วิกฤติพลังงาน 5-14 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันที่หยุดจ่ายก๊าซจากพม่า

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย mantall, 14 มีนาคม 2013.

?
  1. ไม่มีอะไรเกิดขึ้นแน่นอน

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เตรียมตัวไว้แล้ว

    0 vote(s)
    0.0%
  3. ไม่รู้ว่า ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    0 vote(s)
    0.0%
  4. อื่นๆ

    0 vote(s)
    0.0%
  1. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    ทำไมไม่มีใครตั้งกระทู้เกื่ยวกับ
    "วิกฤติพลังงาน 5-14 เมษายน 2556"
    ไม่ว่าจะเป็น
    -สถานการณ์ทั่วไป
    -วิธีเตรียมตัว
    ---------------
    ตอบ
    ก.ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น - เป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่ง
    ข.เตรียมตัวไว้เรียบร้อยแล้ว - เตรียมตัวรับมือกับวันสิ้นโลกไว้แล้ว (แค่ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีไฟฟ้าใช้ 10 กว่าวัน สบายมาก)
    ----------------
    *************************************
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2556 11:39 น.
    กระทรวงพลังงาน ขอความร่วมมือคนไทยร่วมปฏิบัติการ 3 ป.ช่วยชาติประหยัดพลังงาน ด้วยการปิดไฟ-ปรับแอร์-ปลดปลั๊ก สู้วิกฤตไฟฟ้า 5 เมษานี้ เวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง คาดช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.49 ล้านหน่วย/วัน

    นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ไฟฟ้าที่บริษัท Total ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า จะหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติมายังประเทศไทย เพื่อทำการซ่อมแท่นผลิตก๊าซเกิดการทรุดตัวลงนั้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศไทยที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิต โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-14 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันที่หยุดจ่ายก๊าซอาจส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด กระทรวงพลังงานจึงได้จัดเปิดตัวกิจกรรม “รวมใจคนไทย สู้วิกฤตไฟฟ้า” ในวันที่ 4 เมษายน 2556 ในเวลา 14.00-15.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยขอความร่วมมือประชาชนปฎิบัติการ 3 ป.ช่วยชาติประหยัดพลังงาน ได้แก่ ปิดไฟ ปรับแอร์ ปลดปลั๊ก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันลดการใช้ไฟฟ้าในวันที่ 5 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงวันและเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในปี 2556

    ทั้งนี้ การปิดไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1 หลอด ขนาด 46 วัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะช่วยลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ได้ประมาณ 208.5 เมกะวัตต์ หรือลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.21 ล้านหน่วย/วัน

    สำหรับการปรับแอร์ พบว่า เครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง ขนาด 12,000 บีทียู ปรับอุณหภูมิขึ้นจาก 25 องศา เป็น 26 องศา เป็นเวลา 8 ชั่วโมง/วัน จะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.58 หน่วย/วัน และถ้าร่วมมือปิดการใช้งานเวลา 14.00-15.00 น. จำนวนร้อยละ 10 ของเครื่องปรับอากาศทั้งหมดของประเทศจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.27 ล้านหน่วย/วัน

    การปลดปลั๊ก หากมีการปลดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งานออก จะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.002 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และถ้าร่วมมือปลดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น 1 อุปกรณ์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จำนวน 4.53 ล้านเครื่อง หรือประมาณร้อยละ 20 ของอุปกรณ์ไฟฟ้าในประเทศ จะช่วยลด Peak ได้ประมาณ 9.25 เมกะวัตต์ หรือลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.01 ล้านหน่วย/วัน

    “กระทรวงพลังงานจึงขอความร่วมมือจากประชาชนร่วมกันปฏิบัติการ 3 ป. ปิดไฟ/ปรับแอร์/ปลดปลั๊ก ช่วยชาติประหยัดพลังงาน ในวันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยคาดการณ์ว่าการดำเนินงานตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในช่วงการหยุดผลิตก๊าซฯ จะช่วยลด Peak ได้ 710 เมกะวัตต์ หรือลดการใช้ไฟฟ้าได้ 0.49 ล้านหน่วย/วัน และยังช่วยลดก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าได้ 4.23 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน” ผอ.สนพ.กล่าว
    iBiz - Manager Online - ก.พลังงานชวนรวมใจคนไทย สู้วิกฤตไฟฟ้าปฏิบัติการ 3 ป. 5 เมษาฯ บ่าย 2
    ***********

    วันพฤหัสบดี ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556, 06.00 น. น.ส.พ. แนวหน้า

    “เพ้ง”ซ้อมแผนรับมือวิกฤติพลังงาน มั่นใจไฟฟ้าไม่ดับแต่แรงดันอาจจะตก อ้างตุนปริมาณสำรองได้แล้ว 1,700 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่วางใจเล็งหาช่องงัดกฎหมาย หวังใช้อำนาจสั่งหยุดใช้ไฟหรือสำรองไฟเพิ่มกรณีฉุกเฉิน พร้อมโยนกฟผ.รับภาระค่าเอฟทีที่เพิ่ม 0.48 สตางค์ช่วยเหลือประชาชนไปก่อน แต่ถ้า 2 ปียังไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเตรียมจ่ายค่าไฟเพิ่มอีก 2 บาทแน่นอน

    นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานของประเทศ ประจำปี 2556”เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 ว่า เป็นการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤตพลังงาน ภายใต้รูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละหน่วยงานมีการแก้ไขปัญหากันอย่างไร รวมถึงเป็นการทดสอบโครงสร้างบริหารวิกฤตพลังงานของภาครัฐ เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โดยเฉพาะประเด็นอำนาจทางกฏหมาย หากปริมาณไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอ จะสามารถใช้กฏหมายใดเพื่อสั่งการให้หยุดการใช้ไฟฟ้าในบางหน่วยงาน หรือสั่งให้สำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

    สำหรับปริมาณสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินปัจจุบันอยู่ที่ 1,424 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการรับมือแหล่งก๊าซในพม่าหยุดจ่ายก๊าซให้ไทยระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน2556 และล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้แจ้งว่าจะสามารถหยุดการผลิต สำรองไฟได้เพิ่มขึ้นอีก 100 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับการรณรงค์ให้ภาคประชาชน ช่วยประหยัดไฟ คาดว่าประมาณสำรองจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,700 เมกะวัตต์แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องแรงดันไฟฟ้าอยู่เล็กน้อย

    ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตได้สั่งการให้สำรองน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาไว้ให้เพียงพอล่วงหน้าไปอีก 7 วัน หากแหล่งก๊าซพม่าไม่สามารถจ่ายก๊าซได้ทันตามกำหนด โดยต้นทุนจากการผลิตไฟฟ้าด้วยดีเซลและน้ำมันเตาที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ ได้คำนวนรวมต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติล่วงหน้าไปแล้ว 1.70 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนที่เพิ่มขึ้นอีก 0.48 สตางค์ต่อหน่วย ได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้ามารับภาระแทนประชาชน

    นอกจากนี้ ปัจจุบันมีบุคคลบางกลุ่ม พยายามใช้ช่องทางโลกไซเบอร์ เพื่อให้ข้อมูลด้านพลังงานที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงแก่ประชาชน เช่น อ้างว่าไทยสามารถผลิตน้ำมันส่งออกได้ 1 ล้านบาเรลต่อวัน และนำเข้ามาขายในราคาที่แพงกว่า ซึ่งตามข้อเท็จจริง ไทยผลิตได้ประมาณวันละ 1 แสนบาเรล ในและในจำนวนนี้มีสารตะกั่วปนเปื้อนเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องส่งออก ส่วนที่กลั่นขายในประเทศไทยจึงเหลือเพียงเล็กน้อย และยืนยันว่าไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ข้อมูลที่ระบุว่าน้ำมันในประเทศควรขายอยู่ที่ลิตรละ 4 บาท จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริง ประเทศตะวันออกกลางก็ยังไม่สามารถขายในระดับราคาดังกล่าวได้

    นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว ยืนยันว่าวิกฤตพลังงานครั้งนี้ ตนไม่ได้มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนร่วมกับบริษัทที่จะเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้มองว่าเป็นความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในระยะยาวที่ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น เนื่องจาก โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กับการสร้างเขื่อนไม่สามารถทำได้ในรัฐบาลชุดนี้ จึงเหลือแต่พลังงานถ่านหิน ที่มีต้นทุนถูกกว่าก๊าซธรรมชาติ เพราะหากยังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติต่อไปในระยะเวลา 2 ปี ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันที่ 3.75 บาทต่อหน่วยอย่างแน่นอน ภาระค่าไฟฟ้าดังกล่าวถือว่าแพงกว่าประเทศสหรัฐ ที่เฉลี่ย 11 เซนต่อหน่วยเท่านั้น ทำให้กระทบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และกระทบกับรายจ่ายประชาชน

