วิถีแห่งการปฎิบัติ - หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 10 มีนาคม 2012.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    เผชิญกับโรคเก่า(21)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดินไปถึงถ้ำอันเป็นเป้าหมาย ก็ตระหนักรู้ในความเป็นสัปปายะอันเหมาะสมยิ่งต่อการปฏิบัติ ปรารภความเพียร

    เป็นถ้ำที่ไม่ใหญ่โตเท่าใดนัก ต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่นจนมืดครึ้ม

    รายละเอียดในห้วงเวลานี้ สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ วาดบรรยายอย่างรวบกะทัดรัดน่าติดตาม

    "เมื่อทอดอาลัยในชีวิตแล้วก็วางบริขารไว้แห่งหนึ่งตรงปากถ้ำ จัดการสถานที่แล้วเดินดูรอบๆ บริเวณ ได้ยินแต่เสียงจักจั่นเรไรร้อง พวกนกส่งเสียงกระจิ๊บกระจ๊าบก็ยิ่งทำให้เกิดความวังเวงยิ่งขึ้น

    "เมื่อเวลาตอนพลบค่ำสนธยา รอบๆ บริเวณนั้นเต็มไปด้วยความสงัดเงียบ ถ้าเป็นคนที่มีจิตใจไม่แข็งพอก็อาจจะเป็นบ้าไปเพราะความกลัวเสียก็ได้ แต่ท่านเคยชินในเรื่องนี้เสียแล้วจึงไม่มีอะไรจะมาทำให้จิตใจของท่านเกิดหวั่นไหว

    "เมื่อค่ำลงสนิทแล้วท่านก็เริ่มบำเพ็ญความเพียรด้วยการนั่งสมาธิตลอดคืน ปรากฏว่าสว่างไสวไปทั่วหมด นับเป็นนิมิตอันดีอย่างมากในค่ำคืนนั้น"

    เป็นคืนแรก ณ ถ้ำสาลิกา เป็นการเริ่มต้นอันงดงามเป็นอย่างยิ่ง

    รุ่งขึ้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ออกบิณฑบาตไปยังบ้านไร่แล้วหวนกลับมาฉันอาหารที่ถ้ำ ฉันเสร็จก็พักกลางวันประมาณ 1 ชั่วโมงได้

    แต่พอตื่นขึ้นพยายามจะลุกก็รู้สึกหนักตัวไปหมด หนักอย่างผิดปกติ

    การเริ่มต้นอันงดงามในคืนแรกทำท่าจะไม่งดงามเสียแล้ว อาการอันสำแดงออกผ่านร่างกายสะท้อนให้เห็นว่าต้องมีบางอย่างทำให้แปลกเปลี่ยน

    รายละเอียดตอนนี้ขอให้พิจารณาจากการพรรณนาของ พระอาจารย์วิริยังค์

    "เมื่อท่านไปถ่ายอุจจาระก็รู้สึกว่าเป็นท้องร่วง เมื่อสังเกตดูอุจจาระก็พบว่าทุกอย่างไม่ย่อยเลย ข้าวสุกก็ยังเป็นเมล็ด แตงโมก็ยังเป็นชิ้นอยู่ ถ่ายออกมาก็ยังมีสภาพเหมือนเดิม"

    มาถึงตอนนี้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็เริ่มเข้าใจในเงื่อนงำอันเคยเกิดขึ้นแต่กาลอดีต

    "ท่านเข้าใจว่าเหตุนี้เองพระเหล่านั้นมรณภาพ ตัวเราเองก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น ท่านจึงเดินเที่ยวหาบริเวณที่อันจะทำให้เกิดความหวาดเสียวซึ่งต้องเป็นที่เหมาะเพราะจะต้องทำกันให้ถึงที่สุด

    "แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งตั้งอยู่บนปากเหวลึก แล้วท่านก็ทดลองโยนหินลงไปกว่าจะได้ยินเสียงก็กินเวลาอึดใจหนึ่ง ก็กะว่าที่ตรงนี้เหมาะแล้ว ถ้าเราจะต้องตายก็ขอให้ตายตรงนี้ ให้หล่นลงไปในเหวนี้เสียเลย จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายแก่ใครๆ ซึ่งจะต้องกังวลทำศพให้เรา"

    ปณิธานในตอนค่ำวันนั้นของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็คือ

    "เอาละถ้าเราไม่รู้แจ้งเห็นจริง ก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด"

    ความจริง อาการอันเกิดขึ้นกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มิได้เป็นอาการอย่างใหม่ หากแต่เคยเกิดขึ้นนับแต่พรรษาที่ 3 ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี มาแล้ว

    สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ บอกให้รู้ว่า

    "พรรษานั้นมีการซ่อมแซมศาลา เลื่อยไม้ไสกบ ท่านก็ทำกับเพื่อน เวลาเพลก็ฉันเพล แต่พอฉันเข้าไปแล้วเกิดปวดท้อง เป็นเวลาชั่วโมงจึงไปทำงานกับเพื่อนได้"

    สำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ให้รายละเอียดมากยิ่งขึ้น

    "โรคเจ็บท้องที่เคยเป็นมาประจำขันธ์ก็ชักจะกำเริบและมีอาการรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนถึงขั้นหนักมาก บางครั้งเวลาไปส้วมถึงกับถ่ายเป็นเลือดออกมาอย่างสดๆ ร้อนๆ ก็มี ฉันอะไรเข้าไปแล้วไม่ยอมย่อยเอาเลย เข้าไปอย่างไรก็ส้วมออกมาอย่างนั้น"

    แม้โรคนี้จะพยายามรักษาแต่ก็ไม่หาย หนทางเลือกสำหรับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็คือ หนทางแห่ง "ธรรมโอสถ"

    นั่นก็คือ "เริ่มทำสมาธิภาวนาเพื่อเป็นโอสถบำบัดบรรเทาจิตใจและธาตุขันธ์ ทอดความอาลัยเสียดายในชีวิตธาตุขันธ์ ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรม ทำหน้าที่ห้ำหั่นจิตดวงไม่เคยตาย แต่มีความตายประจำนิสัยลงไปอย่างเต็มกำลังสติปัญญา ศรัทธาความเพียรที่เคยอบรมมา โดยมิได้สนใจคำนึงต่อโรคที่กำเริบอยู่ภายในว่าจะหายหรือจะตายในขณะใดในเวลานั้น"

    เป็นการเดินหน้าเข้าหาโรค เป็นการเดินหน้าอาศัยสมาธิภาวนาเป็นเครื่องมือ



    มีรายละเอียดของเวลาแตกต่างกันบ้างระหว่างสำนวนเขียน 2 สำนวนต่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    กระนั้น ความสำคัญของเรื่องราวตอนนี้ 1 อยู่ที่สถานการณ์อัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประสบจากธาตุขันธ์ 1 หนทางของการต่อสู้ ทำความเข้าใจและตีฝ่าความทุกข์อันเกิดขึ้น

    ความกล้าหาญ องอาจ ไม่กลัวตาย ต่างหาก คือจุดเด่นอันควรศึกษา ทำความเข้าใจ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB3TkE9PQ
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ความสลด สังเวชใจ (22)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ก็เช่นเดียวกับสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ ที่ว่า

    "เอาละ ถ้าเราไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด"

    เพียงแต่รายละเอียดภายในการนั่งลงกำหนดจิตอันปรากฏผ่านสำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน อาจจะเพริศแพร้วพรรณรายมากกว่า

    "ทอดความอาลัยเสียดายในชีวิตธาตุขันธ์ ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา ทำหน้าที่ห้ำหั่นจิตดวงไม่เคยตายแต่มีความตายประจำนิสัยลงไปอย่างเต็มกำลังสติปัญญา ศรัทธาความเพียรที่เคยอบรมมา โดยมิได้สนใจคำนึงต่อโรคที่กำลังดำเนินอยู่ภายในว่าจะหายหรือจะตายไปขณะใดในเวลานั้น"

    นั่นก็คือ "หยั่งสติปัญญาลงในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่างๆ ของธาตุขันธŒ ออกพิจารณาด้วยปัญญาไม่ลดละ คือ ยกทั้งส่วนรูปกายทั้งส่วนเวทนาคือทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารล้วนปรุงแต่งว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญาผู้ดำเนินงาน"

    ทำการขุดค้นคลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง แต่เวลาพลบค่ำถึงเที่ยงคืน

    รายละเอียดต่อจากนี้ขออนุญาตทำเอาสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ มาให้พิจารณาศึกษาและทำความเข้าใจ

    โปรดอ่าน

    ในค่ำคืนวันนั้นเอง เมื่อกำหนดจิตตามที่ฝึกฝนไว้ตอนหลังสุดตามอุบายนั้นก็เกิดความสว่างไสวดุจกลางวัน ปรากฏเห็นแม้กระทั่งเมล็ดทราย

    โดยปรากฏเห็นเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน

    ความผ่องใสของใจนี้ทำให้พิจารณาเห็นอะไรได้ทุกอย่างที่ผ่านมาแจ้งประจักษ์ในปัจจุบันทั้งหมด

    การพิจารณาถึงกายคตาตลอดถึงธรรมะต่างๆ ได้ตัดความสงสัยทุกอย่างโดยสิ้นเชิง

    ในขณะที่การพิจารณาธรรมทั้งหลายอย่างได้ผลนั่นเองนิมิตอย่างหนึ่งได้ปรากฏขึ้น คือเห็นเป็นลูกสุนัขกินนมแม่อยู่

    ได้ใคร่ครวญดูว่านิมิตที่เกิดขึ้นนี้จะต้องมีเหตุ เพราะขณะจิตขั้นนี้จะไม่มีนิมิตเข้ามาเจือปนได้ คือเลยขั้นที่จะมีนิมิต

    เมื่อกำหนดพิจารณาโดยกำลังของกระแสจิตก็เกิดญาณคือความรู้ขึ้นว่า

    "ลูกสุนัขนั้นหาใช่อื่นไกลไม่ คือตัวเราเอง เรานี้ได้เคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับครั้งไม่ถ้วน คงหมุนเวียนเกิดตายอยู่ในชาติของสุนัข"

    ใคร่ครวญต่อไปว่า ก็ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหตุใดจึงต้องเป็นสุนัขอยู่อย่างนั้น

    ได้ความว่า ภพ คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีอยู่ในภพของมัน จึงต้องอยู่ในภพของมันตลอดไป

    ขณะทราบว่าตนต้องเกิดเป็นลูกสุนัขนั้นได้ถึงซึ่งความสลดจิตมากที่สุด แม้ความสว่างไสวของจิตก็ยังคงเจิดจ้าอยู่ตลอดระยะเวลานั้น

    จึงพิจารณาค้นความจริงในจิตว่า เหตุอันใดที่ต้องทำให้เกิดความพะว้าพะวัง ห่วงหน้าพะวงหลังอยู่ในขณะนี้

    แม้จะได้รับความสลดอย่างยิ่งนี้แล้วก็ยังจะพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้

    ก็เมื่อความละเอียดของจิตเกิดขึ้นพร้อมกับความสว่างไสวแล้วนั้น ความจริงที่ยังไม่ทราบมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วก็คือ "การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ"

    จึงหวนรำลึกต่อไปว่า เราได้ปรารถนามานานสักเท่าใด ก็เพียงสมัยพระพุทธกาลนี่เอง ไม่นานนัก

    จึงตัดสินใจที่จะไม่ต้องการพุทธภูมิอีกต่อไป เพราะเหตุที่มาสังเวชตนที่ตกเป็นทาสของกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นสุนัขเสียนับภพนับชาติไม่ถ้วน

    ด้วยเหตุนี้จึงนึกถึงธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ ก็มาระลึกได้ว่าปฐมเทศนาเป็นบทบาทสำคัญซึ่งจะเป็นทางบรรลุธรรม เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมนี้จากความเป็นจริงที่พระองค์ได้ทรงรู้ แล้วนำออกมาแสดง

    คือ ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญให้มาก

    จากนี้จึงเห็นได้ว่า การปรารภความเพียรในถ้ำสาลิกา คือ ความต่อเนื่องจากวัดเลียบ อุบลราชธานี เป?นความตˆอเนื่องทั้งอุบาย คือ หยิบยกเอากายคติมาเป?นป?จจัยสำคัญของการพิจารณา เป?นความต่อเนื่องของการเห็นโลกอันสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างโลกภายนอกกับโลกภายใน

    แต่ที่เป็นความพัฒนา คือ การเริ่มต้นพิจารณาอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB3TlE9PQ
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ศึกษาทุกข์ จากกาย (23)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากศึกษาจากชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งดำเนินไปในลักษณะ

    "ท่านพระอาจารย์มั่น" เล่าว่า

    จะรับรู้ว่า การปฏิบัติ ปรารภความเพียร ณ ถ้ำสาริกา นครนายก ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ตามแนวทางของพระพุทธองค์

    เป็นการก้าวตาม "รอยบาท" องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ตรงนี้เป็นเหมือนปริยัติ เป็นเข็มทิศ และเป็นเข็มทิศจาก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประสานเข้ากับ อนัตตลักขณสูตร

    เป็นการเริ่มจาก ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    น่าสนใจก็ตรงที่เป็นการเริ่มต้นจากการพิจารณา กาย อันเป็นตัวกำหนดรู้ นั่นก็คือ รู้ในความเป็นจริงของ ทุกข์ สุข ซึ่งเกิดกับกาย รู้ในความเป็นจริงของ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ดำเนินไปอย่างไรต้องศึกษา

    ทุกข์คืออะไร

    ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ แล้วใครเล่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็คือ อัตภาพร่างกายของเรานี่เอง

