วิญญาณบอกมรดกคุณปู่

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ไม้ขีด, 23 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    [FONT=&quot] วิญญาณบอกมรดกคุณปู่ [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    หลังจากที่ได้ฟังหลวงพ่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังเมื่อคืนวานนี้แล้ว เรา 2 คน ยังติดใจและอยากจะฟังเรื่องต่างๆ ต่ออีก โดยเฉพาะเรื่องที่ตาลุงที่แจวเรือข้ามฝากบอก คือ เรื่องหลวงพ่อฤๅษี ที่เมืองกาญจน์ และกรุสมบัติ ที่วัดใหญ่ชัยมงคล[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ผมนั้น รู้สึกว่าจะผ่านๆ สายตาสำหรับเจดีย์ที่วัดใหญ่นี้ เพราะสำเริงพาไปดูในวันแรกที่มาแต่ก็ไม่ได้ติดตาอะไรมากนัก เพราะที่อยุธยามีวัดมีเจดีย์ร้างมากมาย อาทิ วัดหน้าพระเมรุ ซึ่งมีชื่อจริงว่า วัดเมรุราชิการาม (คิดว่าจำชื่อไม่ผิด) วัดนี้อยู่ทางด้านเหนือของพระราชวัง อยู่ริมๆ คลองสระบัว ที่วัดมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อทรงเครื่อง ซึ่งดูเหมือนจะมีพระทรงเครื่องแบบนี้องค์เดียว ลักษณะของท่านเหมือนพระพุทธรูปทางลพบุรีงามจริง แต่พระพักตร์ท่านดูเหมือนดุๆ ไม่ค่อยจะมีลักษณะอมยิ้มเหมือนหลวงพ่อมงคลบพิตร ถัดไปก็ไปชม วัดพระนอน อีกชื่อหนึ่งจะชื่ออะไร จำไม่แล้ว ที่วัดนี้มีพระนอนองค์ใหญ่ คือเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ อีกวัดที่ผมได้ไปดู คือ วัดวรเชษฐาราม ว่ากันว่า สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงอุทิศพระกุศลถวายแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่วัดนี้มีเจดีย์ใหญ่ 1 องค์ ลักษณะแปลกคือ เป็นเจดีย์ป้อมๆ เหมือนบาตรคว่ำ แล้วมียอดขึ้นไป ทราบที่หลังว่าเป็นเจดีย์ทรงลังกา ว่ากันว่ามีผู้ลักลอบขุดกรุขุดเจดีย์นี้ เพื่อหาของเก่า หาสมบัติแต่เมื่อขุดเข้าไปถึงชั้นเจดีย์ทองข้างในเจดีย์ใหญ่แล้ว ปรากฏว่าในเจดีย์องค์นั้นมีอัฐิบรรจุอยู่เชื่อกันว่า เป็นพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คนร้ายที่ลักขุด ไม่ได้เอาไป กลับบรรจุไว้ที่เก่า เหลือไว้แต่รอยขุด ต่อมาก็ไปชม วัดสุวรรณดาราม ซี่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระราชวัง ติดๆ กับป้อมเพ็ชร วัดนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาตลอด เป็นวัดที่สวยงามวัดหนึ่ง นอกจากนั้น ก็ไปชมวัดสวนหลวงสบสวรรค์ และเจดีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย แล้วก็ไปดู วัดใหญ่ชัยมงคล ที่จริงผมได้เที่ยวชมวัดต่างๆ มากมาย เพราะจังหวัดนี้เต็มไปด้วยวัดและเจดีย์ดูแล้วก็จำไม่ได้หมด แม้ทุกวันนี้ถ้ามีโอกาสก็ยังอยากไปอีก ด้วยความอยากรู้เรื่องเจดีย์ ที่วัดใหญ่ชัยมงคล วันรุ่งขึ้นก่อนที่เราจะไปหาหลวงพ่อที่วัด เราเลยชวนกันไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลกันก่อน เรียกว่าศึกษาย่อๆ ไว้ก่อน แล้วพอเย็นๆ เราจะได้กราบเรียนถามถึงเรื่องกรุสมบัติที่วัดใหญ่นี้[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ผมทราบประวัติคร่าวๆ ของวัดนี้ในวันนั้น แต่มันก็หลายสิบปีมาแล้ว ผมจึงจำต้องไปค้นหนังสือนำเที่ยวอยุธยา นำเรื่องวัดใหญ่ชัยมงคลนี้มาย่อให้คุณผู้อ่านฟังก่อน จะได้นึกภาพออก และเป็นการเตือนความจำของผมไปในตัวด้วย วัดนี้ตามประวัติสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.1990 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง มีชื่อเดิมว่า วัดสระแก้ว ต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศึกพม่ามารุกรานไทยอีก ในพ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพออกไปรบกับข้าศึก ทรงได้ชัยชนะในการยุทธหัตถี จอมทัพพม่าถูกฟัน คอขาดตายบนหลังช้าง ที่ตำบลหนองสาหร่าย เขตจังหวัดสุพรรณบุรี[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรไม่สามารถจะบดขยี้ข้าศึกได้ เพราะกองทัพต่างๆ ที่ยกตามไปม่สามารถติดตามทัพหลวงทัน จวนเจียนจะเสียทีแก่ข้าศึก เพราะพระองค์ประทับอยู่ในวงล้อม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ จึงทรงท้าจอมทัพพม่าให้ออกมากระทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ เมื่อเสร็จการศึก จึงมีการชำระความเรื่องนี้ แล้วโปรดให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองให้หมด สมเด็จพระวันรัต วัดสระแก้ว (หรือป่าแก้ว) กราบทูลขอพระราชทานโทษไว้ และกราบทูลให้สร้างเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติไว้ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ที่วัดสระแก้วนี้ขึ้น เป็นเจดีย์ใหญ่มาก และทรงขนานนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคล และทรงเปลี่ยนชื่อวัดนี้ใหม่ว่า วัดใหญ่ชัยมงคล ตั้งแต่นั้นมา.......
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ว่ากันว่า ในสมัยที่จะเสียกรุงแก่พม่าข้าศึก ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 นั้น ประชาราษฏร์เสียขวัญมาก เหมือนเป็นลางสังหรณ์ว่า กรุงจะแตก จะเสียกรุงแก่ข้าศึก ผู้คนที่มั่งมีทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทอง ต่างก็พากันเอาทรัพย์สินบรรจุใส่ไห ใส่โอ่ง ฝังไว้ วัดวาอารามต่างๆ ที่พอจะแยกเอาของมีค่าออกได้ ก็ยกออกมาบรรจุใส่เจดีย์ ใส่ไหฝังดินไว้ใกล้ๆ เจดีย์ หรือใต้ฐานเจดีย์
    ในสมัยนั้น กรุงศรีอยุธยาร่ำรวยมาก ขนาดพระมงคลบพิตรยังหุ้มด้วยทองคำทั้งองค์ ราชสมบัติ ราชูปโภค และสมบัติของเจ้านายต่างก็ทรงบัญชาให้เอาฝังไว้ บรรจุไว้ให้หมด ข้าราชบริพารใหญ่น้อยที่พอมีอันจะกินก็เช่นกัน ได้รวบรวมของมีค่าต่างๆ ฝังไว้ทั้งสิ้น หรือมิฉะนั้น ก็บรรจุโอ่ง บรรจุผอบ บรรจุไหถ่วงน้ำไว้ และเพื่อกันลืมได้ทำหมายเหตุจดจำลองกันไว้ เรียกว่า ลายแทง เชื่อกันว่า ทรัพย์สมบัติที่บรรจุกันไว้มีมากที่เจดีย์วัดราชบูรณะ และวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนวัดมหาธาตุนั้น พม่าได้ขุดฐานไปจนหมดแล้ว วัดราชบูรณะนี้ มีเจดีย์ 2 องค์ ซึ่งเจ้าสามพระยา หรือพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสร้างขึ้นไว้สวมทับตรงที่เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาทรงสู้รบชนช้าง กันเพื่อชิงราชสมบัติ และในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ ราชสมบัติจึงตกมาอยู่กับเจ้าสามพระยา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบรมราชาธิราชที่ 2 เจดีย์ทั้งสององค์นี้ได้ถูกขุด ถูกทำลายเสียมาก ตอนหลังเมื่อไม่กี่ปีมานี้ กรมศิลปากรได้ทำการเปิดกรุค้นทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ขึ้นทะเบียนเป็นของชาติ และได้บูรณะซ่อมแซมใหม่ให้สวยงามดังที่เห็นในปัจจุบัน คุณผู้อ่านก็ได้ทราบเรื่องวัดวาอารามและเจดีย์เก่าๆ ในกรุงศรีอยุธยามาพอควรแล้ว ผมจึงขอเริ่มเรื่อง วิญญาณบอกมรดกของคุณปู่ ที่ฟังมาจากหลวงพ่อดังต่อไปนี้.......
