ชาวพุทธทิเบต มีการหยุดงานเลยพากันไปเที่ยว

    เดินเข้าไปชมภายในพระอุโบสถและศาลา บนหลังคาศาลาสร้างสังเวชนียสถานจำลอง 4 แห่งไว้ให้ได้เคารพบูชา ภายในวัดมีอาคารศาลาโถงใหญ่ และอาคารที่พำนักปฏิบัติศาสนกิจอีกหลังใหญ่ลึกลงไปอีก 4 ชั้น (เพราะสร้างลดหลั่นลงไปตามไหล่เขา) บนลานวัดนอกจากพระอุโบสถหลังขนาดย่อมแล้วมีเจดีย์แบบระฆังคว่ำสีทอง อีก 1 องค์ สวยงามมาก หลังจากเข้านมัสการพระประธานในพระอุโบสถ เจอพุทธศาสนิกชนชาวเนปาลนั่งสวดมนต์ ทราบว่าพระที่นี่เป็นพระชาวเนปาล

    หลังจากเที่ยวชมเสร็จ เมื่อกลับเขามาในรถระหว่างทางบอกขอบคุณพนักงานขับรถที่กรุณาเอื้อเฟื้อแนะนำสถานที่ที่น่าเยี่ยมชม โดยไม่ทราบข้อมูลมาก่อนว่ามีวัดไทยอยู่ที่นี่ด้วย พร้อมกับเปรยว่า มาเที่ยวเนปาลคราวหน้าจะตรงมาที่วัดไทยนี่เลย เพราะสถานที่สะอาดน่าพัก จะได้ไม่ต้องพักที่โรงแรมให้เสียเงิน เพราะวัดไทยส่วนใหญ่นอกจากจะสร้างไว้ให้เป็นที่พึ่งทางกายทางใจแก่คนไทยที่พำนักในต่างแดนแล้ว ยังเป็นที่พักรองรับผู้เดินทางมาท่องเที่ยวจากประเทศไทยอีกด้วย โดยจ่ายค่าบำรุง ทำบุญตามศรัทธา

    พนักงานขับรถที่เป็นไก๊ด์จำเป็นอุทานด้วยความตกใจ และบอกว่าคราวหน้าถ้ามีคนไทยมาที่นี่จะไม่พามาดูวัดไทยเด็ดขาด ถามเขาว่าทำไม เขาบอกว่าขืนพามาก็จะพากันมาพักที่วัดหมด ทำให้ประเทศเขาขาดรายได้ค่าที่พัก

    จริงของเขา ช่างเป็นคนเนปาลที่น่าชมเชย คิดการณ์ไกลและรักชาติจริงๆ อัชฌาสัยโดยทั่วไปของคนเนปาลน่ารักอย่างนี้ ความซื่อสัตย์และความมีน้ำใจ เป็นคนเปิดเผยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยว เขาจะเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี เพราะรายได้หลักของเขาคือ รายได้จากการท่องเที่ยว หากทำอะไรไปเป็นการทำลายการท่องเที่ยวเหมือนกับเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง จะพาให้เดือดร้อนกันไปหมด

    เพราะที่เขาพูดมาก็ใช่ว่าเขาจะเป็นเจ้าของโรงแรมหรือที่พัก แต่พูดออกมาจากใจจริงที่ห่วงใยการท่องเที่ยวและรายได้ที่จะได้จากนักท่องเที่ยว ในภาพรวมของประเทศเขา ทำให้นึกถึงประเทศไทย และทำให้นึกรักคนเนปาลขึ้นอีกมากเลย

    และพร้อมกันนั้นเขาเอ่ยปากว่าถึงเวลาอาหารกลางวันแล้ว วันนี้จะพาไปลองทานอาหารแบบทิเบตบ้าง แทนการทานอาหารเนปาลมาหลายครั้งแล้ว และร้านที่นำไปเป็นร้านเล็กๆ ตามย่านชุมชนชานเมือง เขาบอกว่า ที่นี่เป็นร้านคนทิเบตที่ลี้ภัยมาจากทิเบต ที่ไม่พาไปร้านในเมืองที่เป็นร้านใหญ่ๆ สำหรับนักท่องเที่ยว เพราะร้านเหล่านั้นบริหารโดยคนต่างชาติ...ดูเขาซีแล้วจะไม่รักคนเนปาลได้อย่างไร...

    วันนั้นเลยเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแบบทิเบตแก่เขา 1 มื้อ...แค่ จานล่ะ 60 รูปีเอง


    ที่มา : [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...