วิกฤติอุทกภัยชิดวัดชิดธรรมะนำชีวิต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 17 พฤศจิกายน 2011.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]
    <SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/js/slides.min.jquery.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript> $('#slides').slides({ preload: false, preloadImage: 'images/loading.gif', effect: 'fade', crossfade: true, fadeSpeed: 500, play:4500, pause: 1500, hoverPause:true, generateNextPrev: false, generatePagination: false, animationStart: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:-35 },100); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationStart on slide: ', current); }; }, animationComplete: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:0 },200); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationComplete on slide: ', current); }; }, slidesLoaded: function() { $('.caption').animate({ bottom:0 },200); } }); </SCRIPT>
    • [​IMG]
    วิกฤติอุทกภัยชิดวัดชิดธรรมะนำชีวิต

    วิกฤติอุทกภัยใกล้ชิดวัดใช้ธรรมะฝ่านาวาชีวิต : กวินทรา ใจซื่อ


    กว่า 1 เดือนที่คนกรุงต้องทนทุกข์กับสายน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน ระยะแรกต่างเตรียมพร้อมสาละวนอยู่กับการรับมือกับน้ำ ยกของขึ้นที่สูง เอากระสอบทรายมากั้น ก่ออิฐบล็อก สารพัดวิธีที่นำมาใช้ป้องกันเพื่อให้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้น้อยที่สุด แต่หลังจากน้ำเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายครอบครัวอพยพตัวเองออกพ้นเมืองหลวง มีญาติก็พักกับญาติ ไม่มีก็หาที่เที่ยวถูกๆ รอวันเวลาที่จะได้กลับสู่บ้านอันแสนอบอุ่นอีกครั้ง ในขณะที่หลายคนเลือกที่จะอพยพมาอยู่ "วัด" เพื่อปฏิบัติธรรม หันหลังให้ทุกข์ที่กำลังถาโถมใส่ มาบรรทุกเอาธรรมะใส่ในใจให้แข็งแกร่ง เพื่อกลับไปเผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้ง

    ดังเช่นแม่ค้าเบเกอรี่ขายตามโรงเรียน ใน กทม. นางรัตนาภรณ์ กิมานันท์ วัย 44 ปี ตัดสินใจทิ้งบ้านย่านเคหะรามคำแหง เขตมีนบุรี มาอยู่ที่วัดป่าธรรมอุทยาน บ้านสำราญ-เพี้ยฟาน ถ.มิตรภาพ กม.11 ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น สถานปฏิบัติธรรมซึ่งมีพื้นที่กว่า 70 ไร่ รายล้อมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ปฏิบัติธรรมร่วมกับญาติโยมอีกจำนวนมาก แต่ระยะนี้มากเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม

    บรรยากาศในวัดร่มรื่น มีศาลาการเปรียญ หอฉัน ลานสำหรับปฏิบัติธรรม สระน้ำ และที่พักสำหรับผู้มาถือศีลกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ด้วยแรงศรัทธา พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธโร วิปัสสนาจารย์ หรือหลวงพ่อกล้วย เจ้าสำนัก

    “บ้านอยู่ที่เคหะรามคำแหง แถวมีนบุรี พอช่วงวันที่ 25 ตุลาคม มีข่าวว่าน้ำเริ่มท่วมแถวรังสิต ดอนเมือง หลายคนแย่งกันเดินทางออกจากกรุงเทพฯ แย่งซื้อข้าวของไปกักตุน น้ำกิน น้ำใช้ มีกลิ่น มีสี จึงตัดสินใจบอกลูกสาวซื้อตั๋วเครื่องบินเดินทางมาที่ขอนแก่น มาอาศัยอยู่ที่วัดก่อน ปัญหาอื่นค่อยว่ากัน ช่วงที่ผ่านมาเป็นห่วงบ้านที่ถูกน้ำท่วม แต่ห่วงแล้วทำให้เกิดทุกข์คงต้องปล่อยวาง ทำจิตของเราให้สบาย เพราะคงทำอะไรไม่ได้ ปล่อยให้ท่วมแล้วค่อยกลับไปแก้ปัญหา เป็นคำสอนที่หลวงพ่อกล้วยจะเตือนจะบอกทุกเช้า”