    ฉะนั้น ร่างกายนี้จึงถือได้ว่าเป็นอริยสัจธรรม การพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในกายนี้ก็เท่ากับรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจ์นั่นเอง ดูแต่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนพระปัญจวัคคีย์ด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 2 คือ อนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงยกรูปขึ้นมาให้พิจารณา

    รูปัง ภิกขเว อนัตตา รูปไม่ใช่ตน

    ตัง กิ มัญญถะ รูป นิจจัง วาติ อนิจจัง วาติ ภิกษุทั้งหลาย สำคัญข้อนี้เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

    ตัสมา ติหะ ภิกขเว รูปัง อตีตัง วา อนาคตัง วา ปัจจุบันนัง วา เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปในอดีต อนาคต หรือรูปปัจจุบัน

    สัพพะ รูปัง รูปทั้งปวง เนปัง มะมะ เนโส หมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเรา

    เอวะเมตัง ยถาภูตัง สัมมัปปัญญา ยทัตตัพพัง จงพิจารณาความข้อนี้ตามความเป็นจริงด้วย ปัญญาอันชอบ

    ท่านได้พิจารณาตัวทุกข์นี้ก็คือรูปกายนี่เอง

    ท่านได้คำนึงถึงปฏิปทาของพระ พุทธองค์ตอนที่จะตรัสรู้ที่ทรงนั่งสมาธิในวันวิสาขะเพ็ญเดือน 6 นั้น

    ตอนปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ เป็นญาณอันเป็นเหตุให้ระลึกชาติในหนหลังได้

    นี่คือการพิจารณากาย จุดสำคัญจุดแรกเนื่องจากอัตภาพ

    แต่ละอัตภาพที่พระพุทธองค์ทรงระลึกนั้นมีทั้งสุข ทุกข์ มีทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นการยืนยันว่าพระพุทธองค์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ทรงพิจารณากาย เพราะญาณเป็นที่ระลึกชาติหนหลังได้นั้นต้องรู้ถึงการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    นี่คืออัตภาพแต่ละอัตภาพซึ่งต้องมีทุกข์ครบถ้วนทุกประการที่ทรงระลึกนั้น

    แล้วก็ได้นำเอาการระลึกชาติที่ท่านได้เกิดเป็นสุนัขมาเป็นเหตุพิจารณาให้เกิดความแจ่มแจ้งในจิตเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสัจจธรรม การดำเนินให้เป็นไปตามความเป็นจริงนี้ เรียกว่าญาณ คือการหยั่งรู้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเพียงพอ (อิ่มตัว) ของญาณแต่ละครั้ง มิใช่เป็นสิ่งที่จะนึกคิดเดาเอาเพื่อให้เป็นไป แต่ต้องเกิดจากความจริงที่ว่าต้องพอเพียงแห่งความต้องการ (อิ่มตัว)

    การเป็นขึ้นจากการพิจารณาโดยความเป็นจริงแห่งกำลังของจิต เช่น ผลไม้มันต้องพอควรแก่ความต้องการของมันจึงจะสุก ข้าวที่ถูกไฟ หุงด้วยไฟ มันต้องการไฟเพียงพอกับความต้องการของมันจึงจะสุก

    แม้การพิจารณากายที่เรียกว่าตัวทุกข์นี้ก็เช่นเดียวกัน กว่าจะกลับกลายเป็นญาณขึ้นมาได้ ต้องอาศัยการพิจารณาจนเพียงพอแก่ความต้องการ (จุดอิ่มตัว) แต่ละครั้ง

    ถ้าเกิดความเพียงพอกำลังเข้าเมื่อใดญาณนั้นจึงจะเป็นกำลังตัดกิเลสได้เมื่อนั้น"

    ประสบการณ์ "ร่วม" ประการหนึ่ง ณ ถ้ำสาริกา นครนายก คือ สมาธินิมิต ว่าได้พบกับ "ยักษ์"

    เป็นประสบการณ์ "ร่วม" ที่ทั้งสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ และสำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน มีให้ได้อ่านกันอย่างโลดโผนพิสดาร

    โลดโผนพิสดารอย่างไรมีแต่การได้ "อ่าน" เท่านั้นจึงจะบอกได้

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB3Tmc9PQ
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การดำรงอยู่ของยักษ์ (25)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนจะลงลึกไปในรายละเอียดการปรากฏตัวของ "ยักษ์" อันมากด้วยความเกรี้ยวกราด

    แม้ธรรมดาแห่งยักษ์จะมาพร้อมกับความโกรธ

    เป็นยักษ์ใน "สมาธินิมิต" ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มิได้เป็นยักษ์ในความเป็นจริง มีตัวมีตน

    นั่นก็คือ เป็นยักษ์ในทางความคิด ปรากฏมาระหว่างเจริญกัมมัฏฐานภาวนา

    การต่อสู้อันเป็นเรื่องเป็นราวจึงเท่ากับเป็นการต่อสู้ในทางความคิด เป็นการต่อสู้ระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กับ ยักษ์ ตนนั้น

    เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งเคลื่อนไหว อีกฝ่ายหนึ่งสงบนิ่ง ใช้ความสงบนิ่งเป็นพลัง เป็นอาวุธในการต่อกร

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นฝ่ายสงบนิ่งโดยสมาธิอันมั่นแน่ว กระนั้น ความสงบนิ่งนี้ก็มีพลังเป็นอย่างมาก เป็นพลังแห่งสมาธิ เป็นพลังอันบังเกิดขึ้นจากกระแสแห่งความสงบนิ่งอย่างมั่นแน่วในทางความคิด

    พลังนี้สำคัญอย่างไร ต้องรับทราบจาก "ท่านเล่าว่า" นี้

    ทันใดนั้นเจ้ายักษ์ก็ถอนไม้ต้นใหญ่เป็นต้นตะเคียนขนาด 10 อุ้ม ฟาดลงมาดังสะท้านหวั่นไหว จนร่างทรุดแบนละเอียดติดอยู่กับหิน

    จนหินที่นั่งทำสมาธิอยู่แตกละเอียดเป็นจุณไปในชั่วพริบตา

    ขณะนั้นเกือบจะทำให้ต้องเผลอลืมตาขึ้นมาดูความเป็นไปต่างๆ แต่ว่าได้คำนึงนึกถึงมหาสติอันเป็นเครื่องบังคับ กำกับการพิจารณาทำให้ได้พิจารณาอย่างเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง

    โดยมิได้มีความหวั่นไหว

    ในความคำนึงมีสิ่งหนึ่งอันสำคัญซึ่งเป็นมลทินของใจ นั้นคือ การพะว้าพะวังของความปรารถนาพระโพธิญาณ และก็กลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น หันมาเพื่อความพ้นทุกข์อันจะพึงบรรลุธรรมอันยิ่งใหญ่ในขณะนั้น

    นี้เองที่เป็นเหตุให้ต้องประสบสิ่งอันเป็นที่หวาดกลัวต่างๆ ที่เกิดขึ้น

    ปรากฏว่าทุกอย่างในโลกนี้มีสภาพเป็นอันเดียวดุจหน้ากลองชัย โลกนี้ราบลงหมด คือสว่างราบเตียน

    ร่างกายก็ประมวลกันเข้าดังเดิม ปรากฏว่ายักษ์ตนนั้นจำแลงตัวเป็นมนุษย์ ลงมากราบไหว้ขอขมา

    แล้วมันก็หายไป

    ขณะนั้นไก่ขันกระชั้นแล้วได้คำนึงถึงญาณ 3 ในอริยมรรค คือ สัจจญาณ กิจจญาณและกตญาณ จิตที่บำเพ็ญถึงจุดอิ่มตัวเป็นญาณ

    เป็นจุดอิ่มตัวเหมือนกับการรับประทานอาหาร

    พอมันพอเพียงแก่ความต้องการแล้วก็อิ่ม ไม่ต้องพูดอะไรมาก มีอาหารรับประทานเข้าไปก็แล้วกัน

    ญาณก็เช่นเดียวกัน บำเพ็ญให้ถูกต้องโดยการพิจารณาทุกข์เมื่อถึงจุดอิ่มตัวเมื่อไรก็รู้เอง

    เช่นเมื่อพิจารณากายคือตัวทุกข์ พอเมื่อเห็นกายเข้าก็เกิดความสังเวชสลดจิตแล้วก็เกิดความเบื่อหน่าย

    ความเบื่อหน่ายเป็นญาณเพราะมันจะเกิดขึ้นเองจะมาสมมติให้เกิดขึ้นไม่ได้

    คำว่าสัจจะคือความจริง เช่นกับการพิจารณาเห็นตัวทุกข์ ชื่อว่าเห็นจริงมิได้เดาเอา เช่นเห็นว่าผมเป็นธาตุดินอย่างนี้เป็นสัจจญาณ การดำเนินญาณคือความจริงนั้นให้ปรากฏอยู่เสมอชื่อว่ากิจจญาณ

    การถึงจุดละวางเหมือนกับคนอิ่มอาหารละไปแล้วซึ่งความหิวโดยอัตโนมัติเป็นกตญาณ

    ได้คำนึงถึงสมุทัยว่า อันกามตัณหา ความใคร่ในกาม ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น

    ที่จริงแล้วคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตในขณะที่กำลังบำเพ็ญญาณ

    กิเลสอันเกิดขึ้นตอนเจริญปัญญาญาณนี้สำคัญนัก จะเกิดการถือตัวอย่างก้าวไปไกล แก้ไม่หลุด คือ เมื่อเห็นญาณ ความหยั่งรู้เกิดขึ้นซึ่งละเอียดและอัศจรรย์เลยยึดเอาว่าเป็นพระนิพพานเสียเลย

    นี้แหละกิเลสปัญญา

    นี่ย่อมเป็นขั้นตอนอันสำคัญยิ่งทางการปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำคัญเพราะว่าเป็นความต่อเนื่องอย่างสำคัญระหว่าง สมาธิ กับ ปัญญา หากมิได้เป็นสัมมาทิฏฐิ โอกาสที่จะถลำไปยังกิเลสอันเป็นเครื่องเศร้าหมองก็สามารถเกิดขึ้นได้

    แท้จริงแล้ว การสัประยุทธ์ทั้งหมดเท่ากับเป็นการสัประยุทธ์กับตนเอง

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4TUE9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2012
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โลกเตียนราบดุจหน้ากลอง (26)

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ ยักษ์ ไม่ว่าการหายไปของ ยักษ์ ล้วนเป็นเรื่องอันเกิดขึ้น ดำเนินไปภายในสมาธิจิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เป็นกระบวนการทางการปฏิบัติ เป็นกระบวนการทางจิต

    เหมือนกับมิได้เป็นเรื่องจริง หากแต่ที่ปฏิเสธมิได้ก็คือ การก่อรูปของยักษ์ล้วนมาจากความเข้าใจโดยพื้นฐาน

    เป็นกระบวนการทางปริยัติอันสะท้อนผ่านกระบวนการทางปฏิบัติ

    มิได้เป็นเรื่องยักษ์ในทางเป็นจริง หากแต่เป็นเรื่องยักษ์ในทางความคิด เป็นการต่อสู้ทางความคิดผ่านความจัดเจนในเรื่องยักษ์

    ต้องอาศัยความกล้าหาญ ต้องอาศัยความเข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่

    ความมั่นคงแน่วแน่นี้มีพื้นฐานมาจากวัตรปฏิบัติและการครองตน นั่นก็คือ ความปกติแห่งศีล จึงบังเกิดความมั่นใจ บังเกิดความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ สะอาด ก่อให้จิตไม่มีความวอกแวกและหวั่นไหว

    ตรงนี้เองที่ก่อรูปขึ้นภายในกระบวนการสมาธิ เมื่อเป็นสัมมาสมาธิตามแนวทาง แห่งมรรคแล้วก็ค่อยๆ นำไปสู่ความสว่างไสวแห่งปัญญา

    ดังนี้

    ขณะที่กำลังบำเพ็ญวิปัสสนานั้นได้ทราบชัดว่า วิปัสสนา นั้นคือความเห็นแจ้ง แต่ธรรมดาแล้วก็คงเห็นแจ้งเฉยๆ เช่นเห็นว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์เกิดขึ้นจากตา ในด้านการพิจารณาแต่ยังไม่ใช่ญาณ

    การที่จะเป็นญาณขึ้นมาได้นั้นต้องถึงจุดอิ่มตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง

    เช่น พิจารณารู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ทั้งหลายแล้ว พิจารณาไม่หยุดยั้งจนถึงจุดอิ่มตัว ญาณคือความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น นี่แหละจึงจะชื่อว่าเป็นวิปัสสนาญาณ

    ความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นเองเนื่องจากการบำเพ็ญวิปัสสนาให้เพียงพอ เช่นเดียว กับความอิ่มตัวของการรับประทานอาหารนั่นเอง เพราะความเกิดเองในที่นี้เรียกว่า สันทิฏฐิโก ความเห็นเอง

    นิโรธควรทำให้แจ้ง

    การทำให้ไม่ให้คนหลงในมรรคผลนิพพานนั้นเอง เพราะผู้ปฏิบัติทั้งหลายงมงาย ในความเป็นเช่นนี้มาก ในเมื่อไม่ใช้ปัญญาญาณเพราะไปใช้แต่สิ่งสำคัญตนจึงต้องใช้การทำให้แจ้ง มันจะเป็นอย่างไรขึ้นก็ช่างเราทำไป

