วิถีอนุตตรธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สตธศร, 21 มีนาคม 2010.

  1. สตธศร

    สตธศร Namo Amithapho

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,537
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บทที่ 3...ทำไมเราจึงต้องแสวงหา "สัจจธรรม"[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=menu>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    [/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%"><TBODY><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"เมื่อเกิดก็เลอะเลือน[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ไม่รู้ความเป็มา[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อตอนจะไปก็หลง[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ตายไปก็ไม่รู้ว่าไปไหน?[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เท่ากับเกิดมาไม่ได้อะไร[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เสียเที่ยวไปมาเปล่าๆ[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก่อนที่ฉันจะเกิด[/FONT][/FONT]
    </TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ใครคือฉัน[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลังจากเกิดตัว "ฉัน"[/FONT][/FONT]
    </TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แล้ว "ฉัน" คือใคร[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อเติบใหญ่[/FONT]
    </TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จึงได้รู้ "ตัวของฉัน"[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แต่ครั้นปิดตาเคลิ้มหลับไป[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก็กลับคิดอีก[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สู้ไม่เกิดมา[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ไม่ตายไป[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ไม่ต้องพาให้วิตก[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ต้องโศรกเศร้า"[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu> </TD><TD class=menu>

    พระอริยเจ้า ซุ่นจื่อ</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัจจธรรม คืออะไร?
    [/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=menu width="18%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัจจธรรม[/FONT]</TD><TD class=menu width="82%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อธิบายความตามตัวอักษรในภาษาจีน คำว่า "เต้า"
    หมายถึง "เส้นทาง" หรือ "วิถีทาง" ที่สรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ
    [/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=menu width="18%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัจจธรรม[/FONT]</TD><TD class=menu width="82%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ดูราวกับสิ่งเร้นลับพิสดาร และน่าประหลาดมหัศจรรย์ยิ่ง เราไม่อาจมองเห็น
    [/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=menu width="18%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัจจธรรม[/FONT]</TD><TD class=menu width="82%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่อาจจับต้องได้ แต่สามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยจิต
    [/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=menu width="18%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัจจธรรม[/FONT]</TD><TD class=menu width="82%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าความคิดเห็นของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกินกว่าจะคิดไปถึง เป็นสิ่งที่เกินกว่าจะใช้คำพูดและตัวอักษรมาอธิบายให้ชัดแจ้งได้
    "อนุตตรธรรม" เป็นสัจจธรรมที่สูงสุด
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"อนุตตรธรรม" เป็นนิรันดร
    เมื่อผืนฟ้าและแผ่นดิน ยังมิได้บังเกิดมีขึ้น ตลอดเวลาอันยาวนานที่ยังมิได้ปรากฏมีสิ่งใดๆ อนุตตรธรรมก็สถาปนาให้มีพร้อมอยู่แล้ว เมื่อครั้งที่จักรวาลได้แตกทำลายดับสูญไม่มีสรรพสิ่งใดเหลืออยู่ เมื่อนั้น "อนุตตรธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่ดำรงอยู่ ไม่มีสิ่งใดมาทำลายล้างอนุตตรธรรมให้ดับสูญไปได้ อนุตตรธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีวันหมดสิ้น อยู่เหนือกาลเวลาและมิติใดๆ

    "อนุตตรธรรม" เป็นผู้สร้างและผู้ควบคุม
    อนุตตรธรรม ได้สร้างสรรจักรวาลขึ้น แล้วในเวลาต่อมาก็นิรนามรูปวัตถุทั้งปวงให้เกิดมีขึ้น และบันดาลให้ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปโดยที่ "อนุตตรธรรม" นี้แฝงอยู่ในสรรพสิ่งนั้นๆ

    "อนุตตรธรรม" เป็นความบริบูรณ์
    สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้รับการสร้างสรรให้เกิดมีขึ้นโดย "อนุตตรธรรม" แต่เราไม่สามารถแลเห็นการกระทำของ "อนุตตรธรรม" การดำเนินงานของ "อนุตตรธรรม" นั้น ปราศจากความวุ่นวายโกลาหล ไม่มีสิ่งใดที่บกพร่อง "อนุตตรธรรม" ไม่ต้องการ "การเพิ่ม" หรือ "ลด"

    กล่าวโดยสรุป "อนุตตรธรรม" คือ วิถีทางแห่งความรู้อันสูงสุด เป็นหลักของเหตุและผล เป็นสัจจธรรมนั่นเอง ปกติมนุษย์เรียก "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ทุกๆ สิ่งในธรรมชาติไม่อาจดำรงอยู่หรือเป็นอยู่โดยปราศจาก "หลักสัจจธรรม" เพราะว่าทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมขึ้นอยู่และอาศัยสัจจธรรมทั้งสิ้น

    "สัจจธรรม" สถิตย์อยู่ทุกหนทุกแห่ง
    ในส่วนของ "ฟ้า" : "สัจจธรรม" เป็นผู้ควบคุม เป็นผู้ก่อให้เกิดการประสานกลมกลืน ในอนันตจักรวาลอันไพศาล
    ในส่วนของ "ดิน" : "สัจจธรรม" คือ หลักของภูมิศาสตร์ เป็นผู้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเป็นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เกี่ยวกับสสารก็คือ "ฟิสิกซ์" เป็นต้น
    ในส่วนของ "มนุษย์" : สัจจธรรม คือ หลักของจิตวิญญาณ เป็นจิตเดิมแท้ที่อยู่ในตัวมนุษย์