    ไม่ต่างจาก "ณัฏฐ์วดี วีรแพทยโกศล" วัย 45 ปี เจ้าของกิจการโรงงานผลิตเสื้อยืดสำเร็จรูป อยู่บ้านเลขที่ 171 ซอยเฉลิมพระเกียรติร.9 เขตประเวศ ที่ต้องทิ้งกิจการชั่วคราว หันมานั่งก่ออิฐในวัด ทั้งที่ไม่เคยทำมาก่อน

    “ปีนี้ฝนตกหนักน้ำท่วมเข้าบ้านที่เขตประเวศหลายรอบแล้ว เพราะหลังบ้านเป็นคลองย่อยของคลองแสนแสบ ถ้าแสนแสบน้ำขึ้นสูงเมื่อไรน้ำก็จะเข้าบ้านทันที หน้าบ้านได้วางกระสอบทรายสูงประมาณ 1 เมตร ข้าวของชั้น 1 เก็บขึ้นไปอยู่ชั้นสอง ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง เลยตัดสินใจเดินทางมาพร้อมยาย ลูก น้า รวม 6 ชีวิต มาทำบุญทอดกฐินที่วัดป่าธรรมอุทยาน ส่วนทางบ้านมีสามีและลูกสาวดูแลอยู่"

    ตลอด 7 ปีที่ครอบครัว "ณัฏฐ์วดี" เดินทางมาทำบุญที่วัดป่าธรรมอุทยาน ที่ผ่านมาอยู่ทำบุญเพียง 2-3 วันก็ต้องเดินทางกลับ แต่คราวนี้อยู่วัดนานถึง 3 สัปดาห์แล้ว ชีวิตประจำวันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากตีสี่ของทุกวัน ต้องช่วยกันกวาดลานวัด ศาลา ทำความสะอาดโรงครัว แม้แต่งานหนักอย่างงานก่อสร้าง "ณัฏฐ์วดี" ก็บอกว่าไม่เกี่ยง เพราะทำแล้วมีความสุข ลืมเรื่องน้ำท่วมไปได้

    “หากไปพักอยู่โรงแรมหรือรีสอร์ทอาจจะสบายจริง แต่ก็ใช้ชีวิตให้ผ่านไปวันวันเท่านั้น แต่ที่เลือกจะทำงานกับวัด เพราะเหตุการณ์แบบนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ครอบครัวเราก็คงไม่ได้อยู่ที่วัดนาน สักพักต้องกลับออกไปทำมาหากินเหมือนเดิม ผลกระทบจากน้ำท่วมก็มีบ้าง ทุกครั้งที่กังวลจะนึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อสอนคือเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เราก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ ถ้าเราเตรียมพร้อมก็ไม่ต้องไปทุกข์ เพียงแต่รอให้เหตุการณ์ผ่านไปเพื่อกลับไปแก้ไข” ณัฏฐ์วดี เล่า

    อีก 1 ชีวิตในวัดป่าธรรมอุทยาน "ทันตแพทย์หญิงเดือน วณิวรนันท์" ที่วางเครื่องมือแพทย์ หันมาจับอุปกรณ์ก่อสร้างตกแต่งรากไม้ปูนซีเมนต์ กับงานที่ไม่คุ้นเคย ทั้งร้อนทั้งเหนื่อย แต่ก็สบายใจและเต็มใจทำ

    “เป็นคนอุดรไปเรียนและทำงานที่กรุงเทพฯ บ้านอยู่ที่ประชาอุทิศ แขวงราษฎร์บูรณะ ตอนนี้ก็มีน้ำมาบ้าง ก็เพียงรอดู ไม่ได้คิดมากจนเป็นกังวล หากพูดถึงเรื่องผลกระทบก็คงได้รับทุกคนไม่ว่าจะท่วมมากหรือน้อย คิดเสียว่าเป็นโอกาสที่ทำให้เรามีเวลาว่าง มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน เห็นน้ำใจของคนที่ช่วยเหลือกัน ซึ่งหากเป็นภาวะธรรมดาคงไม่ได้พบเจอกับบรรยากาศแบบนี้” ทันตแพทย์หญิงเดือนกล่าว

