วิกฤตความทุกข์ "ซิตี้ซินโดรม"

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 3 พฤศจิกายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    วิกฤตความทุกข์ "ซิตี้ซินโดรม"

    คอลัมน์ STORY

    โดย ทีมงาน DLife

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ยากยิ่งที่จะทำให้คนทั้งประเทศยิ้มได้

    จึงไม่น่าแปลกใจที่ดัชนีความสุขมวลรวมของคนในชาติ ซึ่งสำรวจโดยศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา พบว่าความสุขของชาวประชาจะลดลงฮวบฮาบน่าตกใจ คืออยู่ที่ 5.64 จากเมื่อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 5.82

    เฉพาะอย่างยิ่งคนในเมืองกรุงอาการน่าเป็นห่วงสุดๆ เพราะความสุขลดต่ำมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ !

    สาเหตุสำคัญก็อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ เพราะไหนจะเรื่องการเมือง ไหนจะเรื่องครอบครัว ไหนจะเรื่องเศรษฐกิจการงานที่ต้องยึดเก้าอี้ให้เหนียวแน่นสุดๆ ซึ่งเรื่องนี้นอกจากจะทำให้กรมสุขภาพจิตนั่งไม่ติดแล้ว บรรดาโรงพยาบาลต่างๆ เองก็ต้องเตรียมรับมือกับโรคภัยของคนเมืองที่กำลังเกิดเป็นผลตามมาจากภาวะความสุขถดถอยอย่างช่วยไม่ได้ !

    ความสุขคนกรุงต่ำสุด

    หากเอ่ยถึงสาเหุตแล้วศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน

    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุขของชาวประชาลดลงอยู่ที่การชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยด้านบรรยากาศทางการเมืองระดับชาติ และปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง

    ในผลสำรวจนี้ยังได้เปิดเผยความสุขอันน้อยนิดของคนกรุงว่ามีอาการน่าเป็นห่วงมาก !!!

    เนื่องจากกลุ่มประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเทียบกับประชาชนในพื้นที่ภูมิภาคอื่นๆ พบว่าคนกรุงมีระดับความสุขต่ำสุดในเกือบทุกประเด็นที่สำรวจ เช่น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว สุขภาพกาย สุขภาพใจ บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ความเป็นธรรมในสังคม สภาวะเศรษฐกิจส่วนตัว การเมืองการปกครองระดับประเทศ และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

    ยิ่งไปกว่านั้น ระดับความสุขมวลรวมของประชาชนคนกรุงโดยภาพรวมต่ำกว่าความสุขของประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน โดยพบว่าความสุขมวลรวมของคนกรุงอยู่ที่ 5.01 ประชาชนคนภาคใต้มีความสุขต่ำรองสุดท้ายคือ 5.09 ภาคกลางมีความสุขอยู่ที่ 5.36 ภาคเหนือมีความสุขอยู่ที่ 5.34 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขสูงสุดคืออยู่ที่ 6.40

    ที่สำคัญกว่านั้น หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น แนวโน้มความสุขในบ้านเมืองไทยก็น่าจะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ !

    เรื่องนี้ทำให้กรมสุขภาพจิตถึงกับนิ่งนอนใจไม่ได้ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยความจริงกับ DLife ว่า

    "ทุกวันนี้คนไทยกำลังเผชิญ 3 วิกฤต ทั้งวิกฤตการเมืองที่มีความขัดแย้งหาทางออกไม่ได้ วิกฤตเศรษฐกิจหดตัวทำให้เกิดรายได้ลดลง องค์กรก็ลดขนาด คนตกงาน และวิกฤตชีวิตคือปัญหาครอบครัวที่ยังมีอยู่ เหล่านี้เป็นภาวะวิกฤต 3 ด้านที่คนต้องเผชิญ ซึ่งหากเป็นปกติแล้วการเผชิญปัญหาด้านเดียวก็แย่แล้ว แต่นี่เผชิญถึง 3 ด้าน"

    ถ้าจับอาการได้ว่ามีอาการต่างๆ ดังนี้ คือ ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ตึงบริเวณขมับ, ต้นคอ หรือตามแขน ขา, นอนไม่หลับ, หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้, ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ, หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง, แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง, ชาตามร่างกาย