    โดยสภาวะที่ "ธรรม" แฝงอยู่ในร่างกายของเรา บันดาลให้เรามีชีวิตเป็นอยู่ได้ และดำเนินไปในแต่ละวันๆ โดยลำดับ เราเรียกสภาวะนี้ว่า "จิตวิญญาณ" "ความคิด หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี" นั่นเอง

    เหตุที่ "องค์ธรรมแห่งความสว่างสูงสุด" ได้ประทานจิตวิญญาณแก่เรา ดังนั้นเราจึงขนานนามสถาวะแห่งผู้มอบให้ว่า "พระองค์ธรรมมารดา" หรือพระอนุตตรธรรมมารดา พระองค์ คือ แสงสว่างแห่งแสงสว่างสูงสุด เป็นมารดาของทุกสรรพสิ่ง คือ เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล

    "ธรรม" อันเป็น "สัจจะ" คือ หลักความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเส้นทางเดียวเท่านั้น ที่มนุษย์เราแต่ละคนจะต้องดำเนินไป มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะก้าวเดินไปและจะต้องเดินไปด้วยตัวของตัวเอง

    ชีวิตของเราต้องดำเนินไปตาม "วิถีของธรรม" หรือ "วิถีธรรม" เปรียบเสมือน รถไฟที่ต้องแล่นอยู่บน "รางรถไฟ" เรือในทะเลต้องแล่นไปตาม "เส้นทางเดินเรือ" เครื่องบินก็ต้องบินไปตาม "เส้นทางบิน" หากเมื่อใด รถไฟ เรือ เครื่องบิน ไม่อยู่ใน "เส้นทาง" ของตน เมื่อนั้นก็จะเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

    เช่นเดียวกัน มนุษย์เราไม่ควรดำเนินไปบนทางที่เห็นแก่ตัว มีความคิดที่เต็มไปดวยการเอารัดเอาเปรียบ คิดถึงแต่ความต้องการของตัวเองเป็นใหญ่ ในทางที่ถูกแล้วมนุษย์จะต้องกระทำแต่ในสิ่งที่เป็นไปตาม "วิถีธรรม" นั่นก็คือมี "มโนธรรมสำนึก" และดำเนินชีวิตไปตามหลักธรรมของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ได้แก่รู้สำนึกบุญคุณของผู้มีพระคุณ กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา มีจิตใจซื่อตรงภักษีต่อบ้านเมืองยึดถือความสัตย์และอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้อาวุโส เป็นต้น

    แม้ว่า "อนุตตรธรรม" เป็นที่มาของมนุษย์ เป็นผู้ให้กำเนินจิตญาณดั้งเดิมของเราและ "จิตเดิม" ของมนุษย์เป็นสัญญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ความซื่อสัตย์เปี่ยมไปด้วยความจริงแท้ แต่ความเป็นอยู่และประสบการณ์ในโลกของวัตถุทั้งหลายได้ทำให้ "มโนธรรมสำนึกที่แท้จริง" ในตัวคนเราถูกบดบังและมืดมัวลง เพราะต่างถือคติว่า "ขอเพียงให้มีเงินมากินมาใช้ก็รอดตายได้แล้ว" (Only the fitness can survive) คนเราจึงหลงใหลใฝ่ฝันแสวงหาแต่วัตถุ และแข่งขันแย่งชิงเอาชนะกันอย่างฉกาจฉกรรจ์เพื่อความร่ำรวย อำนาจ และชื่อเสียงเกียรติยศ

    ในท่ามกลางการแก่งแย่งแข่งขัน นิสัยที่ไม่ดีต่างๆ ก็ผุดขึ้นมา มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความซื่อสัตย์จริงใจ โกรธ เกลียด อิจฉา ริษยา และหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ผู้คนมากมายสามารถก่ออาชญากรรม ขโมยและถึงกับฆ่าคนได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกลียดชังกันมาก่อน แต่เป็นเพราะเขาทนต่อวัตถุสิ่งของที่ล่อใจไม่ไหว อยากได้ อยากมีตามอย่างคนอื่นไม่รู้จักพอ ขาดการประมาณตนเอง มันเป็นเรื่องสลดใจอย่างยิ่ง! ที่พบว่า ผู้คนกระทำการทุกอย่างล้นตรงข้ามกับมโนธรรมของเขากำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เขาเหล่านั้นไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่ได้กระทำลงไป กำลังก่อภัยพิบัติ และความพินาศให้กับตัวเอง

    ขณะที่ผู้คนกำลังตกอยู่ในยุคที่ไม่มั่นคง นั่นคือ ยุคของ "นิวเคลียร์" ซึ่งสงครามโลก ครั้งที่ 3 จะนำวาระสุดท้ายมาสู่โลกของเรา โดยการวิเคราะห์ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้กล่าวว่า จำนวนของอาวุธนิวเคลียร์ ระเบิดปรมาณูที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้ในขณะนี้ หากเกิดระเบิดขึ้นมา จะมีอำนาจทำลายโลกนี้ ให้พินาศย่อยยับไปได้ถึง 25 ครั้ง

    จุดประสงค์ของการรับธรรมะ
    ดังนั้นจุดประสงค์ของการรับธรรมะ คือ ทำให้เราได้ตระหนักว่า "สรรพสิ่งในโลกนี้ไม่จีรังยั่งยืน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" และเราไม่ควรดิ้นรนไขว่คว้า แสวงหาแต่สิ่งที่ฟุ่มเฟือยเปล่าประโยชน์