    “ถ้าเราไม่สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ประเทศเพื่อนบ้านเขาก็ทำ แล้วเราก็จะยังต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานต่อไป จึงอยากจะถามว่าความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอยู่ที่ไหน ดังนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจากนี้จึงจำเป็นต้องสื่อสารกับประชาชน ผู้นำชุมชน ให้เข้าใจ หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย ก็ดำเนินการได้ไม่เป็นปัญหากับชุมชน”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

    ด้าน นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า กฟผ.ไม่ได้มีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะและที่ผ่านมาได้ สั่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจาด้วยดีตลอดซึ่งเบื้องต้นปัญหาน่าจะเกิดจากกลุ่ม ชาวบ้านที่ยังมีความคิดเห็นแตก ต่าง กัน เนื่องจากมีทั้งบางส่วนที่ต้องการ ย้ายออกจากพื้นที่และไม่อยากย้าย ออก จากพื้นที่ ทําให้ยังไม่ สามารถเจรจาได้สําเร็จ ทั้งนี้ กฟผ.พร้อมจ่ายเงินชดเชยให้ หาก ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์

    ส่วนความคืบหน้าการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ อยู่ระหว่างทําความเข้าใจกับ ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะด้าน สุขภาพ ซึ่ง กฟผ.ขอยืนยันว่า เป็น ถ่านหินสะอาด ประสิทธิภาพสูง และจะประสานงานกับกระทรวง สาธารณะสุข เพื่อร่วมทําความเข้าใจ กับชาวบ้านต่อไป ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า ถ่านหินที่กระบี่ เป็นส่วนหนึ่งในแผน พัฒนากําลังผลิตการผลิตไฟฟ้าของ ประเทศ(PDP 2010) ที่มีสัดส่วนการ ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 4,400 เมกกะ วัตต์ ซึ่งโรงไฟฟ้ากระบี่มีกําลังผลิต 800 เมกกะวัตต์ และโรงไฟฟ้า ถ่านหินแห่งใหม่ที่แม่เมาะอีก 600 เมกกะวัตต์ ส่วนที่เหลืออยูระหว่างจัด หาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป
    โลกธุรกิจ - “เพ้ง”ระดมสรรพกำลังรับมือวิกฤติพลังงาน หาช่องงัดกม.สั่งหยุดใช้ไฟ
    *************
    Date : 2013-03-14 11:11:07 เผยแพร่โดย ศูนย์ข่าวอาร์เอสยูนิวส์
    ศูนย์ข่าวTCIJจัดเสวนา"วิกฤตไฟฟ้า วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา" ‘ปิยสวัสดิ์’ถามรมว.พลังงาน แค่ซ่อมท่อก๊าซ ทำไมต้องทำเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่มีมาตรการรองรับอยู่แล้ว‘ชื่นชม’จวกนี่ไม่ใช่วิกฤติพลังงานแต่เป็นวิกฤติธรรมาภิบาล สัญญาระบุชัด แม้ซ่อมท่อก็ต้องส่งก๊าซให้ แฉรัฐล็อกสเปคเอกชนผุดโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซอย่างเดียว

    กรณีที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ว่า พม่าจะหยุดซ่อมบำรุงแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน 2556 จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติ ที่ใช้ป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าหายไปจากระบบวันละ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต สร้างความวิตก แตกตื่น และจุดกระแสความสนใจด้านพลังงานของประเทศ
    ด้านหนึ่งนำโดย กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ถูกจุดกระแสขึ้นในเวลานี้ ทางกฟผ.ให้เหตุผลในแง่ของความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ขณะที่อีกฟากหนึ่งนำโดยกลุ่มเอ็นจีโอและนักวิชาการด้านพลังงานกลับมองว่า เหตุการณ์นี้เป็นกระบวนการอันแยบยล ที่อาศัยความกลัวของประชาชน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งที่รัฐบาล กฟผ. และ ปตท. ไม่เคยไขข้อข้องใจด้านพลังงานแก่สังคมได้เลย ไม่นับว่าแผนการประหยัดพลังงาน การพัฒนาพลังงานทางเลือก หรือแนวทางอื่นๆ ที่จะเป็นทางออกด้านพลังงานของไทยก็ไม่เคยได้รับการใยดี

    อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพธุรกิจพลังงานของไทยที่มีลักษณะผูกขาด ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า วิกฤตไฟฟ้าครั้งนี้เป็นเรื่องจริงหรือแค่ดราม่าพลังงานกันแน่

    ศูนย์ข่าว TCIJ จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน คือ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรมว.พลังงาน และ ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิจัยด้านไฟฟ่าและพลังงาน มาเสวนาพิเศษในหัวข้อ "วิกฤตไฟฟ้า วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา" เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ที่หลากหลาย มุมมองที่มากมิติขึ้น
    ‘ปิยสวัสดิ์’ ถาม รมว.พลังงาน ปิดซ่อมท่อทุกปี ทำไมต้องทำเป็นเรื่องใหญ่

    ก่อนหน้านี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาให้ข้อมูลว่า การหยุดส่งก๊าซจากแหล่งยาดานาและเยตากุนจะทำให้ไฟฟ้าหายไปจากระบบถึง 4,100 เมกะวัตต์ ซึ่งหมายถึงกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก 6 โรงไฟฟ้าที่หายไป ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี, โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์, โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์จี, โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ, โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าวังน้อย

    ชื่นชม สง่าราศี กรีเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน-ไฟฟ้า ตั้งข้อสังเกตว่า โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าวังน้อย นอกจากจะใช้ก๊าซจากพม่าแล้ว ส่วนหนึ่งยังใช้จากแหล่งก๊าซในอ่าวไทยและยังมีน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรองด้วย ขณะที่โรงไฟฟ้าราชบุรี, โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ในสัญญาที่ทำกับ กฟผ. ระบุชัดเจนว่า โรงไฟฟ้าทั้ง 3 จะต้องมีคลังสำรองเก็บเชื้อเพลิงอย่างน้อย 3 วัน และ กฟผ. ยังสามารถเติมเชื้อเพลิงที่พร่องไปได้ด้วย แสดงว่าตามสัญญาได้มีมาตรการรองรับไว้แล้ว

    สอดคล้องกับ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า ต้องไปสอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปัจจุบันว่า ทำไมจึงต้องทำให้เป็นประเด็นใหญ่โต ทั้งที่จริง ๆ แล้ว การซ่อมท่อก๊าซเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และประเทศไทยก็พึ่งก๊าซธรรมชาติถึง 70 เปอร์เซ็นต์ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามา 10 กว่าปีแล้ว การซ่อมท่อก๊าซที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหาแต่อย่างใด แม้แต่ในเวลาที่เกิดวิกฤตจริง ๆ ระบบไฟฟ้าก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ ยิ่งการหยุดซ่อมที่รู้ล่วงหน้าเป็นปีแล้ว ยิ่งสามารถเตรียมการณ์ได้ล่วงหน้าและเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นได้

    “อย่างกรณีโรงไฟฟ้าราชบุรี ส่วนหนึ่งก็เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ส่วนหนึ่งก็เผื่อในกรณีที่ก๊าซจากพม่าส่งมาไม่ได้ โรงไฟฟ้าก็ยังใช้น้ำมันเตาแทนได้”

    เหตุนี้ ดร.ปิยสวัสดิ์ เห็นว่ากรณีไฟตก-ไฟดับ ไม่มีประเด็นอะไรที่ให้หยิบยกขึ้นมาให้ประชาชนวิตกกังวล เพราะ กฟผ. และ ปตท. สามารถจัดการได้อยู่แล้ว และต่อให้ไฟฟ้าหายไปจากระบบจริง มาตรการต่าง ๆ ก็มีรองรับไว้อยู่แล้วที่สามารถนำมาใช้ได้เลย ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยเกิดวิกฤตจนต้องใช้มาตรการเหล่านี้เลย
    กฟผ.แจ้งไฟหายจากระบบเกินจริง

    ชื่นชมยังกล่าวอีกว่า ไฟฟ้าที่หายไปจากระบบจริงน่าจะประมาณ 670 เมกะวัตต์เท่านั้น ส่วนที่ กฟผ. คาดการณ์การใช้ไฟฟ้าสูงสุดในวันที่ 4 เมษายน 2556 น่าจะอยู่ที่ 26,500 เมกะวัตต์ แต่ถ้าก๊าซหายไปในวันที่ 5 เมษายน จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเหลือเพียง 700 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าหมิ่นเหม่ เนื่องจากระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองควรอยู่ที่ 1,200 เมกะวัตต์ แต่หากปรับตัวเลขใหม่ ไฟฟ้าที่จะหายจากระบบจาก 4,100 เมกะวัตต์ เป็น 670 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 1,200 เมกะวัตต์ค่อนข้างมาก ชื่นชมเห็นว่า การที่ กฟผ. แจ้งว่าไฟจะตกจึงไม่น่าจะเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง

    “แต่การที่ กฟผ. บอกว่าเครื่องไม่ได้ใช้น้ำมันดีเซลมานาน จึงไม่รู้เครื่องจะใช้ได้หรือเปล่า คำถามก็คือ จากวันนี้ถึงวันที่ซ่อมท่อก๊าซ เหตุใดจึงไม่ลองเครื่องดู ทำไมไม่ซ่อม ดังนั้นการอ้างว่าไฟอาจไม่พอ เพราะเครื่องใช้งานไม่ได้ ถือเป็นการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า หรือเป็นการจงใจที่จะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกว่า ไฟฟ้าจะขาด เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม” ชื่นชมกล่าว

    รู้ล่วงหน้า 1 ปี แต่เงียบมา 10 เดือน

    อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เหตุใดจึงต้องหยุดซ่อมท่อในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูง ชื่นชมตั้งคำถามว่า ตกลงแล้ววิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตสร้างหรือวิกฤตจริง ทั้งที่ปีที่แล้วก็เคยมีบทเรียนในลักษณะนี้ เมื่อเกิดการซ่อมท่อก๊าซจากแหล่งเยดากุนทำให้ค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 5 สตางค์ และทาง ปตท. ก็ระบุว่า ทางพม่าได้แจ้งล่วงหน้าว่า จะมีการหยุดซ่อมมาประมาณ 1 ปีแล้ว

    “คำถามคือคุณมีเวลา 1 ปี ทำไมไม่เจรจาเลื่อนการซ่อมท่อจากช่วงเดือนเมษายนไปเป็นช่วงธันวาคมหรือมกราคม และทำไมจึงนิ่งเงียบมากว่า 10 เดือน แล้วค่อยมาประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมกับงบประชาสัมพันธ์ 65 ล้าน เพื่อสร้างกระแสวิกฤตพลังงาน”

    ปตท.ปิดส่วนลด 25 เปอร์เซ็นต์ ถ้าส่งก๊าซไม่ได้

    ชื่นชมยังเปิดเผยสัญญาที่ ปตท.ซึ่งเป็นผู้รับซื้อก๊าซ ทำกับผู้รับสัมปทานว่า

    “ผู้รับสัมปทานแหล่งยาดานา เป็นผู้ขายก๊าซให้ ปตท. ซึ่งมีสัญญากำกับเงื่อนไข ปริมาณ คุณภาพต่าง ๆ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ถ้าเจาะดูในสัญญา พบว่า มีการระบุถึงการชดเชยชัดเจนกรณีหยุดซ่อม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นการหยุดซ่อมแบบวางแผนล่วงหน้า ที่ในสัญญาระบุว่า แม้จะหยุดซ่อม แต่ยังต้องนำส่งก๊าซอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของระดับการส่งก๊าซปกติ”
    แต่ในกรณีที่ไม่สามารถส่งก๊าซได้เลย ในสัญญาข้อ 15.2 ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถส่งก๊าซให้แก่ ปตท.ได้ตามสัญญา ไม่ว่ากรณีใด ปตท.จะได้สิทธิซื้อก๊าซเฉพาะในส่วนที่ขาดหายไปภายหลังได้ในราคาที่ต่ำกว่าปกติ 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้ยังไม่นับประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนที่ว่า ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัทที่รับสัมปทานจากแหล่งเยตากุน

    ชื่นชมตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไม ปตท. ปิดเรื่องส่วนลด ทำไมกระทรวงพลังงานต้องสร้างกระแส ทั้งที่มีมาตรการและสามารถเตรียมรับมือได้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำไมองค์กรกำกับดูแลไม่ตรวจสอบสัญญา” ชื่นชม กล่าว

    สร้างวิกฤต หวังดันโรงไฟฟ้าถ่านหิน

    ทั้งหมดนี้นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงพลังงาน ปตท. กฟผ. และองค์กรกำกับดูแล รู้ข้อมูลบางอย่างล่วงหน้า แต่กลับพูดกับสาธารณะด้วยข้อมูลอีกชุดหนึ่ง และทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น ส่วนหนึ่งของคำตอบอาจอยู่ในข่าวที่ พงษ์ดิษฐ์ พจนา รองผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. ออกมาเรียกร้องให้รัฐดันโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์

    แต่ชื่นชมก็ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดการประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี (Independent Power Producer: IPP) จึงล็อกสเปคให้เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งมีปตท.เป็นผู้จัดหาเพียงรายเดียว แทนที่จะเปิดให้มีการผลิตอย่างหลากหลาย
    ประเด็นนี้ ดร.ปิยสวัสดิ์กล่าวว่า เห็นด้วยในหลักการที่ควรจะต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่ารัฐบาลยังให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนน้อยเกินไป และยังสร้างกฎระเบียบ ขั้นตอนยุ่งยาก ที่เป็นอุปสรรคต่อการเกิดขึ้นของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กหรือเอสพีพี (Small Power Producer: SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมากหรือวีเอสพีพี (Very Small Power Producer: VSPP)

    ดร.ปิยสวัสดิ์ยกกรณีตัวอย่างการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งแต่เดิมค่อนข้างเปิดกว้าง และมีมาตรการจูงใจ ภายหลังรัฐบาลกลับไปกำหนดเป็นโควต้า 2,000 เมกะวัตต์ ผู้ที่ได้สัญญาโครงการ แต่ไม่ต้องพัฒนากำลังการผลิตก็มีสิทธินำสัญญาไปขายต่อ เพื่อได้ส่วนเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ก่อให้เกิดการวิ่งเต้นเพื่อให้เปลี่ยนสัญญาได้

    ต่อมาก็เกิดอุปสรรคขึ้นอีกทั้งที่ก่อนหน้าไม่เคยเป็นประเด็นคือ ใบ รบ.4 หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นใบที่ต้องขอก่อนจะไปขอใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน กลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ผลิตพลังงานและโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปด้วย

    “มีการกำหนดว่า ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเกิน 5 แรงม้าหรือประมาณ 3.6 กิโลวัตต์ ต้องขอ รบ.4 ถ้าผมมีเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน แล้วถ้าหลังคาบ้านผมใหญ่หน่อย ผลิตไฟฟ้าได้เกิน 3.6 กิโลวัตต์ ผมก็ต้องขอใบ รบ.4 ถ้าไม่ถึง 3.6 กิโลวัตต์ก็ไปติดมติของคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพราะถ้าไม่เอาส่วนเพิ่มค่าไฟ ก็ทำไม่ได้”

    “ลองคิดดูนะครับ ตอนนี้เรามีบ้านประมาณ 15 ล้านครัวเรือน ถ้าเราได้เซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านแค่ 1 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 2 กิโลวัตต์ เราก็ได้ไฟฟ้า 2,000 เมกะวัตต์ ถ้าสิ่งเหล่านี้เดินไปได้ ปัญหาวิกฤตไฟฟ้าจะไม่รุนแรงแบบนี้เลย หากแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ได้ โครงการพลังงานหมุนเวียนจะเกิดขึ้นเยอะมาก และตอนนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลงมาเร็วมากเหลือประมาณ 5-6 บาทต่อหน่วย เท่า ๆ กับการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติเหลว และยังจะลดลงมาอีก ตอนนี้ถ้าทำฟาร์มแสงอาทิตย์ ผมคิดว่าต้นทุนจะอยู่ที่ 70 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์” ดร.ปิยสวัสดิ์ กล่าว

    ไม่ใช่วิกฤตพลังงาน แต่เป็นวิกฤตธรรมาภิบาล

    กรณีเหล่านี้สะท้อนถึงการขาดธรรมาภิบาลทั้งระบบพลังงาน ที่ต่างก็เอื้อประโยชน์แก่กัน ชื่นชม กล่าวว่า ระบบพลังงานของประเทศกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยแผนธุรกิจของบริษัทพลังงานอันดับ 1 ของประเทศ และทุก ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสิ้น จากการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าและพลังงาน

    ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่วิกฤตพลังงาน แต่เป็นวิกฤตธรรมาภิบาล ที่เกิดจากการสมยอมกันทั้งระบบ และผลักภาระให้แก่ผู้บริโภค ที่ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบกับความไร้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นเลย”
    "ปิยสวัสดิ์" แนะใช้พลังงานหมุนเวียน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2013
  2. you@i

    you@i Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +54
    ที่ไม่มีคนตั้งกระทู้เรื่องนี้คงเพราะเขาเบื่อ บ่นไปคงไม่มีอะไรดีขึ้น ปตท.ก็ยังคงเป็นของนายทุนอยู่ดี มันเป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวด และแสนจะอึดอัดใจ แต่ละปีเขาได้กำไรอื้อซ่าน่าเกลียด มาเลเซียเขายังไม่ค้ากำไรกับประชาชนของเขาขนาดนี้เลย แถมปตท.ยังมีนโยบายงดขายเบนซิน91 แต่ดันขายเบนซิน95แทน คงกลัวรถซูเปอร์คาร์ของพวกเขาไม่แรงมั้ง รึว่าจะโก่งราคาขายโซฮอล95 ให้เท่ากับเบนซิน91ที่เพิ่งจะยกเลิกไป หน้าด้านจริงๆ รับไม่ได้
     
  3. ธงส้ม

    ธงส้ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +83
    อยู่เมืองไทย ต้องทำใจครับ
     
  4. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    เคยพูดมาหลายปี เรื่อง ปตท.เอาเปรียบประชาชน แต่มีคนเชื่อน้อยมากๆ และพวกเรานี้แหละที่เปิดโอกาสให้ ปตท.ทำแบบนี้ (พวกเอาของหลวงไปทำเงินเข้ากระเป๋าตนเอง )ปัจจุบันไม่เติมน้ำมันที่ ปตท.(คุณภาพต่ำ) ทำอย่างไรถึงจะทำให้ ปตท.มาเป็นรัฐวิสาหกิจแบบเดิม แต่ก็อย่างว่าละนะประเทศไทย.....
    ช่วง เม.ย.56 ก็รับกรรมเรื่องไฟฟ้าไปเถอะ เพราะเขาเคยเสนอวิธีการแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าในประเทศหลายวิธี แต่พวกคุณๆๆก็คัดค้านเขาไปหมด
     
  5. DarkTanKun

    DarkTanKun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +392
    ใช่ ไฟฟ้าวิกฤต แต่วิกฤตมาตั้งแต่ก่อนปี 2538 แล้ว!​

    สืบเนื่องคำแถลงของรัฐมนตรีพลังงานว่าในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้อาจจะเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีปัญหาพร้อมกันทั้งสองแหล่ง คือจะมีการซ่อมแท่นเจาะที่ทรุดตัวในประเทศพม่า และท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซียรั่วเพราะเจอสมอลาก

    ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่หายไปจะทำให้พลังงานไฟฟ้าหายไปประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ หรือ 23% ของพลังงานไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ทั้งประเทศ รัฐมนตรีพลังงานกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะระดมเชื้อเพลิงชนิดอื่น เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล น้ำจากเขื่อน และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นก็ยังขาดอยู่อีก 2,000 เมกะวัตต์ (ประมาณ 8%)

    รัฐมนตรีท่านนี้ถึงกับกล่าวว่าจะ “ประกาศภาวะฉุกเฉินทางพลังงาน” คำแถลงดังกล่าวได้สร้างความวิตกกังวลให้กับคนในวงกว้าง กระทบไปถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่บางรายถูกยกเลิกการจองล่วงหน้าไปแล้ว

    ผู้ที่ติดตามเรื่องนโยบายไฟฟ้าภาคประชาชนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คำแถลงของรัฐมนตรีดังกล่าวใน 2 ประเด็น คือ

    หนึ่ง กรณีท่อก๊าซไทย- มาเลเซียรั่วนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2555 แล้ว ปัจจุบันได้ซ่อมเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว หลายคนจึงสงสัยว่าท่านยกเหตุการณ์นี้ขึ้นมาทำไม

    สอง กรณีการซ่อมแท่นเจาะก๊าซฯ ในพม่า รัฐบาลไทยน่าจะไปเจรจาต่อรองกับบริษัทรับสัมปทานซึ่งทางบริษัท ปตท.สผ. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยถือหุ้นอยู่ประมาณ 25% และบริษัท ปตท.สผ. ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลไทย โดยขอให้เลื่อนการซ่อมจากวันที่ 4-14 เมษายน ไปเป็นช่วงอื่นที่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า หรือในช่วงสงกรานต์ (9-16 เมษายน) ก็ได้เพราะความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยลดลงต่ำที่สุด เป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรม (ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณ 40% ของประเทศ) ต้องหยุดยาว นอกจากนี้ภาคประชาชนยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อปีก่อนนี้ (2554) ก็มีการหยุดซ่อมเอาในช่วงหน้าร้อน (มีนาคม) ซึ่งเป็นช่วงที่มีการไฟฟ้ามากเช่นกัน

    บางคนถึงกับเปรียบเทียบว่า “เหมือนโรงน้ำแข็ง เจ้าของคนไหนจะบ้ามาหยุดซ่อมโรงงานเอาในหน้าร้อนซึ่งมีความต้องการบริโภคน้ำแข็งมากที่สุด” หลายคนวิจารณ์ว่า

    “นี่เป็นแผนการทำให้ประชาชนรู้สึกกลัว แล้วถือเอาความหวาดกลัวมาเป็นพลังบีบให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ถูกคัดค้านทั่วประเทศจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง”

    ในที่นี้ ผมจะนำเสนอว่า แท้ที่จริงแล้วภาวะฉุกเฉินดังกล่าวได้เกิดขึ้นมานานแล้ว พร้อมกับจะยกตัวอย่างให้เห็นว่าประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศเยอรมนีเขามีนโยบายและวิธีการอย่างไรจึงสามารถนำพลังงานจากแสงแดดมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก

    ในปี 2538 รัฐบาลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เคยรณณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันปิดไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ในเวลาประมาณ 1 ทุ่มตรง เพราะช่วงนั้น การใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ช่วงหัวค่ำ ต่างจากปัจจุบันที่ภาคอุตสาหกรรมและห้างสรรพสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดมาอยู่ที่ประมาณบ่ายสอง

    ในตอนนั้นประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถลดกำลังการผลิตลงได้ประมาณ 500 เมกะวัตต์ซึ่งเทียบเท่ากับไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่หลายเขื่อน

    ในคืนนั้นเอง รองผู้ว่าการ กฟผ. ท่านหนึ่งได้ออกมาพูดกับประชาชนทางโทรทัศน์ว่า “กฟผ.จะไม่ยอมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเกินร้อยละ 50 อย่างเด็ดขาด”

    ผมจำและชื่นชมคำพูดของท่านเป็นอย่างมาก แต่ในที่สุดนโยบายดังกล่าวก็หาเป็นจริงไม่ เพราะสัดส่วนของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นเป็น 72% ของเชื้อเพลิงทุกประเภท ที่เหลือ 18% เป็นถ่านหิน ที่เหลือจากนี้เป็นพลังน้ำ ที่ส่วนใหญ่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน

    ปัจจุบัน (2556) แม้ว่าสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ลงมาอยู่ที่ 66% แต่ปริมาณก๊าซกลับยังเพิ่มขึ้นอีกเพราะการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

    เมื่อปี 2547 หมอมิ้ง (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ในฐานะรัฐมนตรีพลังงานได้กล่าวในที่ประชุมพลังงานหมุนเวียนระดับโลกที่ประเทศเยอรมนีว่า “ประเทศไทยจะใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าให้ได้ 8% ในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า” คำกล่าวที่ว่านี้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากจากที่ประชุม แต่แล้วจนถึงวันนี้ ไม่ว่าจากมั่นสัญญาจาก กฟผ. หรือจากรัฐมนตรีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเป็นจริงหรือใกล้ความจริงเลย

    ปัจจุบันนี้ถ้าไม่นับพลังน้ำ ประเทศเราใช้พลังงานหมุนเวียน (ซึ่งได้แก่ ลม แสงแดด และชีวมวล) รวมกันไม่ถึง 1% รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้กำหนดว่าในปี 2564 จะใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าให้ได้กว่า 20%

    แม้เวลานั้นจะยังมาไม่ถึง แต่จากความล้มเหลวและเหลวไหลในอดีต เราก็พอจะสรุปได้ล่วงหน้าว่านโยบายดังกล่าวเชื่อถือไม่ได้

    การที่เราใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติถึง 70% ก็เหมือนกับการนำไข่ไปใส่ไว้ในตะกร้าเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาก็พากันแตกหมด ดังนั้นเราจึงควรกระจายเชื้อเพลิง

    สิ่งที่กระทรวงพลังงานใช้อ้างอยู่ในขณะนี้ก็คือการกระจายเชื้อเพลิง แต่ดันคิดจะกระจายไปหาถ่านหินและนิวเคลียร์ที่กระแสโลกกำลังต่อต้าน เหตุผลสำคัญก็คือมีบริษัทผูกขาดพลังงานไปทำเหมืองถ่านหินอยู่ต่างประเทศแล้ว