    นั่นแหละอุณหภูมิความเครียดของคุณกำลังพลุ่งพล่านอย่างหนัก หากไม่จัดการสยบให้ราบคาบ มีหวังคุณจะต้องเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ตามมา

    นายแพทย์ยงยุทธบอกอีกว่า...เวลาคนเราเจอวิกฤตจะมีช่วงของความรู้สึกเครียด ท้อแท้ โกรธ ถ้าผ่านพ้นไปได้ถึงระยะตั้งตัวก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าผ่านช่วงความรู้สึกไม่ได้ก็จะทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ท้อแท้ บางรายฆ่าตัวตาย และหากปล่อยไว้จะส่งผลถึงสุขภาพด้วย อย่างการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย หรือมีอาการกระทบกระทั่งกันง่ายในแง่ของสัมพันธภาพ นอกจากนี้ หากคนเรามีความเครียดเรื้อรังจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ และจะทำให้เราต้องเผชิญกับหลายโรค อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจอุดตัน เส้นเลือดในสมองแตก และเกิดอาการปวดต่างๆ ในร่างกายที่มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง !

    Burn-Out Syndrome ???

    ภัยคุกคามในโลกทุนนิยม

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สภาวะกดดันของโลกในระบบทุนนิยม เร่งรัดให้เราทำงานอย่างหนักเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า (?) ยิ่งมีสถานการณ์ต่างๆ รอบตัวอันเป็นวิกฤตแห่งความเครียดที่รุมเร้าเข้ามาหาด้วยแล้ว วิกฤตทางชีวิตและจิตใจที่เครียดยังส่งผลให้ร่างกายวิกฤตตามไปด้วย

    เป็นภัยร้ายกับร่างกายที่ได้ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ และรอเวลาระเบิดในวันที่ร่างกายเหนื่อยล้า หรือเก็บงำความเครียดต่างๆ เอาไว้เต็มที่

    Burn-Out Syndrome คือชื่อโรคสุดอินเทรนด์ที่บรรดาคุณหมอกำลังตื่นตัวและคอยตั้งรับกับจำนวนผู้คนในปัจจุบันที่กำลังป่วยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น

    ผศ.ดร.น.พ.ประกอบ ผู้วิบูลย์สุข จิตแพทย์ผู้อำนวยการ

    คลินิกเฉพาะโรค ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ เล่าให้ฟังว่า "Burn-Out Syndrome เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง สาเหตุที่สำคัญนั้นเกิดจากการทำงานหนักมากเกินไปและไม่ได้สัดส่วนกับการพักผ่อน ปัจจัยสภาพเศรษฐกิจ สภาพการเมืองที่รายล้อมในตอนนี้ ที่ดูจะแย่ไปเสียทั้งหมด ก็มีส่วนทำให้เกิด Burn-Out Syndrome ได้เช่นกัน แต่มูลเหตุหลักก็ยังอยู่ที่เวลาทำงานไม่สมดุลกับเวลาพักผ่อน...

    ...คำคำนี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1974 โดยนักจิตเวชชาวอเมริกันที่ชื่อ เฮอเบิร์ต เจ ฟลอยเดนเบอร์เกอร์ โดยนำร่างกายมาเปรียบเปรยกับเครื่องยนต์ว่า ภาวะ burn-out เหมือนกับเครื่องยนต์ที่ทำงานติดต่อกันจนเครื่องร้อน ทำให้หม้อน้ำเดือด ทำงานจนหมดพลังไป"

    สำหรับกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อภาวะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกคนทำงานที่มีบุคลิกลักษณะที่ตั้งใจทำงานเป็นพิเศษ ตั้งความหวังไว้สูงกับงานที่ตนทำ ต้องการความสมบูรณ์แบบจึงทำงานหนักมากขึ้น

    ฟังดูแล้วถ้าคุณเป็นคนทำงานประเภท Workaholic ต้องพึงระวังตัวเองให้ดี น.พ.ประกอบให้จับสังเกตอาการเริ่มต้นของ Burn-Out Syndrome ดังนี้

    "ถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีสมาธิและความตั้งใจในการทำงาน พร้อมกับมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีพลัง ไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงาน อาจจะมีปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ มึนงง อาการนอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร สมองไม่แล่น ความจำไม่ดี เป็นต้น ถ้าเกิดอาการเหล่านี้เราต้องเช็กตัวเองทันทีว่าเราเป็น Burn-Out Syndrome หรือไม่ ซึ่งต้องแยกให้ดีระหว่าง Burn-Out Syndrome กับโรคเครียด และโรคซึมเศร้า เพราะยังไม่ถือว่าอาการ Burn-Out Syndrome จะหนักขนาดนั้น แต่ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ อาการ Burn-Out Syndrome อาจจะทำให้เกิดโรคเครียด และโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน...

