วิถีแห่งการปฎิบัติ - หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 10 มีนาคม 2012.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปฏิจจสมุปบาท (41)

    คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    การได้เห็น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) กำลังนั่งสมาธิอยู่ ณ ศาลาเหลือง ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเห็นสมาธิภายในสมาธิ

    ปรากฏว่าเห็นเป็นการพิจารณาถึง ปฏิจจสมุปบาท

    ปฏิจจสมุปบาท อันหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) อรรถาธิบายว่า

    การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกัน เกิดขึ้นพร้อม 1

    สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น 1 การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น 1 การที่ทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา

    "ท่านเล่าว่า" อันสำแดงผ่านสำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ ตอนนี้น่าศึกษา

    น่าศึกษาเพราะเท่ากับถ่ายทอดความทรงจำรำลึก ความผูกพัน อัน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต่อ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อย่างลึกซึ้ง

    ลึกซึ้งอย่างไร โปรดอ่าน



    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

    ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อเป็นชาติก็ต้องมีชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ และการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

    นี้เหตุมาจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ตราบใดก็จะต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ตราบนั้น

    ท่านก็ได้คำนึงถึงพระพุทธเจ้าที่ทรงพิจารณาถึงปฏิจจสมุปบาทว่า พระองค์ท่านได้ทวนกระแสกลับดูตัวอวิชชา ท่านจึงได้เริ่มทวนกระแสว่า เพราะเหตุใดท่านจึงต้องแก่ ตาย โศกเศร้า เสียใจ ร้องไห้รำพัน คับแค้นแน่นใจ

    เพราะความพลัดพรากจากของชอบใจ พลาดหวัง ท่านได้พิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ เพราะได้เกิดมาเป็นอัตภาพแห่งมนุษย์จะต้องประสบความเป็นเช่นนี้ทุกคน

    อัตภาพคือความเกิดขึ้นมาจากอะไร ก็มาจากภพ คำว่าภพก็คือสัตว์ทั้งหลายที่พึงอาศัยอยู่ ขณะนี้เรากำลังอาศัยอยู่ในภพซึ่งมันเป็นผลมาจากอะไร ก็เป็นผลมาจากอุปาทานคือความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตเศร้าหมองติดพันอยู่กับสิ่งใดด้วยเหตุแห่งการยึดมั่นจิตก็จะไปก่อกำเนิด ณ ที่นั้น

    เช่นบุคคลที่ทำจิตไปในทางญาณ เพ่งอยู่ในความละเอียดคือไม่มีรูป ก็จะไปเกิดในภพเป็นอรูปภพ เพ่งอยู่ในความละเอียดในรูปก็จะไปเกิดในภพคือรูปภพ และถ้าได้ฝึกจิตเป็นธรรมดาก็จะไปเกิดในกามภพ เช่น มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เปรต นรก เป็นต้น

    สุดแล้วแต่จิตจะไปประหวัดกับอะไร ก็จะไปยึดถือกำเนิดในสิ่งนั้น สุดแล้วแต่กรรมของตนที่จะประหวัดเห็นดีไป



    ทˆานก็พิจารณาไปก็ได้ถอยกลับมาจากที่ว่าก่อนอุปาทานนี้มาจากอะไร คือมาจากตัณหา คือความทะเยอทะยาน คือกามตัณหา ทะเยอทะยานในกามคุณ ความใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ความทะเยอทะยานเหล่านี้ก็มาจากเวทนา คือ ความเสวยทุกข์ เสวยสุข

    ทุกข์ที่เกิดเป็นมีขึ้นมาแล้วและได้รับผลอยู่ทุกกาลเวลาแห่งความเกิดขึ้น ได้รับอันเนื่องมาจากความได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เลื่อมยศ ขณะที่เสวยทุกข์นั้นก็ต้องการแต่ความสุขแต่ผลหาได้แต่ความสุขไม่ต้องมีทุกข์ด้วย ความเสวยสุข เสวยทุกข์นี้เนื่องมาแต่อายตนะ

    คือมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์

    หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจกระทบอารมณ์ เกิดความสุขทุกข์ ก็นับเนื่องมาจากนามรูป เพราะนามกับรูปที่ก่อกำเนิดขึ้นมาเป็นคน คนเรานี้มีนามกับรูปจึงจะเป็นตัวขึ้นมาได้

    ท่านเกิดความสงสัยว่า ถอยจากรูปนามยังมีวิญญาณและสังขาร แล้วจึงขึ้นต้นด้วยอวิชชา และวิญญาณสังขารนี้ก็มีแล้วในนามรูป เหตุไฉนจึงมามีสังขารและวิญญาณโดยเฉพาะของตัวมันอีก

    เมื่อท่านสงสัยแล้วก็ได้เลิกพิจารณาในวันนั้น



    ทุกอย่างล้วนดำเนินไปในทˆวงทำนอง "ท่านเล่าว่า" เป็น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่า+

    ขณะเดียวกัน ก็เป็นความพยายามถ่ายทอด "ท่านเล่าว่า" มาอีกต่อหนึ่ง เป็นความพยายามของ พระอาจารย์วิริยังค์ เป็นการถ่ายทอดอย่างค่อนข้างละเอียด

    เรื่องนี้ยังไม่จบ จำเป็นต้องติดตามต่อไป

    หน้า 30

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB3TVE9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2012
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วัดสิริจันทรนิมิตร์ (42)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากอ่าน อัตตประวัติ ของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) จะประจักษ์ในสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับถ้ำพระงาม จังหวัดลพบุรี

    ด้วยในปีชวด พ.ศ.2455 เป็นปีกึ่ง 5,000 แห่งพุทธกาลนับแต่วันตรัสรู้

    "ควรเราผู้เป็นปัจฉิมสาวกจะสร้างเจติยสถานจารึกไว้เป็นที่ระลึกอย่างสำคัญสักชิ้นหนึ่ง อันนี้เป็นความคิดเดิมคิดมาได้ 5 ปี

    ครั้นฉลองสมโภชพระประธานในเดือน 7 กลางเดือนเสร็จแล้ว ได้พาพระครูปลัดอ่ำออกไปเที่ยวแขวงเมืองลพบุรี เพราะเป็นตำบลมีถ้ำมีเขามาก จึงไปได้ถ้ำเขาบ่องามที่สร้างวัดสิริจันทรนิมิตร์อยู่บัดนี้ ว่างไม่มีพระสงฆ์ไปอาศัยและเป็นสถานที่ชอบใจอันเป็นมงคลสถาน

    ปากถ้ำมันเป็นเงื้อมเป็นปากมังกร ผินหน้าสู่ทิศตะวันออก เวลาบ่ายได้รับเงาภูเขาเย็นสบายดี เชื่อว่าในบริเวณตรงหน้ามังกรนี้คงจะมีความเจริญสืบไปเบื้องหน้า เวลานี้ก็เงียบสงัดดีห่างหมู่บ้านประมาณ 10 เส้น

    "พอไปบิณฑบาตมาฉันได้ ก็ตกลงจับที่เป็นเจ้าของถ้ำทีเดียว"

    นั่นคือกำเนิดแห่ง วัดสิริจันทรนิมิตร์ อันเป็นนามพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปเมื่อปี พ.ศ.2466 ในพิธีผูกพัทธสีมา

    มีความหมายแนบแน่นอยู่กับ "สิริจันโท จันทร์" อย่างเห็นได้ชัด



    หนังสือ ชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ สำนวนเขียน พระอาจารย์วิริยังค์ บอกให้รู้ว่า

    อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้มาเที่ยวที่เขาพระงาม ลพบุรี ซึ่งท่านชอบสถานที่นี้มากจนภายหลังท่านได้สร้างพระใหญ่ หน้าตักกว้างถึง 12 วากว่า

    และวันนั้นเป็นวันที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้มาที่เขาพระงามตามปกติ

    ซึ่งขณะนั้น ท่านอาจารย์มั่น ก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกัน เมื่อได้ทราบว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มาท่านก็ไปนมัสการและได้สนทนาปราศรัยตามปกติ

    เมื่อได้สนทนาเรื่องอื่นไปพอสมควรแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ก็ได้ถามขึ้นว่า

    เมื่อคืนวันขึ้น 10 ค่ำที่แล้วคือเดือน 8 นั้น ท่านเจ้าคุณนั่งสมาธิอยู่ที่ศาลาเหลือง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 23.00 น. ได้พิจารณาถึงปฏิจจสมุปบาททวนกลับไปกลับมาแล้วเกิดความสงสัยขึ้นมาตอนหนึ่ง ใช่ไหมครับ

    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เมื่อได้ฟังคำถามเช่นนั้นถึงกับตกตะลึง

    ไม่นึกเลยว่า ท่านอาจารย์มั่น ท่านจะมาล่วงรู้ถึงการพิจารณาของเราที่ได้พิจารณาด้วยตัวเองโดยมิได้บอกให้ใครรู้เลย

    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ จึงพูดถามอาจารย์มั่นว่า

    "ก็ท่านอาจารย์ว่า อย่างไรเล่าที่ผมสงสัยอธิบายให้ผมฟังบ้างได้ไหม"

    ท่านอาจารย์มั่น จึงตอบว่า "ได้"



    หากนำเอารายละเอียดจากหนังสือ อัตตโนประวัติ ของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ประสานกับรายละเอียดจากหนังสือ "รำลึกวันวาน" ของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ก็จะทำให้เรื่องราวและความสัมพันธ์เหล่านี้กระจ่างขึ้น

    1 เพราะวัดเขาพระงามเป็นดำริและการลงมือของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ตั้งแต่ยังเป็น พระญาณรักขิต ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2455 ถึงกับได้ขอนิมิตต่อ "เทวนิกาย"

    "ในคืนวันนั้นจวนสว่างนิมิตไปว่าได้ว่ายน้ำไปตามกระแสแม่น้ำตำบลหนึ่ง น้ำเชี่ยวเต็มทีแต่มีเสาสำหรับเกาะพักแรงไปเป็นระยะๆ ในที่สุดไปเจอโรงทหารอยู่ริมน้ำแวะเข้าไปขออาศัยขึ้น ทหารก็ใจดีให้อนุญาตจึงขึ้นไปในสนามทหาร เห็นเป็นถนนใหญ่เลยเดินเลยไป เป็นบ้านเป็นเมืองใหญ่โตในที่นั้น ก็พอตื่นพอดี"

    ตื่นขึ้นมา "รำพึงถึงนิมิตจะอธิบายว่ากระไร ทำไมจึงมาเกี่ยวด้วยกองทหารแปลไม่ออก รู้แต่ว่าการคงสำเร็จตามประสงค์ ไม่มีเหตุขัดข้องก็ดีใจ"

    ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามนิมิต คือ สำเร็จตามประสงค์ทุกประการ

    ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การเดินทางไปยังถ้ำสิงโต วัดเขาพระงาม ลพบุรี ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นไปด้วยความอุปถัมภ์จาก พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

    เพราะไม่เพียงแต่เสนอแนะให้ไปพำนักและบำเพ็ญสมณธรรม ณ ที่นั้น หากยังช่วยจัดการในเรื่องตั๋วรถไฟให้อีกด้วย



    กระนั้น ความน่าสนใจอย่างยิ่งยวดกลับเป็นรายละเอียดการสนทนาธรรมระหว่างพระเถระทั้ง 2

    เป็นการอธิบายรายละเอียดในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถวายให้ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ได้รับทราบ

    เป็นรายละเอียด "ท่านเล่าว่า" ผ่านความทรงจำของ พระอาจารย์วิริยังค์

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB3TWc9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2012
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    กัลยาณมิตร (43)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ท่าทีและท่วงทำนองการเขียนถึงเรื่องราว พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไม่ว่าจะมาจาก พระอาจารย์วิริยังค์ ไม่ว่าจะมาจาก พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ไม่ว่าจะมาจาก พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

    มีทั้งความเหมือน ขณะเดียวกัน มีทั้งความต่าง

    ที่เหมือนอย่างยิ่ง คือ ความเคารพ ความศรัทธา ความเชื่อมั่น เป็นอย่างสูงต่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เพราะทั้ง 3 ล้วนเคยปฏิบัติ รับใช้ อยู่อย่างใกล้ชิด

    ที่ต่างอย่างยิ่ง คือ ลีลา ท่วงทำนอง อันดำเนินไปตามวาสนาและการสั่งสมในทางการเขียนมาไม่เหมือนกัน

    ขณะเดียวกัน บทสรุปต่อ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ของทั้ง 3 ก็เช่นเดียวกัน

    เพราะมุมมองไม่เหมือนกันจึงนำไปสู่ความเห็นไม่เหมือนกัน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ถึงกับขยายความสัมพันธ์ในวัยเยาว์ขณะเป็นฆราวาสอย่างค่อนข้างโลดโผนเหมือนกับทั้งสองเป็นเพื่อนเล่นกัน

    ทั้งๆ ที่คนหนึ่งเกิด พ.ศ.2399 ทั้งๆ ที่อีกคนหนึ่งเกิดพ.ศ.2413

    ทั้งๆ ที่คนหนึ่งอุปสมบทกรรม เมื่อพ.ศ.2420 ทั้งๆ ที่อีกคนหนึ่งอุปสมบทกรรม เมื่อพ.ศ. 2436

    ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) มีส่วนอย่างสำคัญในการค้ำจุนต่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทั้งในทางปริยัติ ทั้งในทางการปฏิบัติ

    กระนั้น ในบางเงื่อนไข พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็พลิกกลับบทบาทมาเป็นด้านการสำนองตอบได้เหมือนกัน แต่กระบวนการก็ดำเนินไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนและศึกษาร่วมกัน

    ดังคำอธิบายของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ดังนี้



    ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปนั้น แลในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมีการแตกต่างกันดังนี้คือ

    สังขาร วิญญาณ ที่ต่อจากอวิชชานั้นเรียกว่าสังขารกรรม วิญญาณกรรม แตกต่างกับสังขาร วิญญาณ ของนามรูป

    สังขาร วิญญาณ ของนามรูปนั้น เป็นสังขาร วิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็นการปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นการปรุงแต่งที่กำลังทำอยู่

    คือว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นภาวะที่ไม่เป็นอิสระ อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีวิชา (อวิชชา) เป็นหางเรือใหญ่ อาศัยสังขารการปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางการก่อให้เกิด

    ซึ่งในขณะนั้นจิตเป็นประธาน อาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพ อันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรม

    ทั้ง 2 นั้นสืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือให้สังขารและวิญญาณนั้นเห็นดีไป เมื่อเห็นดีไปอย่างไรจิตก็จะไปตั้งก่อให้เกิดไปตามนั้น เพราะที่นี้จึงเป็นสถานที่กำลังปรุงแต่งภพ

    ถ้าพิจารณาแล้วจะรู้สึกมันละเอียดและจะพึงรู้จริงได้ คือ เมื่อจิตได้ดำเนินตามอริยสัจแล้วเป็นวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้วทีเดียว

    ที่กระผมได้อธิบายมานี้เป็นสักแต่แนวทางเท่านั้น ตามความเป็นจริงต้องมีตาภายในคือกระแสจิต กระแสธรรม เท่านั้นที่จะเข้าไปรู้จริงได้



    เมื่อท่านเจ้าคุณคุณอุบาลีฯ ได้ฟังดังนั้น ก็ถึงกับอุทานขึ้นว่า

    "อ้อ เราเข้าใจแล้ว ท่านอาจารย์รู้ใจผมได้ดีมาก และถูกต้องทุกประการ และแก้สงสัยให้ผมได้ราวกับปลิดทิ้ง ผมพยายามพิจารณาเรื่องนี้มานานแต่ยังไม่แจ่มแจ้ง เพิ่งจะแจ่มแจ้งในเวลานี้เอง"

    หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้เดินทางกลับไปกรุงเทพฯ อยู่ที่วัดบรมนิวาสนั้นท่านเจ้าคุณก็ได้ประกาศความดีของท่านอาจารย์มั่นให้แก่พระภิกษุสามเณรทั้งหลายฟังว่า

    "ท่านอาจารย์มั่นเป็นอาจารย์กัมมัฏฐานที่มีความสามารถที่สุดในยุคนี้ ถ้าใครต้องการจะศึกษาธรรมปฏิบัติแล้วจงไปศึกษากับท่านอาจารย์มั่นเถิด เธอทั้งหลายจะได้ความรู้จากธรรมปฏิบัติอันลึกซึ้งจากท่านอาจารย์มั่น"

    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้กล่าวเช่นนี้กับภิกษุสามเณรทั้งหลายอยู่เสมอๆ ทำให้พระภิกษุสามเณรผู้ใคร่การปฏิบัติธรรมสนใจในท่านอาจารย์มั่นมากขึ้น

    ต่างก็ต้องการจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่าน



    ทั้งหมดนี้ พระอาจารย์วิริยังค์ อาจยกย่องบทบาท พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไว้ค่อนข้างสูง

    แต่ก็เป็นความจริงที่ พระอุบาลคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) กับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ต่างมีส่วนในการให้การศึกษา ช่วยเหลือต่อกันและกันสมกับเป็นกัลยาณมิตร

    เป็นกัลยาณมิตรในทางปริยัติ เป็นกัลยาณมิตรในทางการปฏิบัติ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB3TXc9PQ
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อสุภกรรมฐาน (44)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เส้นทางสายปริยัติ สายปฏิบัติ ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จากวัดเลียบ อุบลราชธานี ไปยัง วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก

    โดยเฉพาะระหว่างพำนักอยู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร อย่างที่ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ระบุว่า

    "หมั่นไปสดับพระธรรมเทศนา อบรมปัญญากับ เจ้าคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์)"

    โดยเฉพาะเมื่อปลีกวิเวกไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำสาริกา นครนายก และเมื่อย้อนกลับวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ก็เดินทางไปบำเพ็ญสมณธรรมอย่างค่อนข้างยาวนาน ณ ถ้ำสิงโต วัดเขาพระงาม ลพบุรี

    โดยการหนุนช่วย อุปถัมภ์ เยี่ยงกัลยาณมิตร จาก พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

    สิ่งหนึ่งพึงควรให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษนอกจากอุคคหนิมิตจากวัดเลียบซึ่งปรากฏในชีวประวัติสำนวนเขียน พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ที่ว่า

    "เมื่อจิตรวมลงได้ปรากฏรูปอสุภะภายนอกก่อน คือ เห็นคนตายอยู่ข้างหน้า ห่างจากที่นั่งประมาณ 1 วา ผินหน้ามาทางท่านมีสุนัขตัวหนึ่งมาดึงเอาไส้ออกไปกินอยู่ เมื่อเห็นดังนั้นท่านก็มิได้ท้อถอยคงกำหนดนิมิตนั้นให้มาก"

    อันเป็น "บาทฐาน" สำคัญของการบำเพ็ญสมณธรรมในกาลต่อมา และเป็น "บาทฐาน" ให้ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างทรงความหมาย

    ทรงความหมายอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรียกว่าปรากฏการณ์ "ดินหนุนดิน"



    อุคคหนิมิตอันเริ่มจาก "คนตาย" ตามมาด้วยปฏิบัติการของ "สุนัข" เป็นอุคคหนิมติอันถือได้ว่าเป็นการพิจารณาในทาง "อสุภะ"

    ในทางปริยัติ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ให้การอรรถาธิบายค่อนข้างละเอียด

    อสุภ อสุภะ สภาพที่ไม่งาม 1 พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม 1 ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม 10 อย่าง คือ

    1 อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง 2 วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ 3 วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลือง ไหลออกอยูˆ 4 วิจฉิทท กะ ซากศพที่ขาดกลางตัว 5 วิกขายิตกะ ซาก ศพที่สัตว์กัดกินแล้ว 6 วิกขิตตกะ ซาก ศพที่มีมือเท้าศีรษะขาด 7หตวิกขิตตกะ ซาก ศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกันสับฟันเป็นท่อนๆ 8 โลหิตกะซาก ศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ 9 ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ 10 อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้อสุภะเป็นอารมณ์กรรมฐานจนถึงขนาด

    "ออกจากที่นั่งแล้ว จะนอนอยู่ก็ดี จงกรมอยู่ก็ดี เดินไปมาอยู่ก็ดี ก็ให้ปรากฏนิมิตอยู่อย่างนั้น ครั้นนานวันก็ขยายให้ใหญ่ ขยายให้เน่าเปื่อยผุพัง เป็นจุณวิจุณไป กำหนดให้มากให้มีทั้งตายเก่าและตายใหม่ จนกระทั่งเต็มหมดทั้งวัดวา มีแร้งกาหมายื้อแย่งกัน กินอยู่"

    เป็นการดำเนินการ "จนอสุภะนั้นได้กลับกลายเป็นวงแก้ว"



    คงจำได้ว่า สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีความพิสดารมากยิ่งขึ้นไปยิ่งกว่าสำนวนเขียน พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

    นั่นก็คือ ภายในอุคคหนิมิตมิใช่ใครที่ไหนหากแต่เป็น

    "ตัวของท่านมานอนตายอยู่ข้างหน้า ห่างประมาณ 1 วา มีสุนัขตัวหนึ่งลากไส้ออกไปกิน จึงกำหนดอยู่ในนิมิตนั้นจนร่างนั้นเน่าผุเปื่อย เห็นหลายศพทั้งตายเก่า ตายใหม่ แร้ง กา สุนัข ทึ้งกัดกินอยู่เหลือแต่ร่างกระดูกเต็มไปหมดทั้งวัด"

    ความพิสดารมากยิ่งกว่าอยู่ตรงที่

    "เริ่มมองเข้ามาในตนก็เห็นแต่ร่างกระดูก มองเพื่อนพระเณรก็เห็นแต่ผ้าจีวรคลุมร่างกระดูกเนื้อหนัง ตับไต ไส้พุงไม่มี เวลาไปบิณฑบาตมองดูชาวบ้านก็เห็นแต่เครื่องนุ่งห่มห่อกระดูก เวลาพูดกันเห็นแต่ฟันกระทบกันทำให้เกิดเป็นเสียง"

    ภายในรายละเอียดอัน "ท่านเล่าว่า" ผ่าน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ อย่างค่อนข้างลึกซึ้งยิ่งว่า

    "นึกแล้วอยากหัวเราะแต่มีสัญญาณบอกว่า อย่านะ เดี๋ยวเป็นบ้า"

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พิจารณาไป พิจารณาไป โดยเพ่งแต่ร่างกระดูกนั้นจนกระดูกนั้นรวมเป็นดวงแก้วโตประมาณเท่าผลมะพร้าว

    เพ่งดูดวงแก้วสว่างไปข้างหน้า



    บนเส้นทางจาก คนตาย กลายเป็น กระดูก กลายเป็น ดวงแก้ว นี้สำคัญเป็นอย่างมาก

    เป็นความสำคัญอันเนื่องแต่การบำเพ็ญสมณธรรม ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี และยึดโยงไประหว่างอยู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

    เป็นความต่อเนื่องซึ่งสะท้อนพัฒนาการทางสมาธิทางปัญญาเป็นลำดับ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB3Tmc9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2012
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ดินหนุนดิน (45)

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เสถียร จันทิมาธร


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>นอกเหนือจากสมาธินิมิตอันบังเกิดขึ้นในพรรษาที่ 3 ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี อันมีรากฐานมาจากการดำเนินไปตามแนวแห่งอสุภกรรมฐานแล้ว

    หนังสือ "รำลึกวันวาน" สำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีรายละเอียดพิเศษ

    เป็นรายละเอียดในห้วงที่พอนั่งสมาธิจิตก็ส่งออกไปอยู่สถานที่อันเป็นโบสถ์ มีความรู้สึกขึ้นมาว่าสถานที่นี้ี่คือพระนิพพาน

    แต่พอออกมาเป็นจิตธรรมดามากระทบกระทั่งกับอารมณ์ภายนอก เห็นรูปที่น่ารักโดยเฉพาะเพศตรงข้ามก็ยังเกิดรัก เห็นหรือได้ยินเสียงที่น่าชังก็ยังชังอยู่ เลยมาเฉลียวใจว่า เอ๊ะ เรามาถึงพระนิพพานแล้วทำไมจึงมาหลงรักหลงชังอยู่ได้เล่า

    เห็นจะไม่ใช่พระนิพพานกระมัง นั่งสมาธิทีไรก็ไปที่นั่นทุกที

    พอนึกได้ดังนี้แล้วจึงตั้งใจใหม่แต่ไม่ให้จิตมันรวม เดินจงกรมก็เอาจิตไว้ที่กาย จะบริกรรมพุทโธหรือมูลกรรมฐานก็แล้วแต่ไม่ให้จิตรวม ไม่นั่งสมาธิ เวลาจะนอนก็นอนเลย

    ทำอย่างนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสติ

    พอวันที่ 3 เอาไม่อยู่ เพราะความพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ พอนั่งสมาธิจิตก็รวมใหญ่รวมคราวนี้ไม่ออกไปข้างนอกอยู่กับที่ ปรากฏว่าร่างกายนี้พังทลายลงไปเลย ปรากฏเป็นไฟเผาเหลือแต่กองเถ้าถ่าน

    แล้วจมหายลงไปในแผ่นดิน



    แรกที่ได้อ่าน ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) มาถึงตอนที่ระบุถึงการเคลื่อนไหวของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่า

    "เมื่ออายุพรรษาพอสมควรแล้วจึงได้ลงไปศึกษาทางกรุงเทพมหานครอันเป็นแหล่งนักปราชญ์ สำนักที่วัดปทุมวัน หมั่นไปสดับพระธรรมเทศนา อบรมปัญญา กับ เจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทเถร จันทร์) ที่วัดบรมนิวาส"

    ความน่าสนใจอยู่ตอนนี้

    "ในวันหนึ่ง เมื่อกลับจากวัดบรมนิวาสเดินตามถนนหลวงไปกับสหธรรมิก 4-5 รูป กำหนดพิจารณาไปพลาง

    พอไปถึงโรงเรียนกรมแผนที่ (วังกรมพระสวัสดิ์เก่า) จึงได้อุบายแห่งวิปัสสนาเอาที่โรงเรียนนั้นเป็นนิมิตว่า "ของอะไรทั้งหมดเกิดจากของที่มีอยู่ (ดินหนุนดิน)" ตั้งแต่นั้นมาก็กำหนดพิจารณาอุบายแห่งวิปัสสนามิได้ลดละ"

    ปมเงื่อนอยู่ตรงนิมิตที่ว่า "ของอะไรทั้งหมดเกิดจากของที่มีอยู่ (ดินหนุนดิน)"

    สถานการณ์นี้สอดรับกับสำนวนเขียน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ อย่างช่วยให้มองภาพได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

    โปรดอ่าน



    วันหนึ่งขณะกลับจากการฟังธรรมท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กำลังเดินกลับวัดสระปทุมพร้อมเพื่อนสหธรรมิก 4-5 รูป

    คืนเดือนหงาย พระจันทร์ส่องแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร

    พอเดินมาถึงหน้าวังของกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนช่างกลปทุมวัน) ก็แลเห็นวังสร้างแบบยุโรป ในความรู้สึกของคนทั่วไปว่าสวยงามดี

    ท่านพระอาจารย์แลเห็นก็ว่าสวยงาม

    แต่ความต่อเนื่องของสติสัมปชัญญะพอคิดว่าสวยงามเท่านั้นจิตก็รวมลงไปแล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า

    ดินหนุนดิน

    แล้วจิตก็ไม่หยุดนิ่งกลับรวมลงไปอีก แล้วก็เกิดญาณขึ้น กำหนดรู้อริยสัจเหมือนพรรษาที่ 3 ที่วัดเลียบเกิดเป็นครั้งที่ 2 ในพรรษาที่ 8 ห่างกัน 4-5 ปี

    ก็เหมือนอย่างว่า คือ จิตทำอริยมรรคที่ 2 ซ้ำของเก่า

    ได้ความรู้ว่า ดินหนุนดิน คือ สังขารทั้งหลายทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครองเพราะธาตุทั้ง 4 รวมกันโดยมีธาตุดินเป็นธาตุนำเพราะเป็นของแข็งเหมือนเอาดินก่อก่ายกองกันขึ้นมาส่วนธาตุนอกนั้นเป็นธาตุอาศัย

    ท่านพระอาจารย์ว่าได้ความรู้สึกอีกว่า อริยธรรมนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนหัวหลักหัวตอ ขี้ดินขี้หญ้า ฟ้าแดด ดิน ลม พระจันทร์ ดวงเดือนดาว นักขัตฤกษ์ที่ไหนคงตั้งอยู่ที่คนนี้เอง ไม่เลือกกาลสถานที่



    จากนี้จึงเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างวัดเลียบ อุบลราชธานี กับวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    เป็นความเกี่ยวเนื่องในการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ไม่เลือกว่าจะเป็นในสำนัก ไม่เลือกว่าจะเป็นระหว่างสัญจรไปมาวัดบรมนิวาสกับวัดปทุมวนาราม

    เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกาย เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องดินหนุนดิน

    [FONT=Tahoma,]หน้า 30[/FONT]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB3Tnc9PQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...