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] เรา 2 คน ไปกราบหลวงพ่อตั้งแต่เย็น ไม่มืดอย่างทุกคราวที่ไป หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็ตรงดิ่งไปวัดเลย และไม่ลืมดอกไม้ ธูป เทียน บูชาพระ และข้าวเปลือกอีก 1 ถังใหญ่อย่างเคย หลังจากที่กราบนมัสการท่านแล้ว ผมก็กราบเรียนถามว่า “ลุงที่แจวเรือข้ามฟากบอกว่า ให้เรียนถามหลวงพ่อเรื่องคนขุดกรุเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล และเรื่องหลวงพ่อฤๅษี ที่ถ้ำเมืองกาญจน์ ว่าเรื่องมันเป็นอย่างไร”
    หลวงพ่อท่านพูดว่า “มันคนละเรื่อง แต่มันเกี่ยวเนื่องกัน”
    ผมก็เลยกราบเรียนถามถึงเรื่องขุดกรุวัดใหญ่ก่อน..... เพราะสนใจมากโดยที่เราไปดูเจดีย์ที่วัดนี้มาหมาดๆ ก็อยากรู้เรื่องมากหน่อย หลวงพ่อท่านเลยเล่าให้ฟัง
    “ว่าที่จริงไม่ใช่ขโมยขุดกรุ ขุดเจดีย์ เพื่อลักทรัพย์สินมีค่าที่บรรจุไว้หรอก แต่มันเป็นเรื่องปู่ของท่านผู้หนึ่ง เอาลายแทงมหาสมบัติฝังไว้ที่ใต้เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล เรื่องมันนานมาแล้วตั้งแต่สมัยต้นๆ รัชกาลที่ 6 โน่น ที่นี้หลานชายฝันเห็นปู่มาบอกขุมทรัพย์ให้ว่าเป็นมรดกที่ยกให้ ทรัพย์ที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ที่อยุธยาหรอก โน่น ! อยู่ที่ถ้ำที่สังขละ เมืองกาญจน์ คนที่ไม่รู้เรื่องละเอียด ก็ลือกันว่าเขาไปขุดกรุมหาสมบัติที่เจดีย์วัดใหญ่ มันไม่ใช่หรอก” พอได้ยินดังนั้น เรา 2 คนก็กระเถิบเข้าไปใกล้ๆ ท่านอีกหน่อย เพราะท่านพูดเบามาก แล้วก็กราบเรียนถามท่านว่า “เรื่องมันเป็นอย่างไง ขอรับกระผม ?”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังดังนี้ คือเรื่องมันเป็นอย่างนี้ นานมาแล้วตั้งแต่ท่านยังหนุ่มๆ อายุราวๆ 40 ปี บวชพระมาได้ราวๆ 20 พรรษา ไม่นับที่บวชเณร ท่านบวชเณรตั้งแต่อายุประมาณ 13-14 ปี บวชไปเรียนไปจนอายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบท (และก็อยู่ในสมณะเพศจนมรณภาพ....ผู้เขียน) เมื่อตอนท่านบวชได้ 20 พรรษา ท่านออกธุดงค์ทุกปี ไปรูปเดียว โดยมากก็ไปทางตะวันตก คือออกไปทางนครชัยศรี พระปธม (เมืองนครปฐมนั่นเอง แต่เรียกชื่อตามภาษาเขมร) ตอนหลังในหลวง ในรัชกาลที่ 6 ท่านโปรดฯ ให้เมืองนครชัยศรีมาขึ้นอยู่กับเมืองปธม ซึ่งแปลว่าที่หนึ่ง แล้วทรงตั้งชื่อจังหวัดว่า “จังหวัดนครปฐม” เพราะเชื่อว่า พระปธม และ พระประโทน นี้ ได้สร้างขึ้นในสมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามายังกรุงสยามในครั้งแรก (ว่าโดยมหาเถระ 2 รูป คือ พระโสณะและอุตตระ..... ผู้เขียน)
    หลวงพ่อท่านออกธุดงค์ทีละนานๆ ไปถึงสุดเขตแดนสยาม ผ่านไปทางเลาขวัญ ศรีสวัสดิ์ และสังขละบุรี ซึ่งที่สังขละบุรีนี้เป็นป่าลึก ผ่านเข้า พม่า มอญ กะเหรี่ยงได้ ที่แถบนี้มีแต่ป่าทึบ เขา ถ้ำ และสัตว์ป่าต่างๆ ไม่ค่อยจะะมีบ้านผู้บ้านคน[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ท่านเล่าว่าเมื่อตอนหนุ่มๆ อายุ 30 ปีกว่า ท่านเดินทางไปถึงพม่า ถึงอินเดีย ก็ไปทางนี้ เวลาจะข้ามน้ำข้ามคลองที ก็ต้องเดินเลาะชายฝั่งไปจนกว่าจะพบบ้านคน จึงจะได้อาศัยเรือเขาข้ามฝากที่สังขละบุรี มีภูเขาสูง เป็นทิวเขาตะนาวศรี เหยียดไปถึงทางภาคใต้มีถ้ำใหญ่ถ้ำหนึ่ง ปากถ้ำเล็กนิดเดียว เข้าไปในถ้ำทางช่องนี้ลำบากหน่อย แต่ภายในถ้ำกว้างใหญ่ โอ่โถงสวยงามมาก พื้นถ้ำมีผงละเอียดนุ่มเหมือนผงอิทธิเจ เรี่ยราดเต็มไปหมด เดินเข้าไปอีกหน่อย จะมีช่องโหว่แสงอาทิตย์ส่องลงมาตามช่องนี้ภายในเย็นยะเยือก เงียบสงบ วังเวง ในนั้นมีงูหลายชนิดอาศัยอยู่ มีบ่อน้ำไหลซึมในถ้ำตลอดเวลา เข้าไปลึกๆ ในถ้ำจะเห็นกระโหลกศีรษะ กระดูกคนกองอยู่เป็นกระดูกแห้งๆ กองอยู่ตามหลืบหินย้อย และในนั้นจะพบพระพุทธรูปหลายองค์ องค์โตๆ เหมือนกัน วางประดิษฐานอยู่บนแท่นหินซอกๆ หลืบ หลวงพ่อท่านไม่ได้เข้าไปจนสุดถ้ำ เลยไม่ทราบว่าปลายออกของถ้ำนี้ จะโผล่ที่เขตพม่าหรือไม่” ที่ถ้ำนี้เอง หลวงพ่อได้พบท่านผู้หนึ่ง บำเพ็ญเพียรอยู่ที่นี้ ท่านผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมแบบฤๅษี ฤๅษีที่ว่านี้ไม่ใช่นุ่งห่มหนังเสืออย่างที่เห็นกันในรูป แต่ท่านไม่ได้โกนผม แต่ขมวดไว้บนศรีษะ หนวดเคราก็ตัดๆ เอา ไม่ได้โกนไม่ได้ห่มผ้าเหลือง แต่ครองผ้าสีขาวซึ่งออกจะมอๆ มากๆ ท่านถือศีลไม่ถึง 227 ข้อ แต่ปฏิบัติธรรม ละความชั่วและบาป ยืนยันความสงบ ท่านผู้นี้ได้เตรียมที่นั่ง ที่นอน น้ำท่าไว้ต้อนรับท่านในครั้งแรกที่ไปถึง พอหลวงพ่อท่านเดินไปถึงปากทางเข้าถ้ำ ท่านผู้นี้ก็ออกมารับยกมือไหว้พร้อมกับกล่าวเชื้อเชิญให้เข้ามาพักในถ้ำ
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านบอกว่า ท่านอยู่ที่นี้มาเกือบร้อยปีแล้ว ยังไม่เคยมีใครมาหา มาพบท่านเลย ท่านทราบล่วงหน้ามา 3 เวลาแล้วว่าหลวงพ่อจะมาที่นี่ จึงเตรียมต้อนรับด้วยความเต็มใจยิ่ง หลวงพ่อประหลาดใจ เกิดความสงลัยว่า “ทำไม? ฤๅษีตนนี้จึงรู้ล่วงหน้า ถึงกับเตรียมอะไรๆ ไว้ แล้วที่ท่านว่าท่านอยู่ที่นี่มาเกือบร้อยปีแล้ว” ฤๅษีท่านนั้นบอกว่า “ท่านไม่ต้องสงสัยหรอกจ้ะ ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ต้นไทรหน้าถ้ำยังไม่มี อยู่จนต้นไทรโต 3 คนโอบไม่รอบ มันก็ราวๆ ร้อยปีนั่นแหละ.......”