    ...นอกจากนี้ ถ้าหากยังมีอาการ Burn-Out Syndrome โดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเอง ปล่อยไว้นานๆ อาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคอื่นได้อีกมากมาย เช่น โรคเกี่ยวกับหู โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง เป็นต้น"

    เห็นอย่างนี้อย่าเพิ่งเครียดกับเจ้า Burn-Out Syndrome มากไปจนความเครียดทับถมนำไปสู่การปวดไข้ทางจิตแบบอื่น เพราะป้องกันภาวะอาการนี้ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ "ปรับพฤติกรรมการทำงานของเราเสียใหม่ โดยปรับสัดส่วนเวลาการทำงานกับเวลาการพักผ่อนให้สมดุลกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าเวลาการพักผ่อนที่พอดีของเราเป็นเท่าไร บางคนอาจจะนอนเพียง 6 ชั่วโมงก็สดชื่นแล้ว แต่บางคนต้องนอนถึง 10 ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ ต้องหาจุดพอดีให้ได้ ส่วนในเวลาทำงานเราควรพักระหว่างเวลาทำงานบ้าง เช่น ทำงาน 1 ชั่วโมง เราควรใช้สมอง 45 นาที แล้วให้สมองพักสัก 10-15 นาที ควรทำเช่นนี้ทุกๆ ชั่วโมง และในแต่ละสัปดาห์ ควรมีวันหยุดทำงานเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน การปรับเวลาเหล่านี้ควรดูให้ได้ตามสัดส่วนที่ธรรมชาติของร่างกายเราต้องการ"

    แล้วเราจะรักษาอาการ Burn-Out Syndrome ได้อย่างไร ?

    "สำหรับการรักษาต้องมองว่าชีวิตไม่ได้มีแต่เรื่องงานอย่างเดียว ควรจัดเวลาในแต่ละวันให้มีกิจกรรมอย่างอื่นทำบ้าง เช่น การพูดคุยกับเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือคู่ชีวิต การออกกำลังกาย การพักผ่อน เป็นต้น

    ...ควรให้ความสมดุลกับจิตใจ ตั้งคำถามกับชีวิตว่าฉันจะใช้พลังของฉันเพื่ออะไรบ้าง ? คุณภาพชีวิตของฉันเป็นอย่างไร ? อะไรเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ? แล้วจะหลีกเลี่ยงความเครียดนั้นได้อย่างไร ? ฉันจะใช้จ่ายเงินอย่างไร ? การตรึกตรองคำถามเหล่านี้ก็เพื่อการมีความสุขในชีวิตมากขึ้นนั่นเอง"

    "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

    อีกโรคฮิตคนเมือง

    มีใครบ้างที่ในชีวิตนี้ไม่เคยปวดหลัง ?

    ทายว่าไม่มีใครยกมือเลยละสิ เพราะอาการปวดหลังนั้นเป็นโรคคู่กับชีวิตการทำงานมาโดยตลอด ยิ่งในช่วงภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ การทำงานยิ่งต้องมุ่งมั่นตั้งใจจนแทบลืมความเจ็บป่วยของร่างกาย

    เคยคิดกันไหมว่าอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ คู่กับชีวิตของเรานั้น หากไม่แก้ไขให้ดีจะเรื้อรังกลายเป็นโรคชื่อยาวๆ ว่า "โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท"

    โรคที่ว่าสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุช่วง 20 ปีขึ้นไป โดยอาการที่พบได้ คือ ปวดหลังร้าวลงขา มีอาการชาตั้งแต่เอวร้าวลงขา หรือหลังเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ส่งผลให้การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ-อุจจาระผิดปกติ โดยสาเหตุเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บที่หมอนรองกระดูก และอาจพบได้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น ยกของหนักหรือยกของผิดท่า การออกกำลังกายผิดท่าหรือรุนแรง รวมไปถึงการเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามอายุ หรือการใช้งานกระดูกสันหลังหนักมากเกินไป ทำให้กระดูกสันหลังทรุดลงจนกดทับเส้นประสาท