    กว่า 8 ปีได้รู้จักวัดป่าธรรมอุทยานจากการแนะนำของพี่สาว ทำให้ทันตแพทย์หญิงเดือนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา การอยู่วัดถือเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้ทำประโยชน์ให้แก่ที่นี่ได้นานขึ้น พร้อมกับฟังข่าวคราวเรื่องน้ำท่วม หากกลับสู่สภาวะปกติก็จะเดินทางกลับไปทำงานในหน้าที่ทันที

    “เคยมาอยู่นานที่สุดประมาณ 1 เดือน ส่วนน้ำท่วมไม่เป็นห่วง ตอนนี้คิดว่าเรากำลังทำประโยชน์อะไรมากกว่า เพราะถึงจะกังวลก็ไม่เกิดประโยชน์ ให้ปล่อยวางเต็มที่กับสิ่งที่เราทำให้ดีที่สุด ถ้าใจเรามีความสุขอยู่ตรงไหนก็มีความสุข”

    ความกังวลที่เห็นน้ำจำนวนมหาศาลจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียมทำให้นายคเณศ พลอยดนัย อายุ 36 ปี อาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อยู่บ้านเลขที่ 94/598 เพชรเกษม 94 เขตบางแค ตัดสินใจขับรถจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ขอนแก่นมาอาศัยอยู่ที่วัดป่าแห่งนี้

    “ช่วงนี้ที่มหาวิทยาลัยปิดเทอม หากเป็นช่วงปกติคงต้องไปเตรียมการสอน พอมีเรื่องน้ำท่วมคิดว่าทางมหาวิทยาลัยต้องขยายเวลาปิดออกไปอีก อาจถึงปลายเดือนพฤศจิกายน วันที่ตัดสินใจเดินทางคือ 23 ตุลาคมเป็นช่วงที่มีข่าวน้ำท่วมบางกรวย ไทรน้อย กำลังเข้าท่วมบรมราชชนนีแล้ว ซึ่งขณะที่เดินทางมาขอนแก่นน้ำเริ่มเข้ามาบางพลัดแล้ว”

    บ้านเป็นสิ่งเดียวที่ยังเป็นห่วงเพราะไม่แน่ใจว่ากลับไปบ้านจะมีสภาพอย่างไร ถึงแม้น้ำยังไม่เข้าบ้าน แต่น้ำที่ท่วมขังมานานจนกลายเป็นน้ำเน่ายังโอบอยู่รอบบ้านจนกลายเป็นเกาะกลางน้ำ การใช้เวลาติดตามสถานการณ์น้ำทางอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ทำให้ "คเณศ" คลายความกังวลได้บ้าง

    “หากเป็นคนอื่นการเข้ามาอยู่วัดอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่โดยส่วนตัวไม่ได้คิดเรื่องนั้น เพราะจะอยู่หรือไม่อยู่วัดก็ใช้เงินตามปกติ แต่ที่อยากมาอยู่วัด เพราะทำให้เราได้มีเวลาปฏิบัติธรรม ได้อยู่ในสถานที่ที่สงบ" คเณศกล่าว

    วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้อาจมีข้อดีอยู่บ้าง เป็นโอกาสที่ทำให้หลายครอบครัวสามารถอยู่วัดได้นานขึ้น หากเป็นเวลาปกติคงอยู่ได้เพียง 2-3 วัน ก็ต้องกลับไปทำงาน แต่ทุกข์แสนสาหัสครั้งนี้ ยังทำให้ได้นำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ปล่อยวางปัญหา ฝึกสมาธิ มีเวลาทบทวนจิตใจ ใกล้ชิดพระธรรมคำสั่งสอนและอยู่กับครอบครัวมากขึ้น...

    �ԡĵ��ط���ªԴ�Ѵ�Դ����йӪ��Ե ���Ѵ�֡ : ������ͧ : ���Ƿ�����
     

แชร์หน้านี้

Loading...