    หลวงพ่อสงสัยว่า “ถ้ำนี้ชื่อถ้ำอะไร ?”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ฤๅษีก็บอกว่า “เขาเรียกถ้ำสังขละ ภูเขาลูกนี้ชื่อ ภูเขาช้างเผือกจ้ะ”
    หลังจากนั่งสนทนากันครู่ใหญ่ หลวงพ่อจึงทราบว่า ฤๅษีท่านนี้ ท่านปฏิบัติธรรม ฝึกจิต เจริญกสิณประเภทเพ่งแสงสว่างให้เกิดขึ้น (แบบอาโลกกสิณ) กำหนดให้เป็นสมาธิ ถึงขั้นๆ หนึ่ง (อุปจารสมาธิ..... ผู้เขียน) พลังจิตที่ฝึกไว้ดีแล้ว จะสามารถเกิดทิพยจักษุ และเกิดมีญาณอันสามารถจะหยั่งรู้ได้ด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ตั้งแต่นั้นมา ฤๅษีท่านนั้นก็นับถือท่านมาก และนับถือกันมาตลอด ท่านสามารถจะสนทนาธรรมกันทางสมาธิได้ ส่งจิตหากันได้ ทดสอบถามถึงกันในเรื่องต่างๆ ได้ หลวงพ่อพำนักอยู่ในถ้ำนี้หลายวัน ผมสงสัยว่า “ท่านจะได้อะไรเป็นจังหันในเมื่ออยู่ในถ้ำอย่างนั้น”
    หลวงพ่อท่านบอกฤๅษีว่า “ท่านฤๅษีดูแลเรื่องขบฉัน โดยมากก็เป็นผลไม้ทั้งสิ้น ฉันไม่มาก เพราะขณะที่ธุดงค์หลวงพ่อจะฉันมื้อเดียวเท่านั้น”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ผมกราบเรียนถามท่านว่า “หลวงพ่อคงไม่ออกบิณฑบาต เพราะในป่าอย่างนี้คงไม่มีใครมาใส่บาตรแน่” ท่านบอกว่า “ก็บิณฑบาตเหมือนกัน เริ่มบิณฑบาต เมื่อมาพักเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถ้ำนี้ได้ 7 วันแล้ว” “แล้วชาวบ้านที่ไหนจะเดินทางมาถวายอาหารบิณฑบาตขอรับ” “ก็มี เวลาจะบิณฑบาตก็ตั้งจิตอธิษฐาน แผ่เมตตาไปทั่ว ว่าจะไปโปรดสัตว์ ขอให้โปรดสัตว์เถิด พอตั้งใจดังนั้นแล้ว ก็ออกเดินบิณฑบาตไป..... เวลาได้ยินเสียงคนนิมนต์ หรือเห็นคนเดินถือภาชนะใส่อาหารมา หลวงพ่อจะต้องสำรวมมากกว่าปกติ มองดูข้างหน้าได้ไม่เกิน 5 ก้าว ไม่พูด ไม่ถามอะไรทั้งสิ้น เช่น ถามว่าอยู่ที่ไหน ? มายังไง ถ้าไม่สำรวม หรือไม่เฉยนิ่งออกปากพูดอะไรแล้ว ท่านที่มาทำบุญใส่บาตรจะเดินเสี่ยงไปทันที แต่สำหรับท่านฤๅษีนั้น..... รู้กัน วันโกนหรือวันพระจะมีของขบฉันวางไว้ให้เเป็นนิตย์”
    เรากราบเรียนถามท่านว่า “แล้วที่มาใส่บาตรหลวงพ่อนั้นน่ะ เป็นคนหรือผีสาง เทวดา นางไม้หรือรุกขเทวดา” หลวงพ่อท่านไม่ตอบ แต่ท่านเลี่ยงไปว่า “ในป่าดิบอย่างนั้น ไม่มีผู้ไม่มีคนอาศัยอยู่หรอก จะเป็นใครก็คิดเอาเอง” เรากราบเรียนถามท่านว่า “ท่านเหล่านั้นแต่งกายอย่างไร มีชฎา มีสายสังวาล มีเครื่องประดับมากมายหรือไม่ ?”
    หลวงพ่อท่านบอกว่า “ที่ถามนั้นน่ะ เป็นรูปเทพยดาที่เขาเขียนตามผนังโบสถ์ ตามวัดต่างๆ แต่ที่มาใส่บาตรท่านนั้น ก็เหมือนคนธรรมดา นุ่งห่มสีขาวสะอาด หน้าตาสะอาดหมดจด สงบเสงี่ยม ไม่พูดไม่จา เคลื่อนไหวเร็ว ไม่ได้พิจารณาหรือเพ่งดูหน้าตาท่านที่มาใส่บาตร ไม่เงยหน้าขึ้นมามองเลย และเมื่อท่านเหล่านั้นใส่บาตรเสร็จ หลวงพ่อจะสวดยะถาและสัพพีให้พรเหมือนกับพระที่อินเดียหรือเนปาล ใส่คนหนี่งก็ยะถาสัพพีทีหนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะสงบรับพร เสร็จแล้วก็เดินหลีกไป แต่จะไปทางไหนไม่ทราบไม่เห็นเสียแล้ว” เรา 2 คนคิดว่า ถ้าอย่างนั้นคงไม่ใช่มนุษย์แน่ๆ อาจเป็นเทพยดา นางฟ้า หรือนางไม้ หรือรุกขเทวดาแน่ๆ ผมถามท่านว่า “อาหารที่ท่านเหล่านั้นใส่บาตรเป็นอะไรขอรับ”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ท่านตอบว่า “ลักษณะเป็นแป้งๆ รสหอมหวานมาก ฉันเท่าไรไม่มีหมด ฉันนิดเดียวก็อิ่มแล้ว พออิ่มแล้วเอาบาตรไปล้าง ก็เอาอาหารที่เหลือกองไว้ใต้ต้นไทรหน้าปากถ้ำ พอล้างบาตรเสร็จ อาหารที่เทวางไว้ก็หายไปหมด ด้วยความไม่ลำบากในเรื่องขบฉันนี้ หลวงพ่อจึงอยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเขาหัวช้างเผือกนี้นาน”[/FONT]
    [FONT=&quot]
    เรากราบเรียนถามถึงลักษณะของถ้ำ และอยากทราบว่ามีอะไรลี้ลับอยู่ในถ้ำนั้นหรือ เพราะออกจะสนใจมากขึ้น อยากรู้อะไรๆ มากขึ้น หลวงพ่อท่านก็กรุณาเล่าให้ฟังว่า.................. ได้ฟังจากท่านฤๅษีว่า..... นานมาแล้วหลายร้อยปี เห็นจะร่วมๆ สองร้อยปี ทหารพม่าที่ยกมาตีกรุงเก่า ครั้งสุดท้ายที่เสียกรุงนี้ พม่าขนสมบัติพัสถาน ของมีค่าต่างๆ มากมายไปพม่า ทางสังขละบุรีนี่ แล้วก็กวาดต้อนผู้คนไปเป็นทาส เป็นเชลยมากมายด้วย ทัพพม่าที่ถอยทัพกลับคืนเมืองนั้นมีหลายกอง หลายกลุ่ม มีกลุ่มหนึ่งที่ขนทรัพย์สมบัติมาทางนี้ พอถึงถ้ำนี้ก็จุดไฟโพลงเข้าไปในถ้ำ เห็นในถ้ำเป็นทำเลดี นายกองที่คุมกำลังมา ก็เกิดโลภ ฉ้อราษฏร์บังหลวง เอาทรัพย์สมบัติที่ขนมาส่วนหนึ่ง มีพระพุทธรูปทองคำ เครื่องแต่งตัวของคนในยุคนั้น มีรัดเกล้า ปะวะหล่ำ ปิ่นปักผม หม้อน้ำมนต์ กรัณฑ์ (ผอบ, หม้อ) ทองคำ