    นอกจากนี้ ผมได้รับทราบจากอดีตข้าราชการระดับสูงท่านหนึ่งว่า อดีตนักการเมือง (ที่เป็นอดีตเป็นผู้นำนักศึกษาช่วง 14 ตุลาคม 2516) กำลังพยายามจะนำถ่านหินจากประเทศจีนมาใช้ในประเทศไทย เป็นถ่านหินที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลยื่นคำขาดต่อรัฐบาลจีนว่า “ถ้าคุณไม่ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว ก็จะไม่มีการแข่งขันโอลิมปิก เพราะคุณภาพอากาศไม่ได้มาตรฐาน” เรื่องที่เล่ามานี้ คือเบื้องหลังหนึ่งของการขับเคลื่อนด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในบ้านเรา

    กิจการอื่นๆ ก็ไม่ต่างจากนี้ครับ

    การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านหน่วยในปี 2554 เป็น 28,500 ล้านหน่วยในปี 2555

    ท่านอาจจะสงสัยว่าพลังงานไฟฟ้าในปี 2555 จำนวนนี้มันมากน้อยแค่ไหน คำตอบก็คือคิดเป็นประมาณ 16% ของที่ประเทศไทยใช้ มันน้อยเสียเมื่อไหร่ มันใกล้เคียงกับที่เราผลิตจากถ่านหินทั้งหมด

    เราอาจจะตั้งคำถามว่า ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมนี ประเทศไหนมีแดดมากกว่ากัน ผมเชื่อว่าเราทั้งหลายคงมีคำตอบตรงกัน เพราะที่เห็นข่าวจากทีวีพบว่าในแต่ละปีประเทศในยุโรปต้องเจอกับหิมะปกคลุมขาวไปทั้งประเทศนานกว่า 3 เดือน ส่วนประเทศเราก็แทบจะมีแค่ 2 ฤดูคือ “ร้อนกับร้อนฉิบห..” ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าประเทศเรามีแดดมากกว่าแน่นอน

    ในเรื่องชีวมวลหรือของเหลือจากการเกษตร อดีตรัฐมนตรีพลังงาน (นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ค้นได้จากกูเกิล โดยใช้คำว่า ไฟฟ้า + กระบี่ + นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ก็จะพบข้อความตอนหนึ่งว่า “อย่างเช่นที่จังหวัดกระบี่มีอยู่หลายโรงที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากปาล์มทลาย เมื่อดูดีมานด์การใช้ไฟฟ้าทั้งจังหวัดกระบี่อยู่ที่ 60 เมกะวัตต์ แต่ผลิตได้เองถึง 30 เมกะวัตต์ และมีศักยภาพจะผลิตได้ถึง 120 เมกะวัตต์ เราอยากที่จะส่งเสริมจังหวัดกระบี่เป็นต้นแบบที่ดี”

    นั่นแปลว่า จังหวัดกระบี่จังหวัดเดียวมีศักยภาพที่จะผลิตจากทลายปาล์มได้ถึง 120 เมกะวัตต์ ทั้งๆ ที่จังหวัดนี้มีความต้องการแค่ 60 เมกะวัตต์เท่านั้น

    นี่เป็นคำพูดของอดีตรัฐมนตรีนะครับ ใครที่ไม่เชื่อก็ลองเช็กดูซิ ผมเคยเจอมาแล้วว่า ข้าราชการระดับสูงของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่เชื่อข้อมูลของกรมเอง

    เวรกรรมประเทศไทย!

    ดร.เฮอร์แมน เชีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางเลือกได้ให้ข้อมูลที่ทำให้พวกเราตกตะลึงว่า “พลังงานที่ชาวโลกใช้ในปัจจุบัน ทั้งโลก ทั้งปีนั้น เท่ากับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งให้โลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น”

    คำถาม คือ ทำไมประเทศไทยจึงไม่ยอมนำมาใช้

    คำตอบ คือ ถ้านักการเมืองไทยมีโฉนดบนดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับการมีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย ออสเตรเลียแล้ว พวกเขาก็จะส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนทันที

    มักจะอ้างกันเสมอว่า ไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงแดดยังแพงอยู่ คนไทยยังยากจน “ถ้าคนไทยสามารถกินสเต็กได้เหมือนฝรั่งแล้วค่อยนำพลังงานแพงๆ มาใช้” (คำพูดของรัฐมนตรีคนนี้)

    คำพูดดังกล่าวเป็นความจริงบางส่วนเท่านั้น

    จากข้อมูลของ ส.ส.พรรคกรีน ประเทศเยอรมนี (คุณ Hans-Josel Fell) ที่เพิ่งมาบรรยายที่วุฒิสภาเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 56 นี้ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงแดด (ชนิดที่ใช้ความร้อน) นั้นมีราคาถูกกว่าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ดังรูปข้างล่าง

    http://pics.manager.co.th/Images/556000002458301.JPEG

    ถ้าไม่เชื่อกันอีกก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว

    ในวันที่คณะการองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ภาคประชาชน จัดแถลงข่าว (20 ก.พ. 56) ได้นำนักข่าวไปดูแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งอยู่บนหลังคาอาคารผู้บริโภค ลงทุนไปล้านกว่าบาท ผลิตไฟฟ้าได้คิดเป็นมูลค่า 5-6 พันบาทต่อเดือน แต่การไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อ โดยอ้างว่า ไม่มีโควต้าและเล็กเกินไป

    เมื่อปลายปีที่แล้ว เจ้าของโรงงานหีบปาล์มน้ำมันที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มาร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า โรงงานของเขามีปัญหาทำให้น้ำเสียลงสู่คูคลอง แต่ครั้นเมื่อพวกเขาคิดจะผลิตไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าบอกว่า “คุณเป็นรายที่ 4 แต่เรามีโควตาแค่ 3 ราย”

    ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเขามีกฎหมาย กำหนดไว้ 3 ข้อ ง่ายๆ คือ

    หนึ่ง ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถส่งเข้าสู่ระบบสายส่งได้เลย โดยไม่มีโควตาและไม่จำกัดจำนวน (ถ้าส่งมามาก โรงไฟฟ้าถ่านหินนั่นแหละที่ต้องลดการผลิตลง)

    สอง สัญญาซื้อขายเป็นระยะยาว เช่น กังหันลม 25 ปี โซลาร์เซลล์ 12 ปี เป็นต้น (ของไทยสัญญาคราวละ 5-7 ปี สร้างความไม่แน่นอนต่อผู้ลงทุน

    สาม ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ

    ด้วยกฎหมายดังกล่าวทำให้การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังกราฟข้างล่างนี้ (Renewable Electricity Generation in Germany)

    http://pics.manager.co.th/Images/556000002458302.JPEG

    ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาหรือวิกฤตแค่เรื่องไฟฟ้าเท่านั้น แต่พ่อค้าพลังงานและนักการเมืองนั่นแหละเห็นแก่ตัว ขณะเดียวกันคนไทยเราเองก็ขาดวิริยะในการค้นหาความจริงอีกด้วย ชอบเชื่ออะไรง่ายๆ

    ​ด้วยเหตุนี้แหละกระทรวงพลังงานกำลังเตรียมให้เงินภาษีของเราเพื่อมาโหมการโฆษณาล้างสมองคนไทยให้ยอมจำนนอีกต่อไป

    ​เรียนตามตรงครับ บางครั้งผมเองรู้สึกเหนื่อยอ่อนเหมือนกัน ที่จะต้องมาศึกษาค้นคว้าเผยแพร่ในเรื่องแบบนี้ แล้วสิ่งที่ได้รับคือการใส่ร้ายป้ายสี

    แถมคนที่สนใจอ่านจริงๆ ก็แค่หยิบมือเดียว สิ่งที่พอเป็นกำลังใจของผมอยู่บ้างก็เพราะผมเชื่อในพลังของคนหยิบมือเดียว (Law of the few) ที่ว่า คนหยิบมือเดียวก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้

    รู้ว่าปลอบใจตัวเองครับ

    ที่มา : Daily News - Manager Online - ใช่ ไฟฟ้าวิกฤต แต่วิกฤตมาตั้งแต่ก่อนปี 2538 แล้ว!