    ขณะเดียวกัน เราก็จะสามารถล่วงรู้ถึงสาเหตุของภัยพิบัติทั้งหลาย ที่ได้อุบัติขึ้นว่า "แท้จริงศัตรูยิ่งใหญ่ที่คอยทำลายล้างมนุษย์ ก็คือ ตัวของมนุษย์เอง" เพราะการกระทำของมนุษย์นั่นแหละ ทำให้มนุษย์ต้องได้รับความทุกข์ยากลำบากและเคราะห์กรรมมากมาย

    จุดประสงค์ของการรับ "วิถีอนุตตรธรรม"
    (ทำไมต้องมารับวิถีธรรม)
    คำตอบก็คือ
    1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของ "ชีวิต"
    2. ค้นพบ "ตัวตน" ที่แท้จริงของชีวิต
    3. หลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด

    อธิบายความ
    1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของ "ชีวิต"
    คนเราแต่ละก็ต่างแปลความหมายของ "ชีวิต" แตกต่างกันไป แต่ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าทุกคนในที่นี้ คงจะยอมรับกันได้แล้วว่า ชีวิตในโลกนี้ไม่ใช่จะสุขสบายไปเสียทั้งหมด ในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ย่อมมีขึ้นมีลง และเราต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่ดีและไม่ดีทั้งหลาย แม้ว่าสำหรับคนที่ร่ำรวย ชีวิตอาจดูสุขสบาย แต่ก็ยังมีทุกข์อีกมากมายที่คนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้นแล้ว ในโลกนี้ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ชีวิตมีสภาพเหมือนตกอยู่ในนรก ดังเช่นผู้คนที่ได้รับทุกข์ทรมานเพราะตกเป็นเหยื่อของสงคราม ผู้คนที่กำลังจะอดตายในเอธิโอเปีย อัฟริกา เป็นต้น

    เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรม ต้องเข้าใจให้ได้ว่า ความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่คืออะไร?
    กุญแจสำคัญ สำหรับการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมายก็คือ การตั้ง "ปณิธาน" อันหมายถึง สร้างความมุ่งมั่นขึ้นมา เพื่อให้ตนเองเกิดความแน่วแน่ที่จะพัฒนาปรับปรุงชีวิต และยกระดับจิตสำนึกให้สูงขึ้นไป เป็นหน้าที่ของมนุษย์เองที่จะต้องผลักดันชีวิตและจิตวิญญาณของตนให้สูงขึ้นๆ ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจอยู่
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมาย จะมีความหมายอะไร?"[/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]2. ค้นพบ "ตัวตน" ที่แท้จริง
    ในสภาวะของ "ธรรม" ชีวิตไม่มีอะไรมากไปกว่า การคงอยู่ของกายสังขาร ชีวิตเป็นองค์ประกอบของรูปกาย ความรู้สึก (อารมณ์ ความนึกคิด) และจิตวิญญาณ ในองค์ประกอบ 3 อย่างนี้ จิตวิญญาณเท่านั้นที่มาจาก "พระองค์ธรรมมารดา" ร่างกายเป็นเพียงที่พำนักชั่วคราว เพื่อให้จิตวิญญาณได้มีการแสดงออกถึงความรู้สึกและการกระทำ ในขณะที่จิต คือ แหล่งกำเนิดของความรู้สึกนึกคิด

    "จิต" มีความรวดเร็วฉับไว และแยบยลลึกล้ำยิ่งกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ในโลกนี้
    "จิต" เป็นผู้ออกคำสั่ง โดยที่มีร่างกายคอยรับใช้ จึงมีคำกล่าวว่า "จิตเป็นาย กายเป็นบ่าว" หากปราศจาก "จิต" เสียแล้ว ร่างกายก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีก มันจะเน่าเปื่อยผุพังไปตามสภาพ ก็คือ คนที่ตายแล้วนั่นเอง ดังคำที่พูดว่า "จิตอยู่ คนอยู่ จิตไม่อยู่ คนม้วย"

    แท้จริงแล้ว "จิตวิญญาณ" หรือ "จิตใต้สำนึกดั้งเดิม" ของเราบริสุทธิ์เหมือนทารกแรกเกิด แต่เมื่อเวลาผ่านไป จิตใจของเรากลับถูกฉุดกระชากให้ตกต่ำลงไปโดยอิทธิพลของการทำชั่ว จิตสำนึกของเราจึงถูกปกคลุมไปด้วยความอยากที่ผิดๆ และไม่รู้จักพอ เรากลายเป็นคนเสียนิสัย หันหลังให้กับคุณธรรมเพราะการแข่งขันแก่งแย่งชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง ฐานะ และอื่นๆ

    ฉะนั้น การที่เราต้องรับรู้ "วิถีธรรม" ก็เพื่อให้รู้จักตัวตนที่แท้จริง และให้รู้ถึงเป้าหมายของชีวิต

    "วิถีอนุตตรธรรม" ทำให้เรารู้ว่า "แท้จริงเราเป็นใคร?" และรู้ถึงหนทางที่จะนำเรากลับคืนไปสู่ "ตัวจริงแท้" ของเรา

    การมารับรู้และศึกาาวิถีธรรม จะบังเกิดคุณประโยชน์แก่ชีวิตเราอย่างมามาย ญาติธรรมทั้งหลายจะถูกตักเดือนให้รู้จักปฏิบัติหน้าที่ตามสถานะของตน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของ ลูกต่อพ่อแม่ พี่ต่อน้อง สามีต่อภรรยา เพื่อนต่อเพื่อน และประชาชนต่อผู้ปกครอง ญาติธรรมผู้บำเพ็ญ "วิถีธรรม" นี้ จะต้องดำเนินชีวิตไปบนพื้นฐานแห่งมโนธรรมอันบริสุทธิ์สะอาดให้ดีที่สุด