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]เครื่องเพชรพลอยต่างๆ พร้อมทั้งทองคำลิ่มๆ ที่เผาลอกออกมาจากองค์พระพุทธรูป และที่ปล้นมาจากราษฏรในครั้งนั้น ยักยอกเอาใส่ผอบลังไม้ลังใหญ่สองหรือสามลัง แล้วเอาลังนั้นฝังไว้โดยให้เชลยขุดผงขาวออกเป็นหลุม ผงนี้ขาวละเอียดเหมือนผงที่เอามาใส่พิมพ์ทำพระผงนั่นแหละ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    พอฝังเสร็จเรียบร้อย ก่อนที่ออกจากถ้ำ พม่าก็เอาดาบฟันศรีษะเชลยไทยที่เอามาใช้ทำงานในการแบกสมบัติมา และในการขุดฝังหัวขาดตาย 2 ศพ ที่เหลือก็วิ่งหนีออกมากัน พวกที่หนีไม่ทัน ทหารพม่าจับได้ก็ถูกทรมานมัดไป ลากไป ไปจนถึงแดนพม่า ที่ทนได้ก็อยู่ไป ที่อยู่ไม่ได้ก็ตายไป เชลยที่ทหารพม่าจับไปเมื่อคราวนั้นมาก นับด้วยสิบ นับด้วยร้อย ที่อยู่ปากถ้ำ ไม่ได้เข้าไปทำงานฝังสมบัติในถ้ำก็มีแยะ ที่เข้าไปมีไม่กี่คน ถูกฆ่าตายเสีย 2 คน ที่หนีออกมากระเจิดกระเจิงพม่าจับไม่ได้ไล่ไม่ทันก็มี ในจำนวนนี้มีอยู่ 2-3 คนไม่ได้เข้าไปในถ้ำ หนีรอดออกไปได้ ลัดเลาะออกมาทางป่าทึบ ออกมาจนถึงเมืองกาญจน์และถึงสุพรรณบุรี ด้วยกลัวลืมต่างคนต่างทำแผนที่กันไว้บนแผ่นต้นไม้ที่เดินทางไป ทำแผนที่บนแผ่นไม้ไปจนถึงอยุธยา เมื่อมาถึงอยุธยาแล้วก็มารวมๆ กัน ลอกไว้ลงบนแผนไม้แผ่นเดียว เรียกว่าสมบูรณ์ ทำไว้ 3 แผ่น ยึดกันไว้คนละแผ่น สัญญากันว่าถ้าไม่ตายเสียก่อนจะรวบรวมกันเดินทางไปที่ถ้ำในภายหลัง แล้วก็จะขุดค้นทรัพย์สมบัตินี้ต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]
    แต่การนี้ไม่สำเร็จ เพราะตายจากกันเสียก่อน ลายแทงที่เป็นไม้ก็ได้ลอกกันต่อๆ มา โดยผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ลอกเอาออกมาใส่สมุดข่อย แล้วแจกกันเก็บไว้คนละเล่ม สำหรับบางคนที่มีชีวิตเหลืออยู่ เมื่อตายลง ลูกที่รับคำสั่งก็เก็บไว้ แต่ก็ไม่มีปัญญาไปยังที่กรุสมบัตินี้ ต่อมาผู้รับมรดกและสมุดลายแทงนี้ก็คือ ขุนเสนา ดูเหมือนจะมีชื่อเต็มๆ ว่า ขุนเสนาราช อยู่ที่อำเภอเสนา อยุธยานี่เหมือนกัน ขุนเสนาราช นี่ก็ไม่มีปัญญาจะทำอะไรกับสมุดลายแทงนี้ ก็เก็บเอาไว้ ต่อมาก็ฝันเห็นคนแก่มาบอกว่า “บุญไม่ถึง ไม่มีพอที่จะได้ขุดทรัพย์นี้ ฉะนั้นให้เอาสมุดข่อยลายแทงนี้บรรจุลงในไหเล็กๆ แล้วเอาไปใส่ไว้ที่ฐานด้านตะวันออกของเจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล จะมีความเจริญต่อไป หมดเคราะห์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย” ขุนเสนาราช ซึ่งได้รับสมุดข่อยลายแทงตกทอดกันมา ก็ทำตามอย่างที่ฝัน โดยให้บ่าวไพร่ไปขุดฐานเจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล แต่ไปขุดเจดีย์เล็ก ทางทิศตะวันออก ไม่ได้ขุดที่เจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดเจาะแล้วก็เอาสมุดข่อยลายแทงม้วนใส่กระบอกไม้ใผ่ลำใหญ่ ปิดหัวปิดท้ายเสียให้แน่นด้วยขอไม้ไผ่ให้แข็งแรง ตอนที่ขุดเสนาราชจะฝังผอบลายแทงที่ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ ก็ได้ทำพิธีทางศาสนาเรียบร้อย และขณะเดียวกัน ขุนเสนาราชก็เอาทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทองจำนวนมาก บรรจุใส่ผอบฝังร่วมลงไปด้วย เพราะขุนเสนาราชนี่มีฐานะเป็นขั้นเศรษฐีคนหนื่ง ในอำเภอเสนาเหมือนกัน แต่สมบัติมากมายที่ฝังลงไปในฐานเจดีย์นี้ ได้ฝังทางด้านตะวันตก ตรงกันข้ามกับผอบที่ฝังลายแทง[/FONT]

    [FONT=&quot]
    เจดีย์องค์เล็กนี้บางคนบอกว่าขุนเสนาราชนี่แหละเป็นคนสร้างเอง แล้วจึงเอาทรัพย์สมบัติฝังไว้ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมกับเอาลายแทงบรรจุเข้าไปด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ผมกราบเรียนถามว่า “ขุนเสนาราชนี่ไม่มีผู้สืบสกุลหรือ ถึงได้เอาทรัพย์สมบัติมาบรรจุไว้ ไม่ให้แก่ลูกหลาน” ท่านบอกว่า “ขุนเสนาราชมีลูกหลานหลายคนเหมือนกัน คนโตเป็นผู้หญิง ออกเรือนไปแล้ว แต่สามีล้างผลาญ ไม่ทำงานทำการอะไร”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] คนโตที่เป็นผู้ชายนั้นเป็นคนที่ 2 คน คนนี้ก็เหมือนกัน ไม่ทำงานทำการ ไม่ทำมาหากิน เอาแต่เที่ยว กินเหล้าหยำเป คนสุดท้องเป็นผู้ชาย คนนี่แหละที่ขุนเสนาราชรักมาก เพราะเป็นคนอยู่ในโอวาท อ่อนน้อม ขยันขันแข็งในการทำมาหากิน ที่นาต่างๆ ก็ให้ช่วยดูแล ให้เขาเช่าทำนา ช่วยซื้อข้าวเปลือกเพื่อขายต่อ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    ต่อมาลูกชายทั้งสองก็แต่งงานมีครอบครัวไป ลูกสาวและลูกชายคนโตก็อาศัยใบบุญของพ่อและแม่ไปเรื่อยๆ ไม่มีการทำมาหากิน ถือว่าพ่อแม่มีทรัพย์สมบัติ ไม่ยากจน ก็ไม่อดตาย ทีแรก ขุนเสนาราชมีลูกชายอยู่ 2 คน คนเล็กยังไม่เกิด เห็นว่าทรัพย์สมบัตินี่คงจะไม่จีรังแน่นอนแล้ว และลายแทงนี่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะรับกันต่อๆ ไม่อาจจะรู้แท้แน่นอน ขุนเสนาราชจึงแบ่งเอาทรัพย์สมบัติจำนวนมาก และลายแทงไปฝังที่ใต้ฐานเจดีย์ดังกล่าว ฝังไว้ตั้งแต่ลูกคนเล็กยังไม่เกิด ต่อมาก่อนมีลูกคนสุดท้อง ขุนเสนาราชทำบุญให้ทานมากขึ้นๆ พร้อมกันก็ขอให้ได้ลูกที่ดี มีบุญ ฉลาดในการหาและครอบครองทรัพย์ ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม ก็ได้บุตรชายคนเล็กนี่แหละมา เลี้ยงมาจนโตให้เล่าเรียนตามความรู้ในสมัยนั้น พออายุครบบวชก็ให้บวช พอสึกหาลาเพศแล้วขุนเสนาราชก็หาภรรยาให้ จนลูกชายคนเล็กมีบุตรชาย อายุหลานได้ 2 ขวบ ขุนเสนาราชก็ถึงแก่กรรม โดยที่ยังไม่ทันบอกอะไรๆ แก่ลูกสักคน ว่าตัวเองฝังทรัพย์ไว้ที่ใด เอาลายแทงใส่ไว้ที่ไหน[/FONT]