    รัฐจ่อยกเลิกใช้ "LPG"ในรถยนต์ - YouTube
    ในคลิปนี้ช่วงนาทีที่ 14 คุณรสนา โตสิตระกูล ให้ความเห็นเรื่องไฟฟ้าดับช่วง
    เดือนเมษา น่าสนใจดีครับ
     
  6. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    เข้ากับคำตอบข้อ "ไม่รู้ว่า ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง" หรือเปล่าครับ
    ผมไม่รู้วิธีแก้ไข ระบบสำรวจความคิดเห็น ( POLL ) ใครรู้ช่วยบอกที เผื่อจะเพิ่มคำตอบให้:cool:
     
  7. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    ไม่มีคนตั้งกระทู้เรื่องนี้เพราะ

    ไม่มีคนตั้งกระทู้เรื่องนี้เพราะ

    -ปตท.เป็นของนายทุน
    -เป็นปัญหาความขัดแย้งการเมือง
    -ปัญหาเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
    -ก็แค่รัฐมนตรีพลังงาน กระทรวงพลังงาน โกหกสีขาว (white lie)
    [​IMG]

    :z8:z8:z8:z8
    [​IMG]
    รูปภาพของ Decharut Sukkumnoed | Facebook

    *****************
    https://th-th.facebook.com/fconsumerthai
    มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
     
  8. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    แปลกจัง มีแต่คนเข้ามารออ่านข้อมูลความเคลื่อนไหวของกระทู้ แต่ไม่มีคนเข้ามาให้ข้อมูล
    ไม่ว่าจะเป็น
    -สถานการณ์ทั่วไป
    -วิธีเตรียมตัว
    ***************
    งั้นผมจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีเอกสารจากทางราชการ "ขอความร่วมมือให้ช่วยลดการใช้พลังงาน" ติดประกาศอยู่ตามอาคารพาณิชย์ต่างๆในเขตกรุงเทพฯแล้ว
    ลองสำรวจในลิฟท์ ป้ายกระดานข่าว ในอาคารของท่านดูครับ
     
  9. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    ลองสอบถาม ฝ่ายนิติบุคคล ของอาคารที่ท่านพักอาศัยอยู่ครับ ว่า มีเอกสารราชการแบบนี้ส่งมาบ้างหรือไม่
    ( ป่านนี้คงเอาไปทำกระดาษหน้า2 หรือไม่ก็ เอาไปชั่งโลแล้วมั๊ง ):cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • post-letter.jpg
      post-letter.jpg
      ขนาดไฟล์:
      936.2 KB
      เปิดดู:
      137
  10. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    ถาม-ตอบ ปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซจากประเทศพม่า

    วันที่ 5 - 14 เมษายน 2556





    ตามที่มีข่าวปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย. 2556 และส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศนั้นฝ่ายสื่อสารองค์การ

    ขอส่งคำถามคำตอบ (FAQ) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. (รายละเอียดด้านล่าง)

    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม เหตุการณ์พม่าจะหยุดจ่ายก๊าซใน วันที่ 5–14 เมษายน 2556 จะส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าหรือไม่

    ตอบ การหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาระหว่างวันที่ 5 - 14 เมษายน 2556 ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไม่มากก็น้อย เนื่องจากประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงเกือบร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แบ่งเป็นแหล่งก๊าซจากอ่าวไทยราวร้อยละ 60 และแหล่งก๊าซจากพม่าราวร้อยละ 40 โดยรับก๊าซจากพม่าคิดเป็นปริมาณวันละ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ผลิตไฟฟ้าประมาณ 6,400 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 25 ของกำลังผลิตในแต่ละวัน จากการที่ บริษัท ปตท.จำกัด( มหาชน) ได้แจ้งว่าจะมีการหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาเพื่อบำรุงรักษาตามวาระระหว่างวันที่ 5 – 14 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เนื่องจากเป็นหน้าร้อนโดยคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจะมีประมาณ 26,300 เมกะวัตต์ ส่งผลให้กำลังผลิตสำรองทั้งหมดในระบบลดต่ำลงเหลือเพียงประมาณ 767 เมกะวัตต์

    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม เหตุใดการหยุดจ่ายก๊าซจากแหล่งยาดานาแหล่งเดียวจึงมีผลกระทบต่อระบบการจ่ายก๊าซจากพม่าแหล่งอื่นๆ
    ด้วยรวมทั้งโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตก

    ตอบ เนื่องจากก๊าซพม่ามาจาก 2 แหล่ง คือ แหล่งยาดานา ซึ่งสามารถจ่ายก๊าซได้ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเยตากุนจ่ายก๊าซได้ 450 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่การใช้ก๊าซในโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกจะต้องนำก๊าซจากแหล่งยาดานาและเยตากุนมาผสมกัน เพราะก๊าซยาดานามีค่าความร้อนราว 720 บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุต เมื่อผสมกับก๊าซที่เยตากุนซึ่งมีความร้อนราว 1,130 บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุต จึงจะมีค่าความร้อนตรงตามที่ออกแบบไว้ใช้ในโรงไฟฟ้าที่ราว 835 บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุต ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ก๊าซจากแหล่งเดียวมาผลิตไฟฟ้าได้ ทำให้ก๊าซขาดหายจากระบบไปรวม1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกประกอบด้วย โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอยี่ และโรงไฟฟ้าวังน้อย จึงต้องหยุดการผลิตที่ใช้ก๊าซลงโดยคาดว่าจะใช้น้ำมันเตาประมาณ86 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซล 47 ล้านลิตร มาผลิตไฟฟ้าทดแทนแต่จะมีโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าวังน้อยที่ต้องหยุดเดินเครื่อง เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าที่ออกแบบสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ไม่สามารถใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าแทนได้ ทำให้โรงไฟฟ้าทั้งหมดที่มีกำลังผลิต 8,200 เมกะวัตต์ แต่กำลังผลิตจริงประมาณ 6,400 เมกะวัตต์ เมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลกำลังผลิตไฟฟ้าที่ขาดหายไปจะมีประมาณ 4,100 เมกะวัตต์



    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม กฟผ. มีมาตรการรองรับอย่างไร

    ตอบ จากสถานการณ์ดังกล่าว กฟผ.ได้เตรียมมาตรการรับมือไว้ 8 แนวทาง คือ
    1. เลื่อนแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในช่วง วันที่ 5-14 เม.ย. 56
    2.ประสานงานขอความร่วมมือโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กประเภท Non-Firm เดินเครื่องเต็มที่
    3.รับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กประเภท Firm ประเภทเชื้อเพลิง Renewable 24 ชั่วโมงและประเภทเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกช่วง Peak Time เพื่อเสริมระบบ
    4.เร่งรัดและจัดแผนทดสอบโรงไฟฟ้าทั้งหมดที่อยู่ในข่าย ต้องเดินเครื่องด้วยเชื้อเพลิงดีเซลให้มีความพร้อมในการเดินเครื่องด้วยเชื้อเพลิงดีเซลก่อนเริ่มการทำงานหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติจากพม่า
    5.ประสานงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้เดินเครื่องเต็มความสามารถ และประเทศมาเลเซีย(TNB) เพื่อขอซื้อไฟฟ้าเต็มที่ที่สามารถจะขายให้ได้
    6.ประสานงานกรมชลประทานเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนในภาคตะวันตก คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งยังมีปริมาณน้ำมากเพียงพอเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมัน
    7.ประสานงาน กฟน. และกฟภ.ทำการย้ายโหลดบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบในเขตนครหลวงไปสถานีไฟฟ้าแรงสูงข้างเคียงเพื่อช่วยปรับปรุงแรงดันในเขตนครหลวง
    8.ประสานงาน กฟภ. และ กฟน.เตรียมแผนดับไฟฟ้าสำหรับรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินหน่วยงานละ 350 MW ซึ่งจะใช้ในกรณีจำเป็นจริงๆ เท่านั้น นอกจากนี้ประธานคณะกรรมการ กฟผ. กล่าวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 ว่ามีความเชื่อมั่นว่า กฟผ. จะสามารถบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในช่วงเวลาที่สหภาพพม่าหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติได้อย่างเพียงพอ แต่ในการบริหารจัดการด้านการสื่อสารขอให้ กฟผ. จัดทำข้อมูลเอกสารประกอบการชี้แจงให้กับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การนิคมอุสาหกรรมแห่งประเทศไทยและโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและขอให้จัดทำแผนปฏิบัติงาน(Action Plan) การดำเนินงานต่างๆรวมทั้งมาตรการรองรับสถานการณ์โดยให้จัดทำแผนตั้งแต่วันนี้จนถึงช่วงพ้นวิกฤติเพื่อให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานทั้งหมด “ ขอให้ กฟผ.วางกรอบการผลิตและการลดการใช้ไฟฟ้าที่ชัดเจนทั้งในเชิงปริมาณและพื้นที่เพื่อให้เห็นตัวเลข Demand / Supply รวบรวมสรุปเป็นรายงานเพื่อชี้แจงกับผู้เกี่ยวข้องจะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจในทิศทางเดียวกัน”



    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม การหยุดจ่ายก๊าซจะทำให้เกิดไฟฟ้าดับหรือไม่