    น.พ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ศัลยแพทย์ระบบประสาท คลินิกศัลยกรรมกระดูกสันหลังผ่านกล้อง โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า โดยทั่วไปคนทำงานนั่งโต๊ะมักจะมีอาการ "ปวดหลัง" ซึ่งบริเวณที่มีปวดแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเอว-ก้นกบ และต้นคอ สะบัก หัวไหล่ เหล่านี้จะเกิดจากการที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานาน อย่างเช่นเวลานั่งโต๊ะทำงานแล้วเราไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ การที่เราอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน น้ำหนักตัวจะลงที่หมอนรองกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกก็จะถูกบีบอัดเป็นเวลานาน อาทิ นั่งทำงานแค่ครึ่งก้น หรือนั่งในท่าที่ผิดปกติ

    อาการปวดหลังที่เกิดขึ้นจากหมอนรองกระดูกปลิ้น ฉีกขาด หรือกดทับเส้นประสาทจะปวดหลังร้าวลงถึงขา เพราะเส้นประสาทจะวิ่งลงไปที่ขา ที่เราเรียกว่า "หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท" คนทั่วไปจะคิดว่าเกิดจากการเล่นกีฬาที่ผิดท่า หรือยกของหนัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เกิดจากการบาดเจ็บครั้งเดียว ทว่าเกิดจากการสะสม การบีบอัดหมอนรองกระดูกนานๆ

    นอกจากปวดหลังแล้ว "ปวดคอ" ก็เป็นอีกอาการยอดฮิตไม่แพ้กัน คุณหมอบอกว่าที่กระดูกคอก็สามารถเป็นหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทได้

    "ปกติกระดูกคอคนเราจะอยู่ในท่าแหงนนิดๆ แต่การทำงานเราจะก้มหน้า นานๆ ไปหมอนรองกระดูกคอก็จะกดทับเส้นประสาท คล้ายกับที่กระดูกเอว พอถึงจุดหนึ่งหมอนรองกระดูกก็จะกดทับเส้นประสาทที่คอ แล้ววิ่งไปที่แขน ทำให้แขนชา หรืออ่อนแรง อาการคล้ายๆ กัน แต่ปวดไล่จากคอไปเลย บางกรณีปวดถึงปลายนิ้ว หรือชาที่ปลายนิ้ว อาการที่คอไม่รุนแรงเท่าที่เอว เนื่องจากกระดูกคอรับน้ำหนักแค่ศีรษะเท่านั้น ส่วนมากพักแค่ 3-5 วันให้กินยา เดี๋ยวก็หายไป แต่อาการที่คอจะเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ไม่รุนแรงเท่าที่เอว ซึ่งจะปวดจนเดินไม่ได้"

    ในส่วนของ "การป้องกัน" ไม่ให้เกิดโรคนี้นั้น คุณหมอบอกว่าทำได้ง่ายๆ แค่ปรับท่าทางการทำงาน เวลาที่นั่งทำงานก็ต้องนั่งให้เต็มก้น, อิงพนักเก้าอี้, เลื่อนเก้าอี้เข้ามาให้ใกล้กับโต๊ะทำงาน, เลือกเก้าอี้ที่ซัพพอร์ตกับร่างกาย เพราะเอวเราต้องแอ่นเล็กน้อยเวลานั่ง และไม่ยกของในท่าที่ผิด สำหรับผู้หญิงไม่แนะนำให้ใส่รองเท้าส้นสูงมากๆ (อาจจะใส่ได้บ้าง แต่ไม่ควรใส่นาน) เพราะเวลาที่ใส่รองเท้าส้นสูงน้ำหนักจะเทไปข้างหน้า ทำให้ต้องแอ่นหลังสู้ นานๆ เข้าก็มีผลถึงกระดูกสันหลังเช่นกัน

    อีกทั้งการออกกำลังกายทำให้ช่วงหลังแข็งแรงก็จำเป็น โดยเฉพาะช่วงกล้ามหลังและกล้ามท้องให้แข็งแรง เพราะจะช่วยป้องกันส่วนหลังของเราเอาไว้ได้

