วิทยาศาสตร์แนวใหม่

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jaya, 23 เมษายน 2013.

  1. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    วิทยาศาสตร์ใหม่ vs ภูมิปัญญาตะวันออก

    สาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำของโลกอย่าง เดวิด โบห์ม หันมาสนใจศาสตร์ตะวันออก เกี่ยวกับสมาธิภาวนาและการฝึกจิตมากขึ้นนั้น เป็นเพราะ...การทดลองและข้อค้นพบหลายอย่าง ในควอนตั้มฟิสิกส์ ได้ทำให้ความคิดวิทยาศาสตร์แบบเดิมเป็นปัญหา​

    เช่นพบว่า...สิ่งที่ถูกสังเกตในการทดลองเดิม ที่เคยยึดถือกันว่ามีคุณลักษณะคงที่แน่นอน กลับมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ตามการสังเกตรับรู้ของมนุษย์
    ..หรือจากเดิมที่เคยคิดว่า...สสารและพลังงานเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงและเป็นสองสถานะที่แยกขาดจากกัน

    วิทยาศาสตร์ใหม่กลับพบว่า...​

    สิ่งที่สังเกตตรวจวัดในการทดลองนั้น.....มีความไม่แน่นอนและ ไม่แบ่งแยกเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด็ดขาด ​

    ปรากฏการณ์เดียวกันนั้น.....บางขณะแสดงตัวเป็นอนุภาค แต่บางขณะกลับแสดงตัวเป็นคลื่น ... เรียกว่า ประเดี๋ยวเป็นสสาร ... ประเดี๋ยวกลับกลายเป็นพลังงาน ขึ้นอยู่กับการสังเกตตรวจวัด และเครื่องรับรู้
    ◌◌◌◌◌◌◌◌​


    วิทยาศาสตร์แบบเดิมที่ถือว่า...ความรู้ที่ถูกต้องเที่ยงตรง ต้องเกิดจากการแยกผู้สังเกต กับสิ่งที่ถูกสังเกตออกจากกัน .. และความรู้ที่เป็นสากล .. จะต้องไม่ขึ้นกับจิตรับรู้ของมนุษย์นั้น

    วิทยาศาสตร์ใหม่กลับพบว่า...ปรากฏการณ์ทุกอย่างล้วน สัมพัทธ์และสัมพันธ์ กับการรับรู้อย่างแยกไม่ออก .. จะเรียกว่า สรรพสิ่งเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับจิตรับรู้ก็ได้

    เมื่อความแน่นอนกลายเป็นไม่แน่นอน เพราะไปขึ้นกับการรับรู้ ความเป็นเหตุเป็นผลที่แน่นอนตายตัวและไม่ขึ้นกับจิต จึงกลายเป็นเรื่องที่สับสนอย่างยิ่งจนคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้
    ◌◌◌◌◌◌◌◌​


    แต่โบห์มต่างจากนักฟิสิกส์บางคนตรงที่เขาเชื่อว่า...
    ภายใต้ความไม่แน่นอนและสับสนนั้น แท้จริงมีกฎเกณฑ์ หรือ ความเป็นระเบียบที่แฝงเร้นอยู่ ซึ่งโบห์มเรียกว่า Implicate order ... แต่การที่จะเข้าถึงความเป็นระเบียบที่แฝงเร้นอยู่นั้น .. จะต้องอาศัยภูมิจิต ภูมิปัญญาที่แตกต่างออกไป จากจิตคิดแบบวิทยาศาสตร์เดิม

    คือต้องเป็นจิตที่ผ่านการฝึกฝนมาดี .. และเป็นอิสระจากกรอบความคิด.. ภาษา.. และระบบสัญลักษณ์ ที่ได้กลายเป็นพันธนาการ จองจำวิธีคิดของวิทยาศาสตร์แบบเดิมไปเสียแล้ว

    ในแง่นี้ โบห์มให้ความว่า คณิตศาสตร์ก็เป็นระบบสัญลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย ... และวิทยาศาสตร์เก่าได้ติดยึดกับคำอธิบาย .. ที่เป็นตัวเลขและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ .. มากเสียจนไม่สามารถรับรู้ความจริงแบบอื่นได้
    .. เรียกว่า ต้องทำทุกอย่างให้เป็นตัวเลข . . จึงจะคุยกันแบบวิทยาศาสตร์ได้