    การดำเนินชีวิตบนเส้นทางแห่ง "วิถีอนุตตรธรรม" จะพัฒนานิสัยที่ดีงามให้แก่ชีวิตและช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ต่อสังคมและต่อชาวโลกทั้งมวล จนกระทั่ง เมื่อจิตใจได้พัฒนาไปอยู่ในขั้นสูงแล้ว บุคคลผู้นั้นก็จะประจักษ์แจ้งใน "ชีวิตที่แท้จริง" เขาย่อมสามารถมองทะลุรู้แจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่ง

    บุคคลผู้นั้น จึงไม่ยึดติดอยู่กับการแสวงหาใดๆ ในโลกอีก เขาเป็นผู้ที่ข้ามเขตของความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็น "อริยะ" ในที่สุด

    สรุป "การสำเร็จธรรม" ก็ต้องเริ่มจากการบำเพ็ญภายในตัวเราออกมานั่นเอง"

    3. เพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    ในกระแสชีวิตที่เต็มไปด้วยความดิ้นรนและท้าทาย ความทุกข์ 4 อย่างคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่คนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย แต่ละขั้นตอนของชีวิต เราต้องเผชิญกับความแก่ชรา ความเจ็บปวด ความทุกข์โศก เศร้าหมอง และตายไปในที่สุด ผู้ที่ไม่ได้รับรู้ "วิถีธรรม" ย่อมไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏจักรของการเกิดและตายนี้ไปได้

    การวนเวียนเกิดๆ ตายๆ อยู่อย่างนี้ ไม่ได้ประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์เลย โลกนี้ไม่ใช่สถานที่ที่ดี สำหรับจะอาศัยอยู่ชั่วนิรัจดร พระอริยะเจ้า "ซุ่นจื่อ" ได้กล่าวว่า "เราไม่อยากที่จะเกิด แต่แล้วเราก็พลันต้องเกิด เราไม่ไม่อยากที่จะตาย"

    เราจำต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสารอย่างไม่รู้จักจบสิ้น แม้ว่ามนุษย์จะมีความสามารถสั่งการให้ร่างกายของตนปฏิบัติงานได้ตามคำสั่ง แต่ไม่มีใครจะสามารถควบคุม "ชีวิต" ของตนเองได้ ฉะนั้นหากเราต้องการที่จะออกไปจากวัฏฏจักรแห่งการเกิดการตายจริงๆ แล้ว ทางที่ตรงที่สุดและสัมฤทธิ์ผลที่สุดก็คือ การได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" แล้วบำเพ็ญตามมโนธรรมสำนึกของเราด้วยใจจริง ผู้บำเพ็ญต้องย้อนระลึกกลับไป ให้หยั่งรู้ถึง "วิถีความเป็นมาของจิต" จึงจะกลับคืนสู่ต้นกำเนิดคือ " นิพพาน" อันเป็นสภาวะแห่งความสุขนิรันดรได้

    การสร้างสมแต่เพียง "บุญ" คือ ความดีเท่านั้น โดยไม่รู้ถึงหลักความจริงในสรรพสิ่ง คือ สัจจธรรม ย่อมไม่สามารถนำเราไปให้พ้นจากวัฏฏสงสารได้ การทำความดีโดยบริจาคทาน ทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของจะได้มาซึ่ง "เทวสมบัติ" เมื่อเราตายจากโลกนี้ ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นเทวโลก พำนักอยู่เพื่อเสวยสุขจนกว่าจะหมดสิ้นผลบุญของตน

    ท่านขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า "เช้าได้รับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย"
    "สัจจธรรม" คือ หลักของความจริง ไม่ใช่จะหาฟังได้ง่ายๆ เมื่อใดที่คนเราได้รู้ "สัจจธรรม" นี้แล้ว จึงจะตายอย่างสงบ หมดความอาลับอาวรณ์ในชีวิต

    คำกล่าวนี้ ได้ย้ำถึงคุณค่าสูงสุดของสัจจธรรม มนุษย์ควรจะสละได้แม้แต่ชีวิตเพื่อให้ได้ "สัจจธรรม"

    แทนที่จะไม่ลุ่มหลง "ชีวิต" แล้วกลับทิ้ง "สัจจธรรม"
    ท่านเม่งจื้อ กล่าวว่า
    "เรื่องใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนเราก็คือ เกิดและตายนี่แหละ"

    ในสมัยโบราณ บรรดานักบุญและปราชญ์ทั้งหลาย เสาะแสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์เพื่อขอรับการชี้แนะ เพราะท่านเหล่านั้น รู้ถึงความสำคัญอันใหญ่หลวงของวิถีธรรมด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เท่านพากันสละทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ ทิ่งครอบครัวออกเดินทางไปสู่ขุนเขา เพื่อบำเพ็ญตนเองสร้างมหาทานบารมี ออกค้นหา พระวิสุทธิอาจารย์ ผู้ที่จะชี้ทางหลุดพ้นให้แก่ตนเอง