    [FONT=&quot]
    เมื่อขุนเสนาราชถึงแก่กรรมแล้วไม่นาน ก็เกิดแก่งแย่งสมบัติกัน ในที่สุดก็ต้องขายที่นาที่มีอยู่ทั้งหมดจำนวนหลายร้อยไร่ แต่น้องชายคนเล็กไม่ได้อะไรเลย พี่สาวกับพี่ชายเอาหมด และที่สุด บ้านที่อยู่ที่อำเภอเสนาก็ต้องจำนำจำนองเขาหลุดไป แล้วทุกคนก็กระจัดกระจายแตกแยกกันไป โดยน้องชายคนเล็กเอามารดาไปอยู่ด้วย ที่อำเภอผักไห่ ทำมาหากินเลี้ยงลูกเมียเลี้ยงแม่ต่อไป ฐานะก็ดีขึ้นๆ ตรงกันข้ามกับพี่สาวและพี่ชายที่ทรัพย์สมบัติหมดตัว ยากจนแทบไม่มีจะกิน ต่อมาคืนวันหนึ่ง ลูกชายคนแรกของเขา ซึ่งโตอายุได้สัก 10 ขวบ เห็นจะได้ นอนหลับไป แล้วก็ฝันเห็นชายชราคนหนึ่ง ผมดอกเลา หนวดขาวๆ หนวดขาวๆ นุ่งโสร่ง เสื้อคอพวงมาลัย มีผ้าขาวม้าคาดพุง เดินมาหาแล้วเอามือลูบศีรษะ แล้วพูดว่า............... “อายุมั่นขวัญยืน ปู่เอาของไว้ให้หลาน จะได้มีกินในภายหน้า ของอยู่ที่เจดีย์เล็ก ทิศเหนือของเจดีย์ใหญ่ ในวัดใหญ่ชัยมงคลของนี้เป็นแก้วแหวนเงินทอง มีค่ามาก ปู่ให้เจ้า ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นสมุดข่อยลายแทงขุมทรัพย์ที่เขาช้างเผือก ที่สังขละบุรี เมืองกาญจน์ เอามาเก็บไว้ถ้าใครมีบุญถึงเอาลายแทงนี้ไปขนเอาแต่อันตรายมากนะ ที่จะไปน่ะ มันอยู่ในดงดิบ ในป่า สิงสาราสัตว์ร้ายๆ มาก แล้วมีโขมดหัวขาด 2 ตน ที่พม่ามันฟันคอไว้ในถ้ำ” “โขมดนี้ เฝ้าขุมทรัพย์นี้อยู่ ทำอันตรายคนมามาก ใครไปขนทรัพย์นี้ไปขุดค้น ถ้าบุญไม่ถึง ไม่ใช่เจ้าเข้าเจ้าของเก่า หรือเชื้อสายของเจ้าของเก่าเป็นตายทุกคน แม้แต่พระธุดงค์ ไปเห็นเขัา เกิดความโลภอยากได้ ก็ถึงแก่มรณะทุกรูป[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ใกล้ขุมทรัพย์ จะเห็นโครงกระดูกมนุษย์กองอยู่มากหลายกองเป็นกระดูกของคนที่ตายในถ้ำนี้ทั้งนั้น ทั้งนี้โดยฤทธิ์ของโขมดคู่นั้น แต่ที่ปู่ให้หลาน นั้นเป็นของปู่ เอาไปบอกพ่อเขาขุดเอาเถิด” แล้วชายชรานั้นก็ค่อยเลือนๆ หายไป รุ่งเช้า เด็กคนนี้ก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อเด็กรู้สึกแปลกใจมากเพราะบิดาของเขา ขุนเสนาราชนั้น ปกติอยู่บ้านก็จะนุ่งโสร่ง ใส่เลื้อคอกลมพวงมาลัย มีผ้ายี่โป้คาดเอวอย่างนี้ แต่ว่าขุนเสนาราชถึงแก่กรรมนั้นอายุของลูกชายตนพึ่งจะได้ 2 ขวบ จำความอะไรไม่ได้ เหตุไรจึงพูดถูกต้องในลักษณะอาการของคุณปู่ ก็เกิดความสงสัย ในที่สุด โอกาสก็มาถึง เขาได้รวบรวมเพื่อนไว้หลายคน ไปดูลาดเลาไว้ตั้งแต่ตอนกลางวัน พอค่ำลงก็ถือคบถือใต้ไปขุดกรุกัน ก็ตรงไปที่เจดีย์เล็ก ขุดกันทางทิศเหนือก่อน ก็พบผอบสมบัติจริงๆ ในนั้นมีทอง มีเพชรนิลจินดามากมายอยู่ 1 ผอบ แล้วมีหนังสือเขียนไว้ในผอบว่า “ของนี้ของขุนเสนาราช ขอให้แก่หลาน คนที่ไม่ใช่หลานอย่าเอาไป จะพบกับภัยวิบัติ ถ้าหลานได้ไปแล้ว จงทำบุญสร้าง ปฏิสังขรณ์วัดใดก็ได้ให้ปู่ด้วย” พร้อมกันก็ได้ขุดใต้เจดีย์ทางทิศตรงกันข้ามอีกแห่งหนึ่ง ก็พบผอบอีกผอบหนึ่ง ในผอบมีกระบอกไม้ไผ่อุดหัวอุดท้ายไว้ เมื่อเปิดออกดูก็พบสมุดข่อยมีแผนที่วาดไว้ มีหนังสือกำกับว่า “ถ้ำเขาหัวช้างสังขละ เมืองกาญจน์” มีเครื่องหมายที่เก็บมหาสมบัติไว้ด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ทั้งหมดนี้ คณะขุดใช้เวลาขุดเพียงค่อนคืนก็เสร็จ แล้วนำกลับบ้านเจ้าของบ้านได้จุดธูปเทียนบูชาพ่อ คือขุนเสนาราช แล้วยกผอบนั้นให้บุตรชาย จากนั้นเหมือนกับมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น คือลูกชายเกิดอาการตัวสั่นแล้วพูดด้วยเสียงอันดังห้าวๆ ว่า “เออ..... ดีแล้ว ให้เด็กมันไป แล้วเอ็งไปทำบุญซ่อมแซมวัดให้ปู่นะ ส่วนพวกที่ไปด้วยก็ให้รางวัลมันไป” แล้วเด็กก็ล้มลง หลับสนิท พ่อของเด็ก ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของขุนเสนาราช ก็ประคองลูกเอาน้ำลูบๆ หน้า สักพักก็ฟื้น เมื่อเด็กฟื้นขึ้นมาแล้ว ก็ช่วยกันเปิดผอบ แล้วเด็กก็หยิบแหวนเพชรและทองคำออกมากองไว้ พ่อของเด็กและพรรคพวกก็ตกตะลึง ที่เห็นทรัพย์สินมีค่ามากมายเช่นนั้น และแล้วเด็กชายนั้นก็หยิบของมีค่าเหล่านั้นออกมา แบ่งเป็นกองเล็กๆ 4 กอง กองที่ 5 เป็นกองใหญ่ กองใหญ่นี้ก็ไม่ใหญ่กว่ากองย่อยๆ เท่าไรนัก[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ชั่วในขณะนั้น ที่นั่งกันอยู่บนเรือน 6 คนก็ต้องตะลึงอีกครั้ง เมื่อเห็นงูตัวใหญ่ ตัวหนึ่ง จะว่างูหลามหรืองูเหลือมก็ไม่ใช่ เพราะสีแดงจัดไปทั้งตัวได้เลื้อยเข้ามาหาคนที่นั่งแบ่งสมบัติกันอยู่ พอเลื้อยมาถึงก็เข้ามาในวงแล้วเอาหางกวาดทรัพย์สมบัติมากองไว้เป็นกองเดียว จากนั้นก็เอาหางปัดๆ สมบัติออกเป็นอีก 4 กองเล็กๆ มีแหวน สายสร้อย เครื่องประดับทองคำ อย่างละนิด อย่างละหน่อย เมื่อแบ่งเป็นกองๆ เสร็จแล้ว ก็เอาหางเขี่ยกองเล็กๆ นั้นไปกองข้างหน้าของคนที่ร่วมขุดกรุคนละกองๆ ส่วนกองใหญ่นั้น งูเอาหางกวาดมากองหน้าตักเด็กชายผู้เดียวแล้วก็ค่อยๆ เลื้อยหายไปทางบันไดหลังบ้าน[/FONT]