    แล้วธรรม ที่ดำเนินไป ก็บรรลุเป้าหมายเอง

    เราได้กำหนดทบทวนกระแสจิต คือ เมื่อพิจารณาไปแล้วทุกอย่างนับมาแต่การพิจารณาดูตัวทุกข์ คือ ขันธ์ทั้ง 5 นั้นแล้ว และพิจารณาให้เป็นวิปัสสนา คือให้เห็นว่าขันธ์ทั้ง 5 เหล่านั้นเป็นธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    และพิจารณาที่ธรรมทั้งหลายอันละเอียดวิเศษที่สุดจนเข้าใจ ขจัดออกไปทั้งหมดโดยอนุโลมิกญาณแล้ว ก็ทวนกระแสจิตกลับมาหาฐิติภูตัง คือที่ตั้งแห่งจิตอันเป็นต้นเหตุ

    การทวนกระแสจิตที่เป็นอนุโลมิกญาณให้เห็นว่าใครผู้รู้ ใครผู้เห็น คือให้รู้ว่าเป็นผู้ไม่ตาย ให้เห็นว่าเป็นธาตุ ผู้รู้ผู้เห็นอยู่ที่ไหน อาศัยญาณที่บำเพ็ญขึ้นจนพอแก่ความต้องการแล้วก็จะปรากฏตัวได้เห็นตัว ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ไม่ตาย

    ถือได้ว่าเป็นองค์มรรค ควรเจริญให้มาก

    ผู้ที่มาเห็นตัวผู้เห็น กล่าวว่าเป็นผู้หายความสงสัยโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องห่วงว่าอาจารย์โน้นถูกอาจารย์นี้ผิด เรากำลังทำนี้จะถูกหรือผิดไม่มีในจิตของผู้เป็นเช่นนี้ ถ้ายังไม่ถึงเช่นนี้ก็จะยังสงสัยอยู่ร่ำไป

    แม้ใครจะมาเทศน์ให้ฟังเท่าไรก็แก้สงสัยไม่ได้

    ขณะนั้นปรากฏว่าโลกนี้เตียนราบประดุจหน้ากลองชัย เรียบเอาเสียจริงๆ แต่การราบเรียบเหมือนหน้ากลองชัยคือการอยู่ในสภาพอันเดียวกัน ได้แก่ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

    การปรากฏขึ้นในจิตนั้นเป็นเช่นนั้นเพราะไม่มีอะไรมาข้องอยู่กับใจในจิตนั้น แน่ชัดในใจโดยปราศจากข้อกังขา

    ในที่นี้จึงรวมไว้ซึ่งอินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 เป็นที่รวมกำลังทั้งหมด เท่ากับเป็นการรวมกองทัพธรรมใหญ่พร้อมที่จะขยี้ข้าศึก คือกิเลสให้ย่อยยับลงไป ในเมื่อการรวมกำลังนี้สมบูรณ์เต็มที่แต่ละครั้งเพราะความที่ได้ขยี้ข้าศึกคือกิเลสนี้เอง

    จึงเกิดเป็นวิสุทธิ์ 7 ประการ

    เป็นเวลา 3 วันอันเป็นการปฏิบัติ ปรารภความเพียรอย่างต่อเนื่องของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เมื่อลุกขึ้นเดินจงกรมในเวลาก่อนรุ่งสาง รู้สึกเบาตัวไปหมด เมื่อได้เวลาบิณฑบาตก็นุ่งสบง ห่มจีวร ซ้อนสังฆาฏิเป็นปริมณฑล กับบาตรสะพายไว้ข้างประดุจอุ้ม

    แล้วก็เดินออกจากถ้ำเดินลงไปยังหมู่บ้าน

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4TVE9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2012
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วาทกรรมโดยสมาธิ (27)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>การปรากฏแห่งยักษ์ การปรากฏแห่งบุรุษร่างใหญ่ดำ สูงมากราว 10 เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่เท่าขา ยาวราว 2 วา สำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัม ปันโน ระบุว่า

    ปรากฏขึ้นเมื่อ "จิตรวมสงบลงถึงที่ ถอนออกมาขั้นอุปจารสมาธิ จิตสว่างออกไปนอกกาย"

    เป็นจิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นการเผชิญหน้ากับบุรุษร่างใหญ่ดำ ระหว่างนั้นมีวิวาทะอย่างเข้มข้น

    มันกล่าวว่า จะทุบตีให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนีจะฆ่าให้ตายในบัดเดี๋ยวใจ

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำหนดจิตถามกลับ จะมาตีและฆ่าอาตมาทำไม อาตมามีความผิดอะไรถึงจะต้องถูกตีถูกฆ่าเล่า การมาอยู่ที่นี้มิได้มากดขี่ข่มเหงหรือเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนพอจะถูกใส่กรรมทำโทษถึงขนาดตีและฆ่าให้ถึงตายเช่นนี้

    "ข้าเป็นผู้มีอำนาจรักษาภูเขาลูกนี้อยู่นานแล้ว จะไม่ยอมให้ใครมาครองอำนาจเหนือข้าไปได้ ต้องปราบปรามและกำจัดทันที" มันบอก

    พระอาจารย์ตอบว่า อาตมามิได้มาครองอำนาจนอกจากมาปฏิบัติบำเพ็ญธรรมเพื่อครองอำนาจเหนือกิเลสบนหัวใจตนเท่านั้น ไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะมาเบียดเบียนและทำลายนักบวชอย่างอาตมาซึ่งเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า

    ประเด็นสำคัญคือคำถาม คำอธิบายและการตอบโต้ในเรื่องธรรมะ ธรรมชาติและความจริงอันปรากฏตามมา

    นั่นจะเห็นได้จาก คำถามซึ่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เสนอขึ้น

    ถ้าท่านเป็นผู้มีอำนาจเก่งจริงดังที่อวดอ้าง ท่านมีอำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรมอันเป็นกฎใหญ่ปกครองมวลสัตว์ในไตรภพด้วยหรือเปล่า

    "เปล่า" เป็นคำตอบ

    พระอาจารย์จึงถามต่อ พระพุทธเจ้าท่านเก่งกล้าสามารถ ปราบกิเลสตัวที่คอยอวดอำนาจว่า ตัวดีตัวเก่งอยู่ภายใน คิดอยากตีอยากฆ่าคนอื่นสัตว์อื่นให้หมดสิ้นไปจากใจได้ ท่านที่ว่าเก่งได้คิดปราบกิเลสตัวดังกล่าวให้หมดสิ้นไปบ้างหรือยัง

    "ยังเลย" เป็นคำตอบ

    พระอาจารย์จึงถามต่อ ถ้ายังท่านก็มีอำนาจไปในทางที่ทำตนให้มืดหนาป่าเถื่อนต่างหากนับว่าเป็นบาปและเสวยกรรมหนัก แต่ไม่มีอำนาจปราบความชั่วตัวที่กำลังแผลงฤทธิ์แก่ผู้อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกตัวว่าเป็นผู้มีอำนาจแบบก่อไฟเผาตัวต้องจัดว่ากำลังสร้างกรรมอันหนักมาก

    อาตมามุ่งมาทำประ โยชน์แก่ตนแก่โลกโดยการประพฤติธรรมด้วย ความบริสุทธิ์ใจ ท่านจะยังมาทุบตีและสังหารโดยมิได้คำนึงถึงบาปกรรมเลย อาตมารู้สึกสงสารท่านยิ่งกว่าอาลัยในชีวิตของตัวเพราะท่านหลงอำนาจของตัวจนถึงกับจะเผาตัวเอง

    สำหรับอาตมาเองไม่กลัวความตายแม้ท่านไม่ฆ่าอาตมาก็ยังจักต้องตายอยู่โดยดีเมื่อกาลของมันมาถึงแล้ว เพราะโลกนี้เป็นที่อยู่ของมวลสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องตายทั่วหน้ากัน แม้ตัวท่านเองที่กำลังอวดตัวว่าเก่งในความมีอำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะนี้

    ก็มิได้เก่งกว่าความตายและกฎแห่งกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกไปได้

    มาถึงตอนนี้สำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เขียนบอกว่า

    ขณะที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซักถามและเทศน์สั่งสอนบุรุษลึกลับโดยทางสมาธิอยู่นั้นเขายืนตัวแข็ง บ่าแบกตะบองเหล็กเครื่องมือสังหารอยู่เหมือนตุ๊กตา

    ไม่กระดุกกระดิก ไม่ขยับเขยื้อน

    "ถ้าเป็นคนธรรมดาเราก็ทั้งอายทั้งกลัวจนตัวแข็งแทบลืมหายใจ แต่นี่เขาเป็น อมนุษย์พิเศษผู้หนึ่งจึงไม่ทราบว่าเขามีละอายใจหรือไม่ แต่อาการทั้งหมดนั้นแสดงให้เห็นชัดว่า เขาทั้งอายทั้งกลัวจนสุดที่จะอดกลั้นได้แต่เขาก็อดกลั้นได้อย่างน่าชม"

    เมื่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แสดงธรรมจบลง

    "เขาได้ทิ้งตะบองเหล็กจากบ่าอย่างเห็นโทษ และนฤมิตเปลี่ยนภาพจากร่างของบุรุษลึกลับที่มีกายดำสูงใหญ่มาเป็นสุภาพบุรุษพุทธมามกะผู้อ่อนโยนนิ่มนวลด้วยมารยาทอัธยาศัย แสดงความเคารพและกล่าวคำขอโทษ"

    ทั้งหมดนี้ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยืนยันอย่างหนักแน่นและมั่นคงตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว เป็นเรื่องอันเนื่องแต่สมาธิ เป็นเรื่องวาทกรรมบังเกิดโดยสมาธิ

    เป็นเรื่องในทางความคิด เป็นการต่อสู้ในทางความคิด

    ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการปฏิบัติ ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการต่อสู้ในทางความคิด

    ประสบการณ์ธรรมอัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พบเห็นเป็นประสบการณ์อันสัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อโดยพื้นฐานของชาวพุทธซึ่งแยกไม่ออกระหว่างความเชื่อเรื่องยักษ์ มาร ภูตผี

    กระนั้นที่สำคัญเป็นอย่างมากคือเนื้อหาอันปรากฏระหว่างวิวาทะในทางธรรม

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4TWc9PQ
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    บุรุษลึกลับในนิมิต (28)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ภายหลังปุจฉา วิสัชนา ระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กับ บุรุษลึกลับที่มีกายดำสูงใหญ่ ก็บังเกิดการแปรเปลี่ยน

    1 เขาได้ทิ้งตะบองเหล็กลงจากบ่า

    1 นฤมิตเปลี่ยนภาพจากร่างของบุรุษลึกลับที่มีกายดำสูงใหญ่มาเป็นสุภาพบุรุษพุทธมามกะ ผู้อ่อนโยนนิ่มนวลด้วยมารยาทอัธยาศัย

    1 แสดงความเคารพคารวะ กล่าวคำขอโทษแบบบุคคลผู้เห็นโทษสำนึกในบาปอย่างถึงใจ

    ชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวถึงสถานการณ์ในห้วงนี้ว่า

    ต่อไปนี้เป็นใจความของเขาที่กล่าวตามความสัตย์จริงต่อท่านพระอาจารย์มั่นว่า



    กระผมรู้สึกแปลกใจและสะดุ้งกลัวท่านแต่เริ่มแรก มองเห็นแสงสว่างที่แปลกอัศจรรย์มาก ซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อนพุ่งจากองค์ท่านมากระทบตัวกระผม

    ทำให้อ่อนไปหมด แทบไม่อาจแสดงอาการอย่างใดออกมาได้

    อวัยวะทุกส่วนตลอดจิตใจอ่อนเพลียไปตามๆ กัน ไม่อาจจะทำอะไรได้ด้วยพลการ เพราะมันอ่อนและนิ่มไปด้วยความซาบซึ้งจับใจในความสว่างนั้น

    ทั้งๆ ที่ไม่ทราบว่านั้นคืออะไร เพราะไม่เคยเห็น

    เท่าที่แสดงกิริยาคำรามว่าจะทุบตีและฆ่านั้นมิได้ออกมาจากใจจริงแม้แต่น้อย แต่แสดงออกตามความรู้สึกที่เคยฝังใจมานานว่า ตัวเป็นผู้มีอำนาจในหมู่อมนุษย์ด้วยกัน และมีอำนาจในหมู่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรมชอบรักบาปหาบความชั่วประจำนิสัยต่างหาก

    อำนาจนี้จะทำอะไรให้ใครเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ โดยปราศจากการต้านทานขัดขวาง มานะอันนี้แลพาให้ทำเป็นผู้มีอำนาจแสดงออกพอไม่ให้เสียลวดลาย

    ทั้งๆ ที่กลัวและใจอ่อน ทำไม่ลง และมิได้ปลงใจว่าจะทำ หากเป็นเพียงแสดงออกพอเป็นกิริยาของผู้เคยมีอำนาจเท่านั้น

    กรรมอันไม่งามใดๆ ที่แสดงออกให้เป็นของน่าเกลียดในวงนักปราชญ์ที่แสดงต่อท่านวันนี้ ขอให้เมตตาอโหสิกรรมแก่กรรมนั้นๆ ให้กระผมด้วย อย่าต้องได้รับบาปหาบทุกข์ต่อไปเลย เท่าที่เป็นอยู่เวลานี้ก็มีทุกข์อย่างพอตัวอยู่แล้ว