    ตัวอย่างของพระพุทธะทั้งหลาย
    1. "พระศากยมุนีพุทธเจ้า" ในประเทศอินเดีย
    พระองค์ คือ ราชโอรสของกษัตริย์ ทรงเจริญวัย และเสวยสุขนานนับประการในพระราชวัง แต่เพื่อที่จะบำเพ็ญตนเอง พระองค์จึงทรงสละโลกียสมบัติ ความสุขสบายทางวัตถุเสียสิ้น พระองค์มีพระประสงค์ที่จะแสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ที่สามารถชี้นำ "วิถีธรรม" แห่งการบรรลุธรรม เป้าหมายสูงสุดของพระองค์คือ ฉุดช่วยเวไนสัตว์ให้พ้นทุกข์

    2. "พระโพธิสัตว์กวนอิม"
    พระองค์เป็นพระราชธิดาขององค์จักรพรรดิ์ แต่ทรงมุ่งมั่นที่จะฉุดช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทะเลทุกข์ แม้จะต้องทรงรับความทุกข์ยากลำบากอย่างแสนสาหัส เพราะการขัดขวางของพระราชบิดา พระองค์ก็ไม่เคยท้อถอยแม้แต่น้อย ในที่สุดพระองค์ก็ได้รับการชี้แนะจากพระอาจารย์ และทรงบำเพ็ญจนสามารถบรรลุธรรม

    3. "พระบรรพจารย์เสิ่นกวง"
    ท่านได้ตัดแขนซ้ายของท่าน โดยไม่รีรอเลยแม้แต่น้อย เพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในการขอรับวิถีธรรมจาก พระบรมครูโพธิธรรม ("ตักม้โจวซือ")

    ข้าพเจ้าขอเล่า ตัวอย่างของผู้ที่มาขอรับวิถีธรรมในอดีตซึ่งเป็นเรื่องราวของพระจักรพรรดิ์เฉวียนเหวียน และพระวิสุทธิอาจารย์เฉินกวงจื่อ

    ในสมัยแรกเริ่มของประวัติศาสตร์จีน มีจักรพรรดิ์พระองค์หนึ่ง พระนามว่า เฉวียนเหวียน พระองค์ทรงใฝ่ศึกษาพระคัมภีร์ต่างๆ และสนพระทัยในการปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้ จึงมีบรรดาอาจารย์นักปราชญ์ทั้งหลาย คอยถวายคำชี้แนะอยู่ถึง 72 คน แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีอาจารย์ท่านใดเลย ที่จะรู้หนทางไปสู่การบรรลุธรรม

    ดังนั้น พระจักรพรรดิ์ จึงมีพระราชโองการติดประกาศไปทั่วแผ่นดินว่า "หากผู้ใดรู้ว่า ที่ไหนมีพระวิสุทธิอาจารย์ผู้บรรลุธรรมและสามารถนำเราไปพบ ผู้นั้นจะได้รับรางวัลอย่างงาม" แล้วพระองค์สั่งให้นายทหารยามของราชสำนัก ไปคอยเฝ้าดู ณ ที่ๆ ติดประกาศไว้ทุกแห่งในช่วงเวลานั้น มีสามเณรรูปหนึ่ง ท่านคือพระวิสุทธิอาจารย์ผู้เป็นอวตารภาคของพระพุทธะได้พำนักอยู่ในวัดเส้าหลิน ทางภาคตะวันออกของจีน ท่านมีอายุเพียง 13 ขวบ มีนามว่า เฉินกวงจื่อ ท่านมีคุณธรรมสูงส่งและมีสติปัญญาล่วงรู้พระธรรมคัมภีร์อย่างแตกฉานเป็นเลิศเหนือปุถุชนทั้งหลาย

    พระอริยะน้อย เฉินกวงจื่อ มีลุงชื่อว่า หยางม่าจุน วันหนึ่งขณะที่ท่านลุงหยางกำลังเดินเล่นอยู่ข้าง กำแพงพระราชวัง ท่านได้เห็นกลุ่มคนกำลังมุงดูประกาศของราชสำนึกที่ติดไว้ก็จึงเดินเข้าไปดูเมื่อได้อ่านประกาศนั้นแล้ว จึงคิดในใจว่า องค์จักรพรรดิ์แสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ผู้ชี้แนะหลานชายของเราต้องสามารถสนองพระราชประสงค์ได้แน่นอน คิดดังนั้นแล้ว ท่านลุงหยางจึงฉีกใบประกาศออก ทหารผู้เฝ้าสังเกตการณ์ก็รู้ได้ทันทีว่า ท่านลุงผู้นี้ต้องทราบว่าพระวิสุทธิอาจารย์อยู่ที่ไหน? เขาจึงนำตัวท่านลุงเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิ์ทันที

    เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุการณ์ทั้งหมดจากทหารยามแล้ว จึงตรัสถามขึ้นว่า "ท่านรู้จักพระวิสุทธิอาจารย์ที่เรากำลังเสาะหาอยู่ใช่ไหม?" ท่านลุงได้กราบทูลว่า "ข้าพระองค์มีหลานชายคนหนึ่งนามว่า เฉินกวงจื่อ อายุได้ 13 ขวบ เขามีความรู้เกี่ยวกับจักรวาลอย่างลึกซึ้ง ผู้คนมากมายเลื่อมใสในจริยวัตร และต่างก็ยกย่องให้เขาเป็นบรมครูของคนทั้งหลาย"