    [FONT=&quot]
    พอหายตะลึงกันแล้ว ลูกชายของขุนเสนาราชก็พูดออกมาด้วยความเชื่ออย่างแน่นอนว่า “งูนั้นคือขุนเสนาราชพ่อของตน” เขาก็ไปจุดธูปเทียนบูชาพ่อทันที[/FONT]

    [FONT=&quot]
    การแบ่งทรัพย์สมบัตินั้นลงตัวไม่มีปัญหาอะไร ทุกคนต่างก็พอใจ แล้วก็ไหว้กราบขุนเสนาโดยพร้อมกัน ทีนี้ถึง สมุดข่อยที่มีลายแทงในกระบอกไม้ไผ่ ทั้ง 4-5 คน ต่างก็หมดปัญญาที่จะไปค้นหา ไม่มีปัญญาที่จะเข้าไปถึงในป่าเมืองกาญจน์ ก็เลยตกลงกันในขั้นแรกว่า “ให้เอาเก็บไว้ก่อนจะค่อยหารือกันต่อไป” จนวันหนึ่ง ทุกคนมาพบกันอีก ก็ได้ปรึกษาหารือกัน แล้วก็มีความเห็น 2 อย่างคือ ความเห็นแรก ให้ระงับ ไม่ไปค้นหา แล้วเอาสมุดข่อยบรรจุอย่างเดิมในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเอาไปฝังไว้ที่เจดีย์เก่าที่ไปขุดเอามา อีกความเห็นหนึ่ง ให้พยายามรวบรวมผู้คน สมัครพรรคพวกไปขุดค้นเอามา โดยเหตุผลที่ว่า สมบัติเหล่านีเป็นของปูย่าตาทวดของเขา พม่าเป็นผู้มาราวีเอาไป เขาก็น่าจะมีสิทธิ์ เมื่อไรได้มาแล้ว จะเอาส่วนหนึ่งไปบำรุงวัดวาอาราม ศาสนสถานที่ทรุดโทรมจากการทำลายล้างของข้าศึก[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ในที่สุด ฝ่ายหลังนี่ชนะ ก็ตกลงจะไปขุดค้นกันที่ถ้ำสังขละ เขาหัวช้างเทือก เขาตะนาวศรี ที่ติดกับพม่าโน่น ทุกคนทราบว่า หลวงพ่อท่านออกธุดงค์ไปทางเมืองกาญจน์บ่อยๆ ท่านน่าจะรู้จักถ้ำนี้ หรือระแวกนี้ ควรจะไปนมัสการถามท่านว่า การเดินทางจะไปทางไหน ที่สะดวกที่สุด ถ้ำนี้มีจริงไหมและน่าจะมีขุมทรัพย์จริงหรือไม่ พวกเหล่านี้ 4 คน จึงมานมัสการหลวงพ่อแล้วเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นให้ท่านฟังโดยละเอียดตั้งแต่ ขุนเสนาราชฝังสมบัติไว้ตั้งใจจะให้หลานชาย หลานชายฝันเห็นแล้วไปขุดจนได้สมบัติ ได้ลายแทง ขณะแบ่งก็มีงูใหญ่มาช่วยแบ่ง สุดท้ายก็ลายแทงนี้แหละ ที่เป็นปัญหา
    ด้วยการบอกเล่าของเขา หลวงพ่อท่านจึงได้ทราบเรื่องการขุดเจดีย์และขุดกรุวัดใหญ่ชัยมงคลและทราบความประสงค์ของเขา ท่านจึงตอบว่า[/FONT]

    [FONT=&quot]
    “ถ้ำนี้มีอยู่ อยู่ที่เขาหัวช้าง หรือหัวช้างเผือก ปากถ้ำมีหินก้อนใหญ่วางอยู่บนหิน วางอยู่หมิ่นๆ อาจจะหลุดเลื่อนลงมาปิดปากถ้ำเมื่อไรก็ได้ การเดินทาง เดินได้ด้วยความยากลำบากต้องมีเสบียงไปให้พอ และละแวกนั้นมีสัตว์ป่าร้ายๆ อยู่มาก ในถ้ำนั้นสวยงามมาก เดินเข้าไปลึกๆ จะมีโครงกระดูกมนุษย์กองอยู่หลายกอง แปลว่ามีคนมาตายที่นี่หลายคน ถัดไปมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีคนเข้ามาทำอะไรในนี้”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] แล้วท่านก็เล่าเรื่อง หลวงพ่อฤๅษี ที่ถ้ำนี้ให้ฟังว่า ท่านเป็นนักบวชที่สำเร็จแล้ว ท่านเล่าให้ฟังถึงการที่มีพม่า หลบเข้ามา แล้วเอาสมบัติมาฝัง พอฝังเสร็จก็ตัดหัวคนไทยเชลยที่เขาเอามาใช้แรงงาน แล้วเลยกลายเป็นโขมดเฝ้าทรัพย์อยู่ในถ้ำนั้น โขมดก็คือ ผี นั่นเอง ผีที่ยังไม่ไปเกิด มีแต่ความแค้นอาฆาตคนที่ปล้นคนที่ฆ่าเขา ฉะนั้น ถ้าใครเข้าไปในถ้ำ มีเจตนาจะไปเอาทรัพย์สมบัติแล้วละก็.... ตายหมู่ 1 ตายอย่างไรไม่ทราบ ท่านฤๅษี บอกว่า เข้าไปนะเข้าได้ แต่ไม่ได้ออกมา แต่ถ้าเป็นพระธุดงค์ทรงศีล เข้าไปปฏิบัติธรรมก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าเผอิญเห็นทรัพย์สมบัติเข้าแล้วเกิดโลภอยากได้ขึ้นมา ก็จะตายทันทีทุกราย ยกเว้นหลวงพ่อเข้าไปอยู่ตั้ง 7 วัน ไม่เห็นมีอะไร ก็สงบ เยือกเย็น สบายดี คนเหล่านั้นได้ฟังแล้วก็นิ่ง ต่างคนต่างคิดตรึกตรองกัน ในที่สุดก็ตัดสินใจไม่ไปยังถ้ำที่ว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]
    ที่นี้ลายแทงล่ะ ! จะทำอย่างไร ? ก็ตกลงกันว่า ควรเอาไปเก็บไว้ที่กรุใต้เจดีย์เดิมที่ขุดออกมา ลูกชายของขุนเสนาราช ได้รวบรวมพรรคพวก ทำพิธีบรรจุลายแทงไว้ ณ ที่เดิม[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ในเวลาต่อมา ก่อนที่จะเก็บลายแทงไว้ใต้เจดีย์อย่างเก่า มีคนหนึ่งในจำนวน 4 คนนี้ ขอลอกเอาลายแทงนี้เพื่อเอาไว้ดู และเผื่อว่าถ้ามีโอกาส มีกำลังพอเมื่อไร อาจจะไปยังถ้ำเขาหัวช้างที่สังขละบุรีก็ได้ ซึ่งก็ไม่มีใครขัดข้องอะไร สรุปว่าในตอนนั้น มีลายแทงมหาสมบัตินี้ 2 ชุด ชุดหนึ่งอยู่เจดีย์เล็ก ที่วัดใหญ่ชัยมงคล อีกชุดหนึ่งอยู่ที่พรรคพวกของลูกขุนเสนาราช “แต่ต่อมาไม่ทราบว่าเจดีย์เล็กนี้ได้ถูกลักขุดอีกครั้งหนึ่ง ลายแทงนั้นก็หายไป” เราได้ฟังเรื่องที่ท่านเล่าด้วยความตื่นเต้น ในสมัยนั้นน่ะ ผมเองก็อยากเห็นเทวดาออกจะตาย รุกขเทวดา นางฟ้า อะไรก็ได้ อยากเห็นทั้งนั้น แต่ผี ไม่ว่าจะเป็นโขมด หรืออะไร ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็นทั้งสิ้น เพราะมันคงน่ากลัวมากกว่าน่าดู ยิ่งหลวงพ่อท่านบอกว่า อยู่ในถ้ำในป่าก็มีอาหารฉัน เหมือนมีคนมาใส่บาตร แต่มองเขาไม่ได้ พูดกับเขา ถามเขาไม่ได้ทั้งสิ้น ผมน่ะเชื่อว่าต้องไม่ใช่คนแน่ๆ ที่มาใส่บาตรท่าน แต่จะเป็นอะไรท่านบอกว่าคิดเอาเอง คิดเท่าไหร่ๆ มันก็ออกมาว่า เป็นเทวดาที่สถิตอยู่แถวๆ นั้น เช่น รุกขเทวดา เจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา เป็นไปได้ทั้งนั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]