    ยิ่งจะเพิ่มทุกข์ให้มากกว่านี้ ก็คงเหลือกำลังที่จะทนต่อไปไหว



    ได้ยินดังนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงถาม

    ท่านเป็นผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก กายก็เป็นกายทิพย์ ไม่ต้องพาตัวหอบหิ้วเดินเหินไปมาให้ลำบากเหมือนมนุษย์ การเป็นอยู่หลับนอนก็ไม่เป็นภาระเหมือนมนุษย์ทั่วโลกที่เป็นกัน แล้วทำไมจึงยังบ่นว่าทุกข์อยู่อีก ถ้าโลกทิพย์ไม่เป็นสุขแล้วโลกไหนจะเป็นสุขเล่า

    คำตอบจากสุภาพบุรุษพุทธมามกะคือ

    ถ้าพูดอย่างผิวเผินและเทียบกับกายมนุษย์ที่หยาบๆ พวกกายทิพย์จากมีความสุขมากกว่าพวกมนุษย์จริงเพราะเป็นภูมิที่ละเอียดกว่ากัน แต่ถ้ากล่าวตามชั้นภูมิแล้ว กายทิพย์ก็ย่อมมีทุกข์ไปตามวิสัยของภูมินั้นๆ เหมือนกัน

    มาถึงตอนนี้ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยอมรับว่า

    "ระหว่างที่ผีกับพระสนทนากันรู้สึกว่าละเอียดและลึกลับยากที่ผู้เขียนจะนำมาลงได้ทุกประโยคจึงขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วยความจนใจ"

    สำนวนเขียน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน จึงลงเอยด้วย

    "สุดท้ายแห่งการสนทนาธรรม ท่านว่า บุรุษลึกลับมีความเคารพเลื่อมใสในธรรมเป็นอย่างยิ่งและปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ กล่าวอ้างท่านพระอาจารย์เป็นสรณะและเป็นองค์พยานด้วย

    "พร้อมทั้งให้ความอารักขาแก่ท่านเป็นอย่างดี และขอนิมนต์ท่านพักอยู่ที่นี่นานๆ

    "ถ้าตามใจเขาแล้วไม่อยากให้ท่านจากไปสู่ที่อื่นตลอดอายุของท่านเขาจะเป็นผู้คอยดูแลรักษาท่านทุกอิริยาบถ ไม่ให้มีอะไรมาเบียดเบียนหรือรังแกท่านได้เลย

    "ความจริงแล้ว เขามิใช่บุรุษลึกลับและมีร่างกายดำสูงใหญ่ดังที่แสดงภาพต่อท่าน แต่เขาเป็นหัวหน้าแห่งรุกขเทวดาซึ่งมีบริษัทบริวารมากมายที่อาศัยอยู่ในภูเขาและสถานที่ต่างๆ มีเขตอาณาบริเวณกว้างขวางมากติดต่อกันหลายจังหวัดมีนครนายก เป็นต้น"

    ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่อง "ท่านเล่าว่า" อันผ่านการเรียบเรียงเป็นสำนวนเขียนโดย พระมหาบัว ญาณสัมปันโน



    น่ายินดีที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ได้นิพนธ์ "โลกวินิจฉัย" เอาไว้

    เป็นการเรียบเรียงตังแต่เป็น พระญาณรักขิต และนำมาตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อเป็น พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2468

    ทั้งหมดนี้ตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งเมื่อปี 2549 ผ่านหนังสือ "ประมวลธรรมบรรยาย"

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4TXc9PQ
     
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โลกวินิจฉัย (29)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    ธรรมบรรยาย โลกวินิจฉัย ของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) มีฐานที่มาดังนี้

    เมื่อข้าพเจ้าเริ่มเล่าเรียนได้เรียนปณามคาถาคัมภีร์สนธิว่าข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศประเสริฐสุดอันโลกทั้ง 3 ทำให้เกิดความสงสัยในโลก 3 ต่อๆ มาครั้นศึกษาเล่าเรียนไปภาคอื่นก็ได้พบ ติโลกัง หรือ ติโลกะเชษฐัง ติโลกะนาถัง ต่างๆ ล้วนหมายความว่า

    พระพุทธเจ้าเป็นผู้เป็นใหญ่กว่าโลกทั้ง 3 เป็นผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้ง 3 เป็นที่พึ่งแก่โลกทั้ง 3

    ก็ยิ่งให้เกิดความสงสัยในโลกทั้ง 3 นั้นหนักขึ้น

    ครั้นตรวจดูแบบแผนตามที่มาต่างๆ ท่านก็แสดงประเภทโลกโดยนัยต่างๆ ที่ท่านแสดง กามโลก รูปโลก อรูปโลก ได้ 3 จริง แต่ก็ยังติดขัดแก่ที่อื่น เพราะบางแห่งท่านแสดงประเภทโลกต่างๆ ดังที่ว่ามาว่า

    ยมโลก เปตโลก สัตตโลก มนุสสโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก สังขารโลก ธาตุโลก โอกาสโลก ขันธาทิโลก โลกุตระ ดังนี้

    จึงเป็นเหตุให้หมายโลก 3 ลงเป็นหนึ่งในที่ใดได้ด้วยยาก

    ครั้นพระโลกวิทูคุณปรากฏแล้ว จึงวินิจฉัยโลก 3 นั้นได้ โลก 3 นั้นใช่อื่นท่านหมาย กามโลก รูปโลก อรูปโลก นั้นเอง

    จากบทสรุปของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

    โลกแบ่งได้เพียง 3 ภูมิเท่านั้น ภูมิที่ 4 เป็นโลกุตระ ใน 3 โลกนั้นกามโลก เป็นโลกใหญ่เป็นอนันตโลก

    สถานใดเป็นที่กำหนดลงโทษแก่สัตว์ผู้กระทำอกุศลธรรมอันเป็นบาปหยาบช้า คือยมโลก

    โลกเปรต ต้องทนทุกขเวทนาจะทำการงานเลี้ยงชีพของตนเองไม่ได้มีแต่อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ทนทุกข์อดข้าวอดน้ำอดผ้านุ่งผ้าห่มถึงมีอยู่ก็บริโภคเองไม่ได้

    โลกสัตว์ มีกายต่างๆ กัน ปฏิสนธิวิญญาณต่างๆ กัน แต่คงมีอกุศลธรรม คือ โลภะ โทสะ โมหะ อิสสา พยาบาท เป็นพื้นของใจโดยมาก

    มนุสสโลก แบ่งเป็น 4 ชั้น มนุส สเปโต ชั้น 1 มนุสสติรัจฉาโน ชั้น 1 มนุสสมนุสโส มนุษย์ซึ่งมีมนุษย ธรรมคือกุศลกรรมบถในตน ชั้น 1 มนุสสโทโว มนุษย์ซึ่งมีเทวธรรม คือมีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป สะดุ้ง หวาดเสียวต่อบาป สมาทานถือมั่นในธรรมอันขาวคือกุศลธรรมอยู่ทุกเมื่อชั้น 1

    โลกเทวดา ได้แก่ฉกามา พจรสวรรค์ 6 ชั้น สถานที่เลิศด้วยอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ธรรม 6 อย่างนี้เรียกว่าอารมณ์ ในที่ใดมีอารมณ์ 6 อย่างนี้เลิศพร้อมบริบูรณ์ที่นั้นแหละท่าน สมมติว่าฉกามาพจร

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ได้อรรถาธิบายรูปโลกอย่างค่อนข้างละเอียดแล้วประมวลเอาไว้อย่างรวบรัดว่า



    โลกใดที่ยังหลงใหลงมเงอะอยู่ด้วยสัญญาอดีต ดังโยคาวจรบางพวกที่เรียนพระวิปัสสนาเจริญพุทธคุณเพ่ง อรหัง หรือ พุทโธ เจริญกายคตาสติเพิ่งกายหรือเพ่งส่วนของกาย มีลมอัสสาสะ ปัสสาสะ เป็นต้น หรือเจริญพรหมวิหารเพ่งเมตตากรุณา

    หัดออกทิศต่างๆ และอัญเชิญพระปีติทั้ง 5 ให้มาเกิดปรากฏในไตรทวาร เมื่อนิมิตทั้งหลายซึ่งเป็นวิสัยแห่งสัญญามาบังเกิดเป็นอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตได้แล้ว จะนฤมิตอย่างไรก็ได้ตามประสงค์

    อยากเห็นพระพุทธเจ้าก็นฤมิตได้ อยากเห็นอสุภะในกายตนหรือกายผู้อื่นก็นฤมิตได้

    เจริญพรหมวิหาร เมื่อจะออกทิศต้องเข้าที่ก่อน อาจารย์จึงสั่งให้ออกทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ให้พบวิหารใหญ่ ไหว้พระแล้วจึงกลับลงไปทิศเบื้องต่ำถึงนาคพิภพ ไหว้พระบาทแล้วจึงกลับขึ้นไปทิศเบื้องบน ไหว้กระเกศแก้วจุฬามณีกระทำประทักษิณแล้วจึงกลับ

    โยคาพจรก็น้อมจิตไปตามคำสั่งของอาจารย์ก็รู้ตามเห็นตามทุกสิ่งทุกอย่าง วิหารของพรหมกว้างใหญ่เพียงใดก็ได้เห็น อยากเห็นพระนิพพานก็อาจจักไปดูได้ อยากรู้อะไรอยากเห็นอะไรก็ถามพระดู พระท่านก็บอกให้รู้ให้เห็นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง

    อาการแห่งวิปัสสนามีวิธีเป็นอันมาก รูปนฤมิตทั้งหลายเหล่านั้นตกอยู่ในหน้าที่ของรูปสัญญาทั้งสิ้น ผู้ที่หลงรักหลงใคร่หลงกราบหลงไหว้หลงนับถือในนิมิตสัญญาเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในวิสัยของมารโลก

    แท้จริงแล้ว นิมิตอัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประสบเป็นอย่างไร คำตอบ 1 เป็นรุกขเทวดา เป็นเทวดาประจำต้นไม้ คำตอบ 1 เป็นสัญญาอันติดมาจากปริยัติแห่งอาราม ไม่ว่าจะโดยไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไม่ว่าจะโดยจิตรกรรมฝาผนัง

    คำตอบ 1 เป็นวาทกรรมอันสำแดงความเข้มแข็งแห่งพุทธบุตรอันองอาจ สง่างาม

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4Tmc9PQ
     
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    บทสรุป 4 สำนวน (30)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาจเป็นเพราะหนังสือ รำลึกวันวาน ซึ่งด้านหลักเป็นการเขียนของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ เมื่อปี พ.ศ.2541

    ภายหลังการเขียนเมื่อปลายปี พ.ศ.2492 ของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

    ภายหลังการเรียบเรียงจนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนตุลาคม 2512 ของ พระอาจารย์วิริยังค์ และของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เมื่อปีพ.ศ.2514

    รำลึกวันวาน จึงดำเนินไปอย่างค่อนข้างมีกำหนดเวลาบางห้วง บางตอน ค่อนข้างแน่ชัด

    ขณะเดียวกันกับการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ณ ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ก็มีการกำหนดไว้ภายใต้หัวข้อเรื่องอันค่อนข้างมั่นใจ

    ว่า "ในพรรษาที่รู้แจ้ง"

    เมื่อปี พ.ศ.2455 ตรงกับพรรษาที่ 22 น่าสนใจก็ที่สอดรับกับความมั่นใจของ พระอาจารย์วิริยังค์

    หมายเหตุของบรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์ รำลึกวันวาน มีหมายเหตุว่า

    "เรื่องสถานที่บรรลุธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นนี้หลวงตาทองคำเล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นไม่เคยระบุตรงๆ ว่าเป็นสถานที่ใดๆ แต่ท่านจะกล่าวถึงการปฏิบัติโดยเทียบเคียงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยเทศนาไว้"

    มีความแตกต่างในทางความเข้าใจอย่างแน่นอนระหว่างสำนวนเขียนแต่ละสำนวน

    สํานวนแรกโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ให้ความสำคัญกับสมาธินิมิต ณ วัดเลียบ ในพรรษาที่ 3 ค่อนข้างมาก

    อธิบายอย่างค่อนข้างละเอียด กระทั่งกลายเป็น "ต้นแบบ"

    ขณะเดียวกัน ในตอนว่าด้วยปฏิปทาได้กล่าวว่า "ลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับ เจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันโท จันทร์) 3 พรรษาแล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงโต ลพบุรี

    "จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา"

    แต่มิได้ให้รายละเอียด จึงเป็นเรื่องที่สำนวนเขียนภายหลังไม่ว่า สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ สำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน สำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ จะให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ

    เป็นความสนใจในการให้ความหมาย ให้ความสำคัญอันแตกต่างกันออกไป

    แม้ว่า พระอาจารย์วิริยังค์ ก็ดี พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ก็ดี พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ก็ดี ล้วนมีรากฐานการเขียนมาจากแหล่งเดียวกัน คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    และดำเนินไปตามกระบวนการ "ท่านเล่าว่า" เหมือนกันทั้งสิ้น

    ความเหมือนกันของสำนวนเขียนทั้ง 3 ในภายหลัง คือ ล้วนยอมรับต่อการปฏิบัติที่ถ้ำสาริกา นครนายก ด้วยกัน แต่น้ำหนักจะแตกต่างออกไป

    กล่าวสำหรับ พระอาจารย์วิริยังค์

    "ท่านพูดกับข้าพเจ้าว่า นี้เป็นการที่ได้หนทางเป็นครั้งแรก ในใจของเราให้หายสงสัยว่าจะเป็นอะไรต่อไป แน่ชัดในใจโดยปราศจากการกังขา"

    กล่าวสำหรับ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    "กำลังรำพึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาประทานไว้แก่หมู่ชน รู้สึกว่าเป็นธรรมที่สุขุมลุ่มลึกมากยากที่จะมีผู้สามารถปฏิบัติและไตร่ตรองให้เห็นจริงตามได้