    องค์จักรพรรดิ์ ได้ยินเช่นนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "อาจารย์ทั้ง 72 คน ของเราล้วนมีอายุ 50 ถึง 60 ปี แต่นี่หลานชายของเจ้าเป็นเด็กอายุแค่ 13 ขวบ หากเขาสามารถทำให้ข้าบรรลุธรรมได้ ภายใน 3 วัน เจ้าก็มีสิทธิ์ได้รับรางวัลอย่างงาม แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ข้าจะตัดหัวของเจ้าเสีย" เมื่อท่านลุงหยางได้ยินดังนั้น ก็ตกใจเป็นอันมาก แล้วย้อนนึกถามตัวเองว่า นี่เราทำอะไรลงไป? แทนที่จะได้ช่วยองค์จักรพรรดิ์ กลับนำความหายนะมาสู่ครอบครัวของเราเอง

    เมื่อท่านลุงถูกปล่อยตัวกลับไป ก็รีบตรงไปยังวัดเส้าหลิน เพื่อแจ้งให้สามเณรน้อยผู้เป็นหลานได้รู้ถึงข่าวร้าย เมื่อสามเณรน้อยได้ฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว ก็รู้สึกสงสารยิ่งนัก พระอาจารย์น้อยจึงกล่าวปลอบโยนท่านลุง เพื่อให้คลายความวิตกกังวลแล้วแนะวิธีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

    วันต่อมา พระจักรรรดิ์ ได้เสด็จมาพร้อมทั้งองครักษ์ผู้ติดตามอีก 500 คน ยกขบวนมาเพื่อจะเข้าพบพระอริยเจ้า แต่เมื่อใกล้จะถึงทหารมหาดเล็กได้เข้ามากราบทูลว่า เส้นทางที่จะไปวันเส้าหลินนั้น มีต้นไม้ถูกตัดโค่นลงปิดกั้นไม่สามารถเดินต่อไปได้

    พระจักรพรรดิ์ จึงรำพึงว่า "เราอาจไม่มีความจริงใจพอก็ได้ วันนี้เรากลับไปเสียก่อนดีกว่า แล้วพรุ่งนี้ค่อยมาใหม่"

    วันรุ่งขึ้น พระองค์จึงตรัสสั่งให้แม่ทัพ จวนเหลียน ติดตามไปเพียงคนเดียว พระองค์ตั้งพระทัยว่า จะเสด็จไปยังวัด โดยอาศัยทางแคบๆ แต่แล้วก็พบว่า ทางเดินที่เล็กและแคบๆ นั้น มีฟางหญ้ามัดเป็นปมขวางไว้เป็นระยะๆ แม่ทัพผู้ติดตามอารักขาเห็นดังนั้น ก็บันดาลโทสะเป็นอันมาก จึงชักดาบออกมาหมายจะฟันฟางหญ้าที่ขวางทางให้ขาดสะบั้น

    ขณะนั้นองค์จักรพรรดิ์ ได้ยับยั้งแล้วทรงตรัสว่า "อย่า อย่าทำเช่นนั้นเลย! เรามาที่นี่ก็เพื่อพบพระวิสุทธิอาจารย์ เราต้องมีความสำรวมและจิตใจ ทำไมท่านไม่ค่อยๆ แก้ปมฟางหญ้าเหล่านั้น ออกทีละปม ทีละปมเล่า?" ในระหว่างที่ท่านแม่ทัพกำลังแก้ปมฟางหญ้าที่ปิดกั้นทางในแต่ละปม พระองค์ก็ทรงคุกเข่า ก้มพระเศียรคารวะทุกครั้ง พระองค์กระทำเช่นนี้ ไปกระทั่งหมดทั้ง 72 ปม ในที่สุดก็เข้ามาถึงหน้าอารามวัดเส้าหลิน พระจักรพรรดิ์ทรงทอดพระเนตรเห็นนักบวชหนุ่มรูปหนึ่ง จึงตรัสถามไปว่า "นี่คือวัดเส้าหลินใช่ไหม?"

    นักบวชหนุ่มได้ตอบว่า "วัดเส้าหลิน ไม่เป็นที่รู้จักและอยู่ไกลลิบ ปมฟางนั้น บอกความนัยแก่พระองค์ไว้แล้วว่า สัจจธรรมเปิดกว้างสำหรับทุกวิถีชีวิต ทุกระดับชั้นในโลก แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่เย่อหยิ่งจองหองและโอ้อวด"

    พระจักรพรรดิ์เมื่อได้ยินเช่นนั้นแล้วก็เกิดความสว่างขึ้นในใจและเสด็จเข้าไปในเขตอารามชั้นใน ณ ที่นั้น พระองค์ได้พบสามเณรองค์น้อยกำลังใช้ไม้ตีต้นท้อเล็กๆ อยู่
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระองค์จึงตรัสถามขึ้นว่า "ท่านตีต้นท้อนี่ทำไม?"
    สามเณรน้อยนั้นจึงตอบว่า "เราตีก็เพราะมันไม่ยอมออกผล"
    พระจักรพรรดิ์จึงตรัสถามต่อไปว่า "ท่านปลูกต้นท้อนี้กี่ปีแล้ว?"
    สามเณรน้อยตามว่า "เราได้ปลูกต้นท้อนี่ เมื่อ 3 วันก่อน"
    พระจักรพรรดิ์ทรงพระสรวลพรางตรัสว่า
    "ท่านพึ่งปลูกต้นท้อได้เพียง 3 วัน แล้วท่านจะหวังให้มันออกผลได้อย่างไร?"
    "ต้นท้อปลูกเพียง 3 วัน ไม่สามารถจะให้ผลได้ ก็แล้วคนจะสามารถหยั่งรู้ถึงความสูงส่งขอสัจะรรม ภายใน 3 วันได้อย่างไร?" กล่าวจบสามเณรน้อยก็ลุกขึ้นเดินจากไปทันที
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระจักรพรรดิ์ประดับยืนนิ่งใคร่ครวญในคำตอบที่ได้ฟัง พอได้สติก็เสด็จค้นหาสามเณรองค์น้อยนั้น จนกระทั่งมาพบพระภิกษุชรารูปหนึ่งกำลังจุดธูปและกวาดลานหน้าพระวิหาร เมื่อพระองค์ทรงไต่ถามก็ทราบว่า พระอริยเจ้าเฉินกวงจื่อ พำนักอยู่ในพระวิหาร