    สำหรับ "การรักษา" ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการปวดกล้ามเนื้อคุณหมอจะให้รับประทานยาระงับปวด เพื่อลดการอักเสบ ทำกายภาพและฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาทและพักผ่อน ซึ่งถ้าอาการไม่รุนแรงมาก 3-5 วันก็หาย แต่ถ้าเกิน 1 อาทิตย์แล้วยังไม่หาย อันนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะถ้าปวดรุนแรงที่แขนหรือขา เนื่องจากอาจจะเกี่ยวกับเส้นประสาท (แต่ถ้าปวดที่หลังจะเป็นกล้ามเนื้อเสียเป็นส่วนมาก)

    7 พลังสุขภาพจิตสู้วิกฤต

    เห็นคนเมืองและคนไทยความสุขลดลง จนสถานการณ์โรคที่เกิดจากความเครียดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นแบบนี้ กรมสุขภาพจิตจึงเร่งสร้างจิตวิทยาในเชิงบวกที่จะใช้เยียวยาความทุกข์โดยการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้ต่อสู้กับปัญหา 4 ประการ และเติมสิ่งที่มีอยู่แล้ว 3 ประการ รวมเป็น

    7 พลังสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงวิกฤต

    น.พ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แนะทางออกให้กับเราว่า...

    ในยามที่เราต้องเผชิญวิกฤตถึง 3 ด้าน ในฐานะกรมสุขภาพจิตก็จะหันมามุ่งเน้นในเรื่องการสร้างพลังสุขภาพจิต โดยการปรับตัวให้ต่อสู้กับปัญหา 4 ประการประกอบด้วย 1.การปรับอารมณ์ให้มีสติ อย่าให้อารมณ์รุนแรง 2.ปรับความคิด ให้คิดทางบวกให้เป็น 3.ปรับการกระทำ และ 4.ปรับเป้าหมายชีวิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่วนการเติมสิ่งที่มีอยู่แล้ว 3 ประการประกอบด้วย 1.เติมศรัทธาและความหวัง 2.เติมมิตร คือต้องคิดว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียวในโลก หัดมองคนรอบกายว่ายังมีคนที่พร้อมจะดูแลและช่วยเหลือ 3.เติมจิตให้กว้างรับฟังปัญหา และเปิดใจกับสิ่งที่วิกฤต

    ...ทั้งหมดนี้รวมเป็น 7 พลังสุขภาพจิตสู้วิกฤตที่ น.พ.ยงยุทธบอกว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้คนทั้งประเทศ และคนเมืองกรุงที่ดูเหมือนจะป่วยหนักมากขึ้นทุกที ! :D

    วิธีสร้างสุขลดความเครียดจากการเมือง

    1.หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น

    2.ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆ บ้าง

    3.หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน

    4.ออกกำลังกายและพักผ่อน

    5.ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติและสมาธิ, ฝึกโยคะ, ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

    6.หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง

    หากมีอาการเครียดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษา

    ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ขอรับบริการปรึกษา ได้ที่ www.dmh.go.th, คลินิกคลายเครียด ในสถานบริการสุขภาพจิตทั่วประเทศ, โทรศัพท์สายด่วน 1323 รวม 17 คู่สาย ในกรณีที่สายไม่ว่างหรือติดต่อไม่ได้ ให้ฝากข้อความได้ที่ โทรศัพท์อัตโนมัติ หมายเลข 1667 (140 คู่สาย), บริการให้การปรึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (msn) ทาง

    E-mail address : counseling_sty@hotmail.com

    จันทร์- ศุกร์ (16.00-24.00 น.) และเสาร์-อาทิตย์ (08.00-24.00 น.)

    (ที่มา : กรมสุขภาพจิต) (หน้าพิเศษ D-Life)


    ------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02dlf03031151&day=2008-11-03&sectionid=0225
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sirmai

    sirmai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +98
    ดีจังเลยครับ บทความ
     
  3. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    หลีกเลี่ยงตนเองจากโรคของการทำงาน รักษาสุขภาพจิตของตน
    อาจเพิ่มความสุขมวลรวมให้สูงได้
     
  4. Ghost!!

    Ghost!! Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +34
    ใน วิกฤตความทุกข์ มี ......

















    ;aa19

    [vdo]http://palungjit.org/attachments/a.437255/[/vdo]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...