    ท่านเกิดความภูมิใจและอัศจรรย์ในตัวท่านเองขึ้นมาที่มีวาสนาได้ปฏิบัติและรู้เห็นความอัศจรรย์หลายอย่างจากธรรม แม้จะยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิที่ใฝ่ฝันมานานก็ตามแต่ก็ยังจัดว่าอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ไม่ขัดสนจนมุมในความสุขที่เป็นอยู่และจะเป็นไป

    ซึ่งตัวเองก็แน่ใจว่าจะถึงแดนแห่งความสมหวังในวันหนึ่งแน่นอนถ้าไม่ตายเสียในระยะกาลที่ควรจะเป็นนี้"

    กล่าวสำหรับ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

    "พิจารณากำหนดอยู่ในร่างกายไม่ถอย จิตก็รวมใหญ่ ปรากฏว่าร่างนี้พังไปเลย เกิดไฟเผาไหม้เป็นเถ้าถ่านจมหายไปในแผ่นดิน เวทนาและความวิตกกังวลทั้งหลายหายหมดสิ้น จิตใจเบิกบานแจ่มใสด้วยปีติปราโมทย์ในธรรม"

    กระนั้น ความเกี่ยวเนื่องอย่างสำคัญคือความเกี่ยวเนื่องไปยังวัดเขาพระงาม ถ้ำสิงโต ลพบุรี

    เป็นความเกี่ยวเนื่องที่ สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ กับ สำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ให้ความหมายค่อนข้างสูง

    ขณะที่ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ให้ความหมายไปยังจังหวัดเชียงใหม่เป็นขั้นที่สุด

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4Tnc9PQ
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    รอยบาท พุทธองค์ (31)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    จากสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ และเป็นการตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 ดำเนินไปอย่างเรียบรื่น

    บอกให้รู้ว่าหมู่บ้านตีนถ้ำสาริกา นครนายก เป็นชาวบ้านห้วยอีเห็น

    บอกให้รู้ด้วยว่ากำหนดแห่งการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นเมื่อใด

    "เป็นชาวโคราชมาทำไร่ตั้งบ้านอยู่ชื่อว่าบ้านห้วยอีเห็น บ้านเรือนยังไม่มี มีแต่ป่า"

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บอกความประสงค์ที่จะจำพรรษาที่ถ้ำนี้ ชาวบ้านก็ยินดีว่าจะได้ทำบุญกับท่าน

    กระนั้น ภายในความยินดีก็มีความวิตก

    "ท่านพระอาจารย์จะอยู่ได้ไหม ปีที่แล้วมีพระมาจำพรรษา 4 รูป ยังไม่พ้นพรรษาตายคาถ้ำ 2 รูป ออกไปตายข้างนอกอีก 2 รูป"

    ได้ฟังดังนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตอบว่า

    "ไหนๆ ก็รอนแรมจากกรุงเทพฯ มาไกล จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ลองดู จะตายเป็นองค์ที่ 5 ก็จำเป็น"

    เป็นความเด็ดเดี่ยว เป็นความหาญกล้า

    แต่ละบรรทัดต่อไปนี้เป็นการเรียบเรียงจากสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ดำเนินไปเสมือน "ท่านเล่าว่า"

    ดังนี้



    พอเข้าพรรษาได้ 3 วันก็ได้เรื่องทีเดียว จิตใจฟุ้งซ่าน กายรำคาญ เต็มไปด้วยความวิตกนานาประการ ล้วนแต่หาสาระไม่ได้ทั้งนั้น

    ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ฉันข้าวโพดเข้าไปถ่ายเป็นเมล็ดออกมา

    ไม่เป็นอันหลับอันนอน พิจารณาทบทวนไปมาเลยคิดได้ว่าลองไม่ฉันดีกว่า บอกชาวบ้านว่า

    "ถ้าไม่เห็นอาตมาลงไปบิณฑบาต อย่าขึ้นมานะ"

    "ชาวบ้านพาซื่อไม่ขึ้นมาจริงๆ บอกว่า "ถ้าถึง 7 วัน ไม่เห็นลงไปบิณฑบาตขึ้นมาเอาไฟมาด้วยจะได้เผากัน"

    พิจารณากำหนดจิตอยู่ในร่างกายนี้พอสมควรแล้วก็นั่งสมาธิ ความวิตกกังวลทับถมเข้ามา ร่างกายเจ็บปวดเวทนา ทั้งแสบทั้งร้อนสารพัดเกี้ยวขาสารพาเกี้ยวแข้ง คิดขึ้นได้ว่า จะเป็นตายร้ายดีก็ให้ตัดสินใจกันวันนี้

    เมื่อลงใจได้เช่นนี้ พิจารณากำหนดอยู่ในร่างกายไม่ถอย จิตก็รวมใหญ่

    ปรากฏว่า ร่างนี้พังไปเลย เกิดไฟเผาไหม้เป็นเถ้าถ่านจมหายไปในแผ่นดิน เกิดความรู้สึกขึ้นมาเหมือนครั้งอยู่วัดเลียบและที่กรุงเทพฯ ซ้ำขึ้นมาอีก

    เป็นครั้งที่ 3



    เวทนาและความวิตกกังวลทั้งหลายหายหมดสิ้น เหลือแต่ปีติ สุขและเอกัคคตา เกิดความรู้แปลกประหลาดขึ้นมา

    สุตตาวะโต จ โข ภิกขะเว

    อสุตตาวะตา ปุถุชชะเนวนาปี

    ภควา มูละกะโน ภันเต ภะคะวัง

    เนตติกา ภะคะวัง ปฏิสสะระณา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโยคาวจรเจ้า ผู้ได้ศึกษามาก็ดี ภิกษุโยคาวจรเจ้าที่ไม่ได้ศึกษา เพราะความที่ตนเป็นปุถุชนคนหนาก็ดี ให้เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลเหตุ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนติแบบฉบับ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัยเสมอด้วยชีวิต เพราะเรื่องทั้งหลายเหล่านี้แม้แต่พระตถาคตเจ้าก็ได้กระทบกระทั่งมาแล้วอย่างแสนสาหัส

    คาถานี้ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาเลย



    หากเทียบกับสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2512 ก็ตรงกัน

    "ขณะที่กำลังเกิดความสว่างผ่องใสอันเป็นภายในนั้น พยายามพิจารณาหาความจริงเพื่อเป็นแนวทางในอันที่จะปฏิบัติตัวตามทำนองคลองธรรมที่แท้จริงและจะได้แนะนำคนอื่นทำให้ถูกทางต่อไป

    "จึงได้พิจารณาต่อไปถึงคำว่าพระพุทธองค์ตรัสว่า "ให้เอาเราเป็นเนติแบบฉบับ"

    นั่นก็คือ ให้เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลเหตุ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนติแบบฉบับ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัยเสมอด้วยชีวิต"

    ตรงนี้เอง คือ บาทก้าวอันสำคัญยิ่งสำหรับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4T0E9PQ
     
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    น้ำตาแห่งความปีติ (32)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ การปฏิบัติ ปรารภความเพียรของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    1 เป็นการนั่งทำสมาธิอยู่ในถ้ำ หันหน้าออกข้างนอก

    ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นการนั่งทำสมาธิด้วย "จิตใจเบิกบาน แจ่มใสด้วยปีติปราโมทย์ในธรรม"

    กระบวนการ "ท่านเล่าว่า" จึงเป็นประสบการณ์โดยตรง

    เป็นประสบการณ์ในทางการปฏิบัติอันท่านประสบมาโดยตน การถ่ายทอดก็เป็นการถ่ายทอดจาก "ท่านเล่าว่า"

    จึงอาจแตกต่างไปบ้างในรายละเอียด

    เมื่อนำมาเทียบเคียง ไม่ว่าจะเป็น สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ ไม่ว่าจะเป็น สำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ไม่ว่าจะเป็น สำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

    นี่เป็นเรื่องธรรมดา

    ประสบการณ์ตอนนี้จากสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ตอนนี้อาจแตกต่างในลีลาเมื่อวางเรียงเคียงกับ สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ สำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน

    แตกต่างอย่างไรต้องอ่าน

    ขณะนั้นมีลิงแม่ลูก 3 ตัวอยู่ข้างนอก แม่เข้ามาส่องดูกลับไปแล้วกลับมา 2 ครั้ง จึงกำหนดพิจารณาดูว่าลิง 2 แม่ลูกมันทำอะไร

    รู้ขึ้นมาในใจว่า ลิงแม่มาดูแล้วไปพูดกับลูกว่า "พระท่านมาจำศีลอยู่ที่นี่"

    ลิงมันก็รู้จักศีลแต่รักษาศีลไม่เป็น องค์ประกอบไม่พร้อมเหมือนมนุษย์จึงรักษาศีลไม่ได้ แล้วตัวเรารักษาศีล รู้จักศีลแล้วหรือ

    ตกบ่ายลุกขึ้นทำความสะอาด ปัดกวาดบริเวณพลาญหน้าถ้ำ

    สติสัมปชัญญะและปีติปราโมทย์พร้อม ขณะนั้นฝูงปลวกดำไต่ขึ้นมาบนแผ่นหิน เมื่อกวาดไปถึงก็ค่อยๆ พูดว่า

    "หนีเด้อสู กูจะกวาดวัดไปถูกต้องตัวเข้าจะหาว่าเบียดเบียน"

    หัวหน้าปลวกพูดขึ้นว่า "หนีเถอะพวกเรานี้วัดธรรมยุตท่าน" แล้วพากันหนี

    พวกปลวกมันยังรู้ว่า เราเป็นพระธรรมยุต แล้วเราล่ะรู้จักธรรมยุตหรือยัง พิจารณาได้ความว่า ธรรมยุต คือ ยุติธรรม คือความถูกต้องเป็นธรรมนั่นเอง

    กำหนดไปพิจารณาไปทำกิจไปเกิดน้ำตาไหล

    เอ๊ะ นี่เราไม่ได้เจ็บปวดหรือเศร้าโศกทำไมน้ำตาไหล ได้ความว่า กำลังปีติที่ตามระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้วางศาสนาไว้ให้เราได้ปฏิบัติ เป็นพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่

    พระอรหันตสาวกและพระสาวกที่ประพฤติปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงตัวเราก็ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่นี้

    องค์พระมหากษัตริย์ของไทยได้ทรงยกย่องพระพุทธศาสนา ทุกพระองค์เป็นเอกอัครพระศาสนูปถัมภก เป็นพระมหากรุณาอันสูงส่งประมาณมิได้ เพราะว่าด้วยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ยิ่งใหญ่ จะทำลายศาสนาก็ได้ จะยกย่องศาสนาก็ได้

    แต่พระองค์มิได้ทำลาย มีแต่ยกย่อง จึงเป็นพระมหากรุณาอันใหญ่ยิ่ง

    ตกตอนเย็น ฝูงนกทั้งหลายที่อาศัยนอนบนต้นไม้เวลาใกล้ค่ำกลับจากหากินส่งเสียงร้องเจี๊ยวจ๊าวระงมไปหมด

    จึงกำหนดพิจารณาว่า นกมันว่าอะไร

    ได้ความว่า วันนี้พวกเราไปหากินกันอิ่มไหม มีอันตรายจากมนุษย์และสัตว์มีอำนาจมีเหยี่ยวเป็นต้นทำอันตรายไหม มาครบกันไหม

    ทำนองนั้น

    รสชาติจากสำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีสีสันน้อยกว่าสำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน อยู่แล้ว

    หากเทียบกับ สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ ก็มีความต่าง

    กระนั้น ความต่างอย่างน่าศึกษาคือ รายละเอียดอันเกี่ยวกับ "ให้เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลเหตุ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนติแบบฉบับ เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัยเสมอด้วยชีวิต"

    เรื่องนี้หากศึกษาจากสำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ จะได้เนื้อหาน่าพิจารณาอย่างเป็นพิเศษ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4T1E9PQ
     
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    นครนายก ลพบุรี (33)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ความแตกต่างระหว่าง สำนวน พระอาจารย์วิริยังค์ กับสำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มิได้อยู่ที่ เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ เวลา

    เพราะว่า พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ระบุว่าเป็นเหตุการณ์ ณ ถ้ำสาริกา นครนายก

    ขณะเดียวกัน พระอาจารย์วิริยังค์ ยืนยันว่า "ในการผ่องใสแห่งจิตที่ได้รับในถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ของท่านพระอาจารย์มั่นจึงเป็นที่พอใจของท่านที่ได้เข้าถึงธรรมอันละเอียดทั้งฌานทั้งญาณ ทำให้ท่านแน่ใจถึงความรู้ของท่านอย่างแท้จริง"

    และ "ครั้นท่านได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นี้จวบใกล้จะเข้าพรรษาแล้วท่านจึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปผ่านจังหวัดสระบุรี ได้ไปถึงจังหวัดลพบุรี และได้พักอยู่ที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม (ปัจจุบันนี้เรียก เขาพระงาม) ปีนั้นเป็นปีพ.ศ.2446

    รายละเอียดจาก สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ ในระยะกาลตอนนี้น่าศึกษาและน่าพิจารณาอย่างเป็นพิเศษ

    โปรดอ่าน



    ขณะอยู่ ณ เขาช่องลม บำเพ็ญความเพียรหวนระลึกถึงความเป็นจริงที่ได้ปรากฏแล้วให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ได้ระลึกว่า

    "สาวกของพระพุทธเจ้าจะต้องถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ ถือเอาพระพุทธ เจ้าเป็นแบบฉบับ และถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย"

