วิชชา ๘ ญาณว่าด้วยอภิญญา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 19 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    วิชชา ๘

    (๑) วิปัสสนาญาณ<O></O>

    [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ <SUP>๑-</SUP> (๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ) เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ <SUP>๒-</SUP> (๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ) เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และกระจัดกระจายเป็นธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุ จะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>

    (๒) มโนมยิทธิญาณ<O></O>

    [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิต กายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่งก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด
    <O></O>
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อมโน้ม น้อมจิตไป เพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่น จากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>


    (๓) อิทธิวิธญาณ<O></O>

    [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงา ผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด
    <O></O>
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
    <O></O>

    (๔) ทิพยโสตญาณ<O></O>

    [๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้ม น้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>

    (๕) เจโตปริยญาณ<O></O>

    [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด

    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไป เพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>

    (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ<O></O>

    [๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้น ไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตน ตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไป บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้าน แม้นั้น ไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด
    <O></O>
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>

    (๗) จุตูปปาตญาณ<O></O>

    [๑๓๗] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
    <O></O>
    เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือนเหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด
    <O></O>
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.<O></O>
    <O></O>

    (๘) อาสวักขยญาณ<O></O>

    [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัวบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่าสระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
    <O></O>
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ
    <O></O>
    ดูกรมหาบพิตร ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.<O></O>
    <O></O>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๗๒๔ - ๑๘๙๐. หน้าที่ ๗๒ - ๗๘.


    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์


    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ
    ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1370552/[/MUSIC]​
    <O></O><!-- google_ad_section_end --><O></O>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จรณะ ๑๕ ธรรมควรประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐ สู่บริสุทธิ์ยิ่ง

    [​IMG]



    จรณะ ๑๕ ธรรมควรประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐ สู่บริสุทธิ์ยิ่ง
    เพื่อบรรลุวิชชา หรืออริยะความรู้ในพุทธศาสนา

    จรณะ แปลว่า ประพฤติธรรม หรือธรรมควรประพฤติ มี ๑๕ คือ
    (๑.) ศีลสังวรการสำรวมศีล คือสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    (๒.) อินทรียสังวรการสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ การสำรวม กาย ใจ หู ตา จมูก ลิ้น ไม่ให้อารมณ์ชั่วเข้ามาได้ พระอริยเจ้าสำรวมได้ดีกว่าปุถุชน
    (๓.) โภชเนมัตตัญญุตาการรู้จักประมาณในการบริโภค
    (๔.) ชาคริยานุโยคประกอบความเพียรให้ใจตื่นอยู่เสมอไม่ให้นิวรณ์เข้าครอบงำได้
    (๕.) สัทธาคือกระทำด้วยความเชื่อ เชื่อว่าการบริจาคทานเป็นความดี
    (๖.) สติได้แก่การระลึกได้ การระลึกรู้ ให้รู้ตัวอยู่เสมอ เช่น การมีสติมั่นอยู่ในสติปัฏฐานสูตร คือการวางใจอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น
    (๗.) หิริการละอายต่อความชั่ว
    (๘.) โอตตัปปะสะดุ้งหวาดกลัวต่อการทำบาป
    (๙.) พาหุสัจจะการเป็นผู้ฟังมาก เพราะการฟังทำให้ เกิดปัญญาเกิดความรู้
    (๑๐.) อุปักกโมความเพียรประกอบความดีไม่ลดละ
    (๑๑.) ปัญญาการหยั่งรู้เหตุผลอย่างถูกต้อง ไม่ผิด พลาด
    (๑๒-๑๕) รูปฌาน ๔คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (คือฌานโลกีย์)