    โบห์มคิดว่า ...กรอบความคิด ภาษา และสัญญะ.. เหล่านั้นมีปัญหา ..และการที่จะก้าวพ้นจากอุปาทาน..การติดยึดกับสิ่งเหล่านี้ได้.. นักวิทยาศาสตร์ต้องฝึก.. ให้รู้เท่าทันวิธีคิดและจิตรับรู้ของตนเองด้วย
    ◌◌◌◌◌◌◌◌​


    ในระยะหลังนี้ มีการจัดการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกกับองค์ดาไล ลามะ แห่งธิเบตที่จัดขึ้นทุก ๒ ปี ติดต่อกันมากว่า ๒๐ ปี นับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๗ แล้วนั้น ได้ทำให้เห็นได้ว่า...
    ศาสนาและภูมิปัญญาตะวันออก .. สามารถให้คำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติ ..ของสรรพสิ่งได้อย่างน่าสนใจและลุ่มลึก .. ยิ่งกว่าทัศนะแบบวัตถุนิยมกลไกของวิทยาศาสตร์เสียอีก​

    [​IMG]
    วิทยาศาสตร์กำลังอภิวัฒน์ตัวเองอย่างช้าๆ .. ด้วยการเรียนรู้จากภูมิปัญญาตะวันออก ... แม้เราจะไม่สามารถคาดเดา ..ได้ว่าวิทยาศาสตร์ใหม่จะลงเอยอย่างไร .. แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังเปลี่ยนไปก็คือ
    ... ทัศนะของวิทยาศาสตร์เดิมที่ถือว่า ... ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สากล ไม่ขึ้นกับจิตรับรู้ของมนุษย์ หรือเรียกว่าความรู้กับสภาวะแห่งการรู้นั้น แยกขาดจากกันได้ ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่คนรู้คนหนึ่ง เอามาอธิบายให้อีกคนหนึ่งรู้ได้ เพราะความรู้เป็นเรื่องภายนอกที่บอกเล่า เรียนรู้กันได้จากการคิด โดยไม่เกี่ยวกับพื้นภูมิของจิต

    ... แต่ภูมิปัญญาตะวันออกบอกว่า ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ที่แท้จริงนั้น มิอาจแยกจากกัน ... และความรู้ที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะแห่งการรู้นั้นคือ...ปัญญา

    โบห์มเชื่อว่า...การที่นักฟิสิกส์ต้องพบกับปรากฏการณ์ ที่สะท้อนความเป็นจริงแบบใหม่นี้ เป็นโอกาสดีที่จะเข้าถึงความรู้ และสภาวะแห่งการรู้ใหม่ ...เพราะความจริงใหม่นี้จะท้าทาย ..และรื้อเลาะอุปาทานที่เคยติดยึดอยู่ได้ ... หากเป็นเช่นนั้น วิทยาศาสตร์ใหม่อาจเป็นหนทางหนึ่ง ของการเข้าถึงปัญญาที่แท้จริงได้ .. เพราะการทำงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้รู้เท่าทันความคิด และให้จิตเป็นอิสระจากอุปาทานนั้น....แท้จริงก็คือ การปฏิบัติธรรมนั่นเอง
    ◌◌◌◌◌◌◌◌​
    Credit : ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ | "ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้"​

    ตัวอย่าง ... การฝึกสมาธิจิตเพื่อการรักษาโรคซึมเศร้า....NHS recognises that mindfulness meditation is good for depression
    Scientists have now discovered how mindfulness meditation can give patients control over levels of depression, anxiety and chronic pain, says Mia Hansson
     
  2. ิBat of light

    ิBat of light เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2012
    โพสต์:
    687
    ค่าพลัง:
    +842
    .

    อ่านแล้วคิดถึงจิตกับจักรวาล ของท่านประสาน ต่างใจ จังเลย
    ได้อ่านสรุปงานวิจัยใหม่ๆ ตั้งหลายเรื่อง ขอบคุณท่าน

    ต้องขอยกบางส่วนของนักรบแสงมาให้อ่านกัน เล่นๆ นะ

    อยากจะตอบอะไรที่มันดูฉลาดๆ
    แต่ตอนนี้ยังคิดไม่ทัน ไม่ได้เตรียมใจจะมาเจอกับโบห์ม

    สมองยังไม่ทัน แต่หัวใจไวกว่าแยะ
    ขอโพสท์ส่งเดช ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เนอะ

    ค้างคาวแห่งแสง / สุนทรทู่

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...