    ทันทีที่พระองค์เสด็จเข้าไปข้างใน ก็เห็นมีแต่สามเณรองค์น้อย กำลังนั่งสมาธิอยู่เพียงลำพัง พระองค์จึงคาดคะเนว่า เณรน้อยผู้นี้จะเป็นใครไปไม่ได้ ท่านจะต้องเป็นพระวิสุทธิอาจารย์นั่นเอง เมื่อทรงดำริเช่นนี้ จึงตรงเข้าไปคุกเข่า และคารวะลงที่พื้นทันที

    แต่เณรน้อยก็ยังคงนิ่งเฉย ไม่มีอาการยินดียินร้ายแต่ประการใด เมื่อเห็นองค์จักพรรดิ์ ยังคงคุกเข่าอยู่เช่นนั้น ท่านจึงถามขึ้นว่า "ใครกันที่กำลังคุกเข่าอยู่ต่อหน้าเรา?" พระจักรพรรดิ์ตรัสตอบว่า "ข้าผู้น้อย นามว่า เฉวียนเหวียน"

    พระอาจารย์น้อย จึงกล่าวต่อไปว่า "เราได้ยินว่ามหาบพิตร มีอาจารย์ถึง 72 ท่าน มีอาจารย์ท่านใดบ้างที่มีสัจจธรรมแท้?"

    พระจักรพรรดิ์ตรัสว่า "อาจารย์ของข้าฯ ผู้น้อย ทุกท่านล้วนมีธรรมที่ล้ำเลิศแต่ข้าผู้น้อยนี่ช่างด้อยวาสนา ไม่สามารถรู้ถึงสัจจธรรมอันสูงสุดได้ ขอพระอาจารย์ได้โปรดเมตตาชี้หนทาง ที่จะหนีจากการเกิดการตายด้วยเถิด" พระอาจารย์น้อยได้คลีชายจีวรออกคลุมองค์พระจักรพรรดิ์ไว้แล้วถ่ายทอดวิถีธรรมแก่พระองค์ หลังจากนั้นได้แสงธรรมกถาว่า "ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สละความยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เขาก็ไม่มีวันทำให้จิตญาณดั้งเดิมอันใสสะอาดบริสุทธิ์ปรากฏออกมาได้ อุปมาดั่งท่อนไม้ไม่สามารถจะกลายเป็นเถ้าถ่านได้ หากมันยังอยู่ห่างไฟ" พระจักรพรรดิ์ได้รู้แจ้งทันที พระองค์คุกเข่าคารวะด้วยจิตใจที่เปี่ยมด้วยความสุขและก้มกราบลาพระอริยะเจ้าองค์น้อยกลับสู่พระราชวัง

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด หาได้พ้นไปจากสายตาของแม่ทัพผู้เป็นราชองครักษ์ไม่ เมื่อพระจักพรรดิ์เสดิงออกจากพระวิหารไปแล้วแม่ทัพผู้ภักดีได้หันมาตวาดขึ้นด้วยความเดือดดาลใจว่า "ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง บังอาจไม่แสดงความเคารพนอบน้อมต่อองค์จักรพรรดิ์ พรุ่งนี้เราจะกลับมาฆ่าทุกคนในวัดให้หมด"

    หลังจากที่แม่ทัพตามเสด็จองค์จักรพรรดิ์กลับไปแล้ว บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายก็ได้เข้ามากล่าวแสดงความยินดีต่อพระอาจารย์ของตน พระอาจารย์น้อยถามลูกศิษย์ของท่านว่า "มีอะไรที่จะต้องยินดีด้วย?" สานุศิษย์พากันตอบว่า "พระจักรพรรดิ์ผู้เป็นใหญ่สูงสุดในแผ่นดินรับท่านเป็นพระอาจารย์ แล้วท่านอาจารย์ไม่ยินดีเลยหรือ?" พระอาจารย์น้อยได้บอกลูกศิษย์ทั้งหมดว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องน่ายินดี แต่ยังเป็นข่าวร้าย เพราะแม่ทัพเต็มไปด้วยความโกรธแค้น ในวันพรุ่งนี้ เขาจะกลับมาฆ่าพวกเราทั้งหมด" เมื่อได้ยินเช่นนั้น บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็พากันตื่นตระหนกเสียขวัญ ระล่ำระลักถามผู้เป็นอาจารย์ว่า "จะทำอย่างไรดี ทำไมพวกเราไม่หนีไปเสียละ?" พระอริยะเจ้าผู้เป็นอาจารย์กลับตอบว่า "นั่นไม่ใช่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง"

    ลูกศิษย์ที่หวาดกลัวก็ยังคงรบเร้าอีกว่า "ถ้าเช่นนั้น เราควรไปวิงวอนขอความปราณีจากจักรพรรดิ์ไหม?" พระอาจารย์น้อยยังคงนิ่งเฉย และกล่าวด้วยน้ำเสียงอันสงบว่า "ขอให้พวกเธอปฏิบัติตามที่เราบอก พรุ่งนี้พวกเราจะรู้เองว่า ควรทำอย่างไร?"