    จรณะ เป็นวิชาที่พระพุทธองค์ประพฤติตั้งแต่ครั้งเป็นโพธิสัตว์ เป็นธรรมที่พระอริยสงฆ์ประพฤติปฏิบัติ จงสังเกตว่าจรณะนั้น เป็นเรื่องของการระวังใจ เป็นเรื่องของการสำรวมใจครั้นสำรวมใจได้แล้ว ทำให้ใจเข้าถึงรูปฌาน ๔ ได้ เมื่อใจทำรูปฌาน ๔ ได้แล้ว ก็ไต่เต้าไปถึงวิชาชั้นสูงได้ ซึ่งวิชาชั้นสูงหรือที่เราเรียกว่า "วิชชา" นั้น เป็นธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ซึ่งศาสนาอื่นไม่มีความรู้อย่างนี้ ซึ่งหากใจทำความรู้พื้นบาน คือ รูปฌาน ๔ ไม่ได้ จะไม่มีโอกาสเข้าถึงวิชาชั้นสูงได้เลย

    <o></o>
    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : วิชชาและจรณะเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? มีความหมายอย่างไร ?
    อนุโมทนาภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต



    [​IMG]



    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]... หลักของวิชชาเหล่านั้น แต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะทำให้บุคคลผู้ใดบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยะเจ้า และ เป็นพระผู้เข้ากระแสพระนิพพานได้ แต่มีอีก [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วิชชาหนึ่งที่สูงส่งสุดยอดยิ่งกว่าวิชชาใด ๆ นั้นก็คือ วิชชาแห่งความไม่ยึดในวิชชา วิชชาแห่งความไม่มีในวิชชา วิชชาแห่งความไม่ติดในวิชชา และ วิชชาแห่งความว่างในวิชชา ก็คือเป็นผู้ละ ผู้วาง ผู้ปล่อย ไม่ยึด ไม่ติด เพื่อความเข้าถึงซึ่งองค์แห่งความบริสุทธิ์ คือ ความเป็นพุทธะในใจ[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มีบุคคลที่ปฏิบัติสมาธิจนเข้าถึงความมหัศจรรย์ทางจิตเหนือคนธรรมดาสามัญ แล้วหลงอยู่ในอารมณ์นั้น คิดว่าตนเป็นผู้วิเศษ แต่สุดท้ายนั่นเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรือกิเลสอย่างละเอียด อันไม่สมควรไปยึดและผูกผัน เพราะจะทำให้มีทุกข์หนักขึ้น เหมือนอย่างพระเทวทัต ที่เกิดความทรนง เย่อหยิ่งในตัวเอง คิดว่าตนวิเศษกว่าคนอื่น วิเศษกว่าพระพุทธเจ้า จึงใช้สมาบัติทั้ง ๘ ไปในทางผิด ทำให้เป็นดาบสองคมกลับมาเชือดเฉือนตนจนวิบัติ[/FONT]<o></o>

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ส่วน [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ผลของการปลดปล่อย วาง ละ เว้น ไม่ยึด และไม่ผูกพัน ไม่ใช่ดาบสองคม เป็นดาบคมเดียว และสามารถใช้ตัดในสิ่งที่บุคคลต้องการตัดได้ โดยเฉพาะอาสวกิเลสที่หมักดองอยู่ในใจ[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ดังนั้น หากจะเลือกเดินทางพระนิพพาน ซึ่งเป็นหนทางอันไกล ต้องวางให้หมด สุดท้ายต้องวางแม้แต่สมาบัติ จงรู้แต่เพียงปัจจุบันธรรมเท่านั้น ทำเหตุให้ดี แล้วผลจะออกมางาม ตามหลักเกณฑ์ กฏกติกาของธรรมชาติ คือไม่ว่าจะเป็นวิชชาอะไร สุดท้ายถึงสูงสุดที่จะเข้านิพพานได้ คือ ต้องไม่ยึดติด ไม่ผูกผัน เป็นไท ไม่เป็นทาสกิเลส ทำจิตให้ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะอาด สว่าง สงบ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] จึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะในใจได้ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]…[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบน้อมเทศนาธรรม [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]: หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) นครปฐม<o></o>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  3. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนาสาธุบุญด้วยค่ะ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    สาธุ..ในธรรมทานนังด้วยอ่ะจร้า น้องบุญญะ