    อีกเรื่องหนึ่งที่เราติดใจ คือเรื่องท่านฤๅษี ที่ตาคนแจวเรือบอกว่า “มักจะมาหาหลวงพ่อในวันหลังวันพระ แล้วมาอยู่คืนสองคืนแล้วก็กลับ” เราก็เลยกราบเรียนถามท่านถึงเรื่องท่านฤๅษีว่า ท่านชื่อว่าอะไร เป็นคนที่ไหน อายุร้อยกว่าจริงหรือไม่ และเวลาท่านมาหาหลวงพ่อ ท่านมาอย่างไร แล้วขุมทรัพย์ในถ้ำนั้นยังอยู่หรือไม่ หรือว่ามีใครมาขุดค้นเอาไปแล้ว ฯลฯ หลวงพ่อ ท่านเล่าให้ฟังว่า..... ท่านฤๅษีนี้ชื่ออะไรไม่ทราบ แต่หลวงพ่อท่านเรียกว่า ท่านฤๅษี รูปร่างหน้าตาก็เหมือนคนมีอายุราวๆ สักหกสิบเจ็ดสิบ แต่แข็งแรงมาก ก็อย่างที่เล่าให้เจ้าคุณพ่อฟังนั่นแหละ คือท่านปฏิบัติมากจนสำเร็จ ท่านเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์และอิทธิต่างๆ อาทิ เช่น ท่านมีญาณทราบล่วงหน้า ท่านทราบอดีต และอนาคต แต่ท่านไม่พูดถ้าไม่ถาม ท่านรู้วาระจิตของคนและสัตว์ ท่านจึงไม่ถูกกระทำร้ายใดๆ ท่านมีเมตตาสูง ถ้าท่านเดินอยู่ในป่า เสือช้างยังหมอบนอนให้ท่านผ่านไป ไม่เคยทำอันตรายท่านเลย ท่านเดินได้เร็วมาก แควใหญ่ๆ หรือแม่น้ำขวางอยู่ ท่านไม่ต้องลงเรือ แต่ท่านเดินไปบนน้ำยังงั้นแหละ หลวงพ่อเคยถามท่านว่า “ที่มาหาที่วัดนี้น่ะ ท่านออกเดินทางจากหน้าถ้ำที่ท่านบำเพ็ญเพียรเมื่อไหร่ เดินมาอย่างไร”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ท่านฤๅษีก็เล่าให้ฟังว่า “จากถ้ำสังขละ มานี่ออกเดินทางแต่เช้าเดินไปพักไป มาถึงวัดนี้ก็เย็น” แต่ทั้งนี้ท่านจะพักเสียหน่อย พอให้ตะวันพลบค่ำเสียก่อน ท่านจึงจะมาที่วัด ที่เป็นดังนี้ เพราะท่านไม่อยากจะพบใครมากนัก บางทีท่านต้องใชัวิชากำบังกายไม่ให้ใครเห็น เพราะคนมักจะรบกวนท่าน” หลวงพ่อท่านบอกว่า การเดินทางด้วยเท้านี่ กว่าจะไปถึงเมืองกาญจน์ ลัดเลาะไปตามป่าตามเขา ก็กินเวลาเกือบเดือน ต้องนอนค้างอ้างแรมในป่า แต่ที่ท่านฤๅษีเดินทางมานั้น ใช้เวลาวันเดียวที่จริงก็ไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้เพราะท่านย่นแผ่นดินได้ ระยะไกลก็เหมือนใกล้ เราก็กราบเรียนถามท่านว่า “ที่เรียกว่า ย่นแผ่นดินนั้น คืออะไร ทั้งภูเขา ทั้งแม่น้ำจะย่นเข้ามาหากันอย่างไร”
    หลวงพ่ออมยิ้มแล้วบอกว่า.......... “โบราณเขาเรียกอย่างนั้น ที่จริงท่านมีอิทธิฤทธิ์ ท่านไม่ได้ย่อย่นแผ่นดินมารวมกันหรอก แต่ท่านใช้วิธีก้าว ซึ่งก้าวของท่านยาวมาก ยาวเท่าที่ต้องการ ก้าวทีหนึ่งอาจจะหลายๆ เส้น หรือเป็นโยชน์ก็ได้ ถ้าท่านจะทำแล้วท่านก้าวเร็วมาก ก็อย่างองคุลิมาล ที่วิ่งตามพระพุทธเจ้านั่นยังไง พระพุทธเจ้าท่านเสด็จไปตามธรรมดา แต่ท่านย่นแผ่นดิน ก้าวหนึ่งของท่านก็เท่ากับระยะทางเป็นเส้นๆ องคุลิมาลวิ่งจนหอบ วิ่งเท่าไรๆ ก็ไม่ทัน นี่เป็นตัวอย่าง ท่านที่สำเร็จแล้วท่านอาจจะทำอะไรๆ นอกเหนือคนธรรมดา เช่น คนที่มีอิทธิฤทธิ์ ย่อมเหาะเหินเดินอากาศได้ ท่านฤๅษีเดินในอากาศ บนผิวน้ำได้สบาย แลดูเหมือนกับเดินไปบนผิวน้ำ หรือน้ำกลายเป็นของแข็งๆ ให้ท่านเดินไปบนผิวซึ่งไม่ใช่..... ที่จริง ท่านเดินบนอากาศ เตี้ยๆ ต่ำๆ บนผิวน้ำต่างหาก การที่ทำอะไรรวดเร็วอย่างนี้ บางคนในสมัยก่อนเรียกว่า สำเร็จปรอท แต่ท่านฤาษีไม่สำเร็จปรอทอย่างที่คนเล่นแร่แปรธาตุเชื่อกัน ท่านไปได้ด้วยผลแห่งพลังจิตของท่านเองต่างหาก”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] เรากราบเรียนถามท่านว่า “ท่านฤๅษีมาหาบ่อยไหม”
    หลวงพ่อตอบว่า “ไม่บ่อย มาเมื่อไหร่ไม่แน่ แต่เวลามา ท่านมาแบบคนธรรมดา นั่งเรือแจวข้ามคลองมาเหมือนกัน เวลามาก็มานั่งคุยกันสนทนาธรรมปฏิบัติกัน ก็เท่านั้น”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ส่วนเรื่องขุมทรัพย์ในถ้ำนั้น ไม่เห็นท่านฤาษีเล่าว่ามีใครไปขุดค้นเอาไปหรือยัง คงจะยาก เพราะโขมด 2 ตน ที่เฝ้าอยู่นั้นดุร้ายมาก ใครเข้าในถ้ำ ถ้ามีจิตคิดโลภ อยากได้ทรัพย์สมบัติเป็นตายทุกราย ไม่เห็นใครรอดเพราะทรัพย์สมบัตินี่ พูดไปแล้วมันก็เป็นของบ้านของเมือง ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เพราะตอนที่พม่ากวาดเอาไปนั้น ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีเจ้าของ มันก็เป็นของกลาง คนที่โลภอยากได้ก็มีอันเป็นไปทุกที ก็คิดว่าของนั้นคงยังอยู่ ผมกราบเรียนถามท่านอีก ถึงเรื่องงู ที่มาแบ่งทรัพย์สมบัติของขุนเสนาราชว่า “เป็นไปได้อย่างไร” หลวงพ่อท่านตอบว่า “เรื่องนี้เคยมีก็เล่ากันมานานแล้ว ว่าเศรษฐีคนหนึ่งที่เมืองกำแพงเพชรตาย