วิญญานธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 28 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    [​IMG]
    ๒. สนิทานสูตร
    [๓๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล
    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ


    [๓๕๖]
    ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ
    ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
    ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม
    ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม
    การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ


    ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาทธาตุ
    ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท
    ความพอใจในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท
    ความเร่าร้อนเพราะพยาบาทบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท
    การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา
    ใจ

    ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
    ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในวิหิงสา
    ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา
    ความเร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา
    การแสวงหาวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือกาย วาจา ใจ ฯ


    [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้งถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้
    ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศฉิบหาย
    แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญา
    ที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ ฯ

    [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี
    เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสา
    วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ


    [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
    อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร


    ภิกษุทั้งหลาย
    ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ
    ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ
    ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ
    ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ
    การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ
    อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ

    ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาปาทธาตุ
    ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอัพยาบาท
    ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอัพยาบาท
    ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท
    การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท
    อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓คือ กาย วาจา ใจ

    ความหมายรู้ในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ
    ความดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอวิหิงสา
    ความพอใจในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา
    ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา
    การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ฯ


    [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบ
    บรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
    เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน
    เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้ ฯ

    จบสูตรที่ ๒
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ๒. สนิทานสูตร
    ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
    [๙๖]
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]


    ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร
    ๒. สนิทานสูตร
    ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
    [๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
    “ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตก
    มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
    กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น
    ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
    กามสัญญา(ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ กามสังกัปปะ
    (ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
    เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ กามปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้น
    เพราะอาศัยกามฉันทะ กามปริเยสนา(การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย
    กามปริฬาหะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง
    คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    พยาบาทสัญญา(ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุ
    พยาบาทสังกัปปะ(ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา ...
    พยาบาทฉันทะ(ความพอใจในพยาบาท) ... พยาบาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะ
    พยาบาท) ... พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท)
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
    ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
    วิหิงสาสังกัปปะ(ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ...
    วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อน
    เพราะความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน)

    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
    ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
    หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า
    และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ
    พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล-
    สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ
    อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
    เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
    อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
    อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
    เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง
    เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
    เป็นอย่างไร
    คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น
    เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
    เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
    เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา
    ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด
    ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ...
    อพยาบาทปริเยสนา
    อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง
    คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๓}
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]


    ๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร


    อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น
    เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ
    อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
    อาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสาปริเยสนา ย่อม
    ปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
    เขารีบดับคบหญ้านั้นด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัย
    หญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะ
    หรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
    อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี
    ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวัง
    สุคติได้”
    สนิทานสูตรที่ ๒ จบ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ๑. อนิจจลักษณะ มี ๑๐ ประการ (ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูป-นาม)

    ๑. อนิจจโต พิจารณาโดย ความไม่เที่ยง

    ๒. อธุวโต "-------------" ความไม่ยั่งยืน

    ๓. อสารโต "-------------" ความไม่มีแก่นสาร

    ๔. จวโต "-------------" ความเป็นของเคลื่อนไหว

    ๕. ปุโลกโต "-------------" ความเป็นของแตกดับ

    ๖. วิปริณามโต "-------------" ความเปลี่ยนแปลงกลับกลอก

    ๗. มรณธัมมโต "-------------" ความเป็นธรรมเพื่อความตาย

    ๘. วิภาวโต "-------------" ความเป็นของฉิบหาย

    ๙. สังขโต "-------------" ความต้องปรุงแต่งเนืองๆ

    ๑๐. ปภังกุโต "--------------" ความต้องแตกกระจัดกระจาย
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ว่าด้วยเรื่องโยนิโสมนสิการ ดำหริในวิตกละวิตก(กามวิตก เนขัมมะวิตก ) ก้ต้องยกพระสูตรนี้ที่ท่านแสดงไว้ได้ชัดเจน จริงๆแล้วผมพระสูตรไว้ให้เป็นลำดับแล้วทุกพระสูตร
    พระพุทะเจ้าท่านแสดงไว้แล้วดีแล้วทุกประการ ต้องรู้ไปให้ลึกว่า เกิดเพราะอะไรดับเพราะอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2018
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    มองทางกิริยาแล้ว ส่วนตัวไม่ได้เห็นว่า
    มันเป็นในส่วนของวิญญานธาตุนะครับ
    จากบทความ จะเป็นส่วนของตัว
    วิญญานการรับรู้ ที่เป็นอาการอย่างหนึ่งของจิต
    (นึกออกไหม พอมันมีผัสสะเกิดขึ้น ตัววิญญานตัวนี้
    มันเลยทำงาน ก็เลยกลายเป็นก้อนกลมๆ ที่เราเรียก
    ว่าดวงจิต หรือ ดวงวิญญาน หรือ บางคนเรียกจิตนั่นหละครับ)
    ซึ่งมันส่งออกมาจากจิตแล้ว เพียงแต่ว่ากลับไปค้น
    เหตุแห่งการเกิด ที่มันได้ปรุงไปแล้วนั่น
    ซึ่งเป็นอุบายสำหรับการไประดับปัญญาญานครับ.....


    ถ้าวิญญานธาตุในความเข้าใจส่วนตัว
    จะหมายถึงตัววิญญานที่มันส่งออกจากจิตเช่นกัน
    แล้วไปสร้างเป็นภาพ ทั้งมีสีและไม่มีสีขึ้นมาให้เราเห็นได้ทั้งภายนอกและเห็นได้ทั้งภายใน ไม่ว่าจะหลับตาเห็น
    หรือลืมตาเห็นและ
    ไม่ว่า ภาพนั้นจะสร้างจากสัญญาที่มาจากภายในจิตเรา
    หรือสร้างร่วมกับกระแสที่มาจากภายนอกส่งเข้ามาครับ.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...