    ตอบ กรณีที่กำลังผลิตสำรองลดต่ำเหลือเพียง 767 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าปกติมาก ซึ่งหากมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกิดขัดข้องในช่วงเวลาดังกล่าว จะทำให้ไม่มีกำลังผลิตสำรองเหลือรองรับเหตุการณ์อื่นๆได้อีก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อนอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับได้ ดังนั้น แม้ กฟผ.จะดำเนินการตามมาตรการรองรับแล้ว แต่ระบบไฟฟ้าก็ยังมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและคุณภาพไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณใจกลางกรุงเทพฯซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ กฟผ. ได้ประสานงานกับ กฟภ.และ กฟน.เพื่อบริหารจัดการให้ระบบไฟฟ้ายังคงมีความมั่นคงมีคุณภาพและเพื่อเป็นการรองรับกรณีฉุกเฉิน กฟผ. ซึ่งได้ประสานงาน กฟภ.และ กฟน.เตรียมแผนดับไฟฟ้าเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้วย สำหรับกรณีที่มีความจำเป็นต้องหยุดจ่ายไฟฟ้าในบางพื้นที่ กฟผ.ได้กำหนดวิธีการและขั้นตอนเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้งจะมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบโดยรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม กฟผ.ยังได้ประสานงานเพิ่มเติมกำลังผลิตอีก 291 เมกะวัตต์ ได้แก่ จากโรงไฟฟ้าราชบุรี 30 เมกะวัตต์ ขอซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากมาเลเซียอีก 200 เมกะวัตต์ ขอดับไฟโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้อัตราไฟฟ้าแบบงดจ่ายไฟได้ (Interruptible Rate) 56 เมกะวัตต์ และขอซื้อไฟเพิ่มจากโรงไฟฟ้าด่านช้างไบโออีก 5 เมกะวัตต์ ทำให้คาดว่าจะมีกำลังผลิตสำรองในวันที่ 5 เมษายน 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 1,058 เมกะวัตต์ รวมทั้งจะเพิ่มการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า(DSM) เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนในช่วงที่มีต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของวันที่ 5 เม.ย. 2556 คาดว่าจะทำให้ความต้องการไฟฟ้าลดลงได้ 500 เมกะวัตต์



    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม กระทรวงพลังงานมีแนวทางการดำเนินงานอย่างไร

    ตอบ กระทรวงพลังงานแถลงว่า เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการซ่อมบำรุงดังกล่าวกระทรวงพลังงานจึงได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการด้านเชื้อเพลิงโดยมีข้อสรุป ดังนี้
    ด้านก๊าซธรรมชาติ
    กระทรวงพลังงานได้ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเจรจากับ บริษัท โทเทล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการแหล่งก๊าซยาดานา โดยได้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงออกไปเป็นช่วงเวลา 12.00 น. ของ วันที่ 5 เมษายน 2556 ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงของระบบไฟฟ้า ลดการใช้น้ำมันเตาได้ถึง 26 ล้านลิตรและน้ำมันดีเซล 15 ล้านลิตร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลง นอกจากนี้ได้ประสานกับผู้รับสัมปทานของแหล่งไพลินเหนือ ซึ่งมีกำลังการผลิตก๊าซฯ 210 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งปลาทองซึ่งมีกำลังการผลิตก๊าซฯ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ให้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงในช่วงดังกล่าวออกไปก่อน จนกว่าการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซยาดานาจะแล้วเสร็จ ด้าน บริษัท ปตท. จำกัด( มหาชน) กระทรวงพลังงานให้จัดทำการสำรองน้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลให้กับโรงไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซฯ และให้เตรียมการจัดการก๊าซ NGV โดยในเบื้องต้นจะมีปริมาณก๊าซค้างในท่อ (Line Pack) 350 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งจะจ่ายให้กับสถานี NGV แม้ในจังหวัดราชบุรี โดยไม่ได้รับผลกระทบสำหรับสถานีอื่นๆ จะใช้ก๊าซฯจากฝั่งตะวันออกจ่ายย้อนเข้ามา ซึ่งสามารถใช้กับรถยนต์ทั่วไปได้และสำหรับผลกระทบด้าน LPG เนื่องจากมีการจัดส่งก๊าซเข้าโรงแยกก๊าซในระบบลดลงประมาณ 10,000 ตัน ซึ่งได้มีแผนรองรับโดย 5,000 ตัน จะใช้ในส่วนของ Inventory ที่มีอยู่ และ อีก 5,000 ตัน จะพิจารณานำเข้าเพิ่มเติม ด้านไฟฟ้ากระทรวงพลังงานได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เดินเครื่องโดยการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าเป็นน้ำมันดีเซลในโรงไฟฟ้า ที่ต้องเดินเครื่องในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซฯ อาทิ ในกลุ่มโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตก ( โรงไฟฟ้าราชบุรีราชบุรีเพาเวอร์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่) นอกจากนี้ ให้ กฟผ.ประสานกับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ใช้อัตราไฟฟ้าแบบ Interruptible Rate ให้ทำการลดใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุง ซึ่งจะทำให้ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 56 เมกะวัตต์ อนึ่งในวันที่ 5 เม.ย. 2556 ซึ่งเป็นวันที่คาดการณ์ว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดในรอบปี และอาจมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด กระทรวงพลังงานได้จัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา14.00-14.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล และในวันที่ 13 มี.ค.2556 กระทรวงพลังงานพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเตรียมการซ้อมแผนรองรับสภาวะวิกฤตด้านพลังงานของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้แก่ประเทศหากเกิดภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานต่อไป ด้านนางพัลลภา เรืองรอง กรรมการคระกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวถึงการแก้ปัญหาไฟฟ้าช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. 2556 ว่าเรกูเลเตอร์ได้ออก 2 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตขาดแคลนและป้องกันค่าไฟฟ้าพง คือ
    1. เตรียมเชิญตัวแทนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั่วประเทศเพื่อขอความร่วมมือให้ประหยัดไฟซึ่งสำหรับห้างสรรพสินค้ามีเป้าหมายให้ลดการใช้ไฟฟ้ารวมกันให้ได้300 เมกะวัตต์โดยจะสลับกันปิดไฟห้างละ 1 ชม. เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 ของวันที่ 5 เม.ย.นี้ และ
    2.เจรจากับทาง กฟผ. เพื่อไม่ให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกง และโรงไฟฟ้าระยองในช่วงวิกฤติไฟฟ้า โดยให้นำก๊าซที่ได้จากฝั่งตะวันออกขายให้กับโรงไฟฟ้าก๊าซของภาคเอกชนSPP แทน เพราะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าของ กฟผ. ที่เป็นเครื่องเก่า



    --------------------------------------------------------------------------------

    ถาม ในอนาคตจะมีแนวทางป้องกันปัญหานี้อย่างไร


    ตอบ จากแนวโน้มในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตทั้งในและนอกประเทศบ่อยครั้ง ตลอดจนการประเมินสถานการณ์ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่จะหมดลงในอีก10 ปี ข้างหน้า ในขณะที่ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้าเกือบร้อยละ 70 ทางเลือกการนำก๊าซธรรมชาติเหลวในรูปของ LNG จากต่างประเทศก็มีราคาสูงเป็น 2 เท่า ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงด้านพลังงานและความผันผวนของราคาค่าไฟฟ้ามากขึ้น ล่าสุด รมว.พลังงานแถลงต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว และไม่ให้ค่าไฟฟ้าพื้นฐานขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซ โดยจะให้มีการจัดทำแผน PDP 2013 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพื่อกระจายความเสี่ยงการใช้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน จาก 18.8 % เป็นไม่น้อยกว่า 20 % ทั้งนี้แผน PDP เดิมให้ใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า 4,400 เมกะวัตต์ ให้ กฟผ. เพิ่มเป็น 10,000 เมกะวัตต์ โดยอาจให้ กฟผ.ร่วมทุนกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและการซื้อไฟจากต่างประเทศจาก 10% เป็น 15% และพลังงานทดแทน 10% เป็น 20% ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์10,000 เมกะวัตต์ โดยมีเป้าหมายลดการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเหลือร้อยละ 45 เมื่อสิ้นสุดแผนฯ นอกจากนี้ กฟผ.จะดำเนินการสื่อสารสร้างความเข้าใจสถานการณ์พลังงานให้กับสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องความจำเป็นในการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงซึ่งในอนาคต จะต้องมีการปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงไม่ให้พึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดมากเกินไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Gas-news.html
      ขนาดไฟล์:
      75.2 KB
      เปิดดู:
      737
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2013
  11. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    “กฟผ.”ลั่นไฟครั้งนี้วิกฤตจริงแต่มั่นใจเอาอยู่3จุดกทม.แค่ไฟไม่เสถียร



    http://www.manager.c...D=9560000022914

    “กฟผ.”ออกโรงแจงละเอียดยิบกรณีปลุกให้ประชาชนตื่นประหยัดรับวิกฤตไฟ 5 เม.ย.เป็นเรื่องที่ต้องบริหารเพราะเสี่ยงจริง เหตุซ่อมแท่นก๊าซยาดานา พม่าครั้งนี้ตรงกับช่วงสำรองไฟไทยต่ำสุด เบื้องต้นทำทุกทางดึงไฟเพิ่มแล้ว 300 เมกะวัตต์ดันสำรองพุ่งเป็น 1,051 เมกะวัตต์ หากประชาชน เอกชนร่วมลดใช้ความเสี่ยงก็ยิ่งลดลง รับ 3 จุดกทม.แรงดันต่ำ รัชดา ลาดพร้าว บางกะปิ อาจทำให้ไฟไม่เสถียรคือ หรี่ลง แต่ไม่ถึงขั้นดับ

    นายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตามที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ได้สั่งการให้ กฟผ.เจรจาจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อรองรับความเสี่ยงไฟฟ้าดับจากก๊าซฯ พม่าหยุดส่ง 5-14 เม.ย. ซึ่งวันที่ 5 เม.ย.จะเป็นวันที่เสี่ยงสุดเพราะมีกำลังสำรองพร้อมจ่ายต่ำสุดเพียง 760 เมกะวัตต์จากปกติจะต้องมีถึง 1,200 เมกะวัตต์ล่าสุดได้เจรจาโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศในการเพิ่มการผลิตไฟขึ้นอีก 291 เมกะวัตต์ทำให้สำรองไฟในวันดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 1,051 เมกะวัตต์ หากยิ่งทุกภาคส่วนร่วมมือก็จะลดความเสี่ยงไฟตก-ดับได้อย่างมาก

    อย่างไรก็ตามจากที่ก๊าซฯพม่าหยุดส่ง ทำให้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ พระนครใต้ ต้องหยุดผลิต ดังนั้น ระบบส่งไฟฟ้าที่ป้อนเข้าสู่กทม.-ปริมณฑล ที่ใช้ไฟฟ้ารวม 8,000 เมกะวัตต์ ก็จะต้องดึงมาจากโรงไฟฟ้าที่ห่างไกลมากขึ้น ซึ่งจะมีความสูญเสียของระบบสายส่ง โดยสถานีไฟฟ้าแรงสูงลาดพร้าว (รวมไปถึงถ.วิภาวดีรังสิต) สถานีไฟฟ้าแรงสูง รัชดา ,สถานีไฟฟ้าบางกะปิ มีความเสี่ยงเรื่องไฟฟ้าไม่เสถียรคือ คุณภาพไฟฟ้าที่จะหรี่ลงเพราะแรงดันไฟฟ้าจะต่ำ แต่ไม่ถึงขั้นไฟดับ เพราะ กฟผ.และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ได้ร่วมกันย้ายสลับวงจรไฟฟ้าในการให้บริการจึงมีไฟฟ้าเพียงพอ

    นายธนาย้ำว่า ก๊าซฯพม่าหยุดส่งในรอบนี้ มีความเสี่ยงไฟฟ้าดับมากที่สุด เป็นเรื่องจริง เพราะปีนี้เแท่นขุดเจาะยาดานาทรุดตัว ต้องรีบซ่อมแซมเดิมจะดำเนินการในช่วงก.พ.ต่อมาเจรจาจะเป็นมี.ค.แต่ไทยขอให้เป็นช่วงสงกรานต์ที่เป็นช่วงใช้ไฟต่ำแต่ที่สุดก็เลื่อนมาเป็น 5-14 เม.ย. จึงไม่สามารถหยุดส่งช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ หรือช่วงวันหยุดยาวได้ขณะที่วันที่ 5 เม.ย.56 คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือพีก จะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 26,300 เมกะวัตต์ จึงทำให้สำรองพร้อมใช้ที่แท้จริงเหลือ 760 เมกะวัตต์ เท่านั้น

    อย่างไรก็ตามมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าสำรองไฟฟ้ามีมากกว่านี้ ก็เนื่องจากไปดูถึงภาพรวมของการผลิตไฟฟ้า แต่ไม่ดู้ข้อเท็จจริงว่า โรงไฟฟ้าพร้อมใช้นั้นมีจำนวนที่แท้จริงเท่าใด โดยปัจจุบันนี้ กำลังผลิตมีรวม 33,000 เมกะวัตต์ แต่มีโรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถจ่ายได้จริงตามกำลังผลิต (DELATE) ประมาณ 1,900 เมกะวัตต์ ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าเอสพีพี อย่างน้อย 600 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำต่างๆที่เกิดปัญหาภัยแล้ง ไม่สามารถเดินเครื่องผลิตได้ ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่รับก๊าซพม่าเดินเครื่องไม่ได้อีก 4,100 เมกะวัตต์ ดังนั้น จึงเหลือโรงไฟฟ้าเดินเครื่องได้เพียง 27,000 เมกะวัตต์ เมื่อหักออกจากการคาดการณ์ว่าจะเกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าในวันที่ 5 เม.ย.26,300 เมกะวัตต์ ดังนั้น สำรองไฟฟ้าพร้อมใช้ที่แท้จริงจึงเหลือเพียง 760 เมกะวัตต์เท่านั้น
    "ก๊าซฯพม่าที่หยุดซ่อมแท่นยาดานา ซึ่งมีค่าความร้อนสูงขณะที่เยตากุนมีค่าความร้อนต่ำเวลานำมาใช้ต้องผสมกันเมื่อยาดานาหยุดเยตากุนก็ต้องหยุดด้วยจึงทำให้ก๊าซฯหายไป 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันซึ่งกระทบกับการผลิตไฟ 6,000 เมกะวัตต์แต่โรงไฟฟ้าราชบุรีสามารถรันเครื่องที่เป็นน้ำมันเตาได้ทันทีเลยทำให้ไฟหายไป 4,100 เมกะวัตต์"นายธนากล่าว

    นายธนากล่าวว่า กฟผ.และ ปตท.ร่วมกันประเมินความเสี่ยงที่ แหล่งยาดานาจะซ่อมฐานขุดเจาะไม่เสร็จภายในวันที่ 14 เม.ย.โดยประเมินว่าเลวร้ายที่สุดจะซ่อมเสร็จ 21 เม.ย. จึงได้เตรียมสำรองน้ำมันเตาเพิ่มขึ้นจากเดิม 86 ล้านลิตรเป็น 150 ล้านลิตร และดีเซลเพิ่มจาก 47 ล้านลิตรเป็น 80 ล้านลิตร

    ปล. อย่างไรแล้วก็ไม่ควรประมาทนะค่ะ เตรียมการสำรองไว้บ้าง เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น
    ดูตัวอย่างเกาะสมุย-พะงัน คราวก่อน ดับไม่กี่วัน เสียหายไปเยอะ
    ก็ขอภาวนาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ยิ่งอากาศร้อน ๆ แบบนี้ ถ้าไม่มีไฟฟ้าใช้ แย่กันแน่ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2013
  12. KhonDernDin

    KhonDernDin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +382
    แล้วทำไม ปตท. ไม่หยุดส่งก๊าซ ออกขายต่างประเทส แล้ว หมุนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าแทนล่ะ

    มีให้คนอื่นใช้ แต่ ปชช. ของตนเองเดือดร้อน :mad:
     
  13. Art_ie

    Art_ie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +19
    เตรียมอาหารและน้ำ เตรียมพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ กดเงินไว้จำนวนหนึ่งให้เพียงพอ อื่นๆ
    (ให้ประเมินว่าเป็นสถานการณ์ที่แย่ที่สุดไม่มีใครช่วยท่านได้ท่านต้องช่วยตัวเองครับ)
     
  14. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    ควรจะเตรียมตัวไว้ก็ดีนะ
    โดยเฉพาะวันท้ายๆ ( 10-14 เม.ย. )
    เพราะตอนแรกๆ ( 5-9 เม.ย. ) ยังคงมีปริมาณไฟฟ้าสำรองเหลือให้ใช้อยู่(deejai)
    กว่าจะถึงวันสุดท้าย ไฟฟ้าสำรองหมดแล้ว จะเอาที่ไหนมาใช้ละ (cry)(cry)(cry)
     
  15. Kunanop

    Kunanop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2011
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +218
    คือ งงครับ แบบไม่ค่อยเข้าใจ
    ปตท. เป็นของนายทุน ยังไง
    ไม่ใช่ของกระทรวงการคลัง หรือครับ
     
  16. mantall

    mantall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +59
    คลายเครียด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...