    ในวันต่อมาแม่ทัพได้ควบม้ากลับมายังวัดเส้าหลิน ตามที่คาดการณ์ไว้ ทันทีที่เขามาถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง เมื่อพบสามเณรน้อยและบรรดาลูศิษย์ทั้งหมด พากันมาคุกเข่าและจุดกำยานเครื่องหอมรออยู่ที่หน้าวัดแล้ว แม่ทัพจึงแสร้งเอ่ยขึ้นว่า "ใครกันนะที่กำลังคุกเข่าอยู่หน้าเรา?"

    สามเณรน้อยได้ตอบว่า
    "ข้าแต่ท่านแม่ทัพ ข้าผู้น้อยคือ เฉินกวงจื่อ มาคอยต้อนรับท่านเป็นการเฉพาะ"

    แม่ทัพจึงถามต่อไปด้วยความฉงนเท่ห์ใจว่า
    "ทำไมเมื่อวานนี้ ท่านจึงลบหลู่องค์จักรพรรดิ์ ให้พระองค์คุกเข่าคารวะท่าน แต่วันนี้ท่านกลับมาจุดธุปคุกเข่าต่อหน้าเรา"

    พระอาจารย์น้อย กล่าวตอบด้วยน้ำเสียงอันมั่นคงว่า
    "เมื่อวานองค์จักรพรรดิ์มาขอความเมตตาจากเรา เพื่อให้รู้หนทางที่ จะพ้นจากการเกิดการตาย ดังนั้น ชีวิตของพระองค์จึงอยู่ในมือของเรา แต่วันนี้ท่านมาเพื่อประหารพวกเราชีวิตของเราและลูกศิษย์จึงอยู่ในกำมือของท่าน"

    แม่ทัพจึงถามต่อไปอีกว่า
    "ถ้าหากชีวิตของพระจักรพรรดิ์อยู่ในมือท่าน และชีวิตของท่านอยู่ในมือเรา ก็แล้วชีวิตของเราล่ะอยู่ในมือใคร?"

    พระอาจารย์น้อยตอบว่า
    "ชีวิตของท่านอยู่ในกำมือของพระยายม"

    พระอริยะเจ้า ได้กล่าวบนกลอนว่า
    "จินหวง เฉวียนเหวียน มาถามหาธรรม เพราะกลัวเรื่องเกิดตาย เพียงแค่มาขอรับการชี้แนะตัวอักษร "หนึ่ง" เพื่อให้พ้นมือยมบาล ท่านแม่ทัพได้มาถึงที่นี่มีจิตคิดจะฆ่า เมื่อนั้นชีวิตของข้า จึงต้องขอจากมือท่าน"

    แม่ทับได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกตกใจ จึงวินวอนต่อพระวิสุทธิอาจารย์ขอรับรู้วิถีทางที่พ้นจากการเกิดตายด้วย

    ดังนั้น พระอาจารย์น้อย จึงได้ลุกขึ้นเดินนำแม่ทัพเข้าสู่พระวิหารขณะที่แม่ทัพกำลังจะก้าวข้ามประตู ก็กลับหยุดชงักเกิดความลังเลในใจว่า ในวัดเล็กๆ อย่างนี้ จะมีพระพุทธะผู้รู้ทางหลุดพ้นอยู่หรือ? เราจะก้าวเข้าไปหรือก้าวถอยหลังดี?

    ขณะนั้นพระอริยะเจ้าน้อย จึงเอ่ยขึ้นว่า "ทุกคนคือ พระพุทธะ พุทธะแท้ค้นพบได้ในตัวเรา ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว "สู่นิพพาน" ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว "ลงนรก"

    แม่ทัพได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกสำนึกผิด ในการกระทำทั้งหมดของตน และกล่าวกับพระอาจารย์ว่า "แม้ชีวิตข้าก็ไม่มีความเสียดาย หากสามารถรับรู้วิถีธรรม"

    เมื่อพระอริยะเจ้า ได้เห็นถึงความศรัทธาและความสำนึกผิดอย่างจริงใจแล้ว จึงได้ถ่ายทอดวิถีธรรมให้แก่ท่านแม่ทัพ

    หลังจากนั้นไม่นาน องค์จักรพรรด์ ได้เสด็จกลับมาบำเพ็ญธรรมที่วัดเส้าหลินจนกระทั่งพระองค์บรรลุพุทธะในที่สุด

    สรุป
    เป็นเวลาแห่งมหามิ่งมงคล ที่ไม่สมควรปล่อยให้ผ่านเลยไป สำหรับทุกคนที่จะขอรับรู้วิถีธรรม เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิต

    ทั้งนี้ เพราะการขอรับวิถีธรรม ก็เพื่อให้เราได้ศึกษาและรู้ถึงสัจจธรรมของชีวิต อันเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของเราทุกคน ที่จะนำพาตัวเองขึ้นไปสู่ความเป็นนิรันดร



    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]****************************[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ้างอิง

    http://www.vithi.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2010
  2. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    รับธรรมะและรหัส 5 คำแล้ว
    แล้วคุณล่ะรับแล้วหรือยัง
    โมทนา
     
  3. iaui

    iaui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +454
    อู๋ ไท่ ฝอ หมี เล่อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...