    คำว่า ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ นั้นได้แก่ การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อความถูกต้องหรือต้องการความจริงแท้ ต้องดูความจริงอันเป็นมูลเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ได้ออกบรรพชาในเบื้องต้น

    พระองค์ได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่ราชบัลลังก์ พระมเหสี ราชสมบัติ แม้ที่สุดพระเกศา

    การเสียสละเช่นความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้นพระพุทธองค์มีผู้คนคอยยกย่องสรรเสริญ คอยปฏิบัติวัฏฐาก แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ถึงกับอดอาหาร เป็นต้น

    การเสียสละเหล่านี้เพื่อประ โยชน์อะไร

    เพื่อให้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    เมื่อพระองค์จะได้ตรัสรู้ทรงนั่งสมาธิและได้ทรงพิจารณาซึ่งความจริงคืออริยสัจ 4 นั้นนี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องแรกของพระองค์ ผู้ที่จะเจริญตามรอยพระยุคลบาทจำเป็นที่จะต้องระลึก ถึงความเป็นจริงของพระพุทธ องค์ในข้อนี้นำมาเป็นสิ่งพิสูจน์ปฏิปทาของตนที่กำลังดำเนินอยู่

    ว่าในการปฏิบัติหรือการบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา พวกเราได้พากันถือเอาต้นเหตุให้พึงระลึกถึงความจริงของตนว่า

    ได้เสียสละโดยความเป็นจริงหรือไม่



    ทั้งนี้ เพราะถ้าไม่ถือเอาความจริงตามปฏิปทาของพระพุทธองค์ในข้อนี้ ก็จะเรียกได้ว่าไม่ถือเอาพระองค์เป็นมูลเหตุ

    คือ บางหมู่บางเหล่าถือการปฏิบัติเพียงแต่เป็นโล่บังหน้าแล้วก็มีเบื้องหลังที่ไม่มีการเสียสละ หรือทำไปอย่างมีการยุ่งยากพัวพัน

    จะสละก็สละไม่จริง

    บางทีแม้แต่เป็นบรรพชิตแล้วก็ยังมีจิตใจโลภโมโทสัน ไม่สละแม้แต่อารมณ์ อาจจะถือว่าข้าพเจ้ามียศถาบรรดาศักดิ์ อะไรเทือกนั้น

    บางทีการอยู่ป่าเอามาเพียงเพื่อเป็นเลศบางประการ

    ทำเป็นว่าเรานี้อยู่ป่าอยู่เขาเหมือนจะออกวิเวกให้เป็นที่บำเพ็ญความสงบ แต่กลับเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความห่วงใย อาลัยยุ่งยากด้วยการก่อสร้าง สะสมด้วยเครื่องกังวลนานัปการ

    นี่ไม่ได้ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ

    ขณะที่กำลังเกิดความสว่างผ่องใสอันเป็นภายในนั้น ได้พยายามพิจารณาหาความจริงเพื่อเป็นแนวทางในอันที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมที่แท้จริง และจะได้แนะนำให้คนอื่นทำให้ถูกทางต่อไป จึงได้พิจารณาต่อไปถึงคำว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    "ให้เอาเราเป็นเนติแบบฉบับ"



    ความแตกต่างระหว่าง สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ กับ สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

    1 อยู่ที่กำหนดเวลา สถานที่

    1 อยู่ที่ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ เริ่มต้นด้วยคาถาบาลี ตามด้วยคำแปล ขณะที่ พระอาจารย์วิริยังค์ เป็นอรรถาธิบาย

    กระนั้น 2 สำนวนก็มาจากกระบวนการ "ท่านเล่าว่า"

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5TUE9PQ
     
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปริยัติ กับ ปฏิบัติ(34)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    ยังงดำเนินไปตามแนวทางของบาลี คาถา อันปรากฏขึ้นในความรับรู้ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ระหว่างปฏิบัติ ปรารภความเพียร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

    ภิกษุโยคาวจรเจ้า ผู้ได้ศึกษามาก็ดี ภิกษุโยคาวจรเจ้า ที่ไม่ได้ศึกษา เพราะความที่ตนเป็นปุถุชนคนหนา ก็ดี

    ให้เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลเหตุ

    เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนติแบบฉบับ

    เอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย เสมอด้วยชีวิต

    เพราะเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ แม้แต่พระตถาคตเจ้าก็ได้กระทบกระทั่งมาแล้วอย่างแสนสาหัส

    ทั้งหมดนี้เหมือนกับเป็นคำชี้แนะ ทั้หมดนี้เหมือนกับเป็นแนวทางอันนำไปสู่การเดินตามรอยบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมั่นแน่ว

    มั่นแน่ว จริงจัง ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เพียงแต่กล่าวสำหรับ พระอาจารย์วิริยังค์ ได้นำเอารายละเอียด "ท่านเล่าว่า" ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาบรรยายอย่างค่อนข้างพิสดาร

    พิสดารอย่างไรต้องอ่าน



    พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติตัวของพระองค์ให้เป็นแบบอย่างจริงๆ มิใช่เพียงทรงสอนคนอื่นแล้วพระองค์ไม่ทรงปฏิบัติ

    เช่น ตอนแรกหลังจากตรัสรู้แล้วจะทรงรับข้าวมธุปายาสจากตะปุสสะและพัลสิลกะก็ทรงหาบาตรเพื่อรับ

    และพระองค์ก็ทรงทำพุทธกิจ พุพพัณเห บิณฑบาตัญจะ รุ่งเช้าพระองค์เสด็จไปบิณฑบาตสายัณเห ธัมมะเทสะนัง ตอนบ่ายพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท คือ อุบาสก อุบาสิกา ปเทโส ภิกขุ โอวาทัง พอพลบค่ำพระองค์ก็ทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุและสามเณร

    อัฑฒะรัตเต เทวะปัญหานัง ตอนกลางคืนทรงแก้ปัญหาเทวดาทั้งหลาย

    ปัจจุสเสวะ คเต กา เล ภัพพา ภัพเพ วิโลกานัง ในเวลาใกล้รุ่งพระพุทธองค์ก็ ทรงตรวจดูว่า สัตว์โลกจะมีผู้ใดบ้างที่มีวาสนาบารมีอันจะพึงได้รับพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงใคร่ ครวญแล้วทรงทราบว่าก็จะเสด็จไปโปรดให้เขาเหล่านั้น ได้รับผลแห่งธรรม

    นอกจากนั้น พระ องค์จะทรงปฏิบัติตามธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติ

    เช่น การทรงจีวร การฉันเฉพาะในบาตร แม้กระทั่งจวนจะเสด็จดับขันธปริ นิพพานพระองค์ก็ยังทรงอุ้มบาตรได้ตลอดเวลา

    นับบแต่วันที่พระองค์ตรัสรู้แล้วพระองค์จะทรงเปี่ยมพระทัยถึงความมีพระเมตตาต่อมนุษย์ทุกถ้วนหน้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ

    ทรงกระทำประโยชน์แก่เขาทั้งหลายโดยมิได้คิดเพื่อจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเครื่องตอบแทนเลย

    ทรงเสียสละอย่างจริงใจแท้

    แม้บางครั้งพระองค์จะทรงเหน็ดเหนื่อยด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างหนักแต่พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยนั้นแต่ประการใด

    "การที่ให้ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับ"

    ย่อมเป็นประการสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าสาวกไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบอย่างแล้วจะเป็นเพียงอาศัยการอยู่ในพุทธศาสนาเพียงเพื่อหาความสุขอันไม่ถูกทาง เช่น ไม่มีเมตตากรุณา ไม่มีการเสียสละ

    แม้แต่จะปฏิบัติธรรมวินัยถึงจะเป็นบรรพชิตแล้วก็ยังไม่ยอมเสียสละ เอาแต่ความโลภ โกรธ หลง

    แม้แต่การเที่ยวไปบิณฑบาตก็หาว่าเสียเกียรติ หรือว่าการแสดงธรรมก็ต้องมีกัณฑ์เทศน์เป็นเครื่องตอบแทน จะบำเพ็ญศาสนกิจก็ต้องหวังปัจจัยลาภ ในที่สุด ก็ลืมความเป็นสมณะเสียสิ้น

    นี้คือ ไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับ



    จากนี้จึงเห็นได้ว่า เส้นทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเน้นย้ำอย่างจำหลักหนักแน่นเป็นอย่างยิ่ง โดยเอาตัวท่านเองเป็นเครื่องทดลอง

    คือ ปริยัติ ต้องประสานกับ ปฏิบัติ

    กล่าวอย่างภาษาปรัชญาทั่วไป คือ ทฤษฎีต้องประสานกับการปฏิบัติ

    หากไม่มีการปฏิบัติ สิ่งที่ร่ำเรียนมาคือปริยัติก็สถิติอยู่แต่กับตำรา อยู่แต่กับหนังสือ การปฏิบัติจึงเป็นเครื่องตรวจสอบอย่างยอดเยี่ยมของปริยัติ หากไม่มีการปฏิบัติก็ไม่สามารถยืนยันได้ถึงความถูกต้องเป็นจริงของปริยัติ

    ก็จะเป็นเรื่องเลื่อนลอย ไม่เป็นจริง และไม่เป็นจริงอันประเสริฐ

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5TXc9PQ
     
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ที่พึ่งอันเกษม (35)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>สิ่งที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พยายามจะใคร่ครวญมากที่สุด คือ การปฏิบัติจิตจะต้องประกอบพร้อมทั้งภายใน ภายนอก

    เช่นภายนอก การรักษาไว้ซึ่งพระวินัยน้อยใหญ่นี้สำคัญยิ่ง ถ้าผิดพระวินัยแม้แต่อาบัตินิดเดียวก็จะทำให้จิตละเอียดไม่ได้ เช่น การปฏิบัติเรื่องของบาตรถ้าล้างแล้วไม่เช็ดเก็บไว้ในที่สมควรก็จะเป็นอาบัติทุกกฎ หรือการฉันจุ๊บๆ จั๊บๆ เป็นอาบัติทุกกฎ

    อาบัติเล็กน้อยจะล่วงละเมิดไปไม่ได้เลย ต้องรักษาให้เรียบร้อยจริงๆ

    นอกจากอาบัติแล้วก็มีการรักษาธุดงค์ ข้อวัตรต่างๆ เช่น ฉันหนเดียว การฉันในบาตร การบิณฑบาต เป็นต้น อันเป็นการนำไปสู่การขัดเกลากิเลสหยาบๆ ก็เป็นแบบฉบับที่พระบรมศาสดาได้กระทำเป็นแบบฉบับมาแล้ว ถ้าหากว่าผู้ต้องการความสงบ ความก้าวหน้าแห่งการบำเพ็ญจิตแล้วจะละเลยเสียไม่ได้

    อีกประการคือ รักษาวัตรต่างๆ จากวัตรหลายประการ เช่น อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร อาคันตุกวัตร เวจจกุฏวัตร เสนาสนวัตร ภัตตาวัตร และเสขิยวัตร เหล่านี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติทั้งนั้น

    ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อศีลวิสุทธิ์และจิตวิสุทธิ์

    บุคคลผู้เป็นสาวกของพุทธองค์ถ้าไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับแล้วจะไม่สามารถนำหมู่คณะไปสู่ความเจริญได้

    เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่

    ภายในความใคร่ครวญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต รูปธรรมแห่งความยิ่งใหญ่ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสำแดงให้ประจักษ์

    1 ได้ทิ้งความจริงอันเป็นแบบฉบับที่ดีเอาไว้ให้สาวกทั้งหลายได้เอาเป็นตัวอย่าง

    1 ตัวอย่างอันนี้ได้รับความเจริญยั่งยืนนานมาแล้ว เพราะเหตุแห่งแบบอย่างที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญมานั้นเอง ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงถาวร การนำเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับจึงเป็นการนำความเจริญได้แน่แท้แก่ตนและบุคคลอื่น

    สมตามที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

    มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้วพากันไปถือ ภูเขา ป่า อารามและต้นไม้ที่เป็นเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง

    นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดม

    พวกเขาพากันพึ่งสิ่งเหล่านี้แล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้

    ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง มาเห็นอริยสัจ 4 ด้วยปัญญา อันชอบ ก้าวล่วงทุกข์ด้วยมรรค 8 นี่แหละเป็นที่พึ่งอันเกษม นี่แหละเป็นที่พึ่งอันอุดม พวกเขาอาศัยที่พึ่งนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ทั้งหมดนี้นำไปสู่บทสรุปที่ว่า "ให้เอาเราเป็นที่พึ่ง"

    คำว่า "เรา" ในที่นี้มิได้มีความหมายคับแคบในเชิงตัวบุคคล หากแต่กินความลึกซึ้งไปถึงพระธรรม การปฏิบัติตามพระธรรมเป็นสำคัญ

    เพราะ "ผู้ใดเห็นในธรรม ย่อมเห็นในเรา"

    ความใคร่ครวญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงมิได้เป็นความใคร่ครวญอันว่างเปล่า หากแต่เป็นการใคร่ครวญอย่างถือเอาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง

    ถือเอาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแนวทาง

    ภายในความใคร่ครวญเสนอคำถามและคำตอบให้ประจักษ์ว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไม่ให้ถือเอาสิ่งอื่นที่เป็นที่พึ่งนอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เพราะว่าการถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นที่พึ่งนั้นเป็นเรื่องงมงาย

    เช่นต้นไม้ใหญ่ ตั้งศาลพระภูมิ ถือว่าผีเจ้าเข้าทรง เหล่านี้นั้นเป็นเรื่องของความไม่แน่ใจในพระองค์