สมบัติมากมายยังไม่ได้แบ่งให้ลูกหลาน เมื่อเสร็จการศพแล้ว ลูกหลานก็มาประชุมกัน เพื่อแบ่งทรัพย์สมบัติ คนพี่ก็อยากจะได้มากๆ คนน้องๆ ก็ไม่ยอม หลานที่อยู่ด้วยก็ไม่ได้ ก็ทะเลาะกัน เศรษฐีนั้นมีภรรยาหลายคน ลูกก็หลายคน ขณะที่ถกเถียงกันอยู่ จวนเจียนจะวิวาทกันอยู่แล้ว ก็ปรากฏว่ามีงูเหลือมตัวใหญ่ตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาในวงแบ่งสมบัติของเศรษฐี นั่น ทุกคนที่นั่งอยู่ก็หนี ลุกขึ้นหมด งูใหญ่ตัวนี้ก็กวาดเอาทรัพย์สินรวมกันเป็นกองโต จากนั้นก็เอาหางแบ่งออกเป็นกองๆ หลายกองพวกลูกหลานก็นั่งลงมอง งูก็ไม่ทำอะไรใคร แต่เอาหางค่อยๆ กวาดทรัพย์สมบัติมากองไว้ที่หน้าตักลูกหลานคนละกองๆ ลูกคนเล็กได้มากกว่าเพื่อน ทุกคนได้ทรัพย์สินถ้วนหน้ากัน แล้วก็เลื้อยไป พวกลูกหลานและภรรยาทั้งหลายก็รับเอาทรัพย์สมบัติที่แบ่งให้ โดยไม่โต้แย้งกัน เรื่องก็ยุติ (คุณทวด..... (ผู้เขียน) ก็เคยเล่าให้ฟังอย่างนี้ และท่านห้ามลูกหลานเหลนทุกคนทำร้ายงูทุกชนิด เพราะต้นๆ ตระกูลของท่านมีเรื่องแบบนี้เหมือนกัน คุณทวดผม นามสกุลเดิม ศรีเพ็ญ เมื่อท่านถึงแก่กรรมนั้น อายุหนึ่งร้อยกับหนึ่งปี) เพราะเชื่อกันว่า งูนั้นคือเศรษฐีที่ถึงแก่กรรมไป ผมกราบเรียนถามท่านว่า “ก็เศรษฐีเพิ่งตายไปไม่เท่าไหร่ ทำไมจึงเกิดเป็นงูเหลือมตัวใหญ่อย่างนั้น ตามธรรมดางูจะใหญ่ขนาดนั้นก็ต้องมีอายุหลายๆ ปี” หลวงพ่อท่านตอบว่า “งูเหลือมนั้นคงไม่ใช่ตัวเศรษฐีที่ตาย แต่วิญญาณของแกอาจไปสิงอยู่ในตัวงู ด้วยจิตที่ผูกพันกับสมบัติของตนที่ยังไม่ได้จัดสรร วิญญาณจึงอาศัยร่างของงูมาทำธุระเรื่องนี้ก็ได้กระมัง”
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ผมก็ฟังด้วยความพิศวงอีก ที่เผอิญเรื่องที่ฟังจากหลวงพ่อมาตรงกับเรื่องที่ฟังจากคุณทวดผมพอดี แต่นั่นก็หลายปีมาแล้ว ผมฟังเรื่องจากคุณทวดมานานกว่า 50 ปี แล้ว พอๆ กับที่ฟังเรื่องจากหลวงพ่อมันก็น่าคิดนะครับ ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร
    เมื่อจบเรื่องนี้ หลวงพ่อท่านก็กรุณาบอกว่า............
    “เรื่องอิทธิฤทธิ์นี่มีจริง ผู้ใดบำเพ็ญตนอยู่ในศีล ปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่สม่ำเสมอ ฝึกฝนจิตจนบังคับได้ ผู้นั้นก็จะมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ก็ตามที่ต้องการ ฉะนั้นเรื่องต่างๆ ที่คนโบราณเล่าว่า อยู่ยงคงกระพัน ล่องหน กำบังตน เนรมิตร่างกายไปในรูปต่างๆ นั้น มีจริง ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล ที่เราไม่เคยเห็นไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ หรือเราไม่เชื่อนั้นเป็นเพราะเราเข้าไม่ถึงท่านต่างหาก ก็เหมือนเต่ากับปลาในคู เต่านั้นขึ้นมาบนบกได้ ปลาขึ้นไม่ได้ เมื่อเต่าขึ้นมาบนบก แลเห็นฟ้า เห็นเมฆ เห็นคน เห็นสัตว์ต่างๆ บนบกมากมาย พอลงไปในน้ำก็มาเล่าสิ่งแลเห็นให้ปลาฟัง ก็ปลามันไม่เห็น มันขึ้นไม่ถึง ขึ้นมาบนบกไม่ได้ ปลาก็ไม่เชื่อ[/FONT]

    [FONT=&quot]
    ข้อนี้ฉันใด เราก็เปรียบเหมือนปลา ไม่เคยเห็นของบนบก ก็คงไม่คิดว่ามี ไม่คิดว่าเป็นไปได้ฉันนั้น ต่อเมื่อผู้นั้นบำเพ็ญความเพียรปฏิบัติธรรมจริงๆ แล้ว ผู้นั้นก็เห็นเองว่าสิ่งไรมี...... ไม่มี สิ่งไรจริง..... ไม่จริง[/FONT]

    [FONT=&quot]
    เพราะฉะนั้น เมื่อเรายังไม่มีความสามารถขนาดนั้น ก็ฟังๆ ไว้ก่อน พระท่านว่าไม่ขาดทุน”
    เราก็กราบนมัสการท่านแล้วลากลับ และดีใจที่ได้ฟังเรื่องแปลกๆ ที่ไม่คิดว่าจะได้ยิน ไม่คิดว่าจะมี ก็ได้ฟัง ก่อนจะกลับท่านก็บอกว่า
    “คนเราเกิดมานี่ มาใช้กรรม มารับกรรม จะเป็นกรรมดีหรือเลวก็สุดแต่กรรมที่ประกอบไว้ กรรมนั้นน่ะมันไม่หนีไปไหน พระพุทธเจ้าพระองค์จึงตรัสว่า เราประกอบกรรมใด ผลแห่งกรรมนั้นย่อมติดตามเราไป เหมือนล้อเกวียนที่หมุนไปตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปฉันนั้น” หลังจากนั้นท่านได้นัดให้เราไปพบท่านอีกครั้งก่อนกลับกรุงเทพฯ เพื่อฟังเรื่องที่ท่านจะเล่าให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง “รอยกรรม” ซึ่งผมจะนำมาเรียบเรียงมาเสนอท่านในโอกาสต่อไป
    [/FONT]




    ที่มา: หนังสือ

    คำสารภาพของ “วิญญาณบาป”

    -------------------------------------------------
    http://palungjit.org/threads/ธรรมโอวาท-ของ-หลวงปู่มั่น-ภูริทัตตเถระ-เรื่อง-การพิจารณากาย.542343/
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" Name="header"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" Name="footer"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" Name="page number"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" Name="No List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0in 5.4pt 0in 5.4pt; mso-para-margin:0in; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...