    พี่มังกืออ่านแล้ว ชอบมาก ๆ ๆ ขอให้เจริญในธรรม

    ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     
  5. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    อนุโมทนาสาธุ กับทุกบุญกุศลบุญบารมีกับทุกท่านด้วยครับ
    พ้นทุกข์ก่อนขอแถมทีหลัง
     
  6. poplight

    poplight Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +84
    ขออนุโมทนาสาธุครับ ขอให้เจริญในธรรม ให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
     
  7. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ความรู้ยิ่งสู่โลกุตตระ

    น้อมอนุโมทนา สาธุกับธรรมทาน จากคุณพี่บุญญสิกขา ด้วยครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG]
     
  9. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขออนุโมทนาสาธุครับ....
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  10. Limtied

    Limtied เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    822
    ค่าพลัง:
    +3,662
    จรณะ ๑๕ ธรรมควรประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐ สู่บริสุทธิ์ยิ่ง
    เพื่อบรรลุวิชชา หรืออริยะความรู้ในพุทธศาสนา

    จรณะ แปลว่า ประพฤติธรรม หรือธรรมควรประพฤติ มี ๑๕ คือ
    (๑.) ศีลสังวรการสำรวมศีล คือสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    (๒.) อินทรียสังวรการสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ การสำรวม กาย ใจ หู ตา จมูก ลิ้น ไม่ให้อารมณ์ชั่วเข้ามาได้ พระอริยเจ้าสำรวมได้ดีกว่าปุถุชน
    (๓.) โภชเนมัตตัญญุตาการรู้จักประมาณในการบริโภค
    (๔.) ชาคริยานุโยคประกอบความเพียรให้ใจตื่นอยู่เสมอไม่ให้นิวรณ์เข้าครอบงำได้
    (๕.) สัทธาคือกระทำด้วยความเชื่อ เชื่อว่าการบริจาคทานเป็นความดี
    (๖.) สติได้แก่การระลึกได้ การระลึกรู้ ให้รู้ตัวอยู่เสมอ เช่น การมีสติมั่นอยู่ในสติปัฏฐานสูตร คือการวางใจอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น
    (๗.) หิริการละอายต่อความชั่ว
    (๘.) โอตตัปปะสะดุ้งหวาดกลัวต่อการทำบาป
    (๙.) พาหุสัจจะการเป็นผู้ฟังมาก เพราะการฟังทำให้ เกิดปัญญาเกิดความรู้
    (๑๐.) อุปักกโมความเพียรประกอบความดีไม่ลดละ
    (๑๑.) ปัญญาการหยั่งรู้เหตุผลอย่างถูกต้อง ไม่ผิด พลาด
    (๑๒-๑๕) รูปฌาน ๔คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (คือฌานโลกีย์)

    จรณะ เป็นวิชาที่พระพุทธองค์ประพฤติตั้งแต่ครั้งเป็นโพธิสัตว์ เป็นธรรมที่พระอริยสงฆ์ประพฤติปฏิบัติ จงสังเกตว่าจรณะนั้น เป็นเรื่องของการระวังใจ เป็นเรื่องของการสำรวมใจครั้นสำรวมใจได้แล้ว ทำให้ใจเข้าถึงรูปฌาน ๔ ได้ เมื่อใจทำรูปฌาน ๔ ได้แล้ว ก็ไต่เต้าไปถึงวิชาชั้นสูงได้ ซึ่งวิชาชั้นสูงหรือที่เราเรียกว่า "วิชชา" นั้น เป็นธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ซึ่งศาสนาอื่นไม่มีความรู้อย่างนี้ ซึ่งหากใจทำความรู้พื้นบาน คือ รูปฌาน ๔ ไม่ได้ จะไม่มีโอกาสเข้าถึงวิชาชั้นสูงได้เลย


    โมทนาสาูธุ สาธุ สาธุ
    ...
    ..
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...