    การเชื่อเช่นนั้นจะทำให้ผิดการดำเนินสู่จุดที่หมายแห่งความจริงในพระพุทธศาสนา

    แม้ในการบำเพ็ญจิตในเบื้องต้นก็จะทำให้ไขว้เขวเพราะขาดองค์คุณหรือศรัทธา คนธรรมดาสามัญที่ยังไม่ได้บวชก็พอทำเนา แต่ผู้ที่บวชแล้วเช่นพระภิกษุสงฆ์นี้ย่อมจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในพระพุทธองค์

    แต่พระภิกษุบางองค์กลับมาเป็นเสียเอง เช่นพาเขาตั้งศาลพระภูมิ หาวัดตั้งศาลพระภูมิ นี้เป็นการแสดงถึงความไม่แน่ใจต่อองค์พระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมศาสดา

    หาได้คิดไม่ว่าการกระทำเช่นนั้นคือการทรยศ

    ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการเรียบเรียงจากที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่าให้ พระอาจารย์วิริยังค์ ฟัง

    เป็นวิถีดำเนินไปตามกระสวนแห่ง "ท่านเล่าว่า" อย่างเดียวกับที่ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ดำเนิน อย่างที่ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ดำเนิน

    ต่างกันที่ลีลา ต่างกันที่รายละเอียด แต่ก็สะท้อนวิถีแห่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5TkE9PQ
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ความสว่างไสวภายใน (36)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฎิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    ทําไมจึงลงความเห็นว่า การกระทำอย่างเช่น "พาเขาตั้งศาลพระภูมิ หาวันตั้งศาลพระภูมิ" เป็นการกระทำอันถือว่าเป็นการทรยศต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    คำตอบ 1 เป็นการแสดงถึงความไม่แน่ใจต่อองค์พระพุทธเจ้า

    ยิ่งกว่านั้น คำตอบ 1 เป็นการอาศัยผ้ากาสาวพัสตร์ โดยการอยู่ได้ด้วยปัจจัยบริโภคไม่อดอยากปากแห้งแต่กลับถือเอาความเชื่อที่พระพุทธองค์ได้ทรงตำหนิแล้วนำเอามาใช้ทั้งๆ ที่ตนเองก็ออกปากว่า

    "ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต"

    เหตุไฉนเล่าจึงไปสนับสนุนความเชื่ออื่นอันที่เรียกว่าพระภูมิบ้าง อะไรอื่นบ้าง นั่นคือการทรยศต่อพระพุทธศาสนา

    ในความเห็นของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    "ข้อนี้สำคัญ เพราะจะเป็นเบื้องต้นของการดำเนินไปหาที่สุดแห่งทุกข์ เพราะทุกๆ คนที่เป็นศาสนิกต้องกล่าวว่า

    "ข้าพเจ้าถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง"

    แต่ไฉนจึงไปถือเอาผีป่า พระภูมิ ซึ่งหาตัวจริงมิได้เป็นที่พึ่ง เมื่อขั้นต้นทำไม่ได้แล้วต่อไป จะทำอะไรให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นได้

    ในความเห็นของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นั้น

    คําว่าศรัทธาคือความเชื่อนี้จึงถือว่าเป็นรากฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเช่นท่านพระอริยบุคคลชั้นต้นคือพระโสดาบัน ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา มีข้ออันท่านพระโสดาบันละได้อันเนื่องมาจากมรรคนั้นมี 3 ประการคือ

    สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลพัตตปรามาส

    ความเห็นถือว่าเป็นตัวตน ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความลูบคลำในศีลพัต คืองมงายในสิ่งไม่ควรจะยึดถือ เช่น นับถือ ภูต ผี พระภูมิ เป็นต้น

    นี่เป็นสิ่งแสดงว่าการจะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างแท้จริงนั้นต้องเริ่มต้นด้วยถือเอาพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง

    ความจริงแล้วการนับถือพระพุทธองค์นั้นก็คือ ต้องการให้เอาพระพุทธองค์เป็นมูลเหตุและเป็นแบบฉบับนั้นเอง แม้ว่าเราจะยังไม่เป็นอริยโสดาก็ตามแต่เราก็ต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอริยโสดา เป็นต้น

    ความที่เป็นบุคคลอ้างตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุสามเณร แต่พากันหลงเชื่องมงาย เช่น ศาลพระภูมิ เชื่อผีเจ้าเข้าทรง พระภูมิเจ้าที่อะไรอย่างนี้

    จะอ้างตนว่าเป็นภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา นั้นดูเป็นการไม่สมควร

    แนวทางอัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่าให้ พระอาจารย์วิริยังค์ ได้รับทราบนั้นดำเนินไปดังนี้

    เราต้องการสอนคนให้เข้าถึงอริยธรรม ถึงความเป็นอริยบุคคล ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้ำถึงความจริงข้อนี้ให้หนักที่สุด เพราะถ้าไม่เข้าใจถึงความจริงแห่งความเชื่อนี้แล้วจะเป็นการกั้นหนทางที่จะเข้าสู่ความจริง เป็นอริยะเสีย

    เราทุกคนก็พยายามอย่างยิ่งที่จะปรารถนาพระนิพพาน

    แม้การบำเพ็ญการกุศลต่างๆ ที่กล่าวกันว่า นิพพานะปัจโยโหตุ ขอให้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเถิด

    แม้ว่าเราจะพึงทราบว่า ผู้ใดผู้หนึ่งทรงความเป็นอริยบุคคล เราก็จะให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง

    นี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าคุณธรรมอันสูงคือความเป็นอริยะนี้เป็นยอดปรารถนาของบรรดาพุทธศาสนิกชน

    ก็แต่ว่าเบื้องต้นในการดำเนินไปสู่ความเป็นอริยะนี้จำเป็นที่จะต้องมองดูความจริงข้อนี้คือ "ให้ถือเอาเราเป็นที่พึ่งอาศัย" อันเป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

    ต้องไม่ถือสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งนอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้า ต้องให้ผู้ที่จะดำเนินจิตตามเรา เราจะต้องแนะนำให้เห็นจริงในข้อนี้เสียก่อนจึงจะสอนความจริงในขั้นต่อไป

    เป็นอันได้ความละเอียดแน่ชัดพร้อมกับความสว่างไสวภายในข้อความ 3 ประการแห่งพระดำรัสของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ

    1 ให้ถือเราเป็นมูลเหตุ 2 ให้ถือเราเป็นเนติแบบฉบับ 3 ให้ถือเราเป็นที่พึ่งอาศัย

    ทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นการเรียบเรียงจาก "ท่านเล่าว่า" ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็น "ท่านเล่าว่า" อันสะท้อนความต่อเนื่องการปฏิบัติ ปรารภความเพียรจากถ้ำสาริกา นครนายก ไปยังถ้ำสิงโต เขาพระงาม ลพบุรี ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เป็นการถ่ายทอดอย่างละเอียดโดย พระอาจารย์วิริยังค์ ท่าน

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5TlE9PQ
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    จิตรวม เอกัคคตา (37)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เส้นทางระหว่างถ้ำสาริกา นครนายก กับ ถ้ำสิงโต เขาพระงาม ลพบุรี ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีรายละเอียดน่าตื่นตามากกว่า

    1 เมื่อเสร็จกิจจากการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ณ ถ้ำสาริกา นครนายก กลับคืนสู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

    "ท่านพิจารณาว่าจะออกแสวงหาวิเวกปรารภความเพียรต่อ พิจารณาได้ในสมาธินิมิตว่า มีถ้ำๆ หนึ่งอยู่บนเขา มีลักษณะผินหน้าไปทิศนั้น มีสัญลักษณ์อย่างนั้นๆ ท่านจึงว่าเราควรจะไปเจริญสมณธรรมที่นั่น"

    1 เมื่อมีโอกาสไปนมัสการ พระอุบาลีคูณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ณ วัดบรมนิวาส ก็นำความจากสมาธินิมิตกราบเรียนถาม

    "ถ้ำที่ว่านี้อยู่เขาพระงาม จังหวัดลพบุรี"

    เป็นคำตอบจาก พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นอีกข้ออ้างอิง 1 ของความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่าง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) กับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    กระนั้น ความต่อจากนี้น่าสนใจ ควรติดตาม

    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ซื้อตั๋วรถไฟถวาย ก็เดินทางจากกรุงเทพฯ สู่ลพบุรีด้วยขบวนรถไฟ

    อยู่ที่นั่นมีโยมผู้หญิงมาถวายบิณฑบาตพร้อมกับบุตรสาวทุกวันด้วยความศรัทธาและเลื่อมใส

    มีเพื่อนสหธรรมิก 4-5 รูป

    ทุกรูปก็ตั้งหน้าตั้งตาทำความเพียร ไม่รบกวนกัน ต่างคนต่างอยู่ นอกจากทำข้อวัตรเท่านั้นจึงรวมกัน

    เดือนอ้ายผ่านไป เดือนยี่ผ่านไป เดือนสามย่างเข้ามา การเจริญสมณธรรมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

    พอถึงวันเพ็ญ เดือน 3 พิจารณาได้ความว่า

    เราบำเพ็ญสมณธรรมมาถึงบัดนี้ก็เป็นเวลาถึง 12 ปี ทุกอย่างพร้อมแล้วที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏสงสารได้ในคืนวันเพ็ญนี้

    พอรู้อย่างนี้แล้ว ก็เตรียมการงานที่เคยทำ เป็นต้นว่า การปัดกวาดบริเวณกุฏิ ตลอด จนการสรงน้ำ จัดแจงที่อยู่ ที่นั่งให้พร้อม ถึงเวลาเดินจงกรมก็เดิน พอได้เวลานั่ง สมาธิก็นั่ง พอหันหน้าสู่ทิศตะวันออก

    รู้สึกโล่งในจิตก็เข้าสมาธิทันที

    พอนั่งได้ไม่นานเกิดอาการวิตกกังวลขึ้นทางจิตใจ ทาง ร่างกายก็มีอาการเจ็บแสบร้อนโหมขึ้นมาแต่เรื่องนี้เคยผ่านมาแล้วสมัยยังอยู่ถ้ำสาริกาจึงระงับได้บ้าง

    พอจิตสงบหน่อยหนึ่งจิตก็สว่างไปข้างหน้า

    ปรากฏเห็นหญิงผู้เป็นบุตรสาวของโยมอุปัฏฐากยืนร้องเรียกความรักจากท่านอยู่ ซึ่งปกติก็ไม่เคยมี ไม่เคยพบเห็น ถือเป็นเรื่องธรรมดาจิตไม่เคยมีความยินดีอะไร

    แต่ในนิมิตปรากฏเช่นนั้น

    ก็พิจารณาว่า อันเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็ได้พิจารณามาอย่างช่ำชองแล้วจะมาหลงอีกหรือ พอกำหนดดังนี้ หญิงนั้นก็แก่เฒ่าล้มตายลง เหลือแต่กองกระดูกหายไปในแผ่นดิน

    จิตก็ถอนออกมาเป็นจิตธรรมดา ทุกขเวทนายังมีอยู่ จึงกำหนดจิตพิจารณาลงไปอีก ปรากฏเป็นความสว่างออกไปข้างหน้า เมื่อจิตรวมแล้วเห็นคนใหญ่โตในความรู้สึกว่าเป็นยักษ์ เดินถือกระบองจากภูเขาข้างหน้าเข้ามาหา

    มีความรู้สึกว่ายักษ์จะตีหัว พอได้สติก็นึกได้ทันทีว่า อำนาจใดๆ ในโลกทั้ง 3 ไม่มีอานุภาพใดจะเหนือกว่าพระพุทธานุภาพไปได้

    พอกำหนดได้ดังนี้ภาพนั้นก็หายไป

    จิตถอนออกมาอีก คราวนี้เวทนา วิตก จางลงไปมากแต่ยังไม่หมด กำหนดพิจารณาอีกจิตก็รวมลงไป ปรากฏว่าฝนตกน้ำนอง ชุ่มชื่นขึ้นมามีกำลังปีติซาบซ่านไปทั่ว มีความสุขและจิตเข้าถึงเอกัคคตาญาณ มีกายปัสสัทธิ กายสงบ จิตปสัททธิ จิตสงบ กายลหุตา กายเบา จิตตะลหุตา จิตเบา

    กายปาคุญญะตา กายควรแก่การงาน จิตตะปาคุญญตา จิตควรแก่การงาน

    เหล่านี้คือกระบวนการเปลี่ยนผ่านของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่ามกลางการปรารภความเพียร

    จาก วิตก ความตรึก ไปสู่ วิจาร ตรอง ไปสู่ ปีติ ความอิ่มใจ ไปสู่ สุข ความสบายใจ และลงเอย ณ เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ทุกอย่างล้วนเป็นเส้นทางแห่งสมาธิ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5Tmc9PQ
     
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อิทัปปจยตา ปฏิจจสมุปปบาท (38)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ขณะที่จิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เข้าถึงเอกัคคตาญาณ กายสงบ จิตสงบ กายเบา จิตเบา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน

    สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ บอกให้รู้ว่า

    "จิตก็ก้าวลงสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน โดยลำดับ พักอยู่ในจตุตถฌานนานพอสมควร จิตก็ถอยออกมาสู่ ตติยฌาน ทุติยฌาน ถึง ปฐมฌาน"

    หยุดอยู่แค่นี้

    สิ่งที่เรียกว่า ฌาน นั้น คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ 1 ภาวะจิตสงบประณีต 1

    ที่น่าสนใจคือรายละเอียดอันเกี่ยวกับ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

    ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ 5 คือ วิตก ความตรึก วิจาร ตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสบายใจ เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ทุติยฌาน ประกอบด้วยองค์ 3 คือ ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสบายใจ เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์ 2 คือ สุข ความสบายใจ เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    จตุตถฌาน ประกอบด้วยองค์ 2 คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา

    ตรงนี้เองที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่าผ่าน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ว่า

    เกิดความรู้ชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ รู้เห็นชาติ ภพในกาลก่อนที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นตัววิปัสสนาญาณขึ้นมาว่า

    ปัจจุบันเราเป็นอย่างนี้ ในอดีตชาติเราเกิดอยู่บ้านเมืองนั้นประเทศนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น นั่งฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ และได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์

    เป็นเวลาผ่านมาประมาณ 400-500 ชาติ

    จึงระลึกได้ว่า การที่เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ก็เพราะจิตดวงนี้ พอพักจิตได้จิตก็หยุดก้าวลงสู่ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน

    ปฐมยามผ่านไป พอเข้ายามที่ 2 มัชฌิมยามจิตก็พักเอากำลังต่อ จิตอยู่ในฌานนี้คือการพักเอากำลัง ส่วนปฐมฌานนั้นคือการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เปรียบ ด้วยการทำงานแล้วพักผ่อนเอากำลัง

    พอจิตพักอยู่ในจตุตถฌานมีกำลังแล้วก็ถอยออกมาโดยลำดับ ทุติยฌานและตติยฌาน คือทางผ่าน



    ออกมาถึงปฐมฌานเกิดวิปัสสนาญาณเห็นภพและชาติและธาตุขันธ์ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์โลก

    เริ่มแต่บิดา มารดา เป็นต้นไป

    ว่าคนนั้น ชาตินั้น ได้เกิดเป็นคน เป็นสัตว์ มีอาหาร มีรูปร่าง มีการงาน ทำอย่างนั้นได้สุขได้ทุกข์อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ

    สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารก็เพราะอาศัยจิตดวงนี้ จิตก็หยุด ก้าวเข้าสู่ ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน ตามลำดับอีก เพื่อพักเอากำลัง

    มัชฌิมยามผ่านไป

    ในปัจฉิมยาม คือ ยามภายหลังแห่งค่ำคืนวันนั้น พอจิตพักได้กำลังแล้วก็ถอยออกมาสู่ปฐมฌาน อันเป็นบทบาทฐานแห่งวิปัสสนาญาณ จิตก็พิจารณาปัจจยาการ คืออาการของปัจจัย เกิดมีคำใหม่เพิ่มขึ้นอีกว่า

    ฐิติภูตัง คือ จิตดวงเดิมของสรรพสัตว์ทั้งมวลที่ยังมิได้อบรมศีล สมาธิ ปัญญา ก่อให้เกิดอวิชชา

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ขณะเดียวกัน ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา พยาธิ มรณะ และโสกปริเทวนา



    ทั้งหมดนี้คือ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดนี้คือ อิทัปปจยตา อันเป็นเรื่องของ ปัจจยาการ

    ทั้งหมดนี้คือ รายละเอียดอัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พบระหว่างปฏิบัติ ปรารภความเพียร ณ ถ้ำสิงโต เขาพระงาม ลพบุรี และเล่าให้ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ได้รับทราบ

    รายละเอียดยังไม่จบสิ้น ยังต้องติดตามและศึกษาต่อไป

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5Tnc9PQ
     
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ญาณมา อวิชชาไป (39)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาจกล่าวได้ว่า ชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ถือว่าห้วงเวลาของการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ณ ถ้ำเขาพระงาม ลพบุรี สำคัญที่สุด

    "เราบำเพ็ญสมณธรรมมาถึงบัดนี้ก็เป็นเวลาถึง 12 ปี"

    หากนับจากเดือนมิถุนายน 2436 ที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อุปสมบทกรรม ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    ก็น่าจะอยู่ใน พ.ศ.2448

    กระนั้น หากเทียบกับบทสรุปในหนังสือ รำลึกวันวาน ซึ่งประมวลจากคำบอกเล่า พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ที่ว่า

    "ณ กาลสมัยนั้น ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่วัดเลียบนั้นมานานจึงได้เข้าไปจำพรรษาที่กรุงเทพมหานคร และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ.2457 ครั้นแล้วท่านจึงมาหาสหธรรมทางอุบลราชธานี"

    ขณะเดียวกัน หากเทียบกับรายละเอียดอันปรากฏในหนังสือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ ของพระอาจารย์วิริยังค์ ระบุว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ไปถึงจังหวัดลพบุรี และได้พักอยู่ที่ถ้ำสิงโตเขาช่องลม (ปัจจุบันนี้เรียกว่าเขาพระงาม) ปีนั้นเป็นปี พ.ศ.2446

    นับว่าใกล้เคียง



    รายละเอียด "ท่านเล่าว่า" ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จากการเรียบเรียงของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ อันเริ่มจาก

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา พยาธิ มรณะ โสกปริเทวนา ร้องไห้พิไรรำพันถึงกันจนเกิดทุกขโทมนัสสะ ใจไม่ดี อุปายาสะ คับแค้นแน่นใจ

    เอวะเมตตัสสะ เกวะลัสสะ เกวะลัสสะ สมุทะโยโหติ ที่สัมพันธ์กันเกิดเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อย่างนี้

    เมื่อจิตได้อริยมรรคญาณแล้ว จิตดวงเดิมคือ ฐิติภูตังเป็นฐิติ ญาณ เป็นเครื่องตัดขาดจากอวิชชา เมื่ออวิชชาไม่เกาะเกี่ยวได้แล้วจึงเป็นอวิชชายะ ตเววะ อเสสา สังขารานิโรโธ สังขานิโรธา วิญญาณะนิโรโธ จนถึง ตัณหา นิโรโธ ภวนิโรโธ ภวนิ โรธา วิญญาณะนิโรธา ชรามรณัง โสกะปริเทวทุกขัง โทมะนัสสะ นิรุชฌัมติ

    เมื่ออวิชชาดับสังขารก็ดับ สังขารดับวิญญาณก็ดับ วิญญาณดับนามรูปก็ดับ นามรูปดับสฬายตนะก็ดับ สฬายตนะดับผัสสะก็ดับ ผัสสะดับตัณหาก็ดับ ตัณหาดับอุปาทานก็ดับ อุปาทานดับภพชาติก็ดับ

    ชรา พยาธิ มรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาสะ ก็ดับหมด



    พอมาถึงตอนนี้จิตก็วางการพิจารณาแล้วจิตก็รวมใหญ่ รวมคราวนี้จิตไม่พักเหมือนข้างต้นเกิดมีญาณตัดสินขึ้นมาว่า

    ภพเบื้องหน้าเราไม่มีแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจอันเราควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรไม่มีอีกแล้ว

    ญาณชนิดนี้เรียกว่าอาสวักขยญาณคือ ความรู้ว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะพร้อมกับอวิชชาก็หายไป ไม่ก่อน ไม่หลังตะวันขึ้นมาและเดือนก็ตกไป รวมความว่าญาณเกิดขึ้นแล้ว อวิชชาหายไปพระอาทิตย์ขึ้นมาพระจันทร์ตกไป

    เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งอวิชชา เจ้าผู้อวิชชาเอ๋ยเจ้าเป็นผู้ไม่รู้ไม่เห็นเจ้าจงหนีไปอยู่กับข้าไม่ได้แล้ว

    และอวิชชาก็ไม่ได้บอกกล่าวคำอำลาว่า ญาณผู้แจ้งผู้เห็นจริง เจ้าเป็นผู้รู้ผู้เห็นเอ๋ยข้าอยู่กับเจ้าไม่ได้แล้วข้าขออำลาไปก่อน

    ต่างไม่ได้ขับไล่

    ความมืดและพระอาทิตย์ก็เหมือนกัน พระอาทิตย์ขึ้นมาความมืดก็หายไป พระอาทิตย์ก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งความมืด



    ทั้งหมดล้วนดำเนินไปในกระบวนการ "ท่านเล่าว่า" ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เป็นกระบวนการ "ท่านเล่าว่า" ให้ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ฟัง ขณะเดียวกัน ก็เป็นความพยายามของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ในการถ่ายทอด

    "ท่านเล่าว่า" มาสู่พวกเรา

    อุปมาเหมือนพระอาทิตย์มา ความมืดก็อำลาจากไป จากไปให้กับความสว่างไสว

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB6TUE9PQ
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สมาธินิมิต เขาพระงาม (40)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    ความสัมพันธ์ระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กับ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งแนบแน่น

    ไม่เพียงเพราะได้เคยพบกันผ่าน สมาธินิมิต ระหว่างพรรษา 3

    แล้ว พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เปล่ง อัฏฐังคิโก มัคโค ขณะเดินสวนแล้วต่างฝ่ายก็จากกันไป

    พรรษา 3 ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตรงกับ พ.ศ.2439

    หากนำเอา อัตตปวัตติ ของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) มาเป็นตัวตั้ง ย่อมอยู่ในห้วงที่ท่านเป็น พระครูวิจิตรธรรมภาณี และพำนักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ศึกษาทางปริยัติได้เปรียญ 4 แล้ว

    "เห็นว่ากำลังร่างกายไม่พอแก่การงานถ้าขืนอยู่ไปคงเกิดโรคเพราะอาหารไม่มีรสเสียแล้ว อัตตโนไม่มีทางจะออกตัวได้อย่างไรเห็นแต่ทางลาสึกเป็นดีกว่า จึงได้ทูลลาสึก"

    กระนั้น การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น

    "เดือน 12 ออกไปเรียนวิปัสสนาอยู่กับ เจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร (สิง) วัดปทุมวนารามถึงเดือนอ้าย ออกไปเขาคอกตั้งหน้าเจริญวิปัสสนาในระหว่างเดือนอ้ายนั้นนับว่าสมประสงค์ ตัดสินตนได้ คืนยอมถวายตัวเป็นข้าพระรัตนตรัยอยู่ในพระศาสนาตลอดชีวิต"

    นับว่าสมควรแล้วแก่การเปล่ง อัฏฐังคิโก มัคโค ต่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    นับจากพรรษา 8 พ.ศ.2444 เป็นต้นมา เส้นการเดินทางของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นอกจากเป็นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วคือการเข้ามาจำพรรษา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

    น่าสนใจก็ตรงที่นับจากปี พ.ศ.2441 พระครูวิจิตรธรรมภาณี (สิริจันโท จันทร์) อยู่อุบลราชธานี เป็นหลัก

    แม้กระทั่งเมื่อได้เป็น พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์) ในปี พ.ศ.2442 ก็อยู่อุบลราชธานี

    "เดือนยี่ อัตตโนรีบออกไปเมืองอุบล จัดการวางระเบียบการคณะและการศึกษา พระมหาทา พระมหาอ้วน พระปลัดอ่ำ 3 องค์นี้เป็นแม่แรงช่วยแยกกันไป เพราะมณฑลนี้ใหญ่มากมีจำนวนวัด 2,000 เศษ มีจำนวนพระและสามเณร 30,000 เศษ"

    ต่อเมื่อปี พ.ศ.2447 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

    ภายในห้วงเวลานี้ระหว่าง พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์) กับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงน่าจะได้พบกัน

    หากไม่ที่อุบลราชธานีก็น่าจะเป็นที่กรุงเทพมหา นคร

    อย่างน้อย พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ก็ยืนยันว่า การเดินทางไปยังเขาพระงามโดยทางรถไฟของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ด้วยความอุปการะเรื่องตั๋วจาก พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์) นั่นเอง

    ตรงนี้เองที่นำไปสู่การพบกันทาง "สมาธินิมิต" เป็นหนที่ 2 สำหรับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    การปรากฏเงาร่าง พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์) ผ่านทางสมาธินิมิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ครั้งนี้

    บันทึกผ่านสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์

    เป็นการระบุลงไปด้วยว่า "เมื่อรุ่งเช้าวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันปลอดโปร่งที่สุดแล้ว ท่านคงบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตามปกติ อยู่มาวันหนึ่งท่านนั่งกำหนดพิจารณาความละเอียดอยู่ในถ้ำสิงโตนั้น ได้ระลึกถึงท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)"

    เป็นเวลาราว 23.00 น.เศษ กำลังพิจารณาถึง "ปฏิจจสมุปบาท"

    เป็นการพิจารณา "ปฏิจจสมุปบาท" บนธรรมาสน์ ศาลาเหลือง วัดบรมนิวาส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

    หากเริ่มต้นจากการไปยังเขาพระงามเมื่อปี พ.ศ.2446 แสดงให้เห็นว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ต้องบำเพ็ญสมณธรรมอยู่เขาพระงามเป็นเวลานานพอสมควร

    นานพอที่ พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์) จะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสในปี พ.ศ.2447

    นั่นเท่ากับการปฏิบัติ ปรารภความเพียรของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ เขาพระงามจะคาบเกี่ยวระหว่างปี 2446 กับปี 2447

    น่าสนใจยิ่งกว่านั้นที่การพิจารณาของ พระญาณรักขิต ตรงกับของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ไม่ว่าจะเป็นสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ ไม่ว่าจะเป็นสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ล้วนยืนยันการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ เขาพระงาม

    กระนั้น สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ มีความพิสดารอย่างชวนให้ติดตาม

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB6TVE9PQ
     
  20. wainkam

    wainkam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    757
    ค่าพลัง:
    +881
    กราบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    อนุโมทนาท่าน จขท ครับที่นำมาเผิยแพร่
     

แชร์หน้านี้

Loading...