วิถีแห่งพระอาจารย์มั่นวิถีแห่งศีล-สมาธิ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 16 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    วิถีแห่งพระอาจารย์'มั่น'วิถีแห่งศีล-สมาธิ

    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง ศีล สมาธิ

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    โดย ดวงเดือน ประดับดาว



    [​IMG]

    ยังเป็นแนวทางยึดองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น แบบฉบับ เป็น เนติ หรือพูดอย่างตรงเป้าก็คือ

    เป็น แนวทาง

    เรียกตามภาษาของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ก็คือ การตามรอยพระพุทธบาท หรือการย้อนกลับไปศึกษาแนวทางของท่านจากพระโอษฐ์

    ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านศึกษาจากพระไตรปิฎกแล้วก็ลงมือปฏิบัติ

    เช่นเดียวกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ยึดเอาแนวทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงมือปฏิบัติ

    ทั้งก่อนตรัสรู้และภายหลังการตรัสรู้

    นี่คือรายละเอียดที่ พระญาณวิริยาจารย์ ได้รับฟังจากคำบอกเล่าของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แล้วนำมาจดจารบันทึกเอาไว้

    บันทึกเอาไว้ให้ได้ศึกษา

    ศึกษาไปตามแนวทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ค้นพบ ศึกษาไปตามแนวทางแห่งการปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้พิสูจน์ทราบอย่างเป็นจริง

    ท่านคำนึงว่า การปฏิบัติจิตจะต้องประกอบพร้อมทั้งภายใน ภายนอก

    เช่น ภายนอก การรักษาไว้ซึ่งพระวินัยน้อยใหญ่สำคัญยิ่ง ถ้าผิดพระวินัยแม้แต่อาบัตินิดเดียวก็จะทำให้จิตละเอียดไม่ได้

    เช่น การปฏิบัติเรื่องของบาตร ถ้าล้างแล้วไม่เช็ดเก็บไว้ในที่สมควรก็จะเป็นอาบัติทุกกฎ หรือการฉันจุบๆ จั๊บๆ เป็นอาบัติทุกกฎ อาบัติเล็กน้อยจะล่วงละเมิดไปไม่ได้เลย ต้องรักษาให้เรียบร้อยจริงๆ

    นอกจากอาบัติแล้วก็มีการรักษาธุดงค์ ข้อวัตรต่างๆ เช่น ฉันหนเดียว การฉันในบาตร การบิณฑบาต เป็นต้น

    อันเป็นการนำไปสู่การขัดเกลากิเลสหยาบๆ เป็นแบบฉบับที่พระบรมศาสดาได้กระทำเป็นแบบฉบับมาแล้ว หากว่าผู้ต้องการความสงบ ความก้าวหน้าแห่งการบำเพ็ญจิตแล้วจะละเสียไม่ได้

    และอีกประการคือ รักษาวัตรต่างๆ จากวัตรหลายประการ เช่น อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร อาคันตุกวัตร เวจจกุฎวัตร เสนาสนวัตร ภัตตาวัตรและเสขิยวัตร

    เหล่านี้ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการปฏิบัติจิต เป็นการปฏิบัติเพื่อศีลวิสุทธิ์และจิตวิสุทธิ์

    บุคคลผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์ถ้าไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับแล้วจะไม่สามารถนำหมู่คณะไปสู่ความเจริญได้

    ทั้งนี้เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ทิ้งความจริงอันเป็นแบบฉบับที่ดีไว้แล้วเพื่อให้สาวกทั้งหลายได้เอาเป็นตัวอย่าง

    และตัวอย่างอันนี้ได้รับความเจริญยั่งยืนนานมาแล้ว เพราะเหตุแห่งแบบอย่างที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญมานั้นเองที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง ถาวร เจริญมาแล้ว การนำเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับจึงเป็นการนำความเจริญได้แน่แท้แก่ตนและบุคคลอื่น

    ท่านได้คำนึงถึงข้อที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้เอาเราเป็นที่พึ่งอาศัย คือว่า ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทนั้นควรจะได้รู้ข้อเท็จจริงในที่พึ่ง

    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงว่า พาหุง เว สรณังยันติ ปัพพตานิวนานิจ อารามะ สุกขะ เจตยานิ มนุสสาภยะตัชชิตา เนตัง โข สรณัง เขมัง เนตัง สรณะมุตตมัง เนตัง สรณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปมุจจะติโย จ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สรณัง คตา จตุตริ อริยะสัจจานิ สมุมัปปัญญายะ ปัสสติ ทุกขัง ทุกขัสสมุปปาทัง ทุกขัสสะจะ อติกุมมัง อริยญจตุถัง คิกังมัคคัง ทุกขูปะสะมะ คามินัง เอตัง โข สรณัง เขมัง เอตัง สรณะมุตตะมัง เอตัง สรณะมาคัมมะ สัพพะ ทุกขา ปมุจตีติ

    มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้วพากันไปถือ ภูเขา ป่า อารามและต้นไม้ ที่เป็นเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดม พวกเขาพากันพึ่งสิ่งเหล่านี้แล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้

    ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง มาเห็นอริยสัจ 4 ด้วยปัญญาอันชอบก้าวล่วงทุกข์ด้วยมรรค 8 นี่แหละ เป็นที่พึ่งอันเกษม นี่แหละ เป็นพึ่งอันอุดม พวกเขาอาศัยที่พึ่งนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ ศีล ในสถานะอันเป็นพื้นฐาน

    หากไม่มี ศีล เป็นพื้นฐานก็ยากยิ่งที่จะมี สมาธิ และ ปัญญา

    องค์เอกภาพแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นองค์เอกภาพอันมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นยิ่งทางการปฏิบัติ

    เป็นองค์เอกภาพแห่ง สะอาด สงบ สว่าง






    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01160949&day=